กระทรวงดิจิทัลฯ เผยผลผลการมอนิเตอร์ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) ณ 19 พ.ย. 2562 ทั้งหมด 482,077 ข้อความ เป็นข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด จำนวน 353,325 ข้อความ /ซึ่งในจำนวนนี้มีข้อความที่ต้องดำเนินการ Verify 5,181 ข้อความ เป็นเรื่องสุขภาพ 63.2% นโยบายรัฐบาล 21.8% เศรษฐกิจ 14.2% ภัยพิบัติ 0.8%
สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2562 ว่านายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่ากระทรวงดิจิทัลฯ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการประสานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันในกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกัน และบทบาทของผู้ประสานศูนย์ฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตรวจสอบแล้ว และมีการฝึกปฏิบัติในการจัดการข่าวปลอม พร้อมทั้งวิธีการประสาน ตรวจสอบ และการแจ้งผ่านเครื่องมือของศูนย์ฯ บูรณาการการทำงานร่วมกันให้ได้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด เป้าหมายหลักคือ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีช่องทางเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ป้องกันการแชร์เนื้อหาข่าวที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนสามารถรู้เท่าทันข่าวปลอมโดยกระทรวงดิจิทัลฯ เตรียมพิจารณาจัดทำเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวก อาทิ web application เว็บไซต์ Anti-Fake News Center มีการทำงานในลักษณะ Online และ Offline เป็นไปตามมาตรฐานสากลของ International Fact Checking Network หรือ IFCN วิธีการแจ้งก็จะแบ่งหมวดการแจ้งตาม 4 กลุ่มหลักตามที่กล่าวข้างต้น ศูนย์ทำหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ และส่งต่อเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วแจ้งผลการตรวจสอบกลับมา ประชาชนจะสามารถตรวจเช็คข่าวปลอมได้ทันที
ผลการมอนิเตอร์การดำเนินงานสรุปดังนี้ จำนวนข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 482,077 ข้อความ เป็นข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด จำนวน 353,325 ข้อความ /ซึ่งในจำนวนนี้มีข้อความที่ต้องดำเนินการ Verify ทั้งหมดขณะนี้จำนวน 5,181 ข้อความ แบ่งเป็น ช่องทาง Social Listening Tool ช่องทาง Line Official ช่องทาง Social Listening โดยมาจากการแจ้งเรื่องเข้ามาด้วย โดยแบ่งได้ดังนี้ เรื่อง สุขภาพ ร้อยละ 63.2 ภัยพิบัติ ร้อยละ 0.8 เศรษฐกิจ ร้อยละ 14.2 นโยบายรัฐบาล ร้อยละ 21.8 (ข้อมูลเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2562)
ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) มีสถิติรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาดำเนินคดีตามกฎหมายและเร่งรัดดำเนินคดีการตามมาตรการป้องกันและปราบปราม ในห้วงที่ผ่านมามีสถิติการจับกุมระหว่างเดือน ก.ค. – ก.ย. 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ราย ดังนี้ เดือนกรกฎาคม 6 ราย เดือน ส.ค. 6 ราย และเดือนกันยายน 1 ราย ล่าสุดจะเป็นผู้ต้องหาแฮก facebook หลอกยืมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรูปแบบการกระทำความผิด (แผนประทุษกรรม) ที่ซับซ้อน โดยหลอกลวงรับสมัครงานในโลกออนไลน์เพื่อเอาบัญชีผู้อื่นที่มาสมัครงานเป็นบัญชีผู้รับโอนเงินจากเหยื่อ มูลค่าความเสียหาย กว่า 34 ล้านบาท
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ