เดินหน้าโครงการดาวเพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ปี 2562 หวัง SMEs ทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กองบรรณาธิการ TCIJ 29 ก.ค. 2562 | อ่านแล้ว 1997 ครั้ง

เดินหน้าโครงการดาวเพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ปี 2562 หวัง SMEs ทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ภาครัฐและภาคเอกชน เดินหน้าโครงการ 'ดาวเพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ปี 2562' สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก้าวสู่ธุรกิจยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่มาภาพ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2562 ว่านายเดชา จาตุธนานันท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด ในฐานะบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันพลาสติก ได้ร่วมกันเปิดโครงการ "ดาวเพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืนปี 2562" ซึ่งเป็นปีที่ 8 ของโครงการ พร้อมเปิดรับสมัคร SMEs ที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วย IoT(Internet of Things) มุ่งเน้นผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกและอาหาร ด้วยการนำร่องปรับปรุงกระบวนการผลิต สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก้าวสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดย

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าภาคเอกชนจะส่งผู้เชี่ยวชาญเสริมประสิทธิภาพการผลิต ให้คำแนะนำและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงาน เพื่อสร้างและพัฒนาบุคคลากรให้เกิดความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ควบคู่กับจัดทำแนวทางการทำงานและเครื่องมือของแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตั้งเป้าเพิ่มกลุ่ม SMEs ปีนี้ให้ได้ทั่วประเทศ 20 ราย ถือเป็นการเสริมศักยภาพให้กับ SMEs ในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ทั้งปรับปรุงเครื่องจักร การนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ และการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยลดต้นทุน ลดการใช้พลังงาน และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

ด้านนายเดชา จาตุธนานันท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตลอดการดำเนินงาน 7 ปีที่ผ่านมา มีสถานประกอบการ SMEs เข้าร่วมโครงการแล้ว 40 แห่ง ให้การอบรมสร้างบุคลากรที่เข้าใจและเห็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการประมาณ 6,000 คน ส่งผลเชิงบวกให้กับชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปริมาณ 1.5 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 150,000 ต้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตและต้นทุนด้านพลังงานได้ถึง 144 ล้านบาทต่อปี และช่วยให้ชุมชนโดยรอบมีความเป็นอยู่ดีจากสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นกว่า 922,000 คน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: