จับตา: มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 21 ต.ค. 2563 | อ่านแล้ว 5720 ครั้ง


เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบและรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150) เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2563 หลังรอมานาน 7 เดือน | ที่มาภาพประกอบ: awstruepower.com

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบและรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150) เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2563 หลังรอมานาน 7 เดือน โดยรายละเอียดทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอ ดังนี้

1.พิจารณา จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ (1) ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (Alternative Energy Development Plan 2018 : AEDP2018) (2) ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (Power Development Plan : PDP2018 Rev.1) (3) ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 (Energy Efficiency Plan : EEP2018) (4) ร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (Gas Plan 2018) (5) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 ซึ่งเป็นแผนระดับ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

2.รับทราบ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ (1) แนวทางการส่งเสริมพื้นที่ติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station Mapping) (2) การศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า (3) โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) (4) การกำหนดอัตราส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และ (5) ขอปรับปรุงหลักการและรายละเอียดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

สาระสำคัญของเรื่อง

พน. รายงานว่า ในคราวประชุม กพช. ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องเชิงนโยบายที่สำคัญและได้รับรองมติการประชุมเรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 เรื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1.ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (Alternative Energy Development Plan 2018 : AEDP2018) เพื่อรักษาเป้าหมายรวมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (ไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ) ต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 (ตามแผน AEDP2015) โดยปรับกรอบระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) สรุปได้ดังนี้

1.1 เป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จำนวน 10 ประเภทเชื้อเพลิง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 18,696 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ 52,894 ล้านหน่วย ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 เป็นร้อยละ 34.23 ซึ่งมากกว่าแผน AEDP2015 ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 20.11 ในปี พ.ศ. 2579 ได้แก่

ประเภทพลังงาน

กำลังการผลิต (เมกะวัตต์)

แผน AEDP2015

แผน AEDP2018

พลังงานแสงอาทิตย์

6,000

9,290

พลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ

-

2,725

ชีวมวล

5,570

3,500

พลังงานลม

3,002

1,485

ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย)

1,280

183

ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน)

1,000

ขยะชุมชน

500

400

ขยะอุตสาหกรรม

50

44

พลังน้ำขนาดเล็ก

376

69

พลังน้ำขนาดใหญ่

2,906

-

รวม

19,684

18,696

1.2 เป้าหมายการผลิตพลังงานความร้อนจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยมีสัดส่วนการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนต่อความต้องการใช้พลังงานความร้อนทั้งประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 เป็นร้อยละ 41.61 ซึ่งมากกว่าแผน AEDP2015 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 36.67 ณ ปี พ.ศ. 2579

ประเภทเชื้อเพลง

ความร้อนที่ผลิตได้ (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)

แผน AEDP2015

แผน AEDP2018

ชีวมวล

22,100

23,000

ก๊าซชีวภาพ

1,283

1,283

ขยะ

495

495

พลังงานแสงอาทิตย์

และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ

1,210

100

ไบโอมีเทน

-

2,023

รวม

25,088

26,901

1.3 เป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงในภาคขนส่งจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จำนวน 5 ประเภทเชื้อเพลิง ความต้องการเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง 40,890 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยมีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ณ ปี พ.ศ. 2580 ร้อยละ 9.99 ซึ่งน้อยกว่าแผน AEDP2015 ร้อยละ 25.04 ณ ปี พ.ศ. 2579

ประเภทเชื้อเพลิง

ความร้อนที่ผลิตได้ (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)

AEDP2015

AEDP2018

เอทานอล

2,104

1,396

ไบโอดีเซล

4,405

2,517

น้ำมันไพโรไลซิส

171

171

ไบโอมีเทน

2,023

-

เชื้อเพลิงทางเลือกอื่น ๆ

10

-

รวม

8,713

4,085

1.4 กพช. มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP2018) ตามที่ พน. เสนอ

2.ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1)

2.1 เปรียบเทียบ PDP2018 กับ PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ

PDP2018

PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1

การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2580

ปี 2580 พลังไฟฟ้าสูงสุด 53,997 เมกะวัตต์ พลังงานไฟฟ้า 367,458 ล้านหน่วย

คงเดิม

ภาพรวมของกำลังการผลิตไฟฟ้า ในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2580

77,211 เมกะวัตต์

คงเดิม

กำลังผลิตโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2580 แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า (เฉพาะที่เปลี่ยนแปลง)

โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 8,300 เมกะวัตต์

 

โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 15,096 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,200 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 6,900 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ตามแผน AEDP ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2580

ภาพรวม 18,696 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการโรงไฟฟ้าตามนโยบายส่งเสริมภาครัฐ (นโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) 520

เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าตามแผน AEDP

18,176 เมกะวัตต์

ภาพรวมคงเดิม 18,696 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าตามนโยบายส่งเสริมภาครัฐ 2,453 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าตามแผน AEDP 16,243 เมกะวัตต์

สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิง (เฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไป)

เชื้อเพลิงถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 12 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20

เชื้อเพลิงถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 11 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 21

การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ปี พ.ศ. 2580

0.283 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง 103,845 พันตัน

0.271 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง 99,712 พันตัน

ประมาณการค่าไฟฟ้าขายปลีก

ปี พ.ศ. 2580

3.61 บาทต่อหน่วย

3.72 บาทต่อหน่วย

2.2 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีความเห็น ดังนี้ (1) การปรับแผนการจัดหาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนไม่กระทบต่อความมั่นคง (2) การปรับแผนการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโดยให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากจำนวน 1,933 เมกะวัตต์ ในช่วงปี 2563 - 2567 จะมีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนควรพิจารณาด้านปริมาณ ราคา และระยะเวลาที่เหมาะสม (3) ควรมีการพิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศให้เท่าทันและสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีการปรับเปลี่ยนไป รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้นของประเทศคู่ค้าด้วย

2.3 กพช. มีมติ ดังนี้

2.3.1 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1) ตามที่ พน. เสนอ

2.3.2 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ในปริมาณ 700    เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ให้ พน. ทำการประเมินผลการดำเนินงานในเรื่องของผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจฐากราก และความยั่งยืนของโครงการฯ ให้ กพช. ทราบด้วย

2.4 พน. ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า พน. มีนโยบายการส่งเสริมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 และได้บรรจุโครงการฯ ไว้ในแผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 และแผน AEDP2018 ทั้งนี้ โครงการฯ ได้กำหนดเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าในช่วงปี 2563 – 2567 ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,933เมกะวัตต์ โดยจะดำเนินการในระยะแรกปี 2563 – 2564 ปริมาณ 700 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการ Quick Win ที่มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 2563 จำนวน 100 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2564 จำนวน 600 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ พน. จะประเมินผลการดำเนินงานโครงการระยะแรกในเรื่องผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของโครงการฯ ก่อนแล้วจึงจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจำนวน 1,233 เมกะวัตต์ ในปี 2564 - 2567 เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

3.ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 - 2580 (Energy Efficiency Plan 2018 : EEP2018) มีรายละเอียด ดังนี้

3.1 มีเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงาน (EI) ลงร้อยละ 30 ภายในปี พศ. 2580 เมื่อเทียบกับปี พศ. 2553 คือ ลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 จากระดับ 181,238 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในกรณีปกติลดลงไปอยู่ที่ระดับ 126,867 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นเป้าหมายผลการประหยัดพลังงานเท่ากับ 54,371 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยผลการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2560 คิดเป็นพลังงานที่ประหยัดได้สะสมประมาณ 5,307 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และสามารถลดความเข้มการใช้พลังงาน (EI) ลงได้ร้อยละ 7.63

3.2 มีเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น 49,064 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบของปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553

3.3 ปรับกลยุทธ์การขับเคลื่อนแผนฯ โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย 5 สาขาเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า บ้านอยู่อาศัย เกษตรกรรม และขนส่ง แบ่งเป็น 3 กลยุทธ์ คือ

3.3.1 กลยุทธ์ภาคบังคับ มีการกำกับดูแลให้ผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ในภาคภาคส่วนต่าง ๆ ต้องมีการใช้พลังงานเป็นไปตาม มาตรฐาน มาตรการ/วิธีการกำหนดขึ้นอย่างเหมาะสม

3.3.2 กลยุทธ์ภาคส่งเสริม มีมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อเร่งรัดให้มีการตัดสินใจลงทุนเปลี่ยนอุปกรณ์ หรือดำเนินมาตรการด้านอนุรักษ์พลังงาน การส่งสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน ทั้งนี้ กลยุทธ์ภาคส่งเสริมจะลดความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ 62 คิดเป็นไฟฟ้า 8,862 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นความร้อน 21,786 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

3.3.3 กลยุทธ์ภาคสนับสนุน ช่วยเสริมกลยุทธ์ภาคบังคับ และกลยุทธ์ภาคส่งเสริมให้เกิดผลประหยัดด้านพลังงาน

3.4 กพช. มีมติเห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 (EEP2018) ตามที่ พน. เสนอ

4.ร่างแผนบริหารจัดการก๊าชธรรมชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (Gas Plan 2018) มีรายละเอียด ดังนี้

4.1 กรอบแนวคิดและเป้าหมายของ Gas Plan 2018 ได้แก่ ส่งเสริมการใช้ก๊าชธรรมชาติในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ เร่งรัดการสำรวจและผลิตก๊าชธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศ พื้นที่พัฒนาร่วมและพื้นที่ทับซ้อน พัฒนาและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ

4.2 สมมติฐานความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ ภาคการผลิตไฟฟ้า ประมาณการตาม PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซ (ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิต LPG และปิโตรเคมี) ประมาณการตามปริมาณก๊าชธรรมชาติในอ่าวไทย ภาคอุตสาหกรรมประมาณการตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งการคาดการณ์ GDP ปี พ.ศ. 2561 – 2580 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี และคำนึงถึงแผนการขยายโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ภาคขนส่งประมาณการตามแนวโน้มจำนวนรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicles : NGV)

4.3 ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.7 ต่อปี คาดว่าในปี    พ.ศ. 2580 จะอยู่ที่ระดับ 5,348 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แบ่งเป็นการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 67 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 21 โรงแยกก๊าซฯ ร้อยละ 11 และภาคขนส่งร้อยละ 1

4.4 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติ (21 กุมภาพันธ์ 2563) เห็นชอบร่าง Gas Plan 2018 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำแผนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับ Gas Plan 2018 รวมถึงศึกษาทบทวนโครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit : FSRU) ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน [F-1] เพื่อให้การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.5 กพช. มีมติเห็นชอบแผน Gas Plan 2018 ตามที่ พน. เสนอ และมอบหมายให้ สนพ. จัดทำแผนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับ Gas Plan 2018รวมถึงศึกษาทบทวนโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน [F-1] เพื่อให้การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำเสนอ กพช. พิจารณาต่อไป

5. แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567

5.1 แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 มีรายละเอียด ดังนี้

5.1.1 เป้าประสงค์ ดังนี้

5.1.2 แนวทางการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้

(1) ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำการแยกบัญชีตามกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ กลุ่มน้ำมันดีเซล กลุ่มน้ำมันเบนซิน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อหลีกเลี่ยงการอุดหนุนราคาข้ามกลุ่มเชื้อเพลิง (2) มีกรอบความต่างของราคาระหว่างราคาเชื้อเพลิงหลักของกลุ่มน้ำมันดีเซล และกลุ่มน้ำมันเบนซินในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับความต่างของราคาในสถานการณ์ราคาปกติ อย่างไรก็ตาม หากเกิดวิกฤตที่คาดว่าจะยาวนานจนส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ทำให้เงินกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่องให้พิจารณาอุดหนุนราคาดีเซลชนิดเดียว (3) ชดเชยราคาน้ำมันเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ (4) เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงที่ราคาลง เพื่อสะสมเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีสภาพคล่อง และ (5) ทบทวนแนวทางการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5.2 แผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อ

รายละเอียด

วิสัยทัศน์

เป็นกองทุนที่รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีประสิทธิภาพ และ    ธรรมาภิบาล

พันธกิจ

5 พันธกิจสำคัญ ประกอบด้วย (1) รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและป้องกันแก้ไขภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (2) บริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (3) ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ (4) บริหารจัดการระบบสารสนเทศของกองทุนน้ำมันฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และ (5) เผยแพร่ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันฯ ต่อสาธารณะ

ยุทธศาสตร์

(1) การรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

(2) การลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ

(3) การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามหลักธรรมาภิบาล

5.3 กพช. มีมติเห็นชอบแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเสนอ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กพช. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

6. เรื่องที่ กพช. มีมติเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ จำนวน 5 เรื่อง มีรายละเอียด ดังนี้

เรื่อง

มติ กพช.

1. แนวทางการสงเสริมพื้นที่ ติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า

(EV Charging Station Mapping)

เห็นชอบแนวทางการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามที่ พน. เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป

2. การศึกษาอัตราค่าไฟฟ้า และการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า

1. รับทราบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับระบบขนส่งสาธารณะ และศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า

2. เห็นชอบแนวทางการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตลอดทั้งวัน มีค่าเท่ากับอัตราค่าพลังงานไฟฟ้า ช่วงเวลา Off Peak ของผู้ใช้ไฟฟ้าตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบันประเภท 2.2 กิจการขนาดเล็ก อัตราตามช่วงเวลา (เท่ากับ 2.6369 บาทต่อหน่วย สำหรับแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 22 kV) โดยอัตราดังกล่าวต้องใช้กับเงื่อนไขการบริหารจัดการแบบ Low Priority หรือการใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้ามีความสำคัญลำดับรอง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้า

เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป และสามารถควบคุม ปรับลด หรือตัดการใช้ไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ เมื่อมีข้อจำกัดด้านความจุไฟฟ้าของระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น และรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อปฏิบัติทางเทคนิคของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตามพื้นที่รับผิดชอบ และใช้เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือจนกว่าจะมีประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่

3.  โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox)

1. รับทราบการดำเนินโครงการ ERC Sandbox ของสำนักงาน กกพ.

2. เห็นชอบในหลักการให้ผ่อนปรนให้มีการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนกับเอกชนผ่านโครงข่ายของการไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าบริการตามที่ กกพ. กำหนดภายใต้การกำกับของ กกพ. ร่วมกับการไฟฟ้า ทั้ง 3 แห่ง ในพื้นที่การดำเนินโครงการ ERC Sandbox โดยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมเพื่อใช้ในการทดสอบนวัตกรรมไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ ระยะเวลาแต่ละโครงการไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องไม่ได้รับผลกำไรในเชิงการค้าจากการดำเนินโครงการ โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานในการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า

4. การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

1. เห็นชอบกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนช้า ที่อัตราคงเดิม 0.1 บาทต่อลิตร ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการต่าง ๆ ในเรื่องต้นทุนรายจ่ายด้านพลังงาน โดยพิจารณาระดับฐานะการเงินที่ไม่กระทบภารกิจของกองทุนฯ ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน

2. เห็นชอบร่างประกาศ กพช. เรื่อง การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร และน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามา เพื่อใช้ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ กพช. นำเสนอประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติลงนามต่อไป

5. ขอปรับปรุงหลักการและรายละเอียดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักการและรายละเอียดของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน

เพื่อเศรษฐกิจฐานราก ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 และวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ดังนี้

1. โรงไฟฟ้าชุมชนให้เน้นผลิตไฟฟ้าตามศักยภาพของเชื้อเพลิงที่มีในพื้นที่ มีขนาดเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมและความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม และกระทบค่าไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าในระดับที่รับได้เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่เศรษฐกิจฐานรากได้รับ

2. โรงไฟฟ้าชุมชน ให้มีส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้กับ “กองทุนโรงไฟฟ้าชุมชน” ซึ่งจะมีการจัดตั้ง และกำหนดระเบียบการใช้จ่ายเงินขึ้นมาใหม่ โดยให้นำเสนอให้ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. โครงการ Quick win ให้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในปี 2563 และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายใน 12 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: