สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 ส.ค. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 13 ส.ค. 2563 | อ่านแล้ว 2080 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 ส.ค. 2563

13 ส.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ 

กฎหมาย

 
1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างระเบียบ 
                   1. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) 

องค์ประกอบ กอช. เดิม องค์ประกอบ กอช. ใหม่
1. รองประธานกรรมการ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 1. รองประธานกรรมการ : รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
2. กรรมการ
   2.1 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
 
 
   2.2 ผู้บริหารส่วนราชการ/องค์กรในกำกับของส่วนราชการ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. กรรมการ
   2.1 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
   2.2 ผู้บริหารส่วนราชการ/องค์กรในกำกับของส่วนราชการ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เปลี่ยนชื่อจากเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติหรือผู้แทน
3. ฝ่ายเลขานุการ : ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ 3. ฝ่ายเลขานุการ : เปลี่ยนเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

                   2. ปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ของ กอช.

อำนาจและหน้าที่ของ กอช. เดิม อำนาจและหน้าที่ของ กอช. ใหม่
1. พิจารณากลั่นกรองและทบทวนแผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 1. กำหนดทิศทางนโยบาย แผนแม่บท และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ และกำหนดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการหรือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
2. กำหนดแผนงานและโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ 2. ขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายแผนแม่บท และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศที่กำหนด รวมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิต ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน 3. ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิต มีการสร้างและประยุกต์ใช้งานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ 4. ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายแผนแม่บท และยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศและรายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญให้คณะรัฐมนตรีทราบ 5. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งในระดับภาพรวมของประเทศและรายสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่กำหนด รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญให้คณะรัฐมนตรีทราบ

 
2. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พ.ศ. .... ที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองเสนอ เป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน เพื่อเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนการปรับปรุง แก้ไขหรือจัดทำกฎหมายใหม่เพื่อรองรับการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
                   สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                   1. กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 15 คน ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการ ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง 1 คน เป็นประธานกรรมการ และอีกจำนวนไม่เกิน 7 คน เป็นกรรมการ  
                   2. กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนตามข้อ 1. มีหน้าที่และอำนาจในการให้ความเห็น คำปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่สำนักงาน ป.ย.ป. และหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุง  แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายหรือกฎที่มีผลใช้บังคับอยู่ หรือการเสนอกฎหมายหรือกฎที่ต้องจัดทำขึ้นใหม่ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติในระยะเร่งด่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
                   3. กำหนดให้คณะกรรมการตามข้อ 1. พิจารณาหาแนวทางการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมาย หากไม่ได้ข้อยุติร่วมกัน ให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ  
                   4. กำหนดให้สำนักงาน ป.ย.ป. ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการให้แก่คณะกรรมการตามข้อ 1.
 
3. เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้ 
                   1. รับทราบรายงานผลการดำเนินการในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ  
                   2. เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป ดังนี้ 
                             2.1 ให้ผู้รักษาการตามกฎหมาย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย การร้องเรียน และปัญหาในการดำเนินการตามกฎหมายในความรับผิดชอบ 
                             2.2 ให้ผู้รักษาการตามกฎหมายตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการซึ่งแยกตามผู้รักษาการ (รายละเอียดตามตารางรายชื่อกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ และการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายและกฎเกณฑ์ท้ายหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0913/120 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2563) โดยหากมีข้อเสนอแก้ไข ให้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ  
                             2.3 ให้ผู้รักษาการตามกฎหมายประกาศรายชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการสำหรับกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบแล้วให้ถูกต้อง 
                             2.4 ให้ผู้รักษาการตามกฎหมายหารือร่วมกันเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย การจัดทำคำอธิบายและคำแปล และการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายและกฎเกณฑ์ สำหรับกฎหมายที่มีผู้รักษาการหลายคน ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและประกาศภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ในกรณีที่ยังตกลงกันไม่ได้หรือมิได้ตกลงกัน ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีนายกรัฐมนตรีรักษาการรวมอยู่ด้วยซึ่งได้กำหนดผู้รับผิดชอบไว้แล้ว 
                             2.5 ให้ผู้รักษาการตามกฎหมายเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายและกฎเกณฑ์ในความรับผิดชอบของตนทั้งหมดรวมไว้ในที่เดียวกันผ่านทางเว็บไซต์ของกระทรวงหรือของสำนักงานปลัดกระทรวงภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทราบ เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป  
                             2.6 ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 22 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ หากมี ต้องเร่งออกกฎหรือดำเนินการใดให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ดังนี้ 
                                      (1) ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 
                                      (2) ภายใน 2 ปี นับแต่กฎหมายมีผลใช้บังคับสำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
                                      ในการออกกฎดังกล่าว หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี และระยะเวลาที่จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดดังกล่าว 
                             2.7 ในร่างกฎหมายหรือกฎที่หน่วยงานของรัฐจะจัดทำขึ้นไม่ต้องกำหนดบทบัญญัติเร่งรัดการออกกฎหรือการดำเนินการอื่นใดซึ่งมีเนื้อหาลักษณะเดียวกันไว้อีก เนื่องจากเป็นการกำหนดซ้ำซ้อนและอาจขัดหรือแย้งกันได้ ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 22 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
 
4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมาตรการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 
                   1. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                   2. ให้นำกระบวนการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนตามร่างพระราชบัญญัติมาตรการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มาเป็นหลักการในการจัดทำร่างระเบียบตามข้อ 1. และ
                   3. ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรับผิดชอบภารกิจในการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนตามร่างระเบียบนี้ 
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   โดยที่ร่างพระราชบัญญัติมาตรการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ยังมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะเป็นผู้ทำภารกิจในการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ต่อไป และแม้ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) จะเห็นว่า กระทรวงการคลังมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของแผ่นดินตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2554 การติดตามทรัพย์สินของรัฐคืน จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง และเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านขึ้นในกระทรวงการคลังเพื่อทำภารกิจนี้ก็ตาม แต่ก็ยังมิได้มีการยืนยันจากกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
                   ประกอบกับผลการประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 เห็นว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการจัดให้มีมาตรการทางกฎหมายเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรปรับรูปแบบของมาตรการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการวางระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้นำกระบวนการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนในร่างพระราชบัญญัติมาปรับใช้ในระเบียบนี้ และให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจนี้ในกระทรวงการคลัง
 
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์
จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก อันจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น โดยพัฒนาที่ดินทุกแปลงให้ได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานและการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ซึ่งคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางเห็นชอบด้วยแล้ว
 
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ดังนี้ 
                   1. กำหนดนิยามคำว่า “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” “มูลฝอยทั่วไป” “มูลฝอยติดเชื้อ” “ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” “น้ำชะมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน”
                   2. กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท หรือทิ้งมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนในที่หรือทางสาธารณะ หรือกำหนดให้มีวิธีจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ตามกฎกระทรวงนี้หรือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรี (รมต.) กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (รจ.) และห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง ทำให้มีขึ้น หรือกำจัดซึ่ง
มูลฝอยที่เป็นพิษฯ ในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากถ่าย เท ทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่ หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้  
                   3. กำหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ให้หน่วยงานหรือบุคคลและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังนี้ (1) สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน หน้ากากป้องกันฝุ่นและสารเคมี รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง รวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันตนเองอื่น ๆ ที่จำเป็นตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง (2) ในกรณีที่พบมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนรั่วไหล เกิดปฏิกิริยาหรือเหตุการณ์อื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ต้องปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะและความปลอดภัยตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
                   4. กำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลต้องดำเนินการ ดังนี้ (1) จัดให้มีห้องน้ำหรือสถานที่เพื่อทำความสะอาดร่างกายและห้องส้วมสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงาน (2) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่และอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งเอกสารแสดงขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ทั้งนี้ ต้องมีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวให้พร้อมใช้งานได้เสมอ (3) จัดให้มีการตรวจสอบสุขภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงาน โดยอย่างน้อยต้องเอกซเรย์ปอด ทดสอบสมรรถภาพปอด ตรวจผิวหนัง และตรวจการทำงานของตับและไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
                   5. กำหนดให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนคัดแยกมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ออกจากมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยติดเชื้อ ตามประเภท ดังนี้ (1) หลอดไฟ (2) ถ่านไฟฉายและแบตเตอรี่ (3) ภาชนะบรรจุสารเคมี และให้รวมถึงกระป๋องสเปรย์ กระป๋องสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋องสี ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ ตลับหมึกพิมพ์ ภาชนะบรรจุน้ำมันปิโตรเลียม หรือภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ป้องกันหรือกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะในบ้านเรือน ฯลฯ 
                   6. กำหนดให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนบรรจุมูลฝอยที่เป็นพิษฯ
ที่คัดแยกแล้วใส่ในภาชนะบรรจุมูลฝอยโดยไม่ให้มีส่วนล้ำออกนอกภาชนะนั้นก่อนนำไปบรรจุในภาชนะรองรับมูลฝอย หรือนำไปไว้ที่จุดแยกทิ้งมูลฝอย หรือนำไปไว้ในสถานที่พักรวมมูลฝอย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีปริมาณมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ตั้งแต่ 100 กิโลกรัมต่อเดือน ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ต้องจัดให้มีสถานที่พักรวมมูลฝอย เพื่อเก็บมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้
                   7. กำหนดให้สถานที่พักรวมมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมีลักษณะ ดังนี้ เป็นอาคารหรือแยกห้องเป็นสัดส่วนเฉพาะที่สามารถรองรับปริมาณมูลฝอยที่เป็นพิษฯ เช่น หลอดไฟ ฯลฯ และปิดมิดชิด มีพื้นคอนกรีตหรือมีพื้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม ฯลฯ
                   8. กำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลตรวจสอบการคัดแยกและการบรรจุมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนในสถานที่พักรวมมูลฝอยที่มีปริมาณมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ตั้งแต่ 100 กิโลกรัมต่อเดือน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังนี้ (1) มีการคัดแยก ถ่าย เท และบรรจุมูลฝอยที่เป็นพิษฯ แต่ละประเภทตามที่กำหนดในภาชนะที่เหมาะสม (2) มีการเก็บมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ในสถานที่พักรวมมูลฝอยที่เป็นพิษฯ โดยป้องกันมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่พักรวมดังกล่าว 
                   9. กำหนดให้ยานพาหนะขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังนี้ ตัวถังส่วนที่บรรจุมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาด ระดับตัวถังไม่สูงเกินไปหรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานฯ มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลโดยให้เปิดสัญญาณตลอดเวลาในขณะที่ปฏิบัติงาน และแสดงข้อความว่า “ขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” พร้อมชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานหรือบุคคลนั้น ในกรณีที่เป็นบุคคลให้แสดงเลขที่ใบอนุญาตด้วย และใช้ตัวหนังสือที่มีขนาดที่บุคคลภายนอกมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านและด้านหลังของยานพาหนะมูลฝอยที่เป็นพิษฯ 
                   10. กำหนดให้มีการฝังกลบอย่างปลอดภัย การเผาในเตาเผา หรือวิธีอื่นตามที่ รมต. กำหนดโดยประกาศใน รจ.
                   11. กำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลที่ดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ดำเนินการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงานภายใน               2 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ดำเนินการเก็บและขนมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และดำเนินการกำจัดมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
                   12. กำหนดให้ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลที่ดำเนินการเก็บและขนมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนแต่ยังมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงานภายใน 2 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และดำเนินการกำจัดมูลฝอยที่เป็นพิษฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
 

เศรษฐกิจ - สังคม

7. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและรายงานผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                   1. ในส่วนข้อที่ 1 ที่เดิมกำหนดว่า “อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (โครงการฯ) ตามที่ คค. เสนอและตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอเพิ่มเติมทั้ง 3 ข้อ ...” โดยให้ยกเลิกความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมข้อที่ 1 ที่ขอให้โครงการฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (คกจ.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 11/2560 (เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ) เพื่อให้                การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการฯ มีความโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพลง และแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวอาจเป็นประเด็นในเรื่องประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโครงการตามที่ รฟท. เสนอมา
                   2. ในส่วนข้อที่ 6 ที่เดิมกำหนดว่า “ในส่วนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้างเพื่อดำเนินโครงการฯ ให้ คค. (รฟท.) เสนอ คกจ. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 (เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ) เพื่อพิจารณาวิธีการประกวดราคาโครงการฯ ที่เหมาะสม ...” โดยให้ยกเลิกมติในข้อดังกล่าว เนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพลง โดยขั้นตอนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง เห็นชอบให้ รฟท. ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   คค. รายงานว่า
                   1. ภายหลังจากที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 รฟท. ได้เสนอประธาน คกจ. พิจารณาเปลี่ยนแปลงแนวทางการแบ่งสัญญาโครงการฯ ไปจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยแบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการฯ ออกเป็น 7 สัญญา ประกอบด้วยสัญญางานโยธาฯ จำนวน 6 สัญญา และสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ จำนวน 1 สัญญา *
                   2. ต่อมา คกจ. ได้แจ้งผลการพิจารณาไปยัง รฟท. ว่า เห็นชอบตามแนวทางดังกล่าวที่ รฟท. เสนอ โดย คกจ. มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น รฟท. ควรปรับแผนการดำเนินงานให้กระชับขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 75 เดือน โดยงานส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้ก่อนควรเร่งดำเนินการเพื่อจะได้เปิดให้บริการ             แก่ประชาชนได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม คกจ. ยังไม่ได้รายงานผลการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ ดังเช่นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 5 โครงการ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560) อย่างที่ผ่านมา เนื่องจากหัวหน้า คสช. ได้มีคำสั่ง ที่ 9/2562 (เรื่อง การยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. บางฉบับที่หมดความจำเป็น) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ส่งผลให้ คกจ. ถูกยกเลิกไปด้วย
                   3. รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาและจัดการประกวดราคาก่อสร้างโครงการฯ และได้ทบทวนแนวทางการแบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการฯ ระหว่างแบ่งเป็น 3 สัญญา โดยรวมงานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในแต่ละสัญญาตามที่เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการฯ จากคณะรัฐมนตรี เปรียบเทียบกับแบ่งเป็น 7 สัญญา โดยแยกงานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากกันตามที่ คกจ. เห็นชอบเพื่อนำเสนอคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ รฟท.) พิจารณาแนวทางการดำเนินงานเนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพแล้ว โดยมีผลการทบทวน ดังนี้

หัวข้อ กรณี 3 สัญญา
(ตามข้อเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการฯ)
กรณี 7 สัญญา
(ตามความเห็น คกจ.)
1. ด้านบริหารสัญญา - บริหารโครงการได้ง่าย ไม่มีปัญหา ข้อโต้แย้งระหว่างผู้รับเหมาแต่ละรายสามารถเร่งรัดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาข้อโต้แย้งเนื่องจากมีการทำงานที่ซับซ้อน ไม่สามารถเร่งรัดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ด้านงบประมาณ - ค่าดำเนินการไม่เพิ่ม เนื่องจากสามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรร่วมกันได้
- ไม่ต้องจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ (PMC)
- ค่าดำเนินการเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรร่วมกันได้
- ต้องจ้าง PMC มาบริหาร เนื่องจากมีหลายสัญญา
3. ด้านระยะเวลา - สามารถเปิดเดินรถได้ตามแผนเนื่องจากสามารถควบคุมการดำเนินงานภายใต้สัญญาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ไม่สามารถเปิดการเดินรถได้ตามแผน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากการแยกสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากงานโยธาฯ เช่น เกิดข้อพิพาทจากการทำงานบนพื้นที่ที่ทับซ้อนกัน

                   4. คณะกรรมการ รฟท. ในการประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้พิจารณาผลการทบทวนแนวการแบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการฯ เปรียบเทียบกับกรณีที่ รฟท. ได้เคยดำเนินการมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยมีผลการดำเนินงานในแต่ละแนวทาง ดังนี้

โครงการ ผลการดำเนินงาน
แนวทางที่ 1: รวมสัญญางานโยธาฯ และสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในแต่ละสัญญา
(คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่  31 กรกฎาคม 2561)
(1) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ขยายสัญญาเพิ่ม 7 เดือน เนื่องจากปัญหาผู้บุกรุกและการเวนคืน (ปัจจัยภายนอก)
(2) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ขยายสัญญาเพิ่ม 6 เดือน เนื่องจากการปรับรูปแบบงานก่อสร้างสถานีรถไฟบ้านไผ่ (ปัจจัยภายนอก)
แนวทางที่ 2: แยกสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากสัญญางานโยธาฯ (ตามที่ คกจ. เห็นชอบ)
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 5 โครงการ
(1) โครงการทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
(2) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
(3) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน
(4) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์
(5) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีแนวโน้มว่าโครงการจะมีความล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 1-2 ปี เนื่องจากปัญหาการเชื่อมประสานระหว่างงานโยธาฯ กับงานระบบอาณัติสัญญาณฯ

                   คค. พิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการ รฟท. โดยเห็นว่า การรวมสัญญางานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในแต่ละสัญญา (3 สัญญา) จะทำให้การบริหารสัญญามีความคล่องตัวก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการควบคุมงานและบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิผลมากกว่าการแยกสัญญางานโยธาฯ ออกจากสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ (7 สัญญา) เนื่องจากการบริหารโครงการก่อสร้างที่มีผู้รับจ้างหลายรายจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารสัญญา และอาจทำให้มูลค่าโครงการโดยรวมเพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (PMC) เพิ่มขึ้น ค่าก่อสร้างในการวางรางเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องสร้างโรงเชื่อมรางเพิ่มตามจำนวนของสัญญา และอาจมีความเสี่ยงที่โครงการจะล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 1-2 ปี เนื่องจากปัญหาเรื่องการเชื่อมประสานระหว่างขอบเขตงานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ รวมถึงหากการก่อสร้างสัญญาใดมีความล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการในภาพรวม เพราะต้องรอให้สัญญางานโยธาฯ แล้วเสร็จและส่งมอบพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถดำเนินงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ได้ เพราะหากมีการดำเนินการสองสัญญาพร้อมกันในพื้นที่เดียวกันจะมีความยุ่งยากในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก
­­­­­­­_______________________
* สาเหตุที่ รฟท. เสนอ คกจ. มีข้อเสนอในลักษณะดังกล่าว เนื่องจาก รฟท. ยึดแนวทางการแบ่งสัญญาตามที่ คกจ. ได้เคยพิจารณาในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ซึ่งกำหนดให้มีการแบ่งสัญญางานโยธาฯ และระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากกัน
 
 
8. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวมจำนวน 7,895.368 ล้านบาท และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   คค. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ ขสมก. กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วงเงิน 7,895.368 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเชื้อเพลิง ค่าเหมาซ่อม และเสริมสภาพคล่องทางการเงิน โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ซึ่งการกู้เงินของ ขสมก. ในครั้งนี้จะทำให้สามารถประหยัดค่าดอกเบี้ยค้างชำระได้ปีละ 245.497 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.07 ต่อปี (เดิมดอกเบี้ย 350.373 ล้านบาทต่อปี) โดยกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ
 
9. เรื่อง แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก บริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร1,2,3 และพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณฝั่งธนบุรี4 และบริเวณที่ 4 บริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
                   2. เห็นชอบการขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์จากเดิม 3 บริเวณ (กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์) เป็น 4 บริเวณ โดยเพิ่มพื้นที่ส่วนขยาย บริเวณที่ 4 พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกตั้งแต่แนวกึ่งกลางคลองรอบกรุง (คลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่าง) แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหลือและทิศใต้ และแนวคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันออก เพื่อจะได้ปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า  พ.ศ. 2546 ต่อไป
­­­_____________________­­__
1. บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในเป็นพื้นที่ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ในท้องที่แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
2. บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกเป็นพื้นที่ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ในท้องที่แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงบวรนิเวศ แขวงเสาชิงช้า แขวงราชบพิธ                     แขวงสำราญราษฎร์ และแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530
3. บริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ในท้องที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. พื้นที่ใกล้เคียงบริเวณฝั่งธนบุรี คือ พื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) ระหว่างบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์กับบริเวณพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนาของกรุงเทพมหานครที่จะเกิดขึ้นในบริเวณโดยรอบในอนาคต
 
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. โดยที่ในปัจจุบันมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์รวมทั้งการท่องเที่ยวในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การจราจร วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (คณะกรรมการฯ) ได้จัดทำแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ฉบับใหม่ โดยขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ จากเดิม 3 บริเวณ (กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์) เป็น 4 บริเวณ  โดยเพิ่มพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ รายสาขา จำนวน 8 สาขา และยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ รายพื้นที่ จำนวน 12 พื้นที่ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์
                   2. ผลกระทบต่อการดำเนินการของภาครัฐ แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตโกสินทร์ที่ ทส. เสนอมาในครั้งนี้เป็นกรอบการดำเนินงานของภาครัฐที่มีแนวทางและรายละเอียดการดำเนินงานที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ภายในกรอบที่กำหนดโดยไม่ทำให้ภาพรวมเกิดความเสียหาย โดยก่อนที่หน่วยงานจะดำเนินการตามโครงการภายใต้แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์นั้น จะศึกษาในรายละเอียดและความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งก่อน นอกจากนี้การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่มีการก่อสร้างภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์หรือไม่ จะต้องส่งเรื่องและแบบแปลนให้คณะกรรมการฯ ผ่านทาง ทส. (สผ.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อน ทั้งนี้ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 ข้อ 9 และข้อ 10 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 สำหรับผลกระทบต่อประชาชนและภาคเอกชนนั้น แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์จะไม่สามารถบังคับใช้กับประชาชนและภาคเอกชนได้ โดยหากจะมีการดำเนินการใด ๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้ต่อประชาชนและภาคเอกชนโดยตรงนั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนและจะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันสำนักวางแผนและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายด้านผังเมืองและการควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำสาระสำคัญของแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในส่วนที่จำเป็นไปบังคับใช้กับภาคเอกชนได้
                   3. ในส่วนของงบประมาณ ทส. คาดการณ์ว่าการดำเนินการตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 22,022.04 ล้านบาท โดยเมื่อคณะกรรมการฯ ได้รับความเห็นชอบโครงการที่จะดำเนินงานแล้ว หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการฯ จะสามารถขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ได้ต่อไป ทั้งนี้ สงป. ได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติและจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ประกอบกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาแล้วเห็นชอบและไม่ขัดข้อง
 
10. เรื่อง การกำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา กรรมการสรรหา กรรมการประเมินผล และอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอ ดังนี้ 
                   1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา กรรมการสรรหา กรรมการประเมินผล การดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (กองทุนฯ) และอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558
                   2. เห็นชอบหลักการ (ร่าง) ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง เบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา กรรมการสรรหา กรรมการประเมินผล และอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....  
                   สาระสำคัญของเรื่อง  
                   รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯ รายงานว่า 
                   1. คณะกรรมการกองทุนฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ได้มีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาการกำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 โดยนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 และวันที่ 26 มีนาคม 2562 มาเป็นแนวทางในการกำหนดเบี้ยประชุมฯ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 
                             1.1 ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ คณะกรรมการสรรหา (ตามมาตรา 15) คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ (ตามมาตรา 34) คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ (ตามมาตรา 23) คณะอนุกรรมการ [ตามมาตรา 21 (13) และมาตรา 36] มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะในเดือนที่ได้ร่วมประชุม ดังนี้

ตำแหน่ง อัตรา/เดือน (บาท)
ประธานกรรมการ 10,000
กรรมการ 8,000
ที่ปรึกษา 8,000
ประธานอนุกรรมการ 5,000
อนุกรรมการ 4,000
 

                             1.2 ให้กรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ ประธานกรรมการสรรหาและกรรมการสรรหาในคณะกรรมการสรรหา (ตามมาตรา 15) ประธานกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ และกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ (ตามมาตรา 34) ประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ และอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ (ตามมาตรา 23) ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ [ตามมาตรา 21 (13) และมาตรา 36] มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมกรณีที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 อีกไม่เกิน 2 คณะ โดยให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะเดือนที่ได้ร่วมประชุม  
                             1.3 ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของสำนักงานกองทุนฯ ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม
                             1.4 ให้ประธานกรรมการกองทุนฯ กรรมการกองทุนฯ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ ประธานกรรมการสรรหาและกรรมการสรรหาในคณะกรรมการสรรหา (ตามมาตรา 15) ประธานกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ และกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ในคณะกรรมการประเมินผล (ตามมาตรา 34) ได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเฉพาะในการเดินทาง คือ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยให้นำพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งออกตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม 
                                      ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นในอัตราที่ราชการกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูง 
                             1.5 ให้ประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ และอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ  (ตามมาตรา 23) ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ [ตามมาตรา 21 (13) และมาตรา 36] ได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเฉพาะในการเดินทาง คือ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยให้นำพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งออกตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม 
                                      ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นในอัตราที่ราชการกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับต้น 
                   2. กองทุนฯ แจ้งว่า เบี้ยประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 จะเบิกจ่ายจากงบประมาณ (งบดำเนินงาน) ของสำนักงานกองทุนฯ ปีละ 6,402,000 บาท 
 
11. เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุมของประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ และค่าตอบแทนอื่น ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอกำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุม และค่าตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 78 และมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติฯ ที่ได้มีการประชุมหรือปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบอื่น ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย  รวมทั้งให้ตัดตำแหน่ง “กรรมการและเลขานุการ” จากบัญชีค่าเบี้ยประชุมฯ  สำหรับภาระค่าใช้จ่ายให้ดำเนินการตามสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   ดศ. รายงานว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 บัญญัติให้มีคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) และคณะอนุกรรมการที่ กกม. แต่งตั้ง ดังนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 11 และมาตรา 18 ที่บัญญัติให้ประธานกรรมการและกรรมการใน กมช. และ กกม. และประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการที่ กกม. แต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่น ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ดศ. จึงได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลัง (กค.) (กรมบัญชีกลาง) เพื่อพิจารณาให้ความเห็น และได้จัดทำบัญชีอัตราเบี้ยประชุม และค่าตอบแทนอื่น ตามความเห็นของ กค. ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ 
                   1. อัตราเบี้ยประชุม

ตำแหน่ง อัตราเบี้ยประชุม หลักเกณฑ์การพิจารณา หมายเหตุ
กมช. และ กกม.
ประธานกรรมการ 10,000 บาทต่อเดือน สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมของคณะกรรมการองค์การมหาชน (กลุ่มที่ 3 บริการสาธารณะทั่วไป) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 และ 26 มีนาคม 2562 และอัตราเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะเดือนที่ได้เข้าร่วมประชุม หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีแต่ไม่เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
กรรมการ 8,000 บาทต่อเดือน
คณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจาก กกม.
1) คณะอนุกรรมการที่สนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่หลักของ กกม. อย่างมีนัยสำคัญและมีลักษณะถาวรหรือต่อเนื่อง
ประธานอนุกรรมการ 5,000 บาทต่อเดือน สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมของคณะกรรมการองค์การมหาชน (กลุ่มที่ 3 บริการสาธารณะทั่วไป) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 และ 26 มีนาคม 2562 และอัตราเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะเดือนที่ได้เข้าร่วมประชุม หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีแต่ไม่เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
อนุกรรมการ 4,000 บาทต่อเดือน
2) คณะอนุกรรมการอื่นนอกจากคณะอนุกรรมการที่สนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่หลักของ กกม. อย่างมีนัยสำคัญ และมีลักษณะถาวรหรือต่อเนื่อง
ประธานอนุกรรมการ 1,250 บาทต่อครั้ง สอดคล้องกับอัตราเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ในหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมขององค์การมหาชนไม่มีการกำหนดอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง) ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะผู้ที่ได้เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิได้รับไม่เกินเดือนละ 4 ครั้ง
อนุกรรมการ 1,000 บาทต่อครั้ง
         

                   2. ค่าตอบแทนอื่น แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
                             1) ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ที่เป็นข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการการเมือง ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามสิทธิที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
                             2) ประธานกรรมการและกรรมการที่มิได้เป็นข้าราชการให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการดังกล่าว โดยเทียบตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี) และประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการที่มิได้เป็นข้าราชการ ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการดังกล่าว โดยเทียบตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
 
12. เรื่อง ขอยุติโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 และเห็นชอบให้ยุติโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ทส. รายงานว่า
                   1. โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 (ระยะที่ 1 - 3) ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 – 2550 ได้ดำเนินการปลูกและบำรุงป่าต่อเนื่องจนสิ้นสุดภารกิจโครงการฯอย่างสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

พื้นที่ป่า จำนวน
1. การปลูกป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ประกอบด้วย
- ผู้ร่วมโครงการฯ ดำเนินการปลูกและบำรุงป่า โดยออกค่าใช้จ่ายเองรวม 3 ปี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชรับมอบมาดูแลต่อไปโดยบำรุงป่าจนครบ 10 ปี
- ปลูกป่าโดยเงินกองทุน
- ปลูกป่าโดยเงินบูรณะทรัพย์สิน (เงินชดเชย)
-ปลูกป่าโดยเงินงบประมาณของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปลูกเสริมป่าตามธรรมชาติและปลูกฟื้นฟูสภาพป่า
- พื้นที่เป้าหมายแปลงปลูกป่าฟื้นฟูสภาพป่าได้เองตามธรรมชาติ เกิดจากการเฝ้าระวังมิให้ราษฎรเข้าบุกรุกพื้นที่ เฝ้าระวังไฟป่าและการทำแนวกันไฟอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ป่าฟื้นคืนสภาพเอง มีลูกไม้และแม่ไม้ค่อนข้างหนาแน่น
รวม
 
2,078,590.17 ไร่
 
 
153,581.00 ไร่
1,741.00 ไร่
449,234 ไร่
 
2,442,440.62 ไร่
 
 
 
5,125,586.79 ไร่
2. การปลูกป่าในพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์ ประกอบด้วย
- การปลูกป่าสองข้างทาง และสองฝั่งแม่น้ำ
- การปลูกในวัด เขตชุมชน และอื่น ๆ
- ปลูกป่าโดยเงินกองทุน
 
94,435.69 กิโลเมตร
1,414,130.17 ไร่
1,044 ไร่ และ 3,860 ต้น

                   2. งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯ ทั้ง 3 ระยะ พ.ศ. 2537 – 2550 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,512,494,370 บาท มีรายละเอียด ดังนี้

การดำเนินโครงการฯ งบประมาณฯ (บาท)
ระยะที่ 1 พ.ศ. 2537 - 2539 2,748,493,000 บาท
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2540 - 2545 3,954,445,900
ระยะที่ 3 พ.ศ. 2546 - 2550 3,809,555,470
รวม 10,512,494,370

                   3. โดยที่โครงการปลูกป่าถาวรฯ ได้ดำเนินการบำรุงป่าต่อเนื่องจนสิ้นสุดภารกิจโครงการฯ อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่ยังมีเงินบริจาคสมทบกองทุนโครงการฯ คงเหลืออยู่ในบัญชี “กองทุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้หารือกับกระทรวงการคลัง (กค.) เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การคลัง และกฎหมาย รวมทั้งหารือว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้มีอำนาจยุติโครงการฯ โดย กค. (กรมบัญชีกลาง) เห็นว่า หากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประสงค์จะยุติโครงการฯ หรือประสงค์จะใช้เงินดังกล่าวดำเนินการต่อไป ก็ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการปิดบัญชี “กองทุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560 และได้นำเงินกองทุนฯ คงเหลือหลังหักค่าธรรมเนียมทั้งหมดเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขา กค. ชื่อบัญชี “กรมบัญชีกลางเพื่อรับเงินหน่วยงานภาครัฐ” จำนวน 27,941,161.97 บาท ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 
 
13. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการคณะต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562              ครั้งที่ 2
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ทั้ง 3 ข้อ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. เสนอ ดังนี้
                   1. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562    ครั้งที่ 2
                   2. รับทราบรายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2
                   3. เห็นชอบข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. โดยให้รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และจังหวัด ที่มีประเด็นสมควรปรับปรุงแก้ไข  รับข้อเสนอแนะและพิจารณาดำเนินการ พร้อมทั้งรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินการต่อ  ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ ต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของ ค.ต.ป. รายงานว่า ค.ต.ป. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2 และรายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. คณะต่างๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2 สรุปสาระสำคัญดังนี้
                   1. รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2

ประเด็น ข้อเสนอแนะในภาพรวม
1) การบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำในพื้นที่
เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC)
 
1.1) ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รับผิดชอบแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ EEC และให้คณะกรรมการลุ่มน้ำบูรณาการระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ EEC เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
1.2) ให้บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (จำกัด) (มหาชน) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงในการหาสถานที่การจัดเก็บน้ำสำรอง
1.3) ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และ กปภ. กำหนดแผนงานและระยะเวลาการดำเนินการให้ชัดเจน และจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนงาน/โครงการที่กำหนดในแต่ละปี
1.4 รัฐบาลควรให้ความสำคัญและส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตน้ำจืดที่ใช้น้ำทะเลมาผลิต อุตสาหกรรมที่มีนโยบายการประหยัดน้ำหรือการบำบัดน้ำเสีย และอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำน้อย รวมทั้งเชิญชวนให้ภาคเอกชนสร้างอ่างเก็บน้ำ
2) การพัฒนาเด็กปฐมวัย 2.1) ให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย คณะอนุกรรมการ
บูรณาการพัฒนาเด็กปฐมวัย และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
บูรณาการการทำงานเรื่องเด็กปฐมวัยทั้งด้านบริการสธารณสุข การจัดการศึกษา
การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย
2.2) ให้ศูนย์รับเลี้ยงเด็กและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยร่วมกับมหาวิทยาลัย­­­­ราชภัฏในพื้นที่จัดให้มีระบบฝึกอบรมและระบบให้คำปรึกษาแนะนำ และจัดระบบพี่เลี้ยงให้ครูและผู้ดูแลเด็ก รวมทั้งให้คณะกรรมการด้านการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบกำกับดูแลศูนย์เด็กเล็ก
3) การบริหารจัดการขยะ 3.1) ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกรุงเทพมหานคร รณรงค์และสร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะและคัดแยกขยะ
3.2) ให้ มท. และ ทส. เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลขยะของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
3.3) รัฐบาลควรมีการเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยว และนำภาษีมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการขยะในภาพรวมของประเทศ
4) ระบบข้อมูลภาครัฐเพื่อการตัดสินใจ ให้หน่วยงานภาครัฐปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภายในของระบบการจำแนกหรือการแบ่งกลุ่มให้ตรงกัน เพื่อให้รับข้อมูลเข้าจากระบบ eMENSCR ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดมาตรการการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล บูรณาการระบบ การวางแผน ติดตามประเมินผลของหน่วยงานกลางต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเทคโนโลยีพัฒนาแพลตฟอร์มกลางในการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ
5) การวิจัยและนวัตกรรม 5.1) ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ออกแบบระบบการติดตามและประเมินผลของระบบวิจัยและนวัตกรรมให้ครอบคลุมระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน ระดับการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัติ
5.2) คณะกรรมการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินระดับนโยบายและยุทธศาสตร์จะต้องมีการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 กับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ
5.3) ให้ อว. มีระบบข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ (Open Data Access) ข้อมูลมีความถูกต้อง สามารถวิเคราะห์ผลได้ทันเวลา และกำหนดบทบาทและขอบเขตของการติดตามและประเมินผลของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องที่ตั้งขึ้นตามมาตรา 19  แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
6) การบริหารงานจังหวัดกลุ่มจังหวัดและภาค 6.1) ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) ทบทวนการกำหนดแผนงานตาม “โครงสร้างงบประมาณตามยุทธศาสตร์” ปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณของส่วนราชการภายใต้แผนงานบูรณาการในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์และปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค
6.2) ให้ มท. พิจารณาทบทวนแนวทางการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและการกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
6.3) ให้ ทส. และหน่วยงานที่กี่ยวข้อง สนับสนุนการบริหารพื้นที่รูปแบบพิเศษ
เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
7) ภาพรวมผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ               ค.ต.ป. ประจำกระทรวง
 
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มีดังนี้
7.1) ด้านการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการ เช่น การส่งเสริมด้านความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ควรจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศให้ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันการเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ เสนอคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติเพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
7.2) ด้านบุคลากร เช่น บุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านยังไม่เพียงพอ
7.3) ด้านการปรับปรุงมาตรการ กฎระเบียบและกฎหมาย เช่น การกำหนดมาตรการ กฎระเบียบ และกฎหมายไม่ครอบคลุมและชัดเจน
7.4) ด้านการพัฒนาฐานข้อมูลแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ยังไม่มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
75) ด้านงบประมาณ เช่น งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ
8) ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการของคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ                (อ.ค.ต.ป.) คณะต่าง ๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงในภาพรวม ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับไปพิจารณาศึกษา วิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาเรื่องการบูรณาการการทำงานของภาครัฐ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อศึกษาหาแนวทางการทำงานเรื่องการบูรณาการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและชัดเจน
 

 
                   2. รายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2
                   ผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ ในภาพรวม ทั้งรายคณะและรายบุคคล พบว่า มีผลการปฏิบัติงานในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ค.ต.ป. ได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรมีระบบฐานข้อมูลสนับสนุนที่เป็นปัจจุบันและเพียงพอต่อการประเมิน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง และ อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ และแผนงาน/โครงการสำคัญ เพื่อให้การวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะเกิดประสิทธิผลและมีความสมบูรณ์ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้ง ควรเลือกประเด็นการตรวจสอบที่สำคัญและมีผลกระทบในวงกว้าง และควรมีการบูรณาการการตรวจประเมินในเรื่องที่เป็น Agenda สำคัญร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ
                   3. สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยได้กำหนดกรอบแนวทางในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และให้ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงเลือกตรวจประเด็นตามตัวชี้วัดของกระทรวง รวมทั้งให้มีการประสานการบูรณาการ              การทำงานร่วมกันระหว่าง ค.ต.ป.ประจำกระทรวง และ อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ และพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการสนับสนุนข้อมูลการทำงาน และเป็นช่องทางใน               การรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และรายงานผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป.
 
14. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต  กรณีศึกษาโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต  กรณีศึกษาโครงการนำสายสื่อสารลง               ใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                   1. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ.ทีโอที) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  (บมจ.กสท) เป็นผู้ร่วมดำเนินการในการนำสายสื่อสารลงใต้ติน ทั้งในส่วนของการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การก่อสร้าง และการบริหารจัดการท่อร้อยสายสื่อสารให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ เสถียรภาพของโครงข่ายสื่อสาร ความมั่นคงของประเทศและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของพื้นที่มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินการ
                   2. ให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (บจ.กรุงเทพธนาคม) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อให้สามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้
                   กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงบริษัทหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือหุ้นเกินร้อยละ 50
                   3. พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องของขั้นตอนการขออนุญาตดำเนินการก่อสร้างท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ชาติ (กสทช.) กับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ควรพิจารณาร่วมกัน เพื่อให้อนุญาตการใช้สิทธิแห่งทาง และอนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาและความเสียหายต่อประโยชน์ของรัฐ อันเกิดจากการที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตใช้สิทธิแห่งทางแต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพื้นที่ก่อสร้าง จึงไม่สามารถดำเนินการได้แม้ว่ามีการลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างแล้วก็ตาม  และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อไป  โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  กระทรวงพลังงาน  กระทรวงมหาดไทย  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
 
15.  เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 13
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 13 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้รับข้อมูลจาก 147 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 99 ของส่วนราชการทั้งหมด (148 ส่วนราชการ) สรุปข้อมูลดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
                    ส่วนราชการได้มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการตามปกติเพิ่มมากขึ้น (75 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 51) โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา (73 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 49) และส่วนราชการพิจารณากำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาในการทำงานเป็น 3 ช่วงเวลาเพิ่มมากขึ้น (78 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 53)                   
                    2. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
                    ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการลดลง (72 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 49) โดยในจำนวนนี้มีส่วนราชการ 17 ส่วนราชการ (คิดเป็นร้อยละ 12) มอบหมายให้ทุกคนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง
 
16. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2563 (เพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                    1. กำหนดให้วันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2563 เป็นจำนวน 2 วัน  
                    2. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชนหรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และกระทบต่อการให้บริการประชาชน 
                    3. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงาน พิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง 
                    1. โดยที่วันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการประจำปีตามประเพณีที่ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายของทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และลูกจ้างในภาคเอกชน รวมทั้งในขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้เริ่มคลี่คลายลง โดยไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศติดต่อกันในระยะเวลาหนึ่งแล้วและผู้ที่หายจากการติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับที่ผ่านมาได้มีการกำหนดให้วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2563 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2563) ทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศอีกด้วย ดังนั้น ในครั้งนี้ จากการหารือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม รวมทั้งคำนึงถึงสภาพการจราจรที่จะเกิดขึ้น จึงเห็นสมควรกำหนดวันหยุดราชการในเดือนกันยายน 2563 เพิ่มขึ้น 2 วัน คือ วันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 เพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. 2563
                    2. การกำหนดให้วันวันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ดังกล่าวจะทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันในสัปดาห์ดังกล่าวเป็น 4 วัน คือ วันศุกร์ที่ 4 - วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 และทำให้ในภาพรวมจะมีวันหยุดราชการประจำปี 2563 รวมทั้งสิ้น 19 วัน ดังนี้
          1. วันขึ้นปีใหม่                                                             1 มกราคม       1 วัน
          2. วันมาฆบูชา                                                             19 กุมภาพันธ์    1 วัน
          3. วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช           6 เมษายน        1 วัน
          และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
          4. วันฉัตรมงคล                                                            4 พฤษภาคม     1 วัน
          5. วันวิสาขบูชา                                                            6 พฤษภาคม     1 วัน
          6. วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ             11 พฤษภาคม   1 วัน
          7. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ                   3 มิถุนายน       1 วัน
          พระบรมราชินี
          8. วันอาสาฬหบูชา                                                        5 กรกฎาคม      1 วัน
          9. วันเข้าพรรษา                                                           6 กรกฎาคม      1 วัน
          10. วันหยุดชดเชยเทศกาลสงกรานต์                                     27 กรกฎาคม    1 วัน
          11. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร             28 กรกฎาคม    1 วัน
          รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
          12. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง        12 สิงหาคม      1 วัน
          และวันแม่แห่งชาติ
          13. วันหยุดชดเชยสงกรานต์ (เสนอครั้งนี้)                    4 และ 7 กันยายน 2 วัน
          14. วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร      13 ตุลาคม       1 วัน
          มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
          15. วันปิยมหาราช                                                        23 ตุลาคม       1 วัน
          16. วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรม        5 ธันวาคม       1 วัน
          ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
          วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
          17. วันรัฐธรรมนูญ                                                        10 ธันวาคม      1 วัน
          18. วันสิ้นปี                                                                31 ธันวาคม      1 วัน
                  
17. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 11,872,100 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ  รวม 5 หน่วยงาน จำนวน 14 โครงการ 20,029 รายการ และให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
                   1. ให้หน่วยรับงบประมาณ ได้แก่ จังหวัด 76 แห่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กองทัพบก และกรมเจ้าท่า เป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของระเบียบและแนวทางปฏิบัติต่อไป
                   2. ให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และเร่งรัดดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2563 โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ เพื่อทำความตกลงในรายละเอียดกับ           สำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป และเห็นสมควรให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขากองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ รวมถึงสรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไปด้วย
 
18. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินไม่เกิน 3,622,319,500 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) รวมจำนวนไม่เกิน 1,054,729 คนต่อเดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน 2563 สำหรับโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
                   ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนกันยายน 2563 ซึ่งจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ร่วมดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชาชน จำนวน 7,424,625 คน 2) เฝ้าระวังและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1,098,782 คน 3) เคาะประตูบ้านต้านภัย COVID-19 จำนวน 14,020,134 หลังคาเรือน 4) ค้นพบกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการและส่งต่อให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3,514 คน
         

ต่างประเทศ

 
19. เรื่อง การจัดทำร่างข้อตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรคนประจำเรือระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน กาตาร์ รัสเซีย เยอรมนี ยูเครน อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ รวม 12 ประเทศ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำร่างข้อตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรคนประจำเรือระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน กาตาร์ รัสเซีย เยอรมนี ยูเครน อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ รวม 12 ประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างข้อตกลงฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรมการออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามของคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 (STCW 1978) ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2540 อนุมัติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ซึ่งอนุสัญญา STCW 1978 ได้กำหนดให้รัฐภาคีสามารถทำความตกลงทวิภาคีเพื่อรับรองประกาศนียบัตรให้แก่คนประจำเรือที่ออกโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจระหว่างกันได้ โดยการทำข้อตกลงทวิภาคีดังกล่าวกับประเทศต่าง ๆ จะส่งผลให้คนประจำเรือของประเทศที่ทำข้อตกลงสามารถทำงานในเรือชักธงของกันและกันได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมเจ้าท่าได้จัดทำข้อตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรคนประจำเรือกับ 20 ประเทศ ได้แก่ วานูอาตู บาฮามาส สิงคโปร์ ปานามา ไซปรัส อินโดนีเซีย ไลบีเรีย ตุรกี เบลิซ มาเลเซีย บาร์เบโดส เขตปกครองพิเศษฮ่องกง แอนติกาและบาร์บูดา เวียดนาม เมียนมา บังกลาเทศ ฮัชไมต์จอร์แดน ฟิลิปินส์ โดมินิกา และจีน และในครั้งนี้จะจัดทำข้อตกลงฯ เพิ่มเติมกับ 12 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงด้านการเดินเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศ
                   สาระสำคัญของร่างข้อตกลง มีรายละเอียดดังนี้
                   1. หน่วยงานที่มีอำนาจต้องรับรองว่าการฝึกอบรมและการประเมินความรู้ความสามารถของคนประจำเรือ และผู้ที่รับผิดชอบในการฝึกอบรม และการประเมินความรู้ความสามารถของคนประจำเรือ ดำเนินการโดยผู้ที่มีคุณวุฒิที่เหมาะสมและเป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ
                   2. ในกรณีที่ได้รับการร้องขอทางโทรสารหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากรัฐภาคีหนึ่ง ซึ่งได้รับคำขอให้ออกประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรของรัฐภาคีอื่น หน่วยงานรัฐภาคีอื่นต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและจัดส่งรายละเอียดของผู้ถือประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐของตนเองให้กับรัฐภาคีที่ร้องขอโดยทางโทรสาร หรือทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับการร้องขอ
                   3. หน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐภาคีต้องรับรองประกาศนียบัตรที่ออกให้แก่คนประจำเรือและบันทึกข้อมูลลงในระบบทะเบียนที่หน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการออกประกาศนียบัตรและสถานะของประกาศนียบัตรฉบับดังกล่าวได้
                   4. หากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของระบบการออกประกาศนียบัตรหรือระบบการฝึกอบรม หน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐภาคีมีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงให้อีกฝ่ายทราบถึงการเปลี่ยนแปลงให้อีกฝ่ายทราบถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวภายใน 60 วัน
                   5. รัฐภาคีอาจปฏิเสธไม่ออกประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรของรัฐภาคีอื่น หรือระงับ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรที่ออกโดยรัฐภาคีอื่นที่ออกไปแล้วได้ ในกรณีที่รัฐภาคีนั้นเห็นว่าผู้ขอรับหรือผู้ถือประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรของรัฐภาคีอื่นมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐภาคีนั้น ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวรัฐภาคีนั้นต้องแจ้งให้รัฐภาคีผู้ออกประกาศนียบัตรรับรองได้ทราบทางโทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ปฏิเสธหรือวันที่ระงับ ยกเลิก หรือเพิกถอนประกาศนียบัตรรับรองประกาศนียบัตรของรัฐภาคีอื่น
                   6. ข้อตกลงฯ มีอายุ 5 ปี นับจากวันลงนาม และจะมีการต่ออายุครั้งละ 5 ปี จนกว่าจะมีการแจ้งยกเลิกความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐภาคีฝ่าใดฝ่ายหนึ่งก่อนหน้าวันหมดอายุอย่างน้อย 6 เดือน
                   7. ข้อตกลงฯ กำหนดให้ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยประสานงาน และควบคุมดูแลในการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลง
 
20.  เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19
                             คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                             สาระสำคัญของเรื่อง
                             พณ. รายงานว่าการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสมัยพิเศษและการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) สมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 ซึ่งมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                             1. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19
                                      1.1 ประเด็นสถานการณ์โควิด-19 ในภูมิภาค ประเทศสมาชิกได้เน้นย้ำความสำคัญของ   การรักษาตลาดที่เปิดและไม่ใช้มาตรการจำกัดการค้าและการลงทุนโดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการรักษาห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งยืนยันที่จะลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปี 2563 โดยประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่าในการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและวางแผนฟื้นฟูในระยะยาวควรให้ความสำคัญกับ 3T คือ Technology Transparency และ Togetherness นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ได้รับทราบข้อเสนอของเลขาธิการอาเซียนในการจะนำประสบการณ์จากสถานการณ์โควิด-19 มาประกอบการพิจารณาทบทวนหรือปรับปรุงความตกลงทาง     การค้า สินค้าอาเซียน รวมทั้งความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาในอนาคตด้วย
                                      1.2 การรับรองแผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 โดยกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการเคลื่อนย้ายสินค้าที่จำเป็น โดยเฉพาะสินค้าทางการแพทย์และอาหารซึ่งต้องมีการอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อบรรเทาผลกระทบของการกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19
                             2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19
                                      2.1 การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยในส่วนของประเทศไทยแจ้งว่าปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศลดลง รัฐบาลจึงได้จัดทำมาตรการผ่อนปรนสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันในการสร้างเสถียรภาพและการฟื้นตัวให้กับห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค
                                      2.2 การรับรองถ้อยแถลงร่วมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสามว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เพื่อร่วมมือกันหาแนวทางการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด -19 โดยเน้นย้ำประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) รักษาตลาดที่เปิดก้าวสำหรับการค้าและการลงทุนเพื่อเสริมสร้างการฟื้นตัวและความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค (2) แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ (3) อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจในภูมิภาคตามนโยบายของแต่ละประเทศโดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุข (4) สนับสนุนภาคธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในการใช้เทคโนโลยี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (5) ฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านเวที RCEP โดยผลักดันการลงนามให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 ทั้งนี้คาดว่าสมาชิกอาเซียนบวกสามจะสามรถให้การรับรองแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 ในเดือนสิงหาคม 2563
                             3. การหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียและสภาธุรกิจร่วมเกี่ยวกับแผนรับมือกับโควิด-19 โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษระดับสูงด้วย          โควิด-19 เพื่อทำงานร่วมกับผู้แทนภาคเอกชนและจัดทำข้อเสนอแก่ผู้นำอาเซียนด้านการรับมือกับผลกระทบจาก โควิด-19 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน เดือนพฤศจิกายน 2563
 
21.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน – จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโควิด-19
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน – จีน สมัยพิเศษว่าด้วย  โควิด -19 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ด้วยระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมประชุม (คณะรัฐมนตรีมีติ 14 กรกฎาคม 2563 เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน – จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ราบรื่นเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 และการกระตุ้นเศรษฐกิจ) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                   สาระสำคัญการกล่าวถ้อยแถลงของรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน – จีน และเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับมาตรการด้านการขนส่งเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19)  โดยมีประเทศสมาชิก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเชีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                   โดยในส่วนมาตรการด้านการขนส่งเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของประเทศไทย ได้แก่ (1) ระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่จะบินเข้าไทย ยกเว้นเที่ยวบินให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การแพทย์ การขนส่งสิ่งของจำเป็น และอากาศยานขนส่งสินค้า (2) จำกัดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้าบริเวณจุดผ่านแดนของแต่ละจังหวัดชายแดน (3) อนุญาตเฉพาะเรือขนส่งสินค้าที่จำเป็น โดยเมื่อเสร็จสิ้นจะต้องออกจากท่าเรือของไทยทันที
                   ทั้งนี้ เลขาธิการอาเซียนได้กล่าวย้ำถึงผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการร่วมมือกันเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและแสวงหาความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาเพื่อบรรเทา ควบคุม และตอบสนองต่อผลกระทบของโควิด โดยเฉพาะภาคการขนส่งที่เป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว และแสดบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคต่อไป
 
22. เรื่อง รายงานสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา สมัยพิเศษ ว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อกลุ่มเปราะบางในอาเซียน ผ่านระบบ การประชุมทางไกล
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา สมัยพิเศษ ว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อกลุ่มเปราะบางในอาเซียน ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหัวหน้าผู้แทนไทย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 มิถุนายน 2563) เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อกลุ่มเปราะบางในอาเซียน] ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญรายงานสรุปผลการประชุมฯ ดังนี้
                             1. การรับรองและการเพิ่มเติมถ้อยคำในร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อกลุ่มเปราะบางในอาเซียน
                             2. ถ้อยแถลงในนามรัฐบาลไทยต่อที่ประชุมฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้กล่าวถึงมาตรการของรัฐบาลไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์                  ในการช่วยเหลือและเยียวยากลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้แก่ (1) มาตรการด้านการเงิน (2) มาตรการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย (3) มาตรการเชิงรุก และ (4) มาตรการความร่วมมือทางสังคม
                             3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมฯ
                                      (1) ประเทศไทยได้มีโอกาสนำเสนอความสำเร็จในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ บรรเทาผลกระทบ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
                                      (2) ในมิติด้านการผลักดันนโยบายระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้รับทราบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศสมาชิกอาเซียน และรัฐมนตรีอาเซียนฯ ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบทเรียนความสำเร็จจากแนวปฏิบัติที่ดีของมาตรการที่รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำมาใช้ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ข้อท้าทาย ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ประสบ
                   4. ประเด็นที่ประเทศไทยต้องไปดำเนินการต่อ (1) การส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้สาขาสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของไทย นำหลักการในถ้อยแถลงร่วมฯ ไปขับเคลื่อนสู่ระดับปฏิบัติ เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม (2) สนับสนุนการพัฒนาการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ของประเทศไทยในบริบทของการรับมือโรคระบาด (3) ส่งเสริมบทบาทและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
 
23. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับกระทรวงอาหารและเกษตรสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอาหารและเกษตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วย ความร่วมมือทวิภาคีด้านการเกษตร (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไปแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558   พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ลงนามในร่างปฏิญญาร่วม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
                    ร่างปฏิญญาร่วมฯ เป็นเอกสารที่กำหนดข้อตกลงในการให้ความร่วมมือระหว่างกันในกรอบกว้าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ ความชำนาญด้านเทคนิคและวิชาการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะมีการดำเนินโครงการร่วมกันเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ และพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรของไทยให้มีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินงานในเดือนกันยายน 2563 สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสองฝ่ายจะรับผิดชอบร่วมกัน
 
24. เรื่อง รายงานผลการเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองปีแห่งความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน-จีน ค.ศ. 2020 (The Opening Ceremony for ASEAN-China Year of Digital Economy Cooperation) ด้วยระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองปีแห่งความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน-จีน ค.ศ. 2020 ด้วยระบบวีดิทัศน์ทางไกล เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นภายใต้หัวข้อ “Combating COVID-19 through Joint Efforts, Embracing Cooperation through ICT and Digital Development” สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ ดังนี้
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. แนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล
                              1.1 เลขาธิการอาเซียนได้กล่าวถึงการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เช่นการจัดทำแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ปี 2020-2025 การพัฒนากรอบการดำเนินงานด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างการยกยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการก้าวสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4  พร้อมเสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมความร่วมมืออาเซียน-จีน ดังนี้
                                        1.1.1 จัดทำข้อริเริ่มใหม่ภายใต้ความร่วมมืออาเซียน-จีน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หลักของอาเซียน
                                        1.1.2 ผลักดันการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกของการไหลเวียนข้อมูลโดยอิสระและส่งเสริมความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภค
                                        1.1.3 พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของผู้มีส่วนได้เสียทั้งในภูมิภาคอาเซียนและจีน
                                        1.1.4 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
                                        1.1.5 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ความเชี่ยวชาญและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
                              1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนได้ย้ำว่าเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งได้เสนอทิศทางความร่วมมือในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด 6 ด้าน ดังนี้
                                        1.2.1 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
                                        1.2.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ
                                        1.2.3 สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล
                                        1.2.4 ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การใช้ประโยชน์จาก Big Data เทคโนโลยี Cloud Computing และ Blockchain
                                        1.2.5 กำกับดูแลโลกอินเทอร์เน็ต
                                        1.2.6 ยกระดับความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
                    ทั้งนี้ รัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกความเป็นหุ้นส่วนคู่เจรจาความร่วมมืออาเซียน-จีน ซึ่งจะส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการค้าและบริการดิจิทัล การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและการผลักดันการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบด้านดิจิทัล เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความท้าทายจากโรคอุบัติใหม่ รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
                    2. การกล่าวถ้อยแถลงของประเทศไทย    รัฐมนตรีว่าการกรทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้กล่าวถึงประสบการณ์การรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของไทยซึ่งให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล ภาคเอกชน และสาธารณชน เพื่อรับมือกับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จในสังคมออนไลน์ รวมทั้งได้สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยพัฒนาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับจัดเก็บข้อมูลและติดตามการเดินทางของประชาชนและผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เช่น แอปพลิเคชันไทยชนะและ AOT Airport เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามและแจ้งเตือนเพื่อพบข้อมูลผู้ติดเชื้อในพื้นที่หรือช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ ไทยได้ส่งเสริมการเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อส่งเสริมการทำงานจากที่บ้าน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชันและเครื่องมือทางดิจิทัลสำหรับการประชุมทางไกลเพื่อให้การดำเนินงานของทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
                    3. ความเห็นและข้อสังเกต การจัดงานในครั้งนี้มีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ โดยแสดงถึงการเพิ่มพูนความสัมพันธ์และสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาคอาเซียน-จีน รวมถึงการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินความร่วมมือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้มีผลเป็นรูปธรรม
 

แต่งตั้ง

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสมชัย   อัศวสุดสาคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวงให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  237/2563 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 161/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 นั้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550  มาตรา 11 มาตรา 12  มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 161/2562 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้

รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1    คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้
รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1    พลเอก ประวิตร             วงษ์สุวรรณ
1.2    นายวิษณุ                    เครืองาม
1.3    นายอนุทิน                  ชาญวีรกูล
1.4    นายจุรินทร์                 ลักษณวิศิษฏ์
1.5    นายดอน                    ปรมัตถ์วินัย
1.6    นายสุพัฒนพงษ์             พันธ์มีเชาว์
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

ส่วนที่  2     นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือพ้นจากตำแหน่ง ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
 

ลำดับที่ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามลำดับ
1 พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ 1.  นายสุพัฒนพงษ์   พันธ์มีเชาว์
2.  นายอนุทิน         ชาญวีรกูล
2 นายวิษณุ           เครืองาม 1.  นายอนุทิน         ชาญวีรกูล
2.  นายจุรินทร์        ลักษณวิศิษฏ์
3 นายอนุทิน         ชาญวีรกูล 1.  นายดอน           ปรมัตถ์วินัย
2.  นายสุพัฒนพงษ์   พันธ์มีเชาว์
4 นายจุรินทร์        ลักษณวิศิษฏ์ 1.  พลเอก ประวิตร   วงษ์สุวรรณ
2.  นายดอน           ปรมัตถ์วินัย
5 นายดอน           ปรมัตถ์วินัย 1.  นายวิษณุ          เครืองาม
2.  นายสุพัฒนพงษ์   พันธ์มีเชาว์
6 นายสุพัฒนพงษ์   พันธ์มีเชาว์ 1.  นายจุรินทร์        ลักษณวิศิษฏ์
2.  นายวิษณุ          เครืองาม

                                     
ส่วนที่  3  นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี กรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                   ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มี
ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
 

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามลำดับ
 นายอนุชา         นาคาศัย 1. นายวิษณุ           เครืองาม
2. พลเอก ประวิตร   วงษ์สุวรรณ

 
                   ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่  13 สิงหาคม  พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
27. เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่  238/2563 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 196/2562 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2562 และ ที่ 382/2562 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ที่ 196/2562 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2562 และ ที่ 382/2562 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
 
ส่วนที่ 1  นิยาม
                   ในคำสั่งนี้
                   “กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า  กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
                   “สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งหรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
                   “กำกับดูแล”  หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
 
ส่วนที่ 2
1.    รองนายกรัฐมนตรี  (พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ)
1.1     การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1      กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1.1.2      กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   
1.1.3      กระทรวงมหาดไทย
1.1.4      กระทรวงแรงงาน  
1.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
-           สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.3   การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
1.3.1      สำนักข่าวกรองแห่งชาติ                                 
1.3.2      สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.3.3      ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้         
1.4   การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชน ดังนี้
 -           สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
1.5  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 – ข้อ 1.4  ยกเว้น
 1.5.1      เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.5.2      การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.5.3         การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.5.4      การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.5.5      การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.5.6      การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.5.7         เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
 
 
ส่วนที่ 3
2.    รองนายกรัฐมนตรี  (นายวิษณุ  เครืองาม)
2.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1.1      กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
2.1.2      กระทรวงวัฒนธรรม
2.1.3      กระทรวงศึกษาธิการ
2.1.4      กระทรวงอุตสาหกรรม
2.1.5      กรมประชาสัมพันธ์
2.1.6      สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
2.1.7      สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
2.1.8      สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
2.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
2.2.1      สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2.2.2      สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2.2.3      สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2.2.4      สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.2.5      สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.2.6      สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
2.2.7      สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
2.3   การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
2.4  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 - ข้อ 2.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 –
ข้อ 1.5.7
 
ส่วนที่ 4
3.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
3.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.1.1      กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
3.1.2      กระทรวงคมนาคม 
3.1.3      กระทรวงสาธารณสุข       
3.2   การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
3.2.1      สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
3.2.2      สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)            
3.3   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 - ข้อ 3.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี
ในข้อ
1.5.1 - ข้อ 1.5.7
 
ส่วนที่ 5
4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์)
4.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.1.1      กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   
4.1.2      กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1.3      กระทรวงพาณิชย์
4.2  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7
 
ส่วนที่ 6
5.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายดอน   ปรมัตถ์วินัย)
5.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.1.1      กระทรวงการต่างประเทศ 
5.1.2      กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม       
5.2  การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
5.2.1      สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
5.2.2      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
5.3   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 – ข้อ 5.2 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี
ในข้อ
1.5.1 - ข้อ 1.5.7
 
ส่วนที่ 7
 6.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์)
6.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.1.1      กระทรวงการคลัง
6.1.2       กระทรวงพลังงาน 
6.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่ง
และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

6.2.1      สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6.2.2      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
6.3  การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
6.3.1      สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.3.2      สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
6.3.3      สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)       
6.3.4      สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
6.4   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 6.1 – ข้อ 6.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณี
ในข้อ
1.5.1 - ข้อ 1.5.7
 
 ส่วนที่ 8
7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายอนุชา  นาคาศัย)
7.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
7.1.1     กรมประชาสัมพันธ์
7.1.2     สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
7.1.3     สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
7.1.4     สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
  7.2   การมอบหมายให้กำกับรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
-           บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
7.3    การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
7.3.1      สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
7.3.2      สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
7.3.3      สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
                                                   
ส่วนที่ 9
 8.   รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ  ดังนี้
8.1    การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
8.2        การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น
ป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
8.3    การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
8.4    การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
9.   รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการ
ในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
10.    ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ  เครืองาม) เป็นประธาน
11.    ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
12.    เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
13.    ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้
รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  13 สิงหาคม  พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
28. เรื่อง การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 239/2563 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 182/2562 ลงวันที่ 13
สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 และ ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12  พฤษภาคม 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 1/2563 ลงวันที่ 2 มกราคม 2563 และ ที่ 39/2563 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น                 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ที่ 182/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ที่ 1/2563 ลงวันที่
2 มกราคม 2563 ที่ 39/2563 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 และ ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ส่วนที่ 1
1.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ)
1.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1      คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.1.2      คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.1.3      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  
1.1.4      คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก  
1.1.5      คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
1.1.6      คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
1.1.7      คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
1.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1      คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.2.2      คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
 
ส่วนที่ 2
 2.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายวิษณุ  เครืองาม)
 2.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรี
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

2.1.1      คณะกรรมการกฤษฎีกา
2.1.2      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
2.1.3      คณะกรรมการคดีพิเศษ
2.1.4      คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
2.1.5      คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2.1.6      สภาลูกเสือไทย    
2.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 
2.2.1      คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
2.2.2      คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ
2.2.3      คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ 
2.2.4      คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
 
ส่วนที่ 3
3.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
3.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.1.1  คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
3.1.2  คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
3.1.3  คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
3.1.4  คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
3.1.5  คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
3.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 
-           คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
 
ส่วนที่ 4
 4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์)
4.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1      คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
4.1.2      คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
4.1.3      คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
4.1.4      คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
4.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 
4.2.1      คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
4.2.2      คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
4.2.3      คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
 
ส่วนที่ 5
 5.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายดอน   ปรมัตถ์วินัย)
5.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
5.1.1      คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
5.1.2      สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
5.1.3      คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
5.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
 5.2.1      คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
5.2.2      คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
 
ส่วนที่ 6
6.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์)
6.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
6.1.1      คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
6.1.2      คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน     
6.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1      คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
6.2.2         คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ
ของประเทศ
6.2.3      คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
 
ส่วนที่ 7
7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายอนุชา  นาคาศัย)
-      การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-          คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนที่ 8
 8.     เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
9.    ให้รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
ในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสม
ในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และ
การบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
10.  ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น
ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  13 สิงหาคม  พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
29. เรื่อง  การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 182/2562
ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 และ ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 342/2562
ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ 196/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และ ที่ 214/2563 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ที่ 182/2562  ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ 207/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ที่ 342/2562 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ 129/2563 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ที่ 196/2563  ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และ ที่ 214/2563 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
 
ส่วนที่ 1
 
1.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ)
1.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

1.1.1      คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
1.1.2      คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
1.1.3      คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
1.1.4      คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
1.1.5      คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
1.1.6      คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
1.1.7      คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
1.1.8      คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน
1.1.9      คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
1.1.10    คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
1.1.11    คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
1.1.12    คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
 
 1.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ            
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

1.2.1      รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.2.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
1.2.3      รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
1.2.4      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.2.5      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
 
1.3    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
1.3.1      คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.3.2      คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
1.3.3      คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย
1.3.4       คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย
1.3.5      คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.3.6      คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
1.3.7      คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
1.3.8      คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 
1.3.9      คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
1.3.10    คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
1.3.11    คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
1.3.12    คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  
1.3.13    คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
1.3.14    คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
1.3.15    คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
1.3.16    คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
1.3.17    คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
1.3.18    คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
1.3.19    คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
1.3.20    คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ  
1.3.21    คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
1.3.22    คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
 
1.4    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ      
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

-           กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค       
 
ส่วนที่ 2
2.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายวิษณุ  เครืองาม)
2.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  
ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

2.1.1      คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.1.2      คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.1.3      คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.1.4      คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
2.1.5      คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
2.1.6      คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
2.1.7      คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
2.1.8      คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
2.1.9      คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2.1.10    คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา       
2.1.11     คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
2.1.12       คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
 
2.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
2.2.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ 
2.2.2      รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 
2.2.3     กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ  
           
2.3    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ    ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้ 
2.3.1      คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
 2.3.2      คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
2.3.3      คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน
2.3.4      คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
2.3.5      คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
2.3.6      คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม
2.3.7      คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ       
2.3.8      คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
2.3.9      คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
2.3.10    คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
 
2.4    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
2.4.1      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
2.4.2      กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
 
ส่วนที่ 3
3.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล)
3.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.1.1      คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
3.1.2      คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
3.1.3  คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
3.1.4  คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
3.1.5  คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ        
 3.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
3.2.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
3.2.2      อุปนายกสภาลูกเสือไทย                                                  
3.2.3      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
 
3.3    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
3.3.1      คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
3.3.2      คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
3.4    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ      
ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

3.4.1      รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
3.4.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
3.4.3       รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ                                                       
3.4.4        กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
3.4.5      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
3.4.6      กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
 
ส่วนที่ 4
4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์)
4.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
4.1.1      คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
4.1.2      คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ 
4.1.3      คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
4.1.4        คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
4.1.5      คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
           
4.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
4.2.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  
4.2.2      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4.2.3      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ  
 
4.3    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ  ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
4.3.1      คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
4.3.2      คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
4.3.3      คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
4.3.4      คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
4.3.5      คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
 
4.4    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
4.4.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
4.4.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
4.4.3      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
4.4.4      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
4.4.5      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
4.4.6      กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
 
ส่วนที่ 5
5.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายดอน  ปรมัตถ์วินัย)
5.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้      
5.1.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
5.1.2         กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
5.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
5.2.1      คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
5.2.2      คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
5.2.3      คณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้
5.2.4      คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
5.3      การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
5.3.1      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
5.3.2      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
5.3.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
5.3.4      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
5.3.5      กรรมการในคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค
 
ส่วนที่ 6
 6.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์)
6.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
6.1.1      คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
6.1.2      คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
6.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้      
6.2.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
6.2.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
6.2.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
6.2.4      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
6.2.5      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.3    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
6.3.1      คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ
6.3.2      คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
6.3.3      คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
6.3.4      คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
                        
ส่วนที่ 7
7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายอนุชา  นาคาศัย)
7.1    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
-           คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ                                
7.2    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
7.2.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
7.2.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
7.2.3      กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.2.4      กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
7.2.5      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ   
7.2.6      กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
        
7.3    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ   ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 
7.3.1      คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี        
7.3.2      คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
7.3.3      คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

7.4    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
7.4.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
7.4.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
7.4.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
7.4.4      รองประธานกรรมการคนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
7.4.5      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
7.4.6      รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7.4.7      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ           
7.4.8      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
7.4.9      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
7.4.10    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
7.4.11    กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
7.4.12    กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                      
ส่วนที่ 8
 
8.     เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
9.     ให้รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสม
ในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่นหรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวโดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้งการไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันและการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
                             ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  13 สิงหาคม  พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
30. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 241/2563 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 นั้น  
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2562 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1.  พื้นที่

1.1  รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี  จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
2) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
3) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
4) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
1.2  รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ  เครืองาม) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม
และจังหวัดสมุทรสาคร
2) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา      
3) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
 
1.3  รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน  ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี      
2) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด    
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
3) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน

1.4  รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้

  1) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
 2) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี
และจังหวัดสระแก้ว
3) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ
และจังหวัดอุบลราชธานี
1.5  รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน  ปรมัตถ์วินัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด 
                                    2) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
                            1.6  รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์) กำกับและติดตาม
การปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด                ภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
2) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง  
                                    3) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย                    จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
                   2.  การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ             การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
                   3.  ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
                   4.  ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี
ติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
                   5.  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย  
                   6.  ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
                   ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  13 สิงหาคม  พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
                           

31. เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 242 /2563 เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันโดยที่การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นสิ่งที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการอยู่แล้วตามกรอบอำนาจในกฎหมาย กำลังงบประมาณความพร้อมของบุคลากร และความต้องการของประชาชน แต่เนื่องจากต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด – 19) เมื่อปลาย พ.ศ. 2562    ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อชีวิต และสุขภาพอนามัยของผู้คนทั่วโลกเกือบ 20 ล้านคนแล้ว ยังเชื่อมโยงไปกระทบถึงการประกอบอาชีพการงาน และการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ไม่ได้เจ็บป่วยจากโรคระบาดดังกล่าวอย่างกว้างขวางอีกด้วยแม้ประเทศไทยจะบริหารจัดการในส่วนของระบบสาธารณสุขได้ผลดีเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ แต่ก็ได้รับผลกระทบที่แผ่ขยายและเชื่อมโยงไปถึงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และไม่เคยปรากฏมาก่อนทั้งในภาพรวมของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชนในสังคมเมืองและสังคมชนบทเป็นรายบุคคล นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับความทุกข์ยากเพิ่มขึ้นจากความลำบากยากจนหรือการป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บอื่นอยู่ก่อนแล้ว การเข้าไม่ถึงบริการความช่วยเหลือจากรัฐ การประสบภัยธรรมชาติ หรือการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นจึงสมควรจัดให้มีการติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับพื้นที่โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่แต่ละจังหวัดอย่างเป็นระบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.   ให้มีคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันโดยมีองค์ประกอบ
หน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1.1    องค์ประกอบ
(1)    นายกรัฐมนตรี                                         ประธานกรรมการ
(2)    รองนายกรัฐมนตรี                                     กรรมการ
(3)    รัฐมนตรีทุกคน                                        กรรมการ
(4)    ปลัดกระทรวงมหาดไทย                              กรรมการและเลขานุการร่วม
(5)    ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                       กรรมการและเลขานุการร่วม
(6)    เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ      กรรมการ และเลขานุการร่วม
ให้เลขานุการร่วมแต่งตั้งข้าราชการจำนวนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น
ในกรณีมีปัญหาหรือข้อพิจารณาเกี่ยวกับพื้นที่ใดเป็นการเฉพาะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการอาจเรียกประชุมเฉพาะรองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง รัฐมนตรีที่มอบหมายให้รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดที่เกี่ยวข้องและกรรมการและเลขานุการร่วมก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่ามติคณะกรรมการในวรรคนี้เป็นมติคณะกรรมการอำนวยการแนวคิดขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และให้เลขานุการรายงานคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อทราบในการประชุมครั้งต่อไป
1.2    หน้าที่และอำนาจ
กำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์
2.   ในระดับพื้นที่เขตตรวจราชการ ให้รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเป็นผู้รับผิดชอบแนวคิดขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในเขตตรวจราชการ
ที่เกี่ยวข้อง
3.   ในระดับพื้นที่จังหวัด นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รัฐมนตรีคนหนึ่งรับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัดตามที่กำหนดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคำสั่งนี้

การรับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัด หมายถึงการให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดตามข้อ 4 การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการดังกล่าวและการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่เกินศักยภาพของคณะกรรมการนั้นตามที่คณะกรรมการรายงานให้ทราบ ทั้งนี้
ในกรณีเป็นเรื่องที่สำคัญให้รัฐมนตรีแจ้งปัญหาหรือผลการดำเนินการด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรให้รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่เกี่ยวข้องทราบและหากเห็นว่าเป็นเรื่องนโยบาย เรื่องเกินศักยภาพของหน่วยงาน เรื่องที่ควรใช้เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาในจังหวัดอื่น หรือเป็นเรื่องที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงในอนาคตให้รายงานนายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการอำนวยการตามข้อ 1 วรรคหนึ่งหรือวรรคสามแล้วแต่กรณีให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยในการติดตาม รับฟังและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบได้
4.   ให้มี คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดในแต่ละจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร โดยมีองค์ประกอบหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
4.1    องค์ประกอบ
(1)    ผู้ว่าราชการจังหวัด                                    ประธานกรรมการ
(2)    รองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน                         กรรมการ
(3)    ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด                        กรรมการ
(4)    รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด     กรรมการ
(5)    ผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดจำนวนไม่เกิน4 คน     กรรมการ
(6)    ผู้แทนหน่วยทหารในจังหวัดจำนวน 1 คน           กรรมการ
(7)    ผู้แทนรัฐวิสาหกิจในจังหวัดจำนวน 1 คน            กรรมการ
(8)    ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 1 คน      กรรมการ
(9)    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดจำนวนไม่เกิน 2 คน   กรรมการ
(10)   ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดจำนวน 1 คน     กรรมการ
(11)   ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในจังหวัดจำนวน 1 คน  กรรมการ
(12)  ผู้แทนภาคประชาชนหรือประชาสังคมในจังหวัดจำนวน 1 คน    กรรมการ
(13)   ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านในจังหวัดจำนวน 1 คน  กรรมการ
(14)   ผู้แทนคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด   จำนวน 1 คน  กรรมการ
(15)   ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ อันจะยังประโยชน์แก่การพัฒนาและการแก้ปัญหาในจังหวัดจำนวนไม่เกิน 3 คน กรรมการ
(16)   ปลัดจังหวัด  กรรมการและเลขานุการร่วม
(17) หัวหน้าสำนักงานจังหวัด  กรรมการและเลขานุการร่วม
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานตาม (5) ถึง (14) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานขอคำแนะนำรายชื่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรืออาจแต่งตั้งตามที่เห็นสมควรรวมทั้งการปรับปรุงรายชื่อ   ตามความเหมาะสมโดยกรรมการผู้นั้นต้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานหรือมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ในกรณีที่จังหวัดใดไม่มีหน่วยงานตามที่กำหนดหรือกรรมการว่างลงหรือยังไม่อาจแต่งตั้งกรรมการในลำดับใดให้ครบจำนวนได้ ให้กรรมการเท่าที่มีอยู่เป็นคณะกรรมการตามข้อนี้
4.2    หน้าที่และอำนาจ
(1)    ติดตาม รับฟัง และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนในจังหวัด และจัดให้มีการตอบสนองความต้องการของประชาชนในจังหวัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และรวดเร็ว
ทันเหตุการณ์ในกรณีที่เกินขีดความสามารถหรือศักยภาพของจังหวัด ให้รายงานรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่จังหวัด
(2)    บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ
เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดชีวิตวิถีใหม่และการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน
(3)    สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้เห็นความจำเป็นในการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ การสร้างความสามัคคีปรองดอง รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความสำคัญของสถาบันหลักของชาติในฐานะศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
(4)    ประสานการปฏิบัติและติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชน
(5)    รายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทยทราบเป็นระยะตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
(6)    ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดมอบหมาย
4.3    ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดแล้วส่งสำเนาคำสั่งให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเพื่อรายงานนายกรัฐมนตรีผ่านรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
4.4    ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหารือกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน
5.   ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัดคณะแรก
ให้แล้วเสร็จและจัดให้มีการประชุมครั้งแรกภายใน 30 วันโดยกำหนดประเด็นกลุ่มปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนหรือความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด แนวทาง แผนและขั้นตอนการดำเนินการ ขีดความสามารถของจังหวัด และแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันและการระดมทรัพยากรของภาคส่วนต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหา

ในการดำเนินการของคณะกรรมการดังกล่าว ให้คำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ความเร่งด่วนของปัญหา ความต้องการของประชาชน และข้อเสนอแนะของสมาชิกรัฐสภาด้วย

ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการทุกกระทรวงในเขตพื้นที่ตรวจราชการที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และประสานงานกับหน่วยราชการที่ตนสังกัดเพื่อช่วยในการสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับจังหวัดได้
6.   สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยเบิกจ่ายจากกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  13 สิงหาคม  พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
32. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง  การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เเละเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดทั้งการปิดสถานที่และการจำกัดการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชั่วคราวโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563  แม้ว่าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดภายในประเทศได้ ทำให้สามารถเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและการปิดสถานที่ต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มค่อย ๆ กลับมาฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในหลายสาขายังคงได้รับผลกระทบรุนแรงโดยเฉพาะสาขาท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้             การลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการจ้างงาน ดังจะเห็นได้จากแรงงานบางกลุ่มที่ถูกเลิกจ้างและแรงงานอีกจำนวนมากที่มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างในระยะต่อไปหากสถานการณ์ศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างล่าช้า ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาทางศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และสามารถบรรเทาผลกระทบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐและภาคเอกชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534  นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
1. ให้จัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19)” เรียกโดยย่อว่า “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ” ขึ้นในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ในทำเนียบรัฐบาลหรืสถานที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
2. แต่งตั้ง "คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
2.1 องค์ประกอบ
(1) นายกรัฐมนตรี                                                 ประธานกรรมการ
(2) รองนายกรัฐมนตรี                                             กรรมการ
 (3) รัฐมนตรีว่การกระทรวงการคลัง                              กรรมการ
(4) รัฐมนตรีว่การกระทรวงการต่างประเทศ                     กรรมการ
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา            กรรมการ
(6) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                กรรมการ
(7) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม                           กรรมการ
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อศรษฐกิจและสังคม     กรรมการ
(9) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์                            กรรมการ
(10) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                         กรรมการ                                                
(11) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน                           กรรมการ
(12) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม                     กรรมการ
(13) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                    กรรมการ
(14) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย                          กรรมการ
(15) ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย                      กรรมการ
(16) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย                  กรรมการ
(17) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย                                   กรรมการ
(18) นายกานต์ คฤหเดช                                          กรรมการ
(19) นายชาติศิริ โสภณพนิช                                     กรรมการ
(20) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร                                    กรรมการ
(21) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    กรรมการและเลขานุการ
(22) รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย   กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2.2 หน้าที่และอำนาจ
(1) จัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็นสองระยะ ประกอบด้วย (1.1) ระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (1.2) ระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อยกระดับศักยภาพและวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตภายหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง
(2) สั่งการส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชน ให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่กำหนด
(3) กำกับดูแล ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ
(4) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชน โดยประธานกรรมการอาจมอบหมายผู้ที่เหมาะสมทำหน้าที่ผู้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ในนามของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ
(5) จัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ ให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการตามที่เห็นสมควร
(6) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
(7) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุมชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร หรือขอเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามคำสั่งนี้
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
2.3 เพื่อให้มีโครงสร้างและกลไกการบริหารเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ และให้มีคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย
(1) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อยและขนาดย่อม จัดทำรายละเอียดข้อเสนอแนะและแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน เร่งรัดการลงทุนและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(2) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อจัดทำรายละเอียดข้อเสนอแนะและแนวทางการดำเนินมาตรการในระยะยาว เพื่อยกระดับศักยภาพและวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตภายหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง
(3) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อสนับสนุนด้านข้อมูลและรายละเอียดข้อเสนอแนะมาตรการเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 หรือตามระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 27/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นั้น
เพื่อขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเร่งรัดติดตามการดำเนินมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2.2 (6) และข้อ 2.3 ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
                   1. องค์ประกอบ
                             1.1 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร                                    ประธานกรรมการ
                             1.2 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                             กรรมการ
                             1.3 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน                กรรมการ
                             1.4 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี                                     กรรมการ
                             1.5 เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ         กรรมการ
                             1.6 ปลัดกระทรวงการคลัง                                      กรรมการ
                             1.7 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                             กรรมการ
                             1.8 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                       กรรมการ
                             1.9 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                          กรรมการ
                             1.10 ปลัดกระทรวงคมนาคม                                    กรรมการ
                             1.11 ปลัดกระทรวงพาณิชย์                                     กรรมการ
                             1.12 ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                   กรรมการ
                             1.13 ปลัดกระทรวงแรงงาน                                     กรรมการ
                             1.14 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม                               กรรมการ
                             1.15 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย                         กรรมการ
                             1.16 รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ        กรรมการ
                             ที่ได้รับมอบหมาย                                                และเลขานุการ
                             1.17 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรรมการ
                                                                                                และผู้ช่วยเลขานุการ
                             1.18 ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย                           กรรมการ
                                                                                                และผู้ช่วยเลขานุการ
                   2. หน้าที่และอำนาจ
                             2.1 ขับเคลื่อนและเร่งรัดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับนโยบาย แนวทาง และมาตรการรัฐบาลไปปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลบรรลุผลสำเร็จ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล
                             2.2 กลั่นกรองและเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจถึงแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้กรอบการบริหารเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
                             2.3 ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการตามกรอบการบริหารเศรษฐกิจ และรายงานเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ
                             2.4 ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์การต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ หน่วยงานหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ส่งเอกสาร ข้อมูล ให้ความเห็น หรือ การอื่นใดที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ
                             2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                             2.6 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจมอบหมาย
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป          
 
33. เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เสนอให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน 14 ราย ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งหนึ่งปี โดยลำดับที่ 1 - 4 ในวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ลำดับที่ 5 – 10 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2563 และลำดับที่ 11 – 14 ในวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ ดังนี้  
                   1. นายประสาน หวังรัตนปราณี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                   2. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ
                   3. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                   4. นายนพดล พลเสน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                   5. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                   6. นายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                   7. นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม
                   8. นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์
                   9. นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม
                   10. นายสำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข
                   11. นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                   12. พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย
                   13. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม
                   14. นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม
                   ทั้งนี้ ลำดับที่ 1 - 4 ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2563 ลำดับที่ 5 – 10 ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2563 และลำดับที่ 11 – 14 ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2563
 
34. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครั้งที่ 2)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
 
35. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2563 ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ตามที่สำนักงาน กปร. เสนอ
 
36. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา แทนตำแหน่งที่ว่าง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายประยูร ดำรงชิตานนท์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา แทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดี      (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
38. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้  
                   1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
                             1) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
                             2) นายวิษณุ เครืองาม
                             3) นายอนุทิน ชาญวีรกูล
                             4) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
                             5) นายดอน ปรมัตถ์วินัย
                             6) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
                   2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
 
 
 
 
..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: