เดือน ก.พ.64 ผู้ประกันตนว่างงาน 310,031 คน ถูกเลิกจ้าง 114,890 คน วิกฤตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11

กองบรรณาธิการ TCIJ 11 เม.ย. 2564 | อ่านแล้ว 6602 ครั้ง

เดือน ก.พ. 2564 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ม.33 ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 310,031 คน ถูกเลิกจ้าง 114,890 คน สถานการณ์ 'ว่างงาน-เลิกจ้างเข้าสู่วิกฤต' ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 - ธปท.ระบุเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เกาะติดตลาดแรงงานมีผู้ว่างงาน 8.9 หมื่นราย | ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

ข้อมูลจาก รายงานเศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน ก.พ. 2564 โดยกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่าเดือน ม.ค. 2564 มีแรงงานในระบบประกันสังคมหรือผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11,100,132 คน ลดลงร้อยละ (-5.07) เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. 2563 (จำนวน 11,692,429 คน) และเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2564 (จำนวน 11,055,513 คน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40

ประเภทกิจการที่มีการจ้างงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต 3.15 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 28.40 ของลูกจ้างทั้งหมด) โดยแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ยางและพลาสติก คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ฯ ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ยานยนต์ฯ ตามลำดับ เป็นสำคัญ รองลงมา คือ การค้า 1.66 ล้านคน (ร้อยละ 14.98) การบริหารราชการฯ 1.06 ล้านคน (ร้อยละ 9.58) ก่อสร้าง 0.58 ล้านคน (ร้อยละ 5.20) การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 0.46 ล้านคน (ร้อยละ 4.12) และตามลำดับ เป็นสำคัญ

การจ้างงานเพิ่มขึ้น (10 อันดับแรก) ปี 2564 [หน่วย: +เพิ่มขึ้นต่อปี (%)] ได้แก่ 1. การบริหารราชการ: +68,673 คน (6.93%) 2. กิจกรรมไปรษณีย์และการรับส่งพัสดุภัณฑ์: +12,802 คน (34.64%) 3. การขนส่งทางอากาศ +12,541 คน (73.48%) 4. การขนส่งทางบกและท่อลำเลียง: +6,346 คน (2.71%) 5. การซ่อมและการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์: +1,835 คน (1.88%) 6. การบริการทางการเงินและการประกันภัย: +1,787 คน (4.01%)
7. การจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฯ: +1,581 คน (2.87%) 8. การขุดเจาะปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ: +1,485 คน (3.75%) 9. ไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ: +1,183 คน (8.29%) และ 10. การผลิตถ่านโค้กและการกลั่นปิโตรเลียม: +1,146 คน (6.12%)

การจ้างงานลดลง (10 อันดับแรก) ปี 2564 [หน่วย: -ลดลงต่อปี (%)] ได้แก่  *1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: -153,846 คน (-29.93%) *2. การก่อสร้างอาคาร: -33,120 คน (-10.25%) *3. การขายปลีก: -30,680 คน (-4.80%) 4. การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร: -28,069 คน (-5.12%) *5. การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย: -24,730 คน (-19.82%) *6. ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว การจัดนำเที่ยวฯ: -20,929 คน -47.90%) 7. การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ: -20,262 คน (-6.73%) *8. การขายส่ง: -19,452 คน (-2.44%) 9. การผลิตยานยนต์ฯ: -18,714 คน (-6.33%) และ 10.การผลิตสิ่งทอ: -17,428 คน (-14.76%) (หมายเหตุ: * ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19)

สถานการณ์การว่างงาน [ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม (สำนักงานประกันสังคม : SSO)] เดือน ก.พ. 2564 มีผู้ว่างงานจำนวน 310,031 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.23 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. 2563 (จำนวน 151,802 คน) และเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2564 (จำนวน 366,734 คน) ลดลงร้อยละ (-15.46) 

สถานการณ์ว่างงานเข้าสู่วิกฤตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11: การว่างงานขยายตัวร้อยละ 104.23 ต่อปี (yoy) ยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 158,229 คนต่อปี สูงกว่าเกณฑ์วิกฤตที่ 40,520 คนต่อปี สอดคล้องกับที่ประมาณการไว้ในระบบเตือนภัยด้านแรงงานว่าจะเกิดวิกฤตว่างงานแบบระยะยาวขึ้นในช่วงนี้

ประเภทกิจการที่มีการว่างงานสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต 23,352 คน (คิดเป็นร้อยละ 20.33 ของผู้ถูกเลิกจ้างทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่อยู่ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ สาขายานยนต์ฯ ผลิตภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามลำดับ เป็นสำคัญ รองลงมา คือ ที่พักแรม/ร้านอาหาร 21,211 คน (ร้อยละ 18.46) การค้า 8,600 คน (ร้อยละ 7.49) ขนส่ง/สถานที่เก็บสินค้า 5,265 คน (ร้อยละ 4.58) กิจกรรมการบริหาร/การบริการสนับสนุน 4,190 คน (ร้อยละ 3.65) และก่อสร้าง 3,666 คน (ร้อยละ 3.19) ตามลำดับ เป็นสำคัญ

ประมาณการ: การว่างงานในระบบมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยประมาณการว่า เดือน มี.ค. เม.ย. และ พ.ค. 2564 การว่างงานในระบบจะยังอยู่ในภาวะวิกฤตการว่างงานเนื่องจากมีแนวโน้มขยายตัว 148,598 139,618 และ 130,168 คน จากระยะเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ

การว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุด (10 อันดับแรก) ปี 2564 [หน่วย: +เพิ่มขึ้นต่อปี (%)] ได้แก่ *1. ที่พักแรม: +24,202 คน (555.20%) *2. การค้าส่งค้าปลีก: +17,802 คน (85.99%) *3. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม: +7,018 คน (181.50%) 4. การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร: +4,873 คน (86.26%) *5. การก่อสร้างอาคาร: +4,801 คน (150.54%) 6. การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง: +4,772 คน (199.83%) 7. การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ฯ: +3,596 คน (129.14%) 8. กิจกรรมคลังสินค้า/สนับสนุนการขนส่ง: +3,527 คน (210.39%) 9. การผลิตคอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์: +3,420 คน (85.59%) *10.การขนส่งทางบกและท่อล่าเลียง: +3,411 คน (84.60%) (หมายเหตุ: * ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19)

อัตราการว่างงานสูงสุด (10 อันดับแรก) ปี 2564 ได้แก่ *1. กิจกรรมศิลปะ และความบันเทิง: 28.06 *2. ที่พักแรม: 15.38 *3. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: 14.77 4.กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการท่าเหมืองแร่: 14.06 5. กิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ: 12.10 6. การขนส่งทางน้ำ: 7.48 *7. กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ: 7.46 *8. การขนส่งทางอากาศ: 7.32 *9. กิจกรรมกีฬา และนันทนาการ: 5.85 และ 10. กิจกรรมการให้การดูแลที่ให้ที่พัก: 5.39 (หมายเหตุ: * ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19)

สถานการณ์การเลิกจ้าง เดือน ก.พ. 2564 มีผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างจากสำนักงานประกันสังคม มีจำนวน 114,890 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 272.80 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. 2563 (จำนวน 30,818 คน) และเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา (จำนวน 171,075 คน) ลดลงร้อยละ (-32.84) และอัตราการเลิกจ้างของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างของระบบประกันสังคมในเดือนก.พ. 2564 เท่ากับ 1.01 

สถานการณ์เลิกจ้างเข้าสู่วิกฤตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11: ขยายตัวร้อยละ 272.80 ต่อปี (yoy) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้น 84,072 คนต่อปี สูงกว่าเกณฑ์ที่ 18,820 คนต่อปี สอดคล้องกับที่ประมาณการไว้ในระบบเตือนภัยด้านแรงงานว่าจะเกิดวิกฤตเลิกจ้างแบบระยะยาวขึ้นในช่วงน

ประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างสูงสุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต 23,352 คน (คิดเป็นร้อยละ 20.33 ของผู้ถูกเลิกจ้างทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่อยู่ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์ สาขายานยนต์ฯ ผลิตภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามล่าดับ เป็นส่าคัญ รองลงมา คือ ที่พักแรม/ร้านอาหาร 21,211 คน (ร้อยละ 18.46) การค้า 8,600 คน (ร้อยละ 7.49) ขนส่ง/สถานที่เก็บสินค้า 5,265 คน (ร้อยละ 4.58) กิจกรรมการบริหาร/การบริการสนับสนุน 4,190 คน (ร้อยละ 3.65) และก่อสร้าง 3,666 คน (ร้อยละ 3.19) ตามลำดับ เป็นสำคัญ

ประมาณการ: การเลิกจ้างในระบบมีแนวโน้มลดลง โดยประมาณการว่าในเดือน มี.ค. เม.ย. และ พ.ค. 2564 การเลิกจ้างในระบบจะยังอยู่ในภาวะวิกฤตการเลิกจ้างเนื่องจากมีแนวโน้มขยายตัว 24,675 คน และลดลงเท่ากับ 25,069 คนและ 54,394 คน ในเดือน พ.ค. 2564 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ระดับวิกฤตการเลิกจ้างที่ขยายตัว 18,820 คน [หมายเหตุ: จ่านวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานสาเหตุเลิกจ้างที่ไม่สามารถแยกประเภทกิจการได้ (tsic99999) มีจ่านวน 35,461 คนสถานการณ์และประมาณการแนวโน้มการเลิกจ้างปริมาณการเปลี่ยนแปลง (คนYoY)]

การเลิกจ้างเพิ่มขึ้น (10 อันดับแรก) ปี 2564 [หน่วย: +เพิ่มขึ้นต่อปี (%)] ได้แก่ *1. ที่พักแรม: +21,342 คน (6,029.08%) *2. การค้าส่งค้าปลีก: +6,465 คน (236.33%) *3. การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม: +4,371 คน (1,024.71%) 4. การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง: +3,920 คน (568.52%) *5. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: +3,177 คน (1,672.92%) 6. การผลิตคอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์: +2,844 คน (208.47%) 7. กิจกรรมคลังสินค้า/สนับสนุนการขนส่ง: +2,842 คน (695.78%) 8. การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร: +2,524 คน (358.92%) *9. การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย: +2,340 คน (298.38%) และ *10.การก่อสร้างอาคาร: +2,137 คน (429.55%) (หมายเหตุ: * ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19)

อัตราการเลิกจ้างสูงสุด (10 อันดับแรก) ปี 2564 ได้แก่ *1. กิจกรรมการสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิง: 25.83 *2. กิจกรรมของตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวฯ: 12.55 3.กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการท่าเหมืองแร่: 12.54 *4. ที่พักแรม: 11.67 *5. กิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่น ๆ: 9.18 6. การขนส่งทางน้่า: 5.41 *7. การขนส่งทางอากาศ: 5.13 8. การท่าเหมืองถ่านหินและลิกไนต์: 4.01 9. กิจกรรมบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ: 3.93 และ *10. กิจกรรมกีฬา และนันทนาการ: 3.66

ธปท.ระบุเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เกาะติดตลาดแรงงานมีผู้ว่างงาน 8.9 หมื่นราย

เว็บไซต์เดลีนิวส์ รายงานว่า น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.ทยอยปรับดีขึ้น หลังจากการระบาดโควิด-19 คลี่คลาย เนื่องจากการบริโภคเอกชนทยอยฟื้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น และได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวแต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง โดย ธปท.จะติดตามตลาดแรงงานที่ยังเปราะบาง จากจำนวนผู้ขอรับสิทธิว่างงานใหม่ในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น โดยในเดือน ก.พ. 2564 มีผู้ขอรับสิทธิว่างงาน 89,380 ราย จากเดือน ม.ค. 71,592 ราย

“สัญญาณขยายตัวไม่ทั่วถึงมาจากตลาดแรงงาน เนื่องจากผู้ขอรับสิทธิว่างงานใหม่ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และต้องติดตามใกล้ชิด และการฟื้นตัวภาคธุรกิจที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งหลังจากได้คุยกับภาคธุรกิจ ภาคการค้าและบริการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ แม้ว่าปรับดีขึ้นและจากมาตรการภาครัฐปรับดีขึ้น แต่ต้องติดตามดูต่อไป เห็นจากในเดือน มี.ค.กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมา แต่อาจติดตามเรื่องการระบาดของคลัสเตอร์ต่างๆ ว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้หรือไม่”

นอกจากนี้ในเดือน ก.พ. การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นตามการนำเข้าสินค้าทุกที่ปรับดีขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำยังขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า โดยการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานต่ำในปีก่อน ซึ่งภาคการท่องเที่ยวยังหดตัวสูงจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีอยู่

น.ส.ชญาวดี กล่าวว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกฟื้นตัว ถ้าเทียบกันกับจีดีพีไตรมาสแรกอาจไม่ได้ดีเท่าปีก่อนที่ยังไม่ได้ปิดเมือง ส่วนความเสี่ยงตลาดแรงงานที่ต้องติดตาม รายได้ต้องกลับมา และการเปิดประเทศเป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาการฟื้นตัวไม่เท่าเทียม และช่วยเหลือตลาดแรงงานในช่วงที่บางกลุ่มยังไม่กลับมา

“มาตรการรัฐ คนละครึ่ง เราชนะ ม33เรารักกัน ช่วงที่ผ่านมาภาครัฐมีบทบาทเยอะ กระตุ้นบริโภคโดยตรง เห็นจากยอดขายผู้ประกอบการดี ทำให้ไตรมาส 1-2 มีต่อเนื่อง ส่วนครึ่งปีหลังไตรมาส 3-4 การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ส่งผลดีต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ถ้าไม่มี เปิดไม่ได้ ภาครัฐก็ต้องเข้ามาช่วยส่วนนี้ คาดว่าไตรมาส 4 นักท่องเที่ยวจะเข้ามาเยอะ”

อย่างไรก็ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบมากขึ้น ตามอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในทุกหมวดหลัก โดยเป็นผลจากมาตรการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปาเพื่อบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชนเป็นสำคัญ ด้านตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง สะท้อนจากสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานใหม่ในระบบประกันสังคมต่อผู้ประกันตนทั้งหมดที่ยังเพิ่มขึ้น สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นกว่าเดือนก่อน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: