คนไทยรู้ยัง: ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์ม ม.ค.-ต.ค. 2561

ทีมข่าว TCIJ: 30 พ.ย. 2561 | อ่านแล้ว 4020 ครั้ง

ที่มา: เดือน ม.ค.-ก.ย. 2561 จากราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 6/11/2561) เดือน ต.ค. และการให้ข้อมูลต่อสื่อของอธิบดีกรมปศุสัตว์เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2561 Infographic by TCIJ/Racha Luangborisut (CC BY-NC 2.0)

มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2561 ว่านายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงกรณี นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ระบุราคาไข่ไก่เกษตรกรขายไข่คละได้ ณ วันที่ 3 พ.ย. ราคาไข่ไก่ 1.40-2.30 บาท ต่ำสุดในรอบ 30 ปี สวนกับราคาอาหารสัตว์ 33 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน ไข่ไก่เกินความต้องการมีมากกว่า 10 ล้านฟอง เพราะการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ มีมากเกินไปว่า ข้อเท็จจริงราคาไข่ไก่ต่ำสุดในรอบ 30 ปี ดังนี้ 1. ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. 2561 ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.54 บาท (เบอร์ 0 ราคา 3.54 บาท, เบอร์ 1 ราคา 3.04 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.75 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.45 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.24 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.85 บาท) โดยราคาขายไข่แต่ละภูมิภาค (ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) อาจแตกต่างกัน 10-20 สตางค์ 2. ต้นเดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบัน ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.30 บาท (เบอร์ 0 ราคา 3.30 บาท, เบอร์ 1 ราคา 2.80 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.35 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.25 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.00 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.65 บาท) 3.สาเหตุที่ราคาไข่ลดลงตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการบริโภคลดลงช่วงเทศกาลกินเจและปิดเทอม ทำให้มีปริมาณไข่ที่สะสมจำนวนมาก และไข่ที่ออกมาช่วงเวลานี้มีขนาดฟองเล็ก และ 4.ข้อมูลสถานการณ์ไก่ไข่ปัจจุบัน มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ที่ให้ผลผลิต 521,860 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงจำนวน 56-57 ล้านตัว ผลผลิตไข่เฉลี่ยประมาณ 44-45 ล้านฟอง/วัน

นายสัตวแพทย์สรวิศกล่าวว่าการดำเนินการ มีดังนี้ 1. ตลอดปี 2561 ถึงปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมฯ และผู้นำเข้าไก่ไข่พันธุ์ ผลักดันการส่งออกไข่ไปจำหน่ายต่างประเทศ (PS Support) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 จนถึงปัจจุบันรวมแล้ว 258 ตู้คอนเทนเนอร์ (84 ล้านฟอง) ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ที่อายุ 72 สัปดาห์ จำนวน 857,486 ตัว ตรวจสอบปริมาณการนำเข้า การเลี้ยง และการปลด PS ไม่ให้เกินอายุ 72 สัปดาห์ ตามมติ Egg Board อย่างเคร่งครัด 2. ประชุมหารือร่วมกับ 16 บริษัทผู้นำเข้าและเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์-ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (24 ต.ค.) และมีมติปรับลดแผนการนำเข้าปี 2562 ลง 10% ของแผนปี 2561 ซึ่งจะส่งผลให้ปี 2562 มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ (PS) ไม่เกิน 500,000 ตัว ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) ไม่เกิน 4,050 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงประมาณ 50 ล้านตัว ผลผลิตไข่ประมาณ 42-43 ล้านฟอง/วัน ซึ่งจะใกล้เคียงกับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกทั้งไข่สดและผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูป 3. ประสานกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ร้องขอ โดยเบื้องต้นรับแจ้งจากกรมการค้าภายในจะเชิญหารือเพื่อแก้ปัญหาปริมาณไข่ที่ค้างสะสม และการรักษาเสถียรภาพราคาซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4. มีแผนกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ภายในเดือน พ.ย. 2561 วาระพิจารณาแผนการนำเข้าพ่อแม่และปู่ย่าพันธุ์ ปี 2562 เพื่อขอมติปรับลดแผนการนำเข้าและเลี้ยง PS ลงอีก 10% ของปี 2561 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวต่อไป และ 5. แนวโน้มราคาไข่คละหน้าฟาร์มน่าจะค่อยๆ ปรับขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากมาตรการซึ่งประกอบด้วย เร่งรัดเพิ่มการส่งออกไข่ไปจำหน่ายต่างประเทศ การปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง การร่วมมือกับกรมการค้าภายใน รวมถึงโรงเรียนเปิดเทอม และกำลังจะเข้าช่วงเทศกาลปลายปี ประชาชนบริโภคไข่เพิ่มขึ้น

TCIJ รวบรวมข้อมูลเดือน ม.ค.-ก.ย. 2561 จาก ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 6/11/2561) เดือน ต.ค. จากการการให้ข้อมูลต่อสื่อของอธิบดีกรมปศุสัตว์เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2561 พบราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม (ฟองละ) ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. 2561 มีดังนี้ เดือน ม.ค. 2.54 บาท ก.พ. 2.62 บาท มี.ค. 2.56 บาท เม.ย. 2.64 บาท พ.ค. 2.77 บาท มิ.ย. 2.78 บาท ก.ค. 2.79 บาท ส.ค. 2.80 บาท ก.ย. 2.81 บาท และ ต.ค. 2.30 บาท

ส่วนราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย (ฟองละ) ตั้งแต่ปี 2548-2560 มีดังนี้ 2548-2.46 บาท 2549-2.00 บาท 2550-2.06 บาท 2551-2.33 บาท 2552-2.36 บาท 2553-2.64 บาท 2554-3.00 บาท 2555-2.55 บาท 2556-3.06 บาท 2557-3.08 บาท 2558-2.68 บาท 2559-2.94 บาท และปี 2560-2.65 บาท

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: