12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ตั้งเป้าส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี | ที่มาภาพประกอบ: NASA (CC BY-NC-ND 2.0)
สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564 ว่านายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม กล่าวว่า เทคโนโลยีอวกาศ โดยเฉพาะดาวเทียม เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์กันมายาวนานเป็นปกติ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และต่อไปในอนาคตเรื่องของ internet of things ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนเทคโนโลยีจากเสาสัญญาณมาเป็นส่งสัญญาณจากดาวเทียม ที่กว้างไกลและครอบคลุมกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อุปโภคกันเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้นประเทศไทยควรพึ่งพาตนเองได้ในเทคโนโลยีอวกาศอย่างยั่งยืน
ซึ่งเป้าหมายหนึ่งของ TSC คือ สร้างยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี แต่สิ่งที่เป็น output หลักคือผลพลอยได้ระหว่างทางไปเป้าหมายคือได้สร้างคนเก่ง สร้าง startup ที่จะเป็น seeds ของ supply chain ของ TSC สร้าง space economy ในประเทศให้เกิดขึ้นได้
นายศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานเลขานุการภาคีฯ เปิดเผยว่า ภาคีความร่วมทืออวกาศไทย มีเป้าหมายสำคัญคือ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยี ยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงในประเทศ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญนักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกรรมรุ่นใหม่ร่วมกันสร้างและพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กโดยใช้องค์ความรู้ภายในประเทศ เรียนรู้ลงมือทำโดยตรง ทดสอบและควบคุมการใช้งานโดยฝีมือคนไทย รวมถึงออกแบบ และสร้างอุกฃปกรณ์ Playload เพื่อใช้งานด้านต่างๆ. เช่น กล้องถ่ายภาพที่มีความสามารถในการถ่ายภาพในหลายความยาวคลื่น สามารถประยุกต์ใช้กับด้านการเกษตร การใช้พื้นที่ของประชากร และบรรยากาศ
ทั้งนี้ 12 หน่วยงาน จะมีบทบาทสนับสนุนการทำงานของภาคี ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย งานวิศวกรรม งานแอพลิเคชัน งานวิจัยและพัฒนา งานสนับสนุนการศึกษา และงานสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการ ความเชี่ยวชาญและกำลังคนแต่ละหน่วยงานที่มีอยู่
“นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า อีก 20ปีข้างหน้า ตลาดอุตสาหกรรมอวกาศทั้งโลกจะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าหลายเท่าของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าอุตสาหกรรมอวกาศอยู่ในช่วงขาขึ้น และไทยต้องใช้ห้วงเวลานี้ตักตวงโอกาสพัฒนาศักยภาพการผลิตให้ทันท่วงที เมื่อ 30 ปีก่อน ไทยตกขบวนเซมิคอนดักเตอร์แต่วันนี้เราจะไม่ตกขบวนอวกาศ” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าว
จากนั้นได้มีการลงนามบันทึกความเจ้าใจว่าด้วยความร่วมมือก้านการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย ของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำและสถาบัน อุดมศึกษา 12 หน่วยงาน
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ