เปิดรายละเอียดโครงการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 10,000 อัตรา วงเงิน 2,254.32 ล้านบาท (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น) โดยให้ได้ค่าตอบแทน 18,000 บาทต่อเดือน ตลอดสัญญาณการจ้างงาน ตลอดสัญญาณการจ้างงาน โดยต้องคุณสมบัติของผู้สมัคร จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 10,000 อัตรา วงเงิน 2,254.32 ล้านบาท (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น) โดยให้ได้ค่าตอบแทน 18,000 บาทต่อเดือน ตลอดสัญญาณการจ้างงาน โดยต้องคุณสมบัติของผู้สมัคร จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยรายละเอียดทั้งหมดมีดังต่อไปนี้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอดังนี้
1. เห็นชอบข้อเสนอแนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ และผลการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ จำนวน 10,000 อัตรา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. อนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,254.32 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ตามนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
เรื่องเดิม
คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 กันยายน 2563) รับทราบรายงานสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในราชการพลเรือนในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ซึ่งรวมถึงแนวทางเพิ่มโอกาสการจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ด้วยระบบพนักงานราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยมีหลักการสำคัญ คือ ไม่ใช่การจ้างงานประจำ เป็นการจ้างงานระยะสั้น และบรรจุบุคคลเข้าปฏิบัติงานให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) จะพิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเป็นกรณีพิเศษให้แก่ส่วนราชการเพื่อจ้างพนักงานราชการได้ไม่เกิน 2 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565) เน้นการกระจายการจ้างงานลงสู่ระดับพื้นที่ ตลอดจนกำหนดรูปแบบการจ้าง อัตราค่าตอบแทน วิธีการสรรหาและการบริหารการจ้างเป็นการเฉพาะ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า
1. สำนักงาน ก.พ. ได้จัดทำแนวทางและวิธีดำเนินการจ้างพนักงานราชการรวมทั้งข้อเสนอแนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 เป็นกรณีเฉพาะ และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาการว่างงานของบัณฑิตจบใหมในระยะสั้น (1 ปี) เสนอต่อ คพร.
2. คพร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 และครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ และอนุมัติจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการฯ จำนวน 10,000 อัตรา รวมทั้งเห็นชอบงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้าง จำนวน 2,254.32 ล้านบาท และแผนการดำเนินการตามที่ฝ่ายเลขานุการ คพร. เสนอ โดยมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการขอใช้งบประมาณรายจ่าย งบกลาง และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. รายละเอียดการดำเนินการ
3.1 แนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจให้ยกเว้นการดำเนินการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ในข้อ 16 และข้อ 17 ตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 [เป็นการยกเว้นการดำเนินการตามประกาศฯ ที่กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำกรอบอัตรากำลัง แต่ในครั้งนี้ คพร. ได้พิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังให้แก่ส่วนราชการเอง โดยส่วนราชการไม่ได้เป็นผู้เสนอขอกรอบอัตรากำลัง] โดยมีรายละเอียดการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น | รายละเอียดการดำเนินการ |
1) หลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังให้แก่ส่วนราชการ | - เป็นหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด หรือหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นหน่วยปฏิบัติ รวม 14 กระทรวง (28 ส่วนราชการ) ซึ่งมีภารกิจ/งานที่สามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 1 ปี - เป็นส่วนราชการที่มีภารกิจสำคัญ เร่งด่วน ที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมทั้งส่วนราชการที่ให้บริการประชาชน - พิจารณาตามขนาดของจังหวัด (ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่) เพื่อให้เกิดการกระจายการจ้างงานและสอดคล้องกับพื้นที่ - ให้ส่วนราชการที่ได้รับจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจสามารถเกลี่ยกรอบอัตรากำลังระหว่างหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด หรือหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นหน่วยปฏิบัติตามที่ คพร. มีมติอนุมัติ เพื่อให้สอดคล้องกับภาระงานที่ต้องปฏิบัติโดยจะต้องรายงานการจัดสรรและการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้ทันตามกำหนดระยะเวลาที่ คพร. กำหนดด้วย - เพื่อให้การบริหารจัดการกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้ในกรณีใดหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอื่นใด ให้เป็นอำนาจของ คพร. ในการพิจารณาเห็นชอบแนวทางดำเนินการ หรือกลไกการบริหารจัดการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา - ให้นำคำขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ รอบที่ 5 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2567) ของส่วนราชการต่าง ๆ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (26 มกราคม 2564) รับทราบ] และลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งจำนวนอัตรากำลังตามโครงสร้างของหน่วยงานในภูมิภาคมาใช้ประกอบการพิจารณา |
2) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติของผู้สมัคร | พิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังเฉพาะในกลุ่มงานบริหารทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติของผู้สมัครที่กำหนดว่า “จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี” [กำหนดตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. 2554] |
3.2 การสรรหาและการจ้างงาน
ประเด็น | รายละเอียดการดำเนินการ |
1) การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจ ให้ยกเว้นการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 [เป็นการยกเว้นการดำเนินการตามประกาศฯ เฉพาะในส่วนของข้อ 6 (1) วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในการรับสมัคร เช่น ลักษณะงาน กลุ่มงานตามลักษณะงาน เป็นต้น แต่ในครั้งนี้สามารถระบุรายละเอียดดังกล่าวได้อย่างกว้าง ๆ และข้อ 8 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรมีอายุต้องไม่เกิน 2 ปี แต่ในครั้งนี้บัญชีรายชื่อพนักงานราชการดังกล่าว ให้มีอายุไม่เกิน 1 ปี สรุปได้ ดังนี้ | |
- การประกาศรับสมัคร - การขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรร - ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจ |
- จัดทำประกาศรับสมัคร ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะงาน กลุ่มงานตามลักษณะงาน ชื่อตำแหน่ง ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้าง ค่าตอบแทนที่จะได้รับ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร และเงื่อนไขการจ้างอื่น ๆ ตลอดจนกำหนดวันและเวลาของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาจระบุหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรรไว้ในประกาศรับสมัครไว้อย่างกว้าง ๆ (เช่น วิธีการประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะ/สมรรถนะ เป็นต้น) อาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี (เช่น การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ การทดสอบการปฏิบัติ และการพิจารณาแฟ้มผลงาน เป็นต้น) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้สมัคร เพื่อให้ส่วนราชการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาให้เหมาะสมกับจำนวนผู้สมัครได้ - ประกาศรับสมัคร สรรหา และบรรจุบุคคลเข้าเป็นพนักงานราชการตามจำนวนกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการฯ ที่ได้รับการจัดสรร โดยให้กำหนดอายุบัญชีไม่เกิน 1 ปี โดยไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2565 ทั้งนี้ บัญชีดังกล่าวกำหนดให้ใช้สำหรับการบรรจุพนักงานราชการเฉพาะกิจเท่านั้น - อาจดำเนินการสรรหาและเลือกสรรขึ้นกับความพร้อมของส่วนราชการ ได้แก่ (1) ส่วนราชการดำเนินการเอง (2) ส่วนราชการมอบอำนาจให้หน่วยงานประจำจังหวัดดำเนินการ และ (3) หน่วยงานประจำจังหวัดร่วมกับสำนักงานจังหวัดของแต่ละจังหวัดบูรณาการการทำงาน โดยกำหนดวันประกาศและรับสมัครในช่วงระยะเวลาเดียวกันและจัดทำบัญชีแนบท้ายประกาศรับสมัครจากทุกหน่วยงานในคราวเดียวกัน เพื่อให้ผู้สมัครเลือกสมัครในหน่วยงานใดก็ได้ที่มีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัคร ทั้งนี้ อาจขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการประกาศเผยแพร่และรับสมัครพนักงานราชการเฉพาะกิจพร้อมกันทั่วประเทศ |
2) การทำสัญญาจ้างพนักงานราชการฯ | - ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาจ้าง หรือไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2565 ตามที่ คพร. กำหนด และไม่มีการต่อสัญญาจ้าง - ให้สรรหาพนักงานราชการเฉพาะกิจรายใหม่ได้ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลงระหว่างปี และยังไม่ครบระยะเวลาสิ้นสุดของกรอบอัตรากำลัง โดยมีระยะเวลาที่เหลือจะต้องไม่น้อยกว่า 1 เดือน นับถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาของกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 |
3) การติดตามการจ้างงาน | - ให้รายงานผลการจ้างงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 พร้อมทั้ง สภาพปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจได้มายังสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เพื่อฝ่ายเลขานุการ คพร. จะได้รวบรวมเสนอ คพร. ทราบต่อไป |
4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน | - เมื่อครบรอบการประเมิน ให้ส่วนราชการพิจารณาผลงานและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ หากไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง (เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) อาจเลิกจ้างได้ทันที |
5) เงื่อนไขการจ้างงาน | - เป็นไปตามที่ คพร. กำหนด เช่น (1) กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจถือเป็นกรอบอัตรากำลังเฉพาะกิจจะไม่นำไปรวมกับกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการปกติหรือกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพื่อรองรับการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ให้ส่วนราชการยุบเลิกกรอบอัตรากำลังดังกล่าวทันที (2) ห้ามเปลี่ยนแปลงกลุ่มงานใด ๆ ทุกกรณี (3) พนักงานราชการที่ได้รับการจัดสรรในครั้งนี้ไม่สามารถเรียกร้องหรือขอปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นบุคลากรภาครัฐประเภทอื่น และ (4) สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการตามกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ ให้เป็นไปตามที่ คพร. กำหนด |
3.3 ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
ประเด็น | รายละเอียดของการดำเนินการ |
1) การกำหนดค่าตอบแทน | - ให้ได้รับค่าตอบแทน 18,000 บาทต่อเดือน ตลอดสัญญาการจ้างงาน [กำหนดตามบัญชีค่าตอบแทนพนักงานราชการในอัตราแรกบรรจุของกลุ่มงานบริหารทั่วไป คุณวุฒิปริญญาตรี ตามนัยประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561] |
2) การให้ได้รับสิทธิประโยชน์ | - ให้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเว้นเฉพาะในส่วนของสิทธิการลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 120 วัน |
4. แผนการดำเนินการ
4.1 สำนักงาน ก.พ. แจ้งผลการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ ภายในกลางเดือนพฤษภาคม 2564 และให้ส่วนราชการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.)
4.2 ส่วนราชการเริ่มดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการเฉพาะกิจ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2564
4.3 ส่วนราชการรายงานผลการจ้างงาน ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564
4.4 ส่วนราชการรายงานผลสัมฤทธิ์ของการจ้างงาน (ผลผลิต/ผลลัพธ์ของงาน) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565
5. งบประมาณและแหล่งเงินที่ใช้ในการดำเนินการ ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,254.32 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ จำนวน 10,000 อัตรา สรุปได้ ดังนี้
รายการ | ค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ | ||
บาท/คน | ล้านบาท/เดือน | ล้านบาท/ปี | |
1) ค่าตอบแทนพนักงานราชการ | 18,000 | 180 | 2,160 |
2) เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม | 750 | 7.5 | 90 |
3) เงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน | 36 | 0.36 | 4.32 |
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น | 18,768 | 187.86 | 2,254.32 |
6. สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าว โดย สงป. มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
6.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและรับผิดชอบการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจดังกล่าวเป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของระเบียบต่อไป
6.2 ให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอน วิธีดำเนินการจ้างพนักงานราชการ และแผนการดำเนินงานที่ คพร. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 อย่างเคร่งครัด โดยปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐของแต่ละหน่วยรับงบประมาณก่อนเป็นลำดับแรก รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป ตลอดจนเร่งดำเนินการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564 โดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และเห็นสมควรให้สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คพร. ติดตามประเมินผลการดำเนินการ รวมถึงสรุปผลสัมฤทธิ์ ที่ได้รับจากการดำเนินการจ้างและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย
การจัดสรรกรอบอัตราพนักงานราชการเฉพาะกิจ | ||||
หน่วยงาน |
ส่วนกลาง ที่ตั้งในภูมิภาค (หน่วยงาน) |
ส่วนราชการ ในภูมิภาค ระดับจังหวัด (หน่วยงาน) |
รวม (หน่วยงาน) | การจัดสรร (อัตรา) |
กระทรวงการคลัง | 205 |
|
205 | 1,045 |
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | 10 | 300 | 310 | 1,644 |
กระทรวงคมนาคม | 29 | 76 | 105 | 546 |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงพลังงาน | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงมหาดไทย | - | 228 | 228 | 1,218 |
กระทรวงยุติธรรม | - | 94 | 94 | 505 |
กระทรวงแรงงาน | 25 | 304 | 329 | 1,774 |
กระทรวงวัฒนธรรม | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงสาธารณสุข | - | 76 | 76 | 406 |
กระทรวงอุตสาหกรรม | - | 76 | 76 | 406 |
รวมทั้งสิ้น | 10,000 |
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ