สหภาพองค์การเภสัชฯ ห่วงไทยเข้าร่วม CPTPP กระทบวงกว้าง

กองบรรณาธิการ TCIJ 18 มิ.ย. 2563 | อ่านแล้ว 2734 ครั้ง

สหภาพองค์การเภสัชฯ ห่วงไทยเข้าร่วม CPTPP กระทบวงกว้าง

สื่อ 'Hfocus' รายงาน 'สหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม' ห่วงไทยเข้าร่วม CPTPP กระทบวงกว้าง ผู้ป่วยยาจำเป็น -ยากำพร้า 19 รายการกระทบแน่ ยาราคาถูกคุณภาพดีถูกตีกรอบจากข้อตกลง พร้อมจับตาค้านเข้าร่วม เพื่อความมั่นคงทางยา

Hfocus รายงานเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2563 ว่าความคืบหน้ากรณีกระแสคัดค้านการเสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วมข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ล่าสุดนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกรัฐบาล แถลงผลประชุม ครม.เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) หากต้องมีการลงนาม โดยนายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลจะเจรจา เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ และหากเจรจาแล้วไม่ได้ผลตามที่ต้องการของรัฐบาล ก็จะไม่ลงนามในข้อตกลงอย่างแน่นอน จนทำให้เอฟทีเอ ว็อทช์ (FTA Watch) ฝากคำถามผ่านสาธารณะขอความชัดเจน กรณี คำพูด “พล.อ.ประยุทธ์” แสดงว่าเดินหน้าเรื่องนี้หรือไม่นั้น

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 63 นางอารยา แก้วประดับ ประธานสหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ก่อนหน้านี้ ทางสหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ยกเลิกการเข้าร่วมการเจรจาเป็นภาคีข้อตกลง CPTPP เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ยิ่งในการเรื่องการเข้าถึงยา จะทำให้ประชาชนเสียโอกาสเข้าถึงยาราคาถูกแต่มีคุณภาพดี

ประธานสหภาพฯ กล่าวอีกว่า หากเข้าร่วม CPTPP ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ประชาชนขาดโอกาสเข้าถึงยา ยิ่ง “ยากำพร้า” เป็นยาจำเป็นที่มีอัตราการใช้ต่ำ ผู้ป่วยไม่มากแต่จำเป็นต้องมี แม้มีผู้ป่วยแค่ 1 คน องค์การฯ ก็ต้องผลิต แต่หากเราเข้าไปเป็นสมาชิก CPTPP ในอนาคตจะถูกข้อจำกัดมากมาย และส่งผลกระทบต่อการผลิตในอนาคต ไม่เพียงยากำพร้า อย่างกรณีในอดีตที่ผ่านมาการทำซีแอลยา หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ซึ่งหากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนว่า ยาในประเทศไม่เพียงพอ หรือเกิดวิกฤตโรคระบาดใหญ่ อภ. สามารถใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรได้ แต่หากเราเข้า CPTPP จะไม่สามารถใช้สิทธิซีแอลได้อีก ซึ่งตรงนี้อันตราย เพราะที่ผ่านมาเราเคยทำซีแอลทั้งยาต้านไวรัสเอชไอวี ยามะเร็ง ยาหัวใจ ซึ่งก่อประโยชน์ให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ ประเด็นนี้เป็นข้อห่วงใยของคุณหมอหลายคนมาก ทำให้เราขาดโอกาสใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา

“ การเข้าร่วม CPTPP ยังมีการเปิดโอกาสให้บริษัทยาต่างชาติเข้ามาแข่งขัน อย่างประเทศสมาชิก CPTPP ที่ปัจจุบันมี 11 ประเทศก็จะสามารถเข้ามาขายยาในประเทศไทย หากเราเข้าร่วมเป็นสมาชิก เรียกว่าเปิดกว้าง แต่ถามว่า การผลิตยาของ อภ. ต่ำกว่าราคาทุน เพื่อให้พี่น้องคนไทยได้เข้าถึงยา ซึ่งหากธุรกิจยาต่างชาติเข้ามาจะไม่ได้กระทบแค่ อภ. แต่หลายบริษัทยาในไทยที่เป็นเอกชนจะตายหมด แม้บอกว่าเปิดเสรี แต่บริษัทไทยเองจะแย่ เราจะไม่สามารถพึ่งพาตนเอง สูญเสียความมั่นคงทางยาของประเทศ ทั้งที่ยาเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต” นางอารยา กล่าว และว่า นอกจากนี้ จะกระทบชัดๆ คือ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อย่างวัสดุอุปกรณ์ต้องเสรีหมด โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ และที่บอกว่าหากไทยเข้าร่วมจะได้ลดภาษีศุลกากรนั้น อย่าง อภ. การซื้อวัตถุดิบส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ 11 ประเทศสมาชิก แต่วัตถุดิบเราใช้ของอินเดีย จีนเป็นหลัก

นางอารยา กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาทางสหภาพฯ ได้ส่งหนังสือเรียกร้องไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นห่วง เนื่องจากแม้ขณะนี้ ครม.ไม่มีการพิจารณา แต่ก็มีการเสนอเข้าวาระจร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงต้องจับตามองว่า สุดท้ายแล้วจะมีการเสนอ หรือมีการเจรจาเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรณีการเข้าถึงยากำพร้า และยาต้านพิษ ปีงบประมาณ 2558-2562 ในแต่ละปีมีการใช้ยากลุ่มเหล่านี้จำนวน 19 รายการ อาทิ ยาฉีดโซเดียมไนไตรต์ (Sodium nitrite inj.) ใช้รักษาพิษจากไซยาไนด์ ยาฉีดโซเดียมไธโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate inj.) ใช้รักษาพิษจากไซยาไนด์ ยาฉีดเมทิลีนบลู (Methyline blue inj.) ใช้รักษาภาวะเมธเฮโมโกลบินนีเมีย (Methemoglobinemia) ยาฉีดกลูคากอน (Glucagon inj.) ใช้รักษาภาวะที่ได้รับยาโรคหัวใจเกินขนาดรุนแรง

ยาแคปซูลซัคซิเมอร์ (Succimer cap : DMSA) รักษาภาวะพิษจากสารหนู ปรอท ตะกั่ว ยาฉีดไดเมอร์คาพรอล (Dimercaprol inj. หรือ BAL) เป็นยารักษาพิษจากสารหนู ปรอท และตะกั่ว ยาแก้พิษโบทิลิมุม (Botilimum antitoxin) ใช้รักษาผู้ได้รับพิษจากหน่อไม้ปี๊บ เนื้อดิบ ถั่วเน่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี เซรุ่มรวมระบบเลือด เซรุ่มต้านพิษแก้พิษงูเขียวหางไหม้ เซรุ่มต้านพิษแก้พิษงูกะปะ เซรุ่มต้านพิษแก้พิษ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: