นักวิชาการไม่ร่วมสังฆกรรม เป็นอนุกรรมการชี้ขาด 'แบน-ไม่แบน' สารเคมี

กองบรรณาธิการ TCIJ 24 ส.ค. 2561 | อ่านแล้ว 2653 ครั้ง

นักวิชาการไม่ร่วมสังฆกรรม เป็นอนุกรรมการชี้ขาด 'แบน-ไม่แบน' สารเคมี

คณะนักวิชาการ ยันเสียงแข็ง ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมในอนุกรรมการชุดใหม่ที่จะแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาแบนสารพิษ พร้อมข้อเสนอล้มคณะกรรมการชุดใหม่ที่มีมติดังกล่าว แจงยืดเยื้อ ไม่ใช่เรื่องจะเอากระทรวงสาธารณสุขมาต่อสู้กับ 2 กระทรวง เพราะกำลังดูเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ ตามหลักสากลไม่ทำกัน

เว็บไซต์ไทยโพสต์ รายงานเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2561 ว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ที่นายกฯ แต่งตั้งขึ้นกล่าวว่า ทางสำนักงานปลัด นายกรัฐมนตรี ได้ติดต่อมายังตนเพื่อของรายชื่อผู้แทนจากสถาบันจุฬาลงกรณ์และสถาบันอื่นๆ ในการเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการที่กรรมการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงจะแต่งตั้งขึ้นเพื่อมาพิจารณาการแบนหรือไม่แบนสารพิษทั้ง 3 ชนิด คือพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ซึ่งตนได้ตอบกลับไปว่าไม่ส่ง เพราะจากการหารือร่วมกับนักวิชาการจากสถาบันอื่น ทั้งนักวิชาการจากจุฬาภรณ์ มหิดล และม.นเรศวร เห็นตรงกันว่าจะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมเพราะมีการแสดงจุดยืนตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค.แล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะอนุกรรมการ โดยจะเป็นการตั้งคณะอนุกรรมการซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการวัตถุอันตราย และคณะอื่นๆ ซึ่งเป็นการยืดเยื้อเวลาตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. ที่มีมติเรื่องดังกล่าวจากกระทรวงสาธารณสุข และยังจะมีข้อเรียกร้องให้มีการยุบคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ให้นำเรื่องนี้ไปรายงานแกผู้บังคับบัญชาด้วย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวอีกว่า มีการติดต่อไปยังผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้รายงานเรื่องนี้ไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.เสรี ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปด้านสาธารณสุข ก็เห็นด้วยในการคัดค้านการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยในเรื่องนี้จะได้มีการรวบรวมรายชื่อจากเกษตรกรผู้เสียหาย นักวิชาการสาธารณสุข กรรมการปฏิรูปด้านสาธารณสุข เพื่อเสนอเรื่องการคัดค้านในเรื่องนี้ไปยัง นายกฯ ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำโดยเร็ว เพราะคาดว่าในวันจันทร์ 27 ส.ค.จะมีการประกาศรายชื่ออนุกรรมการ

"ซึ่งเรื่องนี้เราสู้มาตลอด การที่จะบอกว่ากระทรวงสาธารณสุขเป็นคู่กรณีกับกระทรวงเกษตรกร นั้นจริงๆไม่ใช่เรื่อง ที่จะเอากระทรวงสาธารณสุขมาต่อสู้กับทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะขณะนี้เรากำลังทบทวนเรื่องสุขภาพ ไม่ได้ทบทวนเรื่องเศรษฐกิจ ว่าจะขายได้มากหรือน้อย ดังนั้นตามหลักสากลที่ทำกันคือต้องให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน เพราะมีหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนโดยตรง “ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ส่วนข้อเรียกร้องต่างๆก็มีขืน เพื่อให้การดำเนินงานไปไปในทิศทางที่ประชาชนมีสุขภาพดี ในขณะเดียวกันก็มีวีการทดแทนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้แรงงาน หรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งได้ชี้แจงกับเกษตรกรแล้วว่ามีวิธีการ ซึ่งในวันที่ 27 ส.ค.นี้ ทางนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เชิญตนเข้าร่วมในการเสวนาเรื่องพิษภัยของสารเคมี และจะบอกในวิธีดังกล่าวด้วย

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: