เปิด (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน 7 อาชีพ

กองบรรณาธิการ TCIJ 31 ธ.ค. 2563 | อ่านแล้ว 5677 ครั้ง

เปิด (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน 7 อาชีพ

เปิด (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ 2562-2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ 1.โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2.โลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3.หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ 5.อาหารและเกษตร 6.ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7.แม่พิมพ์ งบประมาณเบื้องต้นรวมทั้งสิ้น 5,687.71 ล้านบาท | ที่มาภาพประกอบ: Anadolu Agency

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ] จำนวน 7 สาขาอาชีพ [1) โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2) โลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ 5) อาหารและเกษตร 6) ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ 7) แม่พิมพ์] ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

ศธ. รายงานว่า

1. คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ จำนวน 7 คณะ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนใน 7 สาขาอาชีพที่มีความจำเป็นต่อประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างต้นแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพของประเทศให้เพียงพอ มีสมรรถนะที่จำเป็นตรงตามความต้องการของภาคประกอบการและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และจะมีส่วนสำคัญในการนำต้นแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนไปขยายผลต่อในสาขาอื่นที่มีความต้องการกำลังคนในอนาคต ซึ่งคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ แล้ว และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ (1) ควรมีกลไกในการประมาณการความต้องการกำลังคนถึงระดับอาชีพอย่างเป็นระบบ รวมทั้งวิเคราะห์การเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มอาชีพในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมนั้น ๆ กับอาชีพที่สำคัญหรือขาดแคลน (2) ควรมุ่งเน้นสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตกำลังคน และควรมี                  การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความต้องการและจำนวนที่ผลิตได้ให้ชัดเจน (3) ควรมีการพัฒนากลไกการเทียบโอนประสบการณ์การรับรองคุณวุฒิที่ได้จากการเรียนคอร์สระยะสั้นและการเรียนในลักษณะ Micro degree ที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม (4) ควรกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบที่ต้องดำเนินการในแต่ละเรื่องให้ชัดเจน และ (5) ควรพิจารณาเพิ่มเติมสาขาที่เป็นจุดแข็งและมีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติได้ดำเนินการปรับแก้                      (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ แล้ว

2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

2.1 กรอบแนวในทางการดำเนินการจัดทำแผน

1) ศึกษาความต้องการกำลังคนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยร่วมมือกับสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสามารถปรับตัวสอดรับกับทักษะ/สมรรถนะที่ทันสมัยและจำเป็นต้องมีภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีกลไกในการประมาณการความต้องการกำลังคนอย่างเป็นระบบรวมถึงวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอาชีพในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมนั้น ๆ กับอาชีพที่มีความสำคัญหรือขาดแคลน

2) กำหนดระบบการพัฒนากำลังคน โดยการนำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นแกนหลักในการกำหนดหลักสูตรทั้งในภาคการศึกษาและหลักสูตรการอบรมในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงออกแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อพัฒนากำลังคนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3) พัฒนา เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพกับระดับคุณวุฒิการศึกษาและการฝึกอบรม เช่น วิเคราะห์มาตรฐานอาชีพที่มีอยู่เดิม/ปรับปรุงเพิ่มเติมตามความต้องการกำลังคน เป็นต้น

4) กำหนดรูปแบบและแนวทางปฏิบัติการเทียบโอนประสบการณ์การยกระดับทักษะ (Up - Skills) และปรับทักษะ (Re - SkiIls)

5) กำหนดครุภัณฑ์และสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากำลังคน

6) เสนอแนวทางการพัฒนาครูและครูฝึกในสถานประกอบการ เช่น จัดทำหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาครูเพื่อให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น

7) เสนอรูปแบบการวัดผล ประเมินผลสมรรถนะผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ

8) ส่งเสริมการมีงานทำและการมีรายได้ที่เหมาะสม

9) องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การเชื่อมโยงกับมาตรฐานสากล เป็นต้น

2.2 ในแต่ละสาขาอาชีพได้มีการประมาณการความต้องการกำลังคน ความสามารถในการผลิตกำลังคน จำนวนที่ต้องผลิตกำลังคนเพิ่มเติม เป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคน และวงเงินงบประมาณเบื้องต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S - Curve) และรองรับการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 สรุปได้ ดังนี้

ความต้องการกำลังคน

จากแหล่งต่าง ๆ (Demand)

ความสามารถ

ในการผลิตกำลังคน

(Supply)

จำนวน

ที่ต้องผลิต

กำลังคนเพิ่มเติม

(GAP)

เป้าหมายในการผลิต

และพัฒนากำลังคน

(ระดับ/หลักสูตร)

1. สาขาอาชีพโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (นำร่องในสาขาอาชีพช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง)

7,280 คน

(วิศวกรและ

ช่างเทคนิค)

5,670 คน

1,610 คน

เพื่อพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนและการฝึกอบรมในสาขาระบบขนส่งทางรางในปัจจุบัน เพื่อรองรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางรางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ระดับอาชีวศึกษา

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

1) สาขางานซ่อมบำรุงระบบราง (Track Work)

2) สาขางานอาณัติสัญญา (Signaling)

3) สาขางานซ่อมบำรุงตู้รถไฟ (Rolling Stock)

ระดับอุดมศึกษา เช่น

1) หลักสูตรระบบขนส่งทางราง

2) หลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

3) หลักสูตรวิศวกรรมการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง

ภาคอุตสาหกรรม

โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเร่งสร้างกำลังคนเข้าสู่อาชีพ โดยความร่วมมือกับ                 บริษัท   บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด

1) สาขางานซ่อมบำรุงระบบราง (Track Work)

2) สาขางานซ่อมบำรุงตู้รถไฟ (Rolling Stock)

· งบประมาณเบื้องต้น : 547.10 ล้านบาท

· ข้อมูล Demand และ Supply ช่วงระหว่างปี 2561 - 2565

2. สาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน [นำร่องใน 3 สาขาอาชีพ ได้แก่ นักวางแผนอุปสงค์ พนักงานควบคุมยานพาหนะมืออาชีพประเภทรถบรรทุก (Smart Driver) และนักจัดการโลจิสติกส์มืออาชีพด้านสินค้าเกษตร                 ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain)]

6,623,713* คน

38,970 คน

6,584,743* คน

เพื่อพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และทักษะสูงทั้งในระดับบริหารและปฏิบัติการให้เพียงพอ

กับความต้องการของภาคเอกชนและรองรับ               การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา

1) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

2) สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการ                โลจิสติกส์

3) สาขาอุตสาหการหรือโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

ภาคอุตสาหกรรม

โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อต่อยอด               (Up - Skills) ทั้ง 3 สาขาอาชีพโดยบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน เช่น หลักสูตรตามแนวทางเกษตร 4.0 ในระดับเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer), SMEs, วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

· งบประมาณเบื้องต้น : 1,533.53 ล้านบาท

· ข้อมูล Demand และ Supply ช่วงระหว่างปี 2560 - 2564

· *เป็นข้อมูลภาพรวมความต้องการกำลังคนทั้ง 3 สาขาอาชีพนำร่อง ไม่สามารถแยกความต้องการกำลังคนในแต่ละสาขาอาชีพได้ เนื่องจากภายใต้แต่ละสาขาอาชีพจะจำแนกบุคลากรเป็นหลายระดับและหลายตำแหน่งงาน และส่งผลให้ตัวเลขของจำนวนที่ต้องผลิตกำลังคนเพิ่มเติม (GAP) สูงตามไปด้วย

3. สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ [นำร่องในสาขาอาชีพผู้ปฏิบัติงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (System Integrator)]

11,521 คน

7,140 คน

4,381 คน

เพื่อยกระดับเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงช่วยยกระดับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในอนาคต

ระดับอาชีวศึกษา

หลักสูตร ปวส. สาชาวิชาหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม

ระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

ภาคอุตสาหกรรม

โครงการอบรมระยะสั้นโดยบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อ Up – Skills และ Re - Skills

· งบประมาณเบื้องต้น : 1,608 ล้านบาท

· ข้อมูล Demand และ Supply ช่วงระหว่างปี 2563 – 2565

4. สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ [นำร่องใน 9 สาขา ได้แก่ นักพัฒนาระบบ (Programmer) และนักทดสอบระบบ (Tester), นักพัฒนาเกม (Game) และแอนิเมชัน (Animation), นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist), *นักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ (Network Security) และนักบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security),                   *นักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- Commerce), *นักพัฒนาการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning),             *ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ (IT Support), *ช่างโครงข่ายปลายทางด้านเครือข่าย                 ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) และ *นักบริหารโครงการสารสนเทศ (ICT Project Management)]

มากกว่า

87,427 คน

29,670 คน

มากกว่า

57,757 คน

เพื่อบรรเทาปัญหาความขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลและยกระดับศักยภาพของนักศึกษาหรือผู้ที่จบการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสายตรง หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจและต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันผู้จบการศึกษาในสาขานี้มีจำนวนและคุณสมบัติไม่สอดคล้อง             ต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

ระดับอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา และภาคอุตสาหกรรม

1) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

3) สาขาดิจิทัลและมัลติมีเดีย

· งบประมาณเบื้องต้น : 1,072.76 ล้านบาท

· ข้อมูล Demand และ Supply ช่วงระหว่างปี 2562 – 2565 และ *ในบางสาขาอาชีพนำร่องยังไม่มีผลการสำรวจความต้องการกำลังคนที่ชัดเจน

5. สาขาอาชีพอาหารและเกษตร [นำร่องในอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและอาชีพที่มีความจำเป็นในอนาคต เช่น นักจัดการอาหาร (ด้านความปลอดภัยอาหาร) นักพัฒนาอาหาร เกษตรกรอัจฉริยะ (Smart farmer)                 กลุ่มอาชีพโคนม กลุ่มอาชีพข้าว เป็นต้น]

177,314 คน

48,864 คน

128,450 คน

เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรให้เข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและสร้างความมั่นคงทางอาหารแก่ประเทศชาติได้

กลุ่มสาขาอาหาร

ระดับอาชีวศึกษา

หลักสูตร ปวส. เช่น 1) ผู้ประกอบอาหารไทยชั้นต้น 2) การจัดการความปลอดภัยอาหารเบื้องต้น และ 3) การพัฒนาอาหารเบื้องต้น เป็นต้น

ระดับอุดมศึกษา

1) สาขาการจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร

2) สาขาการวิจัยและพัฒนาอาหารเบื้องต้น

กลุ่มสาขาเกษตร

ระดับอาชีวศึกษา

หลักสูตร ปวส. เช่น 1) การจัดการฟาร์มโคนมสมัยใหม่ 2) การจัดการฟาร์มข้าวมาตรฐาน และ 3) นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เป็นต้น

ระดับอุดมศึกษา

สาขาเกษตรนวัตกรรมและผู้ประกอบการ

· งบประมาณเบื้องต้น : 1,425.15 ล้านบาท

· ข้อมูล Demand และ Supply ช่วงระหว่างปี 2561 - 2565

6. สาขาอาชีพปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน (นำร่องใน 2 สาขาอาชีพ ได้แก่ ช่างเทคนิค สาขาสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และช่างเทคนิคสาขาการกลั่นและปิโตรเคมี)

2,137 คน

500 คน

1,637 คน

เพื่อสร้างบุคลากรด้านเทคนิคที่มีคุณภาพให้                    ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในระดับประเทศ และสามารถรองรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นได้

กลุ่มปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา

สาขางานปิโตรเลียม

กลุ่มพลังงานและพลังงานทดแทน

ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา

1) สาขางานควบคุมและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้า

2) สาขางานเทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้า

3) สาขางานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

· งบประมาณเบื้องต้น : 427.76 ล้านบาท

· ข้อมูล Demand และ Supply ช่วงระหว่างปี 2562 - 2565

7. สาขาอาชีพแม่พิมพ์* (นำร่องในสาขาอาชีพช่างแม่พิมพ์)

ไม่มีข้อมูล Demand และ Supply เนื่องจากจะนำร่องในสาขาอาชีพแม่พิมพ์โดยจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องและต่อเนื่องกันไป เช่น โครงการจัดหาครุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตรฐานสมรรถนะให้สอดคล้องกับระดับเทคโนโลยีตามสมรรถนะอาชีพ (จัดทำแผนการลงทุนและกรอบงบประมาณ) โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาและฝึกอบรมอาชีพด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการศึกษาผ่านระบบ e - Learning โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศสำหรับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Mold & Die Excellence Center) เพื่อถ่ายทอดและฝึกอบรมนวัตกรรม เทคโนโลยีแม่พิมพ์ขั้นสูง เป็นต้น

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยให้สามารถแข่งขันเพื่อทดแทนการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศ สามารถผลิตแม่พิมพ์เพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศได้ และยกระดับคุณภาพของสินค้าที่สำคัญที่ต้องใช้แม่พิมพ์ความเที่ยงตรงสูงสำหรับผลิต

ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากวัสดุสมัยใหม่

ระดับอาชีวศึกษา

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์

ระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรเกี่ยวกับสาขาแม่พิมพ์

ภาคอุตสาหกรรม

โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน เช่น หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การทำงานหลักสูตรในสาขาอาชีพแม่พิมพ์    18 หลักสูตร เป็นต้น

· งบประมาณเบื้องต้น : 606.94 ล้านบาท

หมายเหตุ : 7 สาขาอาชีพจะใช้งบประมาณเบื้องต้นรวมทั้งสิ้น 5,687.71 ล้านบาท โดยภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ แล้ว ศธ. จะจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป

________________________________________

* อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) หรืออุตสาหกรรมกลางน้ำที่รองรับอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญเกือบทุกประเภท เนื่องจากการผลิตสินค้าหลายสาขาจำเป็นต้องอาศัยแม่พิมพ์ซึ่งจะทำหน้าที่ (Mold & Die Tooling) ในการขึ้นรูปและกำหนดรูปร่างผลิตภัณฑ์ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและขนาดตามความต้องการ โดยแม่พิมพ์ที่ออกแบบและผลิตใช้อยู่ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามประเภทวัสดุที่ใช้ทำการขึ้นรูป เช่น แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์ยาง แม่พิมพ์แก้ว แม่พิมพ์เซรามิกส์ เป็นต้น

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: