เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ค. 2564 ครม. มีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ | ที่มาภาพประกอบ: autorabbit.jp
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า
1.โดยที่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 บัญญัติให้ทุก 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ผู้อนุญาตพิจารณากฎหมายที่ให้อำนาจในการอนุญาตว่าสมควรปรับปรุงกฎหมายนั้น เพื่อยกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาตหรือไม่ ประกอบกับ พณ. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนมาตรการนำเข้า-ส่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ทุกฉบับ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ทบทวนและแก้ไขประกาศกระทรวงพาณิชย์ หรือระเบียบกระทรวงพาณิชย์หลายฉบับ รวมถึงให้ทบทวนและแก้ไขปรับปรุงมาตรการตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 113) พ.ศ. 2539 (การนำรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักร) ด้วย ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้ พณ. ติดตามและแก้ไขปัญหาการนำเข้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปที่ใช้แล้วจากต่างประเทศและนำมาจดทะเบียนในราชอาณาจักรให้เป็นไปอย่างถูกกฎหมาย
2. กรมการค้าต่างประเทศจึงได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อพิจารณาทบทวนมาตรการควบคุมการนำเข้ารถจักรยานยนต์ใช้แล้ว โดยมีมติ ดังนี้
2.1 ห้ามนำเข้ารถจักรยานยนต์ใช้แล้ว รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใช้แล้ว รถโมเพ็ดใช้แล้ว (Moped) รถจักรยานใช้แล้วที่ติดตั้งมอเตอร์ช่วย (รถจักรยานไฟฟ้าใช้แล้ว) และรถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่มีอายุเกิน 100 ปี
2.2 กำหนดประเภทรถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่อนุญาตให้นำเข้าภายใต้กำกับดูแลของหน่วยงานอื่น เพื่อปรับลดขั้นตอนการทำงานและอำนวยความสะดวกประชาชน เช่น การนำเข้าของผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต การนำเข้าเป็นการชั่วคราว การนำเข้าเพื่อเป็นต้นแบบในการวิจัยพัฒนา เป็นต้น
2.3 กำหนดบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้กรมศุลกากรทำลายรถจักรยานยนต์ใช้แล้วดังกล่าว เช่นเดียวกับการกำหนดบทลงโทษที่บัญญัติในประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562
3. ประกอบกับปัจจุบันปัญหาด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การลดปริมาณนำเข้ารถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ไม่จำเป็น เช่น การห้ามนำเข้าจักรยานยนต์ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว และการกำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ฝ่าฝืนมาตรการห้ามนำเข้าให้กรมศุลกากรทำลาย จะช่วยลดปัญหาด้านมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน รวมทั้งการยกเว้นให้รถบางประเภทสามารถนำเข้าได้ภายใต้กำกับดูแลของหน่วยงานอื่น โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก พณ. เช่น การนำเข้าเป็นการชั่วคราว การนำเข้าเพื่อเป็นต้นแบบในการวิจัยพัฒนา เป็นการปรับลดขั้นตอนการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
4. พณ. พิจารณาแล้ว จึงได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถจักรยานยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. และได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง รวม 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รวม 78 วัน ผ่านเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ (www.dft.go.th) และได้ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นการอนุรักษ์รถจักรยานยนต์เก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการศึกษา ซึ่งประเด็นนี้ผู้นำเข้ารถโบราณหรือรถที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สามารถนำเข้าได้ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. กำหนดพิกัดอัตราศุลกากรและขอบเขตสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้า
พิกัดอัตราศุลกากร |
สินค้าต้องห้ามนำเข้า |
ประเภท 87.11 |
รถจักรยานยนต์ใช้แล้ว รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใช้แล้ว รถโมเพ็ดใช้แล้ว (Moped) รถจักรยานใช้แล้วที่ติดตั้งมอเตอร์ช่วย (รถจักรยานไฟฟ้าใช้แล้ว) รวมทั้งรถพ่วงข้าง แต่ไม่รวมรถพ่วงข้างที่ไม่ได้ติดตั้งมากับรถ |
2. กำหนดประเภทรถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของหน่วยงานอื่น โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก พณ. เพื่อปรับลดขั้นตอนการทำงาน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
หน่วยงาน |
ประเภทการนำเข้า |
การกำกับดูแล |
1. กระทรวงการต่างประเทศ |
- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้าโดยสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจของต่างประเทศ องค์กรต่างประเทศที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือบุคคลซึ่งได้รับเอกสิทธิ์ - รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ได้รับบริจาคจากต่างประเทศภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ |
ออกหนังสือรับรองประกอบพิธีการศุลกากร |
2. กรมศุลกากร |
- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้าหรือส่งออกเป็นการชั่วคราว (รวมรถที่ใช้ประโยชน์สุทธินำกลับ รถเพื่อจัดแสดง และรถเพื่อการท่องเที่ยว) - รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่ไม่สามารถจดทะเบียนหรือไม่สามารถนำเข้าไปในต่างประเทศได้ |
เป็นไปตามกฎหมายศุลกากร |
3. กรมสรรพสามิต |
- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้ามาเพื่อใช้เป็นรถต้นแบบสำหรับการวิจัย พัฒนาหรือทดสอบสมรรถนะ |
ออกหนังสือรับรองประกอบพิธีการศุลกากร |
4. กรมศิลปากร |
- รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่นำเข้ามาเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น |
ออกหนังสือรับรองประกอบพิธีการศุลกากร |
5. กระทรวงกลาโหม |
รถจักรยานยนต์ใช้แล้วที่เป็นยุทธภัณฑ์ ฆ |
เป็นไปตามกฎหมายกระทรวงกลาโหม |
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ