สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 ส.ค. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 18 ส.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1636 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 ส.ค. 2563

18 ส.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

กฎหมาย

 
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลชุมช้าง และตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลชุมช้าง และตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลชุมช้าง และตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อันจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น โดยพัฒนาที่ดินทุกแปลงให้ได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทาน และการสาธารณูปโภคโดยทั่วถึง ซึ่งคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางเห็นชอบด้วยแล้ว
 
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้  และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. .... ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3233 สายนครชัยศรี-ดอนตูมที่บ้านต้นลาน สำหรับการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
 
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. .... ที่แก้ไขเพิ่มเติมจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. .... ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ รวมทั้งการขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถ รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขับรถจักรยานยนต์ที่มีกำลังสูง (Big bike) ต้องผ่านการอบรมและทดสอบการขับรถตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเป็นการเพิ่มเติม อันจะส่งผลให้สามารถช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน สร้างความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่และประชาชนผู้ใช้ถนนมิให้เกิดการบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน  
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 
                   1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2548 
                   2. ปรับปรุงเอกสารหลักฐานประกอบคำขอรับใบอนุญาตขับรถ 
                   3. กำหนดเพิ่มเติมให้ใบรับรองแพทย์ที่จะนำมาใช้ประกอบการขอหรือต่อใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้ขอนอกจากไม่มีโรคประจำตัวแล้วยังไม่มีสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่า อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ  
                   4. กำหนดให้การขอต่อใบอนุญาตขับรถทุกกรณีต้องใช้ใบรับรองแพทย์ โดยใบรับรองแพทย์มีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่หากแพทย์ไม่ได้กำหนดอายุไว้ ให้ใช้ได้ไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่ออกใบรับรองแพทย์ 
                   5. เพิ่มเติมอำนาจนายทะเบียนในการสั่งให้ผู้ขอรับหรือขอต่อใบอนุญาตขับรถต้องเข้ารับการตรวจ และนำใบรับรองแพทย์มายืนยันความเหมาะสมในการขับรถเป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการ  
                   6. ยกเลิกการใช้บัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนและภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานประกอบคำขอรับใบอนุญาตขับรถ 
                   7. เพิ่มเติมให้สามารถนำหลักฐานที่ออกโดยหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบกมอบหมายให้ดำเนินการอบรมมาใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถได้  
                   8. เพิ่มเติมข้อกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขับรถจักรยานยนต์ที่มีกำลังสูง (Big bike) ต้องผ่านการอบรมและทดสอบการขับรถตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเป็นการเพิ่มเติม 
                   9. กำหนดให้ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของรถประเภทเดียวกันกับที่ขอรับใบอนุญาตซึ่งรัฐบาลของประเทศอื่นออกให้ต้องยังไม่สิ้นอายุ  
                   10. เพิ่มเติมกรณีผู้ขอเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีมติคณะรัฐมนตรีให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ไม่มีสิทธิขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดส่วนบุคคล (5 ปี)
 

เศรษฐกิจ - สังคม

4. เรื่อง  ร่างแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) (ร่างแผนพัฒนาฯ) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนร่างแผนพัฒนาฯ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                   วธ. รายงานว่า
                   1. จากสภาพการณ์ของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงไป สื่อกลายเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งใหม่ที่สามารถกระตุ้นการรับรู้และดึงดูดความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเด็กและเยาวชน โดยจะเห็นได้ว่ารูปแบบและเนื้อหารายการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในสื่อหลายประเภทยังคงมีไม่เพียงพอ รวมถึงการรู้เท่าทันสื่อยังไม่เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งในหมู่ประชาชนทั่วไป จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อสังคมในมิติทางวัฒนธรรม มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางอาชญากรรม และมิติทางด้านความมั่นคง ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของสื่อซึ่งมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน และมีอิทธิพลที่ส่งผลกระทบต่อค่านิยม วิถีชีวิต และวัฒนธรรม จึงได้มีการประกาศ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ พ.ศ. 2551” เพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการดำเนินงานด้านพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพอย่างสร้างสรรค์และไม่เป็นภัยต่อสังคม
                   2. โดยที่ข้อ 9 (1) ของระเบียบดังกล่าว กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) มีอำนาจและหน้าที่ในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการดำเนินงานด้านพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อคณะรัฐมนตรี ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2560 – 2564 (ร่างยุทธศาสตร์ฯ) โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อร่างยุทธศาสตร์ฯ แล้ว ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ฯ และได้ส่งร่างยุทธศาสตร์ฯ ไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 (เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี) 
                   3. สศช. ได้พิจารณาร่างยุทธศาสตร์ฯ ในเบื้องต้นแล้วเห็นว่า วธ. จะต้องพิจารณาความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ ดังนั้น วธ. จึงได้ปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ และได้ปรับชื่อร่างยุทธศาสตร์ฯ เป็น “ร่างแผนพัฒนาฯ” และได้ส่งร่างแผนพัฒนาฯ ให้ สศช. เพื่อเสนอสภาพัฒนาฯ พิจารณาอีกครั้ง 
                   4. สภาพัฒนาฯ ได้พิจารณาร่างแผนพัฒนาฯ แล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่  13 พฤศจิกายน 2562 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ
                   5. ร่างแผนพัฒนาฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 
                   วิสัยทัศน์ สื่อมีคุณภาพสูงภายใต้หลักแห่งคุณธรรมและจริยธรรม ประชาชนใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันสื่อ ก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานวัฒนธรรมที่ดีงาม 
                   พันธกิจ 1) ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ 2) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายเกิดการรู้เท่าทันสื่อ 3) พัฒนากลไกการบูรณาการการทำงานร่วมกัน และ 4) สนับสนุนการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย 
                   เป้าหมาย เช่น ผู้ผลิตสื่อ : มีจริยธรรมและมีผลผลิตสื่อที่มีความปลอดภัยและสร้างสรรค์หรือส่งเสริมให้เกิดสื่อเชิงนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น ประชาชนทุกกลุ่ม : มีความรู้เท่าทันสื่อ มีจริยธรรมและความรับผิดชอบในการสื่อสาร มีทักษะ และพฤติกรรมในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสมได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ 
                    ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 
                             - ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ผลิตสื่อมีจริยธรรม มีความรู้ความเข้าใจ และมีความรับผิดชอบในการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยจะมีการจัดทำโครงการ เช่น โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎหมายการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในรูปแบบอินโฟกราฟิก [งบประมาณจำนวน 0.42 ล้านบาท กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ] 
                             - ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อ พฤติกรรมการใช้สื่อเชิงสร้างสรรค์  เฝ้าระวัง และตรวจสอบสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนมีทักษะและพฤติกรรมในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสมได้ โดยจะมีการจัดทำโครงการ เช่น โครงการพัฒนาชุดกิจกรรมการสื่อสารและการเรียนรู้ เรื่อง รู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย : เด็กและเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบ [งบประมาณจำนวน 5 ล้านบาท โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ] 
                             - ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบูรณาการกลไกการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนผ่านการสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้เกิดกลไกการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครือข่ายวัฒนธรรมตลอดจนภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานในรูปแบบอื่น ๆ โดยจะมีการจัดทำโครงการ เช่น โครงการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด จำนวน 76 จังหวัด (งบประมาณจำนวน 2.50 ล้านบาท โดยมี วธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ) 
                             - ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาและบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัย มีกลไกในการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการจัดทำโครงการ เช่น โครงการศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ (1765 สายด่วนวัฒนธรรม) (งบประมาณจำนวน 14.10 ล้านบาท โดยมี วธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ)
                   ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีความเห็นเพิ่มเติมโดยเห็นควรให้ วธ. ดำเนินการตรวจสอบโครงการและหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจนอย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง เพื่อให้ตรงกับภารกิจที่จะดำเนินการจริงอย่างเคร่งครัด และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ เห็นสมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงความครอบคลุมของงบประมาณ โดยตรวจสอบกรอบวงเงินและแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินการให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งการใช้จ่ายต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส คุ้มค่า และประหยัด พิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ ผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพของหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามแผนพัฒนาดังกล่าวเห็นสมควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นลำดับแรก ส่วนกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่าย ก็เห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
 
 5. เรื่อง (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2563–2565 (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2563 – 2565 (ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) [(ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ)] และมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานสื่อสารมวลชนของประเทศดำเนินการตาม (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ) โดยกำหนดแผนงาน โครงการ ตัวชี้วัดประจำปีให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดภาพรวมของ (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ) แล้วนำแผนงาน โครงการ ตัวชี้วัดประจำปีดังกล่าวบรรจุเข้าสู่แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อ กปช. และในระบบ eMENSCR ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ด้วย ตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) เสนอ
                   ทั้งนี้ ภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้นโยบายและแผนดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2563 – 2564 มาดำเนินการ สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กปช. รายงานว่า
                   1. นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564) (ฉบับปัจจุบัน) ได้จัดทำขึ้นก่อนมีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561 ประกอบกับในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ การขาดความรู้เท่าทันสื่อของประชาชนทำให้ไม่สามารถแยกแยะคุณภาพของข้อมูลข่าวสารและคุณภาพของสื่อได้ ทำให้หลงเชื่อข่าวสารที่เป็นข่าวปลอม (Fake News) ดังนั้น กปช. จึงได้ดำเนินการปรับปรุงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางหลักในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานสื่อสารมวลชนของประเทศ
                   2. (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ  (ฉบับปรับปรุงฯ) ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 จัดทำขึ้นเพื่อรองรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 10 การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม แผนย่อยที่ 3 การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมของคนในสังคม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนเพื่อปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคม ทั้งนี้ กปช. ได้เสนอ (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ) ให้ สศช. พิจารณาดำเนินการตามแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว
                   3. สาระสำคัญของ (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ) สรุปได้ ดังนี้
                             3.1 วิสัยทัศน์ : การประชาสัมพันธ์ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อกัน สร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของชาติในสายตาของประชาคมโลก
                             3.2 แนวทางการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ/เป้าหมายและตัวชี้วัดระดับแนวทางการพัฒนา

แนวทางการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แนวทางที่ 1 สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ
ประชาชนมีความตระหนักรู้และเข้าใจต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ • ร้อยละของประชาชนไทยที่มีความตระหนักรู้เละเข้าใจเรื่องสื่อสารที่สำคัญ (ร้อยละ 70 ในปี 2565)
แนวทางที่ 2 สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวกและการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ
ประชาชนไทยและชาวต่างประเทศมีความตระหนักรู้ มีทัศนคติเชิงบวก และมีส่วนร่วมกับการต่างประเทศ • ร้อยละของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความตระหนักรู้ มีทัศนคติเชิงบวก และมีส่วนร่วมต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ (ร้อยละ 70 ในปี 2565)
แนวทางที่ 3 บริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนร่วม
ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศได้อย่างเท่าเทียม และทันต่อสถานการณ์ สามารถนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางปฏิบัติได้จริง และร่วมกันต่อต้านข่าวปลอม (Fake News) • ร้อยละของประชาชนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศตามช่องทางการสื่อสารของแต่ละหน่วยงานในแต่ละปี (ร้อยละ 70 ในปี 2565)
• ร้อยละของประชาชนที่นำข้อมูลข่าวสารของประเทศไปใช้ประโยชน์ได้ทันต่อสถานการณ์ (ร้อยละ 70 ในปี 2565)
แนวทางที่ 4 ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารมวลชนในยุคดิจิทัล
บุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารมวลชนของประเทศในยุคดิจิทัลมีความเชี่ยวชาญในการผลิตข้อมูลข่าวสารและสื่อที่มีคุณภาพสอดรับกับประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย • ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาที่สามารถผลิตข้อมูลข่าวสารและสื่อที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพในแต่ละปี (ร้อยละ 70 ในปี 2565)

                             3.3 การขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ) สรุปได้ ดังนี้
                                      1) สร้างความรู้ความเข้าใจ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ (ร่าง) นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ฯ (ฉบับปรับปรุงฯ) ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ประจำปีของหน่วยงาน พร้อมทั้งประเมินผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ระดับหน่วยงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. 2553 ข้อ 13 ทั้งนี้ ในระยะแรก ให้หน่วยงานของรัฐมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญและการมีส่วนร่วมของคนไทยและชาวต่างชาติต่อการประชาสัมพันธ์ของประเทศเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย (Branding) โดยเฉพาะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางสังคมออนไลน์ที่มีผู้เข้าถึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                                      2) ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน (Bottom up) โดยเฉพาะในระดับพื้นที่และชุมชนเพื่อนำไปสู่การรู้เท่าทันและร่วมกันต่อต้านข่าวปลอม รวมทั้งกำหนดมาตรการรองรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อาทิ คนพิการ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำคัญได้ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตด้วย
                                      3) พัฒนาความร่วมมือกับภาคเอกชนด้านการจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการหลักภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ รวมทั้งสนับสนุนมาตรการจูงใจการให้สิทธิประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือและเกิดการเชื่อมโยงแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
                                      4) จัดให้มีการติดตามประเมินผลโดยพิจารณาทบทวนการกำหนดตัวชี้วัดในระดับโครงการที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานในแต่ละปี รวมทั้งพิจารณาทบทวนการกำหนดตัวชี้วัดให้มีการถ่ายระดับจากตัวชี้วัดภาพรวมไปสู่ตัวชี้วัดระดับแผนงาน/โครงการ เพื่อให้นำไปสู่การติดตามประเมินผลลัพธ์ในทุกระดับได้อย่างเป็นรูปธรรม
                                      5) จัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ เพื่อกำหนดเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารให้ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือประเมินข้อดีข้อเสียของแผนการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แก่กลุ่มประชาชนสามารถสะท้อนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง (Two – way Communication) ระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                                      6) จัดให้มีการใช้วิทยาการข้อมูล (Data Science) ในการวิเคราะห์ข้อมูลการสื่อสารผ่านสื่อสังคม (Social Monitoring) เพื่อวิเคราะห์การสนทนาในสื่อสังคมออนไลน์ในการประเมินประเด็นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน 
 
6. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าด้านความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (S-Curve)  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ รายงานความก้าวหน้าด้านความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (S-Curve) ตั้งแต่ ปี 2559 -ปัจจุบัน รวมระยะเวลา 5 ปี  [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เรื่อง ข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 เรื่อง มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย] มีผลการดำเนินการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีศักยภาพให้มีความเข้มแข็งและเพิ่มผลิตภาพให้สูงขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ในระบบการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดสู่เชิงพาณิชย์และทดแทนการนำเข้า เช่น ระบบอัตโนมัติแขนกลหุ่นยนต์ต่าง ๆ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าและระบบสถานีชาร์จไฟฟ้า รวมทั้งสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงธุรกิจให้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์  การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
                   2. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมอุตสาหกรรม S-Curve โดยสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบเงินให้เปล่าแก่ผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ในสาขาต่าง ๆ เช่น การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม โดยมีผู้ประกอบการให้ความสนใจกว่า 802 ทีม และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม 204 ทีม นอกจากนี้ ได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น กลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการเงินและให้คำแนะนำเทคนิคเชิงลึกเกี่ยวกับระบบการผลิตและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล              โดยกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 450 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 500 คน คิดเป็นมูลค่า 90 ล้านบาทต่อปี
                   3. วางแผนขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรม S-Curve ให้ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และบุคลากรภาคอุตสาหกรรมในสาขายานยนต์และชิ้นส่วนและอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำองค์ความรู้และทักษะในการประยุกต์ใช้นวัตกรรม การจัดการเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือยกระดับสถานประกอบการอัจฉริยะมาประกอบการดำเนินการ ซึ่งสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนยกระดับการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่คลัสเตอร์ 4.0 เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
 
7. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ สรุปผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ 
                   1. การแก้ไขปัญหาแรงงานในอุตสาหกรรมสับปะรด
                   มติที่ประชุม รับทราบการแก้ไขปัญหาแรงงานในอุตสาหกรรมสับปะรดของกระทรวงแรงงาน (รง.) ในประเด็นการจ่ายค่าจ้างแรงงานแก่แรงงานต่างด้าวตามระยะเวลาที่โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดเปิดดำเนินการผลิตจริง (ปีละ 9 เดือน) แทนการจ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานที่ทำไว้ตลอดปี
                   มอบหมายให้ รง. เร่งรัดปรับปรุงบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างงานสำหรับแรงงานต่างด้าวให้รองรับแรงงานในอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรต่อเนื่อง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป 
                   2. สถานการณ์สับปะรดปี 2563
                   มติที่ประชุม รับทราบสถานการณ์สับปะรดปี 2563 ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิต 1.394 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3,362 กิโลกรัม ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 16.99 และร้อยละ 6.64 ตามลำดับ เนื่องจากประสบภาวะแห้งแล้งและอากาศร้อนจัด ส่งผลให้ต้นสับปะรดไม่สมบูรณ์ โดยที่ราคาสับปะรดโรงงานและสับปะรดบริโภคที่เกษตรกรขายได้ปี 2562 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท และ 5.91 บาทตามลำดับ ส่วนปี 2563 (เดือนมกราคม-พฤษภาคม) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.00 บาท และ 12.63 บาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ได้รับทราบผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2562 และแผนการดำเนินงานในปี 2563 ซึ่งประกอบด้วย ด้านการผลิต ด้านการแปรรูป และด้านการตลาด
                   มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่ประสงค์จะตรวจรับรองแปลงมาขึ้นทะเบียน รวมทั้งให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เกี่ยวกับการวิจัยสับปะรดของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรีในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                   3. การปรับปรุงยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560-2569 
                   มติที่ประชุม เห็นชอบการปรับปรุงยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560-2569 เป็นแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2563-2565 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 
                   4. หลักการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรด
                   มติที่ประชุม เห็นชอบหลักการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดที่สอดคล้องกับนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” โดยให้หน่วยงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติร่วมกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) บริหารจัดทำข้อมูลการผลิต การตลาด และแผนบริหารผลผลิตสับปะรดในช่วงปกติและช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยที่ คพจ. บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จภายในจังหวัด ส่วนจังหวัดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของจังหวัดต่อไป 
 
8. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2562 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
 

หัวข้อ สาระสำคัญ
1. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯ กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
และป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี คือ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และกำหนดให้มีกลไกเพื่อการขับเคลื่อนการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศในรูปแบบคณะกรรมการ จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมความ
เท่าเทียมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ สทพ.) คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียม
ระหว่างเพศ (คณะกรรมการ กทพ.)
2. ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติฯ 2.1 คณะกรรมการ สทพ. ได้ประชุม 3 ครั้ง และมีมติที่สำคัญ คือ เห็นชอบแผนปฏิบัติการและการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประจำปี 2563 วงเงิน 7,300,000 บาท โดยมีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการ กทพ. ไปจัดทำแผนงาน/โครงการที่สนองตอบต่อปัญหาใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างทางเพศ (2) การปรับหลักคิดให้สังคมยอมรับเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ และ (3) มุ่งขจัดความรุนแรงเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ นอกจากนี้ คณะกรรมการ สทพ. ได้ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นการดำเนินการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เช่น การปรับปรุงช่องทางการรับคำร้อง การปรับทัศนคติและค่านิยมในการให้สังคมยอมรับความเสมอภาคระหว่างเพศ และประเด็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศที่ควรผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน
2.2 คณะกรรมการ วลพ. ได้รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ จำนวน 8 ประเด็นคำร้อง ได้แก่
(1) สถาบันการศึกษาห้ามแต่งกายและไว้ทรงผมตรงกับเพศสภาพ
ในการเข้าเรียน การสอบ และการฝึกปฏิบัติงาน (2) หน่วยงานภาครัฐไม่ให้ใช้คำนำหน้านามตามเพศสภาพในบัตรประจำตัวประชาชน  (3) หน่วยงานภาครัฐจัดห้องพักในการฝึกอบรมไม่เหมาะสม   (4) ร้านอาหารกีดกันไม่ให้ผู้มีเพศสภาพแตกต่างจากเพศกำเนิดเข้าใช้บริการ (5) สถาบันการศึกษาไม่รับสมัครผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิดเข้าทำงาน (6) สถาบันการศึกษาประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้แสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิดต่ำอันเนื่องมาจากการแต่งกายตามเพศสภาพ (7) สถาบันการศึกษาห้ามการใช้รูปถ่ายชุดครุยวิทยฐานะในเอกสารขอจบการศึกษา และ (8) เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสมในการเข้าตรวจค้นเคหสถาน ทั้งนี้ เรื่องทั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ วลพ.
2.3 คณะกรรมการ กทพ. ได้ประชุม 7 ครั้ง และมีมติที่สำคัญ ได้แก่
เห็นชอบการทบทวนยุทธศาสตร์กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2564 และจัดทำแผนปฏิบัติการกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แผนการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม พ.ศ. 2562-2564 และแผนงานสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม ประจำปี 2562 รวมทั้งอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงาน/องค์กรที่เสนอโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศจากกองทุนฯ 10 โครงการ โดยกองทุนฯ ได้รับงบประมาณประจำปี 2562 เป็นเงิน 11,600,000 บาท ใช้ไป 4,404,606.84 บาท คงเหลือ 7,195,393.16 บาท
3. ข้อท้าทายและข้อเสนอแนะด้านการปฏิบัติงาน (1) การกำหนดนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อน
การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยสร้างความร่วมมือจาก             ทุกภาคส่วน (2) การทบทวน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน (3) การกระตุ้นให้สังคมเกิดความตระหนักและเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศในทุกภาคส่วน (4) การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ ให้กับทุกภาคส่วน และเผยแพร่ผ่านสื่อในช่องทางต่าง ๆ และ (5) การประสานความร่วมมือกับบุคคล หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชนภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา โดยการสร้างชมรมความเท่าเทียมระหว่างเพศในโรงเรียน

 
 
9. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)
ครั้งที่ 1/2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 [ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 7 (6)] ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอ
มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

เรื่อง มติ กพต.
1. แผนปฏิบัติการการใช้ประโยชน์ที่ดินและการดำเนินการป่าชุมชนฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการพึ่งพาตนเองสู่ความยั่งยืน พ.ศ. 2564-2570 1) เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ
2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนงาน โครงการ กิจกรรม
และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สนับสนุนแผนปฏิบัติการฯ
3) ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2570 เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฯ
2. แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ
3. การขอความเห็นชอบกรอบโครงการ/กิจกรรม เร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563  (2 โครงการ/กิจกรรม)
          3.1 การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความยั่งยืน 1) เห็นชอบ แผนงาน โครงการ กิจกรรม เร่งด่วนของกรมชลประทาน จำนวน 2 โครงการ วงงินรวม 223 ล้านบาท ประกอบด้วย
          1.1) โครงการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและระบบกระจายน้ำ
พื้นที่ดำเนินการในจังหวัดนราธิวาส (45 ล้านบาท) และปัตตานี
(70 ล้านบาท) งบประมาณรวมทั้งสิ้น 115 ล้านบาท
          1.2) โครงการแก้มลิงอเนกประสงค์เพื่อป้องกันอุทกภัย
และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ดำเนินการในจังหวัด
นราธิวาส (15 ล้านบาท) และปัตตานี (93 ล้านบาท) งบประมาณรวมทั้งสิ้น 108 ล้านบาท
          รวมทั้งโครงการของกระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการกลั่นกรองของ ศอ.บต. เพื่อให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาสนับสนุนงบประมาณภายใต้
แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
2) ให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับสำนักงาน
ทรัพยากรน้ำแห่ชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณารายละเอียด แผนงานโครงการ กิจกรรม และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
3.2 การพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย-มาเลเซีย (9 ด่าน) เพื่อยกระดับการค้าชายแดนและความร่วมมือในมิติต่าง ๆ 1) เห็นชอบโครงการ กิจกรรมเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนระบบโครงสร้างพื้นฐานเต็มรูปแบบรองรับการค้าชายแดนไทยและมาเลเซีย เชื่อมโยงไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ กรอบวงเงิน 817.89 ล้านบาท และให้ ศอ.บต.เป็นหน่วยงานหลักประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัด กำกับติดตามการดำเนินการสำหรับแผนงาน โครงการกิจกรรมที่พร้อมดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
2) เห็นชอบให้กระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งปรับ
แผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป หากงบประมาณดำเนินการไม่เพียงพอ ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อไป
 
4. ผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการขับเคลื่อนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจอำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา 1) รับทราบและเห็นชอบรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ ทั้ง 4 ประเภทการลงทุน (สวนอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสมัยใหม่และเทคโนโลยีแห่งอนาคต เมืองอัจฉริยะ ท่าเรือน้ำลึก ศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้า และศูนย์อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าสะอาด) และรายละเอียดการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อนำไปสู่การดำเนินการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
2) ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองและจังหวัดสงขลา ดำเนินการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินในส่วนพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชน 3 ตำบล (ตำบลนาทับ ตำบลสะกอม และตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา) ให้เป็นไปตามความหมาะสมของพื้นที่ตามแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชนและผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อไป ทั้งนี้ ให้ ศอ.บต. ส่งผลรายงานผลการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนฯ ไปยังหน่วยงานเป็นการเร่งด่วน
3) ให้ ศอ.บต. ประสานขับเคลื่อนมติของ กพต. ไปยังคณะกรรมการ
นโยบายการผังมืองแห่งชาติในฐานะกลไกเชิงนโยบายตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อพิจารณาเร่งรัดการดำเนินการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับการลงทุนตามแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชน
4) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเป็นหน่วยดำเนินการ
จัดทำรายงานการศึกษาความเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคม
ขนส่งเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษฉพาะกิจ อำเภอจะนะ
จังหวัดสงขลาทั้งระบบ โดยพิจารณาปรับงบประมาณหรือใช้
งบเหลือจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาปีงบประมาณ
พ.ศ. 2563 และหรือให้ ศอ.บต. ปรับงบประมาณหรือใช้งบเหลือจ่ายของ ศอ.บต. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไปเพื่อดำเนินการเร่งด่วน
5) ให้ ศอ.บต. ประสานขับเคลื่อนมติของ กพต. ไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในฐานะกลไกเชิงนโยบายตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520  เพื่อพิจารณาโครงการการลงทุนของภาคเอกชนที่มีการเสนอการลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 [เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562] ควบคู่ไปกับ
การปรับปรุงการใช้ประโยชน์พื้นที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
6) ให้ ศอ.บต. เร่งรัดนำความคิดเห็นของประชาชนไปปรับปรุงกรอบการบริหารและการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามนัยมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 และประสานทุกส่วนราชการเร่งรัดดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรมและจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการ และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับ ศอ.บต. พิจารณาความเหมาะสมแผนงาน โครงการ กิจกรรม ก่อนดำเนินการและนำเสนอคณะรัฐมนตรีตามลำดับต่อไป (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563) และให้ ศอ.บต. จัดทำรายงานความก้าวหน้าปัญหา และอุปสรรค เสนอนายกรัฐมนตรี ทุก 3 เดือน
5. การให้ความช่วยเหลือเยียวยากรณีราษฎรเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ 3 ศพ บนเทือกเขาตะเว ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส 1) ให้ความช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความเป็นธรรมตามสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วน 3 ราย รายละ 1 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 3 ล้านบาท
2) ให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านทุนการศึกษารายปี และเงินยังชีพรายเดือนแก่ทายาทของนายบูดีมัน มะลี (ผู้เสียชีวิต) คือ เด็กชายนาอีม มะลี จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (อายุไม่เกิน 25 ปี) โดยให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ขอรับการจัดสรรงประมาณจาก สงป. และเป็นผู้เบิกจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าวให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบฯ ตามระเบียบ กพต. ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 ข้อ 7 (1)
 

 
10. เรื่อง หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
                   1. รับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ และให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประสานในรายละเอียดกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย [(มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)] กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำหลักสูตรที่ได้ปรับปรุงใหม่ไปปรับใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
                   2. ให้ ศธ. และ อว. รายงานผลสัมฤทธิ์ของการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ไปยังสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อทราบต่อไป
                   3. ให้สำนักงาน ป.ป.ช. รับความเห็นของ สงป. และ สศช. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
                   1. สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการกำกับ ติดตาม การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทั้ง 5 หลักสูตร สรุปผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้
                             1.1 ผลการดำเนินการ

สังกัด จำนวนโรงเรียน/หน่วยงานนำไปใช้ (แห่ง) แนวทางการนำไปใช้
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต)
1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 29,871 - เปิดรายวิชาเพิ่มเติม
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/บูรณาการกับวิถีชีวิตในโรงเรียน
- บูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระต่าง ๆ
1.2 สช. 685
1.3 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 34 จัดทำเป็นรายวิชาเลือกเสรี
1.4 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา  (สอศ.) 914 เพิ่มเติมในกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
1.5 สำนักงานการศึกษา (กทม.) 0 กำหนดนำไปใช้ในปีการศึกษา 2562
1.6 สถ. 20,536 บูรณาการร่วมกับกิจกรรมในหลักสูตร “โตไปไม่โกง”
รวม 52,040 แห่ง (จาก 56,283 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 92.46)
2. หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใส ใจสะอาด “Youngster with good heart”)
2.1 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 38 - จัดทำเป็น 1 วิชาจำนวน 3 หน่วยกิต
- จัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้
- จัดทำเป็นวิชาเลือก
2.2 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1
รวม 39 แห่ง (จาก 157 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 24.84)
3. หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ (หลักสูตรตามแนวทางรับราชการ กลุ่มทหารและตำรวจ)
3.1 กห. 1 สอดแทรกในการฝึกอบรม
3.2 ตช. 1
รวม 2 แห่ง (จาก 2 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 100)
4. หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ (สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต)
4.1 หน่วยงานภาครัฐ 16 การฝึกอบรม
4.2 หน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ 28
รวม 44 แห่ง (จาก 76 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 57.89)
5 หลักสูตรโค้ช (โค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต)
5.1 ระดับพื้นที่จังหวัด 76 การฝึกอบรม
5.2 กทม. 1
รวม 77 แห่ง (จาก 77 แห่ง) (คิดเป็นร้อยละ 100)

                   1.2 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข

ปัญหาและอุปสรรค แนวทางแก้ไขปัญหา
1. มีหลักสูตรที่ไม่สามารถขับเคลื่อนการนำไปใช้ตามหน่วยงานเป้าหมาย เนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรมีรายละเอียดน้อย ผู้สอนไม่มีความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับหลักสูตร - ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากคู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและกรณีตัวอย่างคดีเพิ่มเติม จากสำนักงาน ป.ป.ช.
- ควรมีสื่อการสอนที่เข้าใจง่าย
- ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
- กำหนดกลไกในการบริหารจัดการ ติดตาม และรายงานผลการนำหลักสูตรไปปรับใช้เป็นการเฉพาะ
2. ไม่สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์เฉพาะหลักสูตรได้ เนื่องจากแนวทางการนำหลักสูตรไปปรับใช้เดิมมีรูปแบบการนำไปใช้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะลักษณะบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ จัดให้มีเพียง 1 แนวทางการปรับใช้ สำหรับแต่ละหลักสูตร คือ
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน : เปิดรายวิชาเพิ่มเติม
- หลักสูตรอุดมศึกษา : จัดทำเป็น 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต
- หลักสูตรกลุ่มทหารและตำรวจ/หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช./บุคลากรภาครัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจ : ฝึกอบรม สัมมนา

                   2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 56/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti – Corruption Education) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และให้หน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างทบทวนปรับปรุงหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
 
11. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ / เสนอความคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบทั้ง 5 ข้อ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ ดังนี้
                   1. รับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็น
                   2. ให้ทุกส่วนราชการให้ความสำคัญกับการแจ้งความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีผลเป็นที่ยุติด้วยความเป็นธรรมภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
                   3. การดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ ควรใช้กลไกของคณะกรรมการกำกับติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของมวลชน และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของมวลชนระดับกระทรวงการกำกับดูแลและเร่งรัดติดตามผลการแก้ไขปัญหาของผู้นำการขับเคลื่อนการดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ประจำหน่วยงาน (Chief Complaint Executive Officer: CCEO) รวมถึงการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการประจำกระทรวง  การประสานงานผ่านเครือข่ายในพื้นที่
                   4. ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง รวมถึงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ด้วย ซึ่งหากระบบมีประสิทธิภาพจะสามารถตอบสนองหน่วยงานในการวางแผนการปฏิบัติงานบูรณาการข้อมูล และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ในภาวะที่เกิดเหตุวิกฤตหรือภัยพิบัติได้
                   5. ให้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ถึงภารกิจของหน่วยงาน การให้บริการและการให้ความช่วยเหลือของแต่ละหน่วยงานให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ควรมีแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนก่อนที่ปัญหาจะขยายวงกว้าง และประชาชนเดินทางมาที่ส่วนกลางเพื่อขอความช่วยเหลือ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   สปน. รายงานว่า

  1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชนไตรมาสที่ 1 ของ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                             1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นของประชาชน ผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 31,018 ครั้ง รวมจำนวน 17,172 เรื่อง โดยประเภทเรื่องที่ประชาชนร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นมากที่สุด ได้แก่ เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน รองลงมาคือ การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ (โครงการชิมช้อปใช้) ไฟฟ้า บ่อนการพนัน  และน้ำประปา ตามลำดับ ทั้งนี้ สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน 15,248 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.80
                             1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นมากที่สุด  5 ลำดับแรก ดังนี้
                                      (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
                                      (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ
 
                                      (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และชลบุรี ตามลำดับ
                             1.3 การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็น
                                      (1) สถิติการใช้บริการจำแนกตามช่องทางการร้องทุกข์เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงไตรมาสเดียวกัน พบว่า ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์ลดลงในทุกช่องทาง คิดเป็นร้อยละ 25.41
                                      (2) ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก เปรียบเทียบข้อมูลกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ได้แก่ 1) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน                      2) การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น โครงการชิมช้อปใช้ และการจ่ายเงินช่วยเหลือโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/2563 3) ไฟฟ้า 4) บ่อนการพนัน  5) น้ำประปา 6) ยาเสพติด 7) โทรศัพท์ 8) กลิ่น 9) จัดระเบียบการจราจร และ 10) ถนน ตามลำดับ
                   2. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                             2.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นของประชาชน ผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 27,157 ครั้ง รวมจำนวน 23,451 เรื่อง โดยประเภทเรื่องที่ประชาชนร้องทุกข์ /เสนอความคิดเห็นมากที่สุด ได้แก่ การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ รองลงมาคือ การรักษาพยาบาลเสียงรบกวน/สั่นสะเทือน ควันไฟ/ฝุ่นละออง/เขม่า และบ่อนการพนัน ตามลำดับ ทั้งนี้ สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน 20,712 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.32
                             2.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์ /เสนอความคิดเห็นมากที่สุด  5 ลำดับแรก ดังนี้
                                      (1) ส่วนราชการ ได้แก่ กค. ตช. กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และ คค. ตามลำดับ
                                      (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กฟภ. การไฟฟ้านครหลวง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กปภ. และธนาคารออมสิน ตามลำดับ
                                      (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และชลบุรี ตามลำดับ
                             2.3 การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็น
                                      (1) สถิติการใช้บริการจำแนกตามช่องทางการร้องทุกข์เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์ลดลงเกือบทุกช่องทาง คิดเป็นร้อยละ 27.94  ยกเว้นช่องทางสายตรงไทยนิยมที่มีจำนวนเรื่องเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
                                      (2) ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก เปรียบเทียบข้อมูลกับปีงบประมาณที่ผ่านมา ได้แก่ 1) การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น การแจ้งบาะแสกรณีฝ่าฝืนมาตรการตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 2) การรักษาพยาบาล เช่น การแจ้งเบาะแสกรณีพบเห็นบุคคลต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19)  3) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน 4) ควันไฟ /ฝุ่นละออง/เขม่า 5) บ่อนการพนัน 6) ไฟฟ้า 7) โทรศัพท์ 8) อาหาร                ยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องสำอาง 9) กลิ่น และ 10) น้ำประปา ตามลำดับ
                             2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม - 22 มิถุนายน 2563 พบว่า มีประชาชนสอบถามข้อมูล แจ้งเหตุร้องขอความช่วยเหลือและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสิ้น 416,504 เรื่อง ทั้งนี้ สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน 412,934 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 99.14 ทั้งนี้ สปน. ได้นำข้อมูลเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์และข้อคิดเห็นจากประชาชนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การกำหนดนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่องด้วยแล้ว
 
12. เรื่อง ขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของซีมีโอ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ)* (ศูนย์ระดับภูมิภาคฯ) ภายในกรอบวงเงิน 127,603,113 บาท โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย และเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
_______________________
องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization :
SEAMEO) หรือซีมีโอ เป็นองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือกับประเทศสมาชิกในโครงการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ตลอดจนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ศธ. รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับภูมิภาคฯ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกันยายน 2562 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบแผนการดำเนินงานในระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ สาระสำคัญ
วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์สำหรับความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคที่ส่งเสริมและเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภารกิจ 1. สร้างความตระหนักในความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนในบริบทที่แตกต่างกัน ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต และระบบเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่และภูมิภาค
2. ให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทักษะที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกที่มีความหลากหลายทางด้านการจัดการศึกษาและบริบทของสังคม
4. เชื่อมโยงและผนึกความร่วมมือให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสำหรับภาคีเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ รวมทั้งหุ้นส่วนจากภาคเอกชนและประชาสังคมในภูมิภาคสำหรับการสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคประชาชนกับภาคประชาชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์
การดำเนินงาน
กรอบการดำเนินงาน การดำเนินงาน
ปีที่ 1 สร้างการรับรู้และตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน
ปีที่ 2 ต่อยอดการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานในปีที่ 1 ให้เป็นรูปธรรม
- แบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และผลสำเร็จของการดำเนินการตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- สร้างเสริมขีดความสามารถและส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน
ปีที่ 3 ต่อยอดการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานในปีที่ 1 – 2 เช่น การพัฒนาฐานข้อมูลและการสร้างฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นต้น
- เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค
ปีที่ 4 - ต่อยอดการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานในปีที่ 1 – 3 เช่น การจัดประชุมสัมมนาในระดับนานาชาติเพื่อสร้างเครือข่าย เป็นต้น
- แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยราชการ องค์กร ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในระดับนานาชาติเพื่อจัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
ปีที่ 5 ต่อยอดการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานในปีที่ 1 – 4 เช่น การขยายโครงการความร่วมมือระหว่างศูนย์อื่น ๆ ของซีมีโอในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ เป็นต้น
ประโยชน์ที่ประเทศไทย
จะได้รับ
1. เป็นคลังความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นแหล่งรวบรวม เผยแพร่องค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิกซีมีโอ โดยส่งเสริมการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละประเทศ
2. เป็นแหล่งงานวิจัยที่สำคัญเพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และต่อยอดขยายผลต่อไปในภูมิภาคและนอกภูมิภาค
3. มีการสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งทั้งระดับชาติและนานาชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
13. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2563 ตามที่สำนักงานสภา
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ  ดังนี้
                   1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสอง ปี 2563
                       1.1  การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง การว่างงานเพิ่มขึ้น ค่าจ้างแรงงานลดลงสถานการณ์         การจ้างงานในไตรมาสสอง ปี 2563 ปรับตัวลดลง โดยผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.9   เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2562 เป็นการลดลงทั้งผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมที่ลดลงร้อยละ 0.3 และนอกภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 2.5 สำหรับสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาการผลิต สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 6.3 4.4 และ 2.8 ตามลำดับ ส่วนสาขาการขายส่ง/ขายปลีก ลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.0 เนื่องจากยังเปิดดำเนินการได้บางส่วน ขณะที่สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 0.1
                       ไตรมาสสองปี 2563 รัฐบาลมีมาตรการชดเชย เยียวยาให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบด้วย (1) แรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของ พ.ร.บ. ประกันสังคมที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงงานด้วยเหตุสุดวิสัยจำนวนประมาณ 0.92 ล้านคน (2) แรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่อยู่ในสถานประกอบการที่หยุดงานด้วยเหตุสุดวิสัย แต่ไม่สามารถขอรับเงินชดเชยเนื่องจากจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ไม่ครบ 6 เดือนตามเงื่อนไข จำนวนทั้งสิ้น 59,776 คน โดยจะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน และ                 (3) แรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มแรงงานอิสระ 15.3 ล้านคน และเกษตรกร 7.75 ล้านคน ยังได้รับการเยียวยาในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ตาม พ.ร.ก. กู้เงินฯ ด้วย โดยได้รับการเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น และบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการในด้านอื่น อาทิ มาตรการภาษี มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งช่วยลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการและรักษาการจ้างงานได้ระดับหนึ่ง
                       การจำกัดการแพร่ระบาดของรัฐโดยการปิดสถานที่ และจำกัดการเดินทางระหว่างพื้นที่ ทำให้ชั่วโมงการทำงานของภาคเอกชนลดลงร้อยละ 13.4 จาก 46.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในไตรมาสสอง ปี 2562 เหลือ 40.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในไตรมาสสอง ปี 2563 ขณะเดียวกันจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ทำงานน้อยกว่าการทำงานปกติ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 68.0 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มจาก 6.0 ล้านคน เป็น 10.1 ล้านคน
                       สถานการณ์การว่างงาน ผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 0.75 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.95 เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราการว่างงานในช่วงปกติ และเป็นอัตราการว่างงานที่สูงสุดตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2552 ผู้ว่างงานร้อยละ 64.2 เคยทำงานมาก่อน โดยร้อยละ 58.7 สาเหตุที่ว่างงานเกิดจากสถานที่ทำงานเลิก/หยุด/ปิดกิจการหรือหมดสัญญาจ้าง
                            ผู้ประกันตนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (รายใหม่) ในช่วงไตรมาสสองเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน จำนวน 0.12 ล้านราย โดยสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ 0.17 ล้านราย และปรับตัวลดลงในเดือนมิถุนายน เหลือ 0.13 ล้านราย ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฯ วงเงิน 4 แสนล้านบาท ณ วันที่  13 สิงหาคม 2563 ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้วจำนวน 11 โครงการ รวมวงเงิน 42,964 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างงานได้ 86,103 ตำแหน่ง โดยมีระยะเวลาการจ้างงาน 3-12 เดือน ที่จะช่วยให้ผู้ว่างงานสามารถมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น
                       ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตลาดแรงงานจะยังได้รับผลกระทบที่ต่อเนื่องจากช่วงครึ่งแรกของปี โดยมีประเด็นที่ต้องติดตามคือ (1) แนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี ที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน จะส่งผลให้ธุรกิจซึ่งส่วนใหญ่ที่มีสภาพคล่องสำรองเพียงพอสำหรับรองรับวิกฤตได้ไม่เกิน 6 เดือนอาจเลิกจ้างงานและปิดกิจการ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขอหยุดชั่วคราว แต่ยังต้องรับภาระในการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างอยู่ และผู้จบการศึกษาใหม่ในปี 2563 ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 0.52 ล้านคน มีแนวโน้มจะหางานทำได้ยากขึ้น หรืออาจต้องใช้ระยะเวลาในการหางานนานกว่าปกติ (2) ปัญหาภัยแล้งที่ต่อเนื่องและสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก จะส่งผลต่อการจ้างงานในภาคเกษตร และกระทบต่อรายได้แรงงาน อีกทั้งภาคเกษตรอาจจะสูญเสียความสามารถในการดูดซับแรงงานจาก
นอกภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และ (3) ผลของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน ซึ่งต้องติดตามผลของการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดว่าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยปัจจุบันแม้ว่าจะได้รับการอนุมัติโครงการไปแล้วบางส่วน แต่โครงการส่วนใหญ่จะเริ่มการจ้างงานภายในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งหากมีความล่าช้าอาจทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานได้อย่างเต็มที่

  1. หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว ขณะที่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงทุกประเภท

สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่งปี 2563 มีมูลค่า 13.48 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9 ชะลอลงจาก  ร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ความต้องการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนปรับตัวลดลง รวมถึงความต้องการสินเชื่อของครัวเรือนในเกือบทุกประเภท สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 80.1 สูงสุดในรอบ  4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสสอง ปี 2559 ขณะที่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อด้อยลง โดย ณ สิ้นสุดไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 ยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 156,226 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 และมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 3.23 เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 2.90 ในไตรมาสก่อน
                       แนวโน้มสินเชื่อครัวเรือนในไตรมาสสอง ปี 2563 ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการสินเชื่อในภาพรวมที่ปรับตัวลดลง ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการหดตัวทางเศรษฐกิจที่จะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รวมถึงต้องเฝ้าระวังและติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจัยของภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาภัยแล้ง และความไม่แน่นอนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคครัวเรือนเผชิญกับปัญหาการขาดสภาพคล่องและความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางการเงินที่ต่อเนื่องมาจากโครงสร้างทางการเงินของครัวเรือนที่เปราะบาง สะท้อนจากจำนวนลูกหนี้รายย่อยขอรับความช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ผ่านสถาบันการเงินที่สูงถึง 11.6 ล้านบัญชี (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563) ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมระยะที่ 2 เนื่องจากมาตรการ
ในระยะแรกจะทยอยครบกำหนดในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้โดยเฉพาะทางด้านภาระค่าใช้จ่ายและโอกาสการผิดชำระหนี้ของลูกหนี้
                            อย่างไรก็ตาม มาตรการภาครัฐที่ผ่านมายังคงเน้นช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของภาคครัวเรือนจากผลกระทบการแพร่ระบาด COVID-19 ผ่านการขยายมาตรการทางการเงินต่างๆ แต่ผลกระทบจากการหดตัวเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว ทำให้รายได้ของครัวเรือนบางส่วนขาดหายไปหรือลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาว ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นเร่งฟื้นฟูและยกระดับรายได้ภาคครัวเรือนให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วและเสริมสร้างกันชนทางการเงินโดยเฉพาะเงินออมของภาคครัวเรือนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเพื่อสามารถรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินของประเทศ
                       1.3  การเจ็บป่วยโดยรวมลดลง แต่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ ไตรมาสสอง ปี 2563 มีผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังรวม 53,756 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอย่างมากถึงร้อยละ 66.5 ซึ่งเป็นการลดลงในทุกโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ลดลงร้อยละ 92.2 ผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลงร้อยละ 91.5 ผู้ป่วยโรคหัดลดลงร้อยละ 91.0 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 44.2 และผู้ป่วยโรคปอดอักเสบลดลงร้อยละ 43.6 จากการเฝ้าระวังและดูแลตัวเอง รวมทั้ง การเว้นระยะทางกายภาพ ทำให้โอกาสในการสัมผัสเชื้อโรคจากสถานที่หรือจากบุคคลลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกที่แม้ในภาพรวมของประเทศจะมีผู้ป่วยลดลง แต่มีแนวโน้มจะกลับมาระบาดอีกครั้งในบางพื้นที่จากการเข้าสู่ช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ ต้องเฝ้าระวังโรคระบบทางเดินหายใจ 5 โรคที่มากับฤดูฝน ได้แก่ โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคคออักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ และโรคปอด รวมถึงโรคเครียดและปัญหาทางจิต จากความกังวลต่อการแพร่ระบาด COVID-19 และผลกระทบต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ป่วยเดิมมีแนวโน้มเครียดมากขึ้นจากช่วงกักตัวและไม่ได้พบแพทย์
                       1.4  การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลง ไตรมาสสอง ปี 2563 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลงร้อยละ 9.7 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 17.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปิดสถานบันเทิงในเดือนเมษายน-ปลายมิถุนายน รวมถึงการประกาศห้ามออกจากเคหะสถานในเดือนเมษายน–ปลายพฤษภาคม ขณะที่การบริโภคบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าระวังการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางออนไลน์ที่มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย โฆษณาเชิญชวน รวมถึงการบริการจัดส่งถึงที่ โดยไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ซื้อ ซึ่งอาจกระตุ้นให้การบริโภคเพิ่มขึ้นได้ และที่สำคัญจะทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย จนเกิดนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นและอายุน้อยลง
                       1.5  คดีอาญารวมลดลง แต่ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติด การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างเข้มงวด ไตรมาสสอง ปี 2563 คดีอาญารวมลดลงร้อยละ 13.4 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 โดยลดลงทั้งการรับแจ้งคดียาเสพติดร้อยละ 13.9 คดีชีวิตร่างกายและเพศร้อยละ 21.7 และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ร้อยละ 5.7 แต่ยังคงต้องให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมอย่างเข้มงวด เน้นการตรวจตราและเฝ้าระวังป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติด รวมทั้งกลุ่มมิจฉาชีพที่มุ่งหวังชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
                       1.6  การเกิดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตลดลง แต่ยังต้องเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจากจักรยานยนต์ ไตรมาสสอง ปี 2563 สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกและจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ 26.7 และ 38.4 ตามลำดับ สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากบุคคลสูงสุดคือ การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ การป้องกันหรือลดอุบัติเหตุได้ด้วยความร่วมมือจากผู้ขับขี่รถรักษากฎระเบียบจราจรอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญอย่างมากกับปัจจัยทางถนนและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
                       1.7 การร้องเรียนผ่าน สคบ. ลดลง ขณะที่การร้องเรียนผ่าน กสทช. เพิ่มขึ้น ไตรมาสสอง ปี 2563 สคบ. ได้รับการร้องเรียนสินค้าและบริการลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ร้อยละ 15.8 ซึ่งการร้องเรียนในประเด็นการจองตั๋วเครื่องบิน/สายการบินยังคงอยู่ในระดับสูง จากการขอคืนค่าโดยสารและไม่ได้รับเงินคืนตามกำหนด ขณะที่การร้องเรียนผ่าน กสทช. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการ นอกจากนี้ มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 และมีการสั่งปิดสถานที่เสี่ยงในการแพร่เชื้อ ทำให้ผู้คนหันมาจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการร้องเรียนผ่านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปัญหาทางออนไลน์ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือปัญหาจากการซื้อขายทางออนไลน์ โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นและอุปกรณ์ไอที โดยศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหลายภาคส่วนและมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ในเชิงรุก อีกทั้งได้มีแนวทางในการรับมือเมื่อประสบปัญหาการซื้อขายออนไลน์ คือ (1) ถ่ายภาพความบกพร่องของสินค้าและนำไปแจ้งความเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน (2) นำหลักฐานติดต่อไปยังผู้ขายหรือช่องทางของแต่ละแพลตฟอร์ม และ (3) หากมีปัญหาสามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อรองรับกิจกรรมซื้อขายออนไลน์ที่ขยายตัว
                   2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
                       2.1 การปรับตัวทางการศึกษาในภาวะการระบาดของ COVID-19
                            สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงได้ส่งผลกระทบต่อภาคการศึกษาและนักเรียนทั่วโลก โดยประเทศไทยมีประชากรวัยเรียนในทุกระดับชั้นได้รับผลกระทบประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการหลุดออกจากระบบห้องเรียนคือ นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประมาณ 11.47 ล้านคน ทั้งนี้ งานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา การปิดโรงเรียนหรือการเปิดเรียนล่าช้า 1 เดือน จะส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศในระยะยาวร้อยละ 0.1-0.3 และการที่นักเรียนต้องอยู่บ้านเป็นระยะเวลานาน จะยิ่งทำให้ลืมสิ่งที่เคยเรียนมา ต้องทบทวนซ้ำอีกครั้ง หรือเรียกว่าปรากฏการณ์ความรู้ที่ถดถอยไปหลังจากปิดเทอมใหญ่ และยังพบการที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนประมาณ 6 สัปดาห์ อาจทำให้ความรู้หายไปถึงครึ่งปีการศึกษา ซึ่งจะเป็นผลกระทบที่สำคัญต่อฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว การดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ปัญหาการศึกษาจากผลกระทบของ COVID-19 ประเทศไทยได้มีการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบชั่วคราว โดยดำเนินการแก้ปัญหาผ่านแพลตฟอร์มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ผ่าน 3 ช่องทางคือ   (1) โทรทัศน์ช่อง DLTV (2) ผ่านเว็บไซต์ DLTV และ (3) แอปพลิเคชัน DLTV เพื่อแก้ปัญหาการเรียนล่าช้าและการหลุดออกจากระบบห้องเรียนของเด็ก โดยมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนไว้สำหรับทั้งกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายและยังไม่คลี่คลาย
                       อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีสถานการณ์และผลกระทบที่สำคัญจากการจัดการเรียนการสอนผ่านทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดังนี้ (1) ความไม่พร้อมด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้นอกห้องเรียน และการที่ต้องรับภาระในการจัดหาอุปกรณ์ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนยากจน รวมถึงการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และความเสถียรและความเร็วของอินเทอร์เน็ต (2) ความไม่พร้อมทั้งรูปแบบและเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ DLTV ของครูผู้สอน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพในการเรียนรู้ และการขาดสมาธิและทักษะที่มีความจำเป็นด้านอื่นๆ อาทิ การเรียนรู้ร่วมกัน การมีปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม ทักษะด้านอารมณ์ และทักษะด้านการสื่อสารของนักเรียน (3) เด็กบางส่วนไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะนักเรียนในกลุ่มครัวเรือนยากจนซึ่งจะไม่ได้รับอาหารและอาหารเสริมจากทางโรงเรียน และนักเรียนกลุ่มพิเศษ นักเรียนผู้พิการ ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด หรือต้องขาดรายได้จากการต้องมาดูแลกลุ่มเด็กดังกล่าว ข้อเสนอการปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ (1) การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (2) การจัดสื่อการเรียนการสอนที่จูงใจการเรียนรู้ รูปแบบการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับวัยและช่วงเวลา และ (3) การพัฒนาเทคนิควิธีการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการเตรียมความพร้อมของครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยี
                       2.2  ความท้าทายของการออกแบบระบบการคุ้มครองทางสังคม
                       การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผู้มีงานทำและประชาชนทั่วไป จนทำให้ภาครัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือระยะสั้นมารองรับประชาชนจำนวนหนึ่งที่หลุดรอดออกจากระบบการคุ้มครองทางสังคมที่มีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ลูกจ้าง/ผู้ประกอบการอิสระ ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีหลักประกันทางสังคม โดยจากการสำรวจแรงงานนอกระบบ ปี 2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีผู้มีงานทำทั้งหมด 37.5 ล้านคน โดยเป็นผู้มีหลักประกันทางสังคมร้อยละ 50.4 และเป็นผู้ไม่มีหลักประกันร้อยละ 49.6 ทั้งนี้ ในปีเดียวกัน มีแรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 มีสัดส่วนเพียง 4.8 ล้านคน หรือเป็น  1 ใน 5 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด เเม้ว่าที่ผ่านมานโยบายของภาครัฐได้พยายามผลักดันให้แรงงานนอกระบบสามารถเข้าร่วมกองทุนประกันสังคมแต่ยังคงเพิ่มขึ้นเพียงช้าๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากสิทธิประโยชน์หรือเงื่อนไขที่อาจไม่จูงใจ การมีข้อจำกัดจากการอยู่ในพื้นที่ห่างไกล การมีรายได้ไม่เพียงพอ รวมถึงการไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีหลักประกัน ทั้งนี้ ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID–19 ได้สะท้อนว่าแม้แรงงานที่มีประกันสังคมตามมาตรา 39 และมาตรา 40 แต่การขาดสิทธิประโยชน์จากการว่างงานหรือการสูญเสียรายได้จากการทำงาน ทำให้เมื่อได้รับผลกระทบรัฐจึงจำเป็นต้องรับภาระในการดูแล

  • คือ การไม่มีหลักประกันรองรับในยามเกษียณ อีกทั้งประชาชนบางส่วนที่ยังไม่ให้ความสำคัญในการวางแผนทางการเงินและขาดวินัยในการออม ซึ่งจะส่งผลกระทบให้รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและต่อคุณภาพในการดำรงชีพ แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือในโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยมาตรการช่วยเหลือนี้จะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว ดังนั้น การพัฒนาระบบประกันสังคมถือเป็นความท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้แรงงานนอกระบบจำนวนมากไม่ตัดสินใจสมัครเข้ากองทุนประกันสังคม และศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาและออกแบบระบบประกันสังคมให้จูงใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนโดยความสมัครใจอาจไม่สามารถสร้างความคุ้มครองให้ประชาชนได้ทั้งหมด จึงอาจต้องมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของทั้งระบบสมัครใจและระบบบังคับให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รวมถึงการศึกษาถึงแนวทางการส่งเสริม การสร้างความรู้เกี่ยวกับการมีหลักประกันตนทั้งในวัยแรงงานและวัยเกษียณ และการอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงระบบได้ง่ายโดยการปรับปรุงกลไกการทำงานระบบประกันสังคม ซึ่งหากไม่สามารถดึงแรงงานนอกระบบให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ก็จะเกิดเป็นอีกหนึ่งความท้าทายว่าจะมีระบบใดมาช่วยดูแลคุ้มครองประชาชนทั้งในยามที่เกิดวิกฤติและในสภาวะปกติได้

                   3. บทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยร้าง : วิกฤตอุดมศึกษาไทย”
                   แนวโน้มจำนวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีที่ว่างในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก รายได้ของมหาวิทยาลัยลดลง ท้าทายให้สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ที่ผ่านมาจำนวนมหาวิทยาลัยของไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก หากมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานศึกษาจากการขยายวิทยาเขตของสถาบันที่มีชื่อเสียง และการเปิดหลักสูตรเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่นักศึกษาใหม่มีแนวโน้มลดลงทุกปี สะท้อนให้เห็นได้จากสถิติผู้สมัครและผู้ผ่านการคัดเลือกในระบบ TCAS (รอบที่ 4) ในช่วงปี 2558–2562 ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาวะสถาบันศึกษาล้นมีปัจจัยมาจากโครงสร้างประชากรไทยที่มีอัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้จำนวนนักศึกษาลดลง รวมทั้งการขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับสูงทำให้มีการเปิดวิทยาเขต และหลักสูตรใหม่ๆ ที่สนองความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงาน เพื่อดึงดูดนักเรียนนักศึกษา
                       ท่ามกลางการลดลงของจำนวนผู้เรียน การแข่งขันในการดึงดูดผู้เรียนของสถาบันอุดมศึกษาที่สูง รวมถึงการพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน เป็นความท้าทายที่นำมาซึ่งการปรับตัวของสถาบันการศึกษาเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ที่ผ่านมาสถาบันอุดมศึกษามีความพยายามในการปรับตัว อาทิ (1) การปรับหลักสูตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานและแต่ละช่วงวัย โดยการปรับหลักสูตรให้สอดรับกับตลาดแรงงาน โดยส่งเสริมการเรียนแบบสหวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เพื่อตอบสนองต่อคนแต่ละวัยและส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต (2) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการใช้นวัตกรรมการศึกษาในการจัดการเรียนการสอน การเปิดหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และ (3) การขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการขยายกลุ่มเป้าหมายการรับนักศึกษาที่ครอบคลุมไปถึงนักศึกษาต่างชาติ
                            อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวทำให้การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งระหว่างสถาบันการศึกษาภายในประเทศ และสถาบันการศึกษาภายในประเทศกับต่างประเทศ และการแข่งขันเพื่อดึงดูดนักศึกษาที่รุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา และการคงอยู่ของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงหรือคุณภาพน้อยกว่า รวมทั้งแนวทางการปรับตัวยังขาดการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและบูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับและสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาภายในประเทศ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในอนาคต ได้แก่ (1) การกำหนดแนวทางการปรับตัวที่เป็นเอกภาพ โดยการบริหารจัดการและบูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ทั้งในด้านบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ การขยายงานวิชาการทั้งในด้านศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การบริการสังคม ตลอดจนการวิจัยเพื่อการพาณิชย์ที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2) การนำแนวคิดด้านการตลาดมาใช้ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา โดยดึงอัตลักษณ์และความแข็งแกร่งทางวิชาการมาเป็นจุดขายในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อพัฒนาสถาบันให้ตรงจุดที่ควรมุ่งเน้น รวมถึงการบริหารต้นทุนของมหาวิทยาลัย อาทิ การลดต้นทุนในด้านที่มิใช่จุดแข็งของมหาวิทยาลัยโดยการยุบ/รวม สาขาที่มิใช่ความเชี่ยวชาญ/ไม่สามารถแข่งขันได้ของมหาวิทยาลัย (3) การทบทวน/ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัด
การเรียนการสอนที่เน้นภาคปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรเพื่อดึงดูดนักเรียนต่างชาติเข้ามาชดเชยปริมาณนักศึกษาไทยที่ลดลง การเปิดกว้างสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น/หลักสูตรอาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ต่างๆ แก่คนทำงาน ผู้ว่างงาน และผู้สูงอายุ (4) การนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้ในมหาวิทยาลัย อาทิ การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่ให้นักศึกษาสามารถจัดองค์ประกอบของวิชาเรียนได้ การพัฒนารายวิชาใหม่ ๆ   ที่ตอบโจทย์บริบทการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบการเรียนการสอนมากขึ้น และ  (5) การส่งเสริมการวิจัยที่มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งทบทวน/ปรับปรุงระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาของรัฐ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์
 
14. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563
 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ  ดังนี้
                   1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2563
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สองของปี 2563 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2563 ลดลงจากไตรมาสแรกของปี 2563 (%QoQ_SA) ร้อยละ 9.7 รวมครึ่งแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.9
1.1    ด้านการใช้จ่าย การระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในและต่างประเทศ
ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวสนับสนุนเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.6
เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 และการดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐ ซึ่งทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงทั้งในหมวดสินค้าคงทน กึ่งคงทน และหมวดบริการ สอดคล้องกับการลดลงของการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ ๆ เช่น การซื้อยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 43.0) การใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผ้าและรองเท้า (ลดลงร้อยละ 21.4) การใช้จ่ายในร้านอาหารและโรงแรม (ลดลงร้อยละ 45.8) การใช้จ่ายซื้อสินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (ลดลงร้อยละ 17.1) อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายเพื่อค่าน้ำและค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบกับการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 22.3 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่าย
ร้อยละ 19.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.1 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 0.7 การลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 8.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลงร้อยละ 15.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 18.4 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เทียบกับการปรับตัวลดลงร้อยละ 9.3 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ในขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 0.8 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 17.9 เทียบกับอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 10.8
ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 16.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2563 การลงทุนรวมลดลง  ร้อยละ 7.2 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 10.2 ขณะที่การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2

  1. .2    ด้านภาคต่างประเทศ
  2. มีมูลค่า 49,787 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 17.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะถดถอยรุนแรงของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 16.1 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 2.0 กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง เช่น ข้าว (ลดลงร้อยละ 0.9) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 41.0) น้ำตาล (ลดลงร้อยละ 28.4) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 45.2) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 67.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 45.0) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 23.4) เคมีภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 20.4) ปิโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 18.9) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 42.7) เป็นต้น กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น ผลไม้ (ร้อยละ 47.4) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 17.9) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 23.4) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 24.0) และคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 5.8) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาด สหรัฐฯ จีน กลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (15) ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง (15) ปรับตัวลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 21.4 และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปของเงินบาทลดลงร้อยละ 16.8 รวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่า 110,654 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 8.2
  3.   การนำเข้าสินค้า มีมีมูลค่า 41,746 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 23.4 (ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6) เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออก อุปสงค์ในประเทศ และราคานำเข้าสินค้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 19.3 ส่วนราคานำเข้าลดลงร้อยละ 5.1 รวมครึ่งแรกของปี 2563 การนำเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 94,562 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 12.3

การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศสำคัญ

ประเทศ GDP (%YoY) มูลค่าการส่งออกสินค้า (%YoY)
2561 2562 2563 2561 2562 2563
ทั้งปี ทั้งปี ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ทั้งปี ทั้งปี ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2
สหรัฐฯ 3.0 2.2 2.3 0.3 -9.5 7.9 -1.5 -1.5 -3.3 -30.3
ยูโรโซน 1.9 1.3 1.0 -3.1 -15.0 8.7 -2.5 -0.9 -4.6 -24.9
สหราชอาณาจักร 1.3 1.5 1.1 -1.7 -21.7 10.2 -3.5 5.3 -10.4 -25.0
ออสเตรเลีย 2.8 1.8 2.2 1.4 - 11.3 5.3 -0.7 -6.8 -14.6
ญี่ปุ่น 0.3 0.7 -0.7 -1.7 - 5.7 -4.4 -4.4 -4.4 -23.7
จีน 6.7 6.1 6.0 -6.8 3.2 9.9 0.5 2.0 -13.3 0.1
อินเดีย 6.8 4.9 4.1 3.1 - 8.8 -0.2 -1.9 -12.9 -36.6
เกาหลีใต้ 2.9 2.0 2.3 1.4 -2.9 5.4 -10.4 -11.8 -1.8 -20.3
ไต้หวัน 2.7 2.7 3.3 2.2 -0.6 5.9 -1.4 1.8 3.7 -2.4
ฮ่องกง 2.8 -1.2 -3.0 -9.1 -9.0 6.8 -4.1 -2.6 -8.8 -3.2
สิงคโปร์ 3.4 0.7 1.0 -0.3 -13.2 10.3 -5.2 -3.5 -3.7 -16.7
อินโดนีเซีย 5.2 5.0 5.0 3.0 -5.3 6.6 -7.0 -3.8 2.8 -12.8
มาเลเซีย 4.8 4.3 3.6 0.7 -17.1 14.2 -4.3 -3.2 -0.9 -17.7
ฟิลิปปินส์ 6.3 6.0 6.7 -0.7 -16.5 0.9 2.3 6.2 -5.1 -29.5
เวียดนาม 7.1 7.0 7.0 3.7 0.4 13.3 8.4 8.5 7.6 -6.9
 

  ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  1. กล่องข้อความ: /เครื่องจักรอื่น ๆ…– 60 ลดลงร้อยละ 50.9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงร้อยละ 13.1 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 7.6 ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 52.9 เทียบกับร้อยละ 66.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 65.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 68.8) การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 15.5) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ลดลงร้อยละ 39.4) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง (ร้อยละ 28.6) การผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ร้อยละ 15.4) และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ร้อยละ 7.0) เป็นต้น รวมครึ่งแรกของปี 2563    การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 8.3 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 12.9 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.9 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 50.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 23.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงมากของรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวชาวไทยซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยในไตรมาสนี้รายรับรวมจากการท่องเที่ยว 0.019 ล้านล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 97.1 โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.019 ล้านล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 92.7 ในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในไตรมาสนี้ลดลงทั้งหมด อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.51 ลดลงจากร้อยละ 51.50 ในไตรมาสก่อนหน้า และลดลงจากร้อยละ 70.79 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2563 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 36.2 โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 0.332 ล้านล้านบาท จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงร้อยละ 66.2 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 29.01
    สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 38.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.0
    ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว และ
    การผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งทำให้ความต้องการบริการขนส่งลดลง โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 89.6 บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลงร้อยละ 43.9 และบริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 2.2 ตามลำดับ ประกอบกับบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงต่อเนื่องร้อยละ 26.1 ในขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 22.9 และเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น   รวมครึ่งแรกของปี 2563 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 21.7 โดยบริการขนส่งลดลงร้อยละ 23.0 บริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 14.0 ขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 14.0 สำหรับสาขาการผลิตที่ขยายตัวได้ในไตรมาสนี้ ประกอบด้วย สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 9.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐ สาขาการเงินและการประกันภัยขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 3.2 รวมครึ่งแรกของปี 2563 การผลิตสาขาก่อสร้างลดลงร้อยละ 1.3 สาขาการเงินและการประกันภัยขยายตัวร้อยละ 3.1 และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพิ่มขึ้นกล่องข้อความ: /1.4 เสถียรภาพ...ร้อยละ 2.4
  2. อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.0 เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2.7 บัญชีเดินสะพัดขาดดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (27.0 พันล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 อยู่ที่ 241.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 7,433.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.8 ของ GDP

                   2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2563
          เศรษฐกิจไทยปี 2562 คาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ (-7.8) - (-7.3) เป็นการปรับลดจากการลดลงร้อยละ (-6.0) - (-5.0) ในการประมาณการครั้งก่อน (ณ 18 พฤษภาคม 2563) โดยเศรษฐกิจทั้งปีมีข้อจำกัดจาก (1) การปรับตัวลดลงมากของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ (2) ภาวะความถดถอยรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (3) ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศ และ   (4) ปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 10.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 และร้อยละ 5.8 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ (-1.2) -  (-0.7) และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.5 ของ GDP รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2563  ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

  1. .1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2562 และการลดลงร้อยละ 1.7 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามฐานรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่อยู่ในระดับต่ำกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค และการไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการติดเชื้อภายในประเทศอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นท่ามกลางการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและฐานรายได้อย่างช้าๆ และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และเร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2562 สอดคล้องกับการคงสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำภายใต้กรอบงบประมาณสำคัญ ๆ ไว้เท่ากับการประมาณการครั้งที่ผ่านมา
  2. .8 เทียบกับการลดลง
    ร้อยละ 2.1 ในการประมาณการครั้งก่อน และการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2562 โดยการลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.6 เทียบกับร้อยละ 5.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และเร่งขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี 2562 สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2563 จากเดิมร้อยละ 55.0 ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นร้อยละ 60.0 ในการประมาณการครั้งนี้ ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะลดลงร้อยละ 10.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2562 และเป็นการปรับลดจากการลดลงร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของการส่งออก อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ ข้อจำกัดด้านการเดินทางของนักลงทุนระหว่างประเทศ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง
  3. จาก 0.59 ล้านล้านบาท ในการประมาณการครั้งก่อนเป็น 0.31 ล้านล้านบาทในการประมาณการครั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 20.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.3 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า และการลดลงร้อยละ 2.6 ในปี 2562

                   3. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2563
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2563 ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันการกลับมาระบาดของไวรัสในประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ
ในประเด็นสำคัญๆ ประกอบด้วย (1) การประสานนโยบายการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับเงื่อนไขในการฟื้นตัวของแต่ละภาคธุรกิจ (ii) การติดตามและป้องกันปัญหาในบางภาคการผลิตที่อาจส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังภาคการเงิน และ(iii) การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (2) การพิจารณามาตรการเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจและแรงงานในสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการฟื้นตัว โดยเฉพาะ (i) กลุ่มธุรกิจและแรงงานในภาคการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง (ii) กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังมีศักยภาพในการฟื้นตัวแต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงมาตรการภาครัฐ (iii) กลุ่มธุรกิจและแรงงานที่อยู่ในช่วงของการปิดกิจการชั่วคราว รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ว่างงานและแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่
(3) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับ (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทิศทางทางการค้าและการย้ายฐานการผลิตในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งกลุ่มสินค้าที่ได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากการระบาดของโรคโควิด 19 (ii) การใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของประเทศไทยในด้านขีดความสามารถในการควบคุมการระบาดของโรค และ (iii) การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่มอาเซียน (4) การดูแลภาคการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้งและการลดลงของราคาสินค้าส่งออก โดยให้ความสำคัญกับ (i) การจัดหาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ (ii) การชดเชยเยียวยาเกษตรกร (iii) การปรับเปลี่ยนการผลิตในภาคเกษตร และ (iv) การสนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรออนไลน์และบริการโลจิสติกส์ต้นทุนต่ำ (5) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐภายใต้กรอบสำคัญ ๆ ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ในไตรมาสแรก และงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนมาตรการการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว(6) การส่งเสริมไทยเที่ยวไทยและการรณรงค์ใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ (7) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงสำคัญ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความยืดเยื้อของการระบาดของโรคและการกลับมาระบาดในระลอกที่สอง ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และเงื่อนไขความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจการเงินโลกในระยะปานกลาง และ (8) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ และเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปอย่างช้า ๆ และยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง
 
15. เรื่อง  รายงานผลการดำเนินงานการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยของคณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับ         การบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้องกันควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เสนอรายงานผลการดำเนินงานการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยของคณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) และแนวทางการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในระยะต่อไป โดยปรับแนวทางและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศเข้าสู่ระบบปกติ ดังนี้
คณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยระหว่างวันที่    1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2563 ที่มีการรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ครั้งที่9/2563 เมื่อวันที่   9 กรกฎาคม 2563 ครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 และครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 โดยสรุป ดังนี้
1. การจัดสรรหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ดังนี้
         (1) จัดสรรให้กระทรวงสาธารณสุข จำนวนไม่เกินวันละ 1,800,000 ชิ้น
         (2) จัดสรรให้กระทรวงมหาดไทย จำนวนไม่เกินวันละ 1,200,000 ชิ้น
2. การกระจายหน้ากากอนามัยสะสม ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม – 31 กรกฎาคม 2563ดำเนินการจัดส่งหน้ากากอนามัยโดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกองบัญชาการกองทัพไทย รวม 281,161,500 ชิ้น ดังนี้
         (1) จัดส่งให้กระทรวงสาธารณสุข จำนวนสะสม รวม 185,409,700 ชิ้นเพื่อกระจายต่อให้กับสถานพยาบาลต่าง ๆ และบุคลากรทางการแพทย์
         (2) จัดส่งให้กระทรวงมหาดไทย จำนวนสะสม รวม 92,933,800 ชิ้น เพื่อส่งให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กระจายลงไปยังกลุ่มเสี่ยง เช่น เจ้าหน้าที่ทำงานใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) พนักงานทำความสะอาดและเก็บขยะ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ในพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด – 19 เป็นต้น
         (3) จัดส่งให้ฝ่ายความมั่นคงโดยกองทัพไทยจำนวนสะสม รวม 2,818,000 ชิ้น เพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ณ จุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ซึ่งมีการตั้งจุดตรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงาน 3 เหล่าทัพ
3. การนำเข้าหน้ากากอนามัย
กรมศุลกากรมีรายงานการนำเข้าหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนมกราคม–31 กรกฎาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 169,208,551 ชิ้น ประกอบด้วย 4 ประเภท
         (1) หน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด จำนวน 31,610,239 ชิ้น
         (2) หน้ากากกรองฝุ่น หมอกควัน หรือสารพิษ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย จำนวน 82,387,373 ชิ้น
         (3) หน้ากากทางการแพทย์ นอกจากหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด จำนวน 1,514,396 ชิ้น
         (4) อื่นๆ (หน้ากากผ้า) จำนวน 53,696,543 ชิ้น
4. การส่งออกหน้ากากอนามัยไปนอกราชอาณาจักร
      กรมศุลกากรมีรายงานการส่งออกหน้ากากอนามัยไปนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนมกราคม – 31 กรกฎาคม 2563  มีจำนวนทั้งสิ้น 110,854,101 ชิ้น ประกอบด้วย 4 ประเภท
         (1) หน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด จำนวน 31,680,380 ชิ้น
         (2) หน้ากากกรองฝุ่น หมอกควัน หรือสารพิษ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย จำนวน 40,525,103 ชิ้น
         (3) หน้ากากทางการแพทย์ นอกจากหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด จำนวน 259,200 ชิ้น
         (4) อื่น ๆ (หน้ากากผ้าลิขสิทธิ์) จำนวน 38,389,418 ชิ้น
5. การบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตภายในประเทศคณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุฯ (โควิด – 19) ได้มีการพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศ ส่วนที่เกินความต้องการของหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการประชุม ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 และครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 โดยที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้
         (1) รับทราบสถานการณ์เกี่ยวกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิต
ในประเทศ ดังนี้
             (1.1)   สถานการณ์ด้านการผลิต
                       กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจาก 9 ราย เป็น 29 ราย (30 โรงงาน) ทำให้กำลังการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในประเทศมีเพิ่มขึ้นจาก 1,200,000 ชิ้นต่อวัน เป็น 4,500,000 ชิ้นต่อวัน มีสต็อกคงเหลือ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 ประมาณ 12,000,000 ชิ้น รวมถึงมีปริมาณการนำเข้าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ประมาณ 5,000,000 – 7,000,000 ชิ้นต่อเดือน
             (1.2)   สถานการณ์ด้านการจัดซื้อหน้ากากอนามัยฯ
                       (1.2.1) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ จำนวน 801,066,000 บาท (แปดร้อยหนึ่งล้านหกหมื่นหกพันบาทถ้วน) เพื่อดำเนิน “โครงการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)” โดยจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) ให้กระทรวงมหาดไทยกระจายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ทุกจังหวัดตามความเหมาะสม จำนวน 1,000,000 ชิ้นต่อวัน
                       (1.2.2) การจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 จำนวน 3,000,000 ชิ้นต่อวัน แบ่งเป็น
                            1) กระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อ จำนวนไม่เกิน 1,800,000 ชิ้นต่อวัน เบิกจ่ายจากงบประมาณในภาพรวมเพื่อจัดซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2563 ไปแล้ว จำนวน 198,841,500 ชิ้น
                            2) กระทรวงพาณิชย์จัดซื้อให้กระทรวงมหาดไทย จำนวนไม่เกิน 1,200,000 ชิ้นต่อวัน เบิกจ่ายจากงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 จำนวน 801,066,000 บาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้รับอนุมัติการจัดสรรงบประมาณในระยะแรก (เมษายน - กรกฎาคม 2563) จำนวน 385,200,000 บาท จัดซื้อไปแล้วทั้งสิ้น 95,551,300 ชิ้น (วงเงิน 385,177,144 บาท) คงเหลืองบประมาณ จำนวน 22,856 บาท สำหรับการจัดซื้อในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2563 อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณ
                            3) ปริมาณการรับซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนไม่เกิน 1,800,000 ชิ้นต่อวัน และกระทรวงพาณิชย์จัดซื้อให้กระทรวงมหาดไทย จำนวนไม่เกิน 1,200,000 ชิ้นต่อวัน ดังกล่าวข้างต้น กรมการค้าภายในรายงานว่าจะทำให้มีกำลังการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในประเทศส่วนที่เหลือจากการรับซื้อของหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 1,500,000 ชิ้นต่อวัน
                       (1.3) สถานการณ์ความต้องการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ฯ
                            กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ได้รายงาน
การประมาณความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในปัจจุบันเพื่อใช้ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง (ข้อมูล
วันที่ 7 สิงหาคม 2563) ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีความต้องการ จำนวน 1,500,000 ชิ้นต่อวันและกระทรวงมหาดไทยมีความต้องการ จำนวน 1,000,000 ชิ้นต่อวัน โดยในปริมาณความต้องการนี้ หากมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนารุนแรงขึ้นอีกรอบในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงมหาดไทยจะมีหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ฯ สำรองใช้ได้เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน
                                           (1.4) สถานการณ์ด้านการกำหนดราคากลางในการจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
                                               คณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ได้ประชุมเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดราคากลางในการจัดซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยและหน้ากากประเภทอื่น (ยกเว้นหน้ากากชนิด N95) ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ได้มีการทบทวนราคากลางหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จากโรงงานที่ผลิตในประเทศ มีมติ ดังนี้
                                                 (1.4.1)  เห็นชอบกำหนดราคากลางในการจัดซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ 4.12 บาท/ชิ้น (เดิม 4.28 บาท/ชิ้น) โดยคำนวณจากฐานการต้นทุนปริมาณเฉลี่ย ซึ่งได้ข้อมูลจากผู้ผลิตระหว่างเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (มิถุนายน 2563) บวกเพิ่มกำไรร้อยละ 10 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นราคากลาง ให้กรมการค้าภายใน และองค์การเภสัชกรรม ใช้ในการจัดซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ราคากลางที่แนะนำในการจัดซื้อมีแนวโน้มลดลงอีกตามกำลังการผลิตภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น                                                                     
                                                  (1.4.2)  ราคาที่จะจำหน่ายให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ให้จำหน่ายในราคาที่เหมาะสม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต รวมทั้งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                                  (2) เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ในระยะต่อไป เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)ในประเทศไทยอยู่ในสภาวะสามารถควบคุมได้ ขณะเดียวกันกรมการค้าภายในรายงานว่าปริมาณหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศและปริมาณหน้ากากผ้า มีเพิ่มขึ้นทั้งจากการที่มีจำนวนผู้ผลิตในประเทศมากขึ้น และจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับประชาชนทั่วไปมีทางเลือกในการใช้หน้ากากผ้าเพิ่มขึ้น จึงดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 และ วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 โดยปรับแนวทางและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศเข้าสู่ระบบปกติ ดังนี้
                                          (2.1) การบริหารจัดการกลุ่มเสี่ยง การบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศ โดยจำแนกกลุ่มที่มีความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งมีความต้องการประมาณ 3,000,000 ชิ้นต่อวัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
                                               (2.1.1) กระทรวงสาธารณสุข บริหารจัดการสำหรับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ป่วย จำนวนไม่เกิน 1,500,000 ชิ้นต่อวัน
                                               (2.1.2) กระทรวงมหาดไทย ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐที่ต้องใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง จำนวนไม่เกิน 1,000,000 ชิ้นต่อวัน
                                               (2.1.3) หน่วยงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น จำนวนไม่เกิน 500,000 ชิ้นต่อวัน
                                          (2.2)        การปรับแนวทางและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศเข้าสู่ระบบปกติ โดยปรับให้มีการซื้อขายคล่องตัวและ
เสรีมากขึ้น และมีเงื่อนไข เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศมีเพียงพอใช้ในประเทศ ดังนี้
                                               (2.2.1) ราคากลางในการการจัดซื้อและราคาจำหน่ายปลีกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศ ให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดราคาที่เหมาะสม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต รวมทั้งให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง         
                                               (2.2.2) ให้ผู้ผลิตจำหน่ายตามกลไกตลาดปกติ โดยให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พิจารณากำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตพร้อมผลิตจำหน่ายให้ได้ทันที เมื่อภาครัฐมีความจำเป็นหรือเกิดวิกฤตเร่งด่วน และพิจารณาดำเนินการบริหารจัดการหน้ากากอนามัยฯ ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป    
                                         (2.3)        การบริหารจัดการและการกระจายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศในระยะต่อไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มติคณะอนุกรรมการบูรณาการฯ มติคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยให้อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะรองประธานคนที่ 5 ฝ่ายการบริหารจัดการทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการ และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ไปจากเดิม ให้นำเสนอคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ พิจารณาต่อไป
 
16.  เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
                   1. อนุมัติและรับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563  ครั้งที่ 2 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 โดยมีการปรับแผนที่สำคัญ ดังนี้
                             1) ปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall)    ในปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 214,093.92 ล้านบาท
                             2) นำรายการหนี้ของบริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน) (บกท.) ออกจากแผนฯ เนื่องจาก บกท. ได้พ้นสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้หนี้เงินกู้ของ บกท. ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมาย
                             3) การปรับกรอบและวงเงินของการบริหารหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)   การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน FIDF)
                   ทั้งนี้ การปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะข้างต้นส่งผลให้วงเงินตามแผนเดิมมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
                             1) แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มสุทธิ 158,521.85 ล้านบาท จากเดิม 1,497,498.55 ล้านบาท เป็น 1,656,020.40 ล้านบาท
                             2) แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 67,267.64 ล้านบาท จากเดิม 1,035,777.74 ล้านบาท เป็น 968,510.10 ล้านบาท และ
                             3) แผนการชำระหนี้ ปรับลด 22,329.31 ล้านบาท จากเดิม 389,373.21 ล้านบาท             เป็น 367,043.90 ล้านบาท
                   2. อนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall)                    ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 214,093.92 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2563 โดยการกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561            ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ในระดับที่จำเป็นเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการเบิกจ่ายเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการกู้เงินเพิ่มเติมดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของหน่วยงาน
                   การปรับปรุงแผนฯ ข้างต้นส่งผลให้ประมาณการยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 8.21 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.64 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 60 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด
 
17. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From  Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 14
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 14 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ข้อมูล ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้รับข้อมูลจาก 147 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 99 ของส่วนราชการทั้งหมด (148 ส่วนราชการ) สรุปข้อมูลดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
                    ส่วนราชการได้มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการตามปกติเพิ่มมากขึ้น (78 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 53) โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา (75 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 51) และส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาในการทำงานเป็น 3 ช่วงเวลาเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ผ่านมา (78 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 53)          
                    2. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
                    ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการลดลง (69 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 47) โดยในจำนวนนี้มีส่วนราชการ 17 ส่วนราชการ (คิดเป็นร้อยละ 12) มอบหมายให้ทุกคนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง
                   
18. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ ในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญ
                   รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีจำนวน 55 แห่ง โดยผลสัมฤทธิ์ฯ ของรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 27 –              31 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (ปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักหรือสถานที่ตามที่รัฐวิสาหกิจกำหนด)
                             1.1 สัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2563 มีรัฐวิสาหกิจ 16 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง โดยมีรัฐวิสาหกิจ 39 แห่ง ที่ให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามปกติแล้ว เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2563) ทั้งนี้ จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดจำนวน 272,558 คน มีพนักงานและลูกจ้างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งจำนวน 12,208 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4
                             1.2 สัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2563 มีรัฐวิสาหกิจ 14 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งโดยมีรัฐวิสาหกิจ 41 แห่ง ที่ให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามปกติแล้ว เพิ่มขึ้น 2 แห่ง จากสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2563) ทั้งนี้ จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดจำนวน 272,556 คน มีพนักงานและลูกจ้างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งจำนวน 12,308 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5
                   2. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา)
                             2.1 สัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2563 มีรัฐวิสาหกิจ 25 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาเท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2563) โดยรัฐวิสาหกิจ 25 แห่ง มีช่วงเวลาเริ่มปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 10.00 น.
                             2.2 สัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 3 – 7 สิงหาคม 2563 มีรัฐวิสาหกิจ 26 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา เพิ่มขึ้น 1 แห่งจากสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 27 – 31 กรกฎาคม 2563) โดยรัฐวิสาหกิจ 26 แห่ง มีช่วงเวลาเริ่มปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 10.00 น.
                   3. แนวทางการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ
                   รัฐวิสาหกิจที่ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งมีการติดตามผลการปฏิบัติงานทั้งเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีการกำกับ ติดตาม และบริหารผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชัน Line ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการติดตามงานและการลงเวลาปฏิบัติงานที่องค์กรพัฒนาขึ้นเอง โดยรัฐวิสาหกิจยังคงใช้แอปพลิเคชัน Line มาสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งว่า ควรเตรียมอุปกรณ์และระบบเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้เพียงพอ และควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานขององค์กรให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ ซึ่งรวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งควรพิจารณาลักษณะงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งเท่านั้น เช่น การให้บริการประชาชน และสำหรับงานอื่นที่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้ง ควรพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งแทน
 
19. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจัดหารถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า  10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 315,000,000 บาท ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เพื่อจัดหารถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 7 คัน คันละ 45,000,000 บาท
                   สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
                   กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีแผนการจัดหาเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566) โดยรวมการจัดหารถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 72 คัน เพื่อประจำศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์เขต ศูนย์เขตละ 4 คัน เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับสูบส่งน้ำสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำท่วมขังบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ ประกอบกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีจำนวนจำกัด และมีแผนงานรองรับไว้แล้วไม่สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณได้ จึงจำเป็นต้องเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจัดซื้อรถสูบส่งน้ำ ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ 36 คัน ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์เขต ศูนย์เขตละ 2 คัน สำหรับแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในปี 2563 ได้ทันการณ์
                   ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประเมินสถานการณ์ด้านน้ำและแนวโน้มความรุนแรงในปี พ.ศ. 2563 แล้วคาดว่า พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งจะขยายเป็นวงกว้างมากกว่าปีที่ผ่านมาและเกิดวิกฤตการณ์ขาดน้ำต้นทุน น้ำอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรงส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และแรงงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันในบางพื้นที่อาจต้องเผชิญกับอุทกภัยในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามเครื่องจักรกลที่มีอยู่มีข้อจำกัดในการสูบส่งน้ำระยะไกลได้เพียง                      3 กิโลเมตรขึ้นไป และมีอัตราสูบส่งที่ 2,500 ลิตร/นาที ซึ่งยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำของประชาชนใน     ภาวะวิกฤติ

20. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มเติมวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเพิ่มเติมวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งบประมาณสำหรับประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 2,347,900,329.32 บาท ส่วนงบประมาณสำหรับชดเชยต้นทุนเงิน ในอัตราเงินฝากประจำ 12 เดือน ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บวก 1 ในอัตรา 2.40 จำนวน 56,349,607.90 บาท โดยเป็นไปตามหลักการเดิมที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 โดยใช้ทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นไปตามหลักการเดิมที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562
 
21. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2563 ที่ได้มีการพิจารณาการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 8 (2) แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) ดังนี้
                   1. เห็นชอบให้ กษ. ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้อย่างสมบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 38,737 ราย เกษตรกรที่มาอุทธรณ์รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้สิทธิรับเงินช่วยเหลือภายใต้โครงการฯ และได้ผ่านการพิจารณาของ กษ. แล้วแต่ กษ. ไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ได้ทันวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 จำนวนไม่เกิน 1,028 ราย โดยให้ กษ. เร่งดำเนินการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวงวดเดียวจำนวน 15,000 บาทต่อรายให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 กันยายน 2563
                   2. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบมาตรการ/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดำเนินการติดตามผู้รับสิทธิที่ยังไม่มาแจ้งเลขที่บัญชีรับโอนเงินกับหน่วยงานรับผิดชอบให้สิ้นสุดภายในวันที่ 30 กันยายน 2563 และหากพ้นกำหนดแล้วให้หน่วยงานรับผิดชอบยุติการดำเนินการติดตาม/การโอนเงิน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ให้คณะกรรมการฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่อไป
 
22. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการ โดยภาระงบประมาณสำหรับการชดเชยความเสียหายในอัตราไม่เกินร้อยละ 16 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกัน กรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 9,120 ล้านบาทนั้น เห็นสมควรให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ขอให้ บสย. ใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อของโครงการก่อน หากไม่เพียงพอจึงขอรับจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 
                    นอกจากนี้ เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อย่างทั่วถึง คณะรัฐมนตรีมีมติห็นชอบการปรับปรุงการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงิน 20,000 ล้านบาท การปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs อย่างทั่วถึง การขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงิน 10,000 ล้านบาท และการปรับปรุงและขยายเวลาดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 3 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ 
                    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และดำเนินการด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และระมัดระวัง รวมถึงการดำเนินการตามข้อ 2.-5. จะต้องอยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบไว้เดิมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางการเงิน อันจะก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในอนาคต ประกอบกับในการดำเนินการดังกล่าว เห็นควรที่กระทรวงการคลังจะได้กำหนดเพดานอัตราการให้สินเชื่อตามกลุ่ม/ประเภท รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์กำกับดูแลด้านกระบวนการสินเชื่อ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องอย่างครอบคลุม เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นตาก NPLs ซึ่งรัฐบาลจะต้องรับภาระชดเชย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางการเงิน อันจะก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในอนาคต อีกทั้งเพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นควรที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญ
                   กระทรวงการคลังเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                   1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส
                             1.1 วัตถุประสงค์: เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan) ได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอตามความต้องการ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และเกิดความคล่องตัวในการอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ตาม พ.ร.ก. Soft Loan
                             1.2 กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณสมบัติตาม พ.ร.ก. Soft Loan แต่ยังไม่ได้รับสินเชื่อตาม พ.ร.ก. Soft Laon
                             1.3 ระยะเวลาดำเนินงาน: 1 ปี นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ หรือระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้สถาบันการเงินกู้ยืมตาม พ.ร.ก. Soft Loan
                             1.4 วิธีดำเนินการ: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อวงเงินโครงการรวม 57,000 ล้านบาท ระยะเวลาการค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 8 ปี โดยการค้ำประกันจะเริ่มต้นในปีที่ 3 นับจากวันที่ผู้ประกอบการ SMEs แต่ละรายได้รับสินเชื่อตาม พ.ร.ก. Soft Loan และ บสย. จะเริ่มคิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันร้อยละ 1.75 ต่อปี เมื่อเริ่มการค้ำประกันในต้นปีที่ 3 ทั้งนี้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินร้อยละ 30
                             1.5 งบประมาณ: การดำเนินโครงการดังกล่าว บสย. จำเป็นต้องขอรับการชดเชยความเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริงเป็นจำนวนเงิน 9,120 ล้านบาท โดยเป็นค่าชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยในอัตราไม่เกินร้อยละ 16 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกัน (ร้อยละ 16*57,000 ล้านบาท) ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่ บสย. จะไม่สามารถบริหารสภาพคล่องเพื่อจ่ายชดเชยความเสียหายให้กับสถาบันการเงินได้ตามกำหนด ดังนั้น สำนักงบประมาณควรจัดสรรงบประมาณชดเชยตามความรับผิดชอบในการจ่ายค่าประกันชดเชยตามรายละเอียดโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส
                   2. การปรับปรุงการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19)
                             2.1 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                             คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 เห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนที่มีรายได้ประจำแต่มีรายได้ลดลงหรือขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID-19 วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้เงินไม่เกิน 3 ปี โดยรับคำขอกู้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2563 ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 1,012 ล้านบาท โดยยังมีวงเงินสินเชื่อคงเหลืออยู่อีกจำนวน 18,988 ล้านบาท
                             2.2 การปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
                             เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมประชาชนผู้ประกอบอาชีพทุกกลุ่ม จึงเห็นควรปรับปรุงการดำเนินโครงการ ดังนี้
                                      1) จัดสรรวงเงินจำนวน 10,000 ล้านบาท จากโครงการตามข้อ 2.1 ให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ รวมถึงบุคคลในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ภัยทางเศรษฐกิจ และภัยทางธรรมชาติ ทั้งนี้ สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ รวมถึงกรอบวงเงินงบประมาณที่รัฐบาลชดเชยยังคงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 โดยเพิ่มเติมระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน (6 งวดแรก) เพื่อบรรเทาภาระให้ลูกค้า
                                      2) จัดสรรวงเงินจำนวน 5,000 ล้านบาท จากโครงการตามข้อ 2.1 ให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดาในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และ Supply Chain เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจสปา นวดแผนไทย รถรับจ้างนำเที่ยว เกสต์เฮ้าส์ โฮสเทล เป็นต้น วงเงินต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ต่อปี ระยะเวลากู้ 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี ทั้งนี้ กรอบวงเงินงบประมาณที่รัฐบาลชดเชยยังคงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563
                   การดำเนินโครงการตามข้อ 1 และ 2 เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรการ 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ) และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ (คณะกรรมการฯ) เรื่องการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 โดยกระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำเสนอตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว การดำเนินโครงการดังกล่าวยังเข้าข่ายตามพระราชบัญญัติในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่ง บสย. และธนาคารออมสินในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการมาตรการดังกล่าว และกระทรวงการคลังในฐานะผู้เสนอเรื่องดังกล่าว ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรับมนตรีตามบทบัญญัติในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ บสย. และธนาคารออมสินต้องจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือ โครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. วินัยทางการเงินการคลังฯ
                   ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงิน การคลังฯ ได้กำหนดอัตรายอดคงค้างรวมทั้งหมดของภาระที่รัฐบาลต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละสามสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยกระทรวงการคลังรายงานว่า ณ สิ้นวันที่ 14 สิงหาคม 2563 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ มียอดคงค้างจำนวน 919,500.396 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 28.73 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 (วงเงิน 3,200,000 ล้านบาท) ซึ่งหากรวมภาระทางการคลังที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอีกจำนวน 18,500.472 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.57 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 จะส่งผลให้ยอดคงค้างทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 938,000.868 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 29.31 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น หากมีการดำเนินโครงการดังกล่าวจำนวนรวมทั้งสิ้น 9,120 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.28 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 947,120.868 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 29.59 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ที่คณะกรรมการฯ ได้ประกาศกำหนดไว้
                   3. การปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs อย่างทั่วถึง
                             3.1 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                                      1) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 เห็นชอบให้จัดสรรวงเงินจำนวน 80,000 ล้านบาท จากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้กับธนาคารออมสินเพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) โดยตรง ทั้งนี้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2563 อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 59,857 ล้านบาท
                                      2) ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs อย่างทั่วถึง โดยจัดสรรวงเงินจำนวน 10,000 ล้านบาท จากวงเงิน 80,000 ล้านบาทที่กล่าวข้างต้น (ทำให้วงเงินตามข้อ 3.1 1) เหลือ 70,000 ล้านบาท) โดยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่เคยขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินหรือไม่มีสินเชื่อคงค้างกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณสมบัติไม่เข้าข่ายตาม พ.ร.ก. Soft Loan                    ทั้งนี้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2563 อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 613 ล้านบาท
                                      3) นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 จัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อจำนวน 10,000 ล้านบาท จากโครงการ บสย. SMEs สร้างไทย เพื่อให้ บสย. ดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8 (PGS 8) เพื่อค้ำประกันสินเชื่อให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่เคยขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินหรือไม่มีสินเชื่อคงค้างกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยปัจจุบันยังไม่มีการใช้วงเงินค้ำประกันดังกล่าว
                             3.2 การปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
                             เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไปสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้มากขึ้น จึงเห็นควรปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs อย่างทั่วถึง ดังนี้
                                      1) จัดสรรวงเงินจำนวน 10,000 ล้านบาท ตามข้อ 3.1 1) ให้สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐ โดยใช้เงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เดิม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563
                                      2) ขยายขอบเขตคุณสมบัติของผู้ประกอบการ SMEs ตามข้อ 3.1 2) ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารออมสินให้ความช่วยเหลือโดยตรงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไปได้ จึงเห็นควรแบ่งวงเงินจำนวน 3,000 ล้านบาทให้กับธนาคารออมสินเพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยตรง
                                      3) ขยายขอบเขตคุณสมบัติของผู้ประกอบการ SMEs ตามข้อ 3.1 3) ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป และปรับวงเงินค้ำประกันต่อราย จากเดิมไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย รวมทุกสถาบันการเงิน เป็นไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน เพื่อให้รองรับลูกค้าได้มากขึ้น
                   4. ขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
                             4.1 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                             คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 เห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นผู้ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการอาชีพอิสระรายย่อยที่เป็นนิติบุคคล ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้แก่ ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง (รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า) บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2563 ธพว. อนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 417 ล้านบาท จึงยังมีวงเงินคงเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวอีกจำนวน 9,583 ล้านบาท
                             4.2 การปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
                             เพื่อให้ ธพว. สามารถให้ความช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงเห็นควรขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมถึงธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมทั้งบุคลธรรมดาและนิติบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ของโครงการ รวมถึงกรอบวงเงินงบประมาณที่รัฐบาลชดเชยยังคงเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563
                   5. การปรับปรุงหลักเกณฑ์และขยายเวลาการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 3
                   คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เห็นชอบโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 3 วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดย บสย. ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย วงเงินค้ำประกันไม่เกิน 200,000 บาทต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน ซึ่งสิ้นสุดการรับคำขอค้ำประกันเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดการรับคำขอแล้ว ยังมีวงเงินค้ำประกันโครงการคงเหลืออยู่ จำนวน 2,513 ล้านบาท ในการนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ จึงเห็นควรขยายระยะเวลารับคำขอค้ำประกันออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
 

ต่างประเทศ

23. เรื่อง การประชมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 3
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 3   (Draft Vientian Declaration  of the Third Mekong-Lancang Cooperation  (MLC) Leaders’ Meeting  และร่างถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกันระหว่างกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างกับระเบียบการค้าทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศแห่งใหม่  (Joint Statement on Cooperation  of Synerging  the Mekong-Lancang  Cooperation  and the New International Land-Sea Trade Corridor) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาและร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ  สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                   1. การให้ความสำคัญแก่ระบบพหุภาคีในการแก้ไขปัญหาความท้าทายต่าง ๆ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความร่วมมือตามหลักการของฉันทามติ ความเสมอภาค ความสมัครใจ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
                   2. การยินดีต่อความคืบหน้าของการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง อาทิ  การดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง การจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือและการดำเนินการของคณะทำงานร่วมในสาขาหลัก รวมทั้งการยกระดับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                   3. สำหรับความร่วมมือในอนาคต เน้นย้ำความสำคัญของการกระชับความร่วมมือภายใต้ 3 เสาและ 5 สาขาหลัก รวมทั้งการขยายไปสู่สาขาความร่วมมืออื่น ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศสมาชิก โดยแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ดังนี้
                             - ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
                             - ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                             - ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรม และประชาชนกับประชาชน
                             - ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนภายใต้กลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
                   ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิกฯ ในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกันระหว่างกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างกับระเบียงทางการค้าเชื่อมทางบก- ทางทะเลระหว่างประเทศแห่งใหม่ ผ่านการสนับสนุนเชิงนโยบายและทรัพยากรที่จำเป็น
 
24.  เรื่อง  การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM)
ครั้งที่ 52 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารทั้ง 7 ฉบับ และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารในข้อ 1 และให้ความเห็นชอบเอกสารในข้อ 2 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กระทรวงพาณิชย์เสนอเอกสาร จำนวน 7 ฉบับ ที่จะมีการรับรอง จำนวน 3 ฉบับ และให้ความเห็นชอบ จำนวน 4  ฉบับ ในช่วงที่จะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง สรุปดังนี้
                   1. ร่างเอกสารที่จะให้การรับรอง จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
                             1.1 ร่างดัชนีวัดการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน จัดทำขึ้นตามแผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียนเพื่อใช้วัดประสิทธิภาพและผลกระทบของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการด้านดิจิทัล ประกอบด้วย 6 ดัชนีหลัก ได้แก่ โลจิสติกส์และการค้าดิจิทัล การคุ้มครองข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การชำระเงินดิจิทัลและตัวตนดิจิทัล ทักษะดิจิทัลและผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล นวัตกรรมและผู้ประกอบการและความพร้อมเชิงสถาบันและโครงสร้างพื้นฐาน
                             1.2 ร่างเอกสารข้อริเริ่มร่วมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019  เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการประสานงานระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้ในการดำเนินงานที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีสาระสำคัญ คือ (1) การดำเนินการเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้าในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยอำนวยความสะดวกการขนส่งและการผ่านพิธีการศุลกากรของสินค้าจำเป็นสนับสนุนการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น (2) การอำนวยความสะดวกในการเดินทางข้ามพรมแดนของบุคคลธรรมดาควบคู่กับการสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานด้านสุขภาพ เพื่อลดผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจและสังคม และ (3) การลดผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนที่เกิดขึ้นจากโควิด -19 โดยสนับสนุนระบบการค้าระหว่างประเทศที่อยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบและกฎหมายของแต่ละประเทศ รวมถึงกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก และให้ความช่วยเหลือภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
                             1.3 ร่างแผนปฏิบัติการของอาเซียนบวกสามว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการตามถ้อยแถลงร่วมของรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามว่าด้วยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและประเทศคู่เจรจาบวกสามได้เคยรับรองเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 โดยมีสาระสำคัญ คือ (1) การรักษาตลาดที่เปิดกว้างสำหรับการค้าและการลงทุน โดยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าที่จำเป็นและการข้ามพรมแดนของนักธุรกิจ และหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการทางการค้า (2) การเสริมสร้างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคให้แข็งแกร่งและยั่งยืน มุ่งมั่นที่จะลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ตลอดจนการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต
                   2. ร่างเอกสารที่จะให้ความเห็นชอบ จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้
                               2.1 ร่างแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา และการขยายการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ปี 2563 – 2564  ประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การค้าดิจิทัล การลงทุน ความโปร่งใสและแนวปฏิบัติที่ดีในการออกกฎระเบียบ การค้าและสิ่งแวดล้อม การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการค้า การเชื่อมโยงระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และกฎระเบียบเทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
                                      2.2 ร่างแผนงานเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาร่วมระหว่างอาเซียนและแคนาดาด้านการค้าการลงทุน ปี 2564 – 2568 เป็นแผนงานที่ดำเนินงานตามปฏิญญาร่วมด้านการค้าและการลงทุนเพื่อช่วยเสริมสร้างกลไกการหารือในการประชุมระหว่างอาเซียนกับแคนนาดา ด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
                             2.3 ร่างแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหภาพยุโรป (ปี 2563 – 2564) เป็นเอกสารกำหนดแผนดำเนินงานเพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปในระยะเวลา 2 ปี ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ (1) การประชุมด้านนโยบายระดับสูง (2) การหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (3) การจัดทำกรอบกำหนดขอบเขตความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (4) การหารือกับภาคธุรกิจ (5) การหารือระดับผู้เชี่ยวชาญระหว่างสองภูมิภาค และ (6) กิจกรรมความร่วมมือ อาทิ โครงการการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม (ARISE Plus) และโครงการสนับสนุนกลไกการหารือระดับภูมิภาคที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน (e-READ)
                             2.4 ร่างแผนงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย สำหรับปี 2563 – 2568 และเอกสารข้อเสนอแนะสำหรับการสัมมนา “การร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียและอาเซียน”  (1) เป็นเอกสารว่าด้วยการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 จากเดิมสิ้นสุดในปี 2563 เป็นสิ้นสุดในปี 2568 ประกอบด้วยกิจกรรมความร่วมมือหลักใน 4 ด้าน ได้แก่ การหารือในระดับสูง กิจกรรมของภาคธุรกิจ กิจกรรมในเวทีองค์การระหว่างประเทศ และการหารือกับผู้เชี่ยวชาญและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ (2) เอกสารข้อเสนอแนะสำหรับการสัมมนาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียและอาเซียน เป็นเอกสารที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย
 

แต่งตั้ง

 
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ   (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายบรรเจิด  เดชาศิลปชัยกุล เภสัชกรเชี่ยวชาญ (ด้านเภสัชสาธารณสุข) กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ (ด้านอาหารและยา) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสมคิด   อุ่นเสมาธรรม นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
27. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ รวม 5 คน แทนผู้ที่ลาออกและแต่งตั้งเพิ่มเติม ดังนี้ 
                   1. นายพงศ์บุณย์ ปองทอง (ผู้แทน ทส.) ประธานกรรมการ
                   2. นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล กรรมการ
                   3. นายนำชัย แสนสุภา กรรมการ
                   4. พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ กรรมการ
                   5. ร้อยตำรวจโทหญิง ศรัณย์กร เลิศโอภาส (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)  กรรมการ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
                  
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
                   1. นางธิวัลรัตน์ อังกินันท์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
                   2. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
                   3. นายภาคิน สมมิตรธนกุล ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                   1. นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
                   2. นายจักษ์ พันธ์ชูเพชร ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)  
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 1 ราย ดังนี้ นายเอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระกรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
 
31. เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี  ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี ในวันที่ 21 และ 29 สิงหาคม 2563 ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ จำนวน 10 ราย ดังนี้
                   1. นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ 
                   2. นายทวี สุระบาล
                   3. นายทศพล เพ็งส้ม
                   4. นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา
                   5. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
                   6. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
                   7. นายอภิวัฒน์ ขันทอง
                   8. นายชื่นชอบ คงอุดม
                   9. นายสุทธิชัย จรูญเนตร
                   10. นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ
                   (หมายเหตุ : ลำดับที่ 1.-8. ครบวาระวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ลำดับที่ 9. และ 10. ครบวาระวันที่ 29 สิงหาคม 2563)
 
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ  อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง แทนตำแหน่งที่จะว่าง เนื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิมจะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 
                   1. นายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 
                   2. นายชุตินทร คงศักดิ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย              ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 
                   3. นายเชิดเกียรติ อัตถากร อธิบดีกรมสารนิเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง                     สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   4. นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสารนิเทศ
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง               เป็นต้นไป
 
34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายอนุชา บูรพชัยศรี ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
37. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอการแต่งตั้ง นายกวิน  ทังสุพานิช เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่  18 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
 
..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: