โลกยิ่งร้อน เรายิ่งเหลื่อมล้ำ

สมานฉันท์ พุทธจักร บรรณาธิการ z-world.in : 15 ต.ค. 2562 | อ่านแล้ว 4191 ครั้ง


การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะนำเราไปสู่วิกฤตผู้ลี้ภัยที่รุนแรง ยิ่งคนในพื้นที่ยากจน ที่มีควาสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ต่ำ จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่สุด และส่วนหนึ่งต้องทนทุกข์กับผลกระทบของมันแล้ว” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Pope Francis) เคยกล่าวไว้ในปี  2016

โลกที่เราอาศัยใบเดียวกันนี้ ที่ว่ากันว่ากำลังเผชิญกับมาปัญหาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางสภพอากาศ หรือที่สรุปความกันว่าภาวะโลกร้อนนั้น แม้จะอยู่ในโลกใบเดียวกันแต่เรา แต่ละคนก็ได้รับผลกระทบจากมันมาน้อยต่างกันออกไป ถ้าเราอยู่ในประเทศที่ยากจน ไม่มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติอย่าง น้ำท่วม พายุ คลื่นความร้อน หรือภัยแล้งอย่างยาวนาน ก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากผลของมัน มากกว่าประเทศที่ระบบสาธารณูปโภคที่ดี อย่างมีระบบจัดการน้ำที่ดีทำให้น้ำไม่ท่วมหรือ มีน้ำใช้ได้ในช่วงฤดูแล้ง

ในแต่ล่ะปีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างกระทันหัน ส่งผลให้มีผู้คนหลายล้านต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนมากนั้นมาจากประเทศที่ยากจน งานศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สำรวจการผู้คนที่แสดงความจำนงขอลี้ภัยมายังสหภาพยุโรป พบว่ามีมากกว่า 350,000 คำขอต่อปี จาก 103 ประเทศทั่วโลก นำมาจำแนกตามประวัติสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เพื่อหาความแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ในช่วงตั้งแต่ 2000-2014 สิ่งที่งานศึกษาชิ้นนี้ค้นพบ คือยิ่งประเทศใดอุณหภูมิในพื้นที่เกษตรกรรมแปรปรวนออกจากค่าที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก จะมีจำนวนผู้ส่งคำขอลี้ภัยมากขึ้นตามมาด้วย และเมื่อคาดการณ์จากสถานการณ์ปัจจุบัน ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 21 จะมีอัตราการขอลี้ภัยเพิ่มขึ้นถึง 200%

จนมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมาคือ “climate apartheid” การกีดกันจากสภาพอากาศ  ที่คนร่ำรวยไม่กี่คนหนีรอดไปได้ด้วยเงินที่เขามี ปล่อยให้ที่เหลือต้องทนทุกข์ ในสถานการณ์ที่ภาวะโลกร้อนนั้นทำให้ทรัพยากรของโลกลดน้อยลง คนที่มีอำนาจก็สามารถหยิบคว้าเอาทรัพยากรได้ง่ายดาย ต่างจากคนจนที่จะยิ่งถูกเอาทุกอย่างไปจนไม่หลายอะไร

ไม่ใช่แค่ระบบทุนนิยมเท่านั้นที่ทำให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย-คนจน แต่ภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิดความเหลื่อล้ำได้ไม่ต่างกัน  งานศึกษา มหาวิทยาลัยStanford เผยว่ายิ่งอุณหภูมิสูงขึ้นมากเท่าไหร่ ความเหลื่อมล้ำนั้นจะยิ่งสูงขึ้นไปตาม โดยเผยตัวเลขว่าช่องว่างรายได้ระหว่างประเทศรวยที่สุดกับประเทศที่ยากจนที่สุด  วัดจาก GDP ต่อหัวประชากร เพิ่มขึ้น 25% จากภาวะโลกร้อน

งานศึกษาชิ้นดังกล่าวใช้การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ ข้อมูลจาก 165 ประเทศ ตั้งแต่ปี 1961 ถึง 2010  ซึ่งเป็นช่วงที่คาดว่าเป็นจุดเริ่มของภาวะโลกร้อน หลังมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใช้โมเดลทางสภาพอากาศ เพื่อจำลองตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศหากไม่มีการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิ ออกมาเป็น 20,000 แบบ “ประวัติศาสตร์ทางข้อมูลบอกชัดเจนว่า การเพาะปลูกจะเพิ่มขึ้น คนจะมีความสุขขึ้น หรือเราจะทำงานได้มีคุณภาพมากขึ้น ไม่ได้หากอากาศร้อนหรือหนาวเกินกว่าปกติ” Marshall Burke หนึ่งในผู้ร่วมโครงการศึกษากล่าว

ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่กล่าวไปข้างต้นที่ทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ออกจากภาวะปกติส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ที่น่าสนใจขึ้นไปอีกคือ ไม่เหมือนกับปัญหาอื่นๆที่ใครสร้างปัญหาก็จะได้รับผลของมัน แต่กับเรื่องโลกร้อน ประเทศที่ก่อให้เกิดปัญหากลับไม่ได้รับผลของมัน

จากงานศึกษายังเผยอีกว่าในระหว่างปี 1951 ถึง 2010 มี 18 ประเทศที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 10 ตัน ต่อหัวประชากร แต่กลับได้รับผลกระทบด้านลบจากสภาวะโลกร้อน คือมี GDP ต่อหัวประชากรต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 25% เมื่อเทียบกับหากว่าไม่มีภาวะโลกร้อน ต่างจาก 14 จาก 19 ประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากกว่า 300 ตันต่อหัวประชากร ได้รับประโยชน์จากภาวะโลกร้อน โดยทำให้มี GPD ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น 13 % จากที่ควรจะเป็นหากไม่มีภาวะโลก

 

อ้างอิง 

https://grist.org/article/study-climate-change-makes-rich-countries-richer-and-poor-ones-poorer/

https://www.bbc.com/worklife/article/20190502-how-global-warming-has-made-the-rich-richer

https://www.tcijthai.com/news/2018/4/article/7928


 

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ Z-world

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: