24 เม.ย. ไทยติดเชื้อเพิ่ม 15 คน สะสม 2,854 คน เสียชีวิต 0 คน สะสม 50 คน รักษาหายสะสม 2,490 คน

กองบรรณาธิการ TCIJ 24 เม.ย. 2563 | อ่านแล้ว 1664 ครั้ง

24 เม.ย. ไทยติดเชื้อเพิ่ม 15 คน สะสม 2,854 คน เสียชีวิต 0 คน สะสม 50 คน รักษาหายสะสม 2,490 คน

24 เม.ย. 2563 ศบค. แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 15 คน รวมผู้ติดเชื้อสะสม 2,854 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต รวมผู้เสียชีวิตสะสม 50 คน รักษาหาย 60 คน รักษาหายสะสม 2,490 คน ขณะที่พบ 5 จังหวัดคือชลบุรี ภูเก็ต ปัตตานี ยะลา และชุมพร มีการระบาดแบบกลุ่มก้อนตั้งแต่ 5-50 คน

24 เม.ย. 2563 Thai PBS รายงานว่า นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่า พบมีผู้ป่วยเพิ่ม 15 คน ผู้ป่วยสะสม 2,854 คน วันนี้มีคนหายกลับบ้านเพิ่มอีก 60 คน รวมหายกลับบ้าน 2,490 คน รักษาตัวในโรงพยาบาล 314 คนและไม่มีคนเสียชีวิตเพิ่ม รวมตัวเลข 50 คน

สำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่ 15 คน ยังเป็นกลุ่มสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยก่อนหน้า 9 คน คนไทยกลับจากต่างประเทศ 1 คน ไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า และตลาดนัด 1 คนจากพื้นที่ จ.ปทุมธานี

“นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อ 4 คนจากการค้นหาเชิงรุก จ.ยะลา ทำให้มีตัวเลขรวม 15 คนจากการค้นหาเชิงรุก ส่วนภาพรวมผู้ติดเชื้อ ในกทม.มากที่สุด 1,457 คน ภูเก็ต 200 คน นนทบุรี 152 คน”
ขณะที่ยังพบว่ากทม.มีผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) รวม 11,665 คน ยะลา 4,448 คน ภูเก็ต 2163 คนนนทบุรี 3,630 คน ชลบุรี 1,879 คน สมุทรปราการ 1,362 คน ทั้งนี้ขอให้ผู้ที่มีอาการเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

ชุมพร-ภูเก็ต พบการระบาดแบบกลุ่มก้อน

โฆษก ศบค.กล่าวอีกว่า สำหรับกลุ่มจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วย 9 จังหวัด คือ อ่างทอง สิงห์บุรี ตราด ชัยนาท กำแพงเพชร พิจิตร น่าน บึงกาฬ ระนอง สตูล ส่วนจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 7 วัน 14 จังหวัด เช่น กทม. พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กระบี่ ชุมพร นราธิวาส ภูเก็ต ส่วนกลุ่มไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 14-28 วัน 35 จังหวัด เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี

ขณะที่การทำข้อมูลการระบาดแบบกลุ่มก้อนที่ยังพบผู้ป่วยต่อเนื่อง (Active cluster) ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ภูเก็ต ปัตตานี ยะลา และชุมพร ซึ่งมีตัวเลขการระบาดทำให้คนเสียชีวิต และติดเชื้อเพิ่มตั้งแต่ 5 คนจนถึง 50 กว่าคน เช่น กรณีการในพื้นที่ อ.ถลาง ภูเก็ต เริ่มจากผู้ทำงานในสถานบันเทิง สัมผัสชาวต่างชาติ 3 คน กระทั่งค้นหาเชิงรุกที่้บ้าน ชุมชน ตำบล รวม 31 คน

“ส่วนที่ จ.ชุมพร ในพื้นที่ อ.เมือง ท่าแซะ และทุ่งตะโก มีผู้เสียชีวิต 2 คน และผู้ป่วยทั้งหมด 20 คนในช่วงวันที่ 2-22 เม.ย.นี้”

โดยเคสชุมพร จำนวนนี้มีบุคลากรการแพทย์ 1 คน ผู้ป่วยในหอเดียวกัน 5 คน ผู้ที่มาดูแลที่โรงพยาบาล 2 คน และร่วมบ้านและชุมชน 10 คน ซึ่งทีมสอบสวนโรคต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด

ทำให้ขณะนี้ต้องมีการตรวจเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ ปัจจุบันสามารถตรวจหาเชื้อในพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัดรวม 20,000 ตัวอย่างต่อวัน มีแล็บตรวจทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนรวม 123 แห่งและต่อไปจะให้ครบในทุกจังหวัดทั้งในภาครัฐ เอกชนเป็น 176 แห่งทั่วประเทศ

สถานการณ์โลกน่าห่วง-ยังไม่เลิกล็อกดาวน์

ขณะที่ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อแล้ว 2,700,000 คน อาการหนัก 50,000 คนคน เสียชีวิต 190,000 คน คนคิดเป็นอัตราเสียชีวิต 7% โดยอันดับ 1 ยังเป็นสหรัฐอเมริกา7880,204 คน เสียชีวิตสะสม 49,845 คน และคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อหลักล้านคนในเร็วๆนี้ ขณะที่อินเดีย อยู่ในอันดับ 16 ของโลก ติดเชื้อสูงสุดในเอเชีย เพิ่ม 1,669 คน สะสม 23,039 คน เสียชีวิต 721 คน ญี่ปุ่นติดเชื้อเพิ่ม 418 คน สะสม 12,368 คน สิงคโปร์ ติดเชื้อ 1,037 คน สะสม 11,178 คน

เมื่อดูมาตรการของประเทศต่างๆ พบว่าหลายเมืองมีการขยายล็อกดาวน์และป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น อินโดนีเซีย ขยายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมถึง 22 พ.ค.นี้ หลังพบผู้ละเมิดกฎจำนวนมาก และสั่งปรับสูง 900 รูเปียห์ โดยขอให้ชาวมุสลิมละหมาดที่บ้านแทนการไปมัสยิด เช่นเดียวกับที่ยูเครนขยายล็อกดาวน์ถึง 11 พ.ค.นี้

ขณะที่อังกฤษอาจใช้มาตรการคุ้มเข้มตลอดทั้งปี จนกว่าการพัฒนาวัคซีนจะสำเร็จ และแนวโน้มจะขบายออกไป มาเลเวีย จัขยายเดิมสิ้น 28 เม.ย.จะขยายออกไปอีกให้คนอยู่บ้าน ดังนั้นจึงชัดเจนว่าแต่ละประเทศยังตรึงมาตรการ และแนวโน้มจะขยายการล็อกดาวน์เมือง หลายพื้นที่ทำแล้ว

“ดังนั้นจึงวันนี้ไม่มีทฤษฎีไหนที่จะบอกได้เลยว่ามีคนในประเทศมากแล้วจะติดเชื้อมากหรือน้อย ส่วนไทยวันนี้ตัวเลข 13 คน 15 คน แต่ที่ต้องการ์ดไม่ตกเช่นเดิม”

ชี้ไทยควบคุมโรคดี-แต่ต้องใช้งบหลักล้านต่อคน

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ ยังตอบคำถามเรื่องปัจจัยการควบคุมดีกว่าประเทศอื่นหรือไม่ว่า มาจากการให้ความสำคัญของชุดข้อมูลมาใช้เป็นประโยชน์ ทั้งข้อมูลผู้ติดเชื้อที่นำเอามาบอกให้ประชาชนรับข่าวสาร รวมทั้งการ บริหารจัดการทังระดับรัฐบาล คือ ศบค.และจุดปฏิบัติการในระดับจังหวัดที่สั่งการถึงระดับบุคคลได้ รวมท้งประชาชน รวมทั้งชื่นชมการทำงานระดับ ล่างของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 1 คนต่อ 10 ครัวเรือน และประชาชนทั้ง 60 กว่าล้านคนที่ช่วย

“เครดิตไม่ใช่ของใคร แต่มาจากทุกคนที่ต้องได้รับรางวัลนี้”

ส่วนคำถามบางจังหวัดคลายล็อกสถานประกอบการเองได้หรือไม่ โฆษกศบค.กล่าวว่า ตอนนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ศบค.จะต้องหารือในที่ประชุม ครม. ส่วนการผ่อนคลายในระดับจังหวัดจะตามมา

ถ้าจะผ่อนปรนต้องปรึกษาและนำเสนอภายใต้ชุดข้อมูลให้ผอ.ศูนย์ และนำตัดสินใจเพื่ออนุมัติ และจากนั้นจึงจะมาดูรายกิจกรรมที่จะออกมา สิ่งต่างๆ ถูกคิดกรอง และหารือกับอย่างรอบด้านแล้วคนส่วนใหญ่ต้องเห็นด้วย

การผ่อนปรนมาตรการ คือ ไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ และคนส่วนใหญ่เห็นด้วย เพื่อลดความเสี่ยงเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพราะถ้ามีคนป่วยมากหมายถึงการใช้งบประมาณ ซึ่งผู้ป่วย 1 คนเสียเงิน 1 ล้านบาทในการรักษา ตอนนีมคนป่วย 2,000 กว่าคนเท่านักับใช้งบ 3,000 ล้านบาท

“เราจะผ่านจุดวิกฤตนี้ไปได้อย่างไร ต้องดูจากต่างประเทศเผลอแล้วตัวเลขพุ่ง และหมายถึงค่าใช้จ่ายใในการรักษาผู้ป่วยเฉลี่ย 1 ล้านบาทต่อผู้ป่วย 1 คน”

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: