มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามไปยังเฟซบุ๊กเพจ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สรุปได้ว่าปลั๊กไฟพ่วงที่มีฟิวส์ผิดกฎหมาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ เมื่อเกิดการใช้ไฟเกิน และ ต่อมาเกิดความร้อนจะทำให้ฟิวส์ละลาย และไม่สามารถใช้งานได้อีก ในขณะที่ปลั๊กไฟพ่วงในขณะนี้ที่ถูกกฎหมายจะใช้ระบบเบรกเกอร์ ซึ่งจะทำการตัดไฟเมื่อเกิดการใช้กระแสไฟเกินได้ | ที่มาภาพประกอบ: ปลั๊กไทยดอทคอม
11 มิ.ย. 2564 เพจมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รายงานว่าจากการที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ลงข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อปลั๊กไฟพ่วงไปก่อนหน้านี้ และเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ออกมาเผยแพร่ ประเด็นเรื่อง ปลั๊กไฟที่มีฟิวส์ ผิดกฎหมาย ห้ามซื้อ - ขาย โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ชุดสายพ่วง เป็นสินค้าที่ สมอ. ควบคุม ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2432 - 2555 ซึ่งผู้ทำ หรือนำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. ก่อน โดยในข้อกำหนดของ มอก. ดังกล่าว จะมีการระบุว่า “ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน”
.
และจากการที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามไปยัง เฟซบุ๊กเพจ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สรุปได้ว่า ปลั๊กไฟพ่วงที่มีฟิวส์ผิดกฎหมาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ เมื่อเกิดการใช้ไฟเกิน และ ต่อมาเกิดความร้อนจะทำให้ฟิวส์ละลาย และไม่สามารถใช้งานได้อีก ในขณะที่ปลั๊กไฟพ่วงในขณะนี้ที่ถูกกฎหมายจะใช้ระบบเบรกเกอร์ ซึ่งจะทำการตัดไฟเมื่อเกิดการใช้กระแสไฟเกินได้ (มาตรฐานบังคับ ทาง สมอ. สามารถดาวน์โหลดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่)
โดยเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564 เว็บไซต์ ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND รายงานว่าตามที่มีข้อความปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ปลั๊กไฟที่มีฟิวส์ ผิดกฎหมาย ห้ามซื้อ-ขาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
จากกรณีการโพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องชุดสายพ่วงนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริง ชุดสายพ่วง เป็นสินค้าที่ สมอ. ควบคุม ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2432-2555 ซึ่งผู้ทำ หรือนำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. ก่อน โดยในข้อกำหนดของ มอก.ดังกล่าว จะมีการระบุว่า “ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน” ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มอก. 2432-2555 เลือกซื้อ ชุดสายพ่วง อย่างไร จึงปลอดภัย ได้จากกองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) http://pr.tisi.go.th/16770/
และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.tisi.go.th/ หรือโทร. 02 202 3300
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ