เสียงสะท้อนความต้องจากชุมชนที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQAN+)

เรียบเรียงโดย: มัจฉา พรอินทร์ | 7 พ.ค. 2564 | อ่านแล้ว 3373 ครั้ง


การเข้าถึงวัคซีน COVID-19 สำหรับทุกคน เสียงสะท้อนความต้องจากชุมชนที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQAN+)

 

นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กว่า  1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระกระทบต่อประชาชนทั้งมิติสุขภาพ การเมือง เศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งได้เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ ที่การแพร่รบาดของโรคโควิด 19 ในระลอกที่ 3 นี้ ทำให้ชุมชนฯเผชิญความยากลำบามากกว่าทุกๆครั้ง ทั้งการตกงาน การไม่มีรายได้ ส่งผลให้เกิดความอดอยาก รวมทั้งทำให้หลายคนตกอยู่ในสภาวะไร้บ้าน ในขณะที่การเข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยา เต็มไปด้วยข้อจำกัด ซึ่งการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในระดับนานาชาติ ได้มีตัวอย่างจากหลายประเทศที่ทำให้เห็นว่า การรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การเร่งให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนให้ได้มากที่สุด จนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นี้เองได้ที่มีส่วนทำให้องค์กรที่ทำงานประเด็นด้านสิทธิหลากหลายทางเพศ เกิดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายทำงานเพื่อหาแนวทางสนับสนุนให้เกิดการช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในชุมชน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTIQNA+

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เครือข่ายฯนี้จึงได้มีการจัดเสวนาออนไลน์ขึ้นในหัวข้อ “การเข้าถึงวัคซีน COVID-19 สำหรับทุกคน” โดยมีองค์กรร่วมจัด ได้แก่ มูลนิธิแอพคอม - APCOM องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชนและองค์กร V-Day Thailand  มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ - SWING, เครือข่ายสุขภาพและโอกาส (HON), บางกอกเรนโบว์ - Bangkok rainbow  และอีกหลายองค์กรในเครือข่ายฯ ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) สร้างความความตระหนักในประเด็นบริบทและท้าทายที่ชุมชนความหลากหลายทางเพศกำลังเผชิญ ในสภาวะที่มีการระบาดของ COVID-19 (2) สะท้อนเสียงและความต้องการของชุมชนความหลากหลายทางเพศ ให้สังคมได้รับรู้และเข้าใจ เพื่อสนับสนุนให้เกิดมีส่วนร่วมในของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และ (3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะต่อสังคมในเรื่อง ความเป็นธรรมในการเข้าถึง วัคซีน COVID-19 สำหรับทุกคน โดยมีผู้ร่วมเสวนา คือ คุณกสินธร หงส์ลาวัณย์  และคุณมิดไนท์  พูนเกษตรวัฒนา จาก มูลนิธิแอพคอม - APCOM คุณนพนัย  ฤทธิวงศ์ (ซีซ่า) จากมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ - SWING คุณสมชัย  พรมสมบัติมูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์ คุณมัจฉา พรอินทร์ จากองค์กรสร้างสรรคือนาคตเยาวชน และ V-Day ประเทศไทย รวมถึงคุณทฤษฏี  สว่างยิ่ง เครือขายสุขภาพและโอกาส - HON โดยมีผู้ดำเนินรายการ คือ คุณนิกร ฉิมคง จากองค์กรบางกอกเรนโบว์

ตัวแทนผู้เข้าร่วมเสวนาล้วนเป็นคนที่ทำงานในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ อย่างมีความทับซ้อน (Intersectionality)กับอัตลักษณ์ที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มที่เปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบัติและถูกกีดกันให้ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและ/หรือการแก้ไขปัญหาในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เผชิญอยู่ ซึ่งได้แก่ พนักงานบริการ - Sex Worker ชุมชนคนที่อยู่ร่วมกับ HIV และชนเผ่าพื้นเมืองที่มีสถานะไร้สัญาติ เป็นต้น

การเสวนาในครั้งนี้มีคุโณปการอย่างยิ่งต่อสังคม เพราะได้สะท้อนเสียง ความต้องการ ตลอดจนข้อเสนอแนะในเรื่องของความเป็นธรรม ในการเข้าถึงวัคซีน COVID -19 สำหรับทุกคน ทั้งนี้ในส่วนของข้อเสนอแนะในการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 สำหรับทุกคน จากการเวทีในครั้งนี้ เช่น ประเทศไทยต้องส่งเสริมเกิดการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และรวดเร็ว โดยต้องไม่กีดกันการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ของกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ ดังนั้นรัฐบาลควรเปิดพื้นที่ที่จะรับฟังความคิดเห็น และสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงที่ทำงานด้านสิทธิหลากหลายทางเพศ  เป็นต้น (ลิ้งค์เสวนา: https://www.facebook.com/apcom.org/videos/4112070895479822/?vh=e&d=n)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: