สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยข้อมูล ช่วง 9 เดือนปี 2563 กรมธรรม์ประกันชีวิตในระบบมีการยกเลิกและขาดอายุรวมทั้งสิ้น 676,000 ฉบับ ชี้ COVID-19 ยืดยื้อฉุดกำลังซื้อ คนยกเลิกไม่ต่ออายุประกันในเกือบทุกประเภท และยังมีแนวโน้มยกเลิกต่อเนื่อง | ที่มาภาพประกอบ: Pictures of Money (CC BY 2.0)
เว็บไซต์ TNN รายงานเมื่อช่วงปลายเดือน ม.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยข้อมูล ช่วง 9 เดือนของปี 2563 ม.ค.-ก.ย. 2563 พบว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตในระบบมีการยกเลิกและขาดอายุ รวมทั้งสิ้น 676,000 ฉบับ ทั้งประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันชีวิตควบการลงทุน สอดคล้องกับอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากรลดลงมาอยู่ที่ 39.50% จาก 39.65% ของช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุสำคัญมาจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนานและลากยาวไปจนถึงไตรมาส 3/2564 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและกำลังซื้อของคนไทยโดยตรง
ทั้งนี้ คปภ.ได้ออกมาตรการให้บริษัทประกันให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของโควิด-19 อาทิ การผ่อนผันการชำระเบี้ย, ยกเว้นดอกเบี้ยกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นผลบังคับ, ยกเว้นหรือปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้กรมธรรม์ เป็นต้น ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ให้ทุกบริษัทดำเนินการได้สิ้นสุดไปเมื่อสิ้นปี 2563
ทำให้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2563 จะเริ่มเห็นสัญญาณการขาดอายุกรมธรรม์สูงขึ้น เนื่องจากหมดช่วงเวลาช่วยเหลือ พบว่ามีลูกค้าจำนวนมากไม่ได้จ่าย ค่าเบี้ยประกันชีวิตต่อ ซึ่งหากพ้นระยะเวลาการชำระไปแล้ว 30 วันในระบบประกันชีวิต ก็จะให้ลูกค้าทำรายการ กู้กรมธรรม์อัตโนมัติ จะเห็นว่าการกู้กรมธรรม์มีสัดส่วนสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลเสียทั้งต่อลูกค้าและผลกระทบต่อบริษัทประกัน
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันออมทรัพย์ที่จ่ายดอกเบี้ยต่ำ ๆ มองว่ามีความเสี่ยง จะถูกยกเลิกสูง โดยเฉพาะหากในช่วงปี 2565 ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) เริ่มกลับมาดีดตัวสูงขึ้น โอกาสเห็นผู้บริโภคยกเลิกกรมธรรม์เพื่อไปซื้อฉบับใหม่จากการได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่า
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ