สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 พ.ค. 2564

กองบรรณาธิการ TCIJ 5 พ.ค. 2564 | อ่านแล้ว 2062 ครั้ง

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 พ.ค. 2564

5 พ.ค. 2564 เวลา 09.00 นพลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้


 

กฎหมาย

                   1.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ....
                   2.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษ)
                   3.       เรื่อง     ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างภาคผนวก 6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และร่างภาคผนวก 7 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
                   4.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....
                   5.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ....
                   6.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย – คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. ....
                   7.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....  
                   8.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ ตำบลเสียว และตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ....
                   9.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. ....
                   10.      เรื่อง    ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อจัดหาวัคซีน)                   
                   11.      เรื่อง     ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
                   12.      เรื่อง     รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการออกระเบียบและประกาศตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และการเสนอร่าง
                                      พระราช กฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. ....
 

เศรษฐกิจ - สังคม

                   13.      เรื่อง     ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การให้ความช่วยเหลือ เยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร
                   14.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนระบบ 53 ขั้น 
                   15.      เรื่อง     (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) 
                   16.      เรื่อง     ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2564
                   17.      เรื่อง     รายงานประจำปี 2562 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
                   18.      เรื่อง     รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                   19.      เรื่อง     ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม  2564
                   20.      เรื่อง     ความก้าวหน้าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง  ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ปี 2564
                   21.      เรื่อง     สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2564
                   22.      เรื่อง     ผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 และรายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                   23.       เรื่อง    สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)  (ศบค.) ครั้งที่ 6/2564
                   24.       เรื่อง    ผลการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
                   25.      เรื่อง     มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน   2564            
                   26.      เรื่อง     ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 13/2564 และครั้งที่ 14/2564
                   27.      เรื่อง     มาตรการช่วยเหลือผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระลอกใหม่
                   28.       เรื่อง    ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ                                           จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564
 

ต่างประเทศ

                   29.      เรื่อง     โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                   30.      เรื่อง     การต่ออายุโครงการการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty Free Quota Free Scheme : DFQF) ของไทย ระยะที่ 2
                   31.      เรื่อง     การยื่นขอเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเพื่อระงับการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) และการอุดหนุน (Countervailing : CVD) สินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทย ในรูปแบบการกำหนดราคาขั้นต่ำและ/หรือโควตาภาษี (Undertaking Agreement)
 

แต่งตั้ง

                   32.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงบประมาณ)
                   33.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ 
                   34.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                   35.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา ที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                   36.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)  
                   37.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
 

*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้ 
                   1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป  
                   2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ อว. เสนอ
                   3. ให้ อว. รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ อว. เสนอ เป็นการปรับปรุงพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 โดยเปลี่ยนสถานะของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ที่เป็นส่วนราชการ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่น เพื่อปรับปรุงการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ซึ่งสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยแล้ว 
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 
                   1. กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น 
                   2. กำหนดให้กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน  
                   3. กำหนดให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น อำนาจในการซื้อ ขาย จ้าง รับจ้าง สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ จำหน่าย และแลกเปลี่ยน หรือทำนิติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่กิจการของมหาวิทยาลัย ตลอดจนถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ในทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย อำนาจในการกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน ถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน และลงทุนหรือร่วมลงทุน และอำนาจในการออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอำนาจในการกำหนดค่าตอบแทนหรือค่าตอบแทนพิเศษ รวมทั้งสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ และประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย 
                   4. กำหนดให้รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐหรือกฎหมายอื่น  
                   5. กำหนดให้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่ใช้เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยตรงไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครอง บุคคลใดจะยกอายุความหรือระยะเวลาในการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยมิได้ 
                   6. กำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย กำหนดการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยทั้งด้านการบริหารงานบุคคล การเงิน และวิชาการ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัย โดยนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้
                   7. กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย และอาจมีรองอธิการบดี หรือผู้ช่วยอธิการบดี หรือจะมีทั้งรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีตามจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่อธิการบดีมอบหมายก็ได้ โดยอธิการบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ 
                   8. กำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินส่วนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบบัญชี และให้มีการเผยแพร่บัญชีที่ได้รับรองแล้วในรายงานประจำปี รวมทั้งกำหนดให้รัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย 
                   9. กำหนดให้โอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 มาเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้ 
                   10. กำหนดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสถานภาพข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยกำหนดให้ต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัยตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แต่หากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งมิได้รับการบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ให้ยังคงสถานะความเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการต่อไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น 
                   11. กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยต้องได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ก่อนเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
 
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. และกระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                   ทั้งนี้ กค. เสนอว่า  
                   1. สืบเนื่องจากพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 704) พ.ศ. 2563 ได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ยธ. จึงได้มีหนังสือขอให้ กค. พิจารณาขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการจ้างงานผู้พ้นโทษเข้าทำงานตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวออกไป เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสให้กับผู้พ้นโทษสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างมั่นคงและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
                   2. กค. พิจารณาแล้ว เห็นว่าเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการในการจ้างผู้พ้นโทษเข้าทำงาน จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคมท พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยตราเป็นร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษ) เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเข้าทำงานในสถานประกอบการ อันเป็นการส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเข้าทำงาน ช่วยให้ผู้พ้นโทษสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีอาชีพก่อให้เกิดรายได้และไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก 
                   3. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1,935 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 
                             3.1 สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษให้มีอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้พึ่งพาตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี 
                             3.2 สร้างโอกาสให้ผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมั่นคง ก่อให้เกิดการสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากการลดการกลับมากระทำความผิดซ้ำ 
                             3.3 เสริมสร้างด้านเศรษฐกิจตลาดแรงงานในประเทศไทยที่ขาดแคลนโดยไม่ต้องพึ่งแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน อันจะช่วยสร้างประโยชน์ในทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 
                   1. กำหนดบทนิยามคำว่า “ผู้พ้นโทษ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งมีสัญชาติไทยที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ เนื่องจากครบกำหนดโทษตามหมายศาล ลดวันต้องโทษจำคุก หรือพักการลงโทษ 
                   2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรับผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัว เข้าทำงาน สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่                     31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 
                   3. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ตั้งแต่เดือนที่รับผู้พ้นโทษเข้าทำงานจนถึงเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 
                   4. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เนื่องจากรายจ่ายในการจ้างงานบุคคลดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรอีก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
 
3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างภาคผนวก 6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และร่างภาคผนวก 7 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างภาคผนวก 6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และร่างภาคผนวก 7 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจัดทำโดยคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบงานสารบรรณ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 
                   ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและร่างภาคผนวก ซึ่งจัดทำโดยคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบงานสารบรรณ ตามที่ สปน. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติงานสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการปฏิบัติงานสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้รองรับและสนับสนุนการปฏิบัติงานสารบรรณทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีมาตรฐานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว และความมั่นคงปลอดภัยในการดำเนินงานของภาครัฐ และให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการติดต่อกับส่วนราชการ รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบและร่างภาคผนวกดังกล่าวด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและร่างภาคผนวก
                   1.  ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 
                             1.1 กำหนดให้การติดต่อราชการต้องดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เว้นแต่กรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารลับชั้นลับที่สุด เป็นสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการชั้นลับที่สุด หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใดที่ไม่สามารถดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยให้กรณีที่ส่งหนังสือทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนราชการผู้ส่งไม่ต้องจัดส่งหนังสือเป็นเอกสารตามไปอีก (จากเดิมที่กำหนดให้การปฏิบัติงานสารบรรณทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือก) 
                             1.2 ปรับปรุงความหมายของ “สื่อกลางบันทึกข้อมูล” ให้หมายความรวมถึงคลาวด์ (cloud) ด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน (จากเดิมที่หมายถึงเฉพาะสื่อใด ๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี – อ่านอย่างเดียวหรือแผ่นดิจิทัลอเนกประสงค์ เป็นต้น) และแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อให้หมายความรวมถึงการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) รวมทั้งระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นในการรับส่งหนังสือราชการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน 
                             1.3 กำหนดให้ในกรณีที่บันทึกจัดทำในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยการพิมพ์ข้อความในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบสื่อสารอื่นใดที่มีการยืนยันตัวตน จะพิมพ์ชื่อผู้บันทึกแทนการลงลายมือชื่อก็ได้ และจะไม่ลงวัน เดือน ปีที่บันทึกก็ได้หากระบบมีการบันทึกวัน เดือน ปีไว้อยู่แล้ว 
                             1.4 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีทะเบียนหนังสือรับ ทะเบียนหนังสือส่ง บัญชีหนังสือส่งเก็บ ทะเบียนหนังสือเก็บ บัญชีส่งมอบหนังสือครบ 20 ปี บัญชีหนังสือครบ 20 ปีที่ขอเก็บเอง บัญชีฝากหนังสือ และบัญชีหนังสือขอทำลาย ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรอกรายละเอียดเช่นเดียวกับทะเบียนหรือบัญชีในรูปแบบเอกสาร  
                             1.5 กำหนดในกรณีที่หน่วยงานสารบรรณกลางได้ส่งหนังสือด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าการเก็บสำเนาหนังสือไว้ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งนั้นเป็นการเก็บสำเนาไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลางแล้วโดยไม่ต้องเก็บเป็นเอกสารอีก  
                             1.6 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สำหรับปฏิบัติงานสารบรรณ หรืออย่างน้อยต้องมีที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางสำหรับการรับและการส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการนั้น และให้ส่วนราชการประกาศเผยแพร่ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางในเว็บไซต์ของส่วนราชการนั้น และให้แจ้งไปยังสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เพื่อรวบรวมเผยแพร่พร้อมกับหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบหนังสือ ที่ส่งมายังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย 
                             1.7 กำหนดให้การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการ หรือกรณีที่มีปัญหาอุปสรรคทางเทคนิคในการปฏิบัติงานสารบรรณด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือในการเชื่อมโยงข้อมูลหรือระบบกับส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ส่วนราชการอาจขอรับการสนับสนุนหรือขอความช่วยเหลือจาก สพร. หรือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้
                   2. ร่างภาคผนวก 6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะ วิธีการดำเนินการ และคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์จะต้องสนับสนุนการสร้างหนังสือตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ สามารถรองรับหนังสือที่สร้างโดยใช้กระดาษแล้วแปลงเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถรับส่งหนังสือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้  
                   3. ร่างภาคผนวก 7 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารและหนังสือราชการโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรูปแบบที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางของส่วนราชการ หลักเกณฑ์วิธีการในการรับส่งหนังสือราชการโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการกำหนดหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อไฟล์เอกสารที่จะส่งโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
 
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น 
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 
                    ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2556 ดังนี้ 

การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง
1. สำนักงานเลขาธิการ
2. กองกฎหมายและระเบียบราชการ
3. กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น
4. กองพัฒนาระบบราชการ 1
5. กองพัฒนาระบบราชการ 2
 
6. กองติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ
7. กองส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
 
8. กองบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
9. กองเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ
10. กองพัฒนาระเบียบราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. สำนักงานเลขาธิการ (คงเดิม)
2. กองกฎหมายและระเบียบราชการ (คงเดิม)
3. กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงาน ของรัฐรูปแบบอื่น (คงเดิม)
4. กองพัฒนาระบบราชการ 1 (คงเดิม)
5. กองพัฒนาระบบราชการ 2 (คงเดิม)
 
6. กองติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ (ยุบรวมเหลือ 1 กอง)
 
 
 
7. กองนวัตกรรมบริการภาครัฐ (เปลี่ยนชื่อ)
8. กองขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล (เปลี่ยนชื่อ)
 
9. กองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (เปลี่ยนชื่อ)
 
10. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (จัดตั้งใหม่)

 
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้ 
                    1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไป  
                   2. ให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย  
                   3. ให้หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎกระทรวงถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับการเสนอร่างกฎกระทรวงจะต้องไม่มีบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจช่วง โดยกฎหมายแม่บทมิได้ให้อำนาจไว้ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                   ทั้งนี้ มท. เสนอว่า 
                   1. โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2549) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในประเทศไทยได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มีการควบคุมคุณภาพวัสดุให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น มีการวิจัยและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารในสากลได้มีการแก้ไขและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้นที่ใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการออกแบบอาคารในประเทศไทยไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการก่อสร้างในปัจจุบัน รวมทั้งการออกแบบตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงบางข้อทำให้เกิดความสิ้นเปลืองต่อค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอันส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ตลอดจนกฎกระทรวงด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่มีอยู่มิได้ครอบคลุมรายละเอียดที่สำคัญหลายเรื่อง และมีเนื้อหากระจัดกระจายไม่เป็นหมวดหมู่ 
                   2. ดังนั้น สมควรแก้ไข ปรับปรุง และเพิ่มเติมเนื้อหาให้ได้มาตรฐานและเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยรวบรวมเนื้อหาของกฎกระทรวงเดิมที่เกี่ยวกับการคำนวณออกแบบทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างให้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อความสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติและเป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับวิศวกร และเพื่อใช้ในการคำนวณและออกแบบอาคารด้านวิศวกรรมโครงสร้างในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน มท. จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. .... ขึ้น ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 
                   1. ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2549) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522   
                   2. กำหนดบทนิยามให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและทฤษฎีด้านงานวิศวกรรมในปัจจุบัน กำหนดความปลอดภัยของอาคารในเรื่องต่าง ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดวิธีการคำนวณวิธีการออกแบบให้เป็นปัจจุบันและเป็นสากล 
                   3. กำหนดชุดตัวคูณน้ำหนัก ตัวคูณลดกำลัง และตัวคูณความต้านทานให้มีความชัดเจนและเกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้นสำหรับการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างเหล็ก
                   4. กำหนดการคำนวณน้ำหนักบรรทุกคงที่ของวัสดุก่อสร้างให้มีความชัดเจนในทางปฏิบัติสำหรับการออกแบบ การคำนวณค่าน้ำหนักบรรทุกจรสำหรับประเภทและส่วนต่าง ๆ ของอาคารนอกเหนือจากน้ำหนักของตัวอาคารหรือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อย่างอื่นให้สอดคล้องกับการใช้งาน การคำนวณแรงกระแทกซึ่งอาจเกิดจากเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือน้ำหนักบรรทุกและปรับปรุงวิธีการคำนวณแรงลม รวมทั้งเพิ่มเติมการคำนวณออกแบบอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว  
                   5. กำหนดให้การคำนวณส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ประกอบด้วยวัสดุไม้ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ อิฐหรือคอนกรีตบล็อกประสานด้วยวัสดุก่อ คอนกรีตเสริมเหล็กหรือคอนกรีตอัดแรง ให้ใช้ค่าหน่วยแรง วิธีการ คุณภาพและเกณฑ์การออกแบบ และกำหนดให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคาร ช่องทางหนีไฟ หรือโครงสร้างหลักของอาคารต้องไม่เป็นวัสดุติดไฟ
 
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย – คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย – คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย – คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศและส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 
                   กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย – คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1462 – 2562 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5990 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย – คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2563 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศและส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 344 – 2562 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5989 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2563 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 
 
8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ ตำบลเสียว และตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ ตำบลเสียว และตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ คค. เสนอว่า  
                   1. เนื่องจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085 และ 2178 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 – อุบลราชธานี (บ้านน้ำเกลี้ยง) จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กับจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันยังคงเป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร ที่มีปริมาณจราจรหนาแน่น ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085 และ 2178 ฯ ให้เป็น       4 ช่องจราจร เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ลดอุบัติเหตุ สนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ และเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศทางหนึ่งด้วย 
                   2. กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085 และ 2178 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 – อุบลราชธานี (บ้านน้ำเกลี้ยง) จังหวัดศรีสะเกษ ในท้องที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ ตำบลเสียว และตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีจุดเริ่มต้น ที่ กม.13+000.000 – กม.22+725.000 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085) และ กม.44+500.000 – กม.45+590.429 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2178) รวมระยะทาง 10.815 กิโลเมตร วงเงินการก่อสร้าง 278,020,000 บาท มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประกอบด้วย ที่ดินประมาณ 105 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 94 ราย และต้นไม้ยืนต้นประมาณ 47 ราย ค่าทดแทนและค่าเสียหายอื่น ๆ และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดรวมค่าทดแทนในการเวนคืน รวมเป็นเงินประมาณ 52,428,250 บาท ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด  
                   3. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมต่อโครงการมีประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว  
                   4. สำนักงบประมาณจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กับกรมทางหลวงเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว 
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา  
                   กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ ตำบลเสียว และตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085 และ 2178 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 – อุบลราชธานี (บ้านน้ำเกลี้ยง) จังหวัดศรีสะเกษ
 
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผ้าอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอาง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ สุขอนามัย และความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 และคณะกรรมการเครื่องสำอางได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 
                   กำหนดให้ผ้าอนามัยชนิดสอดที่ใช้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือนเป็นเครื่องสำอาง
 
10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อจัดหาวัคซีน) 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อจัดหาวัคซีน) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อจัดหาวัคซีน)  เป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ดังนี้
                   เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชนทั้งบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการกระจายวัคซีนให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น จึงเห็นควรกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อจัดหาวัคซีนภายใต้หลักการและแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ดังนี้ 
                   1. กำหนดให้บุคคลธรรมดาบริจาคเงินให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว  
                   2. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา 65 ตรี (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสองของกำไรสุทธิ 
                   3. การบริจาคตามข้อ 1 และ 2 ต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 
                   4. กำหนดให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถาบันวัคซีนแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการกระจายวัคซีนให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
                   ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
                  
11. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                   ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 
                    1. ด้วยพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 มาตรา 5 บัญญัติว่า “พระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่ (3) การประชุมเพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ” มีผลให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ไม่อาจนำการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการประชุมเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามนัยมาตรา 5 (3) แห่งพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 
                   2. ในคราวการประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 มีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งส่งผลให้การประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอาจเกิดความไม่คล่องตัว และแม้ว่าพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 จะเป็นกฎหมายกลางที่กำหนดในเรื่องการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม แต่เนื่องจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติในเรื่ององค์ประกอบและองค์ประชุมซึ่งกระทำโดยคณะกรรมการ และหน้าที่ของผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างไว้เฉพาะ โดยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ประกอบกับปัจจุบันระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดการประชุมของคณะกรรมการแต่ละคณะไว้ตามนัยข้อ 27 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและในอนาคต การจะกำหนดให้การประชุมเพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสามารถประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ นั้น จำเป็นต้องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 27 โดยกำหนดเพิ่มเติมให้การประชุมดังกล่าวสามารถกระทำได้
                   ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการประชุมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐเกิดความคล่องตัวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องออกร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (ฉบับที่ 2)               พ.ศ. ....
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   เนื่องจากการประชุมในปัจจุบันมีรูปแบบการประชุมทั้งประชุมแบบเผชิญหน้าและประชุมแบบผ่านวิดีโอ ซึ่งที่ผ่านมาการประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็นการประชุมแบบเผชิญหน้า แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในเรื่องของการประชุม ดังนั้น เพื่อให้การประชุมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มข้อความนัยข้อ 27 วรรคหก แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็น “การประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง อาจประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด”
 
12. เรื่อง รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการออกระเบียบและประกาศตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติ ดังนี้ 
                   1. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการออกระเบียบและประกาศตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                   2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... ตามที่ ดศ. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ 
                   3. ให้ ดศ. เร่งรัดการดำเนินการเพื่อจัดทำกฎหมายลำดับรอง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่จำเป็นต้องมี เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ 
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 2. ที่ ดศ. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานและกิจการต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการออกระเบียบและประกาศตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ (27 พฤษภาคม 2563) ที่ ดศ. เสนอ เป็นรายงานตามมาตรา 16 (4) ประกอบมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดย ดศ. รายงานว่า เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการออกประกาศหรือระเบียบเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ดศ. ได้มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองดังกล่าวแล้ว โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ทั้งนี้ เมื่อมีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวแล้ว ดศ. จะได้เสนอร่างกฎหมายต่อไป 
                   2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดมิให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 3 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 5 การร้องเรียน หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 7 บทกำหนดโทษ และมาตรา 95 เกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานของผู้ควบคุมข้อมูลแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยงานหรือกิจการตามบัญชีท้ายร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ดศ. กำหนด
 

เศรษฐกิจ - สังคม

 
13. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
                   เรื่องเดิม
                   1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย มาเพื่อดำเนินการ  โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลกระทบของความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ และสังคมของเด็ก เยาวชน และครอบครัว และผลการดำเนินงานการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีข้อสังเกตในประเด็นเร่งด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กที่มาจากครอบครัวที่ได้รับผลกระทบและไม่ได้รับรองจากภาครัฐ 3 ฝ่าย (ทหาร ตำรวจ และปกครอง) เป็นเหตุให้เด็กเหล่านั้นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ และประเด็นการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก สตรี และครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
                   2. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                   ศอ.บต. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ สรุปได้ดังนี้

ข้อสังเกต ผลการพิจารณา
1. ประเด็นเร่งด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กที่มาจากครอบครัวที่ได้รับผลกระทบและไม่ได้รับการรับรองจากภาครัฐ 3 ฝ่าย (ทหาร ตำรวจ และปกครอง) ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กเหล่านั้นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐตามวัตถุประสงค์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ “เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้เป็นธรรมที่ทั่วถึง รวมทั้งลดความหวาดระแวงทุกรูปแบบและฟื้นคืนความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน” - ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2563 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ผ่านการรับรอง 3 ฝ่าย มีจำนวน 311 ราย กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัว ยาเสพติด และอื่น ๆ หากกลุ่มดังกล่าวคิดว่าตนเองบริสุทธิ์ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดสามารถขอรับการช่วยเหลือเยียวยาจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 กรณีมีความเดือดร้อนเรื่องคุณภาพชีวิต กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สามารถช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์เบื้องต้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือติดตามภารกิจของหน่วยงานได้
กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ศอ.บต. ได้ประสานขอข้อมูลกลุ่มผู้ต้องขังคดีความมั่นคงที่อยู่ในเรือนจำต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเร่งสร้างความเข้าใจ เปลี่ยนโลกทัศน์ใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค มีการชี้แนะการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธีด้วยกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านเพื่อให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่โดยการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ กำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายพิเศษด้วยการจัดทำระบบข้อมูลผู้ต้องขังคดีความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อยู่ในเรือนจำทั่วประเทศและประสานการพิจารณาให้การช่วยเหลือ และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นระบบต่อไป
ศอ.บต. กำลังดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์เป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างการช่วยเหลือเยียวยา กลไกเกี่ยวกับระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการช่วยเหลือเยียวยา และการช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิตในรูปแบบ case management
2. ประเด็นการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก สตรี และครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการบูรณาการและบทบาทหน่วยงานที่รับหน้าที่ช่วยเหลือเยียวยาระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติในพื้นที่ของภาครัฐ และภาคเอกชนตลอดจนหน่วยงานความมั่นคง การปรับระบบหลักเกณฑ์ นิยาม การให้ความช่วยเหลือเยียวยาบุคคลที่ได้รับผลกระทบ การพัฒนาคุณภาพคน โดยจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน โครงการพัฒนาคุณภาพผู้ดูแล และการมีระบบติดตามและเก็บข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบ ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประสานความร่วมมือในการดำเนินการในการช่วยเหลือ ดูแล และติดตาม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันในการเชื่อมต่อฐานข้อมูลสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ร่างระเบียบการช่วยเหลือเยียวยานอกเหนือหลักเกณฑ์ โดยผ่านคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน
สร้างความเข้าใจในระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเยียวยาในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนได้รับทราบและเข้าใจ
สนับสนุนองค์กรและหน่วยงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบ เช่น รายได้ ความเป็นอยู่ เป็นต้น

 
14. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนระบบ 53 ขั้น 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของพนักงาน จากเดิมขั้นที่ 46.5 อัตรา 113,520 บาท เป็นขั้นที่ 53 อัตรา 142,830 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้

ระดับ อัตรา (บาท)
เดิม ใหม่
12 113,520 142,830
11 108,810 133,770
10 99,970 124,770

                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   มท. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จาก 113,520 บาท เป็น 142,830 บาท ซึ่งเป็นบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนที่ กปภ. ใช้มาตั้งแต่ปี 2550 โดยเป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น และสอดคล้องกับกิจการและภารกิจของ กปภ. ในปัจจุบันและอนาคตที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการวางแผนการขยายเขตจำหน่ายน้ำ การรับโอนกิจการประปาจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนในครั้งนี้ กปภ. ได้มีการวิเคราะห์ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และสำนักงาน ก.พ. แล้ว
 
15. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้ 
                   1. อนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ] 
                   2. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้กำหนดไว้ใน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติงานของหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนและปฏิบัติตามภารกิจการปฏิบัติงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ 
                   3. เห็นชอบให้หน่วยงานต่าง ๆ ตามข้อ 2. รายงานผลการปฏิบัติตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ปีละ 1 ครั้ง (ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคมของทุกปี) และมอบหมายให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (สนว.) ยธ. รับผิดชอบกำหนดแนวทาง วิธีการรายงานผล และกำหนดแบบรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและถือปฏิบัติ 
                   สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการดำเนินงานและนำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อร่วมแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในโอกาสแรกก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนและปฏิบัติตามภารกิจการปฏิบัติงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพ  นิรนาม ตามกรอบระยะเวลาที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง 
                    ยธ. รายงานว่า 
                   1. คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม (ค.พ.ศ.) ในการประชุม ค.พ.ศ. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่างนโยบาย แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. 2562 – 2565 (ร่างนโยบายฯ) และให้ฝ่ายเลขานุการ (สนว.) ดำเนินการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. 2558 โดยเพิ่มเติมในส่วนคนนิรนามให้ครอบคลุมการดำเนินงานในปัจจุบันก่อน แล้วจึงขอรับการจัดสรรงบประมาณ และอัตรากำลังพลเพิ่มต่อไป  
                   2. ยธ. ได้เสนอร่างนโยบายฯ ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ตามขั้นตอน โดยสภาพัฒนาฯ ได้มีการพิจารณาแผนปฏิบัติการฯ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 และได้มีมติเห็นชอบในหลักการ โดยเห็นควรให้ปรับชื่อและระยะเวลาของแผนเป็น (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และสอดคล้องกับห้วงเวลาของปีงบประมาณปัจจุบัน และเห็นควรมุ่งเน้นประเด็นสำคัญ เช่น (1) ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านคนหาย คนนิรนาม และศพนิรนาม ที่มีการเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ครอบคลุมข้อมูลคนไทยที่สูญหายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเตรียมระบบรองรับเพื่อให้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลที่สูญหายกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน (ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ) (2) ควรจัดทำข้อมูลดีเอ็นเอเพื่อการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและบุคคลสูญหาย (3) ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมบทบาทของภาคประชาสังคมในการสอดส่อง ป้องกันและติดตามบุคคลสูญหายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และ (4) ควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์และกำหนดค่าเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงควรมีการติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแผนฯ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายเลขานุการของ ค.พ.ศ. ได้ปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามความเห็นของสภาพัฒนาฯ แล้ว และ ค.พ.ศ. ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ได้มีมติรับทราบแล้ว 
                   3. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น สาระสำคัญ
1. วิสัยทัศน์ บูรณาการและพัฒนามาตรฐานงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม เพื่ออำนวยความยุติธรรม ธำรงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเชื่อมั่นของประชาชน
2. พันธกิจ 2.1 ยกระดับมาตรฐาน ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม
2.2 พัฒนาเครือข่ายการทำงานและความร่วมมือในการให้บริการงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนามอย่างทั่วถึง
2.3 บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม
2.4 ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม
3. วัตถุประสงค์ 3.1 นโยบายและแผนการปฏิบัติงานมีความทันสมัยและสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
3.2 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
3.3 ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการในงานด้านการติดตามคนหาย คนนิรนามและศพนิรนามอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
3.4 เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการติดตามคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
4. ผลสัมฤทธิ์ เกิดการบูรณาการในการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานด้านการติดตามคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ให้มีมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการได้อย่างทั่วถึง ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน และประชาชนได้รับการบริการอย่างเสมอภาค 
5. ตัวชี้วัด 5.1 จำนวนแนวทางปฏิบัติด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนามที่เป็นไปตามมาตรฐาน และผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5.2 จำนวนเครือข่ายที่มีการปฏิบัติงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนามครอบคลุมทุกพื้นที่
5.3 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม
5.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนากฎหมายด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม

                   4. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วยแผนปฏิบัติราชการ 4 เรื่อง โดยมีโครงการสำคัญที่จะดำเนินการและกรอบวงเงินงบประมาณ สรุปได้ ดังนี้ 

แผนปฏิบัติราชการเรื่อง…/โครงการสำคัญ วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท)
ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 รวม
1. พัฒนามาตรฐานและระบบงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประกอบด้วย 10 โครงการ เช่น (1) โครงการพัฒนามาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลการตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม (2) โครงการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษสำหรับการติดตามด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม เป็นต้น 8.03 0.70 216.68 225.41
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 4 โครงการ เช่น (1) โครงการบูรณาการความร่วมมือในการตรวจพิสูจน์คนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม (2) โครงการเชิดชูเกียรติ ผู้ปฏิบัติงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนินาม เป็นต้น 1.15 1.10 15.33 17.58
3. พัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม และ (2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการบริหารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.10 4.40 17.40 24.90
4. พัฒนากฎหมายให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการพัฒนากฎหมายด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม และ (2) โครงการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม - - - -
รวมทั้งสิ้น 12.28 6.20 249.41 267.89

                   5. แนวทางการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น สาระสำคัญ
1. การอำนวยการและปฏิบัติการ กลไกการบริหารจัดการและอำนวยการแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ (1) กลไกระดับชาติ โดยมี ค.พ.ศ. ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการบริหารจัดการ กำหนดแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ (2) กลไกระดับภารกิจ โดยมีหน่วยงานระดับกระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่าย รับผิดชอบการดำเนินงานตามภารกิจและกฎหมายที่กำหนด โดยเน้นการบูรณาการตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และบริหารงบประมาณทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานให้เกิดเอกภาพ รวมถึงกำกับติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด และ (3) กลไกระดับพื้นที่ โดยจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ รับผิดชอบในการปฏิบัติงานและเฝ้าระวังในพื้นที่
2. การบูรณาการแผนและงบประมาณ (1) สนว. ทำหน้าที่บริหารศูนย์ปฏิบัติการด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนามแห่งชาติ (ศูนย์ปฏิบัติการฯ) โดยมีผู้อำนวยการ สนว. ในฐานะเลขานุการ ค.พ.ศ. ทำหน้าที่บูรณาการแผนและงบประมาณในการขับเคลื่อนแผนด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ในภาพรวมของประเทศ และ (2) ส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดทำแผนปฏิบัติการระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการฯ และสถานการณ์ปัญหาด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม รวมถึงของงบประมาณในแต่ละส่วนราชการ
3. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (1) สนว. เป็นศูนย์ปฏิบัติการฯ ทำหน้าที่จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม เช่น ฐานข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือ สารพันธุกรรม (DNA) ฐานข้อมูลทางทันตกรรม เป็นต้น และ (2) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อการติดตามคนหาย พิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม
4. การติดตาม รายงาน และประเมินผลการดำเนินงาน (1) ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติ การฯ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามรูปแบบ วิธีการ และห้วงเวลาที่กำหนดเป็นประจำทุก 3 เดือน และให้หน่วยปฏิบัติการระดับพื้นที่ รายงานการปฏิบัติงานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยศูนย์ปฏิบัติการฯ ทำหน้าที่รวบรวม ประมวล วิเคราะห์ และผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอต่อ ค.พ.ศ. และ (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาวิจัยพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ประเมินผลการดำเนินงานโดยหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก หรือสถาบันทางวิชาการ และสำรวจประเมินสถานภาพปัญหาคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 
5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สนว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ยธ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น 

                             6. ยธ. เห็นว่า (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ จะช่วยให้การบริหารจัดการในการติดตามคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม มีระบบแบบแผนที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเบ็ดเสร็จในที่เดียว มีระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถสืบค้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์คนหาย คนนิรนามและศพนิรนามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
16. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2564
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ประชุมมีมติรับทราบรายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผลการเบิกจ่ายตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปได้ ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)

รายการ วงเงินงบประมาณ/
แผนการใช้จ่าย1
เบิกจ่ายแล้ว ร้อยละ
เบิกจ่าย
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 3,285,963 1,292,914 39.35
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 215,282 113,913 52.91
เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ)2 315,398 129,084 40.80
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 25633 430,152 171,700 39.92
รวม 4,246,795 1,707,611 40.21

หมายเหตุ :      1. แผนการใช้จ่ายเงินที่หน่วยงานคาดว่าจะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                   2. เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) เป็นข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 - 31 มกราคม 2564
                   3. ข้อมูลการกู้เงินและวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติและผลเบิกจ่ายสะสมถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
                   ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 105 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2,554,929 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 79,306 ล้านบาท (1 ตุลาคม 2563 - 31 มกราคม 2564) คิดเป็นร้อยละ 39.96
                    2. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                             2.1 ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปได้ ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)

รายการ วงเงินงบประมาณ เบิกจ่ายแล้ว การใช้จ่าย
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 3,285,963 1,292,914
(ร้อยละ 39.35)
1,483,206
(ร้อยละ 45.14)
รายจ่ายประจำ 2,637,296 1,179,754
(ร้อยละ 44.73)
1,195,918
(ร้อยละ 45.35)
รายจ่ายลงทุน 648,667 113,160
(ร้อยละ 17.44)
287,288
(ร้อยละ 44.29)
รายจ่ายลงทุนกรณีไม่รวมงบกลาง 586,673 113,145
(ร้อยละ 19.29)
287,263
(ร้อยละ 48.96)
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 215,282 113,913
(ร้อยละ 52.91)
214,438
(ร้อยละ 99.61)

หมายเหตุ :      1. เป้าหมายการใช้จ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ภาพรวมร้อยละ 46.67 รายจ่ายประจำร้อยละ 50 และรายจ่ายลงทุนร้อยละ 36.67
                   2. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ. 2563 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีการเบิกจ่ายภาพรวมจำนวน 1,090,303 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.07
                   3. แผนการใช้จ่ายไตรมาส 2 (ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564) ภาพรวมจำนวน 1,825,589 ล้านบาท รายจ่ายประจำ 1,459,592 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 365,997 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) 342,499 ล้านบาท
                             ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในภาพรวมสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แต่ยังมีการใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) ต่ำกว่าเป้าหมาย
                             2.2 ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 การจัดลำดับผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเทียบกับแผนการใช้จ่ายเงินไตรมาสที่สอง พบว่า กระทรวงที่มีผลการใช้จ่ายสูงสุด ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม
                             ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีโครงการลงทุนรวม 140,726 รายการ วงเงิน 648,667 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 113,160 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.44 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564) โดยพบปัญหาและอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงิน เช่น (1) หน่วยงานบางแห่งไม่เร่งโอนจัดสรรงบประมาณให้แก่สำนักงานในภูมิภาค และ (2) รายจ่ายลงทุนบางส่วนยังไม่เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กำหนดราคากลางหรือมีการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบรายการให้เหมาะสมกับการใช้งานและวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับติดตามให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่มีสำนักงานในส่วนภูมิภาคเร่งการโอนจัดสรรงบประมาณให้แก่สำนักงานในส่วนภูมิภาคทันทีที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ และ (2) ให้ความสำคัญกับความพร้อมของโครงการก่อนเริ่มดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำร่างขอบเขตของงานและกำหนดราคากลางไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างช้าภายใน 15 วัน หลังจากวันที่ได้รับอนุมัติจัดสรร
                   3. การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ สรุปได้ ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)

ปี กรอบการลงทุน ผลการเบิกจ่ายสะสม ร้อยละ
2563
(ข้อมูล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563)
311,853 253,822 81
2564
(ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมกราคม 2564)
320,961 78,337 24

หมายเหตุ :      ข้อมูล ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
                   ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ (1) งานก่อสร้าง เช่น การนำเข้าอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าร่วมทดสอบระบบจากต่างประเทศเกิดความล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งมีการปรับแบบและแก้ไขรายการในสัญญา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานของงานส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกัน (2) การจัดซื้อจัดจ้าง เช่น รายละเอียดในข้อกำหนดของร่างขอบเขตของงานยังขาดความรัดกุม หรือมีรายละเอียดที่ไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการภายในของรัฐวิสาหกิจ และ (3) การวางแผนการเบิกจ่าย ไม่สอดคล้องกับความเป็นไปได้หรือความสามารถในการดำเนินงานหรือการเบิกจ่ายที่แท้จริงของรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีข้อเสนอแนะให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับติดตามการเตรียมความพร้อมของรัฐวิสาหกิจ เช่น (1) จัดทำร่างขอบเขตของงานและร่างสัญญาโดยคำนึงถึงผลกระทบของงานอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ความคล่องตัวในการดำเนินโครงการ และความเหมาะสมของงวดงานที่จะส่งมอบและเบิกจ่าย และ (2) เตรียมรายการเอกสารที่ผู้รับจ้างต้องจัดส่งเพื่อประกอบการเบิกจ่ายหรือตรวจรับ
                   4. การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวน 105 โครงการ มูลค่ารวม 2.55 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย (1) โครงการที่รัฐดำเนินการเอง 83 โครงการ มูลค่า 2.03 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการลงนามในสัญญาแล้ว 30 โครงการ มูลค่า 701,714 ล้านบาท และ (2) โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 22 โครงการ มูลค่า 521,956 ล้านบาท ซึ่งมีการลงนามในสัญญาแล้ว 2 โครงการ มูลค่า 111,335 ล้านบาท
                   5. การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ จำนวน 256 โครงการ วงเงิน 748,666 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 469,258 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.68 ของวงเงินอนุมัติ สรุปได้ ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)

แผนงาน จำนวนโครงการ
ที่อนุมัติ
วงเงิน ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ
1. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19
(กรอบวงเงิน 45,000 ล้านบาท)
16 19,698 3,904 19.82
2. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยา ช่วยเหลือ และชดเลยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19
(กรอบวงเงิน 600,000 ล้านบาท)
9 595,853 407,491 68.39
3. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19
(กรอบวงเงิน 355,000 ล้านบาท)
231 133,115 57,863 43.47
รวมทั้งสิ้น 256 748,666 469,258 62.68

                   ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีแผนงานการเบิกจ่ายสำหรับแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้ กค. กู้เงินฯ จำนวน 209 โครงการ วงเงิน 430,152 ล้านบาท โดยมีสถานะโครงการ ณ สินเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ประกอบด้วย (1) แผนงานหรือโครงการที่มีแผนการเบิกจ่ายเกินกว่า 3 เดือน แต่ยังไม่มีผลกการเบิกจ่าย จำนวน 2 โครงการ เช่น โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด (2) แผนงานหรือโครงการที่มีกรอบวงเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเกินกว่า 1,000 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 80 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 3 โครงการ เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน (3) แผนงานหรือโครงการที่ดำเนินการล้าช้าและเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ จำนวน 4 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และ (4) โครงการกลุ่มจังหวัดที่มีแผนเบิกจ่ายภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 116 โครงการ
                   6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คณะกรรมการฯ เห็นควรให้กระทรวงเจ้าสังกัดมีการติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอย่างเข้มข้นตลอดปี เพื่อให้เม็ดเงินจากการเบิกจ่ายงบลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระทรวงที่ได้รับงบลงทุนจำนวนมาก ให้เร่งดำเนินการและใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ ให้นำผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป
 
17. เรื่อง รายงานประจำปี 2562 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอรายงานประจำปี 2562 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (สคพ.) [ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 17 (4) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนามีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานข้อเสนอรวมทั้งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานของ สคพ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. สคพ. เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนา โดยใช้กิจกรรมการฝึกอบรม การสัมมนาและการศึกษาวิจัย เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายและการเจรจาการค้า รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจในภาคเอกชน และยังให้การสนับสนุนงานด้านการค้นคว้าวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                   2. ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
                             2.1 การจัดฝึกอบรม ประชุม สัมมนาให้กับประชาชนและบุคลากรของภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศและกฎหมายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
                             2.2 การดำเนินโครงการวิจัย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อรองรับโอกาสและผลกระทบจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ 2) โอกาสการค้าและการลงทุนไทยจากนโยบาย One Belt, One Road ของจีน 3) การพัฒนากรอบนโยบายการลงทุนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และ 4) การพัฒนานโยบายเพื่อการขยายผลการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาจากกรอบเขตการค้าเสรีบิมสเทคของประเทศไทย
                             2.3 การดำเนินการด้านวิชาการ
                                      2.3.1 สนับสนุนการจัดทำบทความเชิงวิชาการและได้เผยแพร่ข้อมูลวิชาการของสถาบันผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุ และข้อมูลกิจกรรมของสถาบันอื่น ๆ ผ่านทางโทรทัศน์และเว็บไซต์ของ สคพ.
                                      2.3.2 ขยายเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการเพื่อการค้าและการพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย สคพ. ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 10 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ เช่น UNCTAD World Trade Organization (WTO) Asian Development Bank Institute (ADBI) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยศรีปทุม
                             2.4 การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนา จัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อนำผลการศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนาไปใช้ในการสนับสนุนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ จำนวน 4 ครั้ง พร้อมทั้งจัดพิมพ์เล่มรายงานผลการวิเคราะห์ด้านการค้าและการพัฒนา จำนวน 4 เล่ม
 
18. เรื่อง รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอรายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 18 (12) และมาตรา 43 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดทำรายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี ภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ โดยรายงานดังกล่าวสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564) มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น สาระสำคัญ
1) การเบิกจ่ายงบประมาณ มีการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการที่จัดบริการให้ผู้มีสิทธิ จำนวน 140,369.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.88 (จากงบประมาณ 140,533.42 ล้านบาท)
2) ความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงทะเบียนสิทธิเลือกหน่วยบริการประจำตนได้ จำนวน 47.60 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.85 (จากเป้าหมาย 47.68 ล้านคน) ครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3) หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน่วยบริการขึ้นทะเบียนให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 12,245 แห่ง ได้แก่ การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 11,851 แห่ง หน่วยบริการประจำ จำนวน 1,386 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อ จำนวน 1,076 แห่ง (หน่วยบริการหนึ่งแห่งสามารถขึ้นทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งประเภท)
4) ผลงานบริการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร มีการให้บริการตามสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย 1) บริการพื้นฐานในงบเหมาจ่ายรายหัว เช่น บริการสุขภาพทั่วไป โดยในส่วนของการใช้บริการผู้ป่วยนอกและการใช้บริการผู้ป่วยในมีผลงานต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563 รัฐบาลประกาศมาตรการเว้นระยะทางสังคมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริการแพทย์แผนไทย ยาและเวชภัณฑ์ และ 2) บริการเฉพาะกลุ่ม (นอกงบเหมาจ่ายรายหัว) เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีผลงานการใช้บริการสูงกว่าเป้าหมาย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง มีผลงานการใช้บริการต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นต้น
5) คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข 1) หน่วยบริการรับส่งต่อได้รับการรับรองตามกระบวนการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลระดับ HA: Hospital Accreditation 921 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.28 (จากหน่วยบริการที่รับการประเมิน 1,080 แห่ง) 2) ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ปี 2563 เช่น ประชากรไทย อายุ 35 - 74 ปี ทุกสิทธิ ที่ได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง และหญิงมีครรภ์ทุกสิทธิที่ฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 และ 3) ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 97.64 ผู้ให้บริการ ร้อยละ 83.45 และองค์กรภาคี ร้อยละ 96.41
6) การคุ้มครองสิทธิ 1) มีประชาชนและผู้ให้บริการสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ และประสานส่งต่อผู้ป่วยผ่านช่องทางต่าง ๆ จำนวน 995,571 เรื่อง 2) ผู้รับบริการยื่นคำร้องช่วยเหลือเบื้องต้น จำนวน 1,079 คน ได้รับการชดเชย 903 คน รวม 213.96 ล้านบาท ผู้ให้บริการยื่นคำร้อง 590 คน ได้รับการชดเชย 528 คน รวม 6.25 ล้านบาท และ 3) มีศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ เพื่อคุ้มครองสิทธิ จำนวน 885 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จำนวน 187 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระ จากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) จำนวน 125 แห่ง (ใน 70 จังหวัด)
7) การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,732 แห่ง (จาก 7,775 แห่ง) รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) เข้าร่วมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเพื่อจัดกิจกรรมสำหรับดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ วงเงิน 3,826 ล้านบาท ประกอบด้วย งบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2,146 ล้านบาท (ร้อยละ 56.09) เงินสมทบจาก อปท. 1,650 ล้านบาท (ร้อยละ 43.13) และเงินสมทบจากชุมชนและอื่น ๆ 30 ล้านบาท (ร้อยละ 0.78)
8) ความท้าทายในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1) ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงจากการระบาดของโรคโควิด-19 2) การปรับตัวอย่างรวดเร็วและการนำนวัตกรรมมาปรับใช้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า รวดเร็ว ในภาวะปกติและสถานการณ์การระบาดของโรค 3) ข้อจำกัดด้านงบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน หากเศรษฐกิจถดถอยและชะลอตัว 4) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ให้มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5) การเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพชุมชนและระบบบริการปฐมภูมิขับเคลื่อนความเข้มแข็งรากฐานของระบบสาธารณสุขไทย และ 6) การบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สอดรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ สร้างโอกาสให้ทุกสิทธิได้รับความคุ้มครองหลักประกันด้านสุขภาพอย่างเสมอภาคและทั่วถึง และมีการบูรณาการสอดคล้องกลมกลืนกัน

                   2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ซึ่งผ่านการรับรองจาก สตง. แล้วโดยเห็นว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ในส่วนของรายงานการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ระหว่างเสนอ สตง. เพื่อตรวจสอบรับรอง
 
19. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2564  สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

หัวข้อ สาระสำคัญ
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.1 ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติ และการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้
          (1) กลไกการดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ ระดับอำนวยการ ระดับอำนวยการปฏิบัติการ และระดับปฏิบัติการ และได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ กลไกขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกระดับจะต้องใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เป็นข้อมูลหลักในการดำเนินการขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการพัฒนาคนทุกช่วงวัย
          (2) แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยระบบ TPMAP โดยมีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้ประชากรในประเทศสามารถ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน ประกอบด้วย 4 แนวทางและ 1 เงื่อนไขการพัฒนา ได้แก่ (1) เติมเต็มข้อมูลในระบบ TPMAP ให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาทุกมิติและทุกพื้นที่ (2) ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครัวเรือน โดยหาเป้าหมายวิกฤตและเยี่ยมบ้าน (3) ร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนอย่างยั่งยืน (4) ร่วมติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล โดยใช้ระบบ TPMAP และ (5) พัฒนาระบบ TPMAP ให้สามารถรองรับการดำเนินงาน โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาสนับสนุนการประเมินสถานการณ์การพัฒนาในระดับต่าง ๆ
          ทั้งนี้ คจพ. ได้เร่งรัดให้ ศจพ. ทุกระดับแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลือมล้ำ พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงกับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และมอบหมายให้ สศช. และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติพัฒนาระบบ TPMAP ให้มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผน 3 ระดับ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 มีหน่วยงานส่งแผนระดับที่ 3 มายัง สศช. รวมทั้งสิ้น 111 แผน แบ่งเป็น (1) ผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้ว 81 แผน (2) อยู่ระหว่าง สศช. พิจารณากลั่นกรองหรือเห็นสมควรทบทวนปรับปรุงแผนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 25 แผน (3) ยกเลิกการดำเนินการ 2 แผน และ (4) ผ่านกระบวนการพิจารณา ณ รอบเดือนมกราคม - มีนาคม 2564 จำนวน 3 แผน เช่น (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2563 - 2570 และ (ร่าง) แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2564 - 2565
1.2 ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ - อยู่ระหว่างจัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563) โดยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
          (1) การรายงานความคืบหน้าของเรื่องและประเด็นปฏิรูปตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับเดิม) โดยจำแนกเฉพาะการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของเรื่องและประเด็นปฏิรูป พร้อมทั้งสรุปความคืบหน้าของการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน ประเด็นท้าทายที่สำคัญต่อการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการในระยะต่อไป
          (2) การรายงานประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของรัฐสภา สศช. ได้รวบรวมประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสมาชิกวุฒิสภา และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการรายงานความคืบหน้าฯ (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2563) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรายงานความคืบหน้าฯ และการอภิปรายในรอบนี้ต่อไป
          (3) สาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน โดยแสดงสาระสำคัญของผลอันพึงประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ เป้าหมายและตัวชี้วัด รายชื่อกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) และรายการกฎหมายที่ต้องจัดทำหรือปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศสู่การบรรลุเป้าหมาย
          ทั้งนี้ จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาตามขั้นตอนต่อไป
1.3 ผลการดำเนินการอื่น ๆ เผยแพร่ข้อมูลในระบบ eMENSCR ผ่านระบบฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่มีความเหมาะสมต่อไป
อยู่ระหว่างจัดทำสื่อวีดิทัศน์โครงการสร้างการตระหนักรู้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งหมด 5 ตอน เช่น แว้นซ์ไปทำดี (Ranger Rider สองล้ออาสา) และว่างไปเก็บขยะที่ชายหาดเมืองกระบี่ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2564 และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อไป
2. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นท้าทายที่มีความเสี่ยงสูงในการบรรลุเป้าหมาย คือ การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐควรร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสร้างมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและปัญหาหมอกควันอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจะต้องเร่งสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย การจัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบ

 
20. เรื่อง ความก้าวหน้าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง  ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ปี 2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง  ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ปี 2564 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                   ทส. เสนอว่า
                        พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนของทุกปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ นอกจากนี้ปัญหาหมอกควันยังส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงบดบังทัศนวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ โดยในปี 2564 นี้ ยังคงพบปัญหาหมอกควันภาคเหนือ แม้ว่าทุกหน่วยงานได้ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและยกระดับมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุดประกอบกับเพื่อเป็นการรายงานขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ กรณีสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศกำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน เป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วน
                   สาระสำคัญ
                   1. พื้นที่ภาคเหนือ ได้มีการดำเนินงานภายใต้กฎหมายทุกฉบับ ซึ่งในระดับนโยบายได้ดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้อ และในระดับพื้นที่ได้ดำเนินการตามแนวทาง “4 มาตรการเชิงพื้นที่ 5 มาตรการบริหารจัดการ” ประกอบด้วย 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ 1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ 2) พื้นที่เกษตรกรรม          3) พื้นที่ชุมชนและเขตเมือง และ 4) พื้นที่ริมทาง สำหรับ 5 มาตรการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ 2) มาตรการสร้างความตระหนัก 3) มาตรการลดปริมาณเชื้อเพลิง 4) มาตรการจิตอาสาประชารัฐ และ 5) มาตรการบังคับใช้กฎหมาย โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก กระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผ่านกลไกภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยมีการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดสถานการณ์ การดำเนินงานในช่วงสถานการณ์ และการฟื้นฟูพื้นที่เสียหาย นอกจากนี้ ได้มีการถอดบทเรียน เป็นประจำทุกปี เพื่อปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา
                   2. การดำเนินงานที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้
                             2.1 จังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัดได้เร่งรัดดำเนินการตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง (12 มาตรการ) จัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งในพื้นที่ภาคเหนือปี 2564 ระดับจังหวัด จัดตั้งศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและจัดประชุมอย่างต่อเนื่องเพื่อบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการรับมือสถานการณ์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการสถานการณ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานให้สาธารณชนได้รับทราบเป็นประจำทุกวัน จัดฝึกอบรมเสริมบทบาทชุมชน เครือข่ายภาคประชาชน และจิตอาสา เพื่อร่วมเป็นชุดปฏิบัติการระดับหมู่บ้านในการลาดตระเวน เฝ้าระวัง และดับไฟป่า จัดทำแผนงานด้านสาธารณสุขเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ
2.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร ประกอบด้วย โครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บ ลดเผา” ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อเก็บขนเชื้อเพลิงจากป่าออกมาใช้ประโยชน์ เป็นการลดการเกิดไฟป่า และได้พัฒนาแอปพลิเคชันบริหารการเผาในที่โล่ง (Burn Check) เพื่อจัดระเบียบการจัดการเชื้อเพลิงให้เกิดการเผาให้น้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมทดสอบการใช้งาน
2.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหา          ไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำกับการควบคุมและดับไฟป่า ระดมสรรพกำลัง เครื่องมือ อุปกรณ์ ยานพาหนะ จากทุกภาคส่วน ในการเผชิญเหตุ ควบคุม และดับไฟ
2.4 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ
ได้ประสานงานประเทศเพื่อนบ้านและรายงานผลการดำเนินงานต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อขอให้เร่งรัดควบคุมการเผาในที่โล่งตามกลไกของข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนเป็นประจำทุกวัน รวมถึงได้ประสานงานผ่านกลไกคณะกรรมการชายแดน (Township Border Committee : TBC)
2.5 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยกระดับการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน ฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง โดยกำหนดให้เดือนเมษายน 2564 เป็นเดือนแห่งการเฝ้าระวังพิเศษ โดยเฉพาะจังหวัดที่พบจุดความร้อนสูง สำหรับการดำเนินงานนั้นให้ทุกจังหวัดบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างใกล้ชิด ร่วมวางกลยุทธ ควบคุมและดับไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงานอย่างสูงสุดให้ปรับแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและดับไฟป่า จัดทำแผนรับมือหลังห้วงเวลาห้ามเผา และแผนการฟื้นฟูพื้นที่เสียหายจากไฟไหม้ ในส่วนของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ดำเนินการสร้างการรับรู้และเข้าใจอย่างถูกต้องต่อพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง
2.6 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 เพื่อติดตามสถานการณ์และพิจารณายกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง โดยมีมติที่ประชุมดังนี้
  (1) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ หมุนเวียนกำลังพลไปเสริมในพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ที่เกิดไฟป่าจำนวนมาก
และยากต่อการควบคุม พื้นที่รอยต่อจังหวัดที่ยังไม่มีสถานีควบคุมไฟป่า รวมถึงเสริมการลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟในพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าโดยเด็ดขาด
(2) ให้กระทรวงมหาดไทย ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม (กองทัพภาคที่ 3) จัดให้มีชุดปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดับไฟป่าประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีพื้นที่ป่า ติดกับพื้นที่ป่า หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
(3) ให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนให้เข้าใจถึงผลกระทบของฝุ่นละออง เพื่อสร้างความตระหนักและการมีสวนร่วมในการแกไขปญหา
(4) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตร ควบคู่
ไปกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เศษวัสดุ
(5) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้มงวดกวดขันการบังคับใช้กฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิด           ฝุ่นละออง PM2.5 จากการจราจรและการเผาในที่โล่ง
(6) ให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการจังหวัดชายแดนบูรณาการดำเนินการร่วมกับกองทัพภาคที่ 3  เตรียมการรับมือหมอกควันข้ามแดน เร่งเจรจาเพื่อลดการเผาในพื้นที่ชายแดน
(7) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสานความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พัฒนางานศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมประเด็น PM2.5 ในทุกมิติ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำของการคาดการณ์ฝุ่น พฤติกรรมฝุ่น ผลกระทบต่อสุขภาพ มาตรการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบ
                   3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการการดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมทั้งได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ณ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม​ผ่านระบบการประชุมทางไกล (​ Video Tele Conference) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
                               3.1 สถานการณ์ในภาพรวม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 18 เมษายน 2564 (1) สถานการณ์จุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ พบจุดความร้อนสะสม จำนวน 58,769 จุด ซึ่งลดลงจากปี 2563 ที่พบจุดความร้อนสะสม จำนวน 122,687 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือลดลงกว่าร้อยละ 52 โดยจังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 11,376 จุด จังหวัดเชียงใหม่ 7,620 จุด จังหวัดตาก 7,253 จุด จังหวัดลำปาง 5,716 จุด และจังหวัดเพชรบูรณ์ 4,355 จุด และเมื่อแยกจุดความร้อนตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 43 ป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 37 พื้นที่เกษตร ร้อยละ 15 พื้นที่ชุมชน ร้อยละ 4 และพื้นที่ริมทาง ร้อยละ 1
(2) สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ พบค่าฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด เท่ากับ 402 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่พบค่าฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด เท่ากับ 366 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 สำหรับวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินเกณฑ์มาตรฐาน (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)  มีจำนวน 96 วัน ซึ่งลดลงจากปี 2563 ที่พบวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 105 วัน หรือลดลงร้อยละ 9
                                        (3) สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน จุดความร้อนสะสมในภูมิภาคแม่โขง พบจุดความร้อนสูงสุดในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 577,562 จุด ราชอาณาจักรกัมพูชา 307,319 จุด ราชอาณาจักรไทย 189,637 จุด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 180,073 จุด และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 61,702 ตามลำดับ ด้วยจุดความร้อนจำนวนมากในช่วงเดือนมกราคม – เดือนเมษายน 2564 ทำให้จังหวัดภาคเหนือที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก เป็นต้น
                               3.2 ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
                                        (1) ถอดบทเรียนการดำเนินงานจังหวัดที่มีความร้อนอยู่ในเกณฑ์
เพื่อนำไปปรับใช้ในปี 2565 สำหรับจังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงให้ยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                                        (2) ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
การดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ในการทุ่มเทสรรพกำลัง เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง อย่างไรก็ตาม แม้จุดความร้อนมีจำนวนลดลงถึงร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่ยังคงมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือหมอกควันข้ามแดน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการเจรจาและประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน
                                        (3) ปรับปรุงฐานข้อมูลจุดความร้อน ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา
โดยงบประมาณในแต่ละหมวด โครงการและกิจกรรมต่างๆ โดยจัดระบบของข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่สะดวก
ต่อการนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งประเมินปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยสู่บรรยากาศจากการเผาในที่โล่ง
                                        (4) ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ตรึงกำลังเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าจนกว่าจะสิ้นสุดสถานการณ์ โดยมีกลยุทธ์และมาตรการที่เหมาะสม
                                        (5) ประสานงานจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการกำกับดูแลพื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก และการควบคุมการเผาในที่โล่งหลังห้วงเวลา           ห้ามเผา (30 เมษายน 2564) เป็นต้นไป
                                        (6) ให้มีการประชุมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่เสียหายเพื่อเตรียมการฟื้นฟูหลังสิ้นสุดสถานการณ์
                                        (7) ให้กรมควบคุมมลพิษจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ครอบคลุมประเด็นสถานการณ์การดำเนินงานที่ผ่านมา และ             คำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศกำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน เป็นเขตควบคุมมลพิษ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                   4. การดำเนินการเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่
                              4.1 ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ใช้อำนาจตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการประกาศภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
                              4.2 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการมอบอำนาจให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการดำเนินคดีจนถึงที่สุด และให้มีอำนาจดำเนินการพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิ์ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และนำเสนอผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทราบ ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ เป็นผู้ดำเนินการ                               
                              4.3 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ได้ประชุมคณะกรรมการควบคุมมลพิษเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 เพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีจังหวัดตามคำสั่งศาล (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) เข้าร่วมให้ข้อมูลและความเห็น ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ กรมควบคุมมลพิษ ยื่นเรื่องอุทธรณ์ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ชัดเจนต่อศาลปกครอง และเพื่อให้ศาลปกครองได้รับทราบถึงกระบวนการทำงานของรัฐบาล ผ่านกลไกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และได้บูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ ภายใต้กฎหมายและอำนาจหน้าที่ และมีการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในปี 2560 ที่เริ่มใช้กลไกพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปี พ.ศ. 2550 ผู้ว่าราชการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการ  ในการดำเนินการทุกครั้ง ได้มีการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน และมีการถอดบทเรียนการทำงานเป็นประจำทุกปี เพื่อปรับปรุง
การทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บริบท และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการภายใต้
แผนขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ตามมติคณะรัฐมนตรี ทำให้สามารถดำเนินการได้ทันทีในทุกระดับและทุกหน่วยงาน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งเรื่องแผนงานและงบประมาณ ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหา            ฝุ่นละอองมาเป็นลำดับ จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าปริมาณจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือลดลงกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ในห้วงเวลาเดียวกัน  จึงไม่มีความจำเป็นต้องประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะผลกระทบด้านภาพลักษณ์ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยวของพื้นที่จังหวัดนั้น
 
21.  เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมีนาคม
และไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ  ดังนี้
                   สาระสำคัญ
                   1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดังนี้
                            ภาพรวม
                            ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมีนาคม 2564 หดตัวน้อยลง สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลายลง และเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว เงินเฟ้อในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.08 (YoY) หดตัวน้อยที่สุดในรอบ 13 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากสินค้าในกลุ่มพลังงานที่กลับมาเป็นบวกอีกครั้งในรอบ 14 เดือน โดยสูงขึ้นร้อยละ 1.35 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก รวมทั้ง น้ำมันพืชและเนื้อสุกร ที่ยังมีราคาสูง โดยเนื้อสุกรปรับสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับมีต้นทุนในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มอาหารสด ยังหดตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยลดลงร้อยละ 1.06 ตามการลดลงของ ข้าวสาร ไก่สด ไข่ไก่ และผักสด รวมทั้ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ปรับลดลงตามมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมนี้ สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตสินค้า การจัดโปรโมชั่น และอุปสงค์ที่เกิดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.09 ไตรมาสแรก ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไป ลดลงร้อยละ 0.53 (YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.12 (YOY)
                            เงินเฟ้อที่หดตัวน้อยลงในเดือนนี้ นับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยด้านอุปสงค์ สะท้อนได้จากรายได้เกษตรกร ที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามราคาสินค้าเกษตร รวมทั้ง ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถจักรยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น และยอดการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะที่ด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับดี รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งสัญญาณเหล่านี้สะท้อนสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และจะส่งผลต่อสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการในระยะต่อไป
                             ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมีนาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.08 (YoY) ตามการลดลงของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.26 ได้แก่ สินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 6.59 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลง            ร้อยละ 0.90 (ไข่ไก่ นมสด นมถั่วเหลือง) กลุ่มผักสด ลดลงร้อยละ 0.31 (ผักกาดขาว มะเขือ ผักบุ้ง) และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.27 (น้ำดื่ม น้ำอัดลม) สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 1.76 (เนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย หอยแมลงภู่) กลุ่มผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 0.01 (กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง องุ่น) กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 3.66 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรส) กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.34 (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว) และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.61 (ข้าวราดแกง อาหารเช้า) ขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.04 ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้น          ร้อยละ 5.43 (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.01 (เบียร์) ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.30 (เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 4.87 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ 0.04 (ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สบู่ถูตัว แชมพู) และหมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา ปรับลดลงที่ร้อยละ 0.01 (ค่าห้องพักโรงแรม เครื่องถวายพระ)
                               ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (MoM) ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.53 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.35 (QoQ)
                            ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.6 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับดี โดยหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 8.1 ยังคงขยายตัวได้ดีจากความต้องการของตลาดที่สูงขึ้น และบางสินค้าปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ตามการสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ กลุ่มพืชล้มลุก (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ พืชผัก) กลุ่มไม้ผล (องุ่น ลำไย กล้วยหอม) กลุ่มไม้ยืนต้น (ยางพารา ผลปาล์มสด) กลุ่มสัตว์ (สุกรมีชีวิต ไข่ไก่ ไข่เป็ด) ผลิตภัณฑ์จากการประมง (ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน) หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบและต้นทุน ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันเตา) กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี (เม็ดพลาสติก ปุ๋ยเคมีผสม) กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก) กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป ตะปู/สกรู/น็อต) กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (เนื้อสุกร กุ้งแช่แข็ง น้ำมันปาล์ม) กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ถุงมือยาง) กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง) กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (รถยนต์นั่ง รถบรรทุกขนาดเล็ก) กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ (ทองคำ) และกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองมีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวน้อยลงที่ร้อยละ 11.8 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ)
                            ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.2 (MoM) ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.6 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขยายตัวร้อยละ 1.5 (QoQ)
                            ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมีนาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.4 (YoY) สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 23.7 จากร้อยละ 21.0 ในเดือนก่อนหน้า (เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ) ตามราคาตลาดโลก สำหรับสินค้าที่ปรับราคาสูงขึ้นตามวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต และความต้องการของตลาด ได้แก่ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.4 (สายไฟ ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์) หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.0 (บานประตู-หน้าต่าง ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 (ยางมะตอย) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.4 (คอนกรีตผสมเสร็จ          ชีทไพล์คอนกรีต) ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 หมวดกระเบื้อง สูงขึ้น ร้อยละ 0.3 (กระเบื้องยาง PVC ปูพื้น) ขณะที่หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 2.0 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป) หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.1 (ซิลิโคน) ส่วนหมวดสุขภัณฑ์ ดัชนีราคาโดยเฉลี่ย           ไม่เปลี่ยนแปลง
                            ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.5 (MoM) ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.4 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 4.2 (QoQ)
                       2. สรุปแนวโน้มเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 2 ปี 2564
                             มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง การฉีดวัคซีนที่ขยายวงกว้างมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการท่องเที่ยวโดยกำหนดให้มีวันหยุดเพิ่มเติม การเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่าย       ใช้สอย ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าและบริการภายในประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้ ราคาพลังงานโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และอุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับฐานราคาที่ต่ำในช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตร ยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป
                            ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2564 กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบร้อยละ 0.7-1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
 
22. เรื่อง ผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 และรายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                   1. รับทราบผลการสอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ
                   2. รับทราบรายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
                   สกพอ. เสนอว่า
                   1. โดยที่พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาตรา 15 (5) บัญญัติให้ สกพอ. มีหน้าที่และอำนาจจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (ครบกำหนดในวันที่ 28 มกราคม 2564) และให้ สกพอ. เผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ
                   2. สกพอ. ได้จัดทำรายงานประจำปี 2563 ของ สกพอ. ตามมาตรา 15 (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติรับทราบรายงานประจำปี 2563 ของ สกพอ. และให้เสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบต่อไป
                   3. ผลการตรวจสอบงบการเงินของ สกพอ. สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2563 แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีได้รับรองงบการเงินของ สกพอ. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว และในการประชุม กพอ. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ที่ประชุมมีมติรับทราบรายงานผลการสอบบัญชีของ สกพอ. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 ด้วยแล้ว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   รายงานประจำปี 2563 ของ สกพอ.
                   สกพอ. ได้จัดทำรายงานประจำปี 2563 โดยมีผลงานที่สำคัญ ดังนี้

ประเด็น การดำเนินการ
1. กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนา EEC จัดทำนโยบายและแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา EEC รวมทั้งบรรจุแผนภาพรวมดังกล่าวในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
จัดทำระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนา EEC ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 เช่น หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน (PPP EEC Track) เป็นต้น
ร่วมจัดทำผังเมืองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 29 ถึงมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
จัดตั้งเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยประสานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาใน EEC
ร่วมเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ให้เอกชนร่วมลงทุนตามประกาศ PPP EEC Track เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd) เป็นต้น
ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำแผนงานบูรณาการ EEC เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เป็นไปตามเป้าหมายแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา EEC
2. วิเคราะห์สถานการณ์ช่วงโควิด-19 - การระบาดของโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC ลดลง รายได้จากการท่องเที่ยวหายไปประมาณ 220,000 ล้านบาท การจ้างงานลดลงกว่า 1 แสนคน และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเป้าหมายการผลิตของปี 2563 ลดลงจาก    2 ล้านคันเหลือเพียง 1 ล้านคัน อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรองลงมา คือ อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง สกพอ. จึงได้ปรับกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว
3. ผลงานสำคัญภายใต้การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 2563 จัดทำแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา EEC ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาพร้อมแผนปฏิบัติการ 6 แนวทาง ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา EEC 2) การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC 3) การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวใน EEC 4) การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี 5) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และศูนย์กลางการเงิน 6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อรองรับ EEC
โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project List) ประกอบด้วย      6 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 4) โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 5) โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา และ 6) โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ได้ประกาศจัดตั้งไปแล้ว 6 เขต พื้นที่ประมาณ 19,054 ไร่ รองรับการลงทุนรวมประมาณ 861,380 ล้านบาท ได้แก่ เขตส่งเสริมการแพทย์    จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ (พัทยา) เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก
การจัดทำแผนผังการพัฒนา EEC ได้จัดทำแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย แผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  และระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะ แผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง แผนผังระบบการตั้งถิ่นฐานและภูมิสังคม แผนผังระบบบริหารจัดการน้ำ แผนผังระบบป้องกันอุบัติภัยและมาตรการระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ทั้งนี้ สกพอ. ได้เผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับแผนผังฯ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว
การชักจูงนักลงทุนและความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ สกพอ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสถานเอกอัครราชทูตไทย ดำเนินกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักลงทุนเป้าหมายจากประเทศต่าง ๆ ให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง
4. โครงการสำคัญ (Highlight Project) การพัฒนาบุคลากรเสริมความเชื่อมั่น EEC มี 2 รูปแบบ ดังนี้ 1) EEC Model Type A เป็นหลักสูตรแบบมีปริญญา รูปแบบที่เอกชนจ่าย 100% (เรียนฟรี มีงานทำรายได้สูง) 2) EEC Model Type B เป็นการฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อผลิตกำลังคนในระยะเร่งด่วนเป็นหลักสูตรแบบไม่มีปริญญา
สร้างการมีส่วนร่วมเคียงข้างสร้างชุมชนให้ยั่งยืน สกพอ. ได้ดำเนินการผลักดันและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ EEC ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังนี้ 1) โครงการเสริมสร้างพลังและการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรีในการดูแลและเฝ้าระวังด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ EEC 2) โครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบในพื้นที่ EEC 3) โครงการเยาวชนอาสาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศึกษาการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยว ด้านพฤกษศาสตร์ใน EEC 4) โครงการ EEC Tambon Mobile Team และ 5) โครงการเสริมศักยภาพเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
5. การพัฒนาองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล สกพอ. ได้เข้าร่วมประชุมประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานของ สกพอ. มีความโปร่งใส รวมทั้งได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
6. ก้าวต่อไป ... EEC - จะสร้างการลงทุนไม่น้อยกว่า 300,000 ล้านบาท สร้างงานใหม่ไม่น้อยกว่า 1 แสนอัตราต่อปี ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 2 และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนกรุงเทพและประชาชนในพื้นที่ EEC และที่สำคัญคือ เป็นการปรับโครงสร้างประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างรายได้ และการดำรงชีวิตของประชาชน

                   ทั้งนี้ เนื้อหาได้ครอบคลุมแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project List) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ การจัดทำแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การชักจูงการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์และการสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และแผนปฏิบัติการที่สำคัญ
 
23. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)  (ศบค.) ครั้งที่ 6/2564
                       คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 6/2564 วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด -19) เสนอ ดังนี้
                       สรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ
                       1.  ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ดังนี้
                                1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 29 เมษายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 150,216,590 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 104 จาก 218 ประเทศทั่วโลก
                                2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 - 29 เมษายน 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 27,988 ราย (อยู่ในโรงพยาบาล 21,306 ราย และโรงพยาบาลสนาม 6,682 ราย) หายป่วยแล้ว 7,968 ราย ทั้งนี้ ณ วันที่ 29 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,871 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 1,830 ราย ผู้ป่วยจากการคัดกรองเชิงรุก 34 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด 7 ราย
                                3) สรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 พบว่า จังหวัดส่วนใหญ่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ได้ภายใต้มาตรการควบคุมโรคที่กำหนด จึงจำเป็นต้องเร่งเฝ้าระวัง และดำเนินการคัดกรองเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจจับการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 อย่างเข้มข้น
ในส่วนของกรุงเทพและปริมณฑล พบผู้ป่วยติดเตียงในสถานดูแลผู้สูงอายุเสียชีวิตจากโรคโควิด - 19 อย่างต่อเนื่องจากการสัมผัสผู้ดูเเลที่ติดเชื้อ และพบผู้สูงอายุติดเชื้อจากญาติที่มาเยี่ยม รวมทั้ง พบการแพร่ระบาดในกลุ่มเพื่อนร่วมงานและสมาชิกครอบครัวที่รับประทานอาหารร่วมกันด้วย จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสถานที่เสี่ยง เช่น สถานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ตลาดตลาดนัด ร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งลดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนและเร่งรัดการกำกับติดตามตามมาตรการ D-M-H-T-T-A ทั้งส่วนบุคคลและสถานที่ โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะและสถานประกอบการ
                        2.  ที่ประชุมรับทราบแนวทางการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย กรณีการให้ประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ทุกครั้งตลอดเวลาที่ออกนอกเคหสถาน หรือสถานที่พำนัก
1) ประเด็นความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่ง/ประกาศของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
 พบปัญหา ดังนี้
(1) มีการออกมาตรการทางกฎหมายกรณีให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทั้งในรูปแบบคำสั่งและประกาศ
         (2) มีการอ้างบทบัญญัติอาศัยอำนาจทั้งตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 (1) (7) (ผู้ว่าราชการจังหวัด) มาตรา 28 (1) (7) (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) และมาตรา 34 (6) และตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
                               (3) ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามในหลายฐานะ ทั้งในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร/ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัด/เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
                       ในการนี้ ได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร จัดทำแนวทางเพื่อแจ้งเวียนให้จังหวัดนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยให้ออกเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้น ๆ (ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (6) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 สำหรับข้อกำหนดที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ใช้เป็นเหตุผลในการออกคำสั่งดังกล่าว หากมีเหตุขัดข้องประการใดที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ระบุข้อยกเว้นไว้ในคำสั่งด้วย เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่มีความชัดเจน และผู้ถูกบังคับใช้กฎหมายจะได้ทราบล่วงหน้าว่าการกระทำใดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
     2) ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษสำหรับบุคคลที่ฝ่าฝืน พบปัญหา ขั้นตอน
การดำเนินงานและอัตราการเปรียบเทียบปรับไม่เหมาะสมกับกรณีการฝ่าฝืนไม่สวมหน้ากากอนามัย
โดยการฝ่าฝืนมาตรา 34 (6) เป็นความผิดตามมาตรา 51 ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ทั้งนี้ ตามระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบ พ.ศ. 2563 กำหนดอัตราค่าปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนมาตรา 34 (6) ครั้งที่ 1 จำนวน 6,000 บาท ครั้งที่ 2 จำนวน 12,000 บาท และ ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป จำนวน 20,000 บาท ในกรณีผู้ฝ่าฝืนยินยอม ต้องชำระค่าปรับตามที่กำหนด แม้จะลดค่าปรับได้ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนเงินค่าปรับ แต่ยังไม่เหมาะสมกับความผิดกรณีนี้ (ยังสูงเกินไป) และในกรณีผู้ฝ่าฝืนไม่ยินยอม พนักงานสอบสวนต้องดำเนินคดีโดยการส่งเรื่องฟ้องต่อศาล ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดจำนวนเงินค่าปรับได้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางแก้ไข ให้กรมควบคุมโรคเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณาออกระเบียบการเปรียบเทียบปรับกรณีการฝ่าฝืนไม่สวมหน้ากากอนามัย รวมถึงกรณีอื่น
ที่จำเป็นในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19 โดยยกเว้นไม่ให้นำระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบ พ.ศ. 2563 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันมาใช้บังคับกับกรณีนี้ โดยกำหนดอัตราเปรียบเทียบปรับให้เหมาะสมแก่กรณี ไม่สร้างภาระเกินสมควรกับประชาชน และกำหนดขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับให้สามารถดำเนินการได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เหมาะสมก่อนดำเนินการเปรียบเทียบปรับ เช่น การตักเตือน เป็นต้น
     3) การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ให้กรมควบคุมโรค ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารของกระทรวงสาธารณสุขและกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งในช่วงแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (เวลา 11.30 น.) และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุข (เวลา 15.00 น.) ตลอดจนช่องทางอื่น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน
                       3.  การยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                  1) ข้อเสนอการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงสาธารณสุข
                               1.1) การปรับระยะเวลากักตัวเป็น 14 วัน สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมีข้อเสนอเพื่อพิจารณายกระดับการกักตัว ดังนี้
                                   (1) ปรับระยะเวลากักตัว จาก 7 วัน หรือ 10 วัน เป็น 14 วัน ในกลุ่มบุคคลตามคำสั่ง ศบค. ที่ 4\2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความใน ม.9 แห่ง พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 9 โดยกลุ่มบุคคลใน (1) (3) (5.1) (5.2) (5.3) (6) (7) (8.1) (8.2) (9.1) (10) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT-PCR จำนวน 3 ครั้ง ขณะที่กลุ่มบุคคลใน (9.2) (9.3) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
                               ทั้งนี้ ให้ยกเว้นมาตรการข้างต้นในกลุ่มบุคคลใน (2) (4) กลุ่มบุคคลใน (5.1) กรณีเดินทางเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 7 วัน และ (5.2) และ (5.3) ในกรณีที่ไม่ได้ลงจากเครื่องบิน/เรือ หรือลงจากเครื่องบินไม่เกิน 12 ชั่วโมง หรือเรือจอดเทียบท่าไม่เกิน 12 ชั่วโมง หรือได้สวมชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protection Equipment: PPE) ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ทางราชการกำหนด
                                   (2) กรณีเป็นกลุ่มบุคคลใน (11.1) (11.2) ให้เข้ารับการกักกัน และการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT-PCR และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
                                   (3) ไม่อนุญาตให้ออกจากห้องพัก ยกเว้นเพื่อทำการตรวจหาเชื้อ และรักษาพยาบาล
                                   (4) ผู้ที่ได้รับอนุมัติหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศ (Certificate of Entry: COE) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 หรือผู้ที่ได้รับอนุมัติหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศ (COE)
ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 และเดินทางถึงราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2564
เป็นต้นไป ให้ตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง
                            1.2) การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้
                               (1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 6 พื้นที่/จังหวัด (จากเดิม 0 จังหวัดเป็น 6 พื้นที่/จังหวัด) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
                                   (2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 45 จังหวัด (จากเดิม 18 จังหวัด เป็น 45 จังหวัด) ได้แก่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ เชียงราย ตาก ตรัง นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต มหาสารคาม ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สระแก้ว สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี อ่างทอง อุดรธานี และอุบลราชธานี
                               (3) พื้นที่ควบคุม จำนวน 26 จังหวัด (จากเดิม 59 จังหวัด เป็น 26 จังหวัด) ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ชุมพร ตราด นครนายก นครพนม หนองคาย บึงกาฬ บุรีรัมย์ พังงา พะเยา แพร่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร เลย สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอำนาจเจริญ
                               (4) ไม่มีพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง
                   ทั้งนี้ จังหวัดสามารถกำหนดพื้นที่ย่อยให้เข้มกว่าที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนดได้ตามสถานการณ์ของจังหวัด โดยเริ่มปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
                           1.3) การปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร
* ข้อมูลในเอกสารแนบ
                           2) ข้อเสนอของศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19
                               2.1) เห็นชอบให้มีการดำเนินการตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 เสนอ ทั้งนี้ ให้มีมาตรการสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
                                       (1) กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการบังคับใช้ในการขอให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการแพร่โรคให้มีความเหมาะสมสามารถบังคับใช้ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมและอย่างบูรณาการ
                                       (2) ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) มาตรการขั้นสูงสุดอย่างน้อย 14 วัน เพื่อลดการรวมกลุ่มของบุคคลที่จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดการแพร่เชื้อได้อย่างเป็นรูปธรรม
                               2.2) ขอให้คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบศ.) กรุณาพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการในครั้งนี้ โดยเร่งด่วน
                          2.3) ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับภาคประชาสังคม เร่งรัดในการช่วยเหลือดูแลประชาชนผู้มีรายได้น้อยและประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มขีดความสามารถ
                          2.4) ขอให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในการจัดให้มีระบบประกันสุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามข้อห่วงใยของผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 โดยเร็วที่สุด
                       3) มาตรการสำคัญสำหรับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับทั่วทุกพื้นที่/จังหวัด ดังนี้
                           3.1) มาตรการสำคัญสำหรับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร
 

พื้นที่ รายละเอียด
1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
(สีแดงเข้ม)
 
(1) 6 พื้นที่/จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
(2) ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มบุคคลมากกว่า 20 คน
(3) ยกระดับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการขึ้นเพิ่มเติม ได้แก่
     - ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น โดยงดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 น.
     - สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส ให้ปิดให้บริการ ยกเว้นสถานที่ใช้เป็นเอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ส่วนสนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม สำหรับการแข่งขันกีฬาที่เคยได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีให้จัดการแข่งขันได้ เมื่อได้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดแล้วให้สามารถจัดการแข่งขันได้ต่อไป
     - ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุก ที่งดการให้บริการ
    - ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน
ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น. สำหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.
    - การงดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดงดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อลดการเดินทางที่อาจเสี่ยงต่อการติดโรค
2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) (1) พื้นที่จังหวัด รวม 45 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
(2) ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มบุคคลมากกว่า 50 คน
(3) มาตรการควบคุมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด
     - การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้
ไม่เกินเวลา 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น
     - การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
     - ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม และสวนสนุกที่งดการให้บริการ
      - ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน
ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น. สำหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.
      - สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยจำกัดจำนวนผู้ชมในสนาม
      - การตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ตามมาตรการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
     ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด
3) พื้นที่ควบคุม     (สีส้ม) (1) พื้นที่จังหวัด รวม 26 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม
(2) ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มบุคคลมากกว่า 50 คน
(3) มาตรการควบคุมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด
     - การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มและการบริโภคในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.
     - การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
     - ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่น
ที่มีลักษณะคล้ายกัน 
ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยกเว้นส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก ที่งดการให้บริการ
    - การตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตามมาตรการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
     ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด

 
                          3.2) มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับทั่วทุกพื้นที่/จังหวัด
                               (1) การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เพื่อลดความเสี่ยง
จากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคระบาดแพร่ออกไป ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อออกนอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ ทั้งนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบผู้ไม่กระทำการตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่จะว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้บุคคลนั้นเพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องก่อนที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ได้
                               (2) การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ ให้ประชาชนงดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะ
ที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน ยกเว้นเป็นการจัดพิธีตามประเพณีนิยม หรือเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในครอบครัวและมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ
                               (3) การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุดอย่างน้อย 14 วัน เพื่อมุ่งลดจำนวนการเดินทางของเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่และบุคลากรในความรับผิดชอบจะติดเชื้อ โดยอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่ในสถานที่ตั้ง การสลับวันเวลาทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน
                                       (4) ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อการจัด
การเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้น
                          4) ความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
                          ให้กระทรวงมหาดไทย รวบรวมประกาศและคำสั่งของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศที่อาศัยอำนาจตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับต่าง ๆ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเร็ว และให้ถือปฏิบัติว่าในกรณีที่จังหวัดออกประกาศหรือคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที ทั้งนี้ ขอให้รวบรวมและประกาศในราชกิจจานุเบกษาในโอกาสแรก
                           5) ที่ประชุมมีมติ ดังนี้      
                               (1) เห็นชอบข้อเสนอการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงสาธารณสุข
                               (2) เห็นชอบข้อเสนอของศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 มาตรการสำคัญสำหรับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับทั่วทุกพื้นที่/จังหวัด
                               (3) ให้รับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                   4.  แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอแผนฯ ดังนี้
                       1) แผนการฉีดวัคซีนให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย 100,000,000 โดส ความครอบคลุมของวัคซีนร้อยละ 70 ของประชากรไทย ภายในปี 2564 (เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2564) ขณะนี้ประเทศไทย
มีการจัดหาวัคซีนแล้ว 63,000,000 โดส จึงต้องจัดหา จัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เพิ่มเติมสำหรับประชากรในประเทศไทย จำนวน 18,500,000 คน หรือวัคซีนจำนวนประมาณ 37,000,000 โดส โดยการจัดซื้อรวมเป็นวัคซีนที่ประเทศไทยจัดหา จัดซื้อสำหรับประชากรทั้งสิ้น จำนวน 50,000,000 คน หรือวัคซีนจำนวนประมาณ จำนวน 100,000,000 โดส
                        2) แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ของประเทศไทย พ.ศ. 2564

วัคซีน วัคซีนถึงประเทศไทย
1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 2,500,000 โดส (เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564)
1.1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน    200,000 โดส วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
1.2) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน    800,000 โดส วันที่ 27 มีนาคม 2564
1.3) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 1,000,000 โดส วันที่ 10 เมษายน 2564
1.4) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน    500,000 โดส ปลายเดือนเมษายน 2564
2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26,000,000 โดส (เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564)
และจัดหาเพิ่มเติมอีก 37,000,000 โดส
2.1) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน     6,000,000 โดส เดือนมิถุนายน 2564
2.2) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดส เดือนกรกฎาคม 2564
2.3) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดส เดือนสิงหาคม 2564
3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 35,000,000 โดส (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564)
3.1) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดส เดือนกันยายน 2564
3.2) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดส เดือนตุลาคม 2564
3.3) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดส เดือนพฤศจิกายน 2564
3.4) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน     5,000,000 โดส เดือนธันวาคม 2564

 
                       3) กำหนดการเสร็จสิ้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ทุกกลุ่มเป้าหมาย
 

กลุ่มเป้าหมาย วัคซีน ผลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19
(1) บุคลากรทางการแพทย์ Sinovac - ฉีดแล้ว ร้อยละ 95
- ฉีดเสร็จสิ้น  2 เข็ม ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนพฤษภาคม 2564
(2) เจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เสี่ยงสัมผัสโรค Sinovac - ฉีดแล้ว ร้อยละ 20
- ฉีดเสร็จสิ้น 2 เข็ม ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนมิถุนายน 2564
(3) กลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น พนักงานขับรถสาธารณะ       และครู เป็นต้น AstraZeneca - ฉีดแล้วจำนวนหนึ่ง (ต่ำกว่าร้อยละ 5)
- ฉีดเสร็จสิ้นเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนมิถุนายน 2564
(4) ประชาชนผู้ที่มีโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ AstraZeneca - ฉีดแล้วจำนวนหนึ่ง (ต่ำกว่าร้อยละ 5)
- ฉีดเสร็จสิ้นเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนกรกฎาคม 2564
(5) ประชาชนทั่วไป AstraZeneca - ฉีดแล้วจำนวนหนึ่ง (ต่ำกว่าร้อยละ 5)
- ฉีดเสร็จสิ้นเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 100 ภายในเดือนกันยายน 2564

 
                    4) แนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แจ้งว่า ได้มีการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ณ ห้องประชุมตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ผู้บริหารส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการกระจายและฉีดวัคซีน ด้านการสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์ ด้านการสนับสนุนระบบอำนวยความสะดวกระบบงานต่าง ๆ และด้านการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม
                    5) ความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้
                          (1) ควรพิจารณาปรับแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตามกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เมื่อมีการจัดหาวัคซีนเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2564 ให้มีความเหมาะสม โดยจัดลำดับกลุ่มเป้าหมายตามความจำเป็นเหมาะสม และเน้นการขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันควบคุมโรคควบคู่กับการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจไปด้วยกัน
                          (2) ควรให้ความสำคัญในการชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) ความพร้อมในการให้บริการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และรวดเร็ว และ (2) แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตามกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยต้องเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้บุคลากรทางการแพทย์ให้แล้วเสร็จเป็นกลุ่มแรก
                          (3) ควรพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้แก่กลุ่มนักการทูตและเจ้าหน้าที่
การทูตที่พำนักในประเทศไทยด้วย
                    6) ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
                          (1) รับทราบแผนการจัดหาและการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน 100,000,000 โดส
และโครงการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เพิ่มเติม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
                          (2) เห็นชอบในหลักการการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครอบคลุมร้อยละ 70 โดยเร็วที่สุด ได้แก่
                              (2.1) ภาครัฐจัดหาวัคซีน ประกอบด้วย วัคซีน Pfizer Biontech จำนวน 5,000,000 -20,000,000 โดส วัคซีน Sputnik V จำนวน 5,000,000 - 10,000,000 โดส วัคซีน Johnson & Johnson จำนวน 5,000,000 - 10,000,000 โดส วัคซีน Sinovac จำนวน 5,000,000 - 10,000,000 โดส และวัคซีนอื่น ๆ เช่น วัคซีน Moderna วัคซีน Sinopharm วัคซีน Bharat หรือวัคซีนอื่นที่จะมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต รวมงบประมาณค่าวัคซีน และเวชภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมอบกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              (2.2) ภาคเอกชนจัดซื้อวัคซีนอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
                        ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                       1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) สื่อสารและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน โดยจัดทำแผนภาพในการสื่อสารที่เข้าใจง่าย (อาทิ ในรูปแบบ infographic ฯลฯ) เกี่ยวกับขั้นตอนการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยโควิด - 19 และช่องทางการติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลสนาม เป็นต้น
                       2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการสำรวจข้อมูลความต้องการฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคโควิด - 19 และเตรียมความพร้อมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้แก่กลุ่มนักการทูตและเจ้าหน้าที่การทูตที่พำนักในประเทศไทยต่อไป
 
24. เรื่อง ผลการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564 และเห็นชอบตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    การประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 13.30-14.30 น. ณ ห้องประชุมตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยได้พิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชน ประกอบด้วย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมทั้ง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                1. สถานการณ์การแพร่ระบาดและการจัดหาและการกระจายวัคซีน
                    1.1 สถานการณ์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019               (โควิด - 19) ณ วันที่ 27 เมษายน 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกจำนวนรวม  148,497686 ราย เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 672,914 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 3,133,860 รายโดยจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอเมริกาและยุโรปเป็นหลัก ขณะที่สัดส่วนการฉีดวัคซีนต่อประชากร 100 คนในประเทศสำคัญ ๆ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสิงคโปร์ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในหลายประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่ใด้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น จะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น
                    1.2 สถานการณ์การแพร่ระบาดและความคืบหน้าด้านวัคซีนของประเทศไทย ข้อมูลการแพร่ระบาดภายในประเทศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวนรวม 59,687 ราย  โดยเป็นผู้ติดเชื้อสะสมจากการระบาดรอบใหม่จำนวน 30,824 ราย (นับสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564) เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,179 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 163 คน โดยเป็นผู้เสียชีวิตจากการระบาดระลอกใหม่จำนวน 69 คน และมีจำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 25,973 ราย ทั้งนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นล่าสุดส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสำหรับความคืบหน้าในการให้บริการวัคซีนโควิด - 19 ข้อมูล ณ วันที่ 25เมษายน 2564 มีผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้วทั้งสิ้น 972,204 ราย และจำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ (ได้รับวัคซีน 2 เข็ม) จำนวน 177,462 ราย รวมแล้วมีการให้บริการวัคซีนไปแล้วทั้งสิ้น 1,149,666 โดส จังหวัดที่มีการให้บริการวัคซีนโควิด - 19 สูงสุด 10 อันดับแรก ในจังหวัดพื้นที่สีแดง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ตาก ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และนครราชสีมา
                    ข้อสั่งการ :
                    รับทราบสถานการณ์การแพร่ระบาดและการจัดหาและการกระจายวัคซีนตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ

  1. แนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาลเอกชน นำเสนอโดย

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
                    คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย               สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เสนอแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการกระจายการฉีดวัคซีนให้กับภาคเอกชนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่างจังหวัดครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมีข้อเสนอใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
                           2.1 ด้านการกระจายและฉีดวัคซีน โดยขอรับการสนับสนุนดังนี้
                                       1) ข้อเสนอสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร
                                                (1) เห็นชอบแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานครกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทยในการกระจายและฉีดวัคซีนให้กับผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคมเป็นหลัก
                                                (2) เห็นชอบการจัดทำต้นแบบ (Model) เพื่อใช้ในการกระจายและ           ฉีดวัคซีนโดยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตามข้อ (1)
                                       2) ข้อเสนอสำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด
                                                (1) เห็นชอบแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระดับกลุ่มจังหวัดและระดับจังหวัด ผ่านกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ในระดับกลุ่มจังหวัดและระดับจังหวัดในการกระจายและฉีดวัคซีนให้กับผู้ประกอบการ  นายจ้าง ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคมเป็นหลัก
                                                (2)  เห็นชอบการนำต้นแบบ (Model) ในการกระจายและฉีควัคซีน               ไปเป็นแนวปฏิบัติในระดับกลุ่มจังหวัดและระดับจังหวัด โดยมอบหมายให้ กรอ.กลุ่มจังหวัด และ กรอ.จังหวัด เป็น                 ผู้นำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามข้อ (1)
                           ข้อสั่งการ :
                           เห็นชอบแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกระจายและฉีดวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับต่างจังหวัดให้ผ่านกลไก กรอ.กลุ่มจังหวัดและระดับจังหวัด และให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาเร่งรัดจัดทำแผนการจัดหาและการกระจายวัคซีนและพิจารณารายละเอียดของต้นแบบ (Model) การกระจายฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) โดยให้ความสำคัญกับความพร้อมของสถานที่ บุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การกระจายการให้บริการเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
                           2.2 ด้านการสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์ โดยขอรับการสนับสนุนดังนี้
                           ข้อเสนอ :
                                       1) เสนอให้ภาครัฐกำหนดผู้ประสานงานหลักในด้านการสื่อสารที่เกี่ยวกับการกระจายและการฉีดวัคซีนอย่างถูกต้องให้ประชาชน เพื่อลดความซ้ำซ้อน และสับสนของข้อมูลรวมทั้งจัดทำการรณรงค์ (Campaign) เพื่อการฉีดวัคซีนร่วมกัน 2) จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการด้านการสื่อสาร
และประชาสัมพันธ์
                           ข้อสั่งการ :
                           ให้ภาคเอกชนรับไปประสานเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนเพื่อลดความวิตกกังวลของประชาชน ได้แก่ การจัดหาวัคซีนให้เพียงพอ การลงทะเบียนที่มีประสิทธิภาพ การจัดหาสถานที่ฉีดวัคซีนที่เหมาะสม การอำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับฉีดวัคซีน และการดูแลรักษา ภายหลังจากการฉีดวัคซีน พร้อมทั้งพิจารณากำหนด ผู้ประสานงานหลัก (Focal point) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ชัดเจน กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์ที่เป็นเอกภาพ และสร้างการรับรู้ของวัคซีนอย่างถูกต้องในรูปแบบ Single Message เพื่อให้การสื่อสารเป็นเอกภาพ
                       2.3 ด้านการสนับสนุนระบบอำนวยความสะดวกระบบงานต่าง ๆ โดยขอรับการสนับสนุนดังนี้
                           ข้อเสนอ
                           1) ให้มีระบบการลงทะเบียนและการติดตามผู้ฉีดวัคซีนเพียงระบบเดียวสำหรับผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคมเป็นหลัก เพื่อลดความสับสนและมีการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                           2) จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันกับภาครัฐ เพื่อเชื่อมระบบของภาครัฐและออกแบบโครงสร้างที่สามารถทำงานเสริมกันได้ โดยระยะแรก ดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานครและดำเนินการทั้งประเทศในระยะต่อไป
                           ข้อสั่งการ :
                           ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่                      สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาระบบการลงทะเบียนและการติดตามผู้ฉีดวัคซีนของภาคเอกชนให้เชื่อมโยงกับระบบของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อย่างมีเอกภาพ และให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานดูแลการลงทะเบียนใน 5 กลุ่มเป้าหมายหลัก ประกอบด้วย 1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน 2) เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เช่น ทหาร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 3) ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 4) ประชาชนสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 5) ประชาชนในพื้นที่ระบาดผ่านแอปพลิเคชัน "หมอพร้อม" ต่อไป
                           2.4 ด้านการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม โดยขอรับการสนับสนุนดังนี้
                           ข้อเสนอ
                           1) ให้ภาคเอกชนสามารถทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อจัดหาวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการฉีดที่ครอบคลุมประชากร ร้อยละ 70 ทั้งประเทศภายในปี 2564
                           2)  เสนอให้ภาครัฐผ่อนคลายเรื่อง EUA Licensing สำหรับการนำเข้าวัคซีน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พิจารณาอนุมัติ Import Permit  อนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว เป็น Lot ได้
                           ข้อสั่งการ :
                           ให้กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) รับไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                           2.5 ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน
                           ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ร่วมกับเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปร่วมหารือเพื่อดำเนินการบริหารจัดหาวัคซีนและกระจายวัคซีนให้เป็นระบบและเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
 
25. เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                   1. รับทราบการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ดำเนินการอยู่ โดยเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พิจารณาดำเนินการเลื่อนกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 3 และโครงการทัวร์เที่ยวไทย ออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564 จะคลี่คลายลงตามขั้นตอนของระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                   2. เห็นชอบในหลักการของข้อเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564 และเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ เร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                   3. เห็นควรให้การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวภายใต้กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ ต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ข้อเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในเบื้องต้น รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการใช้ชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมสามารถขับเคลื่อนได้ในระยะต่อไป ดังนี้
                   มาตรการที่สามารถดำเนินได้ทันที
                   1) มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                             1.1) มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด 19 เป็นการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ : ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้างหน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน ผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราตอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม ระยะเวลาดำเนินงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณ รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non - Performing Loans: NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการเสนอมาตรการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
                             1.2) มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อย ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชำระเงินต้นเพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนำเงินงวดที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเพื่อการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชำระหนี้ที่พักชำระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควรเมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยกรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชำระไว้ด้วย นอกจากนี้ ให้ SFIs พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสำคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือ SFIs ตามความจำเป็นและเหมาะสมในกรณีที่การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ SFIs
                   2) มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) โดยให้ความช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาตามมาตรการเดิมที่ได้ดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2564 ดังนี้
                             2.1) ค่าไฟฟ้า เสนอให้สิทธิค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ดังนี้
                                      (1) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
                                      (2) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า ดังนี้
                                                · กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง
                                                · กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้ามากกว่าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ ดังนี้ (2.1) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 (2.2) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 500 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1,000 หน่วยต่อเดือน ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 50 และ (2.3) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 70 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
                                      (3) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก
                                                ทั้งนี้ มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก กำหนดให้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน 2564
                             2.2) ค่าน้ำประปา เสนอให้ลดค่าน้ำประปาลงร้อยละ 10 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาประจำเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2564
                             ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบ (การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าว ภายใต้กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ ต่อไป
                   2. มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในระยะเร่งด่วน
                             1) โครงการเราชนะ จำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 32.9 ล้านคน โดยเป็นการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้ประชาชนอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงินประมาณ 67,000ล้านบาท
                             2) โครงการ ม 33 เรารักกัน จำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 9.27 ล้านคน โดยเป็นการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงินประมาณ 18,500 ล้านบาท
                   3มาตรการในระยะต่อไป (เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564 คลี่คลายลง) กรอบวงเงินเบื้องต้น 140,000 ล้านบาท โดยจะขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
                             1) มาตรการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
                                      1.1 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3จำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 13.65 ล้านคน โดยการให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเติม เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2564)
                                      1.2 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จำนวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 2.5 ล้านคน โดยการให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติม เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6เดือน (เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2564)
                             2) มาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ความสำคัญกับการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูง ได้แก่
                                      2.1) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับ
ฐานราก เพิ่มอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ โดยการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในส่วนของค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป ในลักษณะร่วมจ่าย (CO - pay) ร้อยละ 50 ของราคาสินค้า ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนผู้ได้สิทธิตามโครงการไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 31 ล้านคน
                                      2.2) โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” โดยรัฐสนับสนุน e - Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มและค่าบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยเมื่อประชาชนใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับสนับสนุน e - Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือนกรกฎาคมถึง ธันวาคม 2564 และสามารถนำ e - Voucher ไปใช้จ่ายได้ในเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2564 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 4 ล้านคน
                  
26. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564 และครั้งที่ 14/2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 และครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ที่ได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) พิจารณากลั่นกรองการขอยกเลิกโครงการของจังหวัด และพิจารณารายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก (แผนงานที่ 3.2) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามมาตรา 8 (1) ของพระราชกำหนดฯ และข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) รวมทั้งมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                   1. อนุมัติโครงการส่งเสริมอาชีพและการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้พิการ ผู้ดูแลคนพิการหรือครอบครัวคนพิการ ทั้ง 7 ประเภท ของบริษัท สังคมดี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด วงเงิน 3,722,750 บาท ปรับลดจากข้อเสนอวงเงิน 3,822,750 บาท หรือประมาณ 100,000 บาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนและท้องถิ่น (แผนงานที่ 3.2) และเห็นควรมอบหมายให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                   2. อนุมัติให้กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว (Safety Zone) ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดในเดือนเมษายน 2564 เป็นเดือนมิถุนายน 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                   3. อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดำเนินการของโครงการฯ จำนวน 2 จังหวัด ประกอบด้วย (1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากหน่วยพิทักษ์ป่าเขื่อนรัชชประภา เป็นหน่วยพิทักษ์ป่าคลองตะเคียน และ (2) จังหวัดแพร่ จากสำนักงานเขต เป็นหน่วยพิทักษ์ป่าดอยเส็ง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                   4. อนุมัติให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาปรับปรุงรายละเอียดโครงการพัฒนาอัตลักษณ์น่านมุ่งสู่เมืองสร้างสรรค์ (Creative City): ยกระดับมาตรฐานการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว (Amazing Thai Host) เพื่อรองรับการท่องเที่ยวตามวิถีใหม่ (New Normal) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดือนกรกฎาคม 2563 - กรกฎาคม 2564 เป็นเดือนมกราคม - ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                    5. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ปรับปรุงรายละเอียดโครงการสร้างอาชีพประมงแนวใหม่ด้วยนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการแปรรูปอาหารทะเล โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดือนพฤศจิกายน 2563 - กันยายน 2564 เป็นเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                   6. อนุมัติให้จังหวัดภูเก็ตยกเลิกการดำเนินกิจกรรมที่ 3 การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นาเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม วงเงินจำนวน 214,560 บาท ภายใต้โครงการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรผสมผสานโดยจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง กรอบวงเงิน 2,177,000 บาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                   7. อนุมัติให้จังหวัดยโสธร ยกเลิกการดำเนินโครงการย่อยที่ 3 ปลูกพืชหลังนา วงเงิน 862,700 บาท ภายใต้โครงการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร วงเงิน 2,151,605 บาท และยุติการดำเนินโครงการการจัดการอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนี้อ วงเงิน 584,200 บาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                   8. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก (แผนงานที่ 3.2) ของคณะอนุกรรมการติดตามโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                   สรุปสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมอาชีพและสร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้พิการ ผู้ดูแลคนพิการ หรือครอบครัวคนพิการ ทั้ง 7 ประเภท ของบริษัท สังคมดี วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด ดังนี้
                             1) วัตถุประสงค์ : (1) เพิ่มพูนความรู้ในการประกอบอาชีพอิสระให้กับคนพิการและครอบครัว (2) เพื่อให้คนพิการและครอบครัวมีอาชีพ รายได้เลี้ยงดูตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงดูแลระหว่างเริ่มต้นธุรกิจ               (3) แนะนำทุนที่สามารถให้คนพิการกู้ยืมในการประกอบอาชีพจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
                             2) กลุ่มเป้าหมาย  : คนพิการและสมาชิกในครอบครัวคนพิการ 7 ประเภท รวม 1,000 คน ใน กทม.
                             3) ระยะเวลาดำเนินโครงการ : มีนาคม - กันยายน 2564
                             4) กิจกรรมสำคัญ : (1) สำรวจข้อมูลจากมูลนิธิคนพิการทุกประเภท ถึงจำนวนผู้พิการและครอบครัวที่ต้องการฝึกอบรม โดย อพม. ใน 50 เขตของ กทม. และขึ้นทะเบียน (2) ฝึกอบรมด้านอาชีพให้กลุ่มคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ โดยนักธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 7 อาชีพ ประกอบด้วย เย็นตาโฟ ตีลังกา (GALA NOODLE) 1 วัน/กล้วยแขกทอดกรอบขั้นเทพ 1 วัน/ขนมจีน 4 ภาค 1 วัน/ลูกชิ้นปลาระเบิด แบรนด์ GIANT 1 วัน/ตำร้อยครก ยำร้อยร้าน 2 วัน/ไอศกรีมหวานเย็น บิงซู 1 วัน/กระเป๋าสานพลาสติกแบบยอดนิยม 3 วัน (3) จัดทำทะเบียนผู้ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ (4) ติดตามผลการประกอบอาชีพ ให้สามารถมีรายได้/ขายของได้จริง
                             5) ผลลัพธ์ของโครงการ : คนพิการและครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 30 – 80 มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 6,000 บาท
 
27. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระลอกใหม่
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 อนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รับทราบมาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรับทราบรายงานมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน และมาตรการอื่น ๆ ที่ได้ ดำเนินการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
                   สาระสำคัญ
                   กระทรวงการคลังเสนอมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ประกอบด้วยมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรายงานมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน และมาตรการอื่น ๆ ที่ได้ดำเนินการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                   1. มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19
                             1.1 วัตถุประสงค์: เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
                             1.2 กลุ่มเป้าหมาย: ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้างหน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน
                             1.3 วิธีดำเนินงาน: ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
                             1.4 ระยะเวลาดำเนินงาน: ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
                             1.5 งบประมาณ: รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท (20,000 ล้านบาท* ร้อยละ 50* ร้อยละ 100)
                   ทั้งนี้ ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 พ.ศ. 2561 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ได้กำหนดอัตรายอดคงค้างรวมทั้งหมดของภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดย ณ สิ้นวันที่ 30 เมษายน 2564 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ มียอดคงค้างจำนวน 953,223.572 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.01 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (วงเงิน 3,285,962.4797 ล้านบาท) ดังนั้น หากมีการดำเนินมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวน 10,000 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชย ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 973,962.339 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 29.64 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ที่คณะกรรมการฯ ได้ประกาศกไหนดไว้
                   2. มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
                   การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่มีความเปราะบางทางการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนและส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้หรือดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ จึงมีความจำเป็นในการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติม เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions : SFIs) ช่วยเหลือลูกหนี้เป็นรายกรณีผ่านการปรับโครงสร้างหนี้หรือพักชำระหนี้ตามข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ สาเหตุมาจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าในปีที่ผ่านมา
                   กระทรวงการคลังจึงมอบหมายให้ SFIs พิจารณาขยายระยะเวลามาตรการพักชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชำระเงินต้นเพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนำเงินงวดที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเพื่อการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชำระหนี้ที่พักชำระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควรเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยกรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชำระไว้ด้วย นอกจากนี้ ให้ SFIs พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสำคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือ SFIs ตามความจำเป็นและเหมาะสมในนกรณีที่การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ SFIs
                   3. รายงานมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน และมาตรการอื่น ๆ ที่ได้ดำเนินการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
                             3.1 มาตรการการคลัง
                                      1) มาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนภายใต้โครงการเราชนะ
                                      โครงการเราชนะมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 โดยจะสนับสนุนวงเงินเพื่อช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (สำหรับเดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ 2564) ตามช่องทางการจ่ายวงเงินที่กำหนด ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 เมษายน 2564 มีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราชนะแล้วจำนวนประมาณ 33.2 ล้านคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13.7 ล้านคน กลุ่มผู้มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จำนวน 8.3 ล้านคน กลุ่มผู้ลงทะเบียนใหม่ จำนวน 8.7 ล้านคน กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จำนวน 2.4 ล้านคน และกลุ่มผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์และผ่านเกณฑ์การทบทวนสิทธิ์ จำนวน 7.0 หมื่นคน โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราชนะที่ใช้จ่ายจนครบวงเงินสิทธิ์แล้ว จำนวนกว่า 24.5 ล้านคน ทั้งนี้ การใช้จ่ายวงเงินสนับสนุนภายใต้โครงการเราชนะ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 203,295 ล้านบาท ผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการเราชนะ และผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเราชนะจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.3 ล้านกิจการ
                                      ทั้งนี้ วงเงินสนับสนุนที่ได้รับตามโครงการเราชนะสามารถสะสมเพื่อใช้จ่ายได้จนถถึงสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ โดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ได้มีมติขยายระยะเวลาโครงการเราชนะ โดยสามารถใช้จ่ายได้จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2564
                                      2) มาตรการภาษี
                                                2.1) มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีภาษี 2564
                                                กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนและผู้ประกอบการที่เป็นผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากไม่สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติอันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้ลดภาษีในอัตราร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2564
                                                2.2) การขยายกำหนดเวลาดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2564
                                                กระทรวงมหาดไทยได้ขยายระยะเวลาดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นการทั่วไปออกไปอีก 2 เดือน ซึ่งมีผลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีใน 2 ส่วน ได้แก่ (1) ขยายกำหนดเวลาการชำระภาษี จากเดิม ภายในเดือนเมษายน 2564 เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2564 และ (2) ขยายกำหนดระยะเวลาในการผ่อนชำระภาษี 3 งวด จากเดิมผ่อนชำระได้ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2564 เป็นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2564
                                                2.3) มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย
                                                กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เป็นของตนเอง รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเชื่อมโยงกับการจ้างงานและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้ลดค่าธรรมเนียมการโอนจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าธรรมเนียมการจำนองจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับที่อยู่อาศัยใหม่ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย ซึ่งครอบคลุมบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด ที่ซื้อจากผู้ประกอบการ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ - 31 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดินพร้อมอาคาร ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีห้องชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564
                                                2.4) การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                                                มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2563 เพื่อขยายระยะเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ของปีภาษี 2563 ที่ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีระบบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 10,600 ล้านบาท โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
                                                2.5) มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
                                                มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้ทำบัญชีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่มีความรุนแรงและครอบคลุมทั่วประเทศ และสนับสนุนการทำธุรกรรมภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่วยลดความแออัดและความเสี่ยงจาก COVID-19 อีกทั้งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในมือผู้ประกอบการให้มีมากขึ้นและนานขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) เพื่อขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 จากเดิมที่ต้องยื่นภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ให้ขยายออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 14,200 ล้านบาท โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
                                                2.6) มาตรการขยายเวลาลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน
                                                กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ จากเดิมอัตรา 4.726 บาทต่อลิตร เป็น 0.20 บาทต่อลิตร ออกไปจนถึงวันที่  31 ธันวาคม 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบินอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบิน
                                                2.7) มาตรการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                                กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว และเพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศและความผาสุกของประชาชน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 ซึ่งจะยกเว้นอากรตามรายการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรให้ต่อเนื่องจากมาตรการเดิมซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาการบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการออกประกาศเพื่อกำหนดรายการของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประกาศดังกล่าว
                             3.2 มาตรการการเงิน
                                      1) พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกลไกการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย 2 มาตรการ ดังนี้
                                                1.1) มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท
                                                มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูกำหนดกลไกการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ให้เข้าถึงสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสมผ่านกลไกการลดความเสี่ยงด้านเครดิตของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มดังกล่าวสามารถประคับประคองธุรกิจและรักษาการจ้างงาน รวมทั้งปรับปรุงธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง
 
                                      ผู้ประกอบธุรกิจทั้งที่ไม่มีสินเชื่อและมีสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน และไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือ 31 ธันวาคม 2562 แล้วแต่วงเงินใดจะสูงกว่าแต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท ทั้งนี้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ กำหนดให้สถาบันการเงินคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปีในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา และเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรกที่สถาบันการเงินได้รับแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นอกจากนี้รัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ยแทนผู้ประกอบธุรกิจในระหว่าง 6 เดือนแรกของสัญญา นอกจากนี้ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูยังกำหนดให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจ โดยรับภาระชดเชยความเสียหายสูงสุดร้อยละ 40 ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมดที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 3.5 ตลอดอายุสัญญา
                             1.2) มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 100,000 ล้านบาท
                                      มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ กำหนดกลไกในการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพ แต่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID - 19 และต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการฟื้นตัว โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับภาระต้นทุนทางการเงินเป็นการชั่วคราว และไม่ถูกบังคับให้ขายทรัพย์สินหลักประกันในราคาต่ำกว่าสภาพความเป็นจริง (Fire Sale) ให้แก่กลุ่มทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจโดยใช้ทรัพย์สินหลักประกันเดิมได้หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID - 19 คลี่คลายลง
                                      ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564 ซึ่งมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน สามารถยื่นขอโอนทรัพย์สินหลักประกันชำระหนี้ในราคาที่ตกลงกับสถาบันการเงิน โดยผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิเช่าทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจต่อไปและมีสิทธิซื้อทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันโอนหรือระยะเวลาที่ ธปท. กำหนด หากมีการขยายระยะเวลามาตรการ ทั้งนี้ ราคาซื้อคืนต้องไม่สูงกว่าราคาที่รับโอนไว้รวมกับ Carrying Cost ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพย์สิน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจเช่าสินทรัพย์เพื่อไปดำเนินธุรกิจ สถาบันการเงินต้องนำค่าเช่าดังกล่าวมาหักออกจากราคาซื้อคืนด้วย กลไกดังกล่าวจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถซื้อทรัพย์สินนั้นคืนจากสถาบันการเงินเพื่อประกอบธุรกิจในราคาที่ไม่สูงเกินไปเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง โดย ธปท. จะสนับสนุนแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโดยการลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจ
                                      ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวข้างต้นมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี โดยคณะรัฐมนตรีสามารถขยายระยะเวลามาตรการออกไปได้อีก 1 ปี ในกรณีที่มีความจำเป็นและมีวงเงินเหลืออยู่ และคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติให้เกลี่ยวงเงินระหว่างมาตรการได้ นอกจากนี้ ในการดำเนินมาตรการทั้ง 2 มาตรการ ผู้ประกอบธุรกิจ เจ้าของทรัพย์สินหลักประกัน สถาบันการเงิน และ บสย. จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจำนอง การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันธุรกิจ และค่าธรรมเนียมอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจสามารถขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ที่สถาบันการเงินได้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
                             2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของ COVID - 19 ระลอกใหม่
                                      นอกจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 (PGS9) ที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ธปท. ยังได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID - 19 ระลอกใหม่เพื่อให้ยังคงมีกระแสเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพ ประกอบอาชีพ และดำเนินธุรกิจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                             2.1) ต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดย (1) ลดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (2) เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด และ (3) กำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินให้ช่วยเหลือขั้นต่ำลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตามประเภทสินเชื่อ และมีช่องทางเพื่อให้ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ เช่น บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile application) เว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า (call center) และการส่งข้อความทาง SMS ได้ โดยลูกหนี้สามารถสมัครขอรับความช่วยเหลือด้วยตนเอง หรือนายจ้างหรือเจ้าของกิจการสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนลูกหนี้ได้ โดยสามารถสมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
                             2.2) ให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภท (ลูกหนี้รายย่อย ลูกหนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) และลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่) ตามความเหมาะสมกับประเภทสินเชื่อและคำนึงถึงความเสี่ยงของลูกหนี้ จำแนกตามลักษณะธุรกิจและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ (1) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ต่ออายุวงเงินหรือคงวงเงิน เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราตลาด เป็นต้น (2) ให้เงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม (3) พิจารณาชะลอการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ (4) ผ่อนปรนเงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสม
                             3) โครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
                             ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 14 เมษายน 2564 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้รายย่อยที่รายได้ลดลงจากการระบาดของ COVID - 19 แต่ยังคงมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายเท่าเดิม และป้องกันไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้และทำให้เกิด NPLsในวงกว้าง โดยแนวทางการไกล่เกลี่ยหนี้ภายใต้โครงการครอบคลุมลูกหนี้ทุกสถานะ ดังนี้
                                      3.1 ลูกหนี้สถานะยังเป็นหนี้ดีแต่เริ่มขาดสภาพคล่องสามารถขอเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี เป็นหนี้ที่มีระยะเวลาผ่อนนานถึง 4 ปี โดยดอกเบี้ยต่ำลงที่ร้อยละ 12 ต่อปี และมีค่างวดที่แน่นอนได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อลูกหนี้กว่าการจ่ายผ่อนขั้นต่ำตามหลักเกณฑ์ของหนี้บัตรเครดิต
                                      3.2) ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs ทั้งที่ยังไม่ถูกฟ้องหรือถูกฟ้องแล้ว สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครั้งนี้สมัครเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ โดยสามารถจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้นภายในระยะเวลา 10 ปี และเจ้าหนี้จะยกดอกเบี้ยคงค้างให้ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระเงินต้นหมด
                                      3.3) ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs ที่มีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยหนี้ทั่วไปที่เจ้าหนี้จะไม่เจรจากับลูกหนี้เมื่อมีคำพิพากษาและถูกบังคับคดีแล้ว แต่ภายใต้โครงการหนี้ ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวสามารถเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ โดยสามารถจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้นภายในระยะเวลา 5 ปี และเจ้าหนี้จะยกดอกเบี้ยคงค้างให้ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระเงินต้นหมด
                                      โครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ได้รับผลตอบรับที่ดีจากประชาชน โดยมีประชาชนมากกว่า 200,000 รายให้ความสนใจและได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการประมาณ 500,000 บัญชี ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันขยายระยะเวลาโครงการไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสเข้ามาไกล่เกลี่ยหนี้ได้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดของ COVID – 19 ระลอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ โดยประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี
                             4) การปรับวิธีคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ของ ธปท.
                             ธปท. ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้ สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน และลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทยใน 3 เรื่อง ได้แก่
                                      4.1) การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นที่ผิดนัดจริงเท่านั้น ไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่างจากแนวปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น
                                      4.2) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกินร้อยละ 3 เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเท่ากับร้อยละ 8 ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกินร้อยละ 11 โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งต่างจากเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง
                                      4.3) การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรกเพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน โดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน ต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมด ก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้น ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น
                             5) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2564 (แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยในกฎหมาย)
                             พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมาย 3 ประเด็น ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง (2) อัตราดอกเบี้ยผิดนัด และ (3) กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในหนี้ที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเป็นงวด สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                                      5.1) ปรับอัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจากอัตราเดิมที่เป็นอัตราคงที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้เหลือร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอนจากการระบาดของ COVID - 19 นอกจากนี้กำหนดให้สามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
                                      5.2) ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยผิดนัด จากอัตราเดิมที่เป็นอัตราคงที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยที่มิได้ กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งและบวกอัตราเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตรงเวลา และอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดใหม่จะเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับการใช้บังคับในช่วงเวลานี้ ทั้งนี้ ยังคงหลักการเดิมของกฎหมายไว้ อันได้แก่ การกำหนดให้เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยผิดนัดสูงขึ้นได้หากมีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย การห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด และการให้เจ้าหนี้สามารถพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นได้นั้น
                                      5.3) เพิ่มหลักการให้มีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้เป็นงวดให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมต่อลูกหนี้ยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เมื่อลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดเจ้าหนี้อาจคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น ไม่อาจคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดจากต้นเงินที่ยังคงค้างชำระทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับหลักการการคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดของ ธปท. และกำหนดให้สัญญาที่เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้จากต้นเงินที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดเป็นโมฆะ
                             3.3 มาตรการอื่น ๆ
                                      1) การช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
                                      คณะกรรมการ กยศ. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19 ดังนี้
                                                1.1) ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมสู้ภัยโควิด ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีรายละเอียดของมาตรการ ดังนี้ (1) ลดเบี้ยปรับร้อยละ 100 สำหรับการชำระหนี้ปิดบัญชี (2) ลดเบี้ยปรับร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (3) ลดเงินต้นร้อยละ 5 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืน กยศ. ซึ่งไม่ได้เป็นหรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว และ (4) ลตอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
                                                1.2) ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี สำหรับผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ประจำปี 2563 และปี 2564 ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความในปี 2564
                                                1.3) งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้กู้ยืมและ/หรือผู้ค้ำประกันที่ กยศ. ได้ขอให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ไว้จนถึงสิ้นปี 2564 โดย กยศ. จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืมและ/หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี) เป็นต้น
                                                1.4) ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืน กยศ. และไม่ได้เป็นหรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
                                                1.5) ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืน กยศ. สำหรับผู้กู้ยืมที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินและทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID - 19
                             2) การชดเชยให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กรณีได้รับผลกระทบจากการประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                             กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญ คือ ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคหรือในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
28. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    2. อนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น 12,576,629,322 บาท
                    สาระสำคัญ

  1. จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก 

ที่ยังคงมีความรุนแรงมากขึ้น และสำหรับประเทศไทยได้จัดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส             โคโรนา 2019 โดยมีระบบการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) สถานที่ที่กักตัวที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) หรือโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) พบว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในสถานบันเทิง ครอบครัว สถานที่ทำงาน ชุมชน และสถานศึกษา ทำให้ประเทศยังมีความเสี่ยงสูงที่จะพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น มีการแพร่กระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ และมีบางจังหวัดเกิดการติดเชื้อใหม่ในพื้นที่ ทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมตั้งรับสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งอาจจะมีการแพร่กระจายในพื้นที่ใหม่ เพื่อการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน
                    2. กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ               อุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น 12,576,629,322 บาท และขอความเห็นชอบไปยังสำนักงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
                    - เพื่อลดการติดเชื้อใหม่ให้ไม่เกินศักยภาพที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้ (Low Level tansmission)
                    - เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรในประเทศไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของประชากร
ทั้งหมดโดยเฉพาะกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ ผู้มีโรคร่วม และกลุ่มเปราะบาง/ด้อยโอกาส
                    3. นายกรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่าย
จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น
12,576,629,322 บาท
 

ต่างประเทศ

29. เรื่อง โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านจำนวน 20 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และ อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุน รายการโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และสามารถจ่ายเงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ เพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามที่ได้รับจัดสรร ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ แนวทางการสนับสนุน และการกำกับติดตาม สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์ (1) เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
(2) เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมฯ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(3) เพื่อพัฒนาบุคลากรและระบบการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
(4) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในการร่วมกันควบคุมปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
แนวทางการสนับสนุน (1) ประสานหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านให้แจ้งรายการความต้องการขอรับการสนับสนุน
(2) วิเคราะห์จัดสรรงบประมาณสนับสนุนของแต่ละประเทศ โดยคำนึงถึงแนวนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ส. สถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ และเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนของความต้องการรับการสนับสนุน
(3) แจ้งผลการพิจารณาการสนับสนุนตามโครงการแก่หน่วยงานกลางด้าน                   ยาเสพติดแต่ละประเทศ
(4) ส่งมอบงบประมาณ แจ้งการส่งมอบและเงื่อนไขการใช้จ่ายงปบระมาณกับหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของแต่ละประเทศ
(5) หน่วยงานกลางด้านยาเสพติดแต่ละประเทศเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ หรือใช้จ่ายงบประมาณตามเงื่อนไขและรายการที่เห็นชอบร่วมกัน อาทิ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะ เพื่อความสะดวกในการรับบริการหลังการขาย การซ่อมบำรุงและลดภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
(6) สำนักงาน ป.ป.ส. กำกับติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ
แนวทาง
การกำกับติดตาม
(1) ประสานติดตามความคืบหน้าในการใช้จ่ายงบประมาณ ผ่านอัครราชทูตที่ปรึกษาด้านควบคุมยาเสพติดประจำประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการฯ
(2) ให้หน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงาน และนำส่งให้กับสำนักงาน ป.ป.ส. ไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง

 
                   กระทรวงยุติธรรมขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยการสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งสี่ประเทศ ได้แก่ สาแห่งสหภาพเมียนมา (6.02 ล้านบาท) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (8.59 ล้านบาท) ราชอาณาจักรกัมพูชา (2.34 ล้านบาท) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (3.05 ล้านบาท) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 20 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564 งบเงินอุดหนุน รายการโครงการฯ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 3แผนงาน ได้แก่ (1) ปฏิบัติการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: การจัดหา อุปกรณ์ เครื่องมือและยานพาหนะในการปฏิบัติการ และการจัดตั้งด่านตรวจถาวรในพื้นที่เป้าหมายสำคัญ (2) การพัฒนาระบบการประสานงานร่วมกันผ่านศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย: ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการศูนย์ฯ และ (3) การเสริมสร้างประสิทธิผลของกลไกหมู่บ้าน/ชุมชนสีขาวปลอดภัยจากยาเสพติด: การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการฯ สำนักงาน ป.ป.ส. จะส่งมอบงบประมาณให้แก่หน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของทั้งสี่ประเทศและกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป
 
30. เรื่อง การต่ออายุโครงการการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty Free Quota Free Scheme : DFQF) ของไทย ระยะที่ 2
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                   1. อนุมัติการต่ออายุโครงการการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดโดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty Free Quota Free Scheme: DFQF) ของไทย (โครงการฯ) ระยะที่ 2 ประกอบด้วย
                             1.1 ระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ 6 ปี โดยสำหรับโครงการฯ ระยะที่ 2 ให้สิ้นสุดโครงการฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
                             1.2 จำนวนสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการฯ ระยะที่ 2 รวมทั้งสิ้น 7,187 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.47 ของรายการสินค้าทั้งหมดในระบบ HS 2017 (ระบบพิกัดศุลกากรสากลซึ่งกำหนดโดยองค์การศุลกากรโลกและมีการปรับพิกัดศุลกากรสากลทุก 5 ปี)
                   2. เห็นชอบการปรับชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องจากการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (คณะกรรมการฯ) ปรับชื่อเป็น "คณะกรรมการว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty Free Quota Free Scheme: DFQF)"
                   3. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การดำเนินการเพื่อยกเว้นอากรสำหรับสินค้าภายใต้โครงการฯ ระยะที่ 2
                   สาระสำคัญ
                   กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการต่ออายุโครงการการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty Free Quota Free Scheme : DFQF) ของไทย (โครงการฯ) ระยะที่ 2 เนื่องจากโครงการระยะที่ 1 สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากโครงการฯ ระยะที่ 1 ที่เคยเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
 

โครงการฯ ระยะที่ 1
[มติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2564)]
เสนอครั้งนี้ (โครงการฯ ระยะที่ 2)
- ระยะเวลาโครงการฯ 6 ปี โดยเริ่มโครงการฯ ในวันที่ 1 มกราคม 2558 – 31 ธันวาคม 2563 [มีผลตั้งแต่ในวันที่ 9 เมษายน 2558 เนื่องจากเป็นวันที่ประกาศกระทรวงการคลังมีผลบังคับใช้] - ระยะเวลาโครงการฯ 6 ปี โดยสิ้นสุดโครงการฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2569 (จะเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อมีการจัดทำและใช้บังคับประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการยกเว้นอากร)
- จำนวนสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษ ภายใต้โครงการฯ รวมทั้งสิ้น 6,998 รายการ คิดเป็นร้อยละ 73.21 ของรายการสินค้าทั้งหมดในระบบ HS 2021 (9,558 รายการ) และต่อมาเป็นปรับเป็น 7,496 รายการ คิดเป็นร้อยละ 69.32 ของรายการสินค้าทั้งหมดในระบบ HS 2017 (10,813 รายการ) - จำนวนสินค้าที่ให้สิทธิพิเศษ ภายใต้โครงการฯ ระยะที่ 2 รวมทั้งสิ้น 7,187 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.47 ของรายการสินค้าทั้งหมดในระบบ HS 2017 (10,813 รายการ) ซึ่งถือว่ามีรายการลดลงจากเดิมเล็กน้อย

 
          และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามโครงการฯ ระยะที่ 2 กระทรวงพาณิชย์จึงได้ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยกเว้นอากรด้วย โดยภายหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในเรื่องนี้ กระทรวงการคลังจึงจะดำเนินการยกร่างประกาศยกเว้นอากรเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป (ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1)
 
                   ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ในปี 2562 และปี 2563 พบว่ามูลค่าและสัดส่วนการนำเข้าภายใต้โครงการฯ คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการนำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดทั้งหมดและการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการฯ เป็นการดำเนินการตามพันธกรณีของประเทศไทยในฐานะสมาซิกองค์การการค้าโลก ซึ่งการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ และเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
                   ในส่วนการปรับชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องจากการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (คณะกรรมการฯ) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ครอบคลุมภารกิจการจัดทำ ทบทวน และถอดถอนรายการสินค้าที่ให้สิทธิภายใต้โครงการฯ โดยหน้าที่สำคัญประการหนึ่งหลังจากนี้ คือ คณะกรรมการฯ จะทำหน้าที่พิจารณาเพิ่มหรือลดรายการสินค้าภายใต้โครงการฯ ระยะที่ 2 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับระบบพิกัดศุลกากรสากลขององค์การศุลกากรโลกจาก HS 2017 เป็น HS 2022 ที่จะเกิดขึ้นในปี 2564 ด้วย
 
31. เรื่อง การยื่นขอเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเพื่อระงับการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) และการอุดหนุน (Countervailing : CVD) สินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทย ในรูปแบบการกำหนดราคาขั้นต่ำและ/หรือโควตาภาษี (Undertaking Agreement)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยื่นขอเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเพื่อระงับการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) และการอุดหนุน (Countervailing : CVD) สินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทย ในรูปแบบการกำหนดราคาขั้นต่ำและ/หรือโควตาภาษี (Undertaking Agreement) ตามร่างกรอบเจรจาจัดทำความตกลงเพื่อระงับการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   1. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ประกาศผลชั้นต้น (Preliminary Determination) กำหนดให้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนชั่วคราวสำหรับสินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทย เป็นระยะเวลา 120 วัน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 โดยกำหนดอัตราอากรเรียกเก็บ
                             - อัตราอากรตอบโต้การอุดหนุนชั่วคราว (CVD) ในอัตราร้อยละ 4.65
                             - อัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราว (AD) ในอัตราร้อยละ 44.23 สำหรับสินค้าน้ำตาลทราย (ภายใต้พิกัด 1701.99.10  1701.99.90  1701.91.00 และ 1702.90.91)
                             - อัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราว (AD) ในอัตราร้อยละ 29.23 สำหรับสินค้าน้ำตาลทรายดิบ (ภายใต้พิกัด 1701.13.00 และ 1701.14.00)
                             ทั้งนี้ อาจพิจารณาบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนย้อนหลังสำหรับสินค้าน้ำตาลที่นำเข้าเวียดนาม 90 วัน ก่อนวันบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนชั่วคราว
                   2. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบการยื่นขอเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเพื่อระงับการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) และการอุดหนุน (Countervailing : CVD) สินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทย ในรูปแบบการกำหนดราคาขั้นต่ำและ/หรือโควตาภาษี (Undertaking Agreement) ตามร่างกรอบเจรจาจัดทำความตกลงเพื่อระงับการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนสินค้าน้ำตาลที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                  ทั้งนี้  หากประเทศไทยไม่ดำเนินการใด ๆ กรณีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) และการอุดหนุน (Anti-Subsidy : AS) จะมีผลกระทบ ดังนี้
                   1. ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเรื่องราคาจำหน่ายเนื่องจากสินค้าต้องเสียภาษีมากกว่าคู่แข่งในประเทศอาเซียน
                   2. สูญเสียโอกาสทางการตลาด เนื่องจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นตลาดที่มีความต้องการนำเข้าน้ำตาลประมาณ 700,000 – 800,000 ตันต่อปี แม้ว่าการนำเข้าจะดำรงอยู่แต่มีโอกาสที่ premium น้ำตาลทรายของไทยจะลดต่ำลง ทำให้รายได้ลดน้อยลง
 

แต่งตั้ง

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงบประมาณ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 
                   1. นายยุทธนา สาโยชนกร ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 2 สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563  
                   2. นายพยุงศักดิ์ ครเจริญ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2563  
                   3. นายบุญชู ประสพกิจถาวร ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2563
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ครบวาระ ดังนี้ 
                   1. นายพชร ยุติธรรมดำรง           
                   2. นายวรากรณ์ สามโกเศศ 
                   3. นายประสัณห์ เชื้อพานิช  
                    4. นายมนูญ สรรค์คุณากร 
                   5. นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ 
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
 
34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์สมพงษ์ จิตระดับ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคประชาสังคม) ในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง และให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในวาระเท่าที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
 
35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา ที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ 
                   1. รับทราบกรณี นายวณิชย์ อ่วมศรี พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา เนื่องจากขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 
                   2. เห็นชอบแต่งตั้ง นางปัทมา วีระวานิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา ในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนผู้ที่ลาออก (ตามข้อ 1.)
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไปให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาการศึกษา ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
 
36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายกมล รอดคล้าย เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางกนกวรรณ วิลาวัลย์)] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
 
37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง จำนวน 2 ราย ได้แก่
                   1. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   2. นายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 

..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: