ไทม์ไลน์: โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ยุครัฐบาล 'อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์-คสช.'

เขมภัฏ ห้วยลึก TCIJ School รุ่นที่ 5 27 ก.ค. 2561 | อ่านแล้ว 6096 ครั้ง


โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเพื่อให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นในระบบไฟฟ้าในเวลาที่เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอสำหรับอนาคต 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคือแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan: PDP) ที่จะต้องผ่านการอนุมัติโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่ง กพช. เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งในช่วงการจัดทำแผน PDP2010 กพช.มี 19 ตำแหน่ง (ดูตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 คณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ก่อนการรัฐประหาร 2557

ลำดับ

คณะกรรมการฯ  โดยตำแหน่ง

ตำแหน่งในคณะกรรมการฯ

1.

นายกรัฐมนตรี

ประธานกรรมการ

2.

รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

กรรมการ

3.

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

กรรมการ

4.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

กรรมการ

5.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

กรรมการ

6.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

กรรมการ

7.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรรมการ

8.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

กรรมการ

9.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรรมการ

10.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

กรรมการ

11.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

กรรมการ

12.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

กรรมการ

13.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรรมการ

14.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

กรรมการ

15.

ปลัดกระทรวงพลังงาน

กรรมการ

16.

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

กรรมการ

17.

เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กรรมการ

18.

ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

กรรมการ

19.

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

กรรมการและเลขานุการ

ที่มา http://www.eppo.go.th/images/committee/The_appointment_order/NEPC/KPC-new.pdf

หลังการรัฐประหารของของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีเปลี่ยนแปลงของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกมีการเปลี่ยนแปลงโดยคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 54/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งลดจำนวนคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ลง เหลือเพียง 18 ตำแหน่ง (ดูตารางที่ 2) การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่สองเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2558 เรื่อง เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 54/2557 ทำให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 ตำแหน่ง (ดูตารางที่ 3)

ตารางที่ 2 คณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 54/2557

ลำดับ

คณะกรรมการฯ  โดยตำแหน่ง

ตำแหน่งในคณะกรรมการฯ

1.

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประธานกรรมการ

2.

รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ)

รองประธานกรรมการ

3.

รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

กรรมการ

4.

ปลัดกระทรวงกลาโหม

กรรมการ

5.

ปลัดกระทรวงการคลัง

กรรมการ

6.

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

กรรมการ

7.

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรรมการ

8.

ปลัดกระทรวงคมนาคม

กรรมการ

9.

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรรมการ

10.

ปลัดกระทรวงพลังงาน

กรรมการ

11.

ปลัดกระทรวงพาณิชย์

กรรมการ

12.

ปลัดกระทรวงมหาดไทย

กรรมการ

13.

ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรรมการ

14.

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

กรรมการ

15.

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

กรรมการ

16.

เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กรรมการ

17.

ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ

กรรมการ

18.

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

กรรมการและเลขานุการ

ที่มา http://www.eppo.go.th/images/committee/The_appointment_order/NCPO/NCPO-order54.pdf

ตารางที่ 3 คณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2558

ลำดับ

คณะกรรมการฯ  โดยตำแหน่ง

ตำแหน่งในคณะกรรมการฯ

1.

นายกรัฐมนตรี

ประธานกรรมการ

2.

รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

กรรมการ

3.

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

กรรมการ

4.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

กรรมการ

5.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

กรรมการ

6.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

กรรมการ

7.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรรมการ

8.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

กรรมการ

9.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรรมการ

10.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

กรรมการ

11.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

กรรมการ

12.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

กรรมการ

13.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรรมการ

14.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

กรรมการ

15.

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

กรรมการ

16.

ปลัดกระทรวงพลังงาน

กรรมการ

17.

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

กรรมการ

18.

เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กรรมการ

19.

ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

กรรมการ

20.

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

กรรมการและเลขานุการ

ที่มา http://www.eppo.go.th/images/committee/The_appointment_order/NCPO/NCPO-order54_an2.pdf

นอกจากคณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้ลงมติเห็นชอบแผนPDP แล้วยังมีคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (คณะอนุกรรมการฯ) ทำหน้าที่จัดทำแผนPDP ในช่วงเริ่มต้นการจัดทำแผนPDP2010 นั้นมีรองปลัดกระทรวงพลังงาน นายณอคณุ สิทธิ์พงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการ โดยคำสั่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กพช.) ที่ 8/ 2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย จำนวน 17 ตำแหน่ง (ดูตารางที่ 4) ลงนามแต่งตั้งโดย นาย วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานการบริหารนโยบายพลังงานในขณะนั้น

ตารางที่ 4 คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2010)

ลำดับ

คณะกรรมการฯ  โดยตำแหน่ง

ตำแหน่งในคณะกรรมการฯ

1.

ปลัดกระทรวงพลังงานหรือรองปลัดกระทรวงฯ ที่ได้รับมอบหมาย

ประธานอนุกรรมการ

2.

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน

รองประธานอนุกรรมการ

3.

ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

อนุกรรมการ

4.

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

อนุกรรมการ

5.

กรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือผู้แทน

อนุกรรมการ

6.

ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อนุกรรมการ

7.

ผู้แทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

อนุกรรมการ

8.

ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อนุกรรมการ

9.

ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง

อนุกรรมการ

10.

ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

อนุกรรมการ

11.

ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน

อนุกรรมการ

12.

ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์

อนุกรรมการ

13.

ศ.ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

อนุกรรมการ

14.

ดร. เดชรัตน์ สุขกำเนิด

อนุกรรมการ

15.

รศ.ดร. บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร

อนุกรรมการ

16

ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

อนุกรรมการและเลขานุการ

17.

ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ที่มา http://www.eppo.go.th/images/committee/The_appointment_order/NEPC/CEPA20.pdf

คณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าวได้จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2010) ได้ผ่านมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2553 (ครั้งที่ 130) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 และผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 23 มีนาคม 2553 (อ่านต่อ http://www.efe.or.th/pdf/pdp2010-summary.pdf)

เนื้อหาสาระที่สำคัญในแผน PDP2010 มุ่งเน้น 3 ประการ ดังนี้

(1) ความมั่นคงของกำลังการผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีประเทศจะมีการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไมต่ำกวารอยละ 5 ดังนั้น กําลังผลิตไฟฟาพึ่งไดจากพลังงานหมุนเวียนป 2553-2573 ในแผน PDP 2010 เทากับ 4,617 เมกะวัตต์

(3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration)[1]

นอกจากนี้แผน PDP 2010 มีการพูดถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินในช่วงท้ายของแผนว่า

“การจัดหาไฟฟาจากโรงไฟฟาถานหิน พิจารณาใหมีการผลิตไฟฟาจากโรงไฟฟาถานหินเท่าที่จําเป็นหลังจากมีการพิจารณาทางเลือกเชื้อเพลิงอื่นดังกลาวขางตนแลว ทั้งนี้ กําหนดใหเปนโรงไฟฟาถานหินในอนาคตเปนโรงไฟฟาที่ใชเทคโนโลยีถานหินสะอาด (Clean Coal Technology) เพื่อชวยลดภาวะที่เกิดจาการเผาไหม ลดปริมาณกาซเรือนกระจก”

แผน PDP2010 ถูกแก้ไขแก้ไขเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลังเกิดอุบัติเหตุที่ญี่ปุ่น

การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)  ได้เห็นชอบแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น (ปี 2554-2562) เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ พยากรณ์ไว้ตามแผน PDP 2010 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาความล่าช้าของโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP) ที่เลื่อนกำหนดแล้วเสร็จออกไปโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าสยามเอนเนอร์ยี่ ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเลื่อนการแล้วเสร็จออกไป 2 ปี โรงไฟฟ้าเนชั่นแนล พาวเวอร์ ซัพพลาย ซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จออกไป 3 ปี ทำให้ความสมดุลของความต้องการใช้ไฟฟ้าและแผนการสนองความต้องการไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปจากแผน PDP2010 อย่างมาก ในปี 2557 กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของระบบไฟฟ้าจะลดต่ำลงอยู่ที่ ร้อยละ 9.7 ซึ่ง กฟผ. กล่าวว่ามีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในระยะสั้น 10 ปีข้างหน้า จึงได้มีการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) (อ่านต่อ http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Upload /Document/PDP2010-rev3.pdf) ดังนี้

  1. เร่งดำเนินการพัฒนาโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 2 (800 เมกะวัตต์) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  2. ปรับแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมกัน (SPP Cogeneration) โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ กฟผ. ดำเนินโครงการขยายระบบส่ง ไฟฟ้าฯ แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาในปี2558
  3. ปรับแผนให้มีการเร่งโครงการโรงไฟฟ้าวังน้อยหน่วยที่ 4 (800 เมกะวัตต์) และโครงการโรงไฟฟ้าจะนะ หน่วยที่ 2 (800 เมกะวัตต์) ของ กฟผ. ให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นจากแผนเดิมอีก 3 เดือน เพราะแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและผลกระทบจากความล่าช้าของโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานประธานคณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และนายบุญส่ง เกิดกลาง ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)  ได้เห็นชอบแผนการปรับเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปี เพื่อทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยภายหลังเกิดอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับของประชาชนในหลายประเทศ จึงได้มีการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ดังนี้

  1. ปรับเลื่อนกำหนดการเข้าระบบของโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี ทำให้มี โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บรรจุในแผนรวมทั้งสิ้น 4 โรง และเลื่อนกำหนดจ่ายไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเข้ามาทดแทนตามแผน PDP 2010 เดิม ให้เร็วขึ้นจากปี 2565 เลื่อนมาเป็นปี 2563
  2. การดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงมอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปพิจารณาปรับแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติและเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นให้เหมาะสมต่อไป

โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นรูปเป็นร่างในรัฐบาลยิ่งลักษณ์

โรงไฟฟ้าถ่านหินมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่3 (PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554  (รัฐบาลของนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติหรือ กพช. ที่มีการประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมการ เป็นประธานที่ประชุม และนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ กระทรวงพลังงานกล่าวถึงเหตุผลที่มีการแก้ไข แผน PDP ฉบับปรังปรุงครั้งที่ 2 ว่าจากการที่รัฐบาลนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายการดำเนินการพัฒนาประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554 ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต กระทรวงพลังงานจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแผน PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พิจารณาการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์ (ขนาดกำลังการผลิตสุทธิ 800 เมกะวัตต์) โดยใช้ถ่านหินนำเข้าเพื่อเป็นเชื้อเพลิงเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง

แผน PDP 2010 ฉบับแก้ไขครั้งที่ 3 มีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2555-2573 เท่ากับ 55,130 เมกะวัตต์แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า ดังนี้

1) โรงไฟฟ้าพลังงานหมนเวียน 14,580 เมกะวัตต์ (ในประเทศ 9,481 เมกะวัตต์, รับซื้อจากต่างประเทศ 5,099 เมกะวัตต์)

2) โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น 6,476 เมกะวัตต์

3) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 25,451 เมกะวัตต์

4) โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 8,623 เมกะวัตต์ (โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 4,400 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 750 เมกะวัตต์ และรับซื้อจากต่างประเทศ 1,473 เมกะวัตต์)

ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการกำหนดโรงไฟฟ้าถ่านหินไว้ในแผน PDP 2010 ฉบับแก้ไขครั้งที่ 3 อย่างชัดเจน ทั้ง ๆ ที่แผนก่อนหน้ากำหนดให้การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเท่าที่จำเป็นและหลังจากพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ แล้ว

โรงไฟฟ้าถ่านหินในยุค คสช.

หลักจากเกิดการต่อต้านจากหลายภาคส่วนอย่างหนัก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ถูกเรียกว่า ไตรภาคี ร่วมกันหาทางออกปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับถ่านหิน ซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมการทั้งหมด 29 คน ดังนี้

ตารางที่ 5 รายชื่อ คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ (ไตรภาคี)

ลำดับ

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1

พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์

ประธานกรรมการ

2

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 7 กรรมการ

กรรมการ

3

นายสมนึก บำรุงสาลี ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน

กรรมการ

4

ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการ

5

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรรมการ

6

นางปิยนันทน์ โศภนคณาภรณ์ รองเลขาธิการสำนักนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรรมการ

7

ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่

กรรมการ

8

ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กรรมการ

9

พลเอก อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์

กรรมการ

10

พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล

กรรมการ

11

พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ

กรรมการ

12

นายพลเดช ปิ่นประทีป

กรรมการ

13

นายสุนทร คุณชัยมัง

กรรมการ

14

นายสุรพงษ์ พรมเท้า

กรรมการ

15

รองศาสตราจารย์ภิญโญ มีชำนะ

กรรมการ

16

รองศาสตราจารย์เรณู เวชรัตน์พิมล

กรรมการ

17

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสาท มีแต้ม

กรรมการ

18

นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด

กรรมการ

19

นายสวาสดิ์ เถาว์กลอย

กรรมการ

20

นายอมฤต ศิริพรจุฑากุล

กรรมการ

21

นายกิตติชัย เอ่งฉ้วน

กรรมการ

22

นายอธิราช ดำดี

กรรมการ

23

นายสมศักดิ์ นบนอบ

กรรมการ

24

นายธนพล เพ็ญรัตน์

กรรมการ

25

ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการและเลขานุการร่วม

26

ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการและเลขานุการร่วม

27

เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

28

เจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

29

เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นอกจากนี้ยังมีคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมอีก 3 ชุด คือ อนุกรรมการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม อนุกรรมการการรับฟังความคิดเห็นประชาชน และอนุกรรมการพิจารณาศักยภาพการทำงานพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทำงานควบคู่กับคณะกรรมการชุดดังกล่าวคณะกรรมการไตรภาคีได้ทำงานมาจนถึงวันที่ 19 กันยายน 2559 คณะกรรมการภาคประชาชนได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องการขอลาออกจากการเป็นคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการภายหลังการประชุมคณะกรรมการไตรภาคีศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ครั้งที่ 6 คณะกรรมการที่ลาออกได้ชี้แจงเหตุผลการลาออกของอนุกรรมการและกระบวนการทำงานของคณะกรรมการไตรภาคีที่ขาดความชอบธรรม หลังประธานคณะกรรมการไตรภาคียุติการประชุมกลางอากาศ ทั้งที่ไม่มีข้อสรุปการหารือของอนุกรรมการ รวมถึงกรณีที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ล่ารายชื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยไม่ได้มีการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน

หนึ่งในคณะกรรมการเปิดเผยว่า บรรยากาศในการทำงานรู้สึกไม่ค่อยดี ไม่รับความร่วมมือจากส่วนราชการที่มีหน้าที่ในเรื่องของการสนับสนุนข้อมูลเลย ต้องวิ่งหาข้อมูลด้วยตัวเอง กว่าจะได้ข้อสรุปก็มักจะถูกทักท้วง ถูกเตะตัดขาอยู่ตลอด

ประยุทธ์สั่งยกเลิก EIA/EHIA รมต.พลังงานเซ็น MOU และตั้งกรรมการ SEA

หลังจากการประกาศเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่กระบี่ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์เก่าที่ปัจจุบันที่โรงไฟฟ้าสำรอง[2] ซึ่งผลิตจากน้ำมันเตา ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะตำบลปกาสัย ตำบลแหลมหิน ชาวเกาะลันตาใหญ่ รวมถึงภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการในจังหวัดกระบี่ รวมถึงนักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่นได้ออกมาคัดค้าน จนนำไปสู่การตัดสินใจของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ยกเลิกการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และหยุดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอาไว้ 3 ปี เพราะเชื่อว่ากระบวนการการมีส่วนร่วมในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่มีปัญหา อย่างไรก็ตามการไฟฟ้าฝ่ายฟลิตแห่งประเทศไทยได้เริ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ครั้งที่ 1 (ค.1) อีกครั้งในวันที่ 29 มกราคม 2561 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ การเริ่มต้นกระบวนการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยครั้งใหม่นี้ทำให้เกิดการชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาลและบริเวรหน้าสหประชาชนชาติประจำประเทศไทยของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ การชุมนุมครั้งนี้นำไปสู่การลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจที่ตรงกัน หรือ MOU ระหว่าง นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ออกมาชุมนุม เมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งใน MOU ระบุว่าจะยุติกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่กระบี่และเทพา รวมไปถึงให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ซึ่ง นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 9/2561 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ โดยมีคณะกรรมการ จำนวน 12 คน  (ดูตารางที่ 5)

ตารางที่ 6 คณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ตามคำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 9/2561

ลำดับ

คณะกรรมการฯ  โดยตำแหน่ง

ตำแหน่งในคณะกรรมการฯ

1.

ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

ประธานคณะกรรมการร่วม

2.

รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ประธานคณะกรรมการร่วม

3.

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

กรรมการ

4.

นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

กรรมการ

5.

น.ส.สุภาภรณ์ ปิติพร

กรรมการ

6.

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

กรรมการ

7.

นายสุริชัย หวันแก้ว

กรรมการ

8.

นายปกรณ์ ปรียากร

กรรมการ

9.

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล

กรรมการ

10.

นายสินาด ตรีวรรณไชยกูล

กรรมการ

11.

นายเติมศักดิ์ สุขวิบูลย์

กรรมการ

12.

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

กรรมการ

13.

ผู้แทนสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

กรรมการและเลขานุการ

 

แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ชุดที่ดังกล่าวก็ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 30 มี.ค.2561 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงพลังงาน ที่ 11/2561 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ จำนวน 19 คน (ดูตารางที่ 6) ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ศึกษา SEA พร้อมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยกำหนดให้การศึกษาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 9 เดือน ซึ่งมี คณะกรรมการชุดเดิม 2 คนที่หลุดออกจากคณะกรรมการ คือ นาย สุริชัย หวันแก้ว   นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  ที่เคยถูกระบุว่า มีจุดยืนที่สนับสนุนเชื้อเพลิงสะอาด และไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ซึ่งเป็นเมืองที่มีภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว

ตารางที่ 7 คณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ตามคำสั่งกระทรวงพลังงาน ที่ 11/2561

ลำดับ

คณะกรรมการฯ  โดยตำแหน่ง

ตำแหน่งในคณะกรรมการฯ

1.

ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

ประธานคณะกรรมการร่วม

2.

รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ประธานคณะกรรมการร่วม

3.

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

กรรมการ

4.

นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

กรรมการ

5.

น.ส.สุภาภรณ์ ปิติพร

กรรมการ

6.

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

กรรมการ

7.

นายปกรณ์ ปรียากร

กรรมการ

8.

นายสินาด ตรีวรรณไชยกูล

กรรมการ

9.

นายเติมศักดิ์ สุขวิบูลย์

กรรมการ

10.

นาย วัฒนพงษ์ คุโรวาท

กรรมการ

11.

นางเรวดี โรจนนันท์

กรรมการ

12.

นายโสภณ พรโชคชัย 

กรรมการ

13.

นางสาวเพชร เตชรัตน์ 

กรรมการ

14.

นายอุริช อัชชโคสิต 

กรรมการ

15

นายฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์  

กรรมการ

16.

นายมนูญ ศิริวรรณ

กรรมการ

17.

นายสุทิน อยู่สุข

กรรมการ

18.

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

กรรมการ

19.

ผู้แทนสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

กรรมการและเลขานุการ

 

คณะกรรมการชุดใหม่ได้สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มที่ต่อต้านถ่านหินอย่างมาก โดยนายประสิทธิ์ชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวว่า ในส่วนของรายชื่อคณะกรรมการ SEA ชุดใหม่นั้นไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องคณะกรรมการกำกับการศึกษาชุดนี้มีบุคคลที่ร่วมสนับสนุนถ่านหินร่วมอยู่ด้วย ความเป็นกลางจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไม่มีบุคคลที่ทั้งสนับสนุนและต่อต้าน เพื่อให้ได้กรรมการศึกษาที่เป็นกลางมากที่สุด

“รายชื่อคณะกรรมการครั้งแรกทางกระทรวงพลังงานตั้งแต่งกันเอง เพียงแต่เครือข่ายเสนอชื่อไป ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์กลุ่มผู้สนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นมา ทางกระทรวงมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อ โดยนำเอาบุคคลที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าเข้ามา ซึ่งเครือข่ายไม่สามารถยอมรับได้ เพราะไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน คนกลางต้องไม่สนับสนุนและไม่ต่อต้าน ต้องเอาบุคคลเหล่านี้ออกไปให้หมด”

นายประสิทธิ์ชัย กล่าวอีกว่า จากรายชื่อทั้งหมดพบว่ามี 4 ราย ซึ่งให้การสนับสนุนถ่านหินอย่างแน่นอน โดยเป็นบุคคลหลักอีกด้วย ส่วนคนอื่น ๆ ในรายชื่อทางเครือข่ายไม่มั่นใจว่าสนับสนุนหรือไม่อย่างไร และเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 ทางเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้โพสต์หนังสือที่เรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เรื่อง ขอให้ถอนรายชื่อกรรมการ 4 คนออกจากกรรมการการจัดทำรายงาน SEA ผ่านทางเพจหยุดถ่านหินกระบี่

“เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ขอสนับสนุน ความเป็นกลาง เพื่อหาทางออกร่วม อย่างสันติสุขแต่หากแม้น กรรมการ ก็ยังไม่สามารถเป็นกลางได้ เชื่อเหลือเกินว่าความวุ่นวายมันจะยังไม่จบ เราจะไม่ยอมให้กรรมการ 4 คน ซึ่งเชียร์ถ่านหินมาตลอด มาทำรายงานเชิงยุทธศาสตร์ ถ้าให้เรื่องมันจบคือ ถอดคนที่เชียร์ถ่านหินและต้านถ่านหินออก แล้วเอาคนเป็นกลางมาทำงาน”

แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ SEA ชุดดังกล่าวก็ได้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อ วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 (http://www.transportjournalnews.com/sea/) นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานร่วมคณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ เปิดเผยถึง การทำงานของคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดำเนินการศึกษา ให้ข้อเสนอแนะปัจจัยการประเมิน SEA ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่อผลการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานร่วมฯ  กล่าวว่า สำหรับกรอบการศึกษา (TOR) ที่จะมีการว่าจ้างที่ปรึกษานั้น คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างข้อกำหนดการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ โดยยึดหลักการศึกษา SEA ซึ่งต้องครอบคลุมทุกทางเลือกการพัฒนา สามารถตอบคำถามต่อภาคประชาชนและผู้เกี่ยวข้องและใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำไปสู่การกำหนดการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานการยอมรับของประชาชน โดยการศึกษา SEA มีหัวใจสำคัญ คือ การพัฒนาและประเมินผลกระทบที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน  เป็นต้น  ผลที่คาดว่าจะได้รับ นอกจากรัฐบาลจะกำหนดนโยบายการพัฒนาและจัดหาพลังงานภาคใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากประชาชนแล้ว กระทรวงพลังงานจะสามารถปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) เพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ภาคใต้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอีกด้วย

นายดนุชา กล่าวเพิ่มว่า ภายหลังที่มีการอนุมัติโครงการ และเริ่มมีการศึกษา SEA ตามกรอบการศึกษาตาม TOR แล้ว คณะกรรมการฯ จะกำกับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะ 5 เดือนแรกจะต้องนำเสนอผลการศึกษาในประเด็นที่สำคัญ อาทิ ผลวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ภาคใต้ว่าควรมีโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่   หากจะมีพื้นที่ใดบ้างที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ตลอดจนผลการวิเคราะห์ทางเลือกอื่น ๆ ในการพัฒนาพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ ในกรณีที่หากไม่มีพื้นที่ที่จะสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

 

อ้างอิงเพิ่มเติม 

[1] ระบบ cogeneration คือ ระบบที่ให้การกำเนิดพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานกล และมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนในขณะเดียวกัน โดยอาศัยเชื้อเพลิงแหล่งเดียวกัน ซึ่งมี 3 รูปแบบคือ 1.รูปแบบระบบโคเจนเนอเรชั่นชนิดกังหันไอน้ำ 2.รูปแบบระบบโคเจนเนอเรชั่นชนิดกังหันก๊าซ 3.ระบบโคเจนเนอเรชั่นชนิด เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน อ่านต่อ วารสารธุรกิจสีเขียว ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2549 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

[2] โรงไฟฟ้าน้ำมันเตาที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกระบี่ในปัจจุบันเป็นโรงไฟฟ้าสำรอง คือไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าทุกวันโดยจะผลิตไฟฟ้าเมื่อโรงไฟฟ้า ขนอมโรงไฟฟ้าจะนะมีการผลิตไฟฟ้าไม่พอใช้ และในปี 2560 โรงไฟฟ้ากระบี่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าน้อยกว่า 30 วัน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: