กรมสุขภาพจิต เผยผลการสำรวจประชาชน 1,566 คน ใน 15 จังหวัดทั่วประเทศโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เก็บข้อมูลในวันที่ 18-19 เม.ย. 2563 พบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมานี้ นักดื่มสุราเกือบครึ่ง (ร้อยละ 48.5) ไม่ได้ดื่มเลย ร้อยละ 33.0 ดื่มน้อยลง ขณะที่ร้อยละ 18.2 ดื่มเท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 0.3 ที่ดื่มบ่อยขึ้น
เว็บไซต์ TNN รายงานเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2563 ว่ากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการสำรวจประชาชนใน 15 จังหวัดทั่วประเทศโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,566 คน ซึ่งมีสัดส่วนหญิงชายพอ ๆ กันและมีการกระจายของลักษณะประชากรในทุกกลุ่มอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และที่อยู่ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล ที่เป็นตัวแทนของประชากรไทย เก็บข้อมูลในวันที่ 18 - 19 เม.ย. 2563 พบว่าในช่วง 30 วันที่ผ่านมานี้ นักดื่มสุราเกือบครึ่ง (ร้อยละ 48.5) ไม่ได้ดื่มเลย ร้อยละ 33.0 ดื่มน้อยลง ขณะที่ร้อยละ 18.2 ดื่มเท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 0.3 ที่ดื่มบ่อยขึ้น
เหตุผลหลักที่ทำให้นักดื่มเหล่านี้หยุดดื่มหรือดื่มน้อยลง คือ หาซื้อไม่ได้/ ซื้อยาก กลัวเสี่ยงติดเชื้อ รายได้น้อยลง/ ไม่มีเงินซื้อ และต้องการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ดื่มเท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้นบอกเหตุผลว่า เพราะชอบดื่มสังสรรค์ และมีคนชวนดื่มจึงขัดไม่ได้ รวมทั้งเพราะเครียดและมีเวลาว่างมากขึ้น
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่ามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดนี้อาจมีส่วนดีในการช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญอันหนึ่งของคนไทยลง และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเดือดร้อนจากมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงนี้ รวมทั้งประชาชนจำนวนมากมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อการติดเชื้อ COVID-19
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ