จับตา: หลังทำกิจกรรม 'จิตสาธารณะ' คนไทยรู้สึกอย่างไร?

กองบรรณาธิการ TCIJ 22 ก.ย. 2562 | อ่านแล้ว 4316 ครั้ง


ผลสำรวจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และนิด้าโพล ระบุหลังทำกิจกรรม 'จิตสาธารณะ' พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 84.2% มีความภาคภูมิใจ มีความสุข รู้สึกตัวเองมีคุณค่า รองลงมา 44.0% รู้สึกได้บุญ 22.7% ต้องการชักชวนผู้อื่นมาทำด้วย 19.0% ต้องการทำอีกหรือทำบ่อยๆ 11.6% ได้รับการยอมรับ ยกย่องจากสังคม และ 0.04% ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น ที่มาภาพประกอบ: สวท.จันทบุรี FM.90.25 MHz.

เมื่อช่วงเดือน ก.ค. 2562 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “สังคมไทย ร่วมใจ สร้างจิตสาธารณะ” ซึ่งเป็นการสำรวจระหว่างวันที่ 14-24 พ.ค. 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) รวมขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 4,800 หน่วยตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีลงพื้นที่ภาคสนาม กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงการให้คะแนนความสำคัญในการทำ “จิตสาธารณะ” พบว่า ประชาชนให้ความสำคัญในการทำ “จิตสาธารณะ” อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 7.9 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

เมื่อกล่าวถึง “จิตสาธารณะ” ท่านนึกถึงเรื่องใดมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.9 นึกถึงเรื่อง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบแทน รองลงมา ร้อยละ 19.5 นึกถึงเรื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ร้อยละ 17.9 นึกถึงเรื่อง การรู้จักหน้าที่ของตนเอง และมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ร้อยละ 4.4 นึกถึงเรื่อง การทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วม ร้อยละ 3.3 นึกถึงเรื่อง การยกย่องและให้เกียรติผู้อื่น และร้อยละ 0.04 ทุกข้อที่กล่าวมา ตามลำดับ

เมื่อถามถึงสิ่งที่เคยทำในการแสดงถึงความเป็น “จิตสาธารณะ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.5 ระบุว่า เคยเข้าร่วมกิจกรรม (เช่น เก็บขยะ ปลูกป่า พัฒนา ทำความสะอาดอาคารสถานที่ต่าง ๆ) รองลงมา ร้อยละ 54.9 ระบุว่า เคยทำในชีวิตประจำวัน (เช่น ลุกให้เด็กและคนชรานั่ง จูงคนชราข้ามถนน เข้าช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ให้อาหารสุนัข/แมว จรจัด) และร้อยละ 23.5 ระบุว่า เคยเป็นอาสาสมัคร (เช่น เป็นอาสากู้ภัย อาสาสมัครดูแลช่วยเหลือเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง) ตามลำดับ

ในส่วนของความรู้สึกหลังทำ “จิตสาธารณะ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.2 มีความภาคภูมิใจ มีความสุข รู้สึกตัวเองมีคุณค่า รองลงมา ร้อยละ 44.0 รู้สึกได้บุญ ร้อยละ 22.7 ต้องการชักชวนผู้อื่นมาทำด้วย ร้อยละ 19.0 ต้องการทำอีกหรือทำบ่อย ๆ ร้อยละ 11.6 ได้รับการยอมรับ ยกย่องจากสังคม และร้อยละ 0.04 ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น ตามลำดับ

การเข้าร่วมกิจกรรม “จิตสาธารณะ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.3 เคยเข้าร่วมกิจกรรม “จิตสาธารณะ” โดยให้เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ ร้อยละ 64.2 ให้เหตุผลว่า เป็นกิจกรรมของหน่วยงาน/ชุมชน รองลงมา ร้อยละ 59.0 ให้เหตุผลว่า เป็นความสมัครใจ ร้อยละ 34.2 ให้เหตุผลว่า เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร้อยละ 15.1 ให้เหตุผลว่า ครอบครัวให้การสนับสนุน/ส่งเสริม ร้อยละ 0.02 ได้พบกลุ่มเพื่อนที่มีแนวคิดเดียวกัน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรม มีเพียงร้อยละ 3.7 โดยให้เหตุผล ดังนี้ ร้อยละ 71.9 ให้เหตุผลว่า ไม่มีเวลา รองลงมา ร้อยละ 21.9 ให้เหตุผลว่า ไม่มีเพื่อนไป ร้อยละ 10.1 ให้เหตุผลว่า ไม่มีกิจกรรมที่ตรงกับความสนใจ/ทักษะ ร้อยละ 7.3 ให้เหตุผลว่า ไม่มีทุนทรัพย์ และร้อยละ 3.9 สุขภาพไม่ดี ตามลำดับ

ส่วนรูปแบบกิจกรรม “จิตสาธารณะ” ที่ประชาชนสนใจเข้าร่วมมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.3 สนใจลงแรงเพื่อร่วมกิจกรรมสาธารณะ รองลงมา ร้อยละ 25.3 สนใจทำกิจกรรมเกี่ยวกับการบริจาคเงิน/สิ่งของ ร้อยละ 10.3 สนใจทำกิจกรรมเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้/ภูมิปัญญา และร้อยละ 0.10 สนใจทำกิจกรรมทุกรูปแบบ ตามลำดับ

เมื่อถามถึงกลุ่มเป้าหมายที่ประชาชนต้องการทำกิจกรรม “จิตสาธารณะ” ด้วยมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.2 สนใจทำกิจกรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชน รองลงมา ร้อยละ 30.4 สนใจทำกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 13.8 สนใจทำกิจกรรมในกลุ่มคนพิการ ร้อยละ 12.1 สนใจทำกิจกรรมในกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง/เร่ร่อน/ขอทาน ร้อยละ 5.1 สนใจทำกิจกรรมในกลุ่มสตรี และร้อยละ 1.5 อื่น ๆ เช่น ทุกกลุ่ม ทุกเพศทุกวัย ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยยากไร้ ตามลำดับ

ในส่วนของแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนมี “จิตสาธารณะ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.7 ระบุว่า ควรประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจิตสาธารณะผ่านสื่อต่าง ๆ รองลงมา ร้อยละ 53.2 ระบุว่า รณรงค์สร้างความตระหนัก ในการปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ร้อยละ 51.9 ระบุว่า ปลูกฝังค่านิยม จิตสำนึก ให้มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ร้อยละ 28.7 ระบุว่า สร้างแรงจูงใจโดยการกล่าวชมเชย ยกย่อง หรือสรรเสริญ ร้อยละ 15.5 ระบุว่า สร้างแรงจูงใจโดยการมอบโล่ หรือใบประกาศเกียรติคุณ ร้อยละ 13.5 ระบุว่า สร้างแรงจูงใจโดยการมอบสิทธิพิเศษหรือสวัสดิการพิเศษ ร้อยละ 11.3 ระบุว่า กำหนดเนื้อหาหลักสูตรจิตสาธารณะ ในการเรียนการสอนภาคบังคับ ร้อยละ 7.9 ระบุว่า กำหนดเป็นนโยบายหรือวาระแห่งชาติ และร้อยละ 0.1 อื่น ๆ เช่น ควรสนับสนุนกิจกรรมจิตสาธารณะ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญกับการทำจิตสาธารณะให้มากขึ้น ตามลำดับ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงหน่วยงาน/องค์กร/สถาบันใด ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจเพื่อปลุกจิตสำนึกสาธารณะ พบว่า ร้อยละ 73.9 ระบุว่า ครอบครัว รองลงมา ร้อยละ 58.5 ระบุว่า สถานศึกษาร้อยละ 42.3 ระบุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 35.5 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 35.3 ระบุว่า สถาบันทางศาสนา ร้อยละ 21.3 ระบุว่า หน่วยงานภาคเอกชน (เช่น บริษัท ห้างร้าน) ร้อยละ 18.6 ระบุว่า องค์กรสื่อมวลชน และร้อยละ 17.4 ระบุว่า องค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร (เช่น NGOs มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น) ตามลำดับ

อนึ่งเมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 50.0 ตัวอย่างมีอายุระหว่าง 15-30 ปี มีอายุระหว่าง 31-45 ปี มีอายุระหว่าง 46-60 ปี และมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 25.0 ตัวอย่างร้อยละ 92.7 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา ร้อยละ 6.9 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.4 นับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 54.8 มีสถานภาพสมรส รองลงมา ร้อยละ 35.5 โสด ร้อยละ 7.1 เป็นหม้าย และร้อยละ 2.6 หย่าร้าง

ตัวอย่างร้อยละ 31.2 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รองลงมา ร้อยละ 28.9 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.1 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 10.1 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.1 จบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ร้อยละ 1.4 ไม่ได้รับการศึกษา และร้อยละ 0.3 จบการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 29.5 รับราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ รองลงมา ร้อยละ 15.4 เกษตรกรรม/ประมง ร้อยละ 14.1 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 10.7 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.6 ธุรกิจส่วนตัว (ไม่มีลูกจ้าง) ร้อยละ 5.2 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 3.9 เกษียณอายุ/ข้าราชการบำนาญ ร้อยละ 3.6 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 3.3 ว่างงาน ร้อยละ 3.1 เจ้าของธุรกิจส่วนตัว (มีลูกจ้าง) และร้อยละ 1.5 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 31.4 มีรายได้ ไม่เกิน 10,000 บาท รองลงมา ร้อยละ 29.4 มีรายได้ 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.4 มีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 12.1 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 6.3 ไม่ระบุ ร้อยละ 5.0 มีรายได้ 30,001 – 40,000 บาท และร้อยละ 3.5 มีรายได้ 40,001 บาทขึ้นไป

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: