1.เด็กทำงานบ้าน
สถานการณ์ทั่วไป
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติให้คำจำกัดความว่า “เด็กคือบุคคลใดก็ตามที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เด็กทำงานบ้านคือเด็กซึjงทำงานรับใช้ในครัวเรือนของบุคคลอื่นนอกเหนือไปจากบิดามารดาของตน ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนเท่าไรหรือประเภทไหนก็ตาม” เด็กทำงานบ้านต้องทำงานในครัวเรือน อันได้แก่ ล้างจาน ทำอาหาร ทำความสะอาด ดูแลทั้งเด็กและผู้สูงอายุและทำงานอื่นๆตามที่นายจ้างสั่ง
สภาพการทำงาน
จากผลการสำรวจของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด) พบว่าเด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี คือกลุ่มแรงงานทำงานบ้านที่มีจำนวนมากที่สุด เด็กจำนวนมากเหล่านั้นต้องทำงานในสภาพที่ถูกเอาเปรียบ แรงงานเด็กและผู้หญิงทำงานบ้านมักถูกใช้ให้ทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีเวลาหยุดพัก และต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตราย เด็กจำนวนมากถูกกระทำทารุณทั้งทางร่ายกายและจิตใจ ความรุนแรงที่เด็กทำงานบ้านเผชิญได้แก่ ความรุนแรงทางร่ายกาย วาจา ทางอารมณ์ และการละเมิดทางเพศ
รายงานของมพด.ระบุว่า เด็กทำงานบ้านส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ยากจนในชนบท เด็กเข้าสู่ตลาดลูกจ้างทำงานบ้านเพื่อหาเงินมาช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว เนื่องจากอายุน้อยเกินกว่าจะทำงานอย่างอื่นได้ โดยมากมักหางานผ่านเครือข่ายของครอบครัวหรือเพื่อนฝูง มีรายงานว่าเด็กทำงานบ้านมักได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน คนที่มีประสบการณ์มาบ้างจะได้รับค่าจ้างที่ประมาณ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม จากรายงานพบว่าเด็กทำงานบ้านมักได้รับอาหารสามมื้อและพักอาศัยอยู่ในบ้านของนายจ้าง ระยะเวลาในการทำงานแต่ละวันขึ้นอยู่คำสั่งของนายจ้าง ทั้งนี้ ไม่มีกำหนดเวลาพักผ่อนที่แน่นอนและต้องทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน อีกทั้งยังต้องเตรียมตัวรับคำสั่งจากนายจ้างตลอดเวลาแม้แต่เวลากลางคืน โดยมากไม่มีการกำหนดวันหยุดในแต่ละสัปดาห์นอกเสียจากว่าจะได้รับอนุญาตให้มีวันหยุดพักเพื่อศึกษาต่อ ดังนั้น เด็กทำงานบ้านจึงมีแนวโน้มว่าต้องทำงานหนัก ได้รับค่าจ้างน้อย และไม่มีเวลาพักผ่อนเพียงพอ สำหรับการพบปะเพื่อนฝูง เด็กทำงานบ้านส่วนใหญ่จะพูดคุยกับลูกจ้างทำงานบ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกันหรือเลือกพักผ่อนอยู่ภายในบ้านของนายจ้าง หรือนานๆครั้งอาจจะได้ออกไปข้างนอกกับครอบครัวของนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างอนุญาตให้มีวันหยุดหรือมีโอกาสในการศึกษาต่อ จึงจะสามารถพบปะเพื่อนฝูงที่รุ่นราวคราวเดียวกัน ปัจจุบันกฎหมายแรงงาน ยังไม่ให้การคุ้มครองเด็กทำงานบ้าน
2.ลูกจ้างไทยทำงานบ้าน
สถานการณ์ทั่วไป
ลูกจ้างทำงานบ้านส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุที่ผู้หญิงจำนวนมากเข้าสู่อาชีพลูกจ้างทำงานบ้านเนื่องมาจากรายได้ที่ไม่เพียงพอจากการทำเกษตรกรรม ความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขยายตัวของชนชั้นกลาง และการขาดการศึกษา ลูกจ้างทำงานบ้านส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี ทั้งนี้ จากการสำรวจตัวเลขผู้มีงานทำปี พ.ศ. 2551 พบว่า “ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล” จำนวนมากมีอายุระหว่าง 40-49 ปีด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาไม่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่พบว่าลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
สภาพการทำงาน
ชั่วโมงทำงานในแต่ละวันของลูกจ้างทำงานบ้านอยู่ระหว่าง 7-15 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ไม่ได้มีข้อตกลงกับนายจ้างเรื่องชั่วโมงการทำงานที่แน่นอนและวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างทำงานบ้านบางคนได้รับอนุญาตให้ลากลับบ้านช่วงเทศกาลได้ แต่ไม่ใช่ลูกจ้างทั้งหมดได้รับสิทธินี้ ลูกจ้างยังคงถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างในแง่ต่างๆ ทั้งนี้มีแนวโน้มว่าลูกจ้างทำงานบ้านไทยดูเหมือนจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้นในเรื่องค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขความเป็นอยู่ เนื่องจากความต้องการแรงงานประเภทนี้
ในด้านสุขภาพ ไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทำงานบ้านมีปัญหาสุขภาพที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ปัญหาสุขภาพที่มักพบได้แก่ การสัมผัสสารเคมีจากการซักล้าง อุบัติเหตุจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ าและงานดูแลสัตว์เลี้ยงของนายจ้าง และระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน ไม่มีเวลาพักผ่อนที่แน่นอน นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญที่แรงงานกลุ่มนี้เผชิญได้แก่
1) เวลาการทำงานไม่แน่นอน การที่พักอาศัยในบ้านของนายจ้างทำให้แรงงานต้องทำงานตลอดเวลาและขาดอิสระ
2) เป็นงานที่ซ้ำซาก ขาดความก้าวหน้า ที่สำคัญเป็นงานที่จำกัดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเมื่อเทียบกับงานอื่นๆ
3) รายได้ขึ้นอยู่กับความพอใจของนายจ้าง
4) คุณภาพชีวิตขึ้นอยู่กับความพอใจของนายจ้าง นายจ้างอาจถือสิทธิทำร้าย ทุบตี ใช้วาจาไม่เหมาะสม
ค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ และการรวมกลุ่ม
จากการสำรวจสถิติแรงงานนอกระบบปี พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่ารายได้เฉลี่ยของลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลอยู่ที่ 3,789 - 4,790 บาทต่อเดือน และลูกจ้างชายได้รับค่าจ้างเฉลี่ยสูงกว่าลูกจ้างหญิง งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งซึ่งได้สัมภาษณ์ลูกจ้างทำงานบ้านจำนวน 300 คนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ พบว่าค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 5,040 บาทต่อเดือน20 งานวิจัยของฉันทนา เจริญศักดิ์ 21 เมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้สัมภาษณ์ลูกจ้างทำงานบ้าน 5 คนบันทึกว่าค่าจ้างที่ลูกจ้างกลุ่มนี้ได้รับอยู่ที่เดือนละ 3,500 – 6,000 บาท รายได้เฉลี่ยต่อเดือนดังกล่าวทำให้ “ลูกจ้างทำงานบ้าน” เป็นอาชีพที่มีรายได้ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเกษตรกร เมื่อดูจากตัวเลขที่เป็นภาพรวมของรายได้ผู้มีงานทำทั่วราชอาณาจักรซึ่งทำการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของตะวัน วรรณรัตน์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 พบว่ากลุ่มคนทำงานบ้านที่พักอาศัยอยู่กับนายจ้างเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ได้รับสวัสดิการในด้านต่างๆ มากที่สุด กล่าวคือ ได้รับที่พักอาศัยและอาหารเพิ่มเติมจากเงินเดือนตามปกติ อีกทั้งเมื่อเกิดเจ็บป่ วยหรือบาดเจ็บขึ้นนายจ้างบางรายอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่ารักษาพยาบาลให้ด้วย นอกจากนี้ ลูกจ้างบางรายอาจได้รับโบนัสประจำปี และเสื้อผ้า อย่างไรก็ตาม สวัสดิการเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับการตกลงกับนายจ้าง และไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพรวมของสวัสดิการที่ลูกจ้างทำงานบ้านส่วนใหญ่ได้รับสาเหตุที่นายจ้างจัดสวัสดิการต่างๆ ที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดให้กับลูกจ้าง เป็นเพราะนายจ้างต้องการสร้างความผูกพัน ความจงรักภักดีและขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับลูกจ้าง ผู้ต้องทำงานอยู่ใกล้ชิดภายในบ้านของนายจ้าง
เช่นเดียวกับอาชีพอื่นในกลุ่มแรงงานนอกระบบ โอกาสของลูกจ้างทำงานบ้านในการรวมกลุ่มอาชีพหรือตั้งสหภาพแรงงานมีจำกัด ลูกจ้างทำงานบ้านจำนวนมากเปลี่ยนงานบ่อย ลักษณะการทำงานที่อยู่ภายในบ้านของนายจ้างเป็นหลักส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เหนือสิ่งอื่นใด การขาดโอกาสในการศึกษาและความเข้าใจในสิทธิที่พึงได้รับและโอกาสในการรวมกลุ่มทางอาชีพ คืออุปสรรคสำคัญที่สุดในการรวมกลุ่มดังกล่าว
3.ลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้าน
สถานการณ์ทั่วไป
จำนวนผู้หญิงไทยที่มีอาชีพทำงานบ้านนั้นมีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันผู้หญิงไทยที่อายุยังน้อยนิยมทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากเชื่อว่ามีสถานภาพที่ดีกว่า ได้รับเงินเดือนมากกว่า และมีอิสรภาพมากกว่าจำนวนของลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านจึงเพิ่มสูงขึ้นเพื่อทดแทนการขาดแคลนลูกจ้างไทย นอกจากนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและความยากจนทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เข้าสู่ไทยมากขึ้น
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 มีแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาได้รับการจดทะเบียนเป็นลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทยถึง 1.29 แสนคน24 เทียบกับจำนวน 5.2 หมื่นคนในปี พ.ศ. 2546 ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติพม่า (1.02 แสนคน) ตามด้วยลาว 21.3 หมื่นคน และ กัมพูชา 6.59 พันคนแบ่งเป็นแรงงานหญิงจำนวน 108.2 แสนคน และชาย 20.7 หมื่นคน
สภาพการทำงาน
ลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านมีสภาพการทำงานที่ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ต้องทำงานนานกว่า 14 ชั่วโมงต่อวัน และไม่มีวันหยุดพักผ่อน รายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศระบุว่าแรงงานเด็กทำงานบ้านและแรงงานต่างชาติทำงานบ้านมีแนวโน้มที่จะถูกเอาเปรียบให้ทำงานเป็นเวลานานโดยไม่ได้หยุดพัก ใ นกลุ่มนี้มีเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นส่วนใหญ่ และแรงงานต่างชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมักจะไม่มีวันหยุดพักผ่อนเลย
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนมักถูกหลอกลวงโดยกลุ่มนายหน้าจากประเทศต้นทาง ก่อนจะส่งแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นให้อยู่ในมือของนายจ้างไทย ผู้ที่มักบังคับให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติทำงานประเภทต่างๆผ่านการขู่เข็น บังคับ หรือทำร้ายร่างกาย ประเภทของงานที่แรงงานข้ามชาติโดนบีบบังคับให้ทำนั้น นอกจากแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขายแรงงานทางเพศ และแรงงานประมงแล้ว แรงงานข้ามชาติจำนวนมากโดยเฉพาะผู้หญิงยังถูกบังคับให้ทำงานในฐานะคนรับใช้ในบ้านอีกด้วย
มูลนิธิผู้หญิงเป็นองค์กรอิสระที่ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำทารุณมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2551มูลนิธิผู้หญิงได้เข้าช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงซึ่งถูกขบวนการค้ามนุษย์บังคับให้ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านถึง 37 คดี ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของคดีค้ามนุษย์ทั้งหมดที่มูลนิธิผู้หญิงได้ให้ความช่วยเหลือในปีนั้น ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าแรงงานเด็กข้ามชาติผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี นั้นมักตกเป็นเหยื่อของขบวนการดังกล่าวได้ง่ายเป็นพิเศษ เพราะจากจำนวน 37 คดีที่กล่าวมา มีถึง 34 คดีที่ล่อลวงเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และในจำนวนนี้มี 16 คดีที่ล่อลวงเด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี
แรงงานข้ามชาติจำนวนมากประสบปัญหาเรื่องเสรีภาพในการเดินทาง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจาก การออกประกาศจังหวัดเพื่อควบคุมการใช้ชีวิตประจำวันของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง ระยอง และสุราษฎร์ธานี ซึ่งออกระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ประกาศดังกล่าวออกมาเพื่อควบคุมเสรีภาพต่างๆของแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชาโดยเฉพาะเสรีภาพในการเดินทาง แต่ถึงแม้ในจังหวัดอื่นที่ไม่มีประกาศที่ว่ามานี้ ก็ยังพบข้อจำกัดในเรื่องเสรีภาพในการเดินทาง การรวมกลุ่ม และสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของแรงงานข้ามชาติ เอ็นจีโอและกลุ่มปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติต่างเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านซึ่งพักอาศัยอยู่กับนายจ้าง คือกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกกระทำทารุณมากที่สุดเพราะไม่สามารถทั้งเป็นเจ้าของหรือใช้โทรศัพท์มือถือได้
ค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ และการรวมกลุ่ม
รายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศระบุว่าลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านส่วนใหญ่ (ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี) ได้รับค่าจ้างประมาณ 400 – 1,000 บาทต่อเดือน และในขณะที่ลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านจำนวนมากในเขตอำเภอแม่สอดได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 1,000 บาทต่อเดือน นั้นอาจวิเคราะห์ได้ว่า แรงงานข้ามชาติเหล่านั้นส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ข้อมูลจากรายงานดังกล่าวพบว่า ลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านบางคนเคยไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเวลาหลายเดือน
นายจ้างมักบีบบังคับให้แรงงานข้ามชาติยอมรับค่าแรงรายวันและค่าล่วงเวลาในอัตราที่ต่ำากว่าที่กฎหมายกำหนด หรือข่มขู่ หลอกลวงโดยไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง แรงงานเหล่านั้นอาจถูกไล่ออกเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะโอกาสที่จะรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือสมาคมเพื่อต่อสู้กับนายจ้างนั้นมีน้อยมาก
ในความเป็นจริงแล้ว สิทธิของแรงงานข้ามชาติในการก่อตั้งหรือจดทะเบียนในฐานะสหภาพแรงงานนั้นถูกควบคุมอย่างชัดเจนโดยกฎหมายไทย ซึ่งถือเป็นการขัดต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 (เสรีภาพในการสมาคม) ซึ่งประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบัน มาตรา 88 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2518 จำกัดสิทธิให้การจัดตั้งสหภาพแรงงานดำเนินการโดยคนไทยเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้แรงงานข้ามชาติสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานได้ แต่สหภาพฯดังกล่าวต้องก่อตั้งและมีหัวหน้าเป็นคนไทย
สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างทำงานบ้าน
กฎหมายแรงงานไทยไม่ได้ระบุถึงความคุ้มครองอาชีพของผู้ทำ “งานบ้าน” ไว้อย่างชัดเจน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้กีดกันอาชีพนี้อย่างชัดแจ้ง การตีความสามารถทำได้ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในการคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างทำงานบ้านในฐานะลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงซึ่งออกมาในปีเดียวกันกลับยกเว้นไม่คุ้มครองสิทธิบางประการให้แก่ลูกจ้างในครัวเรือนอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ส่งผลให้ลูกจ้างทำงานบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ พรบ. คุ้มครองแรงงานหลายประการดังนี้
1) ค่าจ้างขั้นต่ำ
ลูกจ้างทำงานบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ พรบ. คุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนั้น อัตราค่าจ้างจึงขึ้นอยู่กับความพอใจของนายจ้างเป็นหลัก
2) ชั่วโมงทำงาน และเวลาพักผ่อน
ลูกจ้างทำงานบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ พรบ. คุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับชั่วโมงทำงานและเวลาพักผ่อน
3) วันหยุดประจำสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณี
ลูกจ้างทำงานบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ พรบ. คุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณี ดังนั้นจึงไม่มีวันหยุดแม้เพียงหนึ่งวันต่อสัปดาห์ หรือไม่ได้รับสิทธิในการใช้วันหยุดตามประเพณีที่กฎหมายแรงงานระบุไว้ คืออย่างน้อย 13 วันต่อปี
*หมายเหตุ- กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ได้กำหนดเกี่ยวกับวันหยุดประจำสัปดาห์ และวันหยุดตามประเพณีแล้ว
4) สวัสดิการขั้นพื้นฐาน ประกันสุขภาพ อาหารและที่พัก
ลูกจ้างทำงานบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองในส่วนที่เกียวกับสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ประกันสุขภาพอาหารและที่พัก แต่ขึ้นอยู่กับนายจ้างเป็นหลักว่าจะจัดหาสวัสดิการดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือไม่
5) การจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง
ไม่มีมาตรการกำหนดห้ามจ้างเด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี ทำงานบ้าน ทำให้เด็กไม่ได้รับความคุ้มครอง
6) การชดเชยในกรณีถูกเลิกจ้าง
ลูกจ้างทำงานบ้านไม่อาจเรียกค่าชดเชยในกรณีถูกเลิกจ้าง
เช่นเดียวกับลูกจ้างทำงานบ้านไทย ในขณะที่กระทรวงแรงงานยืนยันว่าแรงงานข้ามชาติทุกคนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไทย กลุ่มลูกจ้างต่างชาติทำงานบ้านก็เป็นคนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกยกเว้นไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าว
คลิกอ่านรายงานฉบับเต็ม รายงานสถานการณ์ลูกจ้างทำงานบ้าน: ปัญหา อุปสรรค และการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง คลิก ตะลึงอาชีพแจ๋ว สร้างมูลค่าปีละ 1.1 หมื่นล. สร้างงานไทย 2.5 แสน-ต่างด้าวกว่าหมื่น
************************************
ที่มา
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.mfu.ac.th/
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ