ผลักดันนโยบายรถยนต์เก่าแลกคันใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียน

กองบรรณาธิการ TCIJ 2 ก.ย. 2563 | อ่านแล้ว 3421 ครั้ง

ผลักดันนโยบายรถยนต์เก่าแลกคันใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียน

ก.อุตสาหกรรมเตรียมหารือ ก.คลัง ผลักดันนโยบายรถยนต์เก่าแลกคันใหม่ตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กระตุ้นตลาดรถยนต์หลังรับผลกระทบ COVID-19 เล็งให้นำไปหักลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท หวังดึงรถเก่า 3 ล้านคันมากำจัดซากอย่างถูกวิธี ด้าน MG เร่งลงทุนสถานีชาร์จรถไฟฟ้า มั่นใจกลางปีหน้าสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของไทยจะมีเพียงพอ

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อช่วงปลายเดือน ส.ค. 2563 ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมนา New Generation of Automotive” ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะหารือกับกระทรวงการคลังถึงนโยบายการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยการส่งเสริมนำรถยนต์เก่าที่มีอายุ 15-20 ปีมาแลกรถยนต์ใหม่ โดยผู้ร่วมโครงการจะสามารถหักลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งแนวทางนี้นอกจากเป็นการแก้ปัญหาซากรถยนต์เก่าที่สร้างมลพิษนำไปสู่การกำจัดอย่างถูกวิธีที่มีอยู่ถึง 3 ล้านคันแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวด้วย

“ต้องหารือกับกระทรวงการคลังก่อน หากเห็นชอบในแนวทางเดียวกันจะหารือกับเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินงาน ซึ่งเบื้องต้นจะเร่งสรุปแนวทางทั้งหมดใน 2-3 เดือน และวางกรอบไว้ว่าโครงการนี้จะมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี” นายสุริยะกล่าว

สำหรับการกำจัดซากรถนั้นเป็นไปตามนโยบายที่มุ่งเน้นสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มีเป้าหมายลด PM 2.5 และเศษซากมาสร้างประโยชน์ใหม่ ที่หลักการเบื้องต้นจะมีการตั้งกองทุนเพื่อระดมเงินในการบริหารจัดการซากรถเก่า ซึ่งรูปแบบจะมีการตั้งศูนย์รวบรวมกำจัดซากและการส่งเสริมให้เกิดโรงงานกำจัดซากเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมีอยู่ 1 ราย คือ บ.กรีน เมทัล ซึ่งไม่เพียงพอ โดยหากผู้ที่นำรถยนต์เก่ามาแลกรถยนต์ใหม่จะมี 2 ส่วน คือ สำหรับผู้ที่เสียภาษีอยู่แล้วก็สามารถนำเงินจากการซื้อรถใหม่ไปหักลดหย่อนภาษีปลายปีไม่เกิน 1 แสนบาท และส่วนผู้ที่ไม่ได้เสียภาษีก็จะได้รับคูปองส่วนลดราคาเพื่อซื้อรถใหม่ อย่างไรก็ตามรายละเอียดที่ชัดเจนจะต้องรอการหารือภาพรวมอีกครั้ง

นายสุริยะกล่าวว่า การนำรถเก่ามาแลกรถใหม่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่าเบื้องต้นรถยนต์ภาพรวมได้รับผลกระทบโควิด-19 ขณะที่แผนยานยนต์ไฟฟ้ายังอยู่ระหว่างวางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับที่ยังต้องอาศัยเวลา ระยะแรกจึงต้องมุ่งเน้นรักษาฐานการผลิตรถยนต์เดิมไว้ โดยมีการประเมินกันว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าราคารถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาลดต่ำมาใกล้เคียงกับรถยนต์สันดาปปัจจุบัน

“อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก โดยในปี 2562 มีการผลิตอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก กระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐบาลจึงมุ่งตอบสนองการปรับตัวและต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อก้าวทันที่รถยนต์อนาคตจะไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อคงฐานการผลิตเอาไว้ โดยมีคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน ซึ่งได้วาง Roadmap ของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยกำหนดให้ปี 2030 ไทยจะมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด” นายสุริยะกล่าว

นายจาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัทเอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ MG เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) NEW MG ZS EV มาเกือบ 1 ปีแล้ว ซึ่งก็พบว่าผู้บริโภคให้การต้อนรับพอสมควร แต่ก็ยอมรับว่าผู้ใช้เองก็ยังกังวลที่รถยนต์อาจวิ่งได้ไม่ไกลจากอุปสรรคของสถานีชาร์จไฟฟ้า ดังนั้น ทางบริษัทจึงวางแผนลงทุนสถานีชาร์จ 100 แห่งในเฟสแรกภายในสิ้นปีนี้ และยังเตรียมเฟส 2 และ 3 ไว้ต่อเนื่อง โดยระยะแรกจะเน้นติดตั้งที่โชว์รูมที่มีทุกจังหวัดทั่วประเทศ เฟส 2 จะเลือกเส้นทางหลัก เช่น ทางด่วน และเฟส 3 จะเพิ่มในศูนย์กลางการค้าและสำนักงาน โดยคาดว่าภาพรวมสถานีชาร์จเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าที่หลายส่วนลงทุนจะทำให้ภายในกลางปี 2564 สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจะไม่ใช่เรื่องกังวลสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอีกต่อไป

“เราวางแผนลงทุนสถานีชาร์จรถไฟฟ้าสถานีละประมาณ 2 ล้านบาท ระยะแรกเรามองที่โชว์รูมเราก็มีทั่วประเทศ ก็จะช่วยให้ลูกค้าเราใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ส่วนการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติมก็กำลังมองอยู่ว่าจะเป็น PHEV เร็วๆ นี้” นาย

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: