สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 ก.ค. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 9 ก.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1507 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 ก.ค. 2563

8 ก.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
                   1.  เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป  
                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ....
                   3. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เตรียมการเพื่อรองรับการรับบุตรบุญธรรมร่วมกันของคู่ชีวิตที่จะมีขึ้นภายหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป 
                   4. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการต่อไป  
                   5. สำหรับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ภายหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับแล้ว เห็นควรให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พิจารณาศึกษาผลกระทบและแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ที่คู่ชีวิตที่มีเพศเดียวกันควรได้รับอย่างเท่าเทียมกับคู่สมรสระหว่างชายและหญิงตามกฎหมายอื่นด้วย ทั้งนี้ ตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ (ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ....) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยได้ปรับปรุงแก้ไข และได้ยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้นมาอีกฉบับหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตและการเลิกการเป็นคู่ชีวิต สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ชีวิต การจัดการทรัพย์สิน การรับบุตรบุญธรรม และมรดก เพื่อรองรับความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันโดยกำเนิด โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรส ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 
                   1. ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้  
                             1.1 กำหนดให้ “คู่ชีวิต” หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้  
                             1.2 กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้  
                             1.3 กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามมิให้จดทะเบียนคู่ชีวิต คือ กรณีบุคคลทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา บุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นคนวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีคู่สมรสหรือคู่ชีวิตอยู่ก่อนแล้ว  
                             1.4 กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอมเป็นคู่ชีวิตกันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย 
                             1.5 กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล แล้วแต่กรณี และกำหนดวิธีให้ความยินยอมดังกล่าว รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ 
                             1.6 กำหนดให้สถานะการจดทะเบียนคู่ชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ถือเป็นข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร  
                             1.7 กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ภูมิลำเนาของคู่ชีวิต การร้องขอให้ศาลสั่งหรือเพิกถอนคำสั่งให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถการจัดทำบัญชีทรัพย์สินของคู่ชีวิตผู้ไม่อยู่ การถอนคืนการให้ในการจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดให้คู่ชีวิตต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน 
                             1.8 กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามมาตรา 3 และมาตรา 5 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
                             1.9 กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน 
                             1.10 กำหนดเกี่ยวกับความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิต โดยกำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นโมฆะ ให้คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการจดทะเบียนคู่ชีวิตเป็นโมฆะ และให้คู่ชีวิตฝ่ายที่ได้จดทะเบียนคู่ชีวิตโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ 
                             1.11 กำหนดเกี่ยวกับการสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต โดยการเป็นคู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต หรือฉันภริยาหรือสามี ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง จงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นคู่ชีวิตกันอย่างร้ายแรง วิกลจริต เป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง หรือเมื่อคู่ชีวิตทั้งสองฝ่ายสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี 
                             1.12 กำหนดเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม โดยให้คู่ชีวิตซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัตินี้และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ โดยผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้าได้จดทะเบียนคู่ชีวิตกับบุคคลอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งก่อน รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้ โดยจะต้องได้รับความยินยอมของคู่ชีวิตฝ่ายที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้ว และกำหนดให้การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการจดทะเบียนคู่ชีวิตกับบุตรบุญธรรม 
                             1.13 กำหนดให้เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
                             1.14 กำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม ในบางกรณี
                   2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....  มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ดังนี้ 
                             2.1 กำหนดให้ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสหรือคู่ชีวิตอยู่ไม่ได้ 
                             2.2 กำหนดให้เหตุฟ้องหย่า รวมถึงกรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต 
                             2.3 กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต
 
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                   1. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของหอการค้าให้ครอบคลุมการดำเนินงานต่าง ๆ อันจะเป็นการส่งเสริมการค้าและการประกอบวิสาหกิจของสมาชิกได้มากขึ้น เช่น เป็นสถาบันอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาททางการค้า รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางการค้า ทำความตกลงหรือความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ
                   2. แก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตการดำเนินงานของหอการค้า โดยกำหนดข้อยกเว้นให้หอการค้าสามารถดำเนินการกิจการบางประการเพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ของหอการค้า 
                   3. แก้ไขเพิ่มเติมการเลิกหอการค้าโดยมติที่ประชุมใหญ่ โดยให้ใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
                   4. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ
                   ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า
                   1) พณ. ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว ขอยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป  
                   2) พณ. ได้พิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 (เรื่อง แนวทางการทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาต ของทางราชการ) แล้ว โดยพิจารณาเปรียบเทียบรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรายปีกับต้นทุนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรายปี พบว่าต้นทุนการจัดเก็บฯ สูงกว่ารายได้จากการจัดเก็บฯ ซึ่งค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการออกเอกสาร เช่น ใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต การขอตรวจหรือคัดเอกสาร การขอให้คัดและรับรองสำเนาเอกสาร ซึ่งยังมีความจำเป็นต้องออกเอกสาร เนื่องจากภาคเอกชนมีความจำเป็นต้องใช้เอกสารเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันทางกฎหมาย และเพื่อขอรับการสนับสนุนต่าง ๆ จากภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ จึงได้ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และได้รายงานผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติหอการค้าฯ ดังนี้ 
                   3) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีดังนี้  
                             3.1) ผลกระทบเชิงลบ หอการค้าตามกฎหมายนี้จะมีภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเป็นสมาชิก และการดำเนินกิจการ 
                             3.2) ผลกระทบเชิงบวก กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลต่อภาพรวมและเกิดประโยชน์ในด้านการค้า และเศรษฐกิจของประเทศให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อขจัดปัญหาในการประกอบธุรกิจ ลดและเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรค และเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และศักยภาพให้แก่หอการค้าในประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) อีกทั้งสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้หน่วยงานผู้รักษาการตามกฎหมายต้องดำเนินการทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบทุก ๆ 5 ปี 
                   4) สำหรับการรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) โทรสารหมายเลข 0 2547 4472 และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (dbd.legal@gmail.com) จำนวน 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็น พร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ให้ประชาชนรับทราบด้วยแล้ว
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
 
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ 1 งาน 1 ตารางวา ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินสาธารณประโยชน์ แปลงดังกล่าวแล้ว เพื่อมอบหมายให้เทศบาลนครปากเกร็ดใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาล
 
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   กำหนดลุ่มน้ำของประเทศไทย จำนวน 22 ลุ่มน้ำ ได้แก่ (1) ลุ่มน้ำสาละวิน (2) ลุ่มน้ำโขงเหนือ   (3) ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ (4) ลุ่มน้ำชี (5) ลุ่มน้ำมูล  (6) ลุ่มน้ำปิง  (7) ลุ่มน้ำวัง (8) ลุ่มน้ำยม (9) ลุ่มน้ำน่าน (10) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (11) ลุ่มน้ำสะแกกรัง (12) ลุ่มน้ำป่าสัก (13) ลุ่มน้ำท่าจีน (14) ลุ่มน้ำแม่กลอง (15) ลุ่มน้ำบางปะกง (16) ลุ่มน้ำโตนเลสาบ (17) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก (18) ลุ่มน้ำเพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ (19) ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน (20) ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (21) ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง (22) ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ดังนี้

ลุ่มน้ำ มีเขตพื้นที่ครอบคลุม
1. ลุ่มน้ำสาละวิน (1) จังหวัดเชียงใหม่ (2) จังหวัดตาก (3) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
2. ลุ่มน้ำโขงเหนือ (1) จังหวัดเชียงราย (2) จังหวัดเชียงใหม่ (3) จังหวัดพะเยา
3. ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ (1) จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) จังหวัดนครพนม (3) จังหวัดบึงกาฬ (4) จังหวัดพิษณุโลก (5) จังหวัดเพชรบูรณ์ (6) จังหวัดมุกดาหาร (7) จังหวัดยโสธร (8) จังหวัดร้อยเอ็ด (9) จังหวัดเลย (10) จังหวัดสกลนคร (11) จังหวัดหนองคาย (12) จังหวัดหนองบัวลำภู (13) จังหวัดอำนาจเจริญ (14) จังหวัดอุดรธานี (15) จังหวัดอุบลราชธานี
4. ลุ่มน้ำชี (1) จังหวัดกาฬสินธ์ (2) จังหวัดขอนแก่น (3) จังหวัดชัยภูมิ (4) จังหวัดนครราชสีมา (5) จังหวัดเพชรบูรณ์ (6) จังหวัดมหาสารคาม (7) จังหวัดมุกดาหาร (8) จังหวัดยโสธร (9) จังหวัดร้อยเอ็ด (10) จังหวัดลพบุรี (11) จังหวัดเลย
(12) จังหวัดศรีสะเกษ (13) จังหวัดหนองบัวลำภู (14) จังหวัดอุดรธานี
(15) จังหวัดอุบลราชธานี
5. ลุ่มน้ำมูล  (1) จังหวัดขอนแก่น (2) จังหวัดชัยภูมิ (3) จังหวัดนครนายก (4) จังหวัดนครราชสีมา (5) จังหวัดบุรีรัมย์ (6) จังหวัดปราจีนบุรี (7) จังหวัดมหาสารคาม
(8) จังหวัดมุกดาหาร (9) จังหวัดยโสธร (10) จังหวัดร้อยเอ็ด (11) ศรีสะเกษ
(12) จังหวัดสระแก้ว (13) จังหวัดสุรินทร์ (14) จังหวัดอำนาจเจริญ
(15) จังหวัดอุบลราชธานี
6. ลุ่มน้ำปิง  (1) จังหวัดกำแพงเพชร (2) จังหวัดเชียงใหม่ (3) จังหวัดตาก
(4) จังหวัดนครสวรรค์ (5) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (6) จังหวัดลำพูน
7. ลุ่มน้ำวัง (1) จังหวัดเชียงราย (2) จังหวัดตาก (3) จังหวัดแพร่ (4) จังหวัดลำปาง
8. ลุ่มน้ำยม (1) จังหวัดกำแพงเพชร (2) จังหวัดตาก (3) จังหวัดนครสวรรค์ (4) จังหวัดน่าน (5) จังหวัดพะเยา (6) จังหวัดพิจิตร (7) จังหวัดพิษณุโลก (8) จังหวัดแพร่
(9) จังหวัดลำปาง (10) จังหวัดสุโขทัย (11) จังหวัดอุตรดิตถ์
9. ลุ่มน้ำน่าน (1) จังหวัดกำแพงเพชร (2) จังหวัดนครสวรรค์ (3) จังหวัดน่าน (4) จังหวัดพิจิตร (5) จังหวัดพิษณุโลก (6) จังหวัดเพชรบูรณ์ (7) จังหวัดแพร่ (8) จังหวัดเลย
(9) จังหวัดสุโขทัย (10) จังหวัดอุตรดิตถ์
10. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (1) กรุงเทพมหานคร (2) จังหวัดกำแพงเพชร (3) จังหวัดชัยนาท (4) จังหวัดนครนายก (5) จังหวัดนครปฐม (6)  จังหวัดนครสวรรค์ (7) จังหวัดนนทบุรี
(8) จังหวัดปทุมธานี (9) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  (10) จังหวัดพิจิตร
(11) จังหวัดเพชรบูรณ์ (12) จังหวัดลพบุรี (13) จังหวัดสมุทรปราการ
(14) จังหวัดสมุทรสาคร (15) จังหวัดสระบุรี (16) จังหวัดสิงห์บุรี
(17) จังหวัดสุพรรณบุรี (18) จังหวัดอ่างทอง (19) จังหวัดอุทัยธานี
11. ลุ่มน้ำสะแกกรัง (1) จังหวัดกำแพงเพชร (2) จังหวัดนครสวรรค์ (3) จังหวัดอุทัยธานี
12. ลุ่มน้ำป่าสัก (1) จังหวัดชัยภูมิ (2) จังหวัดนครราชสีมา (3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
(4) จังหวัดเพชรบูรณ์ (5) จังหวัดลพบุรี (6) จังหวัดเลย (7) จังหวัดสระบุรี
13. ลุ่มน้ำท่าจีน (1) กรุงเทพมหานคร (2) จังหวัดกาญจนบุรี (3) จังหวัดชัยนาท (4) จังหวัดนครปฐม (5) จังหวัดนนทบุรี (6) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (7) จังหวัดราชบุรี
(8) จังหวัดสมุทรสงคราม (9) จังหวัดสมุทรสาคร (10) จังหวัดสิงห์บุรี
(11) จังหวัดสุพรรณบุรี (12) จังหวัดอ่างทอง (13) จังหวัดอุทัยธานี
14. ลุ่มน้ำแม่กลอง (1) จังหวัดกาญจนบุรี (2) จังหวัดตาก (3) จังหวัดนครปฐม (4) จังหวัดราชบุรี
(5) จังหวัดสมุทรสงคราม (6) จังหวัดสมุทรสาคร (7) จังหวัดสุพรรณบุรี
(8) จังหวัดอุทัยธานี
15. ลุ่มน้ำบางปะกง (1) กรุงเทพมหานคร (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดนครนายก (6) จังหวัดนครราชสีมา (7) จังหวัดปทุมธานี (8) จังหวัดปราจีนบุรี (9) จังหวัดสมุทรปราการ (10) จังหวัดสะแก้ว (11) จังหวัดสระบุรี
16. ลุ่มน้ำโตนเลสาบ (1) จังหวัดจันทบุรี (2) จังหวัดตราด (3) จังหวัดสระแก้ว
17. ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก (1) จังหวัดจันทบุรี (2) จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) จังหวัดชลบุรี (4) จังหวัดตราด
(5) จังหวัดระยอง
18. ลุ่มน้ำเพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ (1) จังหวัดชุมพร (2) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) จังหวัดเพชรบุรี
(4) จังหวัดราชบุรี (5) จังหวัดสมุทรสงคราม
19. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดชุมพร (3) จังหวัดตรัง (4) จังหวัดนครศรีธรรมราช (5) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (6) จังหวัดพังงา (7) จังหวัดพัทลุง (8) จังหวัดระนอง (9) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
20. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (1) จังหวัดตรัง (2) จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) จังหวัดพัทลุง (4) จังหวัดยะลา
(5) จังหวัดสงขลา (6) จังหวัดสตูล
21. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง (1) จังหวัดนราธิวาส (2) จังหวัดปัตตานี (3) จังหวัดยะลา (4) จังหวัดสงขลา
22. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดชุมพร (3) จังหวัดตรัง (4) จังหวัดนครศรีธรรมราช (5) จังหวัดพังงา (6) จังหวัดพัทลุง (7) จังหวัดภูเก็ต (8) จังหวัดระนอง
(9) จังหวัดสงขลา (10) จังหวัดสตูล (11) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 
 
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   ปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ดังนี้ 
                   1. กำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร เช่น กำหนดให้การก่อสร้างอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ อาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า  
                   2. กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคาร เช่น กำหนดค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของระบบเปลือกอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศในแต่ละประเภทและขนาดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                   3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการออกแบบอาคาร เช่น กำหนดให้แสดงรายการคำนวณเป็นไปตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือวิธีการตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานที่คณะกรรมการควบคุมอาคารให้การรับรอง 
                   4. กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจรับรองแบบอาคาร เช่น กำหนดให้การตรวจรับรองแบบอาคารให้กระทำโดยผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม กำหนดให้เจ้าของอาคารมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคารเพื่อประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
 
6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 
                   1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้  
                   2. ให้ ทส. รับความเห็นของ กษ. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   3. ให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   กำหนดให้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ส.ป.ก. 4-01 ก ส.ป.ก. 4-01 ข ส.ป.ก. 4-01 ค) และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่อยู่อาศัย (ส.ป.ก. 4-01 ช) เป็นที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 และให้ไม้ที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม
                    ทส. เสนอว่า
                   1. โดยที่มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว  จึงสมควรกำหนดให้ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์สามารถปลูกไม้ขึ้นในที่ดินดังกล่าวได้ โดยไม่ถือว่าเป็นไม้หวงห้าม  
                   2. กรมป่าไม้ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมธนารักษ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่ประชุมมีมติเห็นควรประกาศเฉพาะที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01  ส.ป.ก.4-01 ก ส.ป.ก. 4-01 ข ส.ป.ก. 4-01 ค) และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่อยู่อาศัย  (ส.ป.ก.4-01 ช) ไปก่อน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการเพิกถอนการเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว
                   3. ทส. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่กรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพที่เหมาะสมต่อการเกษตร และพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินตามนโยบายรัฐบาล เมื่อปี พ.ศ. 2536 เนื้อที่ประมาณ 44.28 ล้านไร่ โดยกำหนดเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ให้ราษฎรปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นอย่างน้อยร้อยละ 20 ของเนื้อที่ที่ได้รับ เกษตรกรที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ในเขต ส.ป.ก. บางรายได้ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า และได้ขึ้นทะเบียนสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว เนื้อที่ประมาณ 205,000 ไร่ ดังนั้น จึงมีที่ดินในเขต ส.ป.ก. อีกจำนวนมากที่ประสงค์จะทำไม้หวงห้ามที่ปลูกขึ้นตามเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว ต้องขออนุญาตทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 การประกาศที่ดินใน ส.ป.ก. ให้ไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามข้อ 2. ไม่เป็นไม้หวงห้าม จึงเป็นการช่วยให้เกษตรกรสามารถทำไม้ที่ปลูกขึ้นในพื้นที่เขต ส.ป.ก. ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ในเขต ส.ป.ก. ให้ความร่วมมือตามนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจและพื้นที่สีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาเพื่อดำเนินการ
 
7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2563 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 อนุมัติแทนคณะรัฐมนตรีในเรื่อง การตราร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2563 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี  พ.ศ. 2548 ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ โดยแจ้งว่า เนื่องด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม กรณีผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งของ นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 มอบเงินช่วยงานศพ ซึ่งศาลได้รับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้นายกรุงศรีวิไลฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ต่อมาศาลได้อ่านคำพิพากษาที่ 2687/2563 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแสวงหาคะแนนนิยมจากประชาชน และเป็นการหาเสียงโดยช่วยเหลือเงินตามประเพณี เพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงให้แก่นายกรุงศรีวิไลฯ อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 จึงมีคำพิพากษาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ 5 ใหม่ แทนนายกรุงศรีวิไลฯ จึงเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ นายกรุงศรีวิไลฯ สิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลมีคำวินิจฉัย ทั้งนี้ ตามมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 105 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติให้ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวัน (ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2563) โดยต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งและประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วันก่อนการเลือกตั้ง (ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2563)
 

เศรษฐกิจ - สังคม

8. เรื่อง การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการ โมโต จีพี ประจำปี 2564 – 2568 (5 ปี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) โดยการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนประเทศไทยในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการ โมโต จีพี ประจำปี 2564 – 2568 (5 ปี) และเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณค่าลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขัน ภายในกรอบวงเงิน 25 ล้านยูโร (เป็นเงิน 900,000,000 บาท) โดยให้การกีฬาแห่งประเทศไทยนำรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์มาสมทบค่าลิขสิทธิ์ และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดการแข่งขันฯ เห็นควรให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากเอกชนและใช้รายได้จากการบริหารสิทธิ์เป็นลำดับแรกก่อน หากไม่เพียงพอหรือมีความจำเป็นให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ โดยให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นรายปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานในแต่ละปีให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าวควรคำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งและบริหารสัญญาจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กก. ขอความเห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการ โมโต จีพี ประจำปี 2564 – 2568 (5 ปี) ต่อจากสัญญาฉบับปัจจุบันที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ประจำปี 2561 – 2563 (3 ปี) (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560) โดยดอร์น่า สปอร์ต กรุ๊ป (เจ้าของลิขสิทธิ์การแข่งขัน) กำหนดว่าหากประเทศไทยพิจารณาการต่อสัญญาการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันฯ ไปอีก 5 ปี จะได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯ ในปฏิทินการแข่งขันแบบถาวร ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผลการจัดการแข่งขันใน 2 ปีที่ผ่านมา คือ รายการ “PTT Thailand Grand Prix 2018” และรายการ “PTT Thailand Grand Prix 2019” ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับเลือกให้เป็นสนามแข่งขันที่ดีที่สุดประจำปี 2561 และเป็นสนามการแข่งขันที่มีผู้เข้าชมการแข่งขันมากที่สุดในฤดูกาล นอกจากนี้ การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันฯ ยังส่งผลให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่รู้จักในระดับโลกมากยิ่งขึ้น และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการจัดการแข่งขันระดับโลก อีกทั้งยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งรวมไปถึงการกระจายรายได้ลงสู่พื้นที่โดยเฉพาะในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียงในภาคการบริการ การท่องเที่ยว การค้าขาย และการจ้างแรงงานท้องถิ่นด้วย ดังนั้น คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (ในคราวประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562) จงมีมติเห็นชอบการต่อสัญญาการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันฯ ประจำปี 2564 – 2568  (5 ปี) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 และยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่ระบุให้มีการผลักดันให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับอาชีพในประเทศมากขึ้น โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับอาชีพ โดยการจัดการแข่งขันตลอดระยะเวลา 5 ปี จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,248.14 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฯ 1,800 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดการแข่งขัน 1,448.14 ล้านบาท  รวมที่รัฐรับภาระ 900 ล้านบาท รวมที่เอกชนรับภาระ 2,348.14 ล้านบาท ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอให้ขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติหรือให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีสมทบต่อไป
                   2. ในส่วนของค่าลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขันฯ ประจำปี 2564 – 2568 นั้น พบว่า  เพิ่มขึ้นจากค่าลิขสิทธิ์ฯ ในปี 2561 – 2563 (เดิมปีละ 300 ล้านบาท เป็นเริ่มต้นที่ 324 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นปีละ 18 ล้านบาท รวมทั้ง กก. [การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)] ได้ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขัน เพิ่มขึ้นจากเดิมรัฐบาลสนับสนุน 1 ใน 3 ของค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด เป็น รัฐบาลสนับสนุน ร้อยละ 50 ของค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด
                   3. กก. ได้เคยนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาถอนเรื่องดังกล่าวคืนไปได้ เพื่อทบทวนในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                   4. กก. ได้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในประเด็นสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย กก. ได้วางแผนการดำเนินงานและแผนทางด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว และได้ยืนยันว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายในภาพรวมและวัตถุประสงค์ในด้านอื่น ๆ ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 โดยไม่จำเป็นต้องของบประมาณจากภาครัฐเพิ่มเติมเพื่อสมทบค่าลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขัน เนื่องจาก กก. ยังคงเชื่อมั่นว่าผู้สนับสนุนต่าง ๆ จะยังคงให้การสนับสนุน อีกทั้งการจัดการแข่งขันยังได้รับการเผยแพร่ผ่านการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกโดยสถานีโทรทัศน์ช่องกีฬาที่มีมาตรฐานสากลที่มีการยอมรับทั่วโลก โดยขณะนี้ยังคงมีแผนการจัดการแข่งขันฯ ในปี 2563 ตามเดิม ในระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2563 อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ยังไม่คลี่คลาย หรือยังไม่สามารถเปิดให้มีการเดินทางข้ามประเทศได้ตามปกติ หรือมีความจำเป็นต้องยกเลิกการแข่งขันในปีนี้ ประเทศไทยจะสามารถโอนค่าลิขสิทธิ์ไปใช้สำหรับการแข่งขันฯ ในปีถัดไปได้
 
9. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในกรอบวงเงิน 1,880 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2567) โดยให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความพร้อมและความสามารถในการใช้จ่ายที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง  
                   1. กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ กษ. โดยกรมชลประทาน ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา (โครงการฯ) มีกำหนดแผนงานโครงการ 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567) กรอบวงเงินงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 1,880 ล้านบาท และให้มอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป  
                   2. ข้อมูลการประเมินความต้องการใช้น้ำของจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2580 พบว่า ปริมาณความต้องการใช้น้ำในปี 2580 เมื่อเทียบกับปี 2560 เพิ่มขึ้นจาก 1,456 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 1,637  ล้านลูกบาศก์เมตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12) แต่ปัจจุบันจังหวัดฉะเชิงเทรามีแหล่งน้ำต้นทุนเพียง 1,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้น้ำเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดในอนาคต กษ. โดยกรมชลประทาน ได้มีแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยได้จัดทำแผนการพัฒนาแหล่งน้ำภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียนรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ได้มีการขับเคลื่อนแผนงานดังกล่าว และจะดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโครงการแรก ซึ่งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวในคราวประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 และมีมติเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดำเนินโครงการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563  
                   3. สาระสำคัญของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น รายละเอียด
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค – บริโภค และการอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี รวมทั้งรักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยาในการเสริมศักยภาพการผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง 
ที่ตั้งโครงการ เขื่อนหัวงานอยู่บริเวณบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 
ลักษณะโครงการ กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย เขื่อนดิน อาคารระบายน้ำล้น อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม อาคารท่อส่งน้ำฝั่งขวา และอาคารท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย
ความจุ จะเก็บกักน้ำต้นทุน จำนวน 19.20 ล้านลูกบาศก์เมตร 
ความเหมาะสมของโครงการฯ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2540
การออกแบบ การสำรวจออกแบบแล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2545
การขออนุญาตเข้าทำประโยชน์พื้นที่ พื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 6,442 – 2 – 99 ไร่ เป็นพื้นที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทั้งหมด ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการฯ มีพื้นที่ชลประทานไม่ถึง 80,000 ไร่ ไม่ได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก 23 สาย จึงไม่จัดอยู่ในประเภทหรือกิจการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
การรับฟังความคิดเห็น ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเพื่อให้มีส่วนร่วมของประชาชนผู้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินที่ถูกเขตชลประทานและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ/เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการฯ 
การเยียวยา ได้เตรียมมาตรการในการจ่ายค่ารื้อย้ายทรัพย์สินบริเวณที่ดินไว้ในแผนงานโครงการฯ แล้ว
งบประมาณ งบประมาณดำเนินโครงการฯ 1,880 ล้านบาท เป็นงบลงทุนทั้งหมด จำแนกเป็นค่าก่อสร้าง จำนวน 680 ล้านบาท และค่าชดเชยที่ดิน จำนวน 1,200 ล้านบาท 
ความเชื่อมโยงกับแผนต่าง ๆ สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (พ.ศ. 2558 – 2569) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) และยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย

 
ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโครงการฯ มีความพร้อมทั้งในด้านของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทั้งหมดซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้วและไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงควรเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานโครงการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567) ที่ตั้งไว้
 
10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2563  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2563 จำนวน 506.67 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเตรียมการรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝน ปี 2563 ป้องกันความเสี่ยงก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   1. สทนช. เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2563 จำนวน 506.67 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเตรียมการรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝน ปี 2563 ป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด เนื่องจากปัจจุบันกำลังเข้าสู่ฤดูฝน ปี 2563 แต่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมมาโดยตลอดและต่อเนื่อง โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 มกราคม 2563 และ 17 มีนาคม 2563) อนุมัติงบประมาณใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมแล้ว ก็ยังปรากฏว่ามีแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2562/63 และเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝนปี 2563 เพิ่มเติม รวมถึงการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) อย่างเร่งด่วนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝน ไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ โดยที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาไม่ได้ขอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รองรับไว้ หรือไม่มีงบประมาณเหลือจ่ายเพียงพอเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว 
                   2. สทนช. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการให้ใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปี 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 506.67 ล้านบาท ตามที่ สงป. เสนอ (จากวงเงินที่ สทนช. เสนอขอทั้งหมด 1,255.62 ล้านบาท ปรับลดลง จำนวน 748.95 ล้านบาท) สรุปได้ ดังนี้

โครงการ/รายการ งบประมาณ (ล้านบาท)
สทนช. เสนอขอ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบตาม สงป.
กรมชลประทาน 1,140.07 396.95
1) โครงการระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน – อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง 329.17 187.17
2) แผนงานซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลประทาน จำนวน 577 รายการ  601.13 0.00*
3) แผนงานขุดลอกคลองสายหลักและคลองสาขาในกรุงเทพมหานคร (กทม.) พื้นที่หนองจอก 3 คลอง              (6 โครงการ) 9.77 9.77
4) แผนงานกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมความพร้อมการ              เร่งระบายน้ำหลากในช่วงฤดูฝน จำนวน 215 แห่ง 200.00 200.00

หมายเหตุ : * สงป. เห็นว่า หากกรมชลประทานเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จากโครงการ/รายการที่ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้วและมีงบประมาณเหลือจ่าย และ/หรือรายการที่หมดความจำเป็น และ/หรือรายการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แล้วแต่กรณีในโอกาสแรก
 
 

โครงการ/รายการ งบประมาณ (ล้านบาท)
สทนช. เสนอขอ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบตาม สงป.
สทนช. 20.55 14.73
1) การจัดทำแบบจำลองทางกายภาพลุ่มน้ำเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 17 ลุ่มน้ำ 4.55 4.55
2) ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด (76 จังหวัด จังหวัดละ 1 คณะ คณะละ 6 ครั้ง) และสนับสนุน             การดำเนินงานของคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด (76 จังหวัด จังหวัดละ 2 คณะ คณะละ 6 ครั้ง) 16.00 10.18
กทม. 95.00 95.00
แผนการดำเนินการขุดลอกคลองหลัก 7 คลอง และคลองสาขา 53 คลอง ใน กทม. พื้นที่หนองจอก            รวม 60 โครงการ 95.00 95.00
รวม 1,255.62 506.67

ทั้งนี้ สงป. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการอย่างเคร่งครัด และเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อทำความตกลงในรายละเอียดกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป
 
11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2563 (คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2563 ตามมติ คกง. ที่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ เพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบแผนงาน/โครงการดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของ คกง. อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้รายงานว่า ในคราวประชุม คกง. ครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 คกง. ได้พิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ วงเงินไม่เกิน 400,000             
                   1. ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2563 มีหน่วยงานของรัฐได้จัดส่งข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Project Brief) ให้ สศช. พิจารณาจำนวนรวม 45,174 โครงการ วงเงินประมาณ 641,973 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 จำนวน 46,411 โครงการ วงเงินประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท)
                   2. กรอบแนวคิดในการดำเนินแผนงาน/โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในรอบที่ 1 จะยึดการดำเนินการในระดับพื้นที่ (Area Based) เป็นหลัก และเน้นการฟื้นฟูและสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ความสำคัญต่อสาขาเศรษฐกิจของประเทศที่ยังคงมีความได้เปรียบและต่างประเทศยังมีความต้องการเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพ สามารถรองรับแรงงานส่วนเกินที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน เน้นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งในด้านกำลังคน แผนงานโครงการและการลงทุน รวมถึงเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่และภาคส่วนอื่น ๆ ซึ่งจากการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการเบื้องต้น พบว่า มีข้อเสนอโครงการเบื้องต้นของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดข้างต้นในรอบที่ 1 จำนวน 186 โครงการ กรอบวงเงินเบื้องต้นประมาณ 92,400 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 แผนงาน ได้แก่ แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก แผนงานสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และแผนงานการกระตุ้นอุปโภคบริโภคและกระตุ้นการท่องเที่ยว
                   3. สรุปผลการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดรอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย

แผนงาน/โครงการ/หน่วยงานรับผิดชอบ วงเงิน
(ล้านบาท)
สรุปสาระสำคัญโครงการ
ระยะเวลา การดำเนินการ ประโยชน์ที่ได้รับ
โครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก จำนวน 2 โครงการ
1. โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม เกษตรทฤษฎีใหม่ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 9,805.707 กรกฎาคม 2563 - กันยายน 2564 ฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่/เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำสำหรับทำการเกษตร เพิ่มรายได้เกษตรกร 44,099 ราย/เพิ่มการจ้างงานเกษตรกร 8,018 ราย/มีพื้นที่กักเก็บน้ำสำหรับทำการเกษตรในฤดูแล้ง
2. โครงการพัฒนาพื้นที่
ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”
(กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย)
4,787.916 กรกฎาคม 2563 – กันยายน 2564 พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชน/ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แรงงานบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่น เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและประชาชน 25,179 ครัวเรือน/เพิ่มการจ้างงานเกษตรกร 6,492 ราย/เพิ่มพื้นที่ปลูกป่าไม่น้อยกว่า 25,759 ไร่
โครงการภายใต้แผนงานสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน จำนวน 3 โครงการ
3) โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) (กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 169.885 สิงหาคม 2563 – กันยายน 2564 ฝึกอบรมสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนให้มีองค์ความรู้
ด้านเทคโนโลยี
และนวัตกรรมในการตรวจวิเคราะห์ดินและใช้ปุ๋ย รวมทั้งขยายผลไปยังพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่
เพิ่มการจ้างงานในธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน
ประมาณ 2,364 คน/ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีในพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 หรือประมาณ 18,000 ตัน
(253 ล้านบาท)
4) โครงการ
พื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว (Safety Zone)
(กรมการท่องเที่ยว
 
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
15.000 กรกฎาคม
 – ธันวาคม 2563
สร้างต้นแบบพื้นที่
ท่องเที่ยวให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
สำหรับนักท่องเที่ยว
5 พื้นที่ ได้แก่ ย่านเมืองเก่าน่าน หาดบางแสน ชลบุรี เอเชียทีค ชุมชนบ้านไร่กองขิง เชียงใหม่ และเยาวราช
รวมถึงฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัย
และสุขอนามัย
ให้ผู้ประกอบการ
และร้านค้าต่าง ๆ
 ประเทศไทยมีพื้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบสำหรับเป็นตัวอย่างให้พื้นที่ท่องเที่ยว
อื่น ๆ/รายได้กระจายสู่เศรษฐกิจฐานราก
5) โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้
ด้านสัตว์ป่า
(กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม)
741.588 สิงหาคม 2563 – สิงหาคม 2564 ปรับปรุงโครงสร้าง
พื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก
ให้ได้มาตรฐาน/จ้างงานในชุมชนท้องถิ่น
รอบพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 1,250 คน เพื่อให้ความรู้ในแหล่งท่องเที่ยว/
พัฒนามาตรฐานกิจกรรมดูนกและเดินป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
ยกระดับ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพเพื่อการเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า/เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น
โดยรอบ
เช่น ผู้ให้บริการ
ด้านการท่องเที่ยว
(มัคคุเทศก์)
1,250 คน
ผู้ประกอบการ
ก่อสร้างในท้องถิ่น จำนวน 125 ราย
งบประมาณรวมทั้งสิ้น
(จำนวน 5 โครงการ)
15,520.096 ล้านบาท

 
12. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 8
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 8 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยสรุปข้อมูล ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2563 ซึ่งการรายงานในครั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีการรายงานข้อมูลเพิ่มเติม รวมจำนวนส่วนราชการทั้งหมด 148 ส่วนราชการ โดยครั้งนี้ ได้รับข้อมูลจาก 147 ส่วนราชการ  คิดเป็นร้อยละ 99 ของส่วนราชการทั้งหมด (148 ส่วนราชการ) สรุปข้อมูลดังนี้
                    1. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
                             1.1 ส่วนราชการร้อยละ 84 (122 ส่วนราชการ) มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ และส่วนราชการร้อยละ 37 (54 ส่วนราชการ) กำหนดให้มีจำนวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งร้อยละ 50 ขึ้นไป (ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งมี 55 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 38) โดยในจำนวนนี้มีส่วนราชการร้อยละ 14 (21 ส่วนราชการ) มอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา) ทั้งนี้ มีการมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บ้านในหลายรูปแบบ เช่น ปฏิบัติงานที่บ้านสลับกับการมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของส่วนราชการ วันเว้นวัน สัปดาห์ละ 1 วัน สัปดาห์ละ 2 วัน สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เป็นต้น
                             1.2 ส่วนราชการร้อยละ 17 (25 ส่วนราชการ) มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทุกคนปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งมี 23 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 16) ทั้งนี้ มีส่วนราชการที่มีนโยบายให้สิ้นสุดการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ได้แก่ กระทรวงการคลัง
                    2. การเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
                             2.1 ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาการปฏิบัติงานเมื่อจำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 46 กำหนดการเหลื่อมเวลาการปฏิบัติงานเป็น 3 ช่วงเวลา คือ เวลา 7.30 – 15.30 น. เวลา 8.30 – 16.30 น. และเวลา 9.30 – 17.30 น.  ส่วนราชการร้อยละ 12 (17 ส่วนราชการ) กำหนดให้เหลื่อมเวลาการปฏิบัติงานมากกว่า 3 ช่วงเวลา และส่วนราชการร้อยละ 16 (24 ส่วนราชการ) ไม่ได้กำหนดให้มีการเหลื่อมเวลาการปฏิบัติงาน
                             2.2 ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามวันเวลาปกติในบางลักษณะงาน โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ คือ งานให้บริการประชาชน งานพิจารณา อนุมัติ/อนุญาตงานด้านการข่าวและประชาสัมพันธ์ งานสนับสนุน เช่น การเงิน ธุรการรับ – ส่งเอกสาร เป็นต้น
                    3. แนวทางการบริหารงานของส่วนราชการ
                             3.1 การกำกับดูแลและบริหารผลการทำงาน ส่วนราชการร้อยละ 100 กำหนดให้มีระบบรายงานผลงานผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 52 ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รายงานความก้าวหน้าของงานทั้งรายวันและรายสัปดาห์ ผ่าน Application LINE ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และ Google Form
                             3.2 การนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน ส่วนราชการมีการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานโดยส่วนใหญ่เลือกใช้ Application LINE ร้อยละ 99 Application Zoom ร้อยละ 69 Microsoft Team ร้อยละ 34 และ Cisco Webex ร้อยละ 27 ตามลำดับ
 
13. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ ในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่                            22 – 26 มิถุนายน 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีจำนวน 55 แห่ง โดยผลสัมฤทธิ์ฯ ของรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 22 – 26 มิถุนายน 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (ปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักหรือสถานที่ตามที่รัฐวิสาหกิจกำหนด)
                   รัฐวิสาหกิจ 39 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง โดยมีรัฐวิสาหกิจ 16 แห่ง ที่ให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามปกติแล้ว เพิ่มขึ้น 2 แห่ง จากสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่  15 – 19 มิถุนายน 2563) ทั้งนี้ จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดจำนวน 272,540 คน  มีพนักงานและลูกจ้างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งจำนวน 31,032 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 11
                   2. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา)
                   รัฐวิสาหกิจ 32 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา โดยมีรัฐวิสาหกิจยกเลิกนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาเพิ่มขึ้น 1 แห่งจากสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 15 – 19 มิถุนายน 2563) โดยมีช่วงเวลาเริ่มปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 10.30 น.
                   3. แนวทางการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ
                   รัฐวิสาหกิจที่ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งมีการติดตามผลการปฏิบัติงานทั้งเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีการกำกับ ติดตาม และบริหารผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชัน Line ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการติดตามงานและการลงเวลาปฏิบัติงานที่องค์กรพัฒนาขึ้นเอง โดยรัฐวิสาหกิจยังคงใช้แอปพลิเคชัน Line มาสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งว่า ควรเตรียมอุปกรณ์และระบบเพื่อรองรับ             การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้เพียงพอ และควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานขององค์กรให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ ซึ่งรวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งควรพิจารณาลักษณะงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งเท่านั้น เช่น การให้บริการประชาชน และสำหรับงานอื่นที่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้ง ควรพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งแทน
 
14. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอดังนี้
                    สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
                   ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คนร้ายกราดยิงประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ จำนวน 95 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่                  กลุ่มที่ 1 กรณีเสียชีวิต จำนวน 27 ราย กลุ่มที่ 2 กรณีได้รับบาดเจ็บ จำนวน 68 ราย ในการนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงขอรายงานความก้าวหน้าการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้
                   1. การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ (ด้านอาชีพ)
                       - การขอบรรจุเข้ารับราชการทหาร 19 ราย ได้รับบรรจุ จำนวน 2 ราย รออนุมัติ จำนวน  13 ราย สละสิทธิ จำนวน 3 ราย รอความเห็นทางการแพทย์ จำนวน 1 ราย
                       - การขอบรรจุเข้ารับราชการตำรวจ 6 ราย ได้รับบรรจุ จำนวน 1 ราย ไม่ผ่านคุณสมบัติ จำนวน 1 ราย และขอเพิ่มเติม จำนวน 4 ราย
                       - การขอบรรจุเข้ารับราชการครู จำนวน 2 ราย ได้รับอนุมัติ จำนวน 1 ราย อยู่ระหว่างรอผล จำนวน 1 ราย
                       - การขอบรรจุแพทย์โรงพยาบาลพิษณุโลกหลังศึกษาจบ จำนวน 1 ราย อยู่ระหว่างการรอผลการพิจารณาจากกระทรวงสาธารณสุข
                       - การขอบรรจุเป็นลูกจ้างประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 1 ราย อยู่ระหว่างการรอจัดสรรงบประมาณ
                       - การขอบรรจุเป็นพนักงานการไฟฟ้าสาขาหนองแซง จังหวัดสระบุรี จำนวน 1 ราย  อยู่ระหว่างการพิจารณาจากการไฟฟ้า   
                       - การขอบรรจุพนักงานดับเพลิงเทศบาลตำบลสำโรงกลาง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน  1 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณาจากเทศบาลตำบลสำโรง
                   2. การช่วยเหลือด้านการศึกษา
                       - ความต้องการศึกษาต่อ จำนวน 7 ราย 5 ครอบครัว ปัจจุบันได้ศึกษาต่อตามความต้องการ และได้ประสานโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อให้เด็กเข้ารับการศึกษาต่อเมื่อศึกษาจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                       - ความต้องการทุนการศึกษาจนจบปริญญาตรี จำนวน 34 ราย 26 ครอบครัว ได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงกลาโหม 29 ทุน และบริษัท AIS มอบทุนการศึกษาแก่บุตรผู้เสียชีวิตจนจบปริญญาตรีจำนวน 8 ราย และกระทรวงศึกษาธิการโดยคณะกรรมการเยียวยานักเรียนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมามีมติให้ให้ต้นสังกัดของแต่ละหน่วยงานการศึกษาพิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยานักเรียนเป็นกรณีพิเศษ เมื่อการประชุมครั้งที่ 1/2563 วันพุธที่ 4 มีนาคม 2563
                   3. การช่วยเหลือด้านสุขภาพ
                       - ด้านร่างกาย ปัจจุบันมีผู้ได้รับบาดเจ็บนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำนวน 2 ราย ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าและโรงพยาบาลตำรวจ โดยรวมอาการดีขึ้น และผู้ได้รับบาดเจ็บที่ออกจากโรงพยาบาล จำนวน 3 ราย เข้ารับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายอย่างต่อเนื่อง
                       - ด้านจิตใจ ผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 68 ราย ได้รับการดูแลด้านจิตใจปัจจุบันมีผู้ได้รับผลกระทบและสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดมีสุขภาพจิตดีขึ้นสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
                   4. ด้านที่อยู่อาศัย
                       - ความต้องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย จำนวน 6 ราย ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 ราย ส่วนอีก 1 ราย ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากอาศัยอยู่บ้านเช่าที่ใกล้กับสถานที่ทำงาน ประกอบกับผู้รับผลกระทบรายนี้มีบ้านเป็นของตนเองอยู่ต่างอำเภอและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีอยู่แล้ว ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เสนอให้เช่าโครงการบ้านเช่าราคาพิเศษ เริ่มต้นที่ 999 บาท ซึ่งเป็นโครงการจากการเคหะแห่งชาติแล้ว แต่ผู้ได้รับผลกระทบแจ้งว่าโครงการนั้นอยู่ไกลจากที่ทำงานปัจจุบัน
                   5. ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ
                       ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มีบุตรพิการ 1 คน (ออทิสติก) มีความประสงค์ให้บุตรได้รับการศึกษาสำหรับคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาสำหรับเด็กพิการ เพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ และพัฒนาบุคลากรครูแนะแนวการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนและให้คำปรึกษาผู้ปกครองเด็กพิการให้สามารถจัดการศึกษา การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะรายบุคคล (IEP) รวมทั้งการพัฒนาผู้ปกครองให้เป็นครูที่มีทักษะในการช่วยพัฒนาเด็กพิการ

 

ต่างประเทศ

15. เรื่อง การลงนามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการลงนามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในพิธีสารฯ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างพิธีสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อ 4.8) ด้วย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2547 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                   1. ผลไม้ที่นำเข้าและส่งออกของทั้งสองฝ่ายจะต้องเป็นผลไม้ที่ได้รับอนุญาตระหว่างกัน โดยจะต้องจัดส่งข้อมูลทะเบียนรายชื่อสวน และโรงคัดบรรจุ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ ผลไม้ต้องได้รับการบรรจุในผลิตภัณฑ์ใหม่ สะอาด และอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้ควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง
                   2. ก่อนการส่งออก หน่วยงานผู้รับผิดชอบของไทยและจีนจะสุ่มเก็บตัวอย่างของผลไม้เพื่อตรวจสอบ และจะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเมื่อสินค้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้ควบคุมอุณหภูมิจะต้องถูกปิดผนึก ในใบรับรองสุขอนามัยพืชจะต้องระบุหมายเลขตู้สินค้า รวมทั้งหมายเลขกำกับการปิดผนึก โดยใบรับรองฯ จะมีอายุ 10 วัน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องส่งสำเนาใบรับรองฯ ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ก่อนสินค้าจะเข้าด่านของทั้งสองประเทศ โดยห้ามมิให้มีการเปิดตู้ผลไม้ระหว่างการขนส่งผ่านประเทศที่สาม โดยจุดส่งออกและจุดนำเข้าของทั้งสองฝ่าย ปรากฏตามภาคผนวกของพิธีสาร ดังนี้
                             2.1 จุดนำเข้าและจุดส่งออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน
                                      (1) โหย่วอี้กว่าน
                                      (2) โม่ฮาน
                                      (3) ตงชิง
                                      (4) สถานีรถไฟผิงเสียง
                             2.2 จุดนำเข้าและส่งออกของราชอาณาจักรไทย
                                      (1) เชียงของ
                                      (2) มุกดาหาร
                                      (3) นครพนม
                                      (4) บ้านผักกาด
                                      (5) บึงกาฬ
                   3. เมื่อผลไม้ถึงด่านนำเข้า เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบและกักกัน ณ ด่านนำเข้า โดยจะตรวจสอบความสมบูรณ์ของการปิดผนึกตู้สินค้า ใบรับรอง สุขอนามัยพืช เอกสารที่เกี่ยวข้อง และความสมบูรณ์ของตู้ระวางสินค้า และจะมีการปล่อยสินค้าภายหลังจากสุ่มตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบและกักกันแล้ว หากตรวจพบว่าสินค้าไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่ระบุไว้ในใบรับรองสุขอนามัยพืช หรือการปิดผนึกไม่สมบูรณ์ หรือมีการปลอมปนผลไม้จากประเทศอื่น สินค้าจะถูกปฏิเสธการนำเข้าหรือถูกทำลายทิ้ง ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายจะต้องแจ้งข้อมูลปัญหาการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องให้แต่ละฝ่ายทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสืบค้นหาสาเหตุและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป
                   4. ในกรณีที่สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง สองฝ่ายสามารถหารือและปรับแก้ไขข้อกำหนดตามพิธีสารฉบับนี้ได้ โดยพิธีสารฉบับนี้มีผลบังคับใช้ทันทีที่มีการลงนามและมีผลต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ปี และจะต่ออายุต่อไปอี 3 ปี โดยอัตโนมัติ จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมีจดหมายแจ้งความประสงค์ที่จะยกเลิกพิธีสารฉบับนี้ให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบไม่น้อยกว่า 6 เดือนล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ
                   5. พิธีสารว่าด้วยข้อกำหมดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการขนส่งผลไม้ไทยที่ส่งออกผ่านประเทศที่สามเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 และพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 จะถูกยกเลิกเมื่อมีการลงนามพิธีสารฉบับนี้
 
16. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ และกาประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามผลการประชุม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กต. รายงานว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 โดยมีนายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นประธาน และมีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. การเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข
                             1.1 การจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 (COVID-19 ASEAN Response Fund) ประเทศไทยได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ซึ่งจะระดมทุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน กองทุนความร่วมมืออาเซียนบวกสาม กองทุนความร่วมมืออาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากภาคีภายนอกอื่น ๆ เพื่อใช้ในการจัดซื้อชุดตรวจโควิด-19 และอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายาและวัคซีน นอกจากนี้ ประเทศไทยจะมอบชุดตรวจโควิด-19 (แบบ RT-PCR) ที่ผลิตในประเทศไทยและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลแล้วให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศละ 10,000 ชุด เพื่อเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมของอาเซียน
                             1.2 การประสานความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ดังนี้
                                       1.2.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและศูนย์ต่าง ๆ ของอาเซียนที่มีอยู่ เช่น เครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของอาเซียน ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ เพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19
                                       1.2.2 เตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต
                                       1.2.3 จัดทำคู่มือมาตรฐานในการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของอาเวียนและจัดตั้งคลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์ระดับภูมิภาค
                                       1.2.4 ประเทศบวกสามมีข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดตั้งกลไกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับอาเซียน เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของอาเซียนบวกสาม สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนให้จัดตั้งกลไกการหารือระหว่างรัฐมนตรีสาธารณสุขของอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศญี่ปุ่นสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านโรคติดเชื้อ
                             1.3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติ ด้านการป้องกันการควบคุมโรค การรักษา การศึกษาและวิจัยยาและวัคซีน การปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศสมาชิก การส่งเสริมการสื่อสารสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตลอดจนการต่อต้านข่าวปลอม ทั้งนี้  นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการพัฒนาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุข เช่น ระบบการแพทย์ทางไกล
                   2. การบรรเทาผลกระทบและการเตรียมการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคม
                             2.1 ด้านการค้าและการลงทุน
                                      2.1.1 การรักษาตลาดที่เปิดกว้างต่อการค้าและการลงทุนรวมถึงการรักษาความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน
                                      2.1.2 การผลักดันให้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคภายในปีนี้
                                      2.1.3 การหารือกันอย่างใกล้ชิดก่อนที่จะใช้มาตรการและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น การปิดชายแดน
                                      2.1.4 การเร่งรัดการดำเนินการตามข้อตกลงทางเศรษฐกิจของอาเซียนและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยประเทศไทยส่งเสริมให้มีการจัดการเจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการผ่านระบบการประชุมทางไกลและการจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง รวมทั้งการใช้เศรษฐกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเชื่อมโยงระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และใช้มาตรฐานรหัสคิวอาร์ (Quick Response Code: QR Code)
                             2.2 การใช้กลไกภายใต้ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม เช่น การใช้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคีในการส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาคที่ประชุมฯ ได้เสนอให้ใช้ประโยชน์จากองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสามที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค
                             2.3 การจัดทำแผนฟื้นฟูภายหลังการระบาด จะมีการหารือเกี่ยวกับการจัดทำแผนฟื้นฟูดังกล่าวต่อไปในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
                   3. การให้ความช่วยเหลือคนชาติอาเซียน โดยให้อิงแนวปฏิบัติอาเวียนว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินโดยคณะทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศที่สามแก่คนชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนในสถานการณ์วิกฤต
                   4. การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต
                             4.1 ประเทศไทยได้เสนอหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหนึ่งในทางเลือกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
                             4.2 ที่ประชุมย้ำถึงการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีภายนอกและความร่วมมือระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
17. เรื่อง การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 13
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสาร “ความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเพื่อการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างบูรณาการ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 13 และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 13 และเป็นผู้ร่วมให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างเอกสาร “ความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเพื่อการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างบูรณาการ” ย้ำความสำคัญของการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคระบาดในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกบรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใน ค.ศ. 2030 พร้อมชื่นชมความคืบหน้าของการดำเนินการในเรื่องนี้ และแสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูล นโยบาย การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและเวชภัณฑ์ การพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยญี่ปุ่นเสนอให้เงินช่วยเหลือทางเทคนิคและการจัดการหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นจำนวน 33                   ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเทศสมาชิกจะร่วมมือกันรักษาห่วงโซ่การผลิต เปิดตลาดและเส้นทางคมนาคมขนส่ง รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร สอดคล้องตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน การส่งเสริมความโปร่งใสและความยั่งยืนของแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการต่าง ๆ โดยประเทศสมาชิกแสดงความชื่นชมญี่ปุ่นที่ได้จัดตั้งโครงการเงินกู้เพื่อสนับสนุนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 Crisis Response Emergency Support Loan) จำนวนเงินประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า รวมทั้งข้อริเริ่มเงินกู้และการลงทุนสำหรับอาเซียน (Overseas Loan and Investment for ASEAN) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน สนับสนุนสตรีและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และการลงทุนโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
 
 

แต่งตั้ง

18. เรื่อง การสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการองค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา (Asian-African Legal Consultative Organization-AALCO)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
                   1. เห็นชอบให้เสนอ นายกมลินทร์ พินิจภูวดล เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจากประเทศไทยเพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา (Asian-African Legal Consultative Organization-AALCO)
                   2. ให้ กต. ดำเนินการรณรงค์หาเสียงเพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐสมาชิกก่อนการเลือกตั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
                    1) AALCO เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2499 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกามีบทบาทในการประมวลและพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับท่าทีและประโยชน์ของภูมิภาค โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นรัฐสมาชิกของ AALCO ตั้งแต่ปี 2504 และเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของ AALCO สมัยที่ 8 (2509) และสมัยที่ 26 (2530) ทั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญและใช้ประโยชน์จากเวทีดังกล่าว ซึ่งเป็นเวทีด้านกฎหมายระหว่างประเทศเวทีเดียวที่มีรัฐสมาชิกครอบคลุมสมาชิกของสหประชาชาติจากเอเชียและแอฟริกา จึงเป็นกลไกที่ไทยสามารถร่วมกับรัฐสมาชิกพิจารณากำหนดท่าทีที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของภูมิภาคทั้งสองและเป็นช่องทางสำคัญในการผลักดันวาระและผลประโยชน์ของไทยกับรัฐสมาชิกจากแอฟริกาด้วย  
                   2) เลขาธิการ AALCO คนปัจจุบัน [ศาสตราจารย์ ดร. เคนเนดี แกสธอร์น (Professor  Dr. Kennedy Gastorn)] ชาวแทนซาเนีย จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 14 สิงหาคม 2563 สำนักเลขาธิการ AALCO จึงได้มีหนังสือแจ้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งเลขาธิการ AALCO คนใหม่ เพื่อดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2563-2567 สำนักเลขาธิการ AALCO จึงขอให้รัฐสมาชิกในเอเชียเสนอชื่อบุคคลสัญชาติของตนที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ หรือ (2) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารและกฎหมาย เพื่อสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการ AALCO โดยคาดว่าการเลือกตั้งเลขาธิการ AALCO คนใหม่จะจัดขึ้นในการประชุมสมัยพิเศษภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 ณ สาธารณรัฐอินเดีย
                   3) กต. แจ้งว่า ในระยะเวลา 64 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่การจัดตั้ง AALCO นั้น ยังไม่เคยมีคนไทยดำรงตำแหน่งเลขาธิการของ AALCO รวมทั้งปัจจุบันยังไม่มีรัฐสมาชิกใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะพิจารณาเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการดังกล่าว รวมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรไทยดำรงตำแหน่งบริหารในองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่างประเทศ (5S) พ.ศ. 2561-2580 ที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกในการร่วมกำหนดมาตรฐานสากลด้านกฎหมายระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในทุกมิติ อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการส่งเสริมความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างประเทศไทยกับ AALCO และรัฐสมาชิกอื่นอีกด้วย
                   4) กต. ได้สอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ AALCO เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่า ไม่มีหน่วยงานใดประสงค์ที่จะเสนอชื่อในการสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งดังกล่าว กต. จึงได้สรรหาบุคคลที่เหมาะสม ได้แก่ นายกมลินทร์ พินิจภูวดล เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจากประเทศไทยเพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการ AALCO เนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติศาสตร์ โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศด้านการค้าและการลงทุน และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีข้อขัดข้องกับการเสนอชื่อดังกล่าว
 
19. เรื่อง การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                   1. แต่งตั้งนายสุพัฒน์ นภานพรัตน์แก้ว วิศวกรปิโตรเลียมชำนาญการพิเศษ กองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม สังกัดกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
                   2. ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ที่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ให้นายสุพัฒน์ นภานพรัตน์แก้ว ได้รับการพิจารณาความดีความชอบจากทางราชการต้นสังกัดด้วย และในกรณีที่จำเป็น พน. อาจให้กลับมาปฏิบัติงานในหน่วยงานต้นสังกัดก่อนระยะเวลาที่สั่งให้ไปสิ้นสุดลงเพื่อประโยชน์แก่ราชการได้ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ไปปฏิบัติงานให้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการจากองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียโดยไม่รับเงินเดือนจากทางราชการ
สาระสำคัญของเรื่อง
                   พน. รายงานว่า
                   1) รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขึ้น เพื่อร่วมกันแสวงประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย โดยโครงสร้างการบริหารงานองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียกำหนดให้มีการสลับหมุนเวียนตำแหน่งหัวหน้าและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซียระหว่างคนไทยและคนมาเลเซียทุก ๆ 4 ปี
                   2) เนื่องจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซียที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง จะดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2563 จึงจะต้องมีการแต่งตั้ง นายสุพัฒน์ นภานพรัตน์แก้ว ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซียวาระต่อไป วันที่ 1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2567 โดยการแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองก่อน องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียจึงจะสามารถทำการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้  
                    3) พน. พิจารณาแล้วเห็นว่านายสุพัฒน์ นภานพรัตน์แก้ว วิศวกรปิโตรเลียมชำนาญการ พิเศษกองเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม สังกัดกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Deputy Chief Executive Officer, DCEO) ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เนื่องจากมีประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
 
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 
                   1. นางธีรพร สถิรอังกูร พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ (ด้านการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ (ด้านการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2563   
                   2. นายพงศธร พอกเพิ่มดี ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2563  
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
21. เรื่อง เพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub)  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอการเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ดังนี้ 
                   1. เพิ่มเติมองค์ประกอบกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 จำนวน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ 
                             1.1 อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  
                             1.2 อธิบดีกรมอนามัย  
                             1.3 เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา 
                   2. ขอเปลี่ยนชื่อกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าว จากเดิม “ประธานสมาพันธ์สปาไทย”  เป็น “ประธานสมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสไทย”
โดยมีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคงเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
 
22. เรื่อง ขอปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ดังนี้  
                   1. รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่ได้รับมอบหมาย จากเดิม ตำแหน่ง “กรรมการ” เป็นตำแหน่ง “กรรมการและเลขานุการ” 
                   2. ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ จากเดิม ตำแหน่ง “กรรมการ” เป็นตำแหน่ง “กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ” 
                   3. ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ จากเดิมตำแหน่ง “กรรมการ” เป็นตำแหน่ง “กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ” 
                   4. เปลี่ยนตำแหน่งของกรรมการจากการระบุชื่อ “นางเจิดฤดี ชินเวโรจน์” เป็นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม”
โดยมีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคงเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
 
23.  เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 196/2563 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 นั้น
                    เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ. 2534 จึงแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 167/2562  ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ดังนี้
                    ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 4.1.4 ข้อ 4.2.3 และข้อ 4.3.1
                    ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 1.1.12
                                        “ข้อ 1.1.12 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์”
                    ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1.3.23             
                                          “ข้อ 1.3.23 คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์”
                    ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 3 คน ตามมาตรา 18 (3) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมจะพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 โดยวิธีการจับสลากตามมาตรา 20 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ 
                   1. รองศาสตราจารย์ปัทมาวดี โพชนุกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาการ  
                   2. นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน  
                   3. นายเจด็จ ธรรมธัชอารี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม 
                   โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
 
25. เรื่อง การพิจารณาแต่งตั้งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ เป็นผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่เดือนละ 330,000 บาท ค่าตอบแทนผันแปรไม่เกินร้อยละ 30 ของผลตอบแทนรวมในแต่ละปี และร่างสัญญาจ้างผู้บริหารพร้อมสิทธิประโยชน์อื่นที่ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติจะได้รับตามเอกสารแนบท้ายสัญญา ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้าง เป็นต้นไป

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: