องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกโรงเตือนว่าภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีกไม่ถึง 30 ปีข้างหน้านี้ ผู้คนทั่วโลกราว 25% อาจเผชิญกับปัญหาการได้ยิน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกทุ่มงบลงทุนเพื่อการรักษาและป้องกันภาวะดังกล่าว
VOA รายงานเมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค. 2021 ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่าภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีกไม่ถึง 30 ปีข้างหน้านี้ ผู้คนทั่วโลกราว 25% อาจเผชิญกับปัญหาการได้ยิน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกทุ่มงบลงทุนเพื่อการรักษาและป้องกันภาวะดังกล่าว
WHO ออกรายงานว่าด้วยปัญหาการได้ยินของผู้คนทั่วโลก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยระบุว่าปัจจุบันประชากรโลกราว 1 ใน 5 หรือ 20% มีปัญหาการได้ยิน และคาดว่าในปี 30 ปีข้างหน้า จะมีผู้คนที่สูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 ล้านคน คิดเป็นราว 1 ใน 4 ของประชากรโลก และ 700 ล้านคนในนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ปัญหาการได้ยินในรายงานขององค์การอนามัยโลก ครอบคลุมทั้งจากการติดเชื้อ ภาวะจากโรคต่าง ๆ ความบกพร่องทางการได้ยินมาแต่กำเนิด การสูญเสียการได้ยินจากมลภาวะทางเสียง และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อปัญหาการได้ยิน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถป้องกันได้แต่เนิ่น ๆ
นายเทดรอส อัดนอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เสนอให้มีมาตรการป้องกันและรักษา โดยประเมินว่าต้องมีค่าใช้จ่ายราว 1.33 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี หรือราว 40 บาทต่อคนต่อปี หากไม่ผลักดันการลงทุนเพื่อการป้องกันและรักษาในเรื่องนี้ ปัญหาการได้ยินอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้เกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีทั่วโลก
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ