ชี้ COVID-19 ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้ เด็กชนบทขาดแคลนคอมพิวเตอร์

กองบรรณาธิการ TCIJ 28 ต.ค. 2563 | อ่านแล้ว 5864 ครั้ง

ชี้ COVID-19 ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้ เด็กชนบทขาดแคลนคอมพิวเตอร์

นักวิจัยธนาคารโลก ชี้ COVID-19 ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้ ระบุพบความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์ของเด็กในเขตเมืองส่วนใหญ่มีความพร้อมกว่า 70% ขณะที่เด็กนักเรียนชนบทมีเพียง 45% | ที่มาภาพประกอบ: โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม

สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2563 ว่าในการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 จาก 11 ประเทศ ในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ด้วยระบบออนไลน์ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กองทุนเพื่อความเสมอภาคภาคทางการศึกษา (กสศ.) กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยภาครัฐและเอกชน

มีการอภิปรายในหัวข้อ โควิด-19 กับโรงเรียนของฉัน สะท้อนความคิดเห็นของเยาวชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อผลกระทบวิกฤตโรคระบาด, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอน โดยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 จาก 11 ประเทศ, เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนครูในยุคโควิด-19 และ การอภิปรายพิเศษ เปิดผลวิจัย ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนไทยในยุคโควิค-19 โดย ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านพัฒนามนุษย์ กลุ่มงานการศึกษา ประจำธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย

ดร.ดิลกะ เปิดเผยว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ย่อมมาจากหลายปัจจัย อาทิ ทรัพยากร คุณภาพครู-โรงเรียน ซึ่งหากดูตัวเลขงบประมาณลงทุนด้านการศึกษาของประเทศไทยถือว่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศกลุ่มยุโรป

ผลการวิจัยพบอีกว่า ค่าใช้จ่ายของเด็กนักเรียนในระดับชั้น ป.1- ม.3 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แต่กลับไม่ส่งผลให้การเรียนของเด็กดีขึ้นแต่อย่างใด โดยเฉพาะผลสอบ PISA ที่ตกต่ำอย่างมาก

นอกจากนี้ การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาโรงเรียนขาดแคลนบุคลากรครู ยังไม่เป็นไปตามความคาดหวัง อีกทั้งยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมระหว่างนักเรียนในเขตเมืองกับเขตชนบทค่อนข้างสูง

"ความไม่เท่าเทียมนั้นมีอยู่ทุกแห่ง ไม่ว่าประเทศใดก็ตาม แต่ในประเทศไทย พบว่ามีความเหลื่อมล้ำในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน การสำรวจยังพบความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์ของเด็กในเขตเมืองส่วนใหญ่มีความพร้อมกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เด็กนักเรียนชนบทมีเพียง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสะท้อนว่า ไทยยังไม่พร้อมที่จะจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์"

ดร.ดิลกะ ยังเผยผลการสำรวจพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก (bully) ในโรงเรียน โดยพบว่า เด็กนักเรียนไทยมีอัตราการถูกกลั่นแกล้งรังแกสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD ทำให้เด็กไม่มีความสุขในการไปโรงเรียน ส่งผลกระทบไปถึงความสามารถในการอ่านที่ลดต่ำลงตามไปด้วย

ดร.ดิลกะ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการประเมินความเสียหายในภาพรวมจากผลกระทบของโรคโควิด-19 แต่สิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ ณ วันนี้คือ วิกฤตโรคระบาดทำให้เด็กไทยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะในชนบทต้องสูญเสียเวลาเรียน ขาดโอกาสเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องเร่งหาทางช่วยเหลือ ในอนาคต หากเกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง ก็หวังว่าหน่วยงานภาครัฐจะสามารถหาแนวทางรับมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไม่ให้เด็กไทยต้องสูญเสียโอกาสในการเรียนมากไปกว่านี้

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า เวทีครั้งนี้ได้เห็นครูแต่ละที่ พยายามบอกเล่าปัญหาและแนวทางแก้ไขจากโควิด-19 ระบาดกระทบการศึกษา และไม่รู้ว่าโควิดจะอยู่อีกนานแค่ไหน หลังจากที่โรงเรียนถูกปิด เด็กเรียนหนังสือน้อยลง ส่งผลต่อพัฒนาการและการศึกษาของเด็ก เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ การไปโรงเรียนมันไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้ แต่มันมีพัฒนาการทางสังคม สมอง เด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเล่นกับเพื่อน ยิ่งเด็กกลุ่มเปราะบาง เด็กยากจนจะยิ่งกระทบอย่างมาก

“แต่ละประเทศได้บอกเล่าการใช้มาตรการในช่วงโรงเรียนปิด การจัดการกับปัญหานี้อย่างไร ซึ่งพบว่า เน้นเรื่องความปลอดภัย ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง รักษาความสะอาดพื้นที่เรียน โรงอาหาร หลายประเทศใช้วิธีทำสื่อให้ผู้ปกครองนำไปสอนลูกที่บ้าน ทำสื่อออนไลน์ สอนออฟไลน์ที่บ้าน ระดมมาตรการเพื่อแก้ปัญหา ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีเอื้ออำนวย เราต้องทำให้การศึกษาอยู่ในภาพกว้าง ยึดหลักเอาการศึกษา เอาโรงเรียนไปหาเด็ก-พ่อแม่ -ชุมชน ถ้าอยู่ในเมืองก็ใช้อินเทอร์เน็ต อยู่ต่างจังหวัดก็ใช้วิทยุโทรทัศน์ ” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว

ขณะที่ ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูนักศึกษา และสถานศึกษา กสศ. กล่าวว่าการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ มีครูจากเครือข่ายทั่วโลกรับชมทางออนไลน์กว่าแสนคน ซึ่งมีความสำคัญกับการทำงานของ กสศ.อย่างมาก เช่น บทบาทครูต่อการเรียนการสอนในช่วงโควิด-19 เพราะเราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายครู11 ประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ประเทศที่มีเด็กจำนวนมาก เขาดูแลเด็กได้อย่างไร แก้ปัญหาให้การเรียนส่งถึงบ้านอย่างไร ประเทศสิงคโปร์ที่ทันสมัย เขาดูแลเด็กพิเศษของเขาอย่างไร ถือว่าเป็นมิติแลกเปลี่ยน เกิดประโยชน์กับครูไทยอย่างมาก โดยทางกสศ.จะได้นำไปถอดบทเรียนและต่อยอดการพัฒนาครู พัฒนาโรงเรียน พัฒนาเด็กนักเรียนในทุกมิติ

“กสศ.มองว่าในอนาคต หากเราเตรียมพร้อมเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เราจะปรับตัวและรับมือกับมันได้ เทคโนโลยี ระบบออนไลน์ ออนแอร์ ออนไซต์ ต้องทำควบคู่กันไป เพื่อให้เหมาะสมไม่ทำให้เกิดอันตราย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่4 ทั้ง10ประเทศ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและคณูปการต่อวงการการศึกษา ซึ่งไทย กำลังเข้มข้นในการเฟ้นหาครูทั้ง 77 จังหวัด เพื่อให้ได้ผู้แทน ส่งเข้ามาส่วน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: