7 การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น เพื่อสู้กับการขาดแคลนอาหาร

สมานฉันท์ พุทธจักร | บรรณาธิการ z-world.in | 13 ส.ค. 2562 | อ่านแล้ว 22383 ครั้ง


องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้จัดทำรายงานชิ้นใหม่ออกมา ที่ชี้ให้เห็นว่าภาวะอดอยากและหิวโหยของผู้คนในโลก ยังอยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยสถิติเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่มากกว่า 821 ล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้น 10 ล้านคนจากปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 811 ล้านคน 

ปัญหาการอดยากปัญหาหลักอย่างหนึ่งเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่ไม่สามารถกระจายความมั่งคั่งได้อย่างดีพอ ทำให้คนส่วนล่างฐานเศรษฐกิจไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้  และอีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของการผลิตอาหารของโลกในปัจจุบัน ที่มีปัญหาทางระบบ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงผู้คนได้เพียงพอ ยิ่งประชากรโลกมีจำนวนมากขึ้นตลอด และภายในปี 2050 คาดกันว่าโลกจะมีประชากรจะมี10,000 ล้านคน แนวโน้มที่โลกจะไม่สามารถผลิตอาหารๆ ได้อย่างพอเพียงจึงมีสูง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

1. ลดการบริโภคเนื้อ

ดูจะไม่เกี่ยวกันแต่เกี่ยว เพราะปัจจุบันเราอยู่ในระบบการเกษตรเชิงเดี่ยว ที่เราต้องปลูกพืชผักเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ แล้วเราค่อยกินสัตว์เข้าไปอีกทีหนึ่ง ทำให้เราเสียพื้นที่การเกษตรไปประมาณถึง  1 ใน 3 ในการปลุกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ การลดการกินเนื้อสัตว์จึงถูกเสนอเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะเนื้อวัว ที่จะสู้กับการขาดแคลนอาหารได้ ทั้งยังเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมที่จะลดการปล่อยคาร์บอนจากอุตสาหกรรมปศุตสัตว์ และลดการทำลายพื้นที่ป่าอย่างดี

โดยยิ่งในประเทศที่บริโภคเนื้อสัตว์มาก จนเยอะเกินความจำเป็น อย่างอเมริกาเหนือที่กินเนื้อมากกว่ามีวิจัยแนะนำ 6.5 เท่า ต่างกันกับในอาเซียนเรา ที่กินเนื้อวัวน้อยกว่างานที่แนะนำถึงครึ่งหนึ่ง มีการประมาณการว่าต้องใช้พื้นที่ถึง 1.1 ล้าน เอเคอร์เพื่อผลิตโปรตีนในกับคนสหรัฐอเมริกาที่ บริโภคโปรตีนมากเกินไป

2. เปลี่ยนวิธีการผลิตอาหาร

การผลิตอาหารหลักของโลกอยู่ในรูปแบบอุตสาหกรรมใหญ่ ที่ใช้การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นหลัก ทั้งยังใช้สารเคมีจำนวนมหาศาล ทำให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และยังทำให้ความอุดมสมบูรณ์ลดลง มีงานศึกษาที่บอกว่าหากยังเรายังเกษตรแบบนี้อยู่ พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ที่ทำอยู่จะไม่สามารถใช้งานได้อีกใน 60 ปีข้างหน้า ทำให้ต้องเปิดพื้นที่ใหม่ไม่มีสิ้นสุด ในปัจจุบันก็ยังพบว่าผลผลิตทางการเกษตรผลิตได้น้อยลงราว 20% จากที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว

3. เปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหาร (Supply chain)

กว่าอาหารจะเข้ามาสู่จานของเราได้วัตถุดิบนั้นต่างมาจากหลากหลายที่มา เช่นพริกจากสเปน เครื่องเทศจากอินเดีย จึงมีสิ่งที่เรียกว่า“Food mile” ขึ้นมา ซึ่งจะติดอยู่ตามฉลากอาหารสดตามห้างสรรพสินค้า เพื่อบอกว่าสินค้าที่เรากำลังจะซื้อเดินทางมาไกลเท่าไหร่ ซึ่งมีการรณรงค์ในใช้อาหารที่มี Food miles น้อย คืออาหารมาจากใกล้ๆเมืองที่เราอยู่ เพราะทำให้ลดการขนส่งที่สิ้นเปลืองพลังงาน และยังทำให้อาหารเสียไปจำนวนมากระหว่างขนส่ง แต่การจะมีวัตถุดิบจากไกล้เคียงมาใช้ประกอบอาหารนั้น ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตอย่างมาก อย่างสนับสนุนให้เกษตรกรท้องถิ่นปลุกผสมผสานมากขึ้น

4. จัดการอาหารเหลือ

ตัวเลขจากองค์การสหประชาชาติ บอกว่าอาหารที่ผลิตมาทั้งหมดในโลกมีถึง 1 ใน 3 ที่ไม่ได้มาอยู่บนจานอาหารของเรา อาหารเหล่านั้นกลายเป็นอาหารเหลือทิ้งไป รวมแล้ว 1.3 พันล้านตันต่อปี ยุโรปและอเมริกาเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีอาหารเหลือมากที่สุดในโลก อาหารหนึ่งเหลือเพียง 1 ส่วน 4 ของในอเมริกาเหนือและยุโรปสามารถนำไปเลี้ยงชีวิตผู้อดยากทั่วโลกได้ถึง 1 พันล้านคน

หลายประเทศอย่างฝรั่งเศส เริ่มมีการจัดการอาหารเหลือแล้วเพราะมองว่า หากปล่อยให้อาหารเหลือยังคงจำนวนมาก โลกจะต้องใช้พื้นที่การเกษตรมากเกิน ทั้งยังทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น

5. การผลิตแบบเข้มข้น

พื้นที่เกษตรในโลกมีจำกัด หากจะเพิ่มพื้นที่การเกษตรออกไป จะต้องไปใช้พื้นที่ป่าอีกจำนวนมาก ทั้งยังใช้ทรัพยากรธรรมมชาติอีกมากมาย ในเมื่อความต้องการอาหารมีมากขึ้นแต่พื้นที่ยังอยู่เท่าเดิม การผลิตที่เข้มข้นจึงจำเป็น คือใช้พื้นที่เท่าเดิมแต่ให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ปัจจุบันเกษตรในประเทศด้อยพัฒนาในหลายพื้นที่ ยังทำเกษตรได้ผลผลิตน้อยเกินไปเมื่อเทียบพื้นที่ซึ่งใช้ไป การนำนวัตกรรมและความรู้ทางการเกษตรเข้าไปใช้เพื่อเพิ่มการผลิต จึงจำเป็นในอนาคต

6.มาตรการลงโทษ

เกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่สร้างความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมอย่างมาก การทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรคนหนึ่ง จะเป็นปัญหาลูกโซ่ไปสูงระบบเกษตรโดยภาพรวม รัฐจึงควรมีมาตรกรลงโทษเกษตรที่สร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม ในฐานะที่สร้างความเสียหายให้กับสาธารณะ อย่างการปล่อยมลพิษ ทำลายพื้นที่ป่า หรือทำให้ดินเสียความอุดมสมบูรณ์

7.แหล่งโปรตีนใหม่

เมื่อแหล่งอาหารเก่ามีไม่มากพอเราก็ต้องหาแหล่งใหม่ โดยเฉพาะแหล่งโปรตีที่เราสามรทดแทน การกินอาหารสัตว์ที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่กล่าวไว้ ด้วยหาแหล่งโปรตีนใหม่ อย่างบริโภคธัญญาพืขมากขึ้น รวมถึงแมลงที่มีอยู่จำนวนมากที่ให้โปรตีนสูง

 

อ้างอิง 

https://bigthink.com/surprising-science/climate-change-diet
https://www.weforum.org/agenda/2019/04/south-korea-recycling-food-waste
https://www.bbc.com/news/health-46865204

 


 

 หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ Z-world

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: