22 มี.ค. ป่วยเพิ่ม 188 คน สะสม 599 คน เตรียมทำประวัติประชากรที่เดินทางกลับภูมิลำเนา

กองบรรณาธิการ TCIJ 22 มี.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1199 ครั้ง

22 มี.ค. ป่วยเพิ่ม 188 คน สะสม 599 คน เตรียมทำประวัติประชากรที่เดินทางกลับภูมิลำเนา

22 มี.ค. 2563 สธ. แถลงพบผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มวันเดียว 188 คน รวมผู้ป่วยสะสมในไทย 599 คน มีทั้งผู้สัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเดิม สนามมวยและสถานบันเทิง และกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขอความร่วมมืออย่าเดินทางกลับภูมิลำเนาลดการแพร่เชื้อ อธิบดีกรมควบคุมโรคส่งหนังสือด่วนที่สุด ถึง 5 ส่วนราชการ ผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ และหน่วยงานด้านขนส่ง ขอให้ทำความสะอาดยานพาหนะ และให้ผู้ว่าฯ ทำประวัติประชากรที่เดินทางกลับภูมิลำเนา

22 มี.ค. 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยล่าสุด พบผู้ป่วยเพิ่ม 188 คน จำแนกเป็นผู้ป่วย 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือสถานที่ที่พบผู้ป่วย จำนวน 65 คน ดังนี้

1.สนามมวย 21 คน คือ นักมวย เซียนมวย คนปล่อยแถว ผู้ชมทั้งใน กทม. เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชลบุรี พัทลุง แพร่ และสมุทรปราการ

2.สถานบันเทิง 5 คน พนักงานร้าน พนักเงินเสิร์ฟ พนักงานต้อนรับ

3.พิธีทางศาสนามาเลเซีย 2 คน นราธิวาส ยะลา

4.ผู้สัมผัสผู้ป่วย 37 คน กระจายอยู่ทั้ง กทม. สมุทรปราการ สุโขทัย สงขลา ขอนแก่น และอุดรธานี รวมถึงสัมผัสผู้ป่วยในสนามมวย สนามบันเทิง

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยใหม่ 15 คน

1.เดินทางจากต่างประเทศ รวม 8 คน เป็นคนไทย 6 คน และนักเรียนกลับต่างชาติ 2 คน

2.ทำงานในสถานที่แออัด 7 คน ค้าขายล็อตเตอร์รี่และขายสินค้าในสนามมวย

นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยอาการหนักจำนวน 7 คน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลเอกชน ทุกคนใส่เครื่องช่วยหายใจ และต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด

ทั้งนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยรวมสะสมอยู่ที่ 599 คน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 533 คน หายแล้ว 45 คน และเสียชีวิต 1 คน

นพ.ทวีศิลป์ ยังระบุว่า ขอความร่วมมือประชาชน การตรวจเชื้อ COVID-19 หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงให้กักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อสังเกตอาการเท่านั้นไม่ต้องตรวจ และผู้ที่ต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจหาเชื้อ คือ กลุ่มอาการไข้และกลุ่มมีอาการทางเดินหายใจ ขณะนี้การตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อแล้วเป็นหลักหมื่น แต่พบเชื้อเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า วานนี้ (21 มี.ค.) จาก คำสั่ง กทม. ปิดสถานบริการต่างๆ มีแนวโน้มประชาชน กทม. มีทั้งแรงงานและประชาชนเคลื่อนย้ายไปยังภูมิภาค อาจทำให้มีการเคลื่อนย้ายตัวโรค จึงมีคำสั่งจากคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ทำหนังสือไปยังผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ขอความร่วมมือทำแผนปกิบัติการเฝ้าระวังโรค อำเภอ-หมู่บ้าน คนที่กลับจาก กทม.

ขณะนี้กรมควบคุมโรค เร่งทำแผนค้นหา เฝ้าระวัง ป้องกันโรค โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

1.ตั้งทีมอาสา COVID-19 ระดับอำเภอ หมู่บ้าน ค้นหาและเฝ้าระวัง

2.ทำฐานข้อมูลคนที่กลับถิ่นฐาน ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.

3.ให้ความรู้ความเข้าใจให้กับคนเดินทางกลับ เพื่อแยกตัวสังเกตอาการไข้ทุกวัน

4.เลี่ยงเดินทางออกที่อยู่ 14 วัน

5.แจ้งผู้กลับภูมิลำเนาเคร่งครัด ไม่ใช่พาชนะร่วมคนอื่น ไม่ใช่หมอน ผ้าเช็ดตัว หมอน ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับคนอื่น ถ้ามีไข้ให้ใส่หน้ากาก รีบแจ้งเจ้าหน้าทีทันที่

นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคจะประสานไปยังกรมขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการดังนี้

1.แจ้งผู้ประกอบการขนส่งรถ ทำความสะอาดก่อน-หลังเดินทาง เน้นพื้นที่สัมผัสร่วม เช่น ราวบันได ประตู ห้องน้ำ

2.เก็บข้อมูล ชื่อ สกุล เบอร์โทรศัพท์ บันทึกในแอพพลิเคชันของหน่วยงาน

3.คัดกรองก่อนเดินทางออก กทม. –ปริมณฑล ถ้าพบคนมีไข้แนะนำให้กลับที่พัก

4.แนะนำวิธีป้องกัน เช่น ล้างมือด้วยน้ำ สบู่ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และจัดหาหน้ากากฯ ให้สวมใส่

5.ลดความแออัดผู้โดยสาร ด้วยการจัดที่นั่งเว้นระยะห่าง

6.เมื่อถึงปลายทางหากผู้โดยสารมีไข้ อาการเดินทางหายใจ ให้แจ้งสถานีส่งสาธารณสุข

เตรียมทำประวัติประชากรที่เดินทางกลับภูมิลำเนา

มื่อคืนที่ผ่านมา (21 มี.ค.2563) นพ.สุวรรณชัย ยิ่งวัฒนาเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ส่งหนังสือด่วนที่สุด จำนวน 5 ฉบับ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ และผู้อำนวยการสนามบินดอนเมือง

หนังสือดังกล่าว มีใจความสำคัญให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวังและจัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. พร้อมขอความร่วมมือผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่นโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหากได้รับเชื้อโควิด 19

ส่วนหนังสือที่ส่งถึงหน่วยงานด้านการคมนาคมขนส่ง มีใจความให้เก็บบันทึกข้อมูลชื่อ นามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้โดยสาร ให้มีการตรวจคัดกรองก่อนเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะ ลดความแออัดเว้นระยะที่นั่งของผู้โดยสาร และให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีเมื่อถึงปลายทาง หากพบว่าผู้โดยสารมีอาการไข้และทางเดินหายใจ


ที่มาเรียบเรียงจาก Thai PBS [1] [2]

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: