‘จักรยาน’ ยานพาหนะที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการปั่นที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยต่าง เห็นได้จากตัวเลขของ สสส. ที่สอดคล้องกับการเติบโตของรถจักรยานมือสองญี่ปุ่น ทว่าการเติบโตย่อมตามมาด้วยการถดถอย เรื่องของยานพาหนะสองล้อจึงมีความสำคัญมากกว่าการพาผู้ขี่ไปสู่จุดหมาย เพราะกิจการจักรยานขยายขอบเขตไปไกลกว่าแค่สองล้อ แต่มันสัมพันธ์และเกี่ยวโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐ และระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จักรยานที่ดูจะเป็นยานพาหนะอันแสนเรียบง่าย จึงมิได้เรียบง่ายและสะดวกสบายอย่างที่คิด เพราะลูกระนาดก้อนมหึมาที่ท้าทายจักรยานอยู่ข้างหน้า คือ ภาษีและกฎหมาย ซึ่งทำให้การซื้อขายจักรยานเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทั้งสิ้น | ที่มาภาพจาก: Engin_Akyurt (CC0 Public Domain)
จากเทรนด์การปั่นจักรยานในไทย สู่จักรยานมือสองญี่ปุ่น-ทางเลือกของนักปั่นไทย
ระหว่างปี 2557-2558 จากของมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าเป็นยุคที่คนไทยตื่นตัวเรื่องเทรนด์การรักสุขภาพ โดยเฉพาะการปั่นจักรยานโดย สสส. เผยจำนวนผู้ปั่นจักรยานที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 100% ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยหันมาออกกำลังกายมากขึ้นเป็นเพราะ สสส. ได้รณรงค์การออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางโซเชียลมีเดีย สื่อโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้กระทั่งการจัดแคมเปญจากออกกำลังกายเพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย รวมถึงการปรับทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกายของคนไทยโดยเฉพาะการ การสนับสนุนการปั่นจักรยาน ซึ่ง สสส. ได้ร่วมมือกับเอกชนในการผลักดัน นโยบายแผนยุทธศาสตร์การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน (2558-2564) และได้รับมติเห็นชอบในการจัดกิจกรรมเพื่อนกระตุ้นการออกกำลังกายของคนไทยจึ่งเกิดโครงการที่รัฐและเอชนจับมือเพื่อร่วมทำโครงการการปั่นจักรยานครั้งยิ่งใหญ่ของไทยคือ ‘ไบค์ฟอร์มัม’ (BIKE FOR MOM) ปั่นเพื่อแม่ ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมากถึง 1.4 แสนคนทั่วประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา นายคงพันธุ์ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ บริษัท ไบต์โซน จำกัด เเผยว่าภาพรวมตลาดจักรยานยังคงมีการแข่งขันรุนแรงมาก โดยเฉพาะสินค้าผลิตในประเทศได้ออกมาทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ลดราคาสินค้าสูงสุด 50% ผ่อน 0% นาน 36 เดือน เพื่อแข่งขันกับจักรยานนำเข้าจากจีน ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนในตลาดถึง 90% เพราะมีราคาถูกกว่าไทยถึง 1 เท่าตัว หรือขายที่หลักพันถึงหลักหมื่นต้นๆ จนทำให้ช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยต้องหนีตายไปทำตลาดกลางบนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามจากจำนวนนักปั่นในภาพรวมนั้นพบว่าผู้ปั่นจักรยานนั้นมีหลากหลายกลุ่มและมีจักรยานหลายราคาให้ผู้ซื้อได้ครอบครองเป็นเจ้าของซึ่งจากราคาเริ่มตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสนนั้น ทำให้กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถซื้อจักรยานในระดับราคานั้นได้จึงต้องแสวงหาจักรยานมือสองราคาถูกที่มาจากต่างประเทศ โดยที่เราจะสามารถพบเห็นร้านค้าจักรยานมือสองนั้นกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แต่ถึงอย่างนั้นราคาของจักรยานมือสองก็ยังสูงเกินกว่าที่คนมีรายได้น้อยจะสามารถเป็นเจ้าของได้ แต่จักรยานมือสองที่ขายทั่วไปในประเทศบางส่วนนั้นถูกรับมาขายอีกทอดหนึ่งผ่านชายเดนแม่สอดซึ่งราคาเริ่มต้นไม่ถึงหนึ่งพันบาท แต่เหตุใดราคาจักรยานมือสองที่ขายทั่วไปจึงแพงกว่าจักรยานมือสองที่อำเภอแม่สอดถึง 2 เท่าตัว
ธุรกิจสินค้ามือสองดังกล่าวนั้นมีจุดเริ่มต้นมากจากท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยสินค้าถูกลำเลียงมาทางเรือในรูปแบบตู้คอนเทรนเนอร์ขนาดใหญ่และถูกลำเลียงไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับจักรยานมือสองนั้นจะถูกลำเลียงมายชายแดนแม่สอดซึ่งติดกับ ชายแดนพม่า เพื่อส่งออกไปยังประเทศพม่าต่อไป ดังนั้นเราจะเห็นธุรกิจการค้าจักรยานในเขตอำเภอแม่สอดเป็นจำนวนมากโดยที่เจ้าของกิจการเรียกที่ขายจักรยานว่า คลัง ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า10 คลัง กระจายตัวอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอแม่สอด
เส้นทางของจักรยานมือสองและใบกำกับภาษีที่เป็นภาระของผู้ซื้อ
ราคาตู้คอนเทนเนอร์ต่อการขนหนึ่งครั้งเป็นเงินหลายแสนบาท ขึ้นอยู่กับเกรดของจักรยาน ภายในตู้จึงไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นพ่อค้าจักรยานมือสองที่ท่าเรือริมเมยแห่งนี้ จะเหมาตู้คอนเทนเนอร์ของตัวเอง เพื่อนำจักรยานมาขาย เพราะมีความเสี่ยงที่จะต้องพักของเอาไว้ในโกดังจำนวนมากเกินไป เพราะหากระบายสินค้าไม่ทันอาจจะทำให้เงินจมและบริการจัดการไม่ได้ รวมถึงการดูแลรักษาจักรยาน ต้องใช้เวลาและความชำนาญพอสมควร ดังนั้นพ่อค้าจึงหุ้นกันสั่งจักรยานผ่านเครือข่ายของตนในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ล่ะครั้งจะมีกลุ่มพ่อค้าหุ้นกันประมาณ 4-5เจ้า พ่อค้าจักรยานจะหารค่าตู้กันเฉลี่ยเจ้าละ 50000-10000บาทขึ้นอยู่กับประเภทของจักรยานภาย ซึ่งในตู้จักรยานจะถูกแบ่งเป็น ส่วนๆ เท่าๆ กัน คละปะปนกันไป
เมื่อจักรยานถูกแบ่งในอัตราที่พ่อค้าแต่ละคนพอใจแล้ว พ่อค้าจะทำการลำเลียงจักรยานของต้นไปยังร้านที่ตั้งอยู่ตามท่าเรือต่างๆ โดยจะเรียกที่ขายจักรยานเหล่านี้ว่าคลัง ซึ่งคลังที่เป็นที่นิยมของหมู่นักปั่นคือคลัง 9 และ 10 ซึ่งเป็นแหล่งรวมของจักรยานมือสอง เมื่อสินค้ามาถึงร้านพนักงานของร้านซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวพม่า กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ก็จะทำการตรวจเช็คสภาพจักรยานทั่วทั้งคัน หากคันไหนทรุดโทรมมาก พวกเขาก็จะทำการถอดเปลี่ยนอะไหล่และเก็บรายละเอียดรอบคัน พ่นสี เพื่อให้จักรยานพร้อมขายหน้าร้าน
จักรยานที่ถูกเช็คสภาพและวางขายในคลังสินค้าท่าเรือริมเมย อ.แม่สอด | ที่มาภาพ: มติชนออนไลน์
เมื่อจักรยานถูกทำให้เสร็จพร้อมใช้งานแล้วผู้ค้าจะทำการเอาจักรยานโชว์หน้าร้านเพื่อให้ผู้สนใจ ทั้งคนไทยและคนพม่า ได้เลือกซื้อโดยราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นโดย โดยบางร้านจะบวกค่าใบกับกำภาษีไปแล้ว 400 บาทต่อคัน ไม่ว่าจักรยานคันนั้นจะมีราคาที่เท่าไหร่ก็ตาม สมมุติว่าผู้เขียนซื้อจักรยานในรา1200บาทโดยผู้ค้าบอกว่ารวมค่าใบกำกับภาษีไปแล้วดังนั้นราคาที่แท้จริงของราคาจะอยู่ที่800นั้นเอง แต่สำหรับบางร้านก็ไม่ได้รวมในใบกำกับภาษีให้ทางผู้ค้าจะบวกค่าใยภาษีภายหลังจากตกลงราคาจักรยานกับผู้ซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้วพ่อค้าจะบวกค่ากำกับภาษีภายหลังในอัตรา 400 บาทต่อคัน เพื่อใช้ใบกำกับภาษีนี้เป็นใบผ่านทางตามด่านต่างๆ เพื่อออกจากอำเภอแม่สอดต่อไป
ช่องโหว่กฎหมายในการหลีกเลี่ยงภาษีจักรยาน
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าในการเก็บภาษีจักรยานนั้นจะเก็บในรูปแบบจักรยานเป็นคันที่พร้อมใช้งานโดยจะเรียกเก็บในอัตราภาษีคันละ 400 บาททุกคันไม่ว่าราคาจักรยานนั้นจะเท่าไหร่ก็ตาม แต่ไม่ได้เก็บภาษีจักรยานในลักษณะการแยกชิ้นส่วน จึงทำให้พ่อค้าบางคนใช้ช่องโหว่ของกฎหมายนี้ในการหลีกเลี่ยงภาษี โดยแหล่งข่าวรายหนึ่งเล่ากับผู้เขียนว่ามีการใช้วิธีหลบเลี่ยงภาษีมากมายของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจักรยานเอง เช่น ผู้ซื้อตกลงซื้อจักรยานกับพ่อค้ารายหนึ่งจำนวน 20คัน แต่ผู้ซื้อไม่อยากเสียภาษีทั้งหมด จึงให้ทางร้านถอดชิ้นส่วนจักรยานจำนวน 5 คัน และแจ้งร้านให้ออกใบกำกับภาษี 15 คัน เมื่อผ่านด่านตรวจผู้ซื้อจะอ้างกับพนักงานว่าว่าเป็นชิ้นส่วนอะไหล่จักรยาน ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี และประกอบภายหลังออกจากเขตอำเภอแม่สอดแล้ว หรือแม้กระทั่งการแจ้งจำนวนสิ้นค้าที่ไม่ตรงกับสิ้นค้าในตู้ เช่น ในตู้มีจักรยานเต็มหนึ่งคันรถอาจมีมากถึง 100 คัน แต่ผู้ขายอาจแจ้งใบกำกับภาษีเพียง 60-70 คัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นได้ทั่วไป
ผู้ค้ารายหนึ่งให้ความเห็นว่า การเก็บภาษีในลักษณะดังกล่าวมีความไม่สมเหตุสมผลอยู่มาก พ่อค้าเองจึงต้องหาทางทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลงไปตาม การเลี่ยงภาษีในลักษณะดังกล่าว จึงอาจช่วยลดต้นทุนและล่อให้ผู้ซื้อชาวไทย ให้ซื้อในปริมาณที่มากขึ้น เพราะหากซื้อเป็นจำนวนน้อย การเลี่ยงภาษีจะทำได้ยากกว่าปกติ
เทรนด์นักปั่นซบเซา-ร้านค้าจักรยานทยอยปิดตัว
กลับมาที่ปัจจุบัน เทรนด์การปั่นจักรยานถือว่าลดลงกว่าเมื่อก่อนมากแต่ธุรกิจการค้าจักรยานมือสองก็ยังคงขายได้อย่างต่อเนื่องด้วยมีราคาที่ถูกกว่าจักรยานมือหนึ่งหลายเท่าตัวจึงไม่แปลกนักที่คนทั่วไปจะมองหาจักรยานมือสองไว้ใช้ในบ้านสักคันโดยที่ความต้องการจักรยานนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่และภูมิประเทศกันโดยเฉพาะไทยกับพม่าซึ่งมีความต้องการจักรยานที่แตกต่างกันออกไป
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ค้ารายหนึ่งในแม่สอด พบว่าแม้ธุรกิจจักรยานจะซบเซาลงไปบ้าง ร้านค้าบางร้านก็ทยอยปิดตัวไป เพราะทนกับกระแสการปั่นจักรยานที่ลดลงไม่ไหว แต่เขาก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจการค้าจักรยานมือสองได้อยู่เพราะมีจักรยานที่หลากหลายซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เกือบทุกกลุ่ม ทั้งชาวไทย และ ชาวพม่า ร่วมถึงการขายจักรยานผ่านสื่อออนไลน์ ก็เป็นการเพิ่มยอดขายได้ดีพอสมควร ผู้ค้ายังบอกอีกว่าชาวไทยและชาวพม่ามีความต้องการจักรยานที่ต่างกันออกไปโดยคนไทยจะชอบซื้อจักรยานประเภท เสือภูเขา และจักรยานพับได้ ส่วนลูกค้าฝั่งพม่าที่ข้ามฝั่งมาซื้อจักรยานที่ฝั่งไทยนั้นจะเน้นไปทางจักรยานที่มีตะกร้า หรือที่คนทั่วไปเรียนว่าจักรยานแม่บ้าน โดยส่วนแบ่งการตลาดระหว่างคนไทยกับพม่าจะอยู่ที่คนไทย70% และคนพม่า 30%
อย่างไรก็ตามผู้ค้าให้ความเห็นว่าธุรกิจจักรยานยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้หากภาครัฐสนับสนุนกิจกรรมการปั่นจักรยานเหมือนช่วง 3-4 ที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้การกิจกรรมการปั่นจักรยานกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งและผู้ค้าจักรยานอาจจะขายจักรยานได้เพิ่มมากขึ้นเหมือนเมื่อก่อน เพราะปัจจุบันภาครัฐหันไปสนับสนุนการวิ่งมาราธอนเป็นอันดับต้นๆ ทำให้เทรนด์การปั่นจักรยานไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ