พ.ค. 63 ผู้ประกันตนว่างงานทำลายสถิติอีกครั้ง เลิกจ้างทะลุหลักแสน

ทีมข่าว TCIJ | 28 มิ.ย. 2563 | อ่านแล้ว 5602 ครั้ง

สถิติเดือน .. 2563 มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม 332,060 คน ทำลายสถิติอีกครั้งในรอบปี 2563 หลังเดือน เม.. ทำลายสถิติปี 2552 ส่วนการเลิกจ้าง 105,488 คน ทะลุหลักแสนครั้งแรก เทียบกับเดือน .. 2562 ลูกจ้างกลุ่มที่พักแรม/ร้านอาหาร ถูกเลิกจ้างอัตราส่วนเพิ่มขึ้น 1,921.36% การค้า 306% ขนส่ง 251.60% และภาคการผลิต 139.53 - คาด .. 2563 ธุรกิจปิดกิจการเพิ่ม เพราะเศรษฐกิจโลกและการส่งออกยังไม่ฟื้นตัว - กนง.ลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 เหลือ -8.1% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งออก -10.3% เงินเฟ้อทั่วไป -1.7% | ที่มาภาพประกอบ: Springnews

จากข้อมูลรายงาน เศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน .. 2563 ระบุว่าการจ้างงานในตลาดแรงงาน เดือน .. 2563 มีแรงงานในระบบประกันสังคมหรือผู้ประกันตน มาตรา 33 จำนวน 11,391,965 คน มีอัตราการหดตัวร้อยละ -1.29 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 11,540,945 คน) และมีอัตราการหดตัวร้อยละ -1.11 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 11,520,407 คน) โดยการจ้างงานรายอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ สาขาขนส่ง ร้อยละ 4.33 สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 3.45 สาขาก่อสร้าง ร้อยละ 1.68 และสาขาการค้า ร้อยละ 0.34 ขณะที่ อุตสาหกรรมหลักที่หดตัว ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร ร้อยละ -10.36 และสาขาการผลิต ร้อยละ -2.90

การว่างงาน เดือน .. 2563 มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 332,060 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 87.68 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 176,931 คน) และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 53.98 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 215,652 คน) โดยการว่างงานรายอุตสาหกรรมหลักเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าขยายตัวทุก อุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร ร้อยละ 282.56 สาขาขนส่ง ร้อยละ 112.16 สาขาก่อสร้าง ร้อยละ 86.07 สาขา การค้า ร้อยละ 74.36 สาขาการผลิต ร้อยละ 55.91 และสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 53.75

ทั้งนี้จากข้อมูลผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมระหว่างปี 2539-2563 พบว่าก่อนหน้านี้สถิติผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมเคยสูงสุดที่เดือน มิ.. 52 จำนวน 188,986 คน ต่อมาถูกทำลายสถติเมื่อเดือน เม.. 2563 ที่ 215,652 คน และสถิติล่าสุดในเดือน .. 2563 ที่จำนวน 332,060 คน นี้ก็ได้กลายเป็นสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้งในรอบปี 2563 นี้

ส่วนลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างเดือน .. 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 105,488 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 0.93 พบว่าอัตราการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 28,065 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 47,236 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.41 โดยการเลิกจ้างรายอุตสาหกรรมหลักเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าขยายตัวทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร ร้อยละ 1,921.36 สาขาการค้า ร้อยละ 306 สาขาขนส่ง ร้อยละ 251.60 สาขาก่อสร้าง ร้อยละ 197.49 สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 158.01 และสาขาการผลิต ร้อยละ 139.53 [1]

คาด .. 2563 ธุรกิจปิดกิจการเพิ่ม เพราะเศรษฐกิจโลกและการส่งออกยังไม่ฟื้นตัว

ช่วงปลายเดือน มิ.. 2563 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าโจทย์ของรัฐบาลหลังจากออกมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นเวลา 1 ไตรมาส จนทำให้ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยความสมดุล พิจารณาโดยยึดหลัก ความเป็นจริง การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดต้องทำอย่างมีเหตุผล รอบคอบและระมัดระวัง ซึ่งที่ผ่านมา พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าในเดือน .. 2563 หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว จะเริ่มมีธุรกิจที่ทยอยปิดตัวลงมากขึ้น เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการส่งออกยังไม่เกิด โรงงานยังไม่สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กลับมา ดังนั้นในช่วงเดือน มิ..-..นี้ รัฐบาลจึงได้วางแผนให้ส่วนราชการเร่งเสนอโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายใต้ ...กู้เงินฉุกเฉิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการภายใต้ ... กู้เงินดังกล่าวพิจารณาโครงการที่มีความเหมาะสม โดยภายในเดือน มิ.. 2563 คาดว่าจะเสนอโครงการต่าง ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ตามแผน [2] 

กนง.ลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 63 เหลือ -8.1% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งออก -10.3% เงินเฟ้อทั่วไป -1.7%

ช่วงปลายเดือน มิ.. 2563 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้เปิดเผยการปรับลดคาดการณ์ เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ลงเหลือ -8.1% จากเดิมคาด -5.3% โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด

พร้อมกันนี้ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกไทยในปีนี้ลงเหลือ -10.3% จากเดิมคาด -8.8% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ คาดว่าจะหดตัวอยู่ที่ -1.7% จากเดิมคาด -1.0% โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปี 64

อย่างไรก็ดี กนง.ประเมินว่าในปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ 5% จากเดิมที่คาดไว้ 3% ส่วนการส่งออก ขยายตัวได้ 4.5% การนำเข้า ขยายตัว 4.1% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ขยายตัว 0.9% การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 2.5% การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 5.6% การอุปโภคภาครัฐ ขยายตัว 3.1% การลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 14.1% ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 20.2 พันล้านดอลลาร์ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ อยู่ที่ 16.2 ล้านคน [3]

 

ข้อมูลอ้างอิง
[1] ข้อมูลด้านเศรษฐกิจแรงงาน เดือนพฤษภาคม 2563 (กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 24 มิ.. 2563)
[2] "สมคิด" เผยโจทย์ใหญ่รัฐบาลหลังโควิดคลี่คลายคือฟื้นศก.อย่างสมดุล ห่วงธุรกิจทยอยปิดตัวช่วงครึ่งปีหลัง (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 24 มิ.. 2563)
[3] (เพิ่มเติม) กนง.ลดคาดการณ์ศก.ไทยปี 63 เหลือ -8.1% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งออก -10.3% เงินเฟ้อทั่วไป -1.7% (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 24 มิ.. 2563)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เม.. 63 ผู้ประกันตนว่างงานทำลายสถิติ คาด นศ.จบใหม่ว่างงานกว่า 60%

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: