#saveubon ขึ้นอันดับ1 หลังน้ำท่วมหนัก
เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี
มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์
นี่เป็นคำขวัญของจังหวัดอุบราชธานีจังหวัดที่ ณ ขณะนี้เกิดเป็นกระแสในโลกออนไลน์จนติดอันดับ แฮชแท็ก #saveubon เพราะจังหวัดอุบลเกิดน้ำท่วมหนักในรอบ40ปี เหตุเป็นเพราะจังหวัดอุบลและพื้นที่ต่างๆในภาคอีสานถูกอิทธิพลจากภายุโพดุล และคาจิกิ จนเกิดมวลน้ำสะสมในหลายพื้นที่ในภาคอีสานก่อนมวลน้ำมหาศาลจะไหลมาสู่จังหวัดอุบล ซึ่งจังหวัดอุบลเป็นพื้นที่สุดท้ายของการรับน้ำ จากแม่น้ำชี (ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์) และมูล (บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด) ไหลมาบรรจบกันที่เขื่อนปากมูลก่อนไหลออกสู่แม่น้ำโขงเมื่อมีมวลน้ำมหาศาลประกอบกับฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้เขื่อนไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้ให้เกิดน้ำท่วมสูงบริเวณชุมชนที่ตั้งอยู่สองริมฝั่งแม่น้ำ ทั้งในเขตอำเภอเมืองและเขตอำเภอวารินชำราบ รวมประชากรมากกว่า 42000 ครัวเรือนได้รับผลกระทบ จากมวลน้ำที่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่
ผู้เชี่ยวชาญชี้การขยายตัวของเมืองคือหนึ่งสาเหตุน้ำท่วม
รศ.สมหมาย ชินนาค อาจารย์ประจำคณะศิลปะศาสตร์ สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชี้แจงว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานีเกิด ผังเมืองที่หมดอายุและการขยายตัวของเมืองที่ไม่เป็นระบบ จนทำให้เกิดการก่อสร้าง ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ สถานศึกษา หรือบ้านจัดสรร หรือแม้กระทั่งที่พักอาศัย ซึ่งก่อสร้างในบริเวณพื้นที่รับน้ำหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าป่าบุ่งป่าทามซึ่งในอดีตถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชาวบ้านทั้งในฝั่งตัวเมืองและฝั่งวารินชำราบซึ่งการพัฒนานี้น่าจะเป็นหนึ่งในสามารถเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วมรวดเร็วและรุนแรงในจังหวัด
ชาวบ้านเชื่อว่าพื้นที่สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ที่เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นบริเวณที่ในอดีตถูกใช้เป็นแก้มลิงในการรับมวลน้ำแต่การขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการก่อสร้างในหลายๆพื้นที่จนปิดกั้นทางน้ำเมื่อฝนตกหนักประกอบกับมวลน้ำสะสมที่ไหลมาจากจังหวัดในภาคอีสานสู่จังหวัดอุบลจึงไม่สามารถชะลอ หรือ ทดน้ำ จนเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในรอบ40ปีเพราะการพัฒนาเมืองที่ไม่คำนึงถึงวิถีชุมชนและผลกระทบที่จะตามมาซึ่งเมื่อมวลน้ำไหลมาบรรจบกันที่จังหวัดอุบลทำให้ไม่มีแหล่งทดน้ำเพื่อชลอดการไหลจนท้ายที่สุดมวลน้ำมหาศาลจึงไหลทะลักเข้าสู่เขตอำเภอต่างๆในจังหวัดอุบลทำให้น้ำทะลักเข้าสู่บริเวณชุมชนจนเกิดน้ำสูงในหลายพื้นที่ถนนเส้นหลักที่เชื่อมระหว่างตัวอำเภอเมืองและอำเภอวารินชำราบถูกตัดขาดรถทุกชนิดไม่สามารถผ่านเข้าไปยังตัวเมืองได้เว้นแต่จะโดยสารรถทหาร(จากมณฑลทหารบกที่22)ที่มีขนาดใหญ่และสูงจึงจะสามารถเดินทางไปกลับ ตัวเมืองวารินชำราบและจังหวัดอุบลได้โดยทั้งสองฝั่งจะมีจิตอาสาค่อยให้บริการรับส่งประชาชนทั้งในเขตตัวเมืองและวารินชำราบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ(ปัจจุบันการจราจรสามารถสัญจรได้ตามปกติแล้ว)
ชาวบ้านต้องหนีเอาชีวิตรอดทิ้งทรัพย์สินเสียหาย
สถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในหลายๆชุมชนทั้งในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ โดยเฉพาะที่ชุมชนหาดสวนยาที่อยู่ ริมแม่น้ำมูล ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบที่ ชาวบ้านมากกว่า100ครัวเรือนต้องหนีอพยพไปยังศูนย์พักพิงที่กระจายอยู่ตามสถานที่ราชการเช่น โรงเรียน หรือ บริเวณริมถนนซึ่งชาวบ้านได้ต่อเติมพื้นที่บริเวณริมถนนเพื่อสร้างเป็นที่พักพิงชั่วคราว โดยที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมกลุ่มหนึ่งอ้างว่าโดยปกติแล้วน้ำจะท่วมบริเวณชุมชนของตนเป็นประจำทุกปีอยู่แล้วโดยตนจะเตรียมมาตาการการรับมือคือการนำทรัพย์สินและของที่มีค่าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ที่สูงแต่วิกฤตน้ำท่วมปีนี้รุนแรง และรวดเร็วกว่าทุกๆปีที่ผ่านมาทำให้ตนไม่สามารถน้ำเอาของมีค่าที่มีน้ำหนักไว้ที่สูงได้หมดจึงจำต้องปล่อยให้ข้าวของของตนลอยเสียหายบางส่วนแม้สถานการณ์จะดีขึ้นแต่ก็ยังถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤตอยู่เพราะน้ำยังท่วมขังในตัวชุมชน ตนและชาวบ้านบางส่วนจึงได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณที่รัฐจัดสรรให้สามารถสร้างที่พักพิงชั่วคราวได้
โดยสภาพความเป็นอยู่ถือว่าลำบากโดยเฉพาะระบบสุขาภิบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งทางเทศบาลได้พยายามแก้ไขปัญหานี้ตามความเหมาะสมอยู่ ส่วนเรื่องอาหารการกินก็ได้รับของบริจาคทั้งอาหารปรุงสำเร็จ และอาหารแห้งจากหน่วยงานของรัฐ เอกชนและผู้มีจิตศรัทธาเป็นระยะ ชาวบ้านบอกปิดท้ายว่าโดยแล้วสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายและกลับสู่สภาวะปกติใน1เดือนแต่ครั้งนี้มีน้ำท่วมสูงกว่าทุกปีอาจกินเวลาสัก2-3เดือนชาวบ้านน่าจะสามารถเข้าไปทำความสะอาดบ้านและอาศัยตามปกติได้
แพทย์ชี้กังวลเชื้อโรคและโรคติดต่อที่มากับอุทกภัย
ทาง พญ.ทิพา ไกรลาส แพทย์ผู้ลงพื้นที่ในเขตชุมชน หาดสวนยา อ้างว่าตนค่อนข้างที่จะกังวลเกี่ยวกับเชื้อโรคที่มากับน้ำ ปัญหาการจัดการของเสียการขับถ่าย ความสะอาด และ การล้างมือของผู้ประสบภัยอาจไม่สะอาดเพียงพอจนอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และอาหารเป็นพิษได้ หรือแม้แต่โรคฉี่หนูที่พบมากในช่วงน้ำท่วมช่วงนี้จึงจำต้องเฝ้าระวังในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำที่มากับน้ำเป็นพิเศษ
และหลังน้ำท่วมก็อาจต้องเฝ้าระวังเกี่ยวบ้านที่ถูกน้ำท่วมเป็นเวลานานจนอาจทำให้เกิดเชื้อราและโรคที่มาจากการเน่าของซากพืชซากสัตว์ซึ่งส่งผลต่อภูมิคุ้มกันและระบบทางเดินหายใจซึ่งชาวบ้านอาจกำจัดได้ด้วยคลอรีนหรือน้ำส้มสายชูผสมน้ำตามอัตราส่วนของกรมอนามัยล้างขัดบ้านเพราะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่าการขัดโดยใช้เพียงน้ำเปล่า และหากพบว่าตนหรือคนในบ้านมีไข้สูง หรืออาการผิดปกติทางร่างกายควรพบแพทย์ทันที
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ