สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 ก.ย. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 8 ก.ย. 2563 | อ่านแล้ว 2955 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 ก.ย. 2563

8 ก.ย. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 




กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                   เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ              แห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติและควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้
                   1. กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการออกเสียง รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอื่นใดที่จำเป็นได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งหรือที่มิได้มีบัญญัติไว้แล้วเป็นการเฉพาะ 
                   2. กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจะขอให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องใด ที่ไม่ใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้ง              ต่อรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลใดก็ได้ และให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องในการจัดทำประชามติหรือเพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของ                ผู้มีสิทธิออกเสียง หรือเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี 
                             กรณีที่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ               ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่หรืออำนาจได้ ให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง และหากไม่มีผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น ให้รัฐอุดหนุนหรือจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเพียงพอแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติที่ต้องดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะจัดทำประชามติแก่ผู้มีสิทธิออกเสียง 
                   3. กำหนดให้คณะกรรมการประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในระยะเวลา           ที่กำหนด วันออกเสียงต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทุกเขตออกเสียง และต้องกำหนดวันออกเสียงภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ผู้ออกเสียงอาจเสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการให้มีการออกเสียงไม่เป็นไปตามกฎหมาย  
                   4. กำหนดให้การออกเสียง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ และให้การออกเสียงถือว่า             มีข้อยุติต้องมีผู้ออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมาก และมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง ในกรณี               การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมาก ส่วนการออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายบัญญัติ 
                   5. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะจัดทำประชามติแก่ผู้มีสิทธิออกเสียงได้รับทราบอย่างเพียงพอโดยมีรายละเอียดตามที่กำหนด และต้องนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา จัดทำเอกสารส่งให้เจ้าบ้านทราบ รวมทั้งให้มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว              ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์และสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ตลอดจนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงให้ผู้มีสิทธิออกเสียงทราบ และการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการจัดทำประชามติด้วย และในกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติและสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
                   6. กำหนดให้การออกเสียงกรณีที่คณะรัฐมนตรีขอให้มีการออกเสียงให้ใช้เขตที่คณะกรรมการ            การเลือกตั้งประกาศกำหนดเป็นเขตออกเสียง สำหรับการออกเสียงเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตออกเสียง และก่อนวันออกเสียงตามระยะเวลาที่กำหนด ให้คณะกรรมการออกเสียงประจำเขตออกเสียงกำหนดหน่วยออกเสียง              ที่จะพึงมีในเขตออกเสียง และที่ออกเสียงของแต่ละหน่วยออกเสียงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การเขตหมู่บ้าน               เป็นเขตของหน่วยออกเสียง หรือให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิอกเสียงหน่วยละหนึ่งพันคนเป็นประมาณ 
                   7. กำหนดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า             สิบแปดปีในวันออกเสียง  และกำหนดลักษณะต้องห้ามข้องผู้มีสิทธิออกเสียง เช่น ต้องไม่เป็นภิกษุ สามเณร               นักพรต หรือนักบวช อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 
                   8. กำหนดให้เมื่อประกาศกำหนดวันออกเสียง ให้คณะกรรมการการออกเสียงประจำเขตออกเสียงหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย จัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงของแต่ละหน่วยออกเสียงและปิดประกาศไว้              ณ ที่ออกเสียงหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่ออกเสียง หรือสถานที่ประชาชนสะดวกในการตรวจสอบ และแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงในทะเบียนบ้านไปยังเจ้าบ้านให้ทราบตามระยะเวลาที่กำหนด และให้เจ้าบ้านมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อต่อคณะกรรมการฯ ถ้าหากมีการยกคำร้อง ผู้ยื่นมีสิทธิคำร้องขอต่อศาลยุติธรรมที่ตนมีภูมิลำเนาและ              ให้คำสั่งศาลเป็นที่สุด 
                   9. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการออกเสียงในการออกเสียงแต่ละครั้งตามที่กำหนด โดยให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการและกรรมการเป็นไปตามที่กำหนด และให้กรรมการ เลขาธิการ ผู้ตรวจการเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการออกเสียง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา 
                    10. กำหนดให้คณะกรรมการจัดให้มีหีบบัตรออกเสียงและบัตรออกเสียง โดยมีลักษณะที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียง ลักษณะและขนาดของหีบบัตรออกเสียง บัตรออกเสียงและ                   วิธีการลงคะแนนในบัตรออกเสียงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด และกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการลงคะแนนออกเสียงและการนับคะแนน และกำหนดเวลาเปิดการลงคะแนนออกเสียง การอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการและผู้สูงอายุในการลงคะแนนออกเสียง
                   11. กำหนดให้เปิดหีบบัตรออกเสียงต่อหน้าประชาชน ณ ที่ออกเสียงแล้วดำเนินการนับคะแนนโดยเปิดเผย ณ ที่ออกเสียงจนเสร็จ โดยมิให้เลื่อนหรือประวิงการนับคะแนนกำหนดลักษณะของบัตรเสีย เช่น บัตรปลอม บัตรที่ทำเครื่องหมายเป็นที่สังเกต และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการนับคะแนนใหม่หรือการลงคะแนนออกเสียงใหม่ หรือการที่ไม่สามารถนับคะแนนได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย และการประกาศผลการออกเสียง 
                   12. กำหนดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงในหน่วยออกเสียงใด เห็นว่าการออกเสียงในหน่วยออกเสียงนั้นเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม มีสิทธิยื่นคำคัดค้านโดยมีรายละเอียดแห่งพฤติการณ์หรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการออกเสียงนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อคณะกรรมการตามระยะเวลาที่กำหนด 
                   13. กำหนดความผิดและบทกำหนดโทษจำคุก ปรับ หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง กรณีการฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และในกรณีศาลมีคำพิพากษาลงโทษผู้ใดตามฐานกระทำความผิด                    ตามพระราชบัญญัตินี้ และผู้นั้นเป็นผู้กระทำให้การออกเสียงไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมอันเป็นเหตุให้ต้องมี              การออกเสียงใหม่ในหน่วยออกเสียงใด ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการออกเสียง             ในหน่วยออกเสียงที่เป็นเหตุให้คณะกรรมการสั่งให้ต้องมีการออกเสียงใหม่นั้นด้วย
 
 
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลนอกเมือง และตำบลในเมือง                อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่              ตำบลนอกเมือง และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับ                   ความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลนอกเมือง และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2077 เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
 
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบึง และตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่                  ตำบลบึง และตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบึง และตำบลบ่อวิน อำภอศรีราชา                  จังหวัดชลบุรี เพื่อขยายทางหลวงชนบท ชบ. 3009 ในการขนส่งสินค้า ลดอุบัติเหตุและแบ่งเบาปริมาณการจราจรของถนนสายหลัก เพื่อเป็นการรองรับความเจริญเติบโตของจังหวัดชลบุรีในอนาคต และเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว             ในการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้เส้นทาง และเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน
 
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี              พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม            การลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้                    สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศใน              ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2560 ดังนี้

การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
1. สำนักงานเลขาธิการ
2. กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ
3. – 7. กองบริหารการลงทุน 1 - 5
 
8. กองประสานและพัฒนาปัจจัยการลงทุน
9. กองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน
 
 
10. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
11. กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
 
12. กองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ
13. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
14. ศูนย์บริการลงทุน
15. – 21. ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 – 7
22. สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ
1. สำนักงานเลขาธิการ (คงเดิม)
2. กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ (คงเดิม)
3. – 4. กองติดตามและประเมินผลการลงทุน 1. – 2.              [จัดตั้งใหม่]
5. กองประสานและพัฒนาปัจจัยการลงทุน (คงเดิม)            6. กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย [จัดตั้งใหม่โดยยุบรวมกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศกับกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุนเข้าด้วยกัน]
7. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน [คงเดิม]
8. – 11. กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 [เปลี่ยนชื่อจากกองบริหารการลงทุน 1 – 5]
12. กองส่งเสริมการลงทุนไทยจากต่างประเทศ (คงเดิม) 
13. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (คงเดิม)   
14. ศูนย์บริการลงทุน (คงเดิม) 
15. – 21. ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 – 7 (คงเดิม) 
22. สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ (คงเดิม) 

ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการดังกล่าว ไม่เป็นการเพิ่มจำนวนกองหรือจำนวนหน่วยงานและอัตรากำลังในภาพรวมของส่วนราชการ และยังคงตำแหน่งประเภทผู้อำนวยการตามจำนวนและตำแหน่งที่มีอยู่เดิม รวมทั้ง              ไม่เป็นการเพิ่มงบประมาณแต่อย่างใด
 
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการออกกฎกระทรวงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 โดยเป็นการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางในสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปดที่ออกสู่ท้องตลาดให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 683 – 2562 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5710 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในรถจักรยานยนต์ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางในสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปด ลงวันที่               10 มีนาคม 2563
 




เศรษฐกิจ - สังคม

6. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในอัตราไม่เกิน 10,700 อัตรา โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ 
                   1. ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ 2.5 ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง จำนวน 292,506 อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน 7,313 อัตรา  
                   2. ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระดับดีเด่นไม่เกินร้อยละ 1.5 ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 225,822 อัตรา คิดเป็นอัตราไม่เกิน 3,387 อัตรา 
                   3. สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป
 
7. เรื่อง การขอโอนสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2549/75 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/48  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้บริษัท Northern Gulf Petroleum Pte. Ltd. โอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะ ซึ่งถืออยู่ทั้งหมดในอัตราร้อยละ 10 ตามสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2549/75 แปลงสำรวจในทะลอ่าวไทย G1/48 ให้แก่บริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด โดยอาศัยความตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว พน.                  จะออกเป็นสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) ของสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2549/75 ตามแบบ ชธ/ป3/1     ที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. 2555 ต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   พน. รายงานว่า แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/48 อยู่บริเวณอ่าวไทยตอนบนห่างจากชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 65 กิโลเมตร มีพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม จำนวน 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ผลิตปิโตรเลียมกระเหนือ ขนาด 161.14 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมกระเหนือส่วนขยาย ขนาด 10.75 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ 171.89 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่สงวนคงเหลือ (พื้นที่ที่บริษัทผู้ถือสัมปทานยังไม่ได้เข้าสำรวจ) จำนวน 56.96 ตารางกิโลเมตร 
                   ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 พฤศจิกายน 2549) อนุมัติให้สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2549/75 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/48 ต่อมาได้มีการโอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานปิโตรเลียมระหว่างภาคเอกชนหลายครั้ง ซึ่งในครั้งนี้บริษัท Northern Gulf Petroleum Pte. Ltd. ได้ขอโอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะ ในสัมปทานดังกล่าว ซึ่งถืออยู่ทั้งหมดในอัตราร้อยละ 10 ให้กับบริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

วันที่ เหตุการณ์ ผู้ถือสิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทาน สัดส่วน         (ร้อยละ)
ภายหลังจากวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการแจ้งโอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะ ให้กับบริษัทในเครือเดียวกัน1 บริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด 60
บริษัท Northern Gulf Petroleum Pte. Ltd. 10
บริษัท Tap Energy (Thailand) Pty Ltd 30
ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเรื่องนี้ บริษัท Northern Gulf Petroleum Pte. Ltd. โอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะในสัมปทานให้กับบริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด (ผู้รับโอน)   70
บริษัท Tap Energy (Thailand) Pty Ltd (รับทราบและยินยอมแล้ว) 30

หมายเหตุ : พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 48 บัญญัติให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิโอนสัมปทานให้แก่บริษัทในเครือได้โดยไม่ต้องขอรับอนุญาต 
                   คณะกรรมการปิโตรเลียมในการประชุมครั้งที่ 6/2563/557 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 และ พน. พิจารณาการขอโอนสัมปทานปิโตรเลียมดังกล่าวแล้วเห็นว่า บริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ขอรับโอนมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นผู้รับสัมปทานตามที่กำหนดในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 จึงเห็นควรอนุญาตให้บริษัท Northern Gulf Petroleum Pte. Ltd. โอนสิทธิ ประโยชน์ และพันธะ ซึ่งบริษัทถืออยู่ในอัตราร้อยละ 10 ให้แก่บริษัท เอ็มพี จี1 (ประเทศไทย) จำกัด โดยอาศัยความตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 และให้ พน. ออกเป็นสัมปทานปิโตรเลียม เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) ของสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2549/75 ตามแบบ ชธ/ป3/1 ที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. 2555
 
8. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาค ปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล 2 กรณี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินในเรื่องที่ มท. ขอปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล 2 กรณี เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลในครอบครัวมีภาวะสุขภาพที่ดีและมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนี้  
                   1. ค่าธรรมเนียมแพทย์หรือค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ปฏิบัติงานกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในคลินิกพิเศษหรือคลินิกนอกเวลาของสถานพยาบาลของทางราชการมีสิทธิเบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินครั้งละ 300 บาท รวมแล้วไม่เกินปีงบประมาณละ 3,600 บาท  
                   2. ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลในครอบครัว กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกในสถานพยาบาลของเอกชนหรือคลินิกเวชกรรม มีสิทธิเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงรวมแล้วไม่เกินปีงบประมาณละ 3,600 บาทต่อครอบครัว
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   มท. รายงานว่า 
                   1. ปัจจุบัน กปภ. ได้ดำเนินการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ปฏิบัติงานและบุคคลในครอบครัวตามข้อบังคับการประปาส่วนภูมิภาค ว่าด้วยการสงเคราะห์เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่เนื่องจากข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้กำหนดสิทธิค่าธรรมเนียมพิเศษแพทย์หรือค่าบริการทางการแพทย์พิเศษ กรณีผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการรักษาพยาบาลในคลินิกพิเศษหรือคลินิกนอกเวลาของสถานพยาบาลของทางราชการ และกรณีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกในสถานพยาบาลเอกชนหรือคลินิกเวชกรรม กรณีเจ็บป่วยทั่วไป ทำให้ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเลือกใช้สิทธิวันลาเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของราชการ ซึ่งอาจส่งผลต่อเวลาการปฏิบัติงานให้ กปภ. และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานลดลง กปภ. จึงได้จัดทำรายละเอียดการปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของ กปภ. ตามหลักเกณฑ์นัยมติคณะรัฐมนตรี (7 มีนาคม 2560) รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

หลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560  
การดำเนินการของ กปภ.
1. ความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละตำแหน่งงาน - เป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลนอกเวลาการปฏิบัติงาน อาจส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานใช้สิทธิวันลาลดลง
- กปภ. พิจารณาปรับปรุงสวัสดิการดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับตำแหน่ง ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 8,633 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561)
2. สถานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง การปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของ กปภ. มีจำนวนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของ กปภ.
3. ผลกระทบต่อภาระงบประมาณ - กปภ. ได้มีการประมาณการค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงสวัสดิการหรือประโยชน์อื่น โดยคำนวณจากสมมติฐานประมาณการของจำนวนผู้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลระหว่างปี 2558 – 2562 ดังนี้ 1
รายการ ปีงบประมาณ (ล้านบาท)
2563 2564 2565 2566 2567
1. ค่าธรรมเนียมแพทย์ฯ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในคลินิกพิเศษหรือคลินิกนอกเวลาของสถานพยาบาลของทางราชการ 1.17 1.19 1.24 1.28 1.32
2. ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลในครอบครัว กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกในสถานพยาบาลของเอกชนฯ 18.87 19.31 20.01 20.71 21.42
รวมทั้งสิ้น 20.04 20.50 21.25 21.99 22.74
 หมายเหตุ: รายละเอียดตามข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561   
4. ภาพรวมผลประโยชน์ตอบแทนทั้งหมดที่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจได้รับ การปรับเพิ่มสวัสดิการดังกล่าวมิได้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าตอบแทนภาพรวมของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ทั้งในระดับภายในและภายนอก เนื่องจาก กปภ. ให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกราย และหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้ดำเนินการปรับสวัสดิการดังกล่าวไปแล้ว เช่น องค์การเภสัชกรรม การไฟฟ้านครหลวง จึงมีเหตุผลสมควรที่จะปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
5. ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับสิทธิตามสวัสดิการเดิมที่มีอยู่แล้ว การปรับเพิ่มสวัสดิการดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่ไม่มีอยู่เดิม และ กปภ. ให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกราย ไม่มีผลกระทบกับผู้ปฏิบัติงานกลุ่มใด และไม่เป็นอุปสรรคต่อระบบแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร

ซึ่งการปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของ กปภ. ทั้ง 2 กรณี เป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายของ กปภ. ทั้งหมด ประมาณการค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 20.04 – 22.74 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของ กปภ. ในช่วงปี 2563 – 2567 (ประมาณ 3,452.36 – 3,930.24 ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.56 – 0.59 ของประมาณการกำไรสุทธิ 
                   คณะกรรมการ กปภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2561 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 และคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้ กปภ. ปรับเพิ่มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล 2 กรณี [ตามข้อเสนอของ มท. (กปภ.)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ 
 
 
 
9. เรื่อง การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
                   สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) จัดทำระบบ Biz Portal เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อขออนุญาตกับหน่วยงานราชการผ่านระบบออนไลน์ ประชาชนสามารถยื่นคำขอได้ครบวงจรธุรกิจในครั้งเดียว กรอกแบบฟอร์มและจัดเตรียมเอกสารเพียงชุดเดียว และติดตามสถานะคำขออนุญาตตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องไปยื่นคำขอหลายหน่วยงาน ลดภาระในการเดินทางติดต่อราชการ ปัจจุบันสามารถดำเนินการครอบคลุม 25 ประเภทธุรกิจ 78 ใบอนุญาต เช่น ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านค้าปลีก ธุรกิจรีสอร์ทขนาดเล็กและโรงแรม นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สพร. และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) พัฒนาการออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล (e-Document) โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบต่าง ๆ เช่น ข้อมูลจากเลขบัตรประจำตัวประชาชนของกรมการปกครอง การตรวจสอบการยืนยันตัวตนผ่านระบบ Digital ID รวมทั้งพัฒนาเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชนให้อยู่ในรูปแบบเอกสารดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันได้มีหน่วยงานเข้าร่วมการพัฒนาการออกเอกสารหลักฐานฯ จำนวน 33 หน่วยงาน 82 ใบอนุญาต/เอกสาร แต่อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าปัญหาอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ คือ กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงเสนอแนวทางการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้หน่วยงานสามารถให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบครบวงจร โดยมีรายละเอียดดังนี้
                   1. กฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
                   จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีหน่วยงานนำร่องในการพัฒนาการออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล 22 หน่วยงาน มีข้อจำกัดทางกฎหมายจำนวน 84 ฉบับ โดยสามารถจำแนกตามระดับชั้นของกฎหมาย ได้ดังนี้
                       1.1 กฎหมายแม่บทประเภทพระราชบัญญัติ จำนวน 13 ฉบับ
                       1.2 กฎกระทรวง หรือประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการจัดทำหรือแก้ไข จำนวน 28 ฉบับ
                       1.3 ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง ที่เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะแก้ไขได้ จำนวน 43 ฉบับ
                   ทั้งนี้ มีประเด็นที่เป็นอุปสรรคที่กำหนดไว้ในกฎหมายและกฎระเบียบข้างต้น เช่น กฎหมายกำหนดให้ต้องยื่นคำขออนุญาต/เอกสารด้วยตนเอง ณ หน่วยงานผู้อนุญาตกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ยื่นชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ประชาชนยังคงต้องไปชำระค่าธรรมเนียมด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน รวมทั้งกฎหมายระบุให้ต้องลงนามด้วยลายมือชื่อต้องยื่นเอกสารสำเนาพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องหรือมีการระบุจำนวนชุดเอกสาร
                   2. แนวทางการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
                       สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้หน่วยงานสามารถให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบครบวงจร หน่วยงานควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                       2.1 กรอบแนวทางในการดำเนินการ
                             2.1.1 การระบุวิธีการขออนุญาต การกำหนดสถานที่ยื่น/ต่ออายุ ให้หน่วยงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขออนุญาต สถานที่ยื่นคำขอ การต่ออายุใบอนุญาต รวมถึงการขอรับใบแทนใบอนุญาตกรณีชำรุด เสียหายหรือสูญหาย แล้วแต่กรณี โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อีกวิธีหนึ่ง และให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนดไว้
                             2.1.2 การชำระค่าธรรมเนียม ให้หน่วยงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการชำระค่าธรรมเนียมในการขออนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต รวมถึงการรับใบแทนใบอนุญาตกรณีชำรุด เสียหาย หรือสูญหาย แล้วแต่กรณี โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อีกวิธีหนึ่งทั้งนี้ ให้หน่วยงานต้องจัดทำใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ด้วย (e-Receipt) และให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนดไว้
                             2.1.3 การลงนามในใบอนุญาต/หนังสือรับรอง ให้หน่วยงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการลงลายมือในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น โดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                             2.1.4 การกำหนดวิธีการแจ้งผลการพิจารณา และการรับใบอนุญาต/หนังสือรับรอง ให้หน่วยงานอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการแจ้งผลการพิจารณาและการรับใบอนุญาต/หนังสือรับรอง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) อีกวิธีหนึ่งด้วย ทั้งนี้ การแจ้งผลการพิจารณาและการรับใบอนุญาต/หนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์ให้หน่วยงานดำเนินการจัดส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และ สพร. ได้กำหนดแนวทางการจัดส่งผ่านช่องทาง Digital Inbox เพื่อเป็นช่องทางในการรับใบอนุญาต
                             2.1.5 การระบุให้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการที่ได้รับอนุญาต/แสดงใบอนุญาตและเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว ให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ โดยใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทนข้อความเดิมในกฎหมาย “ให้ผู้รับอนุญาตเตรียมใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถแสดงถึงการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม” ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เทียบเคียงกับเรื่องใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ของกรมการขนส่งทางบก ตามมาตรา 31/1 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า “ในขณะขับรถในทางเดินรถ        ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว”
                       2.2 แผนการดำเนินการ ในการแก้ไขกฎหมายตามประเด็นข้างต้นได้กำหนดแผนในการดำเนินการ ดังนี้
                             2.2.1 ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งที่เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะแก้ไขได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานดำเนินการจัดทำหรือแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นี้
                             2.2.2 กฎกระทรวง หรือประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งที่กฎหมายกำหนดให้ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานดำเนินการจัดทำหรือแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                             2.2.3 กฎหมายแม่บทประเภทพระราชบัญญัติ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแก้ไขต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยเชิญหน่วยงานมาชี้แจงและปรับแก้กฎหมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และหากดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติแล้วเสร็จให้แก้ไขกฎหมายลำดับรองให้สอดคล้องภายใน 3 เดือน นับแต่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้
                       2.3 กฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องจัดทำหรือแก้ไขให้แล้วเสร็จในระยะแรก                              นอกจากกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรค จำนวน 84 ฉบับ แล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พิจารณาลำดับความสำคัญของกฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องจัดทำหรือแก้ไขให้แล้วเสร็จในระยะแรก พบว่า มีกฎหมายและกฎระเบียบ จำนวน 23 ฉบับ (21 ใบอนุญาต/เอกสาร) ของหน่วยงานนำร่องที่มีความพร้อมอยู่แล้ว หากแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบจะสามารถให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
                   3. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดอุปสรรคในการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
 
10. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563 (กนป.)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธานกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเสนอ โดยมีผลการประชุมที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
                   1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน
                             1.1 เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562-2563 ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2563 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2563 โดยใช้กรอบงบประมาณดำเนินการเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 จำนวน 13,378.99 ล้านบาท ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว 9 งวด เป็นเงิน 6,729.57 ล้านบาท คงเหลือจำนวน 6,649.42 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้แก่เกษตรกรและเป็นค่าบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. (กันยายน 2562–ธันวาคม 2563) [กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรื่องนี้แล้วเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563]
                             1.2 เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันปี 2564 ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมกราคม-กันยายน 2564 และมีกรอบวงเงินดำเนินการ 8,807.54 ล้านบาท โดยคงหลักการเช่นเดียวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562-2563 และมอบหมาย พณ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการและอนุมัติกรอบวงเงินดำเนินการต่อไป
                             1.3 เห็นชอบให้ พณ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธ.ก.ส. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ (สงป.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                   2. มาตรการดูดซับน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกิน
                             2.1 โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน
                             เห็นชอบการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน เป้าหมาย 300,000 ตันน้ำมันปาล์มดิบ ภายในเดือนมีนาคม 2564 (กรณีส่งออกเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ คิดอัตราแปรสภาพน้ำมันปาล์มดิบ : น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ = 100 : 62.78) เพื่อลดปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินและรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศ ด้วยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เช่น
ค่าขนส่ง ค่าคลังจัดเก็บ และรักษาคุณภาพ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในอัตราไม่เกิน 2.00 บาทต่อกิโลกรัมน้ำมันปาล์มดิบ ให้แก่ผู้ที่ส่งออกน้ำมันปาล์มตามโครงการฯ โดยให้กรมการค้าภายใน พณ. เสนอขอใช้งบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 618 ล้านบาท และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                             2.2 การใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตไฟฟ้า
                             มอบหมายให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกับ สงป. เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าและภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มเติม จำนวน 100,000 ตัน โดยให้นำเข้าที่ประชุม กนป. พิจารณาอีกครั้งภายในเดือนกันยายน 2563
 
11. เรื่อง  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของ             โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2/2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2/2563 ตามที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                    ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (คณะกรรมการบริหารสถานการณ์             เศรษฐกิจฯ) ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 2 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นั้น ฝ่ายเลขานุการฯ ขอสรุปสาระสำคัญและมติที่ประชุม ดังนี้
                    1. ที่ประชุมรับทราบเรื่องสำคัญ ดังต่อไปนี้
                              1.1 การแต่งตั้งผู้แทนสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ผู้แทน             สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ เพิ่มเติมตามคำสั่งนายกรัฐมตรีที่ 29/2563 เรื่องแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ลงวันที่ 1 กันยายน 2563 และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จำนวน               3 ชุด ประกอบด้วย (1) คณะอนุกรรมการเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน (2) คณะอนุกรรมการเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาวและ (3) คณะอนุกรรมการสนับสนุนข้อมูล              เศษฐกิจรายสาขา ตามคำสั่งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 1/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ลงวันที่ 1 กันยายน 2563
                              1.2 สถานการณ์เศษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2563 เศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจทั้งด้านการใช้จ่ายและด้านการผลิต สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและจำกัดการเดินทางภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศพบว่าอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยทั่วประเทศปรับตัวดีขึ้น                 แต่การเดินทางยังกระจุกอยู่ในบางพื้นที่รอบ ๆ กรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2563 สะท้อนจากเครื่องชี้วัดที่มีความถี่สูงพบว่ายังคงมีสัญญาณของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเดินทางภายในประเทศอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับในช่วงที่มีการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน นอกจากนี้ มูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครติตและเดบิตภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและเดบิตเพื่อการทำธุรกรรมออนไลน์ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
                              1.3 รับทราบความคืบหน้าโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายให้ได้รับ          การบรรเทาภาระหนี้และให้มีกลไกในการจัดการหนี้กับสถาบันการเงินทุกแห่งได้อย่างบูรณาการ (One Stop Service) ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกันในรูปแบบมาตรฐาน และการกำหนดบทบาทของเจ้าหนี้หลักในการดูแลลูกหนี้และประสานกับเจ้าหนี้อื่น ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ (1) แก้ไขหนี้เดิม อาทิ กรลดค่างวด ขยายเวลาชำระหนี้ และ/หรือ ปรับเงื่อนไขให้เหมาะสมตามศักยภาพของลูกหนี้รวมทั้งมีเวลาปลอดหนี้และการผ่อนชำระหนี้ที่เหมาะสม และทบทวนการให้ใช้วงเงินที่เหลืออยู่ (2) สินเชื่อใหม่ โดยธนาคารเจ้าหนี้ร่วมกันพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ที่มีประวัติชำระหนี้ดี มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ทั้งนี้ ในระยะแรก ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทธุรกิจและอุตสาหกรม (2) เป็นหนี้กับธนาคารหลายแห่ง โดยในระยะแรกจะเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่มีวงเงินหนี้รวม 50-500 ล้านบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาขยายขอบเขตในระยะต่อไปของโครงการ (3) มีสถานะหนี้ปกติ หรือเป็น NPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 และ (4) ต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหนี้ถอนฟ้อง โดยกำหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 เป็นต้นไป และมีกำหนดการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับข้อมูลและเอกสารจากลูกหนี้ครบถ้วน
                    2. มติคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ
                              2.1 มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว นำเสนอโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                        2.1.1 เห็นขอบให้มีการเพิ่มสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันให้ผู้ลงทะเบียนจำนวน     3 สิทธิ ได้แก่ (1) เพิ่มส่วนลดค่าที่พักร้อยละ 40 จำนวน 10 คืนต่อคน (2) เพิ่มคูปองอาหารต่อการท่องเที่ยว สูงสุดมูลค่า 900  บาทต่อวัน โดยการใช้สิทธิในวันจันทร์ถึงพฤหัสบดีจะอุดหนุน 900 บาท ขณะที่การใช้สิทธิในวันศุกร์ถึงอาทิตย์จะอุดหนุน 600 บาท และ (3) ให้เงินคืนค่าตั๋วเครื่องบิน จำนวน 2,000 บาทต่อที่นั่ง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1กันยายน 2563
                                        2.1.2 เห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจสามารถลาพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อลงทะเบียนและใช้สิทธิในแพ็คเกจเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา เพิ่มความถี่การพักค้าง และกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มประชาชนที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายให้ออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
                             2.2 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน นำเสนอโดยกระทรวงแรงงาน ชึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้จบการศึกษาใหม่ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รวมจำนวน 260,000 อัตรา โดยมีอัตราค่าจ้าง ตามวุฒิการศึกษาดังนี้ ปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เดือนละ 11,500 บาท และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เดือนละ  9,400 บาท ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเงินค่าจ้าง ร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือนสำหรับวุฒิการศึกษาปริญญาตรี สูงสุดไม่เกิน 5,750 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. และสูงสุดไม่เกิน 4,700 บาทต่อคนต่อเดือนสำหรับวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. โดยจะมีระยะเวลาการจ้างงานทั้งสิ้น 12 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ คือ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม มีการยืนยันตัวตนผ่านกระทรวงแรงงาน และต้องมีเงื่อนไขเลิกจ้างลูกจ้างเดิมไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ภายในระยะเวลา 1 ปี (กรณีที่ลูกจ้างลาออกในระหว่างโครงการ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการสามารถหาลูกจ้างใหม่ทดแทนได้) ขณะที่ลูกจ้างที่จะเข้าร่วมโครงการจำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) มีสัญชาติไทย และ (2) อายุไม่เกิน 25 ปี หรืออายุเกินกว่า 25 ปี ซึ่งสำเร็จการศึกษาในปี 2562 หรือปี 2563
                    2. เห็นชอบในหลักการของมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย นำเสนอโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภค และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปที่  ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการหาบเร่ แผงลอย โดยรัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 และจำกัดการใช้จ่ายต่อคนตลอดโครงการ สำหรับกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 15 ล้านคน และกลุ่มร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการจะมุ่งเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อยทั่วไปครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการหาบเร่ แผงลอย ประมาณ 80,000 ร้านค้า ผ่านกลไกการดำเนินงานผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลังจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ภายในเดือนตุลาคม 2563
                    3. ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                              3.1 มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกับผู้แทนภาคเอกชนในการกำหนดแนวทางมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบและยังไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือ โดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยให้พิจารณามาตรการรองรับตามประเภทของลูกหนี้ อาทิ มาตรการแยกตามมูลค่าหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีมูลค่าหนี้ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และมาตรการแยกตามกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาก่อนและหลังการระบาดของโควิด เป็นต้น
                              3.2 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้ประโยชน์จากกลไกของกองทุนในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยฉพาะธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจ Start up รวมทั้งกลุ่ม Smart farmer อาทิ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการปรับตัวและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิตอลในอนาคตได้
                              3.3 มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะการกระตุ้นให้กลุ่มคนไทยที่มีกำลังซื้อและ   ภาคธุรกิจเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งการพิจารณาให้มีการใช้ระบบทดแทนเงินสด อาทิ คูปอง หรือระบบ Smart card เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุควบคู่ไปกับการดูแลสาขาการผลิตและสาขาบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว และมอบหมายให้ศึกษาเตรียมความพร้อมในการรองรับในกรณีที่มีการเปิดให้มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศอย่างรอบคอบและรัดกุมในระยะต่อไป โดยเน้นการสร้างความพร้อมของระบบสาธารณสุขและการรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างการยอมรับและการมีส่วนร่วม เป็นสำคัญ
 
12. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 17
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 17 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2563 ซึ่งได้รับข้อมูลจาก 147 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 99 ของส่วนราชการทั้งหมด (148 ส่วนราชการ) สรุปข้อมูลดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
                    ส่วนราชการได้มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของ           ส่วนราชการตามปกติเพิ่มมากขึ้น (91 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 62) โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา                 (82 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 56) และส่วนราชการส่วนใหญ่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาในการทำงานเป็น 3 ช่วงเวลา (76 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 52)               
                    2. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
                    ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการลดลง (56 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 38) โดยในจำนวนนี้มีส่วนราชการ 11 ส่วนราชการ (คิดเป็นร้อยละ 7) มอบหมายให้ทุกคนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง
         
13. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ ในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 24 – 28 สิงหาคม 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญ
                   รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีจำนวน 55 แห่ง โดยผลสัมฤทธิ์ฯ ของรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 24 – 28 สิงหาคม 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (ปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักหรือสถานที่ตามที่รัฐวิสาหกิจกำหนด)
                   รัฐวิสาหกิจ 14 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง โดยมีรัฐวิสาหกิจ 41 แห่ง ที่ให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามปกติแล้ว เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2563) ทั้งนี้ จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดจำนวน 272,061 คน มีพนักงานและลูกจ้างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งจำนวน 10,034 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4
                   2. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา)
                   รัฐวิสาหกิจ 26 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาเท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า              (ช่วงระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2563) โดยรัฐวิสาหกิจ 26 แห่ง มีช่วงเวลาเริ่มปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 10.00 น.
                    3. แนวทางการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ
                   รัฐวิสาหกิจที่ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งมีการติดตามผลการปฏิบัติงาน             ทั้งเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีการกำกับ ติดตาม และบริหารผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชัน Line ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการติดตามงานและการลงเวลาปฏิบัติงานที่องค์กรพัฒนาขึ้นเอง โดยรัฐวิสาหกิจยังคงใช้แอปพลิเคชัน Line มาสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งว่า ควรเตรียมอุปกรณ์และระบบเพื่อรองรับ             การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้เพียงพอ และควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานขององค์กรให้สามารถรองรับ                  การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ ซึ่งรวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งควรพิจารณาลักษณะงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งเท่านั้น เช่น การให้บริการประชาชน และสำหรับงานอื่นที่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้ง ควรพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งแทน
 
14. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 18/2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2563 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ที่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (พ.ศ. 2563)                     (พระราชกำหนดฯ) พิจารณาความเหมาะสมของการปรับปรุงรายละเอียดของแผนงาน/โครงการ และพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการที่ใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับผลผลิตทางการเกษตร ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรอบวงเงิน 2,003.7188 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ กรอบวงเงินไม่เกิน 1,803.34692 ล้านบาท ส่วนที่เหลือวงเงินจำนวน 200.37188 ล้านบาท ให้สหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการฯ จ่ายเงินสมทบร้อยละ 10 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด
                   2. อนุมัติโครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy “คิดถึงเชียงใหม่”             ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินรวม 48.6000 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ
                   3. อนุมัติโครงการพัฒนาการผลิตและใช้โปรตีนจากแมลงเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินรวม 15.26816 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ
                   4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1-3 ดำเนินการ ดังนี้                 
                              4.1 ดำเนินโครงการฯ ตามหลักการทั้ง 8 ข้อของคณะกรรมการฯ อย่างเคร่งครัด และจัดทำหนังสือยืนยันว่าการประมาณค่าใช้จ่ายเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ พร้อมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                              4.2 จัดทำประมาณการความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ
                             4.3 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
                             4.4 ประสานกับกระทรวงการคลังในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ ด้วย
                   5. ให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ขยายระยะเวลาโครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา จากเดิมกำหนดไว้เดือนสิงหาคม 2563 เป็นเดือนตุลาคม 2563 พร้อมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                   6. รับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ของกรมป่าไม้ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเห็นควรให้ทั้ง 2 หน่วยงานดำเนินโครงการฯ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ตามขั้นตอนต่อไป
 




ต่างประเทศ

 
15.  เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 53 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารทั้ง 17 ฉบับ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสาร                    ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารในข้อ 1 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมลงนามในเอกสารข้อ 2.1 และ 2.2 โดยให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ว่า รัฐบาลไทยให้ความยินยอมให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในเอกสารข้อ 2.3 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างเอกสารจำนวน 17 ฉบับ ซึ่งจะมีการเสนอให้ที่ประชุมรับรองและลงนามระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 53 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                   1. เอกสารผลลัพธ์ที่จะรับรอง จำนวน 14 ฉบับ ได้แก่
                             1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 53 (Draft Joint Communique of the 53rd ASEAN Foreign Ministers’ Meeting) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะสานต่อความร่วมมือในการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในระยะยาวในภูมิภาค ความมั่นคงของมนุษย์ การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก การส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงในภูมิภาค การรักษาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับคู่เจรจาและหุ้นส่วนต่าง ๆ ของอาเซียนในการส่งเสริมความเป็นเอกภาพและความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมในภูมิภาค การขยายความร่วมมือในสาขาที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค
                             1.2 ร่างแผนปฏิบัติการฉบับครอบคลุมเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐรัสเซีย (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Comprehensive Plan of Action (CPA) to Implement the ASEAN and the Russian Federation Strategic Partnership (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและรัสเซียจะดำเนินการร่วมกัน โดยมีสาขาความร่วมมือที่เด่นชัด ได้แก่ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน อุตสาหกรรม พลังงาน การเงิน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งความร่วมมือรายสาขาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี การเตือนภัยล่วงหน้าและการบรรเทาภัยพิบัติ การจัดการ การฟื้นฟูและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เป็นต้น
                             1.3 ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับจีนเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Plan of Action to Implement the ASEAN-China Strategic Partnership for Peace and Prosperity (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและจีนจะดำเนินการร่วมกันเพื่อปฏิบัติตามวิสัยทัศน์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน ค.ศ. 2030 ซึ่งผู้นำอาเซียนและจีนได้ให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 21 ในปี 2561 โดยครอบคลุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ความเชื่อมโยงความร่วมมือด้านเมืองอัจฉริยะความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อริเริ่มเพื่อการบูรณาการอาเซียนและลดช่องว่างด้านการพัฒนา             ความร่วมมืออนุภูมิภาค ความร่วมมือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ในภูมิภาค และการติดตามและการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ
                             1.4 ร่างแผนปฏิบัติการระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อดำเนินการตามถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นหุ้นส่วน (ค.ศ. 2021-2025) (Draft ASEAN-Republic of Korea Plan of Action to Implement the Joint Vision Statement for Peace, Prosperity and Partnership (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินการร่วมกัน เพื่อต่อยอดถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ร่วมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นหุ้นส่วน ซึ่งผู้นำอาเวียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้ให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ครั้งที่ 3            ในปี 2562 โดยครอบคลุมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคม และวัฒนธรรม ความร่วมมือในประเด็นคาบเกี่ยว ความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนและวิธีการปฏิบัติ
                             1.5 ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์ (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Plan of Action to Implement the ASEAN-New Zealand Strategic Partnership (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและนิวซีแลนด์จะดำเนินการร่วมกันเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันให้มีความลึกซึ้งและเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาเซียนและนิวซีแลนด์มีความเชี่ยวชาญและมีความสนใจร่วมกัน ทั้งในมิติด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และประเด็นคาบเกี่ยวระหว่างเสา โดยสอดคล้องกับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเวียน และส่งเสริมการบูรณาการของอาเซียนและการบรรลุวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025
                             1.6 ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา (ค.ศ.2021-2025) (Draft Plan of Action to Implement the Joint Declaration on ASEAN-Canada Enhanced Partnership (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและแคนาดาจะดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางการเมือง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือในทั้ง 3 เสาประชาคมอาเซียนและประเด็นคาบเกี่ยว อาทิ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ การคมนาคม การท่องเที่ยว การเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างอาเวียนกับแคนาดา รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านยาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อการร้าย โดยผ่านกรอบความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างกัน
                             1.7 ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับอินเดียเพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Plan of Action to Implement the ASEAN-India Partnership for Peace, Progress and Shared Prosperity (2021-2025)) ระบุมาตรการ  ต่าง ๆ ที่อาเซียนและอินเดียจะดำเนินการร่วมกันเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันในทุกสาขา เพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนและกระบวนการบูรณาการของอาเซียน ยกระดับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมและความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันในประเด็นระหว่างประเทศที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจ เพื่อสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค โดยผ่านความร่วมมือในทั้ง 3 เสาประชาคมอาเซียนและประเด็นคาบเกี่ยว อาทิ ความร่วมมือทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย พลังงาน คมนาคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน ความเชื่อมโยง เมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
                             1.8 ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Plan of Action to Implement the ASEAN-United States Strategic Partnership (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและสหรัฐฯ จะดำเนินการร่วมกันเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในทุกเสา เพื่อให้อาเซียนมีเอกภาพทางการเมือง เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และยึดมั่นในกฎกติกาอย่างแท้จริง ผ่านการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ กับอาเซียนในเวทีโลกและกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยผ่านความร่วมมือในทั้ง 3 เสาประชาคมอาเซียนและประเด็นคาบเกี่ยว อาทิ การต่อต้านการก่อการร้าย หลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข การพัฒนาทุนมนุษย์ ความเชื่อมโยง และเมืองอัจฉริยะ
                             1.9 ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุมระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ (ค.ศ. 2021-2025) (Draft Plan of Action to Implement the Joint Declaration on Comprehensive Partnership between ASEAN and the United Nations (2021-2025)) ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่อาเซียนและสหประชาชาติจะดำเนินการร่วมกันเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนภายใต้วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 และการปฏิบัติตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ โดยสานต่อและเพิ่มพูนความร่วมมือในทุกเสาของประชาคมอาเซียน รวมทั้งวัฒนธรรมการป้องกัน การบูรณาการด้านเพศสภาวะสิ่งแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัย การดำเนินการด้านสภาพอากาศ และทศวรรษแห่งการปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Decade of Action for the implementation of the Sustainable Development Goals)
                             1.10 ร่างแผนปฏิบัติการฮานอย 2 ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) (ค.ศ. 2021-2025) (Draft ASEAN Regional Forum (ARF) Ha Noi Plan of Action II (2021-2025))ระบุมาตรการต่าง ๆ ที่ประเทศเออาร์เอฟจะดำเนินการร่วมกัน             โดยต่อยอดจากแผนงานเดิม ซึ่งครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ดังนี้ ความมั่นคงทางทะเล การลดและไม่แพร่ขยายอาวุธ             การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ การบรรเทาภัยพิบัติ และความมั่นคงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความร่วมมือด้านการทหาร และปฏิบัติการด้านการรักษาสันติภาพ
                             1.11 ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกเกณฑ์และเชื่อมโยงกับผู้ก่อการร้ายและกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (Draft ASEAN Regional Forum (ARF) Statement on the Treatment of Children Recruited and Associated with Terrorist and Violent Extremist Group) มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศเออาร์เอฟในการพัฒนามาตรการและแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกชักจูงและเชื่อมโยงกับผู้ก่อการร้าย และกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง ผ่านการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม โดยเน้นการกลับสู่สังคมและการฟื้นฟู การเข้าถึงระบบสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพจิต และโครงการด้านการศึกษา โดยสอดคล้องกับเงื่อนไขกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ
                             1.12 ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Draft ASEAN Regional Forum (ARF) Statement on Countering Money-Laundering and the Financing of Terrorism) มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศเออาร์เอฟในการเสริมสร้างมาตรการในการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ผ่านการดำเนินมาตรการทางกฎหมาย การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐกับเอกชน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการกำกับดูแลและสอดส่องความผิดปกติ
                             1.13 ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการรักษาความมั่งคงในเศรษฐกิจดิจิทัล (Draft ASEAN Regional Forum (ARF) Statement on Maintaining Security in the Digital Economy) มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศเออาร์เอฟในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วมและมีความเสมอภาคต่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการรับมือสถานการณ์            การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (synergy) ของข้อริเริ่มในระดับชาติของประเทศสมาชิกอาเวียนกับแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025
                             1.14 ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อป้องกันและตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อ (Draft ASEAN Regional Forum (ARF) Statement on Enhancing Cooperation to Prevent and Respond to Infectious Disease Outbreaks) มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศเออาร์เอฟใน              การร่วมมือเพื่อป้องกันและตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงการแบ่งปันข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดี การส่งเสริมการเสริมสร้างศักยภาพการสนับสนุนการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับระบาดวิทยา การผลิตวัคซีนและ                ยาต้านไวรัส การประสานงานด้านการควบคุมชายแดน การต่อต้านการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ และการต่อต้าน     การโจมตีทางไซเบอร์และข่าวปลอม
                   2. ร่างเอกสารผลลัพธ์ที่จะลงนาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
                             2.1 ร่างตราสารขยายจำนวนอัครภาคีในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Draft Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) กับสาธารณรัฐคิวบา
                             2.2 ร่างตราสารขยายจำนวนอัครภาคีในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Draft Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
                             โดยร่างเอกสารตามข้อ 2.1 และ 2.2 ข้างต้นเป็นตราสารที่จัดทำขึ้นเพื่อรับรองการเข้าร่วมเป็นอัครภาคีอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาดังกล่าวของสาธารณรัฐคิวบาและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นชอบให้ทั้งสองประเทศเข้าร่วมเป็นอัครภาคีของสนธิสัญญาฯ แล้ว ทั้งนี้ เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2563 ประสงค์จะจัดพิธีลงนามตราสารขยายจำนวนอัครภาคีในสนธิสัญญาฯ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
                             2.3 ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาในภูมิภาคระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยสำนักเลขาธิการอาเซียน และสหรัฐอเมริกา โดยองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอสเอด) (Draft Regional Development Cooperation Agreement between the Association of Southeast Asia Nations (ASEAN) as Represented by the Agency for International Development (USAID)) เป็นการลงนามระหว่างอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development - USAID) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับโครงการด้านการพัฒนาในกรอบอาเซียน ได้แก่ (1) การรับมือกับความท้าทายในภูมิภาคและโลก (2) การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและ                การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน (3) การส่งเสริมสถาปัตยกรรมที่อยู่บนหลักนิติธรรม และ (4) การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน มีระยะเวลา 5 ปี (ค.ศ. 2021-2025) โดยสหรัฐฯ จะสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
16.  เรื่อง  ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ ครั้งที่ 1
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ทั้ง 2 ฉบับ คือ ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ และร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีพลังงานลุ่มน้ำโขง ญี่ปุ่น – สหรัฐฯ ของการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ ครั้งที่ 1 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ทั้ง 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงทั้ง 2 ฉบับ สรุป ดังนี้
                   1. ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของประเทศลุ่มน้ำโขงและสหรัฐฯ ในการสานต่อความร่วมมือภายใต้ Lower Mekong Initiative-LMI และยกระดับความร่วมมือจาก LMI เป็นหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             1.1 การเน้นย้ำหลักการความร่วมมือที่สอดคล้องกับเอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกกับวิสัยทัศอินโด – แปซิฟิกของสหรัฐฯ (US Indo-Pacific Vision) อาทิ ความเท่าเทียม ฉันทามติการมุ่งเน้นการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมการทำงานร่วมกันและสอดประสานกันระหว่างกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคและภูมิภาค รวมทั้งหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอื่น ๆ
                             1.2 การสานต่อความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส             โคโรนา 2019 (โควิด-19) และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
                             1.3 การปรับสาขาความร่วมมือจาก 2 เสาหลัก (Nexus) เป็น 4 สาขา ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (2) การพัฒนาทุนมนุษย์ (3) การบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ และ (4) ความมั่นคงรูปแบบใหม่ อาทิ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข อาชญากรรมข้ามชาติ
                             1.4 การส่งเสริมภาคพลังงานและตลาดพลังงานไฟฟ้าให้มีความยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของความโปร่งใส การแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม และการกระจายแหล่งพลังงาน ผ่านการส่งเสริมหุ้นส่วนพลังงานลุ่มน้ำโขง ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S. Mekong Power Partnership - JUMPP)
                             1.5 การตระหนักถึงความสำคัญของการแบ่งปันข้อมูลด้านน้ำอย่างโปร่งใสและการส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) เพื่อการบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดนให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งชื่นชมความคืบหน้าการดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมา
                             1.6 การประกาศเงินสนับสนุนของสหรัฐฯ  เพื่อการพัฒนาและผลักดันในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกันในอนุภูมิภาค เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กาขยายการค้า การลงทุน การบรรเทาภัยพิบัติ การต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ การสนับสนุน MRC เพื่อยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลน้ำ
                   2. ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีหุ้นส่วนพลังงานลุ่มน้ำโขง ญี่ปุ่น – สหรัฐฯ เป็นเอกสารที่จะรับรองเนื่องในโอกาสที่ JUMPP ครบรอบ 1 ปี โดยเนื้อหาเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่จะทำให้ตลาดพลังงานใน              อนุภูมิภาคมีความเชื่อมโยงและยั่งยืนมากขึ้น สรุปได้ ดังนี้
                             2.1 การย้ำความสำคัญของหลักการความโปร่งใส การแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ความหลากหลายของแหล่งพลังงาน ผู้ให้บริการและเส้นทาง และการไหลเวียนของพลังงานอย่างอิสระในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก รวมทั้งความยั่งยืนและคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ซึ่งสำคัญต่อความมั่นคง ความมั่งคั่ง และการพัฒนาของภูมิภาค โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีความต้องการพลังงานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                             2.2 การตระหนักถึงความร่วมมือที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบความร่วมมืออื่น เช่น หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง – สหรัฐฯ ความสัมพันธ์อาเซียน – สหรัฐฯ ยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 แผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566) แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025
                             2.3 การดำเนินการผ่าน JUPP จะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการบูรณาการทางพลังงานและตลาดพลังงานในอนุภูมิภาค การส่งเสริมให้อนุภูมิภาคสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีด้านพลังงานที่หลากหลายขึ้น การเสริมสร้างขีดความสามารถและความช่วยเหลือทางเทคนิคต่อประเทศสมาชิกในการพัฒนากรอบการบริหารและกฎระเบียบ และการส่งเสริมการค้าพลังงานข้ามพรมแดน
                             2.4 การจัดทำแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และการจัดประชุมประจำปีของผู้แทนทางการทูตและผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ภายในกรอบเวลาและตัวชี้วัด ทบทวนความคืบหน้า/อุปสรรคในการบูรณาการ และส่งเสริมการประสานงานกันระหว่างประเทศสมาชิก
                             2.5 การตระหนักถึงผลงานที่สำคัญในปีแรกของ JUMPP ที่ช่วยส่งเสริมการค้าพลังงานข้ามพรมแดน การไหลเวียนของพลังงานในอนุภูมิภาค และการเข้าถึงพลังงานทดแทน
 




แต่งตั้ง

 
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงคมนาคม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายวัลลภ งามสอน ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                      (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางปานทิพย์       โชติเบญจมาภรณ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน สาขาโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม) กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน สาขาโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นางอรุณรุ่ง     โพธิ์ทอง ฮัมฟรีย์ส เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 26 ราย ดังนี้ 
                   1. ให้นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)                จังหวัดลำพูน สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)                    จังหวัดตาก สำนักงานปลัดกระทรวง 
                   2. ให้นายเอกรัฐ หลีเส็น พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)                   จังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสตูล สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   3. ให้นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 
                   4. ให้นายเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                   5. ให้นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดปทุมธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                   6. ให้นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดแพร่  สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                   7. ให้นายปริญญา โพธิสัตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดระยอง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   8. ให้นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   9. ให้นายภาสกร บุญญลักษม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   10. ให้นายภิรมย์ นิลทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   11. ให้นายภูสิต สมจิตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   12. ให้นายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น)                 จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   13. ให้นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดชุมพร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชุมพร สำนักงานปลัดกระทรวง
                   14. ให้นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดตรัง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดตรัง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   15. ให้นายเจษฎา จิตรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดยะลา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   16. ให้นายสมหวัง พ่วงบางโพ รองอธิบดีกรมการปกครอง (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแพร่ สำนักงานปลัดกระทรวง   
                   17. ให้นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
                   18. ให้นายวีระชัย นาคมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานปลัดกระทรวง
                   19. ให้นายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานปลัดกระทรวง
                   20. ให้นายชลธี ยังตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดยโสธร สำนักงานปลัดกระทรวง
                   21. ให้นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   22. ให้นายวรยุทธ เนาวรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดลำพูน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดลำพูน สำนักงานปลัดกระทรวง 
                   23. ให้นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุโขทัย สำนักงานปลัดกระทรวง
                   24. ให้นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองบัวลำภู                   สำนักงานปลัดกระทรวง
                   25. ให้นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น)                 จังหวัดนครปฐม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   26. ให้นายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดชลบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการ ประเภทบริหารระดับสูง เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนตำแหน่งที่ผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมจะเกษียณอายุราชการ จำนวน 4 ราย ดังนี้ 
                   1. นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ 
                   2. นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการ                 สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
                   3. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 
                   4. นายสุเทพ แก่งสันเทียะ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง                 เป็นต้นไป
 
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางประไพ ดำสะกุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี               สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่            1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
23. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปานครหลวง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายกวี อารีกุล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการประปานครหลวง โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 350,000 บาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแล้ว    ตามมติคณะกรรมการการประปานครหลวง ในการประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 และครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไปแต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้ นายกวี อารีกุล ลาออกจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก่อนลงนามในสัญญาจ้างด้วย
 
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)   
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายจารุเดช       บุญญสิทธิ์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่           8 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
 
25.  เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นางจุรีพร                  สินธุไพร ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่               8 กันยายน 2563 เป็นต้นไป
 
26. เรื่อง การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร                (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอการแต่งตั้ง นาย Emi Suhardi bin Mohd Fadzil ที่รัฐบาลมาเลเซียเสนอให้เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2567
 
27. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง นางพัชรี อาระยะกุล รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 8 ราย ดังนี้ 
                   1. นางพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสุขภาพจิต
                   2. นายสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอนามัย
                   3. นายโอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมควบคุมโรค
                   4.  นายศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์                 
                   5. นางอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                    6. นายสุระ วิเศษศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง           รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   7. นายธงชัย กีรติหัตถยากร ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   8. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง             เป็นต้นไป
 
29. เรื่อง  แต่งตั้งที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (เพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 254/2563 เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 180/2562 ลงวันที่ 9  สิงหาคม 2562  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) เพื่อดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาให้เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนเพื่อให้การประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ในปัญหาต่าง ๆ ด้านนิติบัญญัติดำเนินการไปอย่างราบรื่น นั้น
                    เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร มีประสิทธิภาพและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11  (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิ่งหาคม 2563 จึงปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรโดยแต่งตั้งที่ปรึกษา/กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม ดังนี้
                    - นายอนุชา นาคาศัย ที่ปรึกษา/กรรมการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม เป็นต้นไป
 
..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: