Thai PBS รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานใน จ.ภูเก็ต หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าในไตรมาส 2 ของปี 2563 มีผู้ประกันตนมาขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมากถึง 149,209 คน รวมเป็นเงินกว่า 697 ล้านบาท | ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
Thai PBS รายงานเมื่อปลายเดือน ก.ย. 2563 ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลก ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ส่งผลกระทบหลากหลายมิติทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ส่วนประเทศไทยได้รับผลกระทบแทบไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งสร้างเม็ดเงินมหาศาลในแต่ละปี ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการล็อกดาวน์ หรือปิดเมือง
“ภูเก็ต” พึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก
ภูเก็ต จึงเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากเป็นจังหวัดท่องเที่ยวและพึ่งพิงเม็ดเงินส่วนใหญ่จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานของสำนักงานสถิติ จ.ภูเก็ต รายงานสำรวจสภาวะการทำงานของประชากร
“ในไตรมาส 1 ปี 2563 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. จ.ภูเก็ต มีประชากร 541,851 คน อยู่ในวัยทำงาน หรือมีอายุ 15 ปีขึ้นไป 452,797 คน ร้อยละ 83.56 ของจำนวนประชากรทั้งหมด”
ขณะที่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 89,054 คน ร้อยละ 16.44 ของประชากรทั้งหมด เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 336,150 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ 330,543 คน ร้อยละ 98.33 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด และผู้ว่างงาน 5,201 คน ร้อยละ 1.55
แรงงานนอกภาคเกษตร 98 เปอร์เซนต์
การมีงานทำ ไตรมาส 1 ผู้มีงานทำ 330,543 คน ทำงานในภาคเกษตรกรรม 7,417 คน ร้อยละ 2.24 และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 323,126 คน ร้อยละ 97.76
“คนทำงานนอกภาคเกษตร 98,485 คน หรือร้อยละ 30.48 ทำงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคารมากที่สุด รองลงมาคือ การขายส่ง การขายปลีก 64,989 คน ร้อยละ 20.11 และการบริหารและการสนับสนุน 29,139 คน ร้อยละ 9.02”
ทำให้ไตรมาสที่ 1 จ.ภูเก็ต มีผู้ว่างงาน 5,201 คน หรือร้อยละ 1.55 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน เป็นเพศชาย 3,852 คน และเพศหญิง 1,349 คน
“แรงงานต่างด้าว ไตรมาส 1 จ.ภูเก็ต มีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน 82,398 คน เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย 82,342 คน เป็นประเภทพิสูจน์สัญชาติมากที่สุด 36,064 คน คิดเป็นร้อยละ 43.80”
ส่วนคนต่างด้าวเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตทำงานชั่วคราว มีจำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 0.07 เป็นแรงงานต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อยทั้งหมด
สถานประกอบการเลิกกิจการกว่า 300 แห่ง
ในไตรมาส 1 จ.ภูเก็ต มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการ/ หยุดกิจการชั่วคราว 325 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,163 คน เป็นสถานประกอบการขนาด 1-9 คน 309 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.08 สถานประกอบการขนาด 10 คนขึ้นไป 16 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.92
การประกันสังคม ไตรมาส 1 จ.ภูเก็ต มีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 11,957 แห่ง และมีผู้ประกันตนทั้งสิ้น 170,229 พบว่า เป็นประเภทอุตสาหกรรมการค้ามากที่สุด 6,924 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 57.91 ของสถานประกอบการทั้งหมด
กองทุนประกันสังคม ไตรมาส 1 มีผู้ประกันตนมาใช้บริการประกันสังคม (เนื่องจากการทำงาน) จำนวน 84,127 คน จำนวนเงินที่ใช้บริการทั้งสิ้น 179,461,711.63 บาท ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนมาใช้บริการมากที่สุดคือ กรณีสงเคราะห์บุตร 58,469 คน คิดเป็นร้อยละ 69350 จำนวนเงิน 37,736,600.00 บาท
ขอเงินชดเชยประกันสังคมกว่า 300 คน
กองทุนเงินทดแทน ไตรมาส 1 จ.ภูเก็ต มีผู้ใช้บริการกองทุนเงินทดแทน (เนื่องจากการทำงาน) 490 คน จำนวนเงินที่จ่าย 5,128,681.15 บาท
“โดยประเภทความร้ายแรงที่ลูกจ้าง/ผู้มีสิทธิ มาใช้บริการสูงสุด เป็นกรณีหยุดงานเกิน 3 วัน/ไม่เกิน 3 วัน 362 คน คิดเป็นร้อยละ 73.88 จำนวนเงิน 939,093.35 บาท”
ส่วนการแจ้งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มีทั้งสิ้น 240 คน ความร้ายแรงส่วนใหญ่เป็นกรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วัน 185 คน ร้อยละ 77.00 และหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 55 คน ร้อยละ 22.92 สถานประกอบการที่แจ้งการประสบอันตรายเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่ เป็นขนาด 201-500 คน มีจำนวน 95 คน หรือร้อยละ 39.58
ผู้ว่างงานเพิ่มจากไตรมาส 1 กว่า 3,000 คน
ส่วนรายงานสำรวจสภาวะการทำงานของประชากรในไตรมาส 2 ปี 2563 ตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย.
“จ.ภูเก็ต มีประชากรทั้งสิ้น 542,167 คน อยู่ในวัยทำงาน หรือมีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 453,219 คน หรือร้อยละ 83.59 ของจำนวนประชากรทั้งหมด”
ขณะที่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 88,948 คน ร้อยละ 16.41 ของจำนวนประชากรทั้งหมด เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 317,874 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ 309,330 คน ร้อยละ 97.31 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด และผู้ว่างงาน จำนวน 8,147 คน ร้อยละ 2.56
เกือบ 90,000 คน ทำงานโรงแรม-ภัตตาคาร
การมีงานทำ ไตรมาส 2 ผู้มีงานทำ 309,330 คน ภาคเกษตรกรรม 6,578 คน หรือร้อยละ 2.13 และนอกภาคเกษตรกรรม 302,722 คน ร้อยละ 97.87 โดยทำงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคารมากที่สุด จำนวน 88,803 คน คิดเป็นร้อยละ 28.48 ของผู้มีงานทำสาขานอกภาคเกษตร รองลงมาคือ สาขาการขายส่ง การขายปลีก จำนวน 67,996 คน ร้อยละ 21.98 และการบริหารและการสนับสนุน 26,826 คน ร้อยละ 8.67
การว่างงาน ไตรมาส 2 จ.ภูเก็ต มีผู้ว่างงาน 8,147 คน หรือ ร้อยละ 2.56 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน เป็นเพศชาย 3,834 คน และเพศหญิง 4,313 คน
แรงงานนอกระบบยังอยู่ในภาคการค้า-บริการ
แรงงานนอกระบบ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติจังหวัดในปี 2562 จ.ภูเก็ต มีแรงงานนอกระบบจำนวน 100,939 คน เป็นแรงงานในภาคเกษตรมีจำนวน 10,274 คน คิดเป็นร้อยละ 10.18 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด, การผลิต จำนวน 14,367 คน คิดเป็นร้อยละ 14.23 และการค้าและบริการ จำนวน 76,298 คน ร้อยละ 75.59
ไตรมาส 2 ยังมีต่างด้าวทำงานอีกเพียบ
ไตรมาส 2 จ.ภูเก็ต มีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ 71,295 คน เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย จำนวน 71,239 คน ไม่พบประเภทพิสูจน์สัญชาติ แต่เป็นประเภทนำเข้า MOU มากที่สุดจำนวน 60,886 คน คิดเป็นร้อยละ 85.40
ส่วนคนต่างด้าวเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตทำงานชั่วคราว มีจำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 0.08 เป็นแรงงานต่างด้าวที่ชนกลุ่มน้อยทั้งหมด
“การเลิกจ้างแรงงาน ไตรมาส 2 จ.ภูเก็ต มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการ/หยุดกิจการชั่วคราว 171 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 719 คน เป็นสถานประกอบการขนาด 1-9 คน จำนวน 160 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 93.57 และสถานประกอบการขนาด 10 คนขึ้นไป จำนวน 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.43”
การประกันสังคม ไตรมาส 2 จ.ภูเก็ต มีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จำนวน 11,566 แห่ง และมีผู้ประกันตนทั้งสิ้น 144,185 พบว่า เป็นประเภทอุตสาหกรรมการค้ามากที่สุด มีจำนวน 6,758 แห่ง หรือร้อยละ 58.43 ของสถานประกอบการทั้งหมด
ผู้ประกันตนมาขอเงินทดแทนกว่า 2 แสนคน
กองทุนประกันสังคม ไตรมาส 2 มีผู้ประกันตนมาใช้บริการประกันสังคม (ไม่เนื่องจากการทำงาน) จำนวน 218,599 คน จำนวนเงินที่ใช้บริการทั้งสิ้น 811,147,825.28 บาท ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนมาใช้บริการมากที่สุด คือกรณีว่างงาน มีจำนวน 149,209 คน คิดเป็นร้อยละ 68.29 จำนวนเงิน 697,051,650.22 บาท
กองทุนเงินทดแทน ไตรมาส 2 จ.ภูเก็ต มีผู้ใช้บริการกองทุนเงินทดแทน (เนื่องจากการทำงาน) จำนวน 239 คน จำนวนเงินที่จ่าย 1,702,601.95 บาท โดยประเภทความร้ายแรงที่ลูกจ้าง/ผู้มีสิทธิ มาใช้บริการสูงสุด เป็นกรณีหยุดงานเกิน 3 วัน/ไม่เกิน 3 วัน จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 63.18 จำนวนเงิน 593,495.55 บาท
ส่วนการแจ้งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มีจำนวน 156 คน ความร้ายแรงส่วนใหญ่เป็นกรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 65.38 และหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 33.97 สถานประกอบการที่แจ้งการประสบอันตรายเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่ เป็นขนาด 201-500 คน มีจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 25
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ