ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก่อนส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ กำหนดให้การปิดงานหรือการนัดหยุดงานในงานที่เป็นบริการสาธารณะ ฝ่ายที่ปิดงานหรือนัดหยุดงานต้องจัดให้มีบริการขั้นต่ำเท่าที่จำเป็น กำหนดงานที่เป็นบริการสาธารณะ ได้แก่ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์หรือโทรคมนาคม บรรเทาสาธารณภัย ควบคุมการจราจรทางอากาศ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2563 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หลังจากนี้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างกฎหมาย และส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
สำหรับการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากมีการบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2543 มีบทบัญญัติบางเรื่องไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การปรับปรุงครั้งนี้สาระสำคัญอยู่ที่ข้อพิพาทแรงงาน การห้ามปิดงาน หรือ การนัดหยุดงาน การกำหนดหลักเกณฑ์และการจัดตั้งบริหารงานของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
สาระสำคัญของการแก้กฎหมายข้อแรก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน คือ ให้สภาพการจ้างงานที่ทำโดยนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ซึ่งมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่า 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั้งหมด มีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างทุกคน
ข้อที่สอง การระงับข้อพิพาทแรง ในกรณีที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ กำหนดให้ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงให้คณะประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการข้อพิพาทนั้นต่อไป หรือ จะนำไปตกลงเจรจากันเอง หรือ จะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงาน เป็นผู้ตัดสินก็ได้
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้เป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไปจากเดิม ดังนี้
สาระสำคัญ - กำหนดระยะเวลาในการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยกำหนดให้ยื่นภายในระยะเวลา 60 วัน ก่อนวันที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมจะสิ้นสุดลง - กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่กระทำโดยนายจ้างกับสหภาพแรงงานซึ่งมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่าสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด มีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างทุกคน - กำหนดให้นายจ้างนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาแจ้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
สาระสำคัญ กำหนดให้ในกรณีที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการประนอมข้อพิพาทแรงงานต่อไป หรือนำข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้นไปเจรจาตกลงกันเอง หรือส่งข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงานเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้
สาระสำคัญ - กำหนดให้นายจ้างอาจปิดงานหรือลูกจ้างอาจนัดหยุดงานได้โดยนายจ้างที่ประสงค์จะปิดงานหรือลูกจ้างที่ประสงค์จะนัดหยุดงานต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนการปิดงานหรือนัดหยุดงาน - กำหนดให้การปิดงานหรือการนัดหยุดงานในงานที่เป็นบริการสาธารณะ ฝ่ายที่ปิดงานหรือนัดหยุดงานต้องจัดให้มีบริการขั้นต่ำเท่าที่จำเป็น - กำหนดงานที่เป็นบริการสาธารณะ ได้แก่ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์หรือโทรคมนาคม บรรเทาสาธารณภัย ควบคุมการจราจรทางอากาศ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
สาระสำคัญ - กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการกระทำอันไม่เป็นธรรมและข้อพิพาทแรงงาน ประกอบด้วยอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ - กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
สาระสำคัญ - กำหนดให้รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งสามารถมีสหภาพแรงงานได้มากกว่าหนึ่งสหภาพแรงงาน - อนุญาตให้ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่เป็นฝ่ายบริหารสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ - กำหนดให้สหภาพแรงงานตั้งแต่สองสหภาพแรงงานขึ้นไปสามารถรวมกันจัดตั้งเป็นสหพันธ์แรงงานได้ - กำหนดให้สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่า 10 แห่งสามารถจัดตั้งเป็นสภาองค์การแรงงาน
สาระสำคัญ ปรับอัตราโทษของความผิดในพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น |
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ