สามัคคีแรงงานและนักศึกษา: กระดูกสันหลังในช่วงท้ายของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยปี 1989

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ คำหนัก 3 มิ.ย. 2562 | อ่านแล้ว 4081 ครั้ง

สามัคคีแรงงานและนักศึกษา: กระดูกสันหลังในช่วงท้ายของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยปี 1989

สามัคคีแรงงานและนักศึกษา: กระดูกสันหลังในช่วงท้ายของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยปี 1989 บทสัมภาษณ์ลี่ จินจิน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสหพันธ์แรงงานอิสระแห่งกรุงปักกิ่ง ที่มาภาพ: สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง

“ชนชั้นแรงงานเป็นชนชั้นทางสังคมที่ก้าวหน้าที่สุด เราต้องเป็นกระดูกสันหลังให้แก่ขบวนการประชาธิปไตย”
คำแถลงของแรงงาน (21 พฤษภาคม 1989)

คนงานรวมตัวกับนักศึกษา: การจัดตั้งสหพันธ์แรงงานอิสระแห่งกรุงปักกิ่ง

ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงของวันที่ 19 พฤษภาคม 1989 สหภาพแรงงานอิสระแห่งแรกของจีนได้ประกาศจัดตั้งขึ้นในกรุงปักกิ่ง ในคืนเดียวกันที่อดีตนายกรัฐมนตรี นายหลี่ เผิง ประกาศกฎอัยการศึกในกรุงปักกิ่ง พอดีที่ขบวนการประชาธิปไตยเกือบเข้าใกล้ใจกลางแห่งพายุ ธงของสหพันธ์แรงงานอิสระแห่งกรุงปักกิ่ง (Beijing Workers’ Autonomous Federation -BWAF) ก็โบกสะบัด ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินได้ทันในที่สุด คำประกาศจัดตั้งสหพันธ์แรงงาน BWAF ประกาศว่า ชนชั้นแรงงานได้แบกกระดูกสันหลังของขบวนการประชาธิปไตยไว้อย่างเป็นทางการ

นอกจากตัวแทนที่เป็นคนงานแล้ว ยังมีผู้นำนักศึกษาอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นผู้นำของสหพันธ์แรงงาน BWAF ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของกลุ่มสองประสาน “แรงงาน-นักศึกษา” ลี่ จินจิน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสหพันธ์ BWAF ซึ่งขณะนั้นเมื่อปี 1989 เขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขากฏหมายรัฐธรรมนูญของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อเราขอสัมภาษณ์เขา ลี่ จินจินก็ตอบรับคำเชิญเรา 8 คำทันที คือ "ฉันมีหน้าที่รับผิดชอบในการระลึกถึงวันที่ 4 มิถุนายน" ในช่วงเวลาการยืนกรานที่จะปกป้องการระลึกถึงเหตุการณ์ของวันนี้เริ่มที่จะแผ่วเบา การตอบรับการสัมภาษณ์ของลี่ จินจิน แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจดั้งเดิมของเขาที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย “ก่อนที่สหพันธ์ BWAF จะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ แรงงานมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในขบวนการประชาธิปไตยแล้ว พวกเขาเรียกร้องหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงาน เสรีภาพในการสมาคม แต่น่าเสียดายที่ขาดการสนับสนุนหรือการยอมรับจากนักศึกษาตอนนั้น "องค์กรแรงงานจึงจัดตั้งได้ล่าช้า" อย่างไรก็ตาม แรงงานพยายามแสวงหาความสามัคคีกับนักศึกษาอย่างกระตือรือร้น "ในตอนเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม ตัวแทนแรงงาน 2 คนเดินเข้ามาในเต็นท์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่งในจัตุรัสเทียนอันเหมิน บอกว่า “จะมีพนักงานอีกหลายร้อยคนมารวมตัวกันที่จัตุรัสด้านทิศตะวันออกของหอประชุมใหญ่ The Great Hall of People และวางแผนจัดตั้งสหภาพแรงงาน ขอให้นักศึกษาช่วยมาสนับสนุนพวกเขา ผมจึงอาสาไปกับพวกเขาและแสดงความสมานฉันท์กับคนงานในนามของนักศึกษา”

"ผมจำได้ว่าคนงาน 2 คนที่เข้าไปในเต็นท์มหาวิทยาลัยปักกิ่งคือ Bai Dongping และ Yue Wu หลังจากกล่าวสุนทรพจน์ให้กับคนงาน ผมก็กลับไปยังเต็นท์ของมหาวิทยาลัยทันทีและร่าง "ปฏิญญาแรงงานปักกิ่ง" ขึ้นมา ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์โดยคนงาน จากนั้น ผมเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการ เนื่องจากผมเป็นนักศึกษา ผมจึงอาสาที่จะเป็น 'ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย' ให้พวกเขา" ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ BWAF จึงเป็นองค์กรแรงงานอิสระแห่งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน

“เราประกาศให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนในประเทศทราบว่า ได้มีการจัดตั้งองค์กรแรงงานแห่งกรุงปักกิ่งแล้ว”
จากคำประกาศของแรงงานกรุงปักกิ่ง (19 พฤษภาคม 1989)

แรงงานเป็นเจ้าของชะตากรรมของตนเอง: การสร้างแรงบันดาลใจให้คนงานทั่วประเทศจัดตั้งองค์กรแรงงาน

ในการเข้าร่วมกับขบวนการประชาธิปไตยเมื่อปี 1989 ไม่ได้เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มจัดตั้งสหพันธ์ BAWF กล่าวคือ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พลเมืองปักกิ่งและคนงานจำนวนมากออกไปประท้วงสนับสนุนนักศึกษา และในระหว่างการชุมนุมในวันที่ 17 พฤษภาคม มีกลุ่มคนงานจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุม โดยมีป้ายผ้าบอกว่า "คนงานมาแล้ว" "คนงานรักนักศึกษา" และ "คนงานโรงงาน XX ขอสนับสนุนนักศึกษา" ติดทั่วถนนของกรุงปักกิ่ง ในเวลาเดียวกันคนงานและชาวปักกิ่งจำนวนมากก็ตั้งแนวรั้วเพื่อปกป้องนักศึกษาที่กำลังอดข้าวประท้วงในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ลี่ จินจินย้ำว่า "การจัดตั้งสหพันธ์ BWAF เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่า ขบวนการนักศึกษาได้พัฒนาเป็นขบวนการมวลชน และคนงานควรเป็นผู้นำขบวนการมวลชน นอกจากนี้ BWAF ยังเป็นผู้นำเรียกร้องให้คนงานทั่วประเทศมารวมตัวกันด้วย" และนับตั้งแต่การก่อตั้ง BWAF ก็ได้จัดตั้งองค์กรแรงงานอิสระเช่นเดียวกันนี้ ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ กวางโจว หางโจว จี่หนาน ฉางชา หนานจิง ซีอาน ซูโจว ฟูโจวและโฮห์ฮอต

จากบทบาทสนับสนุนไปสู่การเป็นผู้นำที่กระตือรือร้น: การมีส่วนร่วมของแรงงานในขบวนการประชาธิปไตยปี 1989

ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของการต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตย BWAF ได้จัดตั้งตัวเองอย่างเป็นระบบอย่างรวดเร็ว แม้จะอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายและการใช้กฎอัยการศึก คนงานก็จัดทำสถานีออกอากาศ แพร่กระจายใบปลิว ประสานงานกับนักศึกษาและปิดกั้นแนวทหาร ลี่ จินจินย้ำอีกว่า ศักยภาพในการระดมกำลังของ BAWF ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวมวลชนอย่างมาก "หลังจากการก่อตั้ง BWAF สถานีออกอากาศได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ West Ceremonial Podium ของจตุรัสเทียนอันเหมิน อุปกรณ์ดังกล่าวหาซื้อและประกอบโดย Zhou Yongjun และกลายเป็นอุปกรณ์ที่เสียงดังที่สุดในจัตุรัส เนื่องจากอยู่ใกล้กับถนน Changan ชาวปักกิ่งที่ผ่านไปมาก็จะหยุดแวะที่ถนนนี้ เพื่อฟังการปราศรัยของเราทุกวัน ในทางกลับกัน BWAF ก็รับพิมพ์และแจกจ่ายแผ่นพับในช่วงหลังของการชุมนุม

"กำลังหลักของ BWAF คือ พนักงานจาก Bai Dongping, Zhao Pinzhen และ Han Dongfang นอกจากนี้ยังมีตัวแทนนักศึกษา เช่น ลี่ จินจินและโจว ยงจุนซึ่งสะท้อนความเป็นปึกแผ่นระหว่างคนงานและนักศึกษา แม้อยู่ในสภาพการณ์ที่รุนแรงที่สุด BWAF ยังสามารถวางแผนปฏิบัติการและร่างกฎบัตรชั่วคราวได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ในทางกลับกัน BWAF ระดมแรงงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกและการโฆษณาประชาสัมพันธ์การชุมนุมเคลื่อนไหว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ตัวแทนของคนงาน 3 คนถูกตำรวจจับ องค์กร BWAF ระดมคนงานหลายร้อยคนไปประท้วงหน้าสถานีตำรวจทันที การดำเนินการได้รับการสนับสนุนจากนักศึกษาจำนวนมาก เมื่อพูดถึง "ชัยชนะเล็ก ๆ" ที่เกิดจาก "ความสามัคคีระหว่างแรงงานกับนักศึกษา" ลี่ จินจินรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นมา ... "การดำเนินการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ตำรวจปล่อยคนงาน 3 คนในวันถัดไป" เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยืนยันต่อไปว่าการมีส่วนร่วมของคนงานค่อยๆ พัฒนาจากบทบาทสนับสนุนไปสู่การร่วมนำกับนักศึกษาอย่างกระตือรือร้น

อย่างไรก็ตามการปราบปรามที่โหดร้ายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ทำลายเสรีภาพในระยะสั้นนี้ หลังจากการสังหารหมู่เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน คนงานถูกปราบปรามอย่างรุนแรง สมาชิกหลัก ได้แก่ Han Dongfang, Liu Huanwen, Liu Qiang, Zhou Yongjun และคนอื่น ๆ ถูกจับกุมทั่วประเทศ คนงานจำนวนมากถูกตัดสินประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ลี่ จินจินถูกจับกุมที่บ้านของเขาในหวู่ฮั่นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนและถูกตั้งข้อหาอาชญากรต่อต้านการปฏิวัติ หลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 1993 เขาได้ย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาและตอนนี้เป็นนักกฎหมายฝึกหัดในกรุงนิวยอร์ก

แม้ว่าสหพันธ์แรงงานอิสระจะก่อตั้งขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ยากลำบากที่สุดในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ BWAF ก็แสดงให้เห็นถึงความมีวินัยสูงขององค์กรและความสามารถในการระดมกำลังคนในช่วงประวัติศาสตร์อันสั้นขององค์กร และกลายเป็นหนึ่งในตัวอย่างของแรงงานชาวจีนต่อมา อย่างไรก็ตาม ข้อเรียกร้องที่หยิบยก เช่น การปรับปรุงค่าจ้าง การต่อต้านการทุจริตและสิทธิในเสรีภาพในการสมาคมยังไม่ได้รับการตอบสนองจนถึงปัจจุบัน สมาชิกคนสำคัญของสหพันธ์แรงงานอิสระจากทั่วประเทศเช่น ลี่หวางหยาง หลิวเส้าหมิง ไบตงปิงและโจวยองจุน เป็นต้น ยังคงถูกเจ้าหน้าที่รัฐปราบปรามอย่างต่อเนื่อง แต่เราจะไม่ลืมการมีส่วนร่วมของแรงงานในขบวนการประชาธิปไตย 1989 เราหวังว่า สักวันหนึ่งพลังของ "คนงาน - นักศึกษา" จะกลายเป็นกระดูกสันหลังของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในฮ่องกงและจีน


ที่มาจากเว็บไซต์สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง
http://en.hkctu.org.hk/content/workers-unite-students-backbone-late-stage-1989-democratic-movement-interview-li-jinjin

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: