เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เผย ‘ผลเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพบนออนไลน์’

กองบรรณาธิการ TCIJ 23 ม.ค. 2563 | อ่านแล้ว 2425 ครั้ง

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เผย ‘ผลเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพบนออนไลน์’

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เผย ‘ผลเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพบนออนไลน์’ ยังพบถึง 40% ที่ อย. ยกเลิกเลขสารบบแล้ว พร้อมเรียกร้อง อย. และตลาดออนไลน์จัดการภายใน 24 ชั่วโมง เชื่อมฐานข้อมูลกับภาครัฐจัดการ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย 

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2563 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ได้จัดแถลงข่าว ‘ผลการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพตลาดและสื่อสังคมออนไลน์’ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพบน ออนไลน์ จำนวน 100 รายการ จากทั้งห้างออนไลน์ ได้แก่ Shopee, Lazada, Beauty Nista, Cmart, lnwMall, Shop at 24, Watson และ JD Central และจากสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook (เฟสบุ๊ค), Instagram (อินสตาแกรม) และ Line (ไลน์) ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 2562-31 ธ.ค. 2562  
 
นางสาวสถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการ มพบ. กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในสื่อออนไลน์ พบว่ามีผลิตภัณฑ์สุขภาพ 40 รายการ ที่ถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยกเลิกเลข สารบบแล้ว อีกทั้งยังมีการใช้ข้อความโฆษณาเกินจริงหรือเป็นเท็จด้วย  
 
โดยใน 40 รายการดังกล่าว แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก 29 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 72.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรา ดีฟิน, นิวเวย์ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คาชูรี่, ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร มูมิว, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นิกกี้เวลล์, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  เอลลี่, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครดิต้า, เอฟ วี จี (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไอกะ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอวีร่า, เอ็น. เค.ที.ดับเบิ้ลยู, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โลริต้า - ชีเด้, อันโย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, คองกาเซีย (ผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร), ฮอปเปอร์ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), เรนนี่ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), อะมาเรนต้า (ผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไมโอนี, คอนฮัสค์ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), เครื่องดื่มสมุนไพร ผสมมะขามป้อม ชนิดแห้ง (ตราขวัญดาว), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา เมลโล่ เมล่อน), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา เคซีพี), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา ซินเนีย), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา ฮิปโป), ลูกปัด (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา ย่าจันทร์), ชาเขียวมัทฉะ ดีที ไฟต์, ชาสมุนไพร ไนซ์ เฮิร์บ (ลูกสำรอง, ฝักมะขาม แขก, ใบมะขามแขก, พุทราจีน, ดอกกระเจี๊ยบ, มะตูม, ปอกะปิด, เก๊กฮวย, ใบเตย, ใบเจี่ยวกู่หลาน) และ ชา สมุนไพรมะตูม, เก๊กฮวย, ดอกกระเจี๊ยบ, ใบเตยหอม ผสมหญ้าหวาน (ตราบ้านเสาวลักษณ์) 
 
ผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาโรค 6 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ได้แก่ น้ำมันกระเทียมในแคปซูลของแรนแบ็กซี่, ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี (ตราฟอร์เอเวอร์), เลค แคปป์ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร), เครื่องดื่มสมุนไพร จับเลี้ยงชนิด ผง (ตราน้ำเต้าทอง), ชาสมุนไพรใบหม่อนผสมเจี่ยวกู้หลาน (ใบหม่อน, ใบเจี่ยวกู้หลาน, รากชะเอมเทศและ เห็ดหลินจือ) (ตราที - มิกซ์) และ กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง (ตรา อีซี่ 9 คาเฟ่) 
 
ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว 3 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดี 4 เอสซี (ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร), มอลล่า (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา เอล เดโค่) 
 
และ ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ 2 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา ซูลู) และ วูฟ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)  
      
นางสาวสถาพร กล่าวอีกว่า จากการประชุมหารือใน ‘เวทีความร่วมมือการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิด กฎหมายในสื่อออนไลน์’ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ ข้อสรุปว่า ห้างออนไลน์ต่างๆ ควรมีการใช้ Application Programming Interface (API) เชื่อมกับหน่วยงาน กำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น อย., กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และห้างออนไลน์ รวมถึงมีการแสดงการเชื่อมโยงให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่ง API เป็น บริการช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่นๆ ที่ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) (ETDA) กำลังมีการดำเนินการให้เกิดระบบ Stop E - Commerce Fraud (Social Listening) โดยให้ระบบกวาดข้อมูลในสื่อออนไลน์เข้ามาตรวจสอบ ตลอดเวลา (อาจจะทุก 1 - 2 ชั่วโมง ในกรณีที่ฉุกเฉิน) หากพบข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ระบบดังกล่าวจะส่งไปตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บริโภคและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทราบได้ทันที 
      
ด้าน นางสาวพวงทอง ว่องไว เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่าจากการเฝ้าระวังโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย พบว่าผู้ขายมีการจ้าง ดารา หรือเน็ตไอดอลที่มียอดคนติดตามมากๆ ใน ออนไลน์มาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ อย.ยกเลิกเลขสารบบไปแล้ว ซึ่งการใช้ดารา หรือเน็ตไอดอลทำ การตลาดมีส่วนทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว และหากมีผู้หลงเชื่อสัก 1% ของยอดผู้ที่ ติดตามดาราหรือเนทไอดอลคนนั้น ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคอย่างมาก หากบุคคลเหล่านั้นรับ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงมาบริโภค  
 
“อยากฝากไปถึงดารา เน็ตไอดอล นักวิชาการ หรือผู้ที่มีชื่อเสียง ถ้าหากจะรับผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ มา โฆษณา ควรตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพและโฆษณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะรับโฆษณา เช่น สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสอบถามจากเฟซบุ๊กเพจ ซอกแซกสื่อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” นางสาวพวงทอง กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจุบันในช่องทีวีดิจิทัลทั้งหลายก็มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยเชิญดารามาคุยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ  อาทิ การโฆษณาในรายการขายสินค้า โดยเฉพาะ หรือการโฆษณาหลังละคร หลังรายการข่าว เกือบทุกช่วงเวลา ซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แก่ผู้บริโภค ส่วนนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเกี่ยวกับทีวีดิจิทัลควรตรวจสอบและมีมาตรการในการกำกับเนื้อหา รายการ ประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพหลอกลวง สร้างความ รำคาญแก่ผู้บริโภค 
 
ส่วน นายพงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคตะวันตก กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังครั้งนี้ พบว่ามีผลิตภัณฑ์สุขภาพบางตัวที่ชื่อ ตรา และบรรจุภัณฑ์เหมือนกันทุกอย่าง แต่กลับมีถึง 3 เลข อย. ซึ่งเลข อย. บางตัวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าเลข อย. ยังมีปัญหาไม่สามารถควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน รวมถึงเมื่อเข้าไปค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อย. ก็พบการ แสดงข้อมูลที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เช่นแสดงสถานะผลิตภัณฑ์ว่ายกเลิก แต่กลับแสดงสถานะสถานที่ ผลิตว่าคงอยู่ เป็นต้น ดังนั้น จึงขอเสนอให้ อย. มีการปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีความเข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมถึงเพิ่ม ข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงสถานะอื่นๆ คือ วันที่อนุมัติเลข อย. รวมถึงวันที่อนุมัติอนุญาตผลิต การแสดงวันที่และ สาเหตุในการยกเลิกเลข อย. รวมถึงการเพิ่มภาพประกอบผลิตภัณฑ์ โดยอาจให้ผู้ประกอบการเข้าไปอัปเดตรูป ภาพหากมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง เป็นต้น 
 
นอกจากนี้ ในการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพใหม่ๆ ควรมีการตรวจสอบให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น คือ ห้ามให้ใช้ชื่อเดิม หรือชื่อที่มีทำนองคล้ายกัน เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน ส่วนผู้ประกอบการที่เคยถูก ยกเลิกเลข อย. มาก่อน อย. ควรมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายให้มากขึ้น เนื่องจากพบปัญหาเมื่อนำมา วางจำหน่ายกลับมีการใช้บรรจุภัณฑ์และชื่อเดิม อีกทั้งฐานข้อมูลที่จัดทำขึ้นนี้ควรเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐ อื่นๆ ด้วย เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)  กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) หรือ สคบ. เพื่อให้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการรายนั้นๆ ได้ 
 
ด้าน นางสาวชนัญชิดา ตัณฑะผลิน เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการเฝ้าระวัง พบว่าผู้ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์มีการใช้ชื่อแฝง และไม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่าผู้ขายเหล่านี้ได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือจด ทะเบียนตลาดแบบตรงกับ สคบ. หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ภาครัฐควรเข้ามาจัดการอย่างจริงจัง จึงขอให้กรม พัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) พัฒนาระบบตรวจสอบผู้ขายที่จดทะเบียน ให้สามารถค้นหาได้จากข้อมูลอื่น นอกจากเลขทะเบียน เนื่องจากผู้ขายไม่ได้ตั้งชื่อร้านตรงกับที่จดทะเบียน และให้ สคบ. บังคับใช้กฎหมายกับ ผู้ขายสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างเคร่งครัด โดยให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีการรับจดทะเบียนผู้ขายสินค้า ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยไม่มีทุนขั้นต่ำ รวมถึงขอเสนอให้ทั้งสองหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับจดทะเบียน ผู้ประกอบการขายของออนไลน์มีมาตรการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้ผู้ขายออนไลน์มาจดทะเบียน และมี การให้รางวัลนำจับ 50% แก่ประชาชนที่แจ้งเบาะแสผู้ขายที่ไม่จดทะเบียนตามกฎหมาย 
 
ขณะที่ นางสาวจุฑา สังฃชาติ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังดังกล่าวผ่านทางเฟ ซบุ๊ก พบว่านอกจากตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย เราได้มีการแจ้งเตือนภัยไปยังเจ้าของเฟซบุ๊กที่พบ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้จัดการนำโฆษณาดังกล่าวออกจากระบบ แต่ก็พบว่าบางเฟซบุ๊กไม่มีการ เคลื่อนไหว  อีกทั้งการติดตามหาตัวผู้ขายในเฟซบุ๊กก็ดำเนินการได้ยาก จึงเห็นว่าเพื่อจัดการปัญหานี้  จึงมี ข้อเสนอในการสร้างช่องทางที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคช่วยกันแจ้งเบาะแส เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ที่มีการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย  ให้ช่วยกันระดมกันเข้าไป Report เพื่อให้ลิงค์หรือ บัญชีที่โฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นหายไป  
ส่วน นางณัฐชา ชัยมี เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคตะวันออก กล่าวว่าจากการเฝ้าระวังครั้งนี้ พบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายรายการที่อย.ได้ยกเลิกและมีการมีจำหน่ายในออนไลน์ มีโรงงานสถานที่ผลิตใน ต่างจังหวัดหลายแห่ง มีการไปจดแจ้งเลข อย.ในหลายจังหวัด ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดที่ต้องช่วยตรวจสอบ และเห็นว่าเมื่อมีการร้องเรียนปัญหาที่เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพไปยัง สสจ.แล้ว สสจ.ควรดำเนินการส่งข้อมูลต่อให้กับ อย. เพื่อประสานแจ้งปัญหาร้องเรียนให้ สสจ.ในจังหวัดอื่นๆ ทั่ว ประเทศทราบพร้อมกับร่วมกันตรวจสอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายดังกล่าวด้วย  
 
สุดท้าย นายโสภณ หนูรัตน์ นักวิชาการ มพบ. กล่าวว่า องค์กรผู้บริโภคที่ได้เฝ้าระวังได้นำผลการเฝ้าทั้ง 40 รายการ ส่งให้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมายกับตลาดออนไลน์ ผู้ขาย และผู้โฆษณา ขอให้ตรวจสอบและดำเนินคดีโดยรวดเร็ว โดยใช้บทลงโทษขั้นสูงสุด เช่น มีคำสั่งพักใช้ ใบอนุญาตผลิตอาหาร มีคำสั่งงดผลิตอาหารทุกรายการเพื่อจำหน่าย มีคำสั่งระงับการโฆษณา หากฝ่าฝืนให้ ปรับรายวัน และการปรับ ให้ปรับในอัตราขั้นสูงสุด ประสานส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสคบ. และกรม พัฒนาธุรกิจการค้าตรวจสอบผู้ขายและดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ขาย รวมถึงส่งให้กับสำนักงานพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กอง บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อให้ดำเนินคดีในฐานนำเข้า ข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 และประกาศผลการ ดำเนินการให้ประชาชนทราบทันที  
 
นอกจากนี้ ได้มีการส่งเรื่องให้ตลาดออนไลน์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ เพื่อให้ดำเนินการจัดการนำข้อมูลโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายออกจากเว็บไซต์โดยเร็วหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน 
 
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้จัดเวทีความร่วมมือการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์ สุขภาพผิดกฎหมายในสื่อออนไลน์ร่วมกับหน่วยงานและผู้ประกอบการตลาดออนไลน์ มีการนำเสนอผลเฝ้า ระวัง และได้มีการทำความร่วมมือในการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย คือให้ อย.จัดส่งข้อมูลรายการ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อย. ได้ยกเลิกเลขสารบบให้แก่องค์กรผู้บริโภค ผู้ประกอบการตลาดออนไลน์ และสมาคม ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย รวมถึงมีกลุ่มไลน์ร่วมกันได้การแลกเปลี่ยนข้อมูล และส่งต่อเรื่อง ร้องเรียนเพื่อให้ผู้ประกอบการตลาดออนไลน์จัดการภายใน 24 ชั่วโมง รวมถึงสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อมข้อมูลกับ อย.เพื่อกรองข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนวางจำหน่าย และมีระบบตรวจสอบ ข้อมูลหลังการขาย และช่วยให้ผู้บริโภคสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพจากตลาดออนไลน์ได้ง่ายขึ้น 
 
ทั้งนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค มีข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จัดการปัญหาผลิตภัณฑ์ สุขภาพออนไลน์ ดังต่อไปนี้ 
 
1. การจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เพิกถอนทะเบียนหรือผิดกฎหมาย โดยให้ อย. ส่งรายการผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องสำอางให้ผู้ประกอบการห้างออนไลน์ทุกราย ทุกเดือน เพื่อจัดการป้องกันหรือนำออกจาก ตลาดออนไลน์ และหากยังพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เพิกถอนทะเบียนหรือผิดกฎหมายให้ อย. ลงโทษขั้นสูงสุด  
 
2. ฐานข้อมูลที่ช่วยป้องกันปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ ให้มีการปรับปรุงเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น  
- การเข้าถึงฐานข้อมูลต้องทำให้ง่าย และแสดงในหน้าแรกของเว็บ อย. เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจนสะดวกไม่ต้องเข้าไปหลายช่องทาง  
- การแสดงสถานะผลิตภัณฑ์ กับสถานะใบอนุญาตสถานที่ผลิต ต้องปรับให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น 
- ให้ผู้ประกอบการเพิ่มเติมภาพผลิตภัณฑ์ โดยให้ส่งรูปภาพผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่จำหน่าย นับแต่ขอเลขสารบบและเมื่อมีการแก้ไขจะต้องส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง   
- วันที่อนุมัติเลข อย. วันที่อนุมัติอนุญาตผลิต รวมถึงวันที่และสาเหตุการยกเลิก 
- ขอให้ผู้ประกอบการตลาดออนไลน์ส่งรายชื่อผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ขาย ให้แก่สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  
- ให้หน่วยงาน อาทิ ETDA. ปอท. ปคบ. สคบ. DBD และ อย. เชื่อมฐานข้อมูลร้องเรียนฐานข้อมูลผู้ขาย และฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกดำเนินคดี 
 
3. ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัยกับผู้บริโภค 
- กรณีพบโฆษณาเกินจริง ให้ อย. บก.ปคบ. บก.ปอท. บังคับใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  
- ให้ DBD มีมาตรการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้ผู้ขายออนไลน์มาจดทะเบียน และมีรางวัลนำจับ กรณีผู้ขายไม่จดทะเบียนกับ DBD 
 
4. จัดทำ Application Programming Interface (API) ของสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
- เมื่อผู้ประกอบการกรอกชื่อสินค้าเพื่อจะขาย สามารถดึงเลขจดแจ้งมาได้ทันที เป็นการกรองก่อนให้ ขาย ปลอมเลขจดแจ้ง 
- มีการตรวจข้อมูลหลังขาย  
- ขอความร่วมมือ อย. เพื่อให้เชื่อมฐานข้อมูลกับตลาดออนไลน์ให้เร็วที่สุด 
- อย. ควรจะขอความร่วมมือจากตลาดออนไลน์ เพื่อขอข้อมูลกลุ่มผู้ขายที่มีทั้งหมด 
- ควรมีการทำให้การคีย์เลขทะเบียนใช้เวลาให้น้อยลง เพื่อทำให้การสืบค้นง่ายขึ้น 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: