สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 พ.ค. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 6 พ.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1391 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 พ.ค. 2563

เว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา

 

เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2563 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ  Video Conference ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

กฎหมาย

                    1.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด    (ระยอง) ส่วนขยาย ในท้องที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการ
  นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ….
                    2.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
                    3.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
                    4.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงการอนุญาต การกำหนดอัตราค่าตอบแทน ระยะเวลา และเงื่อนไขการลงทุนจัดให้มีหรือเข้าบริหารจัดการท่าเรือ เรือหรือพาหนะสำหรับ    ขนส่งข้ามฟาก ที่พักริมทาง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดในเขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ….
                    5.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. ….
 

เศรษฐกิจ - สังคม

                    6.       เรื่อง     รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2562 
                    7.       เรื่อง     ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2563 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    8.       เรื่อง     ขออนุมัติขยายเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนโลกเพื่อการต่อสู้โรคเอดส์    วัณโรค และมาลาเรีย 
                    9.       เรื่อง     ผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563  
                    10.      เรื่อง     โครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC) 
                    11.      เรื่อง     ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2563
                    12.      เรื่อง     การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี
                    13.      เรื่อง     รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562  รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่
30 กันยายน 2561 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานงบการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562
                    14.      เรื่อง     มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้น้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID – 19) เพิ่มเติม
                    15.      เรื่อง     รายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2562
 
 

ต่างประเทศ

 
                    16.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบหนังสือยืนยันการต่ออายุกรอบข้อบังคับของกลุ่มต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (Asia/Pacific Group on Money Laundering – APG)
                    17.      เรื่อง     การทบทวนรายชื่อผู้แทนไทยที่จะทำหน้าที่ในคณะผู้พิจารณา (Panel) และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ภายใต้พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced Disputes  Settlement Mechanism: EDSM)
                    18.      เรื่อง     โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ       ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                    19.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค เรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19
 

แต่งตั้ง

                    20.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ   ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    21.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ    ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    22.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ   ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    23.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า
                    24.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดที่ดิน
                    25.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ. 2545
                    26.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
 
 

*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
 

 
 
 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ส่วนขยาย ในท้องที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ส่วนขยาย ในท้องที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์แล้ว ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ส่วนขยาย ในท้องที่ตำบลบ่อวิน อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน 70.8 ตารางวา เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาแบ่งแปลงจัดสรรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ส่วนขยาย 
                   โดยกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ชำระราคาที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้แก่กระทรวงการคลังแล้ว
 
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   1. แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติต้องไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย และไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ 
                   2. กำหนดให้มีการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติเมื่อปรากฏว่าศิลปินแห่งชาติมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
                   ทั้งนี้ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 
 
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 โดยตั้งกองใหม่ 2 กอง คือ กองงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และกองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาภาค แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจใหม่ 2 กอง คือ กองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง และยังคงสถานะเดิม จำนวน 18 ศูนย์/สำนัก/กอง ดังนี้

การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
1. สำนักงานเลขาธิการ
2. กองขับเคลื่อนและประเมินผลการพัฒนา
 
3. กองบัญชีประชาชาติ
4. กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม
5. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม
6. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
 
7. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม
9. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่
10. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง
11. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
12. กองยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ
13. กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
 
14. กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
 
15. กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
16. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
17. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง
 
18. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
19. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้
20. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
1. สำนักงานเลขาธิการ (คงเดิม)
2. กองขับเคลื่อนและประเมินผลการพัฒนา (คงเดิม)
3. กองงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ตั้งใหม่)
4. กองบัญชีประชาชาติ (คงเดิม)
5. กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม (คงเดิม)
6. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและ
ความเท่าเทียมทางสังคม (คงเดิม)
7. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
(แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่)
8. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (คงเดิม)
9. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(คงเดิม)
10. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ (คงเดิม)
11. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง (คงเดิม)
12. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (คงเดิม)
13. กองยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ (คงเดิม)
14. กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค
(คงเดิม)
15. กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน (คงเดิม)
16. กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาภาค (ตั้งใหม่)
17. กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ (คงเดิม)
18. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (คงเดิม)
19. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง (แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจ)
20. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (คงเดิม)
21. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ (คงเดิม)
22. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ (คงเดิม)

 
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาต การกำหนดอัตราค่าตอบแทน ระยะเวลา และเงื่อนไขการลงทุนจัดให้มีหรือเข้าบริหารจัดการท่าเรือ เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ที่พักริมทาง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดในเขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาต การกำหนดอัตราค่าตอบแทน ระยะเวลา และเงื่อนไขการลงทุนจัดให้มีหรือเข้าบริหารจัดการท่าเรือ เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ที่พักริมทาง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดในเขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 
                   1. กำหนดให้ผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยวิธีประมูลในการลงทุนในเขตทางหลวง ยื่นคำขออนุญาตเป็นผู้ลงทุนต่อผู้อำนวยการทางหลวง เมื่อผู้อำนวยการทางหลวงได้รับคำขอแล้ว ให้เสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้อำนวยการทางหลวงอนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกดังกล่าวต่อไป 
                   2. กำหนดให้ในการอนุญาตเป็นผู้ลงทุน ผู้อำนวยการทางหลวงอาจกำหนดอัตราค่าตอบแทน ระยะเวลา และเงื่อนไขในการอนุญาต ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนด้วย   
                             2.1 อัตราค่าตอบแทนเป็นเงินหรือทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีการลงทุน ประมาณการต้นทุนค่าใช้จ่ายและรายได้ของการลงทุน ประมาณการผลตอบแทน ระยะเวลา และเงื่อนไขการลงทุน 
                             2.2 ระยะเวลาในการอนุญาต ให้มีระยะเวลาไม่เกิน 50 ปี นับแต่วันที่ผู้อำนวยการทางหลวงออกหนังสืออนุญาต โดยคำนึงถึงมูลค่าการลงทุนและผลตอบแทนที่ผู้ขออนุญาตแต่ละรายจะได้รับ 
                             2.3 เงื่อนไขในการอนุญาต ที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติภัยและการแก้ไขปัญหาจราจร การปรับสภาพที่ดินและการรื้อย้ายสาธารณูปโภค การกำหนดลักษณะ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ การกำหนดสัดส่วนพื้นที่ใช้สอย การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้าง การปรับปรุงต่อเติม หรือการกระทำใด ๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและจำเป็นแก่งานหรือผู้ใช้ทาง 
 
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   1. กำหนดนิยามคำว่า “งานประดาน้ำ” “นักประดาน้ำ” “หัวหน้านักประดาน้ำ” “พี่เลี้ยงนักประดาน้ำ” “นักประดาน้ำพร้อมดำ” และ “ผู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและการติดต่อสื่อสาร” 
                   2. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับงานประดาน้ำที่ทำในน้ำลึกตั้งแต่ 10 ฟุต แต่ไม่เกิน 300 ฟุต
                   3. กำหนดให้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำสถานที่ใด ต้องแจ้งให้พนักงานตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ที่มีการทำงานทราบ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานประดาน้ำได้รับการตรวจสุขภาพตามที่กำหนด และจัดทำบัตรตรวจสุขภาพลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด และกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของลูกจ้างที่ปฏิบัติงานประดาน้ำในตำแหน่งต่าง ๆ  
                   4. กำหนดให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานประดาน้ำต่อไปนี้ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนด ได้แก่ หัวหน้านักประดาน้ำทำหน้าที่วางแผนการทำงานและควบคุมการดำน้ำ พี่เลี้ยงนักประดาน้ำทำหน้าที่ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานประดาน้ำ เป็นต้น 
                   5. กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงาน การพัก และจัดให้มีลูกจ้างซึ่งทำงานประดาน้ำ เจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์เวชศาสตร์ทางทะเล การบริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์สำหรับการประดาน้ำ ลูกจ้างซึ่งทำงานประดาน้ำอาจปฏิเสธการทำงานหรือนายจ้างอาจสั่งให้หยุด
การปฏิบัติงานใต้นำในกรณีที่อาจก่อให้เกิดอันตราย 
                   6. กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ในการจัดหาอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน รวมถึงหน้าที่ในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าว
 

เศรษฐกิจ - สังคม

 
6.  เรื่อง  รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี
พ.ศ. 2562 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย  (ฉบับที่ 4)  พ.ศ. 2551 มาตรา 28/7 ที่บัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. เป้าหมายนโยบายการเงิน ในปี 62 ได้กำหนดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5 ± 1.5 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง ส่วนในปี 63 ได้กำหนดเป้าหมาย นโยบายการเงินใหม่ โดยใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3
                   2. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม
                             2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
                                       เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่ำลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 62 ที่ร้อยละ 2.7 จากอุปสงค์ต่างประเทศ โดยปริมาณการส่งออกสินค้าหดตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลง การส่งออกมีทิศทางปรับดีขึ้นในบางหมวดสินค้า  การส่งออกบริการปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง
                                      เศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 2.8 เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคู่ค้าและภาคการท่องเที่ยวของไทย
                             2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม ในช่วงครึ่งหลังปี 62 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ลดลงจากครึ่งแรกของปี ที่ร้อยละ 0.92 โดยอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายนโยบายการเงิน ซึ่งเกิดจาก ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับลดลง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.71 ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.46 ลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปีที่ร้อยละ 0.58 เนื่องจากราคาอาหารสำเร็จรูปที่ลดลง ในปี 63 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ร้อยละ 0.7
                             2.3 เสถียรภาพระบบการเงิน ระบบการเงินของไทยมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่
(1) ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ลดลงในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
(2) แนวโน้มพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น และ (3) ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์
                   3. การดำเนินนโยบายการเงิน
                             3.1 นโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งหลังของปี 62 กนง. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.75 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการระดมทุนผ่านตลาดการเงิน และสถาบันการเงินผ่อนคลายมากขึ้น
                             3.2 นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน กนง. ให้ความสำคัญกับการติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไป โดยได้สนับสนุนให้ ธปท. ดำเนินการต่าง ๆ เช่น กำหนดมาตรการเพื่อเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก และดำเนินการเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น การส่งเสริมการลงทุนในประเทศของภาครัฐและภาคเอกชน
                             3.3 การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ให้ความสำคัญกับการดูแลและป้องกันความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน โดยการลดความเสี่ยงในระยะต่อไปจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มาตรการกำกับดูแลรายสถาบันการเงิน และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน
                             3.4 การสื่อสารนโยบายการเงิน กนง. ดำเนินนโยบายการเงินโดยติดตามพัฒนาการของข้อมูล และให้ความสำคัญกับการสื่อสารเชิงรุกและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้รับสารกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งมีการเผยแพร่บทวิเคราะห์เชิงลึกในรายงานนโยบายการเงินด้วย
 
7. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2563 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)     กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2563 จำนวน 6 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 14,197 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ และให้ มท. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   มท. รายงานว่า
                   1. กฟภ. ขอกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2563 จำนวน 6 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 14,197 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 มีมติเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2563 แผนงานดังกล่าวแล้ว ประกอบกับเป็นแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ 2563 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 ตุลาคม 2562) เห็นชอบแล้ว 
                   2. รายละเอียดของแผนงานฯ จำนวน 6 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท
 
 
แผนงานระยะยาวใหม่/การดำเนินการ
 
 
วงเงินรวม แหล่งเงินทุน
กู้เงินในประเทศ
(ร้อยละ 75)
รายได้
(ร้อยละ 25)
1) แผนงานปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพสถานีไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2563 : เพื่อปรับปรุงระบบควบคุมและระบบป้องกันของสถานีไฟฟ้าในพื้นที่การไฟฟ้าทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ เพื่อความมั่นคงในระบบการจ่ายไฟ ลดปัญหาไฟดับ และการสูญเสียโอกาสในการจ่ายไฟของสถานีไฟฟ้า และปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มีฟังก์ชันการทำงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามมาตรฐาน IEC 61850* เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบควบคุมและระบบป้องกันสถานีไฟฟ้า รวมทั้งรองรับโครงการ Smart Grid ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2563-2565 การดำเนินการ เช่น (1) ปรับปรุงระบบควบคุมและระบบป้องกันของสถานีไฟฟ้า จำนวน 26 สถานีไฟฟ้า (2) เปลี่ยนระบบป้องกันทดแทนที่ชำรุดและเสื่อมสภาพ จำนวน 31 สถานีไฟฟ้า 701.53 526.00 175.53
2) แผนงานย้ายแนวและเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง ปี 2653-2570 :     (1) เพื่อย้ายแนวระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้าของ กฟภ.
ตามแผนงานก่อสร้างขยายถนนและการคมนาคมของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการอื่น ๆ โดยพิจารณาแผนงานตามที่การไฟฟ้าเขต (กฟข.) จัดส่งแผนงาน (2) เพื่อเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า โดยจะดำเนินการในพื้นที่ให้บริการของ กฟภ. จำนวน 12 กฟข. ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2563-2570 การดำเนินการ เช่น  งานย้ายแนวระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้า งานเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้าที่ชำรุดและเสื่อมสภาพจากการใช้งาน (การเปลี่ยนลูกถ้วยและสายไฟฟ้า) เป็นต้น
9,392.03 7,044.00 2,348.03
3) แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านระบบงานและแพลตฟอร์ม : เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของระบบจำหน่ายและบริการลูกค้าอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินการ    พ.ศ. 2563-2567 การดำเนินการ เช่น พัฒนาด้านโครงข่ายระบบจำหน่ายให้สามารถสร้างการบูรณาการด้านข้อมูลและ               การดำเนินงานระหว่างหน่วยงานตั้งแต่วางแผน บริหาร โครงการก่อสร้าง รวมถึงการปฏิบัติและบำรุงรักษา 2,816.62 2,112.00 704.62
4) แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านสื่อสารและโทรคมนาคมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 2563 : (1) เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. ให้มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) เพียงพอต่อการใช้งาน     (2) เพื่อเพิ่มความพร้อมในการให้บริการ (Service Availability) (3) เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความรวดเร็ว ตอบสนองต่อความต้องการของสายงานต่าง ๆ ของ กฟภ. เป็นต้น ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2563-2565 การดำเนินการ เช่น จัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์โครงข่าย IP Access Network (ส่วนต่อขยาย) ขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ระบบวิทยุสื่อสาร แบบดิจิตอล เป็นต้น 1,279.28 959.00 320.28
5) แผนงานการใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตามแผนแม่บท Phase B : เพื่อดำเนินการตามแผนแม่บทการใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟภ. Phase B โดยการยกระดับภาพลักษณ์โดยรวมขององค์กร และการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด [เช่น การย้ายโรงเรียนช่าง กฟภ. ไปอยู่ที่ กฟภ. นครชัยศรี และการย้ายกองมิเตอร์ (กมต.) กองหม้อแปลง (กมป.) ไปอยู่ที่ กฟภ. ลาดหลุมแก้ว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงพื้นที่และออกแบบก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับเรื่องดังกล่าว] ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2563-2569 การดำเนินการ เช่น การจ้างออกแบบและก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ว่างของ กฟภ. นครชัยศรี กฟภ. ลาดหลุมแก้ว การจ้างออกแบบและปรับปรุงอาคาร                       9 สำนักงานใหญ่ กฟภ. เป็นต้น 2,937.81 2,164.00 773.81
6) แผนงานจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทดสอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : (1) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าของ กฟภ. ให้รองรับกระบวนการจัดซื้อและตรวจรับการบริการทดสอบเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า การทดสอบเพื่องานวิจัยและนวัตกรรม (2) เพื่อสร้างศูนย์ฯ ที่มีระบบห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จำนวน 5 แห่ง ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2563-2568 การดำเนินการ โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทดสอบส่วนกลาง จำนวน               1 แห่ง ในพื้นที่ว่างของศูนย์ฝึกปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และศูนย์ปฏิบัติการทดสอบส่วนภูมิภาค (1-4) ในพื้นที่ของแต่ละ กฟข. ตามพื้นที่ของคลังพัสดุ 4 ภาค จำนวน 4 แห่ง ครอบคลุมจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทั้งนี้ จะเป็นการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการพร้อมจัดหาเครื่องมือทดสอบให้มีความสามารถในการทดสอบเพื่อการตรวจรับอุปกรณ์ไฟฟ้า
1,876.00 1,392.00 484.00
รวมทั้งสิ้น 19,003.27 14,197.00 4,806.27

* มาตรฐาน IEC 61850 เป็นมาตรฐานที่ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ควบคุม ระบบป้องกัน และระบบการวัด ชนิดต่าง ๆ
ยี่ห้อต่าง ๆ ในสถานีไฟฟ้า สามารถทำงานร่วมกันได้ และเป็นมาตรฐานที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง Application อื่น ๆ เช่น Software ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ที่ศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟ ข้อมูลเพื่องานจัดการทรัพย์สิน (Asset Management) และข้อมูลเพื่องาน ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นไปอย่างสะดวก รวมถึงรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี IT ในอนาคตโดยการแยกส่วนข้อมูลกับการติดต่อสื่อสาร ทำให้ในการอัพเกรดอุปกรณ์ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ
 
8. เรื่อง ขออนุมัติขยายเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนโลกเพื่อการต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนโลกเพื่อการต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และมาเลเรีย (Global Fund to Flight AIDS, Tuberculosis and Malaria : GFATM) ปีละ 1,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ โดยในส่วนของงบประมาณ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินอุดหนุนของ สธ. เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563 สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว จำนวน 46.5 ล้านบาท                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สธ. รายงานว่า 
                   1. กองทุนโลกฯ ช่วยแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ วัณโรค และมาเลเรีย ซึ่งระบาดในประเทศกำลังพัฒนาและได้สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของประเทศไทยในรูปแบบของการป้องกัน ควบคุม และรักษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบันคิดเป็นมูลค่ามากกว่าห้าร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงช่วยลดปัญหาสาธารณสุขจากโรคดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เช่น อัตราการติดเชื้อเอชไอวีที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินการของประเทศไทยที่เข้มแข็ง    ทำให้สามารถป้องกันการติดเชื้อและผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมากขึ้น อัตราการหายจากวัณโรคสูงขึ้น ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และที่กลับเป็นซ้ำได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติในอัตราร้อยละ 82.9 อัตราผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียลดลงร้อยละ 25 ในปี 2562 นอกจากนี้ การสนับสนุนจากกองทุนโลกฯ ทำให้ประเทศไทยสามารถขยายการดำเนินงานไปยังกลุ่มเฉพาะได้ เช่น แรงานต่างด้าว เป็นต้น และทำให้ประชาชนในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยากจน สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ดังนั้น การขยายเวลาการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนโลกฯ จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนโลกฯ ให้มีความคล่องตัวและต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการยืนยันว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในการจัดการกับโรคดังกล่าว และกองทุนโลกฯ พร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานในประเทศไทย ประมาณปีละ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  
                   2. สธ. ได้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนโลกฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2555 จำนวนเงินปีละ 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มเป็นปีละ 1,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างปี 2557-2562 ซึ่งได้ครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการแล้วในปี 2562 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนแก่กองทุนโลกฯ มีความต่อเนื่อง สธ. จึงขอขยายเวลาจ่ายเงินอุดหนุนต่อไปอีก 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2567) เป็นจำนวนเงินปีละ 1,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินอุดหนุนของ สธ. (สธ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 46.50 ล้านบาท แล้ว)
 
9. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563  
                   คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในการประชุมครั้งที่  1/2563 เมื่อวันที่  1 เมษายน 2563 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้ 
                   1. เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
                             1.1 แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การยึดเป้าหมายร่วมกัน โดยพิจารณาข้อมูลจากรายงานสรุปการประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562 และรายงานสถานการณ์บรรลุเป้าหมายในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (2) การวิเคราะห์หาช่องว่างการบรรลุเป้าหมาย และการวิเคราะห์ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง เพื่อวางมาตรการแก้ไขสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอโครงการสำคัญร่วมกัน (3) การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการและจัดทำรายละเอียดโครงการ โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับเป้าหมายที่มีความเสี่ยงการบรรลุเป้าหมายและผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และ (4) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกระบวนการงบประมาณตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562    
                             1.2 มอบหมาย สศช. หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 3 ระดับ และสำนักงบประมาณ (สงป.) ดำเนินการจัดทำโครงการตามแนวทางการขับเคลื่อนดังกล่าวสำหรับใช้ในการจัดทำคำขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป  
                             1.3 มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐนำโครงการที่ได้จากการจัดทำโครงการตามแนวทางการขับเคลื่อนดังกล่าวบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565 และดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562  
                    2. เห็นชอบขยายระยะเวลาการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ โดยให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศดำเนินการภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมทุกด้านตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 
                   3. เห็นชอบการปรับปรุงค่าตอบแทนของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 (ยกเว้นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ให้เป็นไปตามเดิม) และให้ใช้ค่าตอบแทนในรูปแบบเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน
 
10. เรื่อง โครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC) ภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต่อเนื่อง  3 ปี พ.ศ. 2563-2565 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ โดยในส่วนรายละเอียดงบประมาณ ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นชอบกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,073.069 ล้านบาท และให้ ดศ. รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   โครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC) เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 โดยภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อให้มีระบบกลางในการให้บริการ Cloud สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีมาตรฐานและปลอดภัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล (Government Transformation) และขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) และคลาวด์คอมพิ้วติ้ง (Cloud Computing) (เป็นการให้บริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูลและระบบออนไลน์ต่าง ๆ จากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้                  ระบบคลาวด์กลางภาครัฐจะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณในส่วนของการที่หน่วยงานแต่ละหน่วยงานนำไปใช้ในการเช่าระบบ Cloud และบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล (Data Center) รวมทั้งยังทำให้ระบบสารสนเทศของประเทศมี                ความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลและระบบงานของหน่วยงานภาครัฐจะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีมาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยและตั้งอยู่ภายในประเทศ  
                    สำหรับกรอบงบประมาณที่ใช้การดำเนินโครงการ GDCC คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563  มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,073.069 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายจาก (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 – 2565 จำนวน 3,275.096 ล้านบาท (ปรับลดวงเงินในส่วนของปี 2564 ตามที่สำนักงบประมาณจัดสรร ส่งผลให้กรอบวงเงินรวมลดลง 679.481 ล้านบาท) และ (2) งบกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 797.973 ล้านบาท (คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 อนุมัติให้ใช้งบฯ  จากกองทุนฯ แล้ว)
 
11. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตามแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 5,800 คน ระหว่างวันที่ 2-16 มกราคม 2563 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ 
                   1. การติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง พบว่า ประชาชนร้อยละ 77.4 ติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง โดยแหล่งข้อมูลที่ติดตามมากที่สุด คือ โทรทัศน์ (ร้อยละ 95.5) รองลงมา คือ อินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์   เฟซบุ๊ก ไลน์ (ร้อยละ 39.4) ขณะที่ประชาชนร้อยละ 22.6 ไม่ได้ติดตาม โดยให้เหตุผล คือ ไม่สนใจ ไม่มีเวลา/ไม่ว่าง  
                   2. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่าประชาชนร้อยละ 74.5 ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในระดับชาติที่ผ่าน ๆ มา โดยกิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ การชักชวนเพื่อน ญาติ คนในครอบครัว และคนรู้จักไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (ร้อยละ 82.1) รองลงมา คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง (ร้อยละ 81.9)
                   3. ความพึงพอใจในภาพรวมต่อภาครัฐในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 76.2) ขณะที่มีความพึงพอใจน้อยและน้อยที่สุดอยู่ที่ ร้อยละ 18.9 และ 4.9 ตามลำดับ 
                   4. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยประชาชนให้ข้อเสนอแนะ 5 อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง (ร้อยละ 10) รองลงมา คือ การทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ (ร้อยละ 9) การแก้ปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีราคาแพง (ร้อยละ 7.4) การแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตร ภัยแล้ง และที่ดินทำกิน (ร้อยละ 4.1) และการดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.1)
                   5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานสถิติแห่งชาติมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 
                             5.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองให้ประชาชนรับรู้และมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ 
                             5.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การวางแผนหรือการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ให้ประชาชนสามารถยืนยันตัวตนได้ โดยต้องมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  
                             5.3 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับรู้ตามความต้องการของประชาชนผ่านการสื่อสารสองทาง คือ รับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามของประชาชน รวมถึงมีการติดตาม ประเมินผลเพื่อพัฒนาและปรับปรุงตามความต้องการของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

12. เรื่อง  การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง  พ.ศ. 2522 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กำหนด ดังนี้
                       1. กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศ ดังนี้
                          1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานกรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตาม MoU ที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563
                             1.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยใช้บัตรผ่านแดน ที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563
                   2. กระทรวงแรงงาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุด สามารถทำงานไปพลางก่อนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563
                   3. หลังสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบปราบปราม จับกุมดำเนินคดีนายจ้าง แรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                   สาระสำคัญ
                   รง. เสนอว่า  
                     คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ให้ความเห็นชอบการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคีของกระทรวงแรงงาน โดยเห็นชอบให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ได้แก่ (1) คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี และ (2) คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาล ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งครบวาระการจ้างงานหรือการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด แต่ไม่สามารถเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จากมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 และให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานออกประกาศ
                       ผลการดำเนินการที่ผ่านมา
                       1. กระทรวงมหาดไทยออกประกาศ เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563
                       2. กระทรวงมหาดไทยออกประกาศ เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 9เมษายน พ.ศ. 2563
                       3. กระทรวงแรงงานออกประกาศ เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563
                       นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 ออกประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 เพื่อขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศและยังมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดจนการไปมาหาสู่ข้ามจังหวัดและการไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด อันแสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ อีกทั้ง องค์การอนามัยโลกได้เตือนให้การผ่อนคลายหรือการยกเลิกมาตรการป้องกันโรคพึงทำด้วยความระมัดระวังและตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะเป็นที่ปรากฏแล้วว่าภายหลังการยกเลิกการควบคุม สถานการณ์ในบางประเทศได้กลับมารุนแรงขึ้นใหม่
                       นายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563 ออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย โดยให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ได้ประกาศหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับไม่ว่าจะเป็นการห้าม การให้กระทำการ หรือการผ่อนคลายใด ๆ ซึ่งถือว่าเป็นประกาศหรือสั่งตามข้อกำหนด ที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิม จนกว่าจะมีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
                   คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงแรงงาน ที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ดังนี้
                       1. คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2563 ประมาณ 29,083 คน (กัมพูชา 12,801 คน ลาว 3,092 คน เมียนมา 13,190 คน)
                       2. คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาล ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งครบวาระการจ้างงานหรือการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2563 ประมาณ 43,975 คน (กัมพูชา 25,236 คน เมียนมา 18,739 คน)   
                       คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประมาณ 15,139 คน (กัมพูชา 6,398 คน ลาว 1,449 คน เมียนมา 7,292 คน) และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาล ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งครบวาระการจ้างงาน หรือการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประมาณ 20,389 คน (กัมพูชา 11,502 คน เมียนมา 8,887 คน)
                           เนื่องจากการผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงแรงงาน ที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนได้สิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 แต่มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องตามที่ได้มีประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563 ให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ได้ประกาศหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับไม่ว่าจะเป็นการห้าม การให้กระทำการ หรือการผ่อนคลายใด ๆ ซึ่งถือว่าเป็นประกาศหรือสั่งตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิม จนกว่าจะมีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทำให้มาตรการจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงาน การควบคุมการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด รวมถึงการระงับการเข้าออกราชอาณาจักรยังมีผลบังคับใช้ต่อไป ส่งผลให้คนต่างด้าวดังกล่าวไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ต่อไปอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากไม่ขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวดังกล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีก จะทำให้คนต่างด้าวไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบต่อนายจ้าง สถานประกอบการ ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้คนต่างด้าวในการทำงาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อคนต่างด้าวซึ่งยังต้องอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่มีรายได้เพื่อการดำรงชีพ
                    การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี มีดังนี้
                      1. กลุ่มเป้าหมาย : เป็นคนต่างด้าว 2 กลุ่ม คือ
                            1) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานหรือบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่วาระการจ้างงานครบสี่ปีและระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
                            2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งถือบัตรผ่านแดนตามมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด และไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
                        2. ลักษณะการดำเนินการ : เป็นการขยายระยะเวลาการผ่อนปรนให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคีอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานได้ต่อไป
                       3. ระยะเวลา : อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563
                       4. หลังสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 แรงงานต่างด้าวต้องเดินทางออกจากราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง
                   ผลกระทบ
                    1. การขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี เป็นการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 สอดคล้องกับประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ที่ยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศ ตลอดจนเป็นการป้องกันการไปมาหาสู่ข้ามจังหวัด โดยไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อกลับมารุนแรงขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศโดยรวม
                       2. การขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี เป็นการลดความสุ่มเสี่ยงที่แรงงานบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นแรงงานที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากวาระการจ้างงานครบกำหนดแต่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ เป็นการลดสภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการนายจ้าง ที่ยังคงมีความต้องการและมีความประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวเหล่านั้นต่อไปแต่ไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการปกติได้ในสถานการณ์ที่มีภัยคุกคาม
                       3. การขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี เป็นมาตรการเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน เป็นการลดความวิตกกังวลและความตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ รวมถึงยังเป็นไปตามพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการดำเนินการชั่วคราวตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19

13. เรื่อง รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานงบการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                   1. รับทราบรายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2562 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ
                   2. ในส่วนของรายงานงบการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 นั้น ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 43 (ที่ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) แล้วจึงเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่า
                   1. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2562 ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 โดยการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทยภายใต้แผนปฏิบัติราชการของ สปสช. ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) มุ่งหวังให้ “ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ” มีเป้าประสงค์หลักคือ ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 48.575 ล้านคน วงเงิน 181,584.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.05 ของงบประมาณแผ่นดิน ในอัตราเหมาจ่ายเท่ากับ 3,426.56 บาทต่อผู้มีสิทธิ และได้รับการจัดสรรงบประมาณการบริหารจัดการใน สปสช. จำนวน 1,344.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.74 เทียบกับงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
                             1) การเบิกจ่ายงบประมาณ
                             มีการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาะพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการที่จัดบริการให้ผู้มีสิทธิ จำนวน 133,802.28 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.65 (จากงบประมาณ 134,269.13 ล้านบาท)
                             2) ความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                             ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงทะเบียนสิทธิเลือกหน่วยบริการประจำตน จำนวน 47.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.88 (เป้าหมาย 47.58 ล้านคน) ครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                             3) หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                             มีหน่วยบริการขึ้นทะเบียนให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 12,334 แห่ง ซึ่งหนึ่งแห่งสามารถขึ้นทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งประเภท ได้แก่ ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 11,750 แห่ง หน่วยบริการประจำ จำนวน 1,360 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อ จำนวน 1,382 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 183 แห่ง
                             4) การเข้าถึงบริการสุขภาพ
                             ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการพื้นฐานในงบเหมาจ่ายรายหัว ประกอบด้วย 1) บริการสุขภาพทั่วไป 2) บริการกรณีเฉพาะ 3) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 4) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ 5) บริการแพทย์แผนไทย และ 6) ยาและเวชภัณฑ์ และบริการเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
                             5) คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
                                       (1) หน่วยบริการรับส่งต่อได้รับการรับรองตามกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ HA (Hospital Accreditation) จำนวน 898 แห่ง จากหน่วยบริการที่รับการประเมิน 1,078 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.30
                                       (2) ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 97.11 ผู้ให้บริการ ร้อยละ 75.99 และองค์กรภาคี ร้อยละ 93.21
                             6) การคุ้มครองสิทธิ      
                                      (1) ประชาชนและผู้ให้บริการสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ และประสานส่งต่อผู้ป่วยผ่านช่องทางต่าง ๆ จำนวน 916,428 เรื่อง
                                      (2) ผู้รับบริการยื่นคำร้องช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 1,188 คน ได้รับการชดเชย 970 คน ผู้ให้บริการยื่นคำร้อง 538 คน ได้รับการชดเชย 464 คน
                                      (3) มีศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการเพื่อคุ้มครองสิทธิจำนวน 886 แห่ง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จำนวน 185 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) จำนวน 129 แห่ง (ใน 75 จังหวัด)
                             7) การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                             มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,738 แห่ง (จาก 7,776 แห่ง) เข้าร่วมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในการดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วงเงิน 3,719 ล้านบาท ประกอบด้วย งบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2,474 ล้านบาท (ร้อยละ 66.53) เงินสมทบจาก อปท. 1,218 ล้านบาท (ร้อยละ 32.75) และเงินสมทบจากชุมชนและอื่น ๆ 27 ล้านบาท (ร้อยละ 0.72)
                             8) ความท้าทายในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                                      (1) การบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สอดรับกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มได้รับความคุ้มครองหลักประกันด้านสุขภาพอย่างเสมอภาคทั่วถึง และยังต้องคงไว้ซึ่งการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกันตามความจำเป็น และได้รับการปกป้องไม่ให้ล้มละลายหรือยากจนลงจากภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วย
                                      (2) การสร้างความตระหนักต่อสาธารณะและปรับกรอบคิดในการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพของประชาชน การเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนเพื่อสร้างผลิตภาพเป็นผลได้ทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศ ซึ่งถือเป็นการใช้งบประมาณภาครัฐที่มีจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                                      (3) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพมาตรฐาน และความเพียงพอของระบบบริการสาธารณสุข เพื่อบริหารจัดการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นและเท่าเทียมกันในทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็น การลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ และการขยายหน่วยร่วมให้บริการรองรับการจัดบริการที่ประชาชนยังเข้าถึงได้น้อย
                                      (4) การสร้างพันธมิตรและขยายการมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
                                      (5) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การจัดบริการสาธารณสุข และการพัฒนางานด้านต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการ Big data ด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนระบบกำกับติดตามประเมินผลและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                   2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 ซึ่งผ่านการรับรองจากสำนักงงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้ว โดยเห็นว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ฐานะการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบบาท

รายการ ปี 2561 ปี 2560 เพิ่ม/(ลด)
งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2561
- สินทรัพย์ 15,349.64 13,903.97 1,445.67
- หนี้สิน 12,911.57 12,686.15 225.42
- สินทรัพย์สุทธิ 2,438.07 1,217.82 1,220.25
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2561
- รายได้ 140,153.61 132,502.18 7,651.43
- ค่าใช้จ่าย 139,035.27 134,736.97 4,298.30
- รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 1,118.34 (2,234.79) 3,353.13

 
14. เรื่อง  มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้น้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019  (COVID – 19) เพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ  มาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้
น้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อการประปานครหลวง
และการประปาส่วนภูมิภาค จะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
                   1. มาตรการของการประปานครหลวง รายละเอียด ดังนี้
                            (1) มาตรการเดิม (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563)
                                 มาตรการที่ 1 ขยายระยะเวลาการชำระค่าน้ำประปา สำหรับผู้ใช้น้ำที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย โดยไม่คิดดอกเบี้ย สามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 6 เดือน ของแต่ละรอบใบแจ้งค่าน้ำประปาสำหรับรอบการใช้น้ำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563
                            (2) มาตรการเพิ่มเติม
                                 (2.1)   มาตรการที่ 2 ลดค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เริ่มตั้งแต่รอบการใช้น้ำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2563  (ใบแจ้งค่าน้ำประปาเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2563) รายละเอียด ดังนี้
                                         กรณีที่ 1 ผู้ใช้น้ำที่ใช้น้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ลูกบาศก์เมตร ยกเว้นการจัดเก็บค่าน้ำประปา ค่าบริการรายเดือน และค่าน้ำดิบ
                                         กรณีที่ 2 ผู้ใช้น้ำที่ใช้น้ำมากกว่า 10 ลบ.ม. ยกเว้นค่าน้ำประปาสำหรับน้ำ  10 ลูกบาศก์เมตรแรก และส่วนที่ใช้เกิน 10 ลูกบาศก์เมตร ลดค่าน้ำในอัตราร้อยละ 20
                                 (2.2)   มาตรการที่ 3 คืนเงินประกันการใช้น้ำให้กับผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย และประเภทที่ 2 ธุรกิจ ราชการ รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และอื่น ๆ
                                 (2.3)   มาตรการที่ 4 ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส, 7-11, เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี และ CenPay เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน -               30 มิถุนายน 2563
                                 (2.4)   มาตรการที่ 5 ยกเว้นการตัดน้ำประปาทั้งชั่วคราวและถาวร (งดผูกลวด และถอดมาตรวัดน้ำ) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม – 30 กันยายน 2563
                       2. มาตรการของการประปาส่วนภูมิภาค รายละเอียด ดังนี้
                            (1) มาตรการเดิม (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563)
                                 (1.1)   มาตรการที่ 1 ขยายระยะเวลาการชำระค่าน้ำประปา สำหรับผู้ใช้น้ำที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย โดยไม่คิดดอกเบี้ย สามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน  6 เดือน ของแต่ละรอบใบแจ้งค่าน้ำประปา รอบการใช้น้ำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 (สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2563)
                                 (1.2)   มาตรการที่ 2 คืนเงินประกันการใช้น้ำให้กับผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัย
                            (2) มาตรการเพิ่มเติม
                                 (2.1)   มาตรการที่ 3 ลดค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท ในอัตราร้อยละ 20 ยกเว้นผู้ใช้น้ำส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ลดค่าน้ำประปาในอัตราร้อยละ 3 (ไม่รวมค่าบริการรายเดือน) เริ่มตั้งแต่รอบการใช้น้ำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 (ใบแจ้งค่าน้ำประปาเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2563)
                                 (2.2)   มาตรการที่ 4 ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา เป็นระยะเวลา 3 เดือน เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ 7-11 ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563 และที่เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - วันที่  30 มิถุนายน 2563 
                                 (2.3)   มาตรการที่ 5 ขยายเวลารับชำระผ่านตัวแทนรับชำระค่าน้ำประปาจากภายใน 10 วัน เป็น ภายใน 20 วัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ใบแจ้งค่าน้ำประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563)
                       กระทรวงมหาดไทย เสนอว่า
                       เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ยังส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ประชาชนจำนวนมากย้ายถิ่นฐานกลับไปยังภูมิลำเนา รวมถึงการส่งเสริมมาตรการให้ข้าราชการ พนักงานบริษัทต่าง ๆ ทำงานภายในที่พักอาศัย (Work From Home) ทำให้การใช้น้ำประปาประเภทบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีข้อเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้น้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID - 19) เพิ่มเติม
                       การดำเนินมาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำประปา เป็นวงเงินประมาณ 6,077 ล้านบาท ดังนี้

มาตรการ ระยะเวลา ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
กับประชาชน
จำนวนประชาชน
ที่ได้รับประโยชน์
1. ลดค่าน้ำประปา 3 เดือน
(เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563)
รวม   2,110 ล้านบาท
(กปน.  1,350 ล้านบาท
กปภ.   760 ล้านบาท)
รวม   7.0 ล้านราย
(กปน.  2.4 ล้านราย
กปภ.   4.6 ล้านราย)
2. ขยายระยะเวลาการชำระค่าน้ำประปา 2 เดือน
(เดือนเมษายน – พฤษภาคม 2563)
รวม   340 ล้านบาท
(กปน.  60 ล้านบาท
กปภ.   280 ล้านบาท)
รวม   30,900 ราย
(กปน.  900 ราย
กปภ.   30,000 ราย)
3. คืนเงินประกัน   รวม   ๓,518 ล้านบาท
(กปน.  1,718 ล้านบาท
กปภ.   1,800 ล้านบาท)
รวม   6.2 ล้านราย
(กปน.  2.4 ล้านราย
กปภ.   3.8 ล้านราย)
4. ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา 3 เดือน
(เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563)
รวม   109 ล้านบาท
(กปน.  9 ล้านบาท
กปภ.   100 ล้านบาท)
รวม   5.3 ล้านราย
(กปน.  700,000 ราย
กปภ.   4.6 ล้านราย)
5. ยกเว้นการตัดน้ำประปา
(เฉพาะ กปน.)
6 เดือน
(เดือนมีนาคม – กันยายน 2563
- -
6. ขยายเวลารับชำระฯ จาก ภายใน 10 วัน เป็น 20 วัน
(เฉพาะ กปภ.)
3 เดือน
(เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563)
- รวม   4.6 ล้านราย
 
รวมทั้งสิ้น 6,077 ล้านบาท  

 
15. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2562 ซึ่งที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศทุกคณะในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563    เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ                              ประจำปี 2562 ด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562
                       1.1 การประเมินผลความก้าวหน้าตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น 37 เป้าหมาย มีผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

ความก้าวหน้า จำนวนประเด็น
(ร้อยละ)
สาระสำคัญ
บรรลุค่าเป้าหมายแล้ว 4
(10.8)
ประเด็น เป้าหมายที่มีผลสัมฤทธิ์
การเกษตร ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน
ระบบโลจิสติกส์
และดิจิทัล
ความสามารถในการแข่งขัน               ด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดีขึ้น
เขตเศรษฐกิจพิเศษ การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดได้รับการยกระดับ
การเติบโตอย่างยั่งยืน สภาพแวดล้อมของประเทศไทย            มีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย 15
(40.5)
เช่น ความมั่นคง (เป้าหมาย : ประเทศไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการกำหนดทิศทางและส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียรวมทั้งเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิอาเซียน) การต่างประเทศ (เป้าหมาย : ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการค้าการลงทุน และการบริการในภูมิภาคเอเชีย มีระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม) และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (เป้าหมาย : มูลค่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนของกิจการที่เริ่มตั้งต้นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง 12
(32.5)
เช่น การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (เป้าหมาย : ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะ สามารถดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และสามารถป้องกันและลดโรคที่สามารถป้องกันได้ เกิดเป็นสังคมบ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพที่ดีสูงขึ้น และกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (เป้าหมาย : การอำนวยความยุติธรรมมีความโปร่งใส สะดวก รวดเร็ว เสมอภาค ทั่วถึง เป็นธรรม และปราศจากการเลือกปฏิบัติ)
  6
(16.2)
เช่น การเกษตร (เป้าหมาย : สินค้าเกษตรปลอดภัยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น) การท่องเที่ยว (เป้าหมาย : สัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองต่อรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดเพิ่มขึ้น) และการพัฒนาการเรียนรู้ (เป้าหมาย : คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถแก้ไข ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต)

                       1.2 ผลการประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ     ในช่วงปี 2561-2562 ทั้ง 6 มิติ สรุปได้ ดังนี้
 
 

ลำดับ มิติ ผลสัมฤทธิ์
1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย คนไทยและสังคมไทยมีความอยู่ดีมีสุขดีขึ้น โดยดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยในปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 76.47 จากร้อยละ 70.40 ในปีก่อนหน้า
2. ขีดความสามารถ
ในการแข่งขันการพัฒนา
เศรษฐกิจและการกระจายรายได้
ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น โดยมีผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ International Institute for Management Development (IMD) ในปี 2562 ดีขึ้น 5 อันดับ อยู่ในอันดับที่ 25 แต่ยังต้องเร่งพัฒนาด้านประสิทธิภาพของภาคเอกชน
3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยได้รับการจัดลำดับจาก United Nations Development Programme (UNDP) ให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับ “สูง” โดยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกจากการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index : HDI) และอยู่ในอันดับ 77 ในการจัดอันดับโลก (จาก 189 ประเทศ) อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ไม่เท่าเทียม (Inequality-adjusted Human Development Index : IHDI) ยังคงมีค่าต่ำกว่า HDI อย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศยังคงมีความเหลื่อมล้ำ
4. ความเท่าเทียม
และความเสมอภาค
ทางสังคม
ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมของประเทศปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยดัชนีตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index : SPI) ในปี 2562 ของประเทศไทยมีค่าเท่ากับ 67.47 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 67.35 ในปี 2560 และสูงกว่าดัชนี SPI เฉลี่ยของโลกที่ 64.47 รวมทั้งค่าสัมประสิทธิ์จีนี (GINI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้สำหรับวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และรายจ่ายในส่วนของรายจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาครัฐได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP)  เพื่อช่วยให้การช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนเป้าหมายให้พ้นจากความยากจนสอดคล้องกับความต้องการและมีความเสมอภาคมากขึ้น
5. ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ
คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากร
ธรรมชาติ
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศดีขึ้น โดยดัชนีการชี้วัดการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2561 มีค่าเท่ากับ 49.88 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกที่ 46.16 แต่ยังเป็นค่าดัชนีที่ต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ (64.23) บรูไน (63.57) และมาเลเซีย (59.22)
6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ประเทศไทยยังคงมีความท้าทายในประเด็นของการควบคุมปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลโลกของประเทศไทยในปี 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.64 ปรับลดลงเล็กน้อยจากปี 2560 ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.97 โดยเป็นผลมาจากมิติด้านการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ และมิติการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและภาระรับผิดชอบมีคะแนนปรับลดลง

 
                       1.3 ประเด็นท้าทายที่สำคัญ
                             1.3.1 ประเด็นท้าทายที่สำคัญในระดับการขับเคลื่อนโครงการ เช่น การบูรณาการความร่วมมือระดับหน่วยงาน ความพร้อมของข้อมูลหรือข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน และความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน
                             1.3.2 ประเด็นท้าทายที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น ภาระหนี้สินส่วนบุคคลและความรู้ทางด้านการวางแผนการเงินของประชาชน ความล่าช้าในการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่ท้องถิ่น และการปรับปรุงและทบทวนกฎระเบียบทางราชการที่ล้าสมัยและเป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบธุรกิจ
                             1.3.3 ประเด็นท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในมิติต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล และแนวโน้มทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                       1.4 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในระยะต่อไป
                             1.4.1 ควรขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) กล่าวคือ การดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน (X) จะต้องสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y) และยุทธศาสตร์ชาติ (Z) รวมทั้งควรบูรณาการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศกับกระบวนการงบประมาณอย่างเป็นระบบ
                             1.4.2 การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สำคัญจะต้องมีการกำหนดส่วนสนับสนุนของโครงการต่อการบรรลุผลลัพธ์การพัฒนาตามเป้าหมายแผนแม่บทตามยุทธศาสตร์ชาติให้สามารถบรรลุได้ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละห้วง 5 ปีของการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม
                             1.4.3 การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการจัดสรรงบประมาณ
                             1.4.4 ควรใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นระบบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการในทุกระดับอย่างแท้จริง
                             1.4.5 ควรเปิดโอกาสให้ภาคีแห่งการพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น
                             1.4.6 ควรขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติให้มีความสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
                   2. รายงานสรุปผลการดำเนินการแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2562
                       2.1 ผลสัมฤทธิ์การบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วย 12 ด้าน เรื่องและประเด็นปฏิรูปรวม 173 เรื่อง มีผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

ความก้าวหน้า จำนวนเรื่องและ
ประเด็นการปฏิรูป
(ร้อยละ)
สาระสำคัญ
ดำเนินการได้ครบถ้วนตามแผน 10
(5.8)
ด้านกฎหมาย
1. มีกลไกให้การออกกฎหมายป็นกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็นรวมทั้งมีกลไกในการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ
ด้านเศรษฐกิจ
2. มีหน่วยงานดูแลควบคุมด้านกฎหมาย ด้านการแข่งขันทางการค้า และตลาดเสรี
3. การขับเคลื่อนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. การปฏิรูปกรมทรัพย์สินทางปัญญา
5. การปฏิรูปสถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อบริหารการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
6. การปฏิรูปหน่วยงานขับเคลื่อน ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจ
ด้านพลังงาน
7. การพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ
8. การปฏิรูประบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็วสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล
9. การปฏิรูปโครงสร้างการใช้พลังงานภาคขนส่งระยะ 20 ปี
10. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าในกลุ่มอุตสาหกรรม
อยู่ระหว่าง
การดำเนินการ
และสามารถบรรลุ
เป้าหมายที่กำหนดไว้
ในปี 2565
60
(34.7)
เช่น ด้านการเมือง (การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (การปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานภาครัฐ) และด้านกระบวนการยุติธรรม (การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจค้น จับกุม และการบันทึกภาพและเสียงในการสอบคำให้การในการสอบสวน)
อยู่ระหว่าง
การดำเนินการ
แต่มีความล่าช้า
หรือความเสี่ยงที่จะ
ไม่บรรลุเป้าหมายที่
กำหนดไว้ในปี 2565
77
(44.5)
เช่น ด้านกฎหมาย (การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษีหรือยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น)  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ) และด้านสาธารณสุข (การพัฒนามาตรฐานรายงานต้นทุนการจัดบริการ การทดลองใช้และขยายผลให้ทุกหน่วยบริการทั้งรัฐและเอกชนดำเนินการ)
  26
(15.0)
เช่น ด้านเศรษฐกิจ (การจัดตั้ง Centre of Excellence สำหรับภาคเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั่วประเทศ) และด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ [การปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลคลื่นความถี่ (Beauty Contest)]

 
                       2.2 ประเด็นท้าทายที่สำคัญ
                             2.2.1 ประเด็นท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายหรืออาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ (1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ (2) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ และ (3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                             2.2.2 ความท้าทายในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ (1) การถ่ายทอดแผนการปฏิรูปประเทศไปสู่การปฏิบัติ (2) ความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนการปฏิรูปประเทศ (3) ระยะเวลาในการดำเนินการ และ (4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
                       2.3 การดำเนินการในระยะต่อไป
                             2.3.1 ปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งมีความชัดเจนของเป้าหมายในระดับของแผนการปฏิรูป ค่าเป้าหมายและการวัดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อดำเนินการตามลำดับความสำคัญของเรื่องและประเด็นการปฏิรูป ต่าง ๆ
                             2.3.2 ขับเคลื่อนกิจกรรมการปฏิรูปประเทศที่มีนัยสำคัญ (Big Rock) ซึ่งเป็นกิจกรรม ที่มุ่งเน้นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขประเด็นปัญหาและอุปสรรคเร่งด่วนรวมทั้งจัดการกับความท้าทาย ที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ
                             2.3.3  สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของภาคีการพัฒนา ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคสถาบันวิชาการ และภาคสื่อมวลชน
                      
                      

ต่างประเทศ

 
16. เรื่อง ขอความเห็นชอบหนังสือยืนยันการต่ออายุกรอบข้อบังคับของกลุ่มต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (Asia/Pacific Group on Money Laundering – APG)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เสนอ ดังนี้
                   1.1 การลงนามการต่ออายุกรอบข้อบังคับของกลุ่มต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (Asia/Pacific Group on Money Laundering – APG)
                   1.2 ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ลงนามในหนังสือยืนยันการต่ออายุของกรอบข้อบังคับของ APG ดังกล่าว
                   สาระสำคัญ
                   เนื่องจากกรอบข้อตกลงเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (10 เมษายน 2544) เห็นชอบให้สำนักงาน ปปง. สมัครเป็นสมาชิกของกลุ่ม APG ไว้แล้วนั้น จะมีผลบังคับถึงเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งการขอขยายระยะเวลาของกรอบข้อตกลง APG ออกไปอีก 8 ปี (ถึงเดือนธันวาคม 2571) ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ผ่านการเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน [Financial Action Task Force (FATF) on Money Laundering] โดยที่การขยายกรอบอายุข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ไทยในฐานะรัฐสมาชิกจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (ค่าสมาชิกรายปีและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ) ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้ประมาณค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าสมาชิกตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2571 แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 13,493,150.49 บาท (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี)  
 
17. เรื่อง การทบทวนรายชื่อผู้แทนไทยที่จะทำหน้าที่ในคณะผู้พิจารณา (Panel) และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ภายใต้พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced Disputes Settlement Mechanism: EDSM)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายชื่อผู้แทนไทยที่มีคุณสมบัติเข้าดำรงตำแหน่งผู้พิจารณาและสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ภายใต้พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน  ทั้งนี้ หากมีเหตุจำเป็นที่ผู้พิจารณาของไทยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกำหนดไว้ หรือหากจะมีการปรับปรุงรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ในคณะผู้พิจารณาในอนาคต มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สามารถดำเนินการสรรหาผู้พิจารณาคนใหม่ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ
                             สาระสำคัญ
                             ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2562 – กุมภาพันธ์ 2563 คณะทำงานสรรหาบุคคลฯ ได้ให้ความเห็นชอบผู้แทนไทยทั้ง 5 คน ให้ยังคงอยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ในคณะผู้พิจารณาและองค์กรอุทธรณ์ของสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป ทั้งนี้ ข้อมูลและประวัติส่วนบุคคลปัจจุบัน (Curriculum Vitae)   ของผู้แทนสรุปได้ดังนี้
                             ผู้พิจารณา (Panelists) จำนวน 3 คน ได้แก่
                             (1) ดร.พรชัย ด่านวิวัฒน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการกรอบความร่วมมือเอเชีย   (Asia Cooperation Dialogue: ACD) และเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
                             (2) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัทเศรณี โฮลดิ้ง จำกัด และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                             (3) นายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพร (ชื่อเดิม คือ นายพรชัยฯ) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center: THAC) และเคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ยธ.
                             สมาชิกองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body Members) จำนวน 2 คน ได้แก่
                             (1) ดร.อนันต์ จันทรโอภากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 14 และเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                             (2) ดร.สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทย และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียน
                             ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานสรรหาฯ ได้พิจารณาเห็นควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเป็นหลักการว่า หากจะมีการปรับปรุงรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ในคณะผู้พิจารณาในอนาคต ขอให้กระทรวงพาณิชย์สามารถดำเนินการปรับปรุงรายชื่อบุคคลดังกล่าวได้เลย โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก แต่การเสนอรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ในองค์กรอุทธรณ์ยังคงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากคำตัดสินขององค์กรอุทธรณ์ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของกระบวนการพิจารณาระงับข้อพิพาท  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยได้ จึงถือว่าเป็นตำแหน่งระดับสูงที่มีความสำคัญ และเห็นชอบผู้แทนไทยทั้ง 5 คน ให้คงอยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่ในคณะผู้พิจารณาและองค์กรอุทธรณ์ของสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป
 
18. เรื่อง โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านจำนวน 20 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบเงินอุดหนุน ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และอนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุน รายการโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน  ในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และสามารถจ่ายเงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ เพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามที่ได้รับจัดสรร ตามที่กระทรวงยุติธรรม เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดำเนินโครงการเกี่ยวกับการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างดี โดยเห็นพ้องกันว่าสามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยปฏิบัติของประเทศตนทำให้สามารถควบคุมยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จมากขึ้น และยังต้องการให้ประเทศไทยสนับสนุนโครงการดังกล่าวต่อไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ กระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจึงได้เสนอขออนุมัติโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ  ปี 2563 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ซึ่งได้รับการจัดสรรแล้วจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 งบเงินอุดหนุน รายการโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศข้างต้น ดังนี้  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา  งบประมาณ 7.93 ล้านบาท  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม งบประมาณ 6.32ล้านบาท สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวงบประมาณ 3.39 ล้านบาท  และราชอาณาจักรกัมพูชา งบประมาณ 2.36 ล้านบาท  รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท
 
19. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค เรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค เรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19   โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก พร้อมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค เรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1.) ตระหนักถึงความสำคัญของการคงไว้ซึ่งการเปิดตลาดและการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมด้านการค้าและการลงทุนเสรี เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส คาดการณ์ได้ และมีเสถียรภาพ 2) สนับสนุนการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ โดยเฉพาะยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สินค้าเกษตร สินค้าอาหาร หรืออุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาด และไม่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก โดยยังคงความเชื่อมโยงทางการค้า และแสวงหาแนวทางในการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคคลากรทางสาธารณสุขและนักธุรกิจที่มีความสำคัญโดยไม่ลดทอนความพยายามในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19  3)ตระหนักถึงการใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และมาตรการเหล่านี้จะต้องเป็นมาตรการชั่วคราว เฉพาะเจาะจง และเหมาะสม โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าโดยไม่จำเป็น รวมถึงตระหนักถึงความจำเป็นในการแจ้งมาตรการเหล่านี้ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์องค์การการค้าโลก 4) สนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขอย่างยั่งยืน ยืดหยุ่นและมั่นคง และการใช้นโยบายช่วยเหลือสำหรับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการจ้างงานอีกครั้ง 5) สนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจเอเปคดำเนินมาตรการอำนวยความสะดวกเพื่อเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคจัดทำแนวทางความร่วมมือเพื่อรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่รับมือโรคติดเชื้อโควิด-19 และผลกระทบเพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดีของเอเปค โดยคำนึงถึงคำแนะนำจากสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค 6) ตระหนักถึงความร่วมมือกับพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงภาคเอกชนและภาควิชาการ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างสร้างสรรค์มีนวัตกรรม และทันท่วงที 7) ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานโลกให้มีความยืดหยุ่น และไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 8) ตระหนักถึงความสำคัญเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีผ่านการใช้ประโยชน์จากแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศและการค้าข้ามพรมแดนอย่างไร้รอยต่อ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบในวงกว้างจากการแพร่ระบาดในอนาคต 9) ส่งเสริมให้เอเปคมีวาระด้านดิจิทัล รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการค้าบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยใช้มุมมองใหม่ และเครื่องมือเชิงนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ร่วมกัน
 

แต่งตั้ง

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนออนุมัติแต่งตั้ง นางสาววีณา ลิ่มสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) (วิศวกรชลประทานเชี่ยวชาญ) กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) (วิศวกรชลประทานทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 
                   1. นายจุลพงศ์ จันทร์ต๊ะ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2562
                   2. นายพัลลภ พงษ์สุทธิรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ-นรีเวชกรรม) กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ-นรีเวชกรรม) โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562
                   3. นายอภิวัฏ ธวัชสิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มพิษวิทยาและชีวเคมี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วิทยาศาสตร์กายภาพ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2562
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
23. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า รวม 3 คน แทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้  
                   1. นายสุชาติ เตชจักรเสมา ประธานกรรมการ 
                   2. นายสกล กิตต์นิธิ กรรมการ
                   3. นายสัมมา คีตสิน (เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ) กรรมการ 
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว
 
24. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดที่ดิน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดที่ดิน จำนวน 7 คน ตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562) ดังนี้ 
                   1. นายประทีป เจริญพร (ด้านการจัดการที่ดิน)   
                   2. นายสมบูรณ์ วงค์กาด (ด้านทรัพยากรดิน)
                   3. นายพงษ์พิเชษฐ เก้าเอี้ยน (ด้านการปฏิรูปที่ดิน)
                   4. นายสมชาย ตะสิงห์ษะ (ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                   5. นายทรงวุฒิ สายแก้ว (ด้านกฎหมาย)
                   6. นายวราพงษ์ เกียรตินิยมรุ่ง (ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ)
                   7. นายจุมพล ริมสาคร (ด้านเศรษฐศาสตร์)
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป และให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดที่ดินในครั้งต่อ ๆ ไป ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
 
25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 7 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้   
                   1. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 7 คน
                             1.1 รองศาสตราจารย์ประสบศรี อึ้งถาวร ด้านประกันสุขภาพ
                             1.2 นายเจษฎา โชคดำรงสุข ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 
                             1.3 นายอนันต์ชัย อัศวเมฆิน ด้านการแพทย์แผนไทย  
                             1.4 พลเอก เอกจิต ช่างหล่อ ด้านการแพทย์ทางเลือก 
                             1.5 นางดวงตา ตันโช ด้านการเงินการคลัง
                             1.6 นายจิรวุสฐ์ สุขได้พึ่ง ด้านกฎหมาย
                             1.7 นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ด้านสังคมศาสตร์
                    2. คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน  
                             2.1 นายพิทยา จารุพูนผล สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
                             2.2 นายพงศธร เนตราคม สาขาจิตเวช
                             2.3 นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ สาขาการแพทย์แผนไทย
                             2.4 นายสุพรรณ ศรีธรรมมา สาขาอื่น (เวชศาสตร์ป้องกัน)
                             2.5 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณวิบูลพรรณ ฐิตะดิลก สาขาอื่น (สูตินรีเวชกรรม) 
                             2.6 นายสมเจตน์ อำนวยสวัสดิ์ สาขาอื่น (กฎหมาย)
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
 
26. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะกำกับดูแลสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้  
                   1. พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการ   
                   2. นายเรืองศิลป์ วงศ์บุญทิวา กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน 
                   3. นางสาวสายอรุณ แก้วมุงคุณ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน  
                   4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติ มงคลชัยอรัญญา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   5. นายประยงค์ ดอกลำใย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   6. นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
 

.............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: