จับตา: ประกันสังคม ม.40 สวัสดิการของ 'ฟรีแลนซ์'

กองบรรณาธิการ TCIJ 20 ม.ค. 2562 | อ่านแล้ว 16799 ครั้ง


ประกันสังคม มาตรา 40 มีจุดมุ่งหมาย คือ การขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร รวมไปถึง พนักงานอิสระต่าง ๆ ได้มีหลักประกันในชีวิตนั่นเอง ส่วนค่ารักษาพยาบาลนั้นสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (หรือ บัตรทอง, 30 บาทรักษาทุกโรค) แทน

 

หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40

ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561และพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 นั้น 

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร

   1.1 มีสัญชาติไทย

   1.2 เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ เลข 7

   1.3 เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว   เพื่อรอการส่งกลับ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็นเลข 0 (00)

   1.4 ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์

   1.5 ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39

   1.6 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น

   1.7 หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้น  ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)

2. หลักฐานการสมัคร

   2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

   2.2 แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน

3. สถานที่ในการสมัคร

   3.1 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

  3.2 หน่วยบริการเคลื่อนที่สำนักงานประกันสังคม

4จ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
  • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

  สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

   สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ

กรณีตาย และกรณีชราภาพ

   สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  5  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ

กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

หมายเหตุ 

1) ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

2) กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

5. ช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

1. เคาน์เตอร์บริการ

  • ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่
  • ชำระงวดปัจจุบันและงวดล่วงหน้า 12 เดือน ได้ที่
  • ชำระงวดปัจจุบันและออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่
  • ชำระงวดปัจจุบัน ได้ที่
  • ชำระงวดปัจจุบัน  ได้ที่
  • ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่

- เคาน์เตอร์เซอร์วิส

- เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

- เคาน์เตอร์บิ๊กซี

- ตู้บุญเติม

- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 

- ห้างเทสโก้

2. หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)

4. ธนาคารออมสิน

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

 3. ช่องทางอื่น

- ไปรษณีย์ (ธนาณัติ) เสียค่าธรรมเนียมตามที่ไปรษณีย์กำหนด

หมายเหตุ

   1. การจ่ายเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดแจ้งพนักงานให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าหรือจ่ายเงินออมเพิ่ม เพื่อไม่ให้จ่ายเงินผิดพลาด

   2. จ่ายเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคารจะหักเงินในบัญชีธนาคาร จะหักเงินในบัญชีของผู้ประกันตนทุกวันที่ 20 ของทุกๆเดือน

   3. ลืมหรือขาดส่งเงินสมทบ ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและส่งเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน

   4. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

   5. ผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่ถูกตัดสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

   6.1 เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านามชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ เปลี่ยนแปลงสำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น    ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือทางเลือกการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

   6.2 กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกแล้วจะมีผลในเดือนถัดไป

   6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2) 

7. สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

    กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

   จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

   (1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

   (2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

   (3)  ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพัก

รักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

*ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2)  รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี

ทางเลือกที่ 3

   (1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท

   (2)  ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท

*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่

กรณีทุพพลภาพ

                จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 15 ปี

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ  ๒๐,๐๐๐ บาท

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ  40,000 บาท

กรณีตาย

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุหาก

จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2   

  • ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาท 
  • ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย 

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

กรณีชราภาพ

อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

ทางเลือกที่ 1

  • ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2

  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี
  • ได้รับเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป

กรณีสงเคราะห์บุตร

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

  • ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์

 

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการเกิดสิทธิ และการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนมาตรา 40

 หลักเกณฑ์การยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน

1) ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40) กรอกข้อความและลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอฯ ให้ครบถ้วน พร้อมหลักฐานประกอบการยื่น ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

2) ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปีนับแต่วันที่มีสิทธิ

3) เมื่อผู้ประกันตน ได้รับแจ้งจากสำนักงานประกันสังคมให้รับประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนจะต้องรับเงินภายใน 2 ปี นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากไม่รับภายในกำหนด ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน

วิธีรับเงินประโยชน์ทดแทน

  • ณ สำนักงานประกันสังคม
  • ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
  • โอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

ทางเลือกที่ 1 และ 2

(1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

(3)  ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี

*ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (3) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี

ทางเลือกที่ 3     

(1) นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท

(2)  ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปวันละ 200 บาท

*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย

  • ใบรับรองแพทย์ สำเนาเวชระเบียน หรือเอกสารอื่นๆ ที่แสดงว่าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประเภทผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป
  • ใบรับรองแพทย์ กรณีแพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
  • ใบรับรองแพทย์ กรณีไม่ได้พักรักษาในโรงพยาบาลและไม่มีความเห็นของแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป

กรณีทุพพลภาพ

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนใน  10 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย

  • ใบรับรองแพทย์
  • สำเนาเวชระเบียน

กรณีตาย

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุ

หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 

  • ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
  • ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท ก่อนเดือนที่ตายให้กับผู้จัดการศพ

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย

          เงินค่าทำศพ

1) หนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการงานศพ(กรณีมีหนังสือระบุเป็นผู้จัดการงานศพ)

2) หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการงานศพ

3) สำเนามรณบัตร (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่)

4) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้จัดการศพ

เงินสงเคราะห์กรณีตาย

1) หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ฯ (กรณีมีหนังสือระบุสิทธิ)

2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิเงินสงเคราะห์ฯ

3) สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (กรณีจดทะเบียนสมรส)

4) สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)

หมายเหตุ : เงินสงเคราะห์กรณีตาย จ่ายให้กับบุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ หากไม่มี  ให้เฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน (ซึ่งสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย)

กรณีชราภาพ

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

ทางเลือกที่ 1

  • ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2

  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 50 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก    เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 

ทางเลือกที่ 3

  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 150 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก  เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 

*ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย

กรณีผู้ประกันตนอายุ 60 ปีบริบูรณ์และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน

แบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)              

กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

  • สำเนามรณบัตร (พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (กรณีจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
  • หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (กรณีผู้ประกันตนมีหนังสือระบุสิทธิ)

หมายเหตุ : กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ให้พิจารณาจ่ายให้แก่ สามี ภริยา บิดา มารดา บุตร หรือบุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ โดยแบ่งจำนวนที่เท่ากัน กรณีไม่มีผู้สิทธิดังกล่าว ให้ทายาทดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามลำดับ หากบุคคลลำดับใดมีมากกว่าหนึ่งคนให้บุคคลลำดับนั้นได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน

  • พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน (หากไม่มีลำดับนี้ ให้พิจารณาลำดับถัดไป)
  • พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา (หากไม่มีลำดับนี้ ให้พิจารณาลำดับถัดไป)
  • ปู่ ย่า ตา ยาย (หากไม่มีลำดับนี้ ให้พิจารณาลำดับถัดไป)
  • ลุง ป้า น้า อา

กรณีสงเคราะห์บุตร

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

*ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

  • -ไม่คุ้มครอง-

ทางเลือกที่ 3 

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์

หลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย

กรณีผู้ประกันตนหญิง

  • สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ

กรณีผู้ประกันตนชาย

  • สำเนาทะเบียนสมรส หรือ สำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้าย หรือ สำเนา ทะเบียนรับรองบุตร หรือ สำเนาคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาล หรือ คำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
  • สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: