แรงงานอินเดียประท้วงต่อต้านนโยบายแรงงานของรัฐบาล

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ คำหนัก 19 ม.ค. 2562 | อ่านแล้ว 5608 ครั้ง

แรงงานอินเดียประท้วงต่อต้านนโยบายแรงงานของรัฐบาล

ผู้ใช้แรงงานนับหมื่นคนรวมตัวกันที่ใจกลางกรุงนิวเดลีเมื่อวันพุธที่ 9 ม.ค. 2019 ที่ผ่านมาเพื่อประท้วงนโยบายแรงงานของรัฐบาล รวมถึงข้อเสนอการปฏิรูป ที่มาภาพ: Times of India

ผู้ประท้วงตะโกนคำขวัญและถือป้ายโปสเตอร์ ต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที (ผู้นำพรรค Bharatiya Janata-BJP) ซึ่งออกนโยบายต่อต้านแรงงาน นอกจากนี้ผู้ประท้วงเรียกร้องค่าจ้างและสวัสดิการถ้วนหน้าด้วย

ตัวแทนสหภาพแรงงานให้สัมภาษณ์กับสำนักข่า EFE ว่าการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นเวลา 2 วันเป็นการส่งสารทางการเมืองไปยังรัฐบาล ซึ่งกำลังจะจัดเลือกตั้งทั่วไปในปี 2019 โดยนายโมทีต้องการที่จะอยู่ในอำนาจต่อเป็นวาระที่ 2

แรงงานทุกภาคส่วนออกมาประท้วงนโยบายต้านแรงงานของรัฐบาล การนัดหยุดงานครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประท้วงของชาวนาและต้องการจะส่งสารไปยังรัฐบาลที่กำลังทำลายกฎหมายคุ้มครองแรงงานในนามของคำว่า "ปฏิรูป" น.ส. Shweta Raj เลขาธิการของสภาศูนย์กลางสหภาพแรงงานแห่งประเทศอินเดียทั้งหมด กล่าว

Shweta Raj เสริมว่า คนงานอุตสาหกรรมหลายพันคนในเมืองหลวงของอินเดียเรียกร้องให้ปิดเมืองและหยุดงาน

การนัดหยุดงานประกาศโดยสภาพแรงงานส่วนกลาง 10 แห่ง (ได้แก่ INTUC, AITUC, HMS, CITU, AIUTUC,TUCC, AICCTU, SEWA, LPF, UTUC) เมื่อวันอังคารที่ 7 ม.ค. 2019 บริเวณนิคมอุตสาหกรรมในรัฐเบงกอลทางตะวันออกและรัฐเกรละทางตอนใต้ของประเทศ

การขนส่งมวลชนต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการนัดหยุดงานทั่วไป ร้านค้าก็พากันปิด แต่ยังพอมียานพาหนะส่วนบุคคลบนท้องถนนโฆษกตำรวจรัฐเกรละให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว EFE

หัวหน้าสำนักงานของรัฐบาลแห่งรัฐเกรละ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การนัดหยุดงานจัดตั้งโดยสหภาพแรงงานระดับชาติ รวมถึงศูนย์กลางสหภาพแรงงานแห่งอินเดีย ซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย, สภาแรงงานแห่งชาติอินเดียซึ่งเป็นพันธมิตรของพรรคการเมืองฝ่ายค้านคือ พรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian Nationals Congress) สหพันธ์แรงงานและลูกจ้างอิสระแห่งชาติ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ องค์กรลูกจ้างภาครัฐส่วนกลางและในรัฐต่างๆ ของประเทศ เช่น รถไฟ สาธารณสุขการศึกษา น้ำประปา ธนาคาร ประกันชีวิตโทรคมนาคม น้ำมัน ขนส่งมวลชน กลุ่มแรงงานก่อสร้าง องค์กรแรงงานข้ามชาติ แรงงานทำงานใบ้าน แรงงานรับงานไปทำที่บ้าน แรงงานภาคเกษตร เป็นต้น

มีการรายงานข่าวถึงการเดินขบวนขนาดใหญ่จากรัฐต่างๆ คือ รัฐพิหารทางตอนเหนือ รัฐอานธรประเทศทางตอนใต้ ที่ซึ่งคนงานเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำ 18,000 รูปี (255 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อเดือน รวมทั้งเงินบำนาญ

นอกจากนี้ ยังต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน ต้านการจ้างงานสัญญาจ้างระยะสั้น เรียกร้องให้รัฐรับรองอนุสัญญา 87, 98, 177, และ 189 เป็นต้น

ที่มาเรียบเรียงจาก
https://www.efe.com/efe/english/world/indian-workers-continue-protest-against-labor-policies-on-day-2/50000262-3861587
http://www.citucentre.org/445-central-trade-unions-call-for-nationwide-general-strike-on-8th-and-9th-january-2019

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: