เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network - MMN) ซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรประชาสังคมที่สนับสนุนสิทธิของแรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วนเรื่องแรงงานข้ามชาติภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย ณ โรงแรม IBIS Riverside Bangkok ซึ่งในจัดการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 40 คน จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานไทย เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลกัมพูชา ตัวแทนจากกลุ่มภาคประชาสังคมในประเทศไทย เมียนมาร์และกัมพูชา เจ้าหน้าที่จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงดำเนินการวิจัยประเด็นสำคัญที่มีผลต่อแรงงานข้ามชาติมาตั้งแต่ปี 2544 และโครงการวิจัยในปัจจุบันได้มุ่งเน้นการวิจัยในประเด็นภาคเกษตรกรรม เนื่องจากแรงงานต้องเผชิญปัญหาต่างๆเกี่ยวการทำงานในฟาร์มและพื้นที่เพาะปลูกทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกล รวมไปถึงการเผชิญความยากลำบากที่จะเข้าถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไทยมาอย่างยาวนาน เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนำเสนอและแลกเปลี่ยนรายงานเบื้องต้นเรื่อง “แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย” ซึ่งเป็นผลมาจากการทำวิจัยร่วมกันของเครือข่ายและการจัดกลุ่มเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญสามประการสำหรับแรงงานข้ามชาติภาคเกษตรกรรม คือ การคุ้มครองแรงงาน การเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมและบริการทางสังคม และอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในอาชีพ
ระหว่างการประชุมนาย Win Zaw Oo แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรกรรมที่ทำงานในไร่ข้าวโพด สับปะรดและอ้อยในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 17 ปี อธิบายว่า “เราต้องการให้องค์กรภาคประชาสังคมเป็นสื่อกลางในนามของแรงงานเพื่อเจรจาให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต่ำ รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงงานข้ามชาติมีสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยและเหมาะสม”
คุณจันทนา ศิริมธุรส หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ประเทศไทย ตอบสนองต่อข้อกังวลของแรงงานว่า“ ปีหน้าทางกระทรวงแรงงานจะมีนโยบายใหม่เพื่อระบุกรณีการละเมิด ดังนั้น ผู้ตรวจแรงงานจะมีอำนาจออกคำสั่งให้นายจ้างปรับปรุงการปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ดีขึ้น หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะมีการส่งเรื่องให้ตำรวจ นอกจากนี้ เรายังให้บริการการสายด่วนแก่แรงงานข้ามชาติทุกคนสามารถใช้ได้โดยไม่คำนึงถึงสถานะผู้เข้าเมือง”
นางสาว Cho Win Zu แรงงานข้ามชาติจากประเทศเมียนมาร์ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมในประเทศไทยเป็นเวลา 20 ปี บอกกับผู้มีส่วนได้เสียว่า เธอกรีดยางในตอนกลางคืนและเก็บผลปาล์มในตอนกลางวัน เธออธิบายถึงลำบากที่เผชิญว่า“ เมื่อลูกชายของฉันเกิดอุบัติเหตุขณะช่วยงานและต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัด นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าชดเชยหรือค่ารักษาพยาบาลให้เรา ฉันต้องหาซื้ออุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยตัวเอง”
คุณนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทย กล่าวว่า“ เรามุ่งมั่นที่จะรวบรวมแรงงานข้ามชาติทั้งหมดเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคม ของประเทศไทย เรากำลังทำงานกับกรมการจัดหางานเพื่อให้แน่ใจว่าคนงานทุกคนลงทะเบียนในระบบประกันสังคมและได้รับการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมในกองทุนเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง”
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จะเปิดตัวรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องแรงงานข้ามชาติในภาคเกษตรกรรม ณ สโมสรผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศประจำประเทศไทย (Foreign Correspondents' Club of Thailand – FCCT) ในวันที่ 30 มกราคม 2563 เวลา 10.30 น. โดยรายงานวิจัยดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแรงงานข้ามชาติจำนวน 328 คน และจากการสัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติจำนวน 66 คน รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกของกฎหมายไทยในปัจจุบันและข้อเสนอแนะจากแรงงานข้ามชาติและองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการวิจัยในเชิงรุกและการสร้างความตระหนักถึงการปฏิรูปและการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ
เกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN) เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network – MMN) เป็นองค์กรภาคประชาสังคมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 สมาชิกในเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงปฏิบัติหน้าที่ทั้งในประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติและประเทศปลายที่แรงงานข้ามชาติเดินทางเข้ามาทำงาน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำงานกับแรงงานข้ามชาติในระดับการทำงานภาคสนาม และทางเครือข่ายมีการจัดการหารือกับผู้มีส่วนได้เสียภาครัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กรุณาเยี่ยมชมหน้าเว็บของเรา www.mekongmigration.org สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดตัวงานวิจัย กรุณาติดต่อ Ms. Reiko Harima ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อีเมลล์ reiko@mekongmigration.org (English or Japanese) or whatsapp +852 93692244 Ms. Yanin Wongmai (นางสาวญาณิน วงค์ใหม่) ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อีเมลล์ yanin@mekongmigration.org เบอร์โทร (+66) 860918186 Thet Thet Aung, Director, Future Light Center, Myanmar (Burmese) at: thet2aung2012@gmail.com |
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ