ก.คลังอินโดนีเซียเริ่มเก็บภาษี E-Commerce ต่างชาติ หลังส่วนแบ่งการตลาดทิ้งห่างค้าปลีกท้องถิ่นไม่เห็นฝุ่น

กองบรรณาธิการ TCIJ: 19 ม.ค. 2562 | อ่านแล้ว 2296 ครั้ง

ก.คลังอินโดนีเซียเริ่มเก็บภาษี E-Commerce ต่างชาติ หลังส่วนแบ่งการตลาดทิ้งห่างค้าปลีกท้องถิ่นไม่เห็นฝุ่น

 

รัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมจัดเก็บภาษี 'E-Commerce' ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป โดยจะบังคับให้แพลตฟอร์มต่างๆ จัดเก็บข้อมูลยอดขายทั้งหมดในสินค้าทุกประเภท แล้วแจ้งต่อกรมสรรพากรของอินโดนีเซียเพื่อจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง ภายใต้กฎระเบียบใหม่ของกระทรวงการคลัง ที่เรียกว่า 'NPWPs' คือธุรกิจ E-Commerce ทุกรายจะต้องมีหมายเลขผู้เสียภาษี

กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลต่อธุรกิจ E-Commerce ทุกขนาดทั้งเล็กและใหญ่ รวมทั้งลาซาด้า และ Tokopedia ในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงจากชาวอินโดนีเซีย และเคยถูกกลุ่มค้าปลีกท้องถิ่นร้องเรียนว่าแข่งขันในตลาดอย่างไม่เป็นธรรม ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียเผยว่า รัฐบาลพยายามสร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมทางการค้าขายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาระหว่างร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนตลาดค้าปลีกดั้งเดิมลดลง 8% ต่อปี ขณะที่ค้าปลีกสมัยใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 31.4% ต่อปี 

 อย่างไรก็ตาม ระเบียบใหม่นี้ระบุว่าผู้ขายสินค้าในแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่มีรายได้อย่างน้อย 4,800 ล้านรูเปียห์ จะต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า และจ่ายให้กับทางการอินโดนีเซีย โดยผู้ขายสินค้าออนไลน์ที่มีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะต้องเสียภาษี 0.5% ของรายได้ สำหรับผู้ให้บริการ E-Commerce รายใหญ่จะต้องเสียภาษีนิติบุคคลที่ 25% ซึ่งเป็นข้อกำหนดเดียวกับธุรกิจค้าปลีกในประเทศ

ที่มาข่าวและภาพประกอบ: Bloomberg, 17/01/2019

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: