แม้กิจกรรมในอุตสาหกรรมขยะอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมนอกระบบที่สร้างมูลค่าให้แก่ผู้ประกอบการนายทุน แต่ขาดการคุ้มครองเรื่องสุขภาพความปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นพิษ ดิน น้ำมีสารพิษตกค้าง เช่น โครเมี่ยม พวกโลหะหนัก และการใช้แรงงานราคาถูกในอินเดีย ที่มาภาพประกอบ: Development News
ชุมชนโมราดาบัดทั้งชุมชนกลายเป็นศูนย์กลางรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้ามาจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างไม่เป็นทางการ
หากมองจากถนน จะเห็นคนทำงานล้างขี้เถ้าขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแกเอาส่วนที่เป็นโลหะ คนงานหญิงและเด็กทุบ แยกชิ้นส่วนแผงวงจรพิมพ์ งัดและแยกทอง ทองแดงและเงินออกจากชิ้นส่วนต่างๆ
กระบวนการรีไซเคิลนั้นจะแยกทองแดง ทอง และเงินออกจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมืองโมราดาบัด ซึ่งมีประชากรนับแสนคนถูกขนานนามว่าเป็นนครแห่งทองเหลืองของอินเดีย คือเป็นศูนย์กลางของการแปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสารพิษอันตรายต่อคนงานชาย หญิงและเด็ก ขยะกว่า 50% มาจากแผงวงจรที่ใช้ในโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ในอินเดียและถูกขนมายังเมืองโมราดาบัดกว่าวันละ 9 ตัน และทำกันบนสะพานข้ามแม่น้ำ Ramganga
อุตสาหกรรมรีไซเคิลขยะจ้างงานราว 5 หมื่นคน ค่าจ้างวันละ100-300 รูปี หรือ 1-3 ปอนด์
อุตสาหกรรมขยะอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมนอกระบบที่สร้างมูลค่าให้แก่ผู้ประกอบการนายทุน แต่ขาดการคุ้มครองเรื่องสุขภาพความปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นพิษ ดิน น้ำมีสารพิษตกค้าง เช่น โครเมี่ยม พวกโลหะหนัก และการใช้แรงงานราคาถูกในอินเดียกลายเป็นจุดดึงดูดของต่างประเทศที่จะนำขยะมาทิ้ง และหลอมทองแดงกับสังกะสีเป็นทองเหลืองเพื่อขายต่อไป
อันดับแรก นำแผงวงจรจากโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ไปเผาเพื่อแยกโลหะออกจากพลาสติก จากนั้นก็นำไปบดเป็นผงด้วยเครื่องโม่เพื่อใช้ผลิตทองเหลือง และกรองผงที่ได้ด้วยตะแกรงหรือล้างน้ำ จากนั้นนำไปหลอมในเตาให้เป็นแท่ง
ส่วนใหญ่ในกระบวนการคัดแยกมักจะได้ทองแดง ซึ่งถูกนำไปขายต่อเพื่อผลิตทองเหลือง การนำเข้าขยะจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่เจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่เข้มงวด ทำให้การนำเข้ายังดำเนินต่อไป และทำการรีไซเคิลอย่างลับๆ ไม่ให้คนนอกเห็น ทั้งจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อช่วยปกป้องธุรกิจไม่ให้ถูกดำเนินคดี
แปลและเรียบเรียงจาก
https://www.theguardian.com/cities/2018/jul/09/indias-unofficial-recycling-bin-the-city-where-electronics-go-to-die-moradabad
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ