พบผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีลักษณะ 'บ้านหรือตึกสองชั้นขึ้นไป' 44% ตามมาด้วย 'บ้านชั้นเดียว ไม่ยกพื้น' 26.3% ส่วน 'บ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูง' 25% และอื่นๆ อีก 4.8% ที่มาภาพประกอบ: Andrea Kirkby (CC BY-SA 2.0)
ข้อมูลจาก รายงานการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ระบุว่าโครงสร้างของบ้านเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดความอยู่ดีของผู้อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในการลดโอกาส หรือป้องกันอุบัติเหตุในบ้านที่พบบ่อย เช่น การหกล้ม หรือตกบันได โดยโครงสร้างของบ้านส่วนใหญ่ของไทยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ (1) บ้านชั้นเดียวยกพื้นสูง ที่ผู้อยู่อาศัยต้องขึ้นลงบันไดเป็นประจำวัน (2) บ้านชั้นเดียวไม่ยกพื้น (3) บ้านหรือตึกสองชั้นขึ้นไป
จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในบ้านที่มีลักษณะ 'บ้านหรือตึกสองชั้นขึ้นไป' ร้อยละ 44 ตามมาด้วย 'บ้านชั้นเดียว ไม่ยกพื้น' ร้อยละ 26.3 ส่วน 'บ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูง' ร้อยละ 25 และอื่นๆ อีกร้อยละ 4.8
เมื่อจำแนกตามเขตการปกครองพบว่า บ้านหรือตึกสองชั้นขึ้นไปพบมากที่สุดทั้งในเขตและนอกเขตการปกครอง ร้อยละ 51.3และ 37.3 ตามลำดับ รองลงมาคือ บ้านชั้นเดียว ไม่ยกพื้น พบนอกเขตฯ มากกว่าในเขตฯ ร้อยละ 29.9 และ 23.3 ตามลำดับและบ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูง พบว่ามีสัดส่วนใกล้เคียงกับกรณีไม่ยกพื้น มีร้อยละ 25.2 ซึ่งพบสัดส่วนของนอกเขตฯ มากกว่าในเขตฯ เช่นเดียวกัน และเมื่อจำแนกตามภาคจะเห็นความแตกต่างระหว่างภาคได้ค่อนข้างชัดเจน อาทิเช่น บ้านชั้นเดียวยกพื้นสูงพบมากที่สุดในภาคเหนือ (ร้อยละ 36.9) รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 30.2) สำหรับภาคใต้นิยมบ้านชั้นเดียวไม่ยกพื้น ร้อยละ 45.5 สำหรับบ้านหรือตึกสองชั้นขึ้นไปพบร้อยละ 82.3 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 55.9 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ