เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ* ระยะที่ 1 พ.ศ. 2562 – 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
* เขตสุขภาพพิเศษ หมายถึง พื้นที่ที่มีบริบทเฉพาะแตกต่างจากพื้นที่ปกติ และไม่สามารถใช้แนวทางบริหารจัดการงานด้านสาธารณสุขแบบทั่วไปเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม ประกอบด้วย เขตพื้นที่สาธารณสุขทางทะเล เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตพื้นที่สาธารณสุขชายแดน และเขตพื้นที่เฉพาะ (ประชากรต่างด้าว) |
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า
1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 92/2561 ลงวันที่ 23 เมษายน 2561) โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กรอบทิศทาง ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขในภาวะปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน และการจัดระบบดูแลสุขภาพประชาชนที่เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ โดยมีเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข และเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
2. สธ. โดยสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำร่างแผนปฏิบัติการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2562 – 2565 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าวรวมทั้งกรอบวงเงินงบประมาณและให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
3. สธ. แจ้งว่า ร่างแผนปฏิบัติการฯ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ 2561 - 2580) ใน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยมุ่งเน้นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ให้มีความเชื่อมโยงกันเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับแต่ละพื้นที่ (2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันในการพัฒนาการบริการสาธารณสุขในบริเวณพื้นที่เฉพาะ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขเฉพาะด้าน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนด้านการแข่งขันของประเทศ (3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีโดยเน้นปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยได้ตามมาตรฐานสากล (4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในการพัฒนาบริการด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับอย่างเพียงพอ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับทุกกลุ่ม และสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เช่น แผนแม่บทการเสริมสร้างความมั่นคง แผนแม่บทการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และแผนแม่บทการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นต้น รวมทั้งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนคือประชาชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นธรรมสำหรับประชาชนทุกกลุ่มในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพโดยประเทศสามารถรองรับค่าใช้จ่ายด้านหลักประกันสุขภาพได้อย่างยั่งยืน และมีแหล่งเงินที่เพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เกี่ยวกับประเด็นด้านสาธารณสุขใน 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยจัดบริการด้านสุขภาพให้กับประชากรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และกระจายการให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมและทั่วถึง และ (2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยสร้างความร่วมมือในประเทศ/ต่างประเทศในการวางระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
4. ร่างแผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ | สาระสำคัญ | ||||||||||||
วิสัยทัศน์ | ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษมีสุขภาพดี นำไปสู่ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน | ||||||||||||
พันธกิจ | ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ | ||||||||||||
วัตถุประสงค์ | 1. สามารถจัดบริการด้านสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของทุกพื้นที่ในประเทศ 2. ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรม 3. มีการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ |
||||||||||||
เป้าหมาย | 1. ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษมีสุขภาพดี 2. ประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างครอบคลุม 3. มีกลไกการจัดการอย่างบูรณาการและการสนับสนุนให้สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน |
||||||||||||
ระยะเวลา | ระยะเวลา 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2565) | ||||||||||||
กรอบวงเงิน งบประมาณ |
รวมทั้งสิ้น 5,078.15 ล้านบาท (จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ สธ.)
|
||||||||||||
ตัวชี้วัด ตามเป้าหมาย |
1. อัตราป่วย/ตายด้วยโรคที่สำคัญของประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษ 2. ความครอบคลุมของการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพพิเศษ 3. จำนวนกลไกและระดับของการบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ ในการดำเนินการ |
||||||||||||
การดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ |
ประกอบด้วยงานสาธารณสุขรวม 4 ด้าน ได้แก่
|
||||||||||||
กลไกการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย | 1. ใช้กลไกคณะกรรมการการสาธารสุขเขตสุขภาพพิเศษในการกำหนดกรอบทิศทาง นโยบาย อำนวยการ และสนับสนุนให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ให้คำปรึกษา กำกับ ติดตาม ประเมินผลงาน และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ 2. จัดตั้งคณะอนุกรรมการการสาธารณสุขเขตสุขภาพพิเศษ 4 ด้าน เพื่อจัดทำ บริหารและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ และรายงานต่อคณะกรรมการฯ ทราบเป็นระยะ 3. สป.สธ. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและบูรณาการภาพรวมทั้ง 4 ด้าน 4. ประชุมชี้แจงเพื่อถ่ายทอดแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. จัดระบบช่องทางการสื่อสารสำหรับผู้ประสานงาน 6. สร้างกลไกในการทบทวนและปรับปรุงแผนทุก 1 ปี 7. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน |
||||||||||||
การติดตาม และประเมินผล |
1. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้กลไกการติดตามและประเมินผลร่วมกับแผนงานปกติ รวมถึงการประยุกต์ใช้รายงานการประเมินตนเอง 2. กำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสที่ 2 (6 เดือน) และไตรมาสที่ 4 (12 เดือน) 3. กำหนด/มอบหมายหน่วยงานใน สป.สธ. เป็นหลักในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล 4. หน่วยงานที่เป็นแกนหลักรายงานผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. กำกับ ติดตาม และประเมินผลภาพรวมของแผนปฏิบัติการฯ โดยคณะกรรมการฯ |
11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562-31 พฤษภาคม 2563 (ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 มาตรา 6 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้ รง. จัดทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในงานประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ประกอบกับประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 กำหนดให้ รง. จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี) สรุปได้ดังนี้
1. ด้านนโยบาย (Policy) แต่งตั้งคณะทำงานกำกับและติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน พร้อมออกกฎหมายลำดับรองเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงทั้งระบบ
2. ด้านการป้องกัน (Prevention) บริหารจัดการแรงงานประมงและเรือประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย แก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย ในรอบปีการประมง พ.ศ. 2563-2564 จำนวน 10,202 ลำ ออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นอกน่านน้ำไทย จำนวน 6 ลำ จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย จำนวน 9 ลำ ต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือประมง จำนวน 9,575 ลำ ต่อใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงออกไปอีก 2 ปี จำนวน 34,590 คน ส่งเสริมการนำเข้าแรงงานประมงตามระบบ MOU จำนวน 1,280 คน ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวเพื่อแสดงความพร้อมในการทำงานบนเรือประมง จำนวน 92,233 คน จัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานประมงก่อนการทำงาน จำนวน 1,507 คน บริหารจัดการศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานประมง จำนวน 1,595 ราย และส่งเสริมให้สถานประกอบการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้ จำนวน 13,086 แห่ง
3. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) ตรวจเรือประมง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) จำนวน 37,054 เที่ยว พบการกระทำความผิด 9 ลำ ตรวจเรือประมงกลางทะเล จำนวน 508 ลำ พบการกระทำความผิด 2 ลำ รวมทั้งจับกุมและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงานในประมงทะเล จำนวน 3 คดี
4. ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) ช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ จำนวน 3 ราย จ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลโดยใช้กองทุนประกันสังคม จำนวน 2,068,238 บาท และกองทุนเงินทดแทน จำนวน 14,878,996 บาท ขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสุขภาพคนต่างด้าว จำนวน 70,867 คน และคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล จำนวน 5 ราย
5. ด้านการมีส่วนร่วม (Partnership) จัดทำโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง (Ship to Shore Rights Project) ร่วมกับสหภาพยุโรปและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดและดำเนินมาตรการปกป้องและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิแรงงานทางทะเลและแรงงานต่างด้าวจนนำไปสู่การให้สัตยาบันพิธีสารส่วนเสริมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลจังหวัดสงขลา ตลอดจนดำเนินโครงการ ATLAS Project ร่วมกับกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ รง. ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อให้แรงงานในงานประมงได้รับการคุ้มครองสิทธิสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เช่น การกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปี การกำหนดกลไกในการดำเนินงานและบรรทัดฐานในการคุ้มครองแรงงานประมง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและผลักดันกลไกของหน่วยงานภาครัฐ และการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ