101 อาจารย์นิติศาสตร์ เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

กองบรรณาธิการ TCIJ 16 ต.ค. 2563 | อ่านแล้ว 4130 ครั้ง

101 อาจารย์นิติศาสตร์ เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

อาจารย์นิติศาสตร์ 101 คน ออกแถลงการณ์ เรื่อง เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชี้ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดจึงไม่เพียงแต่เป็นการพรากสิทธิและเสรีภาพที่พลเมืองพึงมีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำลายหลักการพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย

16 ต.ค. 2563 อาจารย์นิติศาสตร์ 101 คน ออกแถลงการณ์ เรื่อง เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2563 จากสถานการณ์การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมของประชาชนจนนำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 15 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมานั้น คณาจารย์ผู้สอนกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ ดังรายนามแนบท้ายนี้ มีความเห็นต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวข้างต้น ดังนี้

1.ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ดังนั้น การคุ้มครองและส่งเสริมการใช้สิทธิและเสรีภาพจึงเป็นหน้าที่ร่วมกันของฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐบาล ศาล และทุกภาคส่วนของสังคม

2.เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญและตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วรัฐต้องให้การคุ้มครองการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเป็นหลัก การจำกัดเสรีภาพเป็นเพียงข้อยกเว้นเท่านั้น

3.การชุมนุมโดยสงบตามหลักสากล หมายถึง การชุมนุมที่ผู้ชุมนุมไม่ดำเนินการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงซึ่งจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อื่น รัฐจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าการชุมนุมหนึ่ง ๆ นั้นจะดำเนินไปโดยสันติและเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องพิสูจน์ว่าผู้ชุมนุมจะก่อหรือได้ก่อความไม่สงบอย่างไร

4.รัฐจะต้องยึดมั่นในหลักนิติธรรม หลักความได้สัดส่วน และการเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ดังนั้น มาตรการใด ๆ ที่รัฐพึงใช้เพื่อจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองต้องมีความได้สัดส่วน กำหนดวัตถุประสงค์โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดเจน และใช้มาตรการเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อบรรลุ วัถตุประสงค์ดังกล่าวเท่านั้น

5.การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตาม มาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น กฎหมายได้วางเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่อาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อใช้กับสถานการณ์ที่ยังอยู่ในวิสัยที่รัฐใช้กฎหมายระดับปรกติแก้ไขได้

6.การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดจึงไม่เพียงแต่เป็นการพรากสิทธิและเสรีภาพที่พลเมืองพึงมีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำลายหลักการพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย

ด้วยเหตุนี้ คณาจารย์นิติศาสตร์ ดังมีรายนามต่อไปนี้ จึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์

16 ต.ค. 2563

1. พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. ณัฏฐพร รอดเจริญ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
9. คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11. สุนิสา อิทธิชัยโย ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12. พัชราภรณ์ ตฤณวุฒิพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. นพดล เดชสมบูรณ์รัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14. เมษปิติ พูลสวัสดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15. สุประวีณ์ อาสนศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17. พลอยแก้ว โปราณานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18. ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช มหาวิทยาลัยบูรพา
20. เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21. อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
23. ภัทรพงษ์ แสงไกร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24. ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. ว่องวิช ขวัญพัทลุง คณะนิติศาสตร์ มหาลัยสงขลานครินทร์
27. ศุภกร ชมศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
28. ศุภวัชร์ มาลานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
29. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30. สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
31. ประลอง ศิริภูล ภาควิชานิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
32. ฉัตรดนัย สมานพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. มุกกระจ่าง จรณี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
35. เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
36. นพร โพธิ์พัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. ประพัฒน์พงศ์ ปรีชา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
38. ปัฐมาภรณ์ สินทรัพย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
39. ณัฐ สุขเวชชวรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
40. กรัณย์ กาญจนรินทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
41. อชิชญา อ๊อตวงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
42. คนึงนิจ ขาวแสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. วรุตม์ ทรงสุจริตกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
44. นพดล นิ่มหนู คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
45. ปทิตตา ไชยปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
46. กนกนัย ถาวรพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
47. ปวีร์ เจนวีระนนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
49. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
50. สุธี โนวาง อดีตหัวหน้าสาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
51. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
52. กีระเกียรติ พระทัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
53. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
54. สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
56. วีระยุทธ หอมชื่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
57. วิทูรย์ ตลุดกำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
58. อภินพ อติพิบูลย์สิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
59. อุดม งามเมืองสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
60. ไพรัช ธีระชัยมหิทธิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
61. ปรีญาภรณ์ อุบลสวัสดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
62. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
63. ผจญ คงเมือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
64. พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
65. คณิน วงศ์ใหญ่ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยบูรพา
66. ภาคภูมิ โลหวริตานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
67. ธนรัตน์ มังคุด หลักสูตรนิติศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
68. ภคนัช สุทเธนทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
69. ขรรค์เพชร ชายทวีป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
70. วริษา องสุพันธ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
71. สมศักดิ์ แนบกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
72. เจนพล ทองยืน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
73. อารยา ชินวรโกมล หลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
74. สุรศักดิ์ บุญเรือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75. จารุประภา รักพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
76. กิตติภพ วังคำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
77. สุรพี โพธิสาราช สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
78. นฤมล ฐานิสโร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
79. ปพนธีร์ ธีระพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
80. ธีรยุทธ ปักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
81. กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82. ณัฐดนัย นาจันทร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
83. กิตติยา พรหมจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
84. กรรณภัทร ชิตวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
85. ศุภวีร์ เกลี้ยงจันทร์ คณะนิติศาสาตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
86. ฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
87. ริญญาภัทร์ ณ สงขลา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
88. นิรมัย พิศแข มั่นจิตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
89. ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
90. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
91. อจิรวดี เหลาอ่อน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
92. ชลวิทย์ โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
93. เจษฎา ทองขาว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
94. ศักดิ์ชาย จินะวงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
95. อาจารย์มาติกา วินิจสร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
96. จิรวัธ ศิริศักดิ์สมบูรณ์ ภาควิชานิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
97. สหรัฐ โนทะยะ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
98. ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
99. อสรรค์ชัย ชญานิน คณะสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
100. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
101. อุษณีย์ เอมศิรานันท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: