สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 29 ก.ค. 2563

กองบรรณาธิการ TCIJ 29 ก.ค. 2563 | อ่านแล้ว 1703 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 29 ก.ค. 2563

29 ก.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (การจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้ 
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..)      พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้  
                   2. สำหรับอัตรากำลัง 2,000 อัตรา ให้ใช้วิธีการปรับเกลี่ยตำแหน่งและกำลังพลภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งจำนวนและระดับตำแหน่งที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับภารกิจและปริมาณงานที่จะต้องปฏิบัติ 
                   3. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
                   1. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  
                             1.1 กำหนดให้มีกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี      มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ 
                                      1.1.1 เป็นฝ่ายอำนวยการด้านยุทธศาสตร์ให้ ตช. ในการวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ และเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และหน่วยงานในสังกัด
                                      1.1.2 ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั่วราชอาณาจักร 
                                      1.1.3 ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่อง  
                                      1.1.4 ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือพิเศษ สนับสนุนส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นในการสืบสวนสอบสวน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวนสอบสวนของ ตช. ให้มีความรู้ ความสามารถในการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  
                                       1.1.5 ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี
                                      1.1.6 ดำเนินการเกี่ยวกับการพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล การตรวจสถานที่เกิดเหตุและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนของหน่วยงานต่าง ๆ 
                                      1.1.7 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและปราบปราม และงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  
                             1.2 กำหนดให้ตัดโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบการกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 
                   2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....   
                             2.1 กำหนดให้ยกเลิกกองกำกับการสืบสวน 5 ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองกำกับการสืบสวน 4 ในกองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธรภาค 1-9  
                             2.2 กำหนดให้ตั้งกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยแบ่งโครงสร้างหลักออกเป็น กองบังคับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1-5 และกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 
                                      2.2.1 กองบังคับการอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ งานประชาสัมพันธ์ งานช่วยอำนวยการ งานเลขานุการ การจัดระบบงานและบริหารงานบุคคล การประสานงานและจัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ งานวิจัย งานประเมินผล การเงิน การบัญชี การงบประมาณ งานพัสดุ อาคารสถานที่ งานพลาธิการ งานส่งกำลังบำรุง งานยานพาหนะ งานสื่อสาร งานกฎหมายและวินัย งานวิเทศสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ และงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสถิติข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัด 
                                      2.2.2 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 – 5 มีอำนาจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั่วราชอาณาจักร ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต และความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ดำเนินการเกี่ยวกับงานสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล และพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ดำเนินการด้านกรรมวิธีข่าวกรอง และเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีและความมั่นคงในเขตอำนาจการรับผิดชอบ สืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือพิเศษ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวนสอบสวนให้มีความรู้ในด้านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือพิเศษต่าง ๆ และให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุนส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นในการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
                                      2.2.3 กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี        มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์และกู้พยานหลักฐานดิจิทัล การตรวจสถานที่เกิดเหตุและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนของหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการสืบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีร่วมกับฝ่ายปฏิบัติการ หรือหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับการร้องขอ ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน แสวงหาการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน องค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคประชาชน จัดทำแผนงาน โครงการต่าง ๆ เพื่อการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของ ตช. ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี รวมทั้งการวิเคราะห์การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและปราบปราม และงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พัฒนาเทคนิคการสืบสวน นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและเครื่องมือพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ ศึกษาดูงาน ฝึกอบรมด้านการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  
                             2.3 กำหนดเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้รวมถึงการถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญอื่น ๆ รวมทั้งรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง
                             2.4 ปรับปรุงโครงสร้างและกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานระดับกองกำกับการในกองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็น กลุ่มงานฝึกอบรมทางเทคโนโลยี กลุ่มงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี และกลุ่มงานตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานทางเทคโนโลยี รวมทั้งตัดโอนภารกิจเกี่ยวกับงานตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย และงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี ของกองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
 
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อใช้ในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อใช้ในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร      พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 ในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องใช้ในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะ เพื่อใช้ในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรได้ โดยวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ แต่มีอันตรายต่อสุขภาพมากหากไม่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) ลอร์คาเซริน (Lorcaserin) และแอมฟีพราโมน (Amfepramone) วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ทางที่ผิด เช่น อะโมบาร์     บิตาล (Amobarbital) และบิวตาลบิตาล (Butalbital) หรือวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในทางการแพทย์และอาจก่อให้เกิดการนำไปใช้ หรือมีแนวโน้มในการนำไปใช้ทางที่ผิดน้อยกว่าประเภท 3 เช่น อัลโลบาร์     บิตาล (Allobarbital) และ บาร์บิตาล (Barbital)
 
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน รวม 6 ฉบับ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน รวม 6 ฉบับ       ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
                   2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
                   3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลกระสัง และตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลกระสัง และตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
                   4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ และตำบลบ้านป่า ตำบลมะขามสูง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ และตำบลบ้านป่า ตำบลมะขามสูง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
                   5. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่างาม ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ และตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลท่างาม ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ และตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
                   6. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลดอนตรอ ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ....  มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลดอนตรอ ตำบลเชียรเขา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา
                   เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน อันจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น
 
4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการออกระเบียบของ ก.บ.ศป.)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบดังนี้ 
                   1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....       ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่ศาลปกครองเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 
                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่ศาลปกครองเสนอ
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                   เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครอง (ก.บ.ศป.) มีอำนาจหน้าที่ออกระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษและสิทธิและประโยชน์อื่นของข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครอง
                   ซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจและแรงจูงใจในการปฏิบัติภารกิจของบุคลากรศาลปกครองในพื้นที่พิเศษที่มีความเสี่ยงภัย และปฏิบัติภารกิจที่มีความเร่งด่วน หรือมีความเหนื่อยยากมากกว่าการปฏิบัติงานตามปกติทั่วไป อันเป็นผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจในการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว แม้ในพื้นที่พิเศษที่มีความเสี่ยงภัยสูง
 
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ รวม 6 ฉบับ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ รวม 6 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... สาระสำคัญ เป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2546 โดยปรับปรุงกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการขึ้นใหม่ 1 บริเวณ ในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
                   2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. .... สาระสำคัญ เป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2546 โดยปรับปรุงกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการขึ้นใหม่ 8 บริเวณ ในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล อำเภอชุมแพ และอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
                   3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สาระสำคัญ กำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการเพิ่มเติมขึ้น 1 บริเวณ    ในท้องที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
                   4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดตรัง พ.ศ. .... สาระสำคัญ เป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดตรัง พ.ศ. 2546 โดยปรับปรุงกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการขึ้นใหม่ 6 บริเวณ          ในท้องที่อำเภอเมืองตรัง อำเภอย่านตาขาว อำเภอสิเกา และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
                   5. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดนครพนม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สาระสำคัญ กำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการเพิ่มเติมขึ้น 2 บริเวณ ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
                   6. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... สาระสำคัญ เป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2546 โดยปรับปรุงกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการขึ้นใหม่ 8 บริเวณ ในท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสง อำเภอขนอม อำเภอหัวไทร อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
                   เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่สำหรับการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ (Zoning) ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 และวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559
 
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาขยายเวลาประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาขยายเวลาประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. …. ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สำหรับวันปิดประชุมในร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. …. ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรรับไปพิจารณา แล้วแจ้งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยด่วน ก่อนนำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ต่อไป
                   ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า 
                   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่                 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้ 

ปีที่ สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1 22 พฤษภาคม 2562 – 18 กันยายน 2562 1 พฤศจิกายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563
2 22 พฤษภาคม 2563 – 18 กันยายน 2563 1 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564
3 22 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564 1 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565
4 22 พฤษภาคม 2565 – 18 กันยายน 2565 1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566

                   2. ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2563 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยจะสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 แต่โดยที่ยังมีร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประกอบกับขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กำหนดให้วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในวันที่ 22 – 23 กันยายน 2563 จึงยังมีกิจการที่รัฐสภาจะต้องประชุมปรึกษากันอยู่อีก ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่จะขยายเวลาการประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งออกไปอีก สำหรับวันปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตามร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. …. นั้น เห็นสมควรให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรรับไปพิจารณา
จึงเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
 
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราส่วนทุนกับเงินกู้ที่จะใช้ในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่สถาบันการเงินจากเหตุระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ….
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราส่วนทุนกับเงินกู้ที่จะใช้ในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่สถาบันการเงินจากเหตุระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019    พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   เป็นการยกเว้นเงื่อนไขที่กำหนดให้คนต่างด้าวผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติในเรื่องอัตราส่วนทุนกับเงินกู้ที่จะใช้ในการประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตตาม (1) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) ที่ได้รับสินเชื่อและได้ช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย โดยให้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566
                   ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เสนอว่า
                   1. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและประชาชนในวงกว้าง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือเวียน ที่ ธปท.ฝนส.(1)ว.380/2563 เรื่อง มาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อขอให้สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจ Non-banks ดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ และสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ขอให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพิจารณาผ่อนผันอัตราส่วนเงินทุนให้แก่สมาชิกของสมาคมที่เป็นคนต่างด้าวโดยให้มีอัตราส่วนเงินทุนต่อเงินกู้เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงถึงเดือนมีนาคม 2565 เป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นการช่วยเหลือกลุ่มสมาชิกของสมาคมที่เป็นผู้ประกอบการให้เช่าซื้อรถยนต์ และเป็นผู้ประกอบธุรกิจ Non-banks ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือผู้เช่าซื้อด้วยการผ่อนผันการชำระหนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ
                   2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ได้เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non-banks ภายใต้มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ Non-banks เพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของแต่ละบริษัทโดยการผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลลิสซิ่ง เช่าซื้อ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์และสินเชื่อทะเบียนรถให้แก่ประชาชน
                   3. คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้ประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 พิจารณาและมีมติเห็นชอบแนวทางในการตรากฎกระทรวงเพื่อไม่นำเงื่อนไขอัตราส่วนทุนกับเงินกู้ที่จะใช้ในการประกอบธุรกิจมาใช้บังคับกับนิติบุคคลต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เห็นชอบผลการพิจารณาแนวทางดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563
                   เพื่อช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการที่ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) ได้รับสินเชื่อและได้ช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยให้ได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงพาณิชย์จึงเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
 
8.  เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรี ไทย – ออสเตรเลีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย – นิวซีแลนด์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กำหนดให้มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลง TAFTA  และ TNZCEP)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                   1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรี ไทย – ออสเตรเลีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย – นิวซีแลนด์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้  
                   2. ให้ พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   3. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงการค้าเสรี ไทย – ออสเตรเลีย พ.ศ. 2547 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย – นิวซีแลนด์ พ.ศ. 2548 รวม 2 ฉบับ โดยกำหนดให้สินค้ามันฝรั่งตามความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย และสินค้ามันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย – นิวซีแลนด์ ต้องนำเข้ามาในราชอาณาจักรทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชและด่านอาหารและยา หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านปฏิบัติหน้าที่
 

เศรษฐกิจ - สังคม

9. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการโครงการการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการโครงการการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 171.60 ล้านบาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง              
                   กษ. รายงานว่า
                   1. ผลการหารือทวิภาคีกับสหภาพยุโรปเมื่อเดือนธันวาคม 2562 มีข้อเสนอแนะจากสหภาพยุโรปว่า การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) ของประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถคงประสิทธิภาพการดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งเหมือนช่วงก่อน การปลดใบเหลือง (ใบเหลืองคือการตักเตือนให้มีการปรับปรุงแก้ไข) และมีความเสี่ยงว่าหากประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจจะได้รับใบเหลืองครั้งที่ 2 โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำการประมง (Monitoring Control and Surveillance : MCS) และศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง (Fisheries Monitoring Center : FMC) มีแนวโน้มลดต่ำลง (2) การบริหารจัดการกองเรือและทรัพยากรประมงที่ยังต้องดำเนินการเพิ่มเติมตามที่ได้หารือ (3) ระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่ยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง และ (4) การบังคับใช้กฎหมาย ประกอบกับมีเงื่อนไขการกีดกันทางการค้าในประเด็นเรื่องการทำลายทรัพยากรสัตว์ทะเลหายากและสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎระเบียบในการป้องกันการทำลายสัตว์ทะเลหายากและสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม (Marine Mammal Protection Act : MMPA) จากการทำประมง ซึ่งหากไม่มีการเตรียมการและมีแผนบริหารจัดการที่ชัดเจน อาจส่งผลกระทบให้ไม่สามารถส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปประเทศสหรัฐอเมริกาได้ในปี 2565  
                   2. ปีงบประมาณ 2563 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมประมง กรมเจ้าท่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) และองค์การสะพานปลาได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อการคงประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและมีงบประมาณบางส่วนจัดสรรคืนให้กับรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา/ช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ภัยแล้ง อุทกภัย ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงปลายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยกรมประมงโอนงบประมาณดังกล่าวตามร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 จำนวน 113.16 ล้านบาท ทำให้กรมประมงไม่สามารถเจียดจ่ายงบประมาณประจำปีเพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายให้เป็นไปตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสหภาพยุโรป ทำให้อาจเกิดความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะได้รับใบเหลืองอีกเป็นครั้งที่ 2  
                   3. คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2563 วเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุม ได้มีมติเห็นชอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย และให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป กรมประมงจึงได้จัดทำโครงการการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดโครงการฯ ดังนี้ 
                             3.1 วัตถุประสงค์  
                                       1) เพื่อให้การทำประมงของประเทศไทยทั้งในน่านน้ำไทยและนอกน่านน้ำไทย เป็นไปอย่างถูกกฎหมาย มีการรายงาน และมีการควบคุมตามมาตรฐานสากล  
                                       2) เพื่อต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย รวมถึงการควบคุมไม่ให้สินค้าประมงที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมายเข้ามาในห่วงโซ่การผลิต
                                      3) เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า รายได้ คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำในการประกอบอาชีพของประมงพื้นบ้าน 
                                      4) เพื่อการอนุรักษ์และความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำ 
                             3.2 วิธีดำเนินงาน 
                                      1) การปรับปรุงการเก็บข้อมูล ทั้งจากการทำประมงพาณิชย์และพื้นบ้านให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดชายทะเล และดำเนินการปรับปรุงวิธีการคำนวณค่าผลผลิตสัตว์น้ำสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum Sustainable Yield: MSY) ให้ถูกต้องแม่นยำและเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ทรัพยากรประมง 
                                      2) การตรวจสอบความถูกต้องและข้อเท็จจริงของการบริหารจัดการเรือที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์
                                      3) การตรวจสอบติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงของเรือประมงไทยที่ทำการประมงในน่านน้ำและนอกน่านน้ำไทย ทั้งก่อนออกทำการประมง ระหว่างทำการประมง และเมื่อกลับเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ
                                       4) การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการตรวจสอบย้อนกลับ และการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์ประมงจะมาจากการทำประมงแบบไม่ถูกต้อง เพื่อตรวจสอบอย่างเข้มข้นโดยเฉพาะสินค้าสัตว์น้ำที่มีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสูง 
                                      5) การดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในประเด็นเรื่องการทำลายทรัพยากรสัตว์ทะเลหายาก และสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม  
                                      6) การจัดทำฐานข้อมูลคดีเพื่อบูรณาการการดำเนินการทางกฎหมาย และลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ 
                                      7) การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคประมง และการจัดหาแรงงานที่ถูกกฎหมาย 
                                      8) การส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเหลื่อมล้ำ 
                             3.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2563 ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (กรกฎาคม – กันยายน 2563)  
                             3.4 งบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 171.60 ล้านบาท จำแนกได้ ดังนี้
                                      1) กรมประมง เช่น โครงการจัดจ้างเพื่อขยายขอบข่ายระบบตรวจสอบย้อนกลับให้ครอบคลุมเรือประมงพื้นบ้าน งบประมาณ 118.98 ล้านบาท                                                              2) กรมเจ้าท่า เช่น การกู้เรือ ทำลายเรือประมงที่กีดขวางทางเดินเรือ งบประมาณ 16.19 ล้านบาท 
                                      3) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย งบประมาณ 14.41 ล้านบาท 
                                      4) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เช่น การตรวจสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ งบประมาณ 1.64 ล้านบาท 
                                      5) องค์การสะพานปลา เช่น การพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจสอบย้อนกลับ งบประมาณ 20.38 ล้านบาท
                   4. นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 171.60 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการฯ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
 
10. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2562 – 2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ* ระยะที่ 1 พ.ศ. 2562 – 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
-------------------------------
* เขตสุขภาพพิเศษ หมายถึง พื้นที่ที่มีบริบทเฉพาะแตกต่างจากพื้นที่ปกติ และไม่สามารถใช้แนวทางบริหารจัดการงานด้านสาธารณสุขแบบทั่วไปเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม ประกอบด้วย เขตพื้นที่สาธารณสุขทางทะเล เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตพื้นที่สาธารณสุขชายแดน และเขตพื้นที่เฉพาะ (ประชากรต่างด้าว)
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สธ. รายงานว่า
                   1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 92/2561 ลงวันที่ 23 เมษายน 2561) โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กรอบทิศทาง ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขในภาวะปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน และการจัดระบบดูแลสุขภาพประชาชนที่เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ โดยมีเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข และเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
                   2. สธ. โดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำร่างแผนปฏิบัติการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2562 – 2565 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวรวมทั้งกรอบวงเงินงบประมาณและให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
                   3. สธ. แจ้งว่า ร่างแผนปฏิบัติการฯ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ 2561 - 2580) ใน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยมุ่งเน้นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ให้มีความเชื่อมโยงกันเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับแต่ละพื้นที่ (2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันในการพัฒนาการบริการสาธารณสุขในบริเวณพื้นที่เฉพาะ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขเฉพาะด้าน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนด้านการแข่งขันของประเทศ (3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีโดยเน้นปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยได้ตามมาตรฐานสากล (4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในการพัฒนาบริการด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับอย่างเพียงพอ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับทุกกลุ่ม และสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เช่น แผนแม่บทการเสริมสร้างความมั่นคง แผนแม่บทการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และแผนแม่บทการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นต้น รวมทั้งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนคือประชาชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นธรรมสำหรับประชาชนทุกกลุ่มในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพโดยประเทศสามารถรองรับค่าใช้จ่ายด้านหลักประกันสุขภาพได้อย่างยั่งยืน และมีแหล่งเงินที่เพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เกี่ยวกับประเด็นด้านสาธารณสุขใน 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยจัดบริการด้านสุขภาพให้กับประชากรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และกระจายการให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมและทั่วถึง และ (2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยสร้างความร่วมมือในประเทศ/ต่างประเทศในการวางระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
                   4. ร่างแผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ สาระสำคัญ
วิสัยทัศน์ ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษมีสุขภาพดี นำไปสู่ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
พันธกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ
วัตถุประสงค์ 1. สามารถจัดบริการด้านสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของทุกพื้นที่ในประเทศ
2. ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรม
3. มีการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ
เป้าหมาย 1. ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษมีสุขภาพดี
2. ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างครอบคลุม
3. มีกลไกการจัดการอย่างบูรณาการและการสนับสนุนให้สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน
ระยะเวลา ระยะเวลา 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2565)
กรอบวงเงิน
งบประมาณ
 
 
 
 
 
 
รวมทั้งสิ้น 5,078.15 ล้านบาท (จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ สธ.)
ปีงบประมาณ วงเงิน (ล้านบาท)
2562 504.70
2563 1,664.87
2564 1,594.71
2565 1,313.87
รวมทั้งสิ้น 5,078.15
ตัวชี้วัด
ตามเป้าหมาย
1. อัตราป่วย/ตายด้วยโรคที่สำคัญของประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษ
2. ความครอบคลุมของการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษ
3. จำนวนกลไกและระดับของการบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ ในการดำเนินการ
การดำเนินงาน
แผนปฏิบัติการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประกอบด้วยงานสาธารณสุขรวม 4 ด้าน ได้แก่
ด้านสาธารณสุขทางทะเล ด้านเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก
ด้านสาธารณสุขชายแดน ด้านเขตพื้นที่เฉพาะ (ประชากร
ต่างด้าว)
สถานการณ์/สภาพปัญหา
- ประสิทธิภาพของสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิยังจำกัด
- ปัญหาสุขาภิบาลอาหารและน้ำในพื้นที่ทางทะเล
- ขาดการพัฒนาความรู้ด้านเวชศาสตร์ทางทะเล
 
 
 
ประเด็นพัฒนา
- บูรณาการ
เครือข่ายการดูแลและช่วยเหลือ
ประชาชน/
นักท่องเที่ยว
- พัฒนาการ
สาธารณสุข
ทางทะเล
ให้เป็นเลิศและมี
มาตรฐานสากล
- สร้างคุณค่า
ของสาธารณสุขทางทะเลสู่มูลค่า
ทางเศรษฐกิจ
พื้นที่เป้าหมาย
5 จังหวัด
ภูเก็ต ชลบุรี กระบี่ พังงา
และสุราษฎร์ธานี
 
 
 
งบประมาณ
843 ล้านบาท
สถานการณ์/สภาพปัญหา
- มีประชากร
เพิ่มขึ้นจากนโยบาย EEC
- มีโรคจาก
การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
- มีปัญหาอุบัติเหตุจราจร
- มีโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ
 
 
 
ประเด็นพัฒนา
- พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่
- ส่งเสริมการ
ป้องกันและควบคุมโรค จัดการ
ภัยสุขภาพ
และพัฒนา
อาชีวเวชศาสตร์
- ส่งเสริม
การพัฒนาเป็น
Medical Hub
พื้นที่เป้าหมาย
3 จังหวัด
ชลบุรี
ฉะเชิงเทรา
และระยอง
 
 
 
งบประมาณ
3,629.80 ล้านบาท
สถานการณ์/สภาพปัญหา
- การเข้าถึง
บริการสุขภาพ
ของบุคคลไร้รัฐ
- การควบคุม
ป้องกัน ติดตาม และรักษา
โรคติดต่อ
เช่น วัณโรค
- การลักลอบ
นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
 
ประเด็นพัฒนา
- พัฒนา
ศักยภาพ/กลไกความร่วมมือ
ระหว่างประเทศด้านระบบป้องกันสุขภาวะอนามัยในพื้นที่ชายแดน
- คุ้มครอง
ผู้บริโภคด้าน
บริการสุขภาพ/
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
 
 
 
พื้นที่เป้าหมาย
4 จังหวัด
น่าน ตาก
สระแก้ว
และระนอง
 
 
 งบประมาณ
578.13 ล้านบาท
สถานการณ์/สภาพปัญหา
- ปัญหา
เรื่องสุขภาพของ
แรงงานต่างด้าว
- ปัญหาสถานะสิทธิ
- แรงงานต่างด้าว
ไม่มีหลักประกัน
สุขภาพ
- ปัญหาผลกระทบ
ต่อความมั่นคง
ของชาติ
และความปลอดภัย
 
 
ประเด็นพัฒนา
- พัฒนารูปแบบหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
- เพิ่มอัตราการ
เข้าถึงบริการ
สาธารณสุข
- จัดระบบ
สนับสนุน
สาธารณสุขสำหรับประชากรต่างด้าว
 
 
 
 
พื้นที่เป้าหมาย
7 จังหวัด
ตาก ระนอง สมุทรสาคร
สมุทรปราการ
กรุงเทพมหานคร
ปทุมธานี
และระยอง
งบประมาณ
27.22 ล้านบาท
กลไกการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1. ใช้กลไกคณะกรรมการการสาธารสุขเขตสุขภาพพิเศษในการกำหนดกรอบทิศทาง นโยบาย อำนวยการ และสนับสนุนให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ให้คำปรึกษา กำกับ ติดตาม ประเมินผลงาน และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
2. จัดตั้งคณะอนุกรรมการการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ 4 ด้าน เพื่อจัดทำ บริหารและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ และรายงานต่อคณะกรรมการฯ ทราบเป็นระยะ
3. สป.สธ. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและบูรณาการภาพรวมทั้ง 4 ด้าน
4. ประชุมชี้แจงเพื่อถ่ายทอดแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. จัดระบบช่องทางการสื่อสารสำหรับผู้ประสานงาน
6. สร้างกลไกในการทบทวนและปรับปรุงแผนทุก 1 ปี
7. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
การติดตาม
และประเมินผล
1. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้กลไกการติดตามและประเมินผลร่วมกับแผนงานปกติ รวมถึงการประยุกต์ใช้รายงานการประเมินตนเอง
2. กำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสที่ 2 (6 เดือน) และไตรมาสที่ 4 (12 เดือน)
3. กำหนด/มอบหมายหน่วยงานใน สป.สธ. เป็นหลักในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล
4. หน่วยงานที่เป็นแกนหลักรายงานผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. กำกับ ติดตาม และประเมินผลภาพรวมของแผนปฏิบัติการฯ โดยคณะกรรมการฯ

 
11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562-31 พฤษภาคม 2563 (ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 มาตรา 6 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้ รง. จัดทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในงานประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ประกอบกับประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 กำหนดให้ รง. จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี) สรุปได้ดังนี้
                   1. ด้านนโยบาย (Policy) แต่งตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน พร้อมออกกฎหมายลำดับรองเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงทั้งระบบ
                   2. ด้านการป้องกัน (Prevention) บริหารจัดการแรงงานประมงและเรือประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย แก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย ในรอบปีการประมง พ.ศ. 2563-2564 จำนวน 10,202 ลำ ออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นอกน่านน้ำไทย จำนวน 6 ลำ จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย จำนวน 9 ลำ ต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือประมง จำนวน 9,575 ลำ ต่อใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงออกไปอีก 2 ปี จำนวน 34,590 คน ส่งเสริมการนำเข้าแรงงานประมงตามระบบ MOU จำนวน 1,280 คน ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวเพื่อแสดงความพร้อมในการทำงานบนเรือประมง จำนวน 92,233 คน จัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานประมงก่อนการทำงาน จำนวน 1,507 คน บริหารจัดการศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานประมง จำนวน 1,595 ราย และส่งเสริมให้สถานประกอบการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้ จำนวน 13,086 แห่ง
                    3. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) ตรวจเรือประมง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) จำนวน 37,054 เที่ยว พบการกระทำความผิด 9 ลำ ตรวจเรือประมงกลางทะเล จำนวน 508 ลำ พบการกระทำความผิด 2 ลำ รวมทั้งจับกุมและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงานในประมงทะเล จำนวน 3 คดี
                   4. ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) ช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ จำนวน 3 ราย จ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลโดยใช้กองทุนประกันสังคม จำนวน 2,068,238 บาท และกองทุนเงินทดแทน จำนวน 14,878,996 บาท ขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าว จำนวน 70,867 คน และคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล จำนวน 5 ราย
                   5. ด้านการมีส่วนร่วม (Partnership) จัดทำโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง (Ship to Shore Rights Project) ร่วมกับสหภาพยุโรปและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดและดำเนินมาตรการปกป้องและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิแรงงานทางทะเลและแรงงานต่างด้าวจนนำไปสู่การให้สัตยาบันพิธีสารส่วนเสริมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลจังหวัดสงขลา ตลอดจนดำเนินโครงการ ATLAS Project ร่วมกับกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
                   นอกจากนี้ รง. ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อให้แรงงานในงานประมงได้รับการคุ้มครองสิทธิสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เช่น การกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปี การกำหนดกลไกในการดำเนินงานและบรรทัดฐานในการคุ้มครองแรงงานประมง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและผลักดันกลไกของหน่วยงานภาครัฐ และการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562
 
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการยกระดับการบริการภาครัฐในส่วนที่ขอใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan : SAL)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการยกระดับการบริการภาครัฐตามแผนการยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ในส่วนที่ขอใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan : SAL) และการส่งเงินกู้ SAL จำนวน 800 ล้านบาท คืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                   1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (20 กุมภาพันธ์ 2561) เห็นชอบในหลักการให้กันวงเงินกู้ SAL จำนวน 800 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนการยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับการบริการภาครัฐใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) การพัฒนาระบบการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (2) การพัฒนาระบบการติดตามการให้บริการ (Tracking System) และ (3) การพัฒนาระบบการจองคิวกลาง (Queue Online) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ เงินที่สำนักงาน ก.พ.ร. ขอกันไว้และไม่มีการใช้จ่ายตามระยะเวลาและตามแผนที่กำหนด ให้ส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
                   2. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ          (อ.ก.พ.ร.) ได้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินกู้ SAL (ตามข้อ 1) จำนวน 3 โครงการ แต่ละโครงการมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ซึ่งการพิจารณาโครงการเพื่อขอใช้เงินกู้ SAL ดังกล่าวต้องมีขั้นตอนการพิจารณาที่รอบคอบ รัดกุม และต้องใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาจำนวนมาก โดยที่โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะที่แตกต่างจากโครงการทั่วไป และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขับเคลื่อนการยกระดับการบริการภาครัฐเป็นนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ดังนั้น หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินกู้ SAL ดังกล่าว จึงได้ใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานดำเนินโครงการในระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563 มีผลการดำเนินการ ดังนี้

โครงการและหน่วยงานที่เสนอ
ขอสนับสนุนเงินกู้ SAL
ผลการดำเนินการ
1) โครงการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สพร. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแอปพลิเคชัน CITIZENinfo เพื่อเป็นช่องทางให้ค้นหาพิกัดจุดให้บริการของภาครัฐ รวมถึงประเมินความพึงพอใจได้ในแอปพลิเคชันเดียว และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการนำร่องระบบประเมินความพึงพอใจโดยการสแกน QR Code ณ จุดให้บริการ รวมทั้งมีแผนที่จะขยายการให้บริการระบบประเมินความพึงพอใจไปยังจุดให้บริการต่าง ๆ ทั่วประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
2) โครงการพัฒนาระบบติดตามการให้บริการโดย สพร. สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สพร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการด้านการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาตและเอกสารต่าง ๆ โดยดำเนินการแล้ว 96 ใบอนุญาตทั่วประเทศ และจะขยายบริการให้ครอบคลุมทุกใบอนุญาตที่สำคัญภายในปี 2565
3) โครงการพัฒนาระบบจองคิวกลางสำหรับโรงพยาบาลโดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการ Smart Hospital โดยนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศเดิมแบบไร้รอยต่อ ลดเวลา ลดความซ้ำซ้อน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขับเคลื่อนมาตรฐานสาธารณสุขด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล

                   3. อ.ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่า หน่วยงานที่เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้ SAL (ตามข้อ 2) ได้รับจัดสรรงบประมาณจากงบปกติของหน่วยงานดำเนินการและพัฒนาบริการจนเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินกู้ดังกล่าวแล้ว ประกอบกับกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2561) จะสิ้นสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ภายในวันที่ 30 กันยายน 2563) และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (ที่บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามแผนงานหรือโครงการ หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินตามแผนงานหรือโครงการนั้นอีกให้นำส่งคลัง) ซึ่ง ก.พ.ร. มีมติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำวงเงินกู้ SAL จำนวน 800 ล้านบาท ส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการส่งเงินกู้ SAL จำนวนดังกล่าวคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินเรียบร้อยแล้ว
 
13.  เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (เรื่อง สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณีนายพอละจี หรือบิลลี่ รักจงเจริญ หายตัวไปที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอาจมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (เรื่อง สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณีนายพอละจี หรือบิลลี่ รักจงเจริญ หายตัวไปที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอาจมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง) ของคณะกรรมการสิทธิมนุษญชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ยธ. รายงานว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สม.) แล้วเมื่อันที่ 28 มกราคม 2563 สรุปได้ ดังนี้

ข้อเสนอแนะของ กสม. สรุปผลการพิจารณา
1. กรมสอบสวนคดีพิเศษควรมีแนวปฏิบัติในกรณีการบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นคดีพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องขอ หรือในกรณีที่มีผู้ร้องขอแต่มีคุณสมบัติที่ไม่ครบถ้วนอันไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งอาจเสนอเรื่องเกี่ยวกับคดีความผิดทางอาญาเป็นคดีพิเศษได้ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการร้องขอและเสนอให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยข้อ 8 กำหนดให้หน่วยงานอาจเสนอเรื่องเกี่ยกับคดีความผิดทางอาญาที่เห็นสมควรเสนอ กคพ. มีมติให้เป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ต่ออธิบดี โดยไม่มีผู้ร้องขอก็ได้ (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 149 ง ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2561)
2. คณะรัฐมนตรีควรเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ ยธ. เสนอ และส่งให้ สคก. ตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ยธ. ได้แจ้งความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ สม. ทราบแล้ว

                   เรื่องเดิม
                   1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากภรรยาของนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมขอให้ตรวจสอบ กรณีนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้หายตัวไปจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยมีข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้จับกุมนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ เนื่องจากพบว่ามีน้ำผึ้งป่าในครอบครองและกล่าวอ้างว่าได้ปล่อยตัวไปแล้ว บริเวณแยกหนองมะค่า แต่กลับไม่มีผู้ใดพบเห็นนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ อีกเลย ภรรยาของนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี และกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติไม่รับเป็นคดีพิเศษ เนื่องจากภรรยาของนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ ไม่ได้เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) และไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เข้าหลักเกณฑ์เป็นผู้ร้องขอให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิดอาญาใดเป็นคดีพิเศษ ซึ่งต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีประกาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 กำหนดให้กรณีการหายตัวไปของนายพอละจี หรือบิลลี่ฯ เป็นคดีพิเศษ
                   2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย รวมทั้งอาจมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษควรมีแนวปฏิบัติในกรณีการบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นคดีพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องขอ หรือในกรณีที่ผู้ร้องขอมีคุณสมบัติที่ไม่ครบถ้วนอันไม่ใช่สาระสำคัญและคณะรัฐมนตรีควรเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับเนื้อหาตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาต่อไป
                   3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ยธ. (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ยธ. (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมและส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
 
14. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สภากาชาดไทยเสนอ ให้สภากาชาดไทยหรือเหล่ากาชาดจังหวัด หรือกิ่งกาชาดอำเภอซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทยผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่ง หรือสลากบำรุงสภากาชาดไทยประจำปี 2563 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้สภากาชาดไทย เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ได้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สภากาชาดไทยรายงานว่า
                   1. ที่ผ่านมาสภากาชาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาได้จัดทำสลากบำรุงสภากาชาดไทยในทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
                   2. การเล่นสลากกินแบ่งในบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478* ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ข้อ 12 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543) กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการสาธารณกุศล โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย
…………………………………………………………
*บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 หมายเลข 16 คือ สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง
 
15. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ รายสัปดาห์ ครั้งที่ 11 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ซึ่งได้รับข้อมูลจาก 147 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 99 ของส่วนราชการทั้งหมด (148 ส่วนราชการ) สรุปข้อมูลดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการ
                    ส่วนราชการได้มีการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของส่วนราชการตามปกติเพิ่มมากขึ้น (72 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 49) โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา (36 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 24) และส่วนราชการพิจารณากำหนดให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เหลื่อมเวลาในการทำงานเป็น         3 ช่วงเวลาเพิ่มมากขึ้น (66 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 45)            
                    2. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home)
                    ส่วนราชการมอบหมายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการลดลง (75 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 51) โดยในจำนวนนี้มีส่วนราชการ 17 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 12 มอบหมายให้ทุกคนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งมี 19 ส่วนราชการ คิดเป็นร้อยละ 13)         
 
16. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) และการเหลื่อมเวลาในการทำงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ ในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 13 – 17 กรกฎาคม 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญ
                   รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีจำนวน 55 แห่ง โดยผลสัมฤทธิ์ฯ ของรัฐวิสาหกิจในสัปดาห์ช่วงระหว่างวันที่ 13 – 17 กรกฎาคม 2563 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                   1. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (ปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักหรือสถานที่ตามที่รัฐวิสาหกิจกำหนด)
                   รัฐวิสาหกิจ 17 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง โดยมีรัฐวิสาหกิจ 38 แห่ง   ที่ให้พนักงานกลับมาปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งตามปกติแล้ว เพิ่มขึ้น 1 แห่ง จากสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 6 – 10 กรกฎาคม 2563) ทั้งนี้ จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดจำนวน 272,540 คน มีพนักงานและลูกจ้างปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งจำนวน 12,579 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5
                   2. การปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งของรัฐวิสาหกิจ (การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา)
                   รัฐวิสาหกิจ 22 แห่ง ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา โดยมีรัฐวิสาหกิจยกเลิกนโยบายการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาเพิ่มขึ้น 1 แห่งจากสัปดาห์ก่อนหน้า (ช่วงระหว่างวันที่ 6 – 10 กรกฎาคม 2563) โดยรัฐวิสาหกิจ 22 แห่ง มีช่วงเวลาเริ่มปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาตั้งแต่เวลา 6.00 น. – 10.00 น.
                   3. แนวทางการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ
                   รัฐวิสาหกิจที่ยังคงดำเนินนโยบายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งมีการติดตามผลการปฏิบัติงานทั้งเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีการกำกับ ติดตาม และบริหารผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชัน Line ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการติดตามงานและการลงเวลาปฏิบัติงานที่องค์กรพัฒนาขึ้นเอง โดยรัฐวิสาหกิจยังคงใช้แอปพลิเคชัน Line มาสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งว่า ควรเตรียมอุปกรณ์และระบบเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งให้เพียงพอ และควรพัฒนาระบบการปฏิบัติงานขององค์กรให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ ซึ่งรวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลหรือเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งควรพิจารณาลักษณะงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้งเท่านั้น เช่น การให้บริการประชาชน และสำหรับงานอื่นที่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ตั้ง ควรพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งแทน
 
17. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2563 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
                   สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอเรื่องการขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้
                   1. เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 3) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศ
                   2. การดำเนินการที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้เชิญหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดฯ ในด้านต่าง ๆ ผู้แทนส่วนราชการและประชาคมข่าวกรองเข้าร่วมการประชุม โดยมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน เพื่อประเมินผลการปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน และพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                       2.1 ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในภาพรวมทั่วโลกยังรุนแรงอยู่ในหลายภูมิภาค และมีคนไทยจากต่างประเทศเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันได้มีการบังคับใช้มาตรการผ่อนคลายกิจกรรม/กิจการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาภายในราชอาณาจักร เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติยิ่งขึ้นและลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องมีอำนาจตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องเพื่อป้องกันและควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคภายในประเทศ
                       2.2 ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่ายังมีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดฯ เพื่อกำกับดูแลและบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ 1) การควบคุมการเดินทางเข้า – ออกราชอาณาจักรในทุกช่องทาง 2) การจัดทำระบบติดตามตัว การกักตัว และการเฝ้าระวังบุคคลต้องสงสัย และ 3) การกำหนดมาตรการควบคุมโรคที่สามารถบังคับใช้ได้อย่างครอบคลุมในทุกกิจกรรม/กิจการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะต้องมีระบบการบริหารจัดการวิกฤติการณ์ในลักษณะการรวมศูนย์ที่มีการบูรณาการกำลังจากพลเรือน ตำรวจ และทหาร เข้าร่วมปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง
                       2.3 ที่ประชุมให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าอำนาจตามพระราชกำหนดฯ นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญของภาครัฐในการกำกับดูแลเพื่อป้องกันและควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศแล้ว ยังจะช่วยเอื้อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จนกว่าจะมีกฎหมายฉบับอื่นรองรับการดำเนินการในอนาคตอีกด้วย
                       2.4 สมช. ได้นำผลการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบผลการประชุม และมีมติให้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อไป
 
18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2563 ตามติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ที่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชกำหนดฯ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                   1. อนุมัติโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่ อสม. และ อสส. รวมจำนวนไม่เกิน 1,054,729 คนต่อเดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงกันยายน 2563 กรอบวงเงินไม่เกิน 3,622.3195 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ โดยเห็นควรให้ สธ. รวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่เพิ่มเติมจากภารกิจปกติของ อสม. และ อสส. เพื่อประกอบการจ่ายเงินค่าตอบแทนของโครงการฯ ตามขั้นตอนต่อไป
                   2. มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ และดำเนินการดังนี้
                         2.1 รับความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                       2.2 จัดทำประมาณการความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ ทั้งนี้ ในส่วนของค่าตอบแทนให้จ่ายได้ตามจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานจริงในแต่ละเดือน
                       2.3 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
                       2.4 ประสานกับกระทรวงการคลังในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ ด้วย
                   ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 โดยมาตรา 4 มีสาระสำคัญให้โอนงบประมาณรายจ่ายจำนวน 88,452,597,900 บาท ตามรายการของหน่วยรับงบประมาณ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่าย สำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จึงเห็นชอบแหล่งเงินเพื่อใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการดังกล่าว โดยให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ตามขั้นตอนต่อไป
                   อย่างไรก็ดี เพื่อให้การใช้จ่ายมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างรอบคอบ เห็นควรที่กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการให้ทันต่อสถานการณ์และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์และความเหมาะสมของอัตราค่าตอบแทน ความไม่ซ้ำซ้อนของกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับค่าตอบแทนจากภาครัฐ ในครั้งนี้ รวมทั้งต้องกำหนดระยะเวลาการดำเนินการให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อไม่ให้เกิดภาระเงินกู้และงบประมาณในอนาคต ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
 

ต่างประเทศ

19. เรื่อง ร่างหนังสือความร่วมมือด้านการต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สาธารณรัฐเกาหลี
                   คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างหนังสือความร่วมมือด้านการต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ  สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)  หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างหนังสือความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยก่อนการลงนาม อนุมัติให้ กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามหนังสือความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของร่างหนังสือความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์ คู่ภาคีจะร่วมกันพยายามเพื่อป้องกันและสกัดกั้นภัยคุกคามจากอาชญากรรมที่ก่อขึ้นโดยเครือข่ายการค้ายาเสพติดข้ามชาติและสมาชิก รวมถึงองค์กรอื่น ๆ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศคู่ภาคี
                   ขอบเขตความร่วมมือ มีดังนี้
                   1. การรวบรวมและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมยาเสพติด
                   2. การให้การสนับสนุนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด
                   3. การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
                   4. การสนับสนุนซึ่งกันและกันด้านการฝึกอบรม
                   การรักษาความลับ คู่ภาคีจะต้องรักษาความลับของข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างเข้มงวด รวมถึงข้อมูลข่าวสารที่ได้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ในกรณีที่จะสนับสนุนข้อมูลให้กับบุคคลที่สาม การเปิดเผยข้อมูลต่อสื่อ หรืออื่น ๆ คู่ภาคีจะต้องมีการปรึกษาหารือกับอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเพียงพอก่อนล่วงหน้า
                   ผลบังคับใช้และการสิ้นสุดสัญญา มีผลบังคับใช้ในวันที่ได้มีการลงนามและอาจจะสิ้นสุดลงเมื่อได้รับความเห็นจากคู่ภาคี
 
20. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีประชาชนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ของบริษัทเอกชน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีประชาชนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ของบริษัทเอกชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มาเพื่อดำเนินการ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) รายงานว่า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 สรุปได้ ดังนี้
                   1. ยธ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศให้ดำเนินธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชนตามกรอบของหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการพิจารณาจัดตั้งกลไกในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม ซึ่งได้กำหนดเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญตาม National Action Plan on Business and Human Right (NAP) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 -2565) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ โดยกำหนดให้ กต. และ ยธ. ศึกษาและหารือร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางพัฒนากฎหมาย นโยบายหรือกลไกที่เป็นรูปธรรม ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต เพื่อให้เกิดการปกป้อง คุ้มครอง เยียวยา และเกิดความรับผิดชอบข้ามพรมแดนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ยธ. ได้กำหนดให้ “คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” (อยู่ระหว่างเสนอคำสั่งแต่งตั้ง) มีอำนาจในการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีข้อร้องเรียน หรือร้องทุกข์จากการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการ หรือนักลงทุนซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบ หรือก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งกรณีการลงทุนในประเทศและการลงทุนของสถานประกอบการ หรือนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างหลักประกันให้การดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและยึดถือปฏิบัติตามอย่างจริงจัง นอกจากนั้น ในปัจจุบัน หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมภาคธุรกิจให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน อาทิ (1) การอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ตลอดจนกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องแก่นักลงทุนไทย รวมถึงกลุ่มที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ โดยหน่วยงานต่าง ๆ (2) การหารือระดับนโยบายผ่านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน (3) การบังคับใช้แนวปฏิบัติของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) กค. โดยการกำหนดเงื่อนไขให้ทุกโครงการที่ได้รับเงินกู้จาก สพพ. จะต้องทำการศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (4) การส่งเสริมและสนับสนุนให้บริษัท ที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลภาพรวมของนโยบายการจัดการความยั่งยืน เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ การจัดการด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสังคม ซึ่งรวมถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนตามแนวทางที่ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
                   2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการตาม NAP อย่างจริงจัง และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้ติดตามผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด ผ่านกลไก “คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” (อยู่ระหว่างเสนอคำสั่งแต่งตั้ง) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติตาม NAP อยู่แล้ว โดยคณะอนุกรรมการฯ จะจัดประชุมเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับ ติดตาม และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมต่อไป
 

แต่งตั้ง

21. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการต่าง ๆ (จำนวน 2 ราย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เนื่องจาก ปคร. ของส่วนราชการดังกล่าวที่ได้รับการแต่งตั้งมีการโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่ง สลค. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของ ปคร. ทั้ง 2 ราย ดังกล่าวแล้วว่า เป็นไปตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ. 2551 ดังนี้ 
                   1. ยธ. นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม 
                   2. สมช. นายฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางสาวสุวรรณ ด่านวรพงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
23. เรื่อง ขอเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอชื่อ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน จำนวน 2 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้  
                   1. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์
                   2. นายอนุชา เศรษฐเสถียร 
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป  
 
25. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา รวม 2 คน แทนผู้ที่ลาออก ดังนี้ 
                   1. นายไตรรัตน์ โภคพลากรณ์                ประธานกรรมการ 
                   2. นายขภัช นิมมานเหมินท์                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป   
 
26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จำนวน 10 คน ตามมติคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ 
                   1. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ            (ด้านการเงินการคลัง)
                   2. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล                         (ด้านเศรษฐศาสตร์)
                   3. นายนรชิต สิงหเสนี                                   (ด้านรัฐศาสตร์)
                   4. นายไมตรี อินทุสุต                                    (ด้านรัฐศาสตร์)
                   5. ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ            (ด้านนิติศาสตร์)
                   6. นายปกรณ์ นิลประพันธ์                              (ด้านนิติศาสตร์)
                   7. ศาสตราจารย์พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์            (ด้านบริหารรัฐกิจ)
                   8. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์                           (ด้านบริหารธุรกิจ)
                   9. หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล                     (ด้านจิตวิทยาองค์การ)
                   10. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์                        (ด้านสังคมวิทยา)
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป    
 

.............................
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: