บันทึกบทสนาจากห้องเรียนประวัติศาสตร์ 101 "ประวัติศาสตร์คืออะไร (What is History)"
ประเด็นเบื้องต้น อะไรคือ(วิชา)ประวัติศาสตร์ เรียนประวัติศาสตร์เพราะอะไร ใช้ประวัติศาสตร์มองสังคมแบบไหน สอนอย่างไร แล้วน้องนักเรียนคิดถึงประวัติศาสตร์แบบไหน
อรอนงค์ ทิพย์พิมล
อะไรคือประวัติศาสตร์ก็คิดนะคะว่าทั้ง 6 คน 6 ท่านที่ที่ต้องพูดเนี่ยเราจะพูดยังไงให้มันต่างกันได้ค่ะเพราะว่าเราก็เรียนมาคล้ายๆกันนะคะ สารภาพตรงๆ ว่าทุกวันนี้เนี่ยดิฉันก็ยังใช้หนังสือของอาจารย์ชาญวิทย์หนังสือของอาจารย์นิธิสอนอยู่เลย ซึ่งหนังสือที่อาจารย์นิธิกับคุณสุชาติเป็นบรรณาธิการเนี่ยมันพิมพ์ตั้งแต่ก่อนดิฉันเกิดนะคะดิฉันก็อายุไม่น้อยนะ แต่ว่าหนังสือเล่มนั้นได้พิมพ์ก่อนฉันเกิดของอาจารย์อาคม พ.ศ. 2525
จริงๆ ตัวเองค่อนค้างนิยามตัวเองว่าเป็นประวัติศาสตร์สมัยใหม่หรือร่วมสมัยหมายถึงว่าเรื่องที่ทำมันค่อนข้างสมัยใหม่ไม่ค่อยได้ทำอะไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เลย หมายถึงว่าประวัติศาสตร์เก่าๆ ที่ตัวเองทำก็คือยุคอาณานิคม แต่ว่าเมื่อมาสอนที่ธรรมศาสตร์เนี่ยเขาก็วางให้สอนวิชาพื้นฐานการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งตอนที่เรียนเนี่ยมันไม่มีนะคะ แต่ว่ามันสอดแทรกอยู่ มันไม่มีวิชานี้โดยเฉพาะ ตอนนี้เขาเรียกว่าวิชา 200 ก็เริ่มด้วยนี่แหละค่ะ ที่อาจารย์ชัยพงษ์ให้การบ้านมาเลยว่าอะไรคือวิชาประวัติศาสตร์ อะไรคือประวัติศาสตร์
ถ้าคนที่เคยเรียนมาแล้วเนี่ยก็ต้องทราบแน่ๆ ว่ามันมีสองความหมายกว้างๆ ซึ่งขยายไปมากกว่านั้นแล้ว เช่น อาจารย์ธงชัยบอกว่ามีความหมายที่ 3 4 5 แต่อย่างน้อยคนที่เรียนมาต้องรู้ว่ามันมีความหมายอย่างน้อยๆ 2 ความหมายกว้างๆ ก็คืออดีตเหตุการณ์ที่มันผ่านมาแล้วของมนุษยชาติ สองก็คือศาสตร์วิชาแขนงหนึ่งหรืองานเขียนหมดทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการรู้ความจำ การทำความเข้าใจการศึกษาสร้างคำอธิบายที่เกิดขึ้นในอดีตอะไรพวกนี้ที่พวกเรามาเรียนกันเป็นสาขาวิชาของพวกเรา ก็คือเป็นสิ่งที่ฉันคิดว่าคนที่เรียนประวัติศาสตร์ก็คงจะได้ประมาณนี้เหมือนกันนะคะ ของตัวเองก็อาจจะแตกต่างจากที่จากที่เราได้สอนนักศึกษาปกติเวลาที่ตัวเองสอนนักศึกษาเราก็จะไม่ได้เลคเชอร์ก่อนน่ะค่ะ ก็จะถามเขาก่อนว่าเขาเพิ่งเข้ามาใช่ไหมคะ เขาคิดว่าประวัติศาสตร์คืออะไรในความคิดของเขา ชวนคุยแล้วก็เราก็บอกว่าอาจจะมีคำนิยามไว้แบบนี้แล้วก็ให้ไปอ่านงานแบบนี้ ซึ่งก็จะเป็นงานที่ฉันเกริ่นมาเมื่อกี้
อาจจะมีงานสมัยใหม่หน่อยงานแปลนะคะ อย่างเช่นงานของอาจารย์อาจารย์ไชยันต์ ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์ แต่ว่าเล่มหลักๆ ที่ใช้ปรัชญาประวัติศาสตร์กับหลักฐานประวัติศาสตร์ภายในประเทศไทย ซึ่งสอนไปก็รู้สึกละเหี่ยใจ ไม่ใช่ว่างานไม่ดีนะคะ แต่ทำไมไม่มีงานสมัยใหม่ที่มีคนทำขึ้นมาเลยเพื่อที่จะเอามาใช้ในการสอนวิชาจากนี้โดยเฉพาะ
อย่างเมื่อกี้อย่างที่อาจารย์ชัยพงษ์พูดมันมีมันมีการศึกษามันมีการบูมขึ้นมาอีกครั้งนึงของการศึกษาประวัติศาสตร์ทำไมมันไม่มีแบบไม่มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เยอะนะคะแต่ว่าหนังสือที่จะมาใช้เป็นพื้นฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์จริงๆ น่ะมันยังน้อย แต่ก็ไม่แน่นะคนอื่นอาจจะมีอย่างอื่นที่เอามาสอนนักศึกษาสำหรับคำถามแรกดิฉันขอคำตอบเท่านี้ก่อนนะคะเผื่อจะมีท่านอื่นได้ตอบ หรือว่ามีอะไรก็ให้ สองปรมาจารย์ได้ตอบนะคะ
ภาคิน นิมมานนรวงศ์
ผมก็ตื่นเต้นไม่ต่างกับอาจารย์อรอนงค์นะครับพอดีเปิดดูในเฟสบุ๊ก โฆษณาครั้งที่แล้วมีคอมเมนต์เลยบอกว่าเห็นชื่อก็รู้แล้วว่าจะพูดเรื่องอะไรอะไร ก็ช่วยบอกผมทีต้องพูดเรื่องอะไรก็ถามมาถามผมได้นะ ผมเล่าจากประสบการณ์การสอนด้วยกันนะครับผมอาจจะต่างจากหลายๆ ท่านในที่นี้ตรงที่ว่าผมไม่ได้สอนวิชาในมหาวิทยาลัยนะครับ เด็กที่เรียนกับผมได้เป็นนักเรียนมัธยมปลาย และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ก็เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึงว่าวิชาส่วนใหญ่เรียนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์หมดเลย นักเรียนจะได้เรียนวิชาสังคมศึกษาอยู่ประมาณ 1-2 คาบ 3 คาบต่อสัปดาห์ครับ
วิชาประวัติศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ว่าพอผมต้องมาสอนวิชาประวัติศาสตร์ให้กับนักเรียน ซึ่งความสนใจหลักของเขาเนี่ยอาจจะไม่ใช่เรื่องประวัติศาสตร์ ผมคิดว่ามันมีโอกาสให้ผมได้กลับมาทบทวนว่าตกลงอะไรคือสิ่งที่นักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์เป็นหลักควรจะรู้ ผมคิดว่าจริงๆ แล้ววิชาประวัติศาสตร์มันสอนได้หลักๆ อาจจะสองทางก็ได้นะครับ ให้กับคนที่สนใจเรียนประวัติศาสตร์สอนสำหรับคนที่อยากจะเป็นนักประวัติศาสตร์ ซึ่งการสอนแบบนั้นเนี่ยมันอาจจะต้องเน้นไปที่ความลึกของเนื้อหาหลักฐานชั้นต้นที่พี่เอามาคุยกันอะไรแบบนี้นะครับ หรือว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ใช่ไหมครับที่สอนในระดับมหาวิทยาลัย
แต่ว่าพอลดมาสู่ระดับมัธยมเนี่ยแน่นอนหลายคนก็รู้ว่าหลักสูตรการศึกษาบ้านเราเนี่ยตัวชี้วัดที่คาดหวังว่านักเรียนระดับมัธยมหรือประถมต้องรู้ มันเป็นเรื่องของเนื้อหานั่นแหละครับ คือต้องต้องรู้บวกลบคูณหารเดือนเดือนปี พ.ศ. ศักราชต่างๆ ได้ต้องต้องเข้าใจซาบซึ้งในความเป็นชาติความเป็นอะไรก็ว่า แต่ผมคิดว่าอีกทางหนึ่งซึ่งเราทำได้เราก็อาจจะเป็นการสอนประวัติศาสตร์ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แล้วก็ผมก็เชียร์เวลาคุยกับเพื่อนก็จะให้เราเวลาเราสอนประวัติศาสตร์ให้กับคนที่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ ให้คนทั่วไปเนี่ย มีความหมายอย่างที่เขาสอนได้ก็คือการสอนวิธีคิดหรือว่ากระบวนการคิดของมัน ซึ่งการสอนแบบนี้มันอาจจะใช้เนื้อหาของประเด็นใดก็ได้ในอดีตมาสอนโดยไม่จำเป็นต้องไปเน้นที่เรื่องบางเรื่องประเด็นประเด็นหลัก ธีมมบางธีม ภูมิภาคภูมิภาค
ตัวอย่างเช่น เวลาเวลาผมเปิดคลาสเรียนประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้น ม.4 ม.5 เรียนสิ่งแรกที่ผมพยายามทำคือพยายามทำให้เขาเข้าใจว่าตกลงเขาเรียนวิชานี้ไปทำไม มันสำคัญกับเขาอย่างไรเพราะว่าแน่นอนที่สุดก็คือเราเองทุกคนอาจจะมีภาพจำเดียวกันคือประวัติศาสตร์ในสมัยในโรงเรียน ซึ่งครูก็จะเข้ามาแล้วก็จะสั่งให้เราจำ ถ้าดีหน่อยครูก็จะมีเรื่องเล่าสนุกๆ ให้เราฟังถ้าโชคร้ายหน่อย ซึ่งปัจจุบันก็ยังเป็นนะ ผมถามนักเรียนครูก็จะเข้ามาเปิดตำราแล้วก็ให้นักเรียนอ่าน ครูอ่านตามตำรานั้นทุกคน ก็ดูไปพร้อมกัน หรือจะแย่ที่สุดก็คือครูไม่ทำอะไรเลย สั่งให้นักเรียนคัดสิ่งที่อยู่ในแบบเรียนเป็นการบ้านมาส่งอะไรแบบนี้ก็มี
นักเรียนหลายคนเล่าให้ฟังว่าสิ่งที่เราพยายามทำจะทำให้เขาเห็นว่าเวลาพูดคำว่าประวัติศาสตร์มันใกล้ตัวเขาอยากเช่นนะครับ เรื่องแรกที่ตัวนักเรียนคิดก็คือเรื่องตัวตนของเรา ดูแบบปรัชญามากเลยนะ เรื่องความทรงจำในเรื่องอดีตว่าตกลงแล้วการที่เราเป็นคนคนหนึ่งเนี่ย เราสามารถเป็นอะไรบ้าง อย่างเช่นเมื่อเทอมนี้ผมให้เด็กดูหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในอินโดนีเซียประมาณช่วงปี 1960 มีการฆ่าคอมมิวนิสต์ฆ่าคนอะไรแบบนี้แล้วก็หนังน่าจะชื่อว่า The Silence แล้วก็เป็นศัพท์การสัมภาษณ์คนที่เป็นฆาตกรฆ่าคนอื่นในช่วงสมัย 30- 40 ปีที่แล้ว คุณลุงคนนี้ก็แก่มากแล้วนะครับ มองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีที่แล้วที่เขาเอาไปฆ่าคนแล้วเขารู้สึกยังไงวั นนี้ก็พูดประโยคที่น่าสนใจมากๆ สำหรับเขาเนี่ยมันจบไปแล้วอดีตมันก็คืออดีตซึ่งประโยคนี้มันเป็นประโยคธรรมดาใครๆ ก็พูดกันใช่ไหมครับ แต่ว่าพอโยนเข้าไปสู่วงสนทนาให้นักเรียนคิดว่าทำไมคุณลุงคนนี้ถึงเห็นอดีตมันเป็นแค่อดีตอดีต มันเป็นแค่อดีตจริงไหมคนแบบไหนอยากให้อดีตเป็นแค่อดีต คนแบบไหนที่ไม่ยอมให้อดีตเป็นแค่อดีต เราก็จะเกิดบทสนทนา ซึ่งเรื่องพวกนี้มันอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องประวัติศาสตร์อินโดนีเซียด้วยซ้ำ
มันจะเกิดวิธีคิดว่าเวลาคุณบอกว่าอดีตไม่สำคัญเนี่ย มันอาจจะไม่สำคัญจริงๆ สำหรับคนบางคน แต่มันมีคนบางคนนะที่รู้สึกว่าอดีตสำคัญสำหรับเขา แปลว่าประวัติศาสตร์มันอาจจะมีประโยชน์ ผมไม่แน่ใจ มันก็เป็นเรื่องปกติในสังคมไทยหรือเปล่านะ แต่ว่าเวลาคุณครูอธิบายว่าเราเรียนประวัติศาสตร์ไปทําไม เราจะตอบว่าเราเรียนประวัติศาสตร์ไปใช้เพื่อให้รักชาติรักบรรพบุรุษ เป็นประโยคประโยคคลาสสิก ครูก็จะบอกว่าเราเรียนประวัติศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบความข้อผิดพลาดในอดีตเรียนเพื่อไม่ให้มันทำซ้ำ แต่คำถามก็คือเราถ้าเราเรียนประวัติศาสตร์เพื่อไม่ให้ทำผิดพลาดในอดีตแล้วทำไมมันดูเหมือนมีเหตุการณ์ผิดพลาดเกิดขึ้นตลอดตลอดมาในตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่ผมอยากให้ชวนคิดจากนี้คือ จริงๆ ประวัติศาสตร์มันมีประโยชน์อย่างอื่นคือการให้คุณได้เล่าเรื่องราวในอดีตบางอย่างที่อาจจะไม่ได้มีคุณค่าว่าทำไมคุณไม่ทำผิดพลาดซ้ำ แต่คนบางคนที่ไม่ยอมให้อดีตเป็นอดีตเพราะเขาเห็นว่าประวัติศาสตร์มันมีประโยชน์มาก แล้วมันเกิดความขัดแย้งทางการเมืองเกิดความวุ่นวายในสังคมประวัติศาสตร์มีประโยชน์ข้อนั้น หนังสือเรียนไม่เคยไม่เคยบอกเรามาก่อน ครูไม่ได้พูดกับเขาตรงๆ ซึ่งข้อดีก็คือเด็กสมัยนี้เข้ามาพร้อมกลับความรู้หลายๆ อย่าง ผมสอนมาสัก 4-5 ปีผมเห็นความเปลี่ยนแปลงเยอะมากยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเด็กรู้จักเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยหลายอย่างเช่น 14 ตุลา 6 ตุลา พอบทสนทนาเรื่องพวกนี้ผมคิดว่ามันจะเป็นประวัติศาสตร์อีกแบบหนึ่งนะครับ อาจจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นเรื่องเนื้อหาจะเป็นเรื่องของวิธีคิด ซึ่งบางทีอาจจะสำคัญและจำเป็นสำหรับสำหรับการการเรียนประวัติศาสตร์ในทำนองนี้
ยศวีร์ ศิริผลธันยกร
ประวัติศาสตร์อาจเป็นนิยายหรือเปล่าโดยที่นิยายโดยที่นักประวัติศาสตร์คือผู้เขียนนิยายเรื่องหนึ่งหรือหลายๆ เรื่อง อย่างเช่น นักประวัติศาสตร์แต่ละคนเนี่ยมีเหตุผลในการที่จะเขียนนิยายแบบนี้แตกต่างกันแต่ว่านิยายแบบนี้ไม่เหมือนกับนิยายทั่วไป นิยายแบบนี้ต้องมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นทั้งผู้เขียนนิยายและผู้หาหลักฐาน เหมือนตำรวจคอยสืบสวนคดีเพราะว่าเราไม่สามารถคิดอะไรเอามาเองได้ว่ามันเกิดขึ้นจริงโดยที่ไม่มีหลักฐานที่มาเสริมที่ แต่นิยายในหนึ่งเหตุการณ์มีหลายรูปแบบ เช่น เรื่องของอยุธยา อาจารย์ท่านหนึ่งอาจจะเขียนเรื่องอยุธยาในเชิงที่ว่าเป็นทหาร อีกท่านนึงอาจจะเขียนอยุธยาในเชิงที่ว่าเป็นเรื่องของรัฐเมืองท่าการค้า อีกท่านหนึ่งอาจจะเขียนได้หมายถึงเรื่องของวัฒนธรรมหรือว่าชุมชนบางอย่างหรือว่ารัฐโบราณ
แต่ว่าหนังสือ 3 เล่มนี้เป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด แต่ว่าเขียนกันไปคนละทางหมดเลย แล้วแต่ว่าแต่ละท่านจะมีมุมมองจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปในทางไหน และเน้นไปในเรื่องไหน ผมจึงมีมุมมองว่าสุดท้ายแล้วนะประวัติศาสตร์เรื่องเล่าจากที่ผมได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ ในเมื่อมันขึ้นชื่อคำว่าศาสตร์ด้วย เราไม่ได้บอกว่าวิชาประวัติศาสตร์คือวิชาของความจริงในอดีต แต่เราพูดว่าศาสตร์หมายถึงวิธีการในการกลับไปหาอดีต เรามีจดหมายเหตุ เรามีเศษซากของอดีตโผล่มาให้เป็นชิ้นเป็นอันเล็กๆ น้อย ๆ เท่านั้น ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเขียนบางอย่างที่เรียกว่าไปนิยายเพราะว่าเราต้องเอาเรื่องราวเหล่านี้เชื่อมต่อกัน แล้วแต่ว่าเราอยากจะเขียนให้มันเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา หรือว่าไปทางไหนในสิ่งที่เราสนใจนั่ นคือเหตุผลที่ผมอธิบายว่าเหตุใดประวัติศาสตร์จึงเป็นนิยาย แต่เป็นนิยายที่มีหลักฐานมีเค้าโครงมีความเป็นมา
นิธิ เอียวศรีวงศ์
มีความสำคัญมากๆ สำหรับคำถามข้อนี้ และความสำคัญของวันนี้กว่าเราจะสำนึกตระหนักรู้ถึงความสำคัญมันได้ บางทีมันต้องทำงานประวัติศาสตร์มานานพอสมควร เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสอนนักเรียนปี 1 เข้าใจว่าทำได้ยากมากเลยวันนี้ก็พยายามจะทำให้มันดูฟังดูง่ายขึ้นหน่อยว่าหากถามว่าประวัติศาสตร์คืออะไร อยากจะตอบว่าคือการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในเวลาของสังคมมนุษย์
แต่ก่อนเวลาเราศึกษาประวัติศาสตร์ เราจะพูดถึงประวัติศาสตร์ จะต้องมีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผมว่ามันเป็นวิธีการมองเนื้อหามากเกินไป จริงๆ แล้วคุณศึกษาสิ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือใช้หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น หลุมขยะในระยะ 300 ปี สมมติมีชุมชนที่ตั้งอยู่ตรงนั้นมา 300 ปี หลุมขยะที่มันคสามารถขุดได้ 300 ปี คุณจะพบความเปลี่ยนแปลงในเวลา 300 ปีนี้ว่ามนุษย์กินอะไรที่แตกต่างออกไปในช่วง 300 ปีนั้นอาจไม่มีลายลักษณ์อักษรเลย
สิ่งที่ผมต้องการจะเน้นคือประวัติศาสตร์เป็นเรื่องวิธีการ ไม่ใช่เรื่องเนื้อหาแต่เพียงอย่างเดียว วิธีการใช้ศึกษาอะไรก็ได้ก็จะต้องเข้ามาพูดถึงเรื่องวิธีการมากขึ้น เวลาผมนิยามว่าประวัติศาสตร์คือการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในเวลาของสังคมมนุษย์ อยากจะให้ตั้งข้อสังเกตว่าจริงๆ แล้วมันมีความซับซ้อนอยู่ในนิยามนี้หลายเรื่องเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นเราบอกว่าการศึกษาประวัติศาสตร์คือการศึกษาความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงนี้เนี่ยก็เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเองไม่ใช่โดยสิ่งที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติของมันเอง หมายความว่าเราสามารถศึกษาจากหลักฐานได้ใช่ไหมว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงอยากจะบอกว่าไม่มีหลักฐานอะไรบอกเราเลยว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ยังไง เมื่อไหร่ที่หลักฐานมันบอก เมื่อนั้นคุยต้องสงสัยว่าจริงหรือไม่จริง เช่น เป็นต้นว่าเวลาที่เขาบอกว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้คิดอักษรไทยขึ้น อันนี้เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งจากที่ไม่มีตัวอักษรมาสู่การมีตัวอักษร มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบาย เพราะในโลกนี้เนี่ยหาคนที่คิดตัวอักษรได้น้อยมากนะครับ คุณเกือบจะหาไม่ได้ เท่าที่ผมทราบมันมีพระเจ้าแผ่นดินที่เกาหลีคนที่คิดตัวอักษร ที่จริงก็ไม่ได้คิดแต่ดัดแปลงตัวอักษรจีนให้มันกลายเป็นเป็นอะไรที่มันง่ายขึ้น กลายเป็นอักษรที่แทนพยางค์ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีแล้วอักษรแทนเสียงหมด หรือไม่งั้นก็เป็นแทนภาพ เช่นคำว่า ประ ก็เป็นคำนึง วัติ ก็เป็นคำนึง ศาสตร์ก็เป็นคำนึง เมื่อมาต่อกันก็การกลายเป็นคำว่าประวัติศาสตร์สามพยางค์อักษรประเภทนี้ก็มีนะครับพระเจ้าแผ่นดินของเกาหลีก็คิดคล้ายๆ กับอักษรจีนแต่เปลี่ยนมาเป็นตัวสะกดด้วยพยางค์แทน
ถ้าถามว่าตัวอักษรอังกฤษตัวอักษรกรีกตัว ถามว่าใครเป็นคนคิด คำตอบก็คือไม่มีหรอกตัวอักษรมันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติเข้าใจไหมครับสัญลักษณ์ของเสียง หรือของคำความหมายก็แล้วแต่ที่มนุษย์ค่อยๆ ตกลงไปตรงกันมาในชุมชนหนึ่งๆ ในสังคมหนึ่งๆ จนกลายเป็นสิ่งที่ใช้ร่วมกัน
สรุปก็คือว่าเมื่อไหร่ที่คุณจำเป็นต้องอธิบายว่ามันเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือมันเปลี่ยนแปลงทำไม เป็นสิ่งที่คุณต้องคิดเองไม่มีหลักฐานทั้งสิ้น ทำไมพ่อขุนรามคำแหงคิดตัวอักษรขึ้นสมมุติว่าคิดจริงๆ มันต้องมีเหตุผลว่าทำไมท่านถึงคิดตัวอักษรขึ้น ฉะนั้นทุกความเปลี่ยนแปลงมันประกอบไปด้วยปัจจัยเยอะมากๆ แล้วรู้หรือยังว่าสังคมในเวลานั้นความต้องการใช้แค่ไหน เช่น การขายขนมครกมีคนเดินผ่านมาแล้วคุณกำลังทำขนมครกครบ 10 ชิ้นคุณก็หยิบ 10 ชิ้นให้เขาไปแล้วเขาก็ให้เงินหรือให้สิ่งแลกเปลี่ยน เรามาถามว่าเราต้องการตัวอักษรไปทำไม ก็คือไม่ต้องการ ทุกท่านทราบอยู่แล้วว่าตัวอักษรเกิดขึ้นจากการค้า แต่ต้องเป็นการค้าที่ซับซ้อน คำถามคือสุโขทัยตอนนั้นเนี่ยมีการค้าที่ซับซ้อนพอที่จะต้องการใช้ตัวอักษรหรือไม่ ศาสนาเป็นตัวผลักดันใช่หรือเปล่ามันไม่มีหลักฐานทั้งสิ้น คิดเอาเองทั้งนั้น อย่างคุณยศวีพูดว่าประวัติศาสตร์คือนวนิยาย ใช่คือนวนิยายในความหมายนี้ และเอาเข้าจริงผมคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิริยะอีกชนิดหนึ่งนะครับไม่ใช่เฉพาะประวัติศาสตร์เท่านั้นที่เป็น คุณต้องอาศัยสิ่งที่ไอสไตน์จินตนาการเชื่อมโยงปัจจัยและปัจจัยเป็นร้อยพันปัจจัยที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เข้าหากัน เพื่อจะกลายเป็นเหตุผลอธิบายความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่เกิดขึ้นในประติศาสตร์ ไม่ต้องการจะมาเล่าอะไรเกิดขึ้นเฉยๆ นั่นเป็นนักนิยมของโบราณ และอธิบายว่ามันเปลี่ยนแปลงอย่างไรในเวลาหนึ่งๆ มันเปลี่ยนแปลงอย่างไรและทำไมมันถึงเปลี่ยนตัวหัวใจตรงนี้ไม่มีตัวหลักฐานบอก คุณคิดเองทั้งนั้นแหละ แต่คิดขึ้นจากหลักฐานจำนวนมากและพยายามหาความเชื่อมโยงของกันและกันที่มันเป็นเหตุเป็นผลที่คุณพอใจที่สุด
เอาเข้าจริงแล้วเนี่ยมันมีทฤษฎีอยู่เบื้องหลังไม่ว่าพวกคุณจะรู้ตัวหรือไม่ก็แล้วแต่ มนุษย์ไม่สามารถเชื่อมโยงปัจจัยเข้าหากันโดยไม่มีทฤษฎีหรือผมขอเรียกง่ายๆว่าอคติบางอย่างในที่อยู่เบื้องหลัง เรายกตัวอย่างเช่นในประวัติศาสตร์ที่เราเรียนๆ มาเนี่ยจะให้ความสำคัญการกระทำหรือไม่กระทำของบุคคลค่อนข้างมาก อันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นจากอคติของนักประวัติศาสตร์เองว่าความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลกนี้มันเกิดขึ้นจากปัจจัยง่ายๆ เพียงการกระทำของบุคคล
ทฤษฎีนี้ถูกหรือผิดก็ไม่ทราบและทฤษฎีแต่เป็นทฤษฎีที่นักประวัติศาสตร์ไทยให้ความสำคัญค่อนข้างมาก และไม่ค่อยมองปัจจัยอื่นเลย ตรงนี้มันทำให้เรามองประวัติศาสตร์ไทยค่อนข้างอ่อนแอ เพราะเราให้ความสำคัญแก่ปัจจัยต่างๆ น้อยเกินไป
ผมขอยกตัวอย่างอันหนึ่งในสิ่งที่ผมสนใจ และอาจจะเขียนขึ้นเร็วๆ นี้ก็คือว่าเวลาเราเรียนเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมเนี่ย เราพูดถึงแต่เพียงเครื่องจักรไอน้ำมันเป็นพลังชนิดใหม่ที่เราไม่เคยใช้มาก่อน มนุษย์ไม่เคยใช้มาก่อนเลยผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ความจริงแล้วไม่ใช่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในสังคมอังกฤษที่มีความพร้อมหลายอย่างที่ไม่มีในหลายประเทศในยุโรป เช่น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมมันถนนที่นำรถมาเกือบถึงหมู่บ้านในเกาะอังกฤษไปแล้วการคมนาคมดีเลิศ อันที่สอง ต่อมาการผลิตเพื่อการค้าไปได้ไกลมากแล้ว และปัจจัยอื่นอีกหลายอย่างที่จะไม่พูดถึงในที่นี้ แต่คุณสอนประวัติศาสตร์แบบว่าปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจากเครื่องจักรไอน้ำ สิ่งที่คนไทยได้มาขึ้นเป็นติดอยู่กับเทคโนโลยีเทคโนโลยีไปแล้วคิดว่าส่งคนไปดวงจันทร์ได้ เราจะไปส่งคนไปดวงจันทร์ใน 4 ปีข้างหน้า 5 ปีข้างหน้า หวังว่าประเทศจะเจริญไม่ได้คิดว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นได้จากเงื่อนไขทางสังคมเป็นสำคัญเสียยิ่งกว่าเทคโนโลยี เพราะเมื่อเกิดการผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น สิ่งสำคัญก็คือว่าแรงงาน ซึ่งในตอนแรกในถูกกดขี่ถูกเอาเปรียบ ต่างด้าวสามารถรวมตัวกันได้ สามารถต่อรองได้ ค่าแรงเริ่มแพงขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอามาแทนแรงงานคนอังกฤษเพิ่มขึ้น
ฉะนั้นอังกฤษจึงเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะแรงงานอังกฤษไม่ยอมให้คุณจ่ายค่าจ้างในราคาถูกๆได้ต่อไป เพราะว่ามันเกิดรวมตัวทางการเมือง การเมืองแบบประชาธิปไตยก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในเมืองไทยไม่เคยพูดถึงเลย เราพูดถึงแต่เทคโนโลยีอย่างเดียวว่าเทคโนโลยีทำให้ประเทศชาติเจริญ ให้โอกาสการต่อรองเกิดขึ้น จะขยับการผลิตขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้น เศรษฐกิจ 4.0 เกิดขึ้นเองไม่ได้ถ้าคุณไม่มีเงื่อนไขและสังคมบังคับวิธีคิดแบบนี้ผมคิดว่าเป็นวิธีคิดแบบประวัติศาสตร์ คือใช้ปัจจัยอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยสรุปวิชาประวัติศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลง
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
บังเอิญเรียนประวัติศาสตร์ มันเป็นวิชาที่ผมไม่ต้องการเรียนมากที่สุด มันไม่เคยอยู่ในหัวผมเลยนะครับ เอาเข้าจริงผมนึกถึงนักประวัติศาสตร์ใกล้ตัวผมก็นึกถึงอาจารย์นิธินี่แหละ และผมก็นึกไม่ออกว่าทำไมอาจารย์นิธิถึงไปเรียนคณะอักษรศาสตร์คือมันเป็นคณะที่ผมคิดว่าไม่เคยจะเข้าเลยนะครับอาจารย์ ผมก็เหมือนลูกชนชั้นกลางที่บังเอิญด้วยแม่ผมเป็นพยาบาล เพราะฉะนั้นแม่ผมก็ต้องการให้ผมเป็นหมอ เพราะฉะนั้นเนี่ยเรียนมัธยมปลายผมก็ไม่เลือกเรียนสายศิลปะนะครับ แล้วผมก็จะดูถูกพวกเรียนศิลปะนะว่ามีอยู่ห้องเดียว เราอยู่ฝ่ายวิทยาศาสตร์มีสามห้อง ไอ้พวกนั้นมันไม่ได้เรื่อง เพื่อนผมคนหนึ่งที่สนิทกันมากคืออาจารย์ฉลาดชายอยู่เชียงใหม่ อาจารย์ฉลาดชายเรียนสายศิลป์แล้วเราจะดูถูกเขามาก แปลว่าประวัติศาสตร์เป็นวิชาชีพในทัศนะส่วนตัวผมน่าเบื่อที่สุด แต่มันมีนักประวัติศาสตร์คนนึงพูดคล้ายอย่างอาจารย์นิธิพูดในช่วงของความเปลี่ยนแปลง ผมเข้าใจว่าอาจารย์ธเนศ อาภรสุวรรณ ซึ่งแกก็เรียนประวัติศาสตร์อเมริกัน แกบอกมันมีอยู่สองศาสตร์ที่สำคัญในช่วงของการเปลี่ยนแปลง หนึ่งคือนิติศาสตร์ พวกบรรดาหัวหมอทั้งหลาย สองประวัติศาสตร์
ในช่วงที่อเมริกากำลังเปลี่ยนแปลงหรือในช่วงที่มันจะเกิดการปฏิวัติใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกทาสคือมันมีคดีความเยอะมาก แกตั้งข้อสังเกตุขึ้นมาลอยๆ สิ่งที่ผมใช้ทำมาหากินคือวิชาประวัติศาสตร์เนี่ย มันเป็นความโชคดีอีกอย่างนึง มันเป็นเหตุบังเอิญผมคิดว่าเมื่อผมเริ่มต้นสอนประวัติศาสตร์คือเมื่อผมเรียนจบปริญญาเอก หนึ่งก็คือว่าปริญญาตรีผมเรียนการทูต ปริญญาโทผมเรียนการทูต เพราะฉะนั้นผมจะไม่มองวิชาประวัติศาสตร์เลยนะครับ ผมรู้สึกมันคนละชั้นกัน แต่ว่าด้วยเหตุบังเอิญมาเรียนประวัติศาสตร์แล้วพอเริ่มทำงานวิชาประวัติศาสตร์ไทยมันพยายามที่จะตอบคำถามว่าประวัติศาสตร์จะศึกษามันอย่างไร มันเป็นวิชาของการเขียนประวัติศาสตร์จะต้องเขียน ค้น ใช้หลักฐานอย่างไร
อย่างที่อาจารย์ว่ามามันเป็นมันเป็นเรื่องของ History Philosophy มันไม่มีคำถามที่เรียกว่า what ซึ่งมันง่ายมากๆ คำว่า what ซึ่งมันแปลว่าอะไร ดูมันง่าย แต่พอเราเริ่มที่จะศึกษากัน ตกลงประวัติศาสตร์มันคืออะไรกัน What is history? เพราะฉะนั้นในตอนนั้นธรรมศาสตร์มีสาขาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์แล้ว เมื่อเริ่มต้นศิลปศาสตร์ คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นคนเรียนรุ่นแรกเรียน ประวัติศาสตร์รุ่นแรกของของธรรมศาสตร์นะครับ สนใจว่าจะศึกษาอย่างไรเหมือนกันจึ งมีคำว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ขึ้นมา คำว่าปรัชญาประวัติศาสตร์มันไม่ดี ไม่เคยสนใจใยดี เราจะพูดถึงนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งผมไม่รู้ใครเอาคนนี้มาชูในประเทศไทยนะ คือคนที่ชื่อลังเก้เป็นคนเยอรมันที่ทำให้คนตอบคำถามว่าประวัติศาสตร์คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ คือสิ่งที่ผมเข้าใจว่าเป็นคำขวัญของของนักประวัติศาสตร์จำนวนมากเลย
แต่ผมว่าปัจจุบันนี้คงคงไม่มีใครคิดอย่างนั้นแล้ว มันกลายเป็นว่าลังเก้ก็คงตกเวทีไปแล้ว แต่ว่ามันทำให้ผมเนี่ยคิดว่าประวัติศาสตร์มันคืออะไร เราจะสอนประวัติศาสตร์นะครับ ผมก็เลยไปหยิบหนังสือเล่มเล็กๆ ผมถูกบังคับให้อ่าน What is history? ของ Hallett Carr ผมคิดว่าหลายคนคงคงจะได้ยิน เราเข้าใจผิดกันมากเลยว่าอดีตคืออดีต ประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ ผมว่ามันคนละอันกัน จะว่ามันเป็นนิยายก็ได้ แต่ว่ามันมีกระบวนการของมัน มันมีสิ่งที่จะต้องสร้างเรื่องขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่เข้าไปอย่างที่อาจารย์นิธิบอกไปเมื่อสักครู่ ก็คือเรื่องราวของความเปลี่ยนแปลงจุดยึดขึ้นมาศึกษา แล้วผมคิดว่าในแง่นี้แปลว่าคำว่าประวัติศาสตร์หรือคำว่า history ในภาษาอังกฤษเนี่ย ผมว่ามันถูกใช้หลากหลายมากมันไม่ได้ถูกกำหนดหรือจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องของชาติ เมื่อสองสามวันผมเห็นในเฟสบุ๊ก มันมีเรื่องของไก่ย่าง ผมอ่านแล้วผมตื่นเต้นมากเลยครับผมเป็นคนบ้านโป่ง ไก่ย่างที่มันอยู่อำเภอบางตาล อ่านแล้วตื่นเต้นมากเลยปรากฏว่าคนที่โพสเฟสบุ๊กเรื่องไก่ย่างเนี่ยบอกว่าไก่ย่างบ้านโป่งนั้นมันมีอายุ 70 ปีแล้วมันมีประวัติไก่ย่างบางตาล มีประวัติศาสตร์ของมันมาจากพวกไหหลำ ก็คือไก่ย่างทับพันไก่ย่างไหหลำนะมันน่าจะเป็นไก่ย่างเขมรไม่ก็ไก่ย่างลาวเนี่ยนะครับ โดยรวมแล้วประวัติศาสตร์มันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬารระดับชาติ มันต้องเป็นเรื่องคนใหญ่คนโตพระเจ้าโน่นพระเจ้านี้อะไรทำนองนี้อย่างที่อาจารย์นิธิว่าขยะก็เอามาศึกษาได้ ไก่ย่างก็เอามาศึกษาได้ มันมีตำหรับเยอะเลยนะครับ ผมพยายามจะบอกว่าประวัติศาสตร์บางทีถ้าเราคิดในแง่ของปรัชญา จะว่ามันง่ายก็ง่าย จะว่ามันยากก็ยาก บางที่พูดก็ไม่รู้เรื่อง
ภาคิน นิมมานนรวงศ์
ผมก็เหมือนกัน ไม่ได้อยากจะเรียนอะไรขนาดนั้น แต่ช่วงนั้นจำเป็นต้องทำมาหากิน และก็เรียนไปด้วยที่ทำงานกับที่เรียนใกล้กัน ป.ตรีผมก็เรียนการทูตเหมือนอาจารย์ชาญวิทย์ แล้วก็เรียนไปมามันก็เบื่อมันไม่ใช่แนว ก็เลยไปหาอะไรที่พอจะสนุกก็เลยไปนั่งเรียนประวัติศาสตร์ที่ธรรมศาสตร์
ผมไม่ได้มีคำตอบอะไรไปมากกว่าเรียนเรียนให้จบปริญญาโทเพื่อจะสมัครงานอาจารย์ทำมาหากินอะไรไปมากกว่านั้น แต่ว่าผมคิดอย่างนี้แล้วกันนะครับพ อมาสอนหนังสือเนี่ยโจทย์ว่าเรียนประวัติศาสตร์ไปทําไม เป็นโจทย์ที่ใหญ่มากเลยโดยเฉพาะเมื่อเราเมื่อเราไม่ได้สอนคนที่เขาอยากจะเรียน ผมก็จะพูดย้ำเรื่องเพราะว่าอย่างที่ผมบอกตอนต้นนับจุดยืนตรงหน้าเวทีน่าจะต่างกันหลายคนคือเราสอนประวัติศาสตร์เรียนประวัติศาสตร์ในคณะในมหาวิทยาลัยหรือในทางวิชาการจริงๆ ประวัติศาสตร์เป็นวิชาแบบนั้นจริงๆ นะวิชาว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงในเวลาหนึ่งๆ เรามานั่งอธิบายว่าเหตุผลมันคืออะไรใช่ไหม หรือว่าเราพยายามทำความเข้าใจในเรื่องราวที่มันเกิดขึ้นในอดีตประวัติศาสตร์มันไปอยู่ในในโลกระดับมัธยม โลกระดับที่คนไม่ได้มีความสนใจเรื่องราวเหล่านั้น
เพราะเหตุใดประวัติศาสตร์ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของมันก็คือมันทำให้เราเข้าใจความสำคัญของอดีตที่มีต่อตัวเราเอง ทำให้เราเข้าใจว่าตัวเราเนี่ยทุกคนล้วนแต่เป็นมนุษย์ที่มีอคติทั้งสิ้น และถ้าเราไม่ระมัดระวังให้ดีเราจะเชื่อว่าเราถูกเก่งและฉลาดกว่าคนอื่นเสมอ ก็คิดว่านี่คือประโยชน์ในระดับที่ที่คนทั่วไปมองเห็นได้
ถ้าเราแนะนำให้คนทั่วไปเห็น เขาคิดว่าเขาจะมองเห็นมากกว่าว่าเราศึกษาประวัติศาสตร์แน่นอน ขาข้างหนึ่งมันเป็นการพยายามทำความเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นที่ไหนอย่างไร อีกข้างนึงมันคือการทำความเข้าใจว่าเรื่องเล่าแต่เรื่องประวัติศาสตร์จริงๆ มันไม่ใช่ความจริง แต่มันคือการที่แต่ละคนเล่าเรื่องบางอย่างขึ้นมาเป็น historiography อีกขาหนึ่งซึ่งผมคิดว่าคนอาจจะพูดถึงน้อยกว่า อย่างน้อยในบริบทที่ผมโตมาแล้วกันประวัติศาสตร์ในฐานะวิธีคิดและการทำความเข้าใจว่าเราทุกคนล้วนแต่เป็นอย่างนั้นคือเราพูดอะไรแน่กระทั่งผมเองผมพูดอะไรก็วางอยู่บนอดีต ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เรื่องราวที่ผมจดจำได้ใช่ไหม ความรู้ที่ผมเราเรียน ฉะนั้นใครก็ตามที่ปฏิเสธอดีต เราเป็นคนตั้งคำถามว่าทำไมเขาถึงปฏิเสธอดีต ที่ไม่สนใจอดีตก็อันตรายกว่าคนอื่นที่จะใช้อดีตของตัวเองโดยไม่ระมัดระวัง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือถ้าใครไม่เคยตั้งคำถามกับสิ่งพวกนี้เลยคิดว่าตัวเองเป็นกลางจะไปหาตัวเองพูดความจริงเสมอตัวเองมีหลักฐานยืนยันตัวเองไม่ใช่พวกสายสังคมเลยเนี่ยนะ อะไรพวกนี้มันจะเป็นสิ่งที่อันตรายใช่ไหมเพราะว่าควรระวังในอดีตหรืออคติของตัวเอง
ประวัติศาสตร์ในความหมายนี้มันสนุกมากแล้วมันไม่จำเป็นต้องต้องไปเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างที่ผมยกตัวอย่างแทบจะไม่มีอะไรเป็นวิชาประวัติศาสตร์ที่ผมเรียนมา แต่ผมคิดนี่คือสิ่งที่เราควรจะเน้นให้เห็นประวัติศาสตร์มีประโยชน์ในฐานะเครื่องมือในการทำความเข้าใจในตัวตนของเรากันนะ คนทำความเข้าใจว่าเราทุกคนไม่มีใครปฏิเสธอดีตได้ทำความเข้าใจว่าตัวเราทุกคนเป็นเราในปัจจุบันนี้ก็เพราะสิ่งที่เราทำได้เลยว่าจะมาจากประสบการณ์ที่เราเจอเอง หรือเรื่องเล่าคนเล่าให้น้องฟังแล้วเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็มันจริงก็ตามผมคิดว่าประมาณนี้
ยศวีร์ ศิริผลธันยกร
ผมโตมากับประวัติศาสตร์สงครามจากหนังช่อง 7 ฟ้าใหม่ปี 2547 ละครบางระจัน สงครามทั้งหลายที่ที่รัฐไทยพยายามจะเล่า แล้วก็จะเรียกว่ายัดเยียดหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่ว่าต้องเข้ามาในสมองเราระดับนึง ก็เลยกลายเป็นว่าเราก็เลยสนใจประวัติศาสตร์ จากสิ่งที่หลายคนอาจจะเลือกตั้งชื่อตรงว่าราชาชาตินิยมในการจูงใจ แต่ว่ามันก็มันก็นำเรามาถึงจุดที่เราเข้าเอกประวัติศาสตร์ครับ
หลายคนจะพูดว่าประวัติศาสตร์เรียนจบไปทำอะไร คุณเรียนแล้วคุณไม่ได้เป็นอาจารย์ คุณไม่เป็นนักวิชาการไม่ได้ผลิตงานวิชาการ ไม่ได้ทำงานด้านการเขียน คุณจะไปทำไรต่อ ประวัติศาสตร์ให้แง่คิดอะไรมากกว่าการเป็นนักวิชาการหรือมากกว่ามากกว่าที่เราคิด โอเคเรามีสกิลในการเขียนงานอยู่แล้ว ปกติทุกคนจบมาใช้งานได้นะครับ แต่ว่าสิ่งสำคัญคือให้มีวิธีคิดหลายอย่าง เช่น การมีหลักฐานก่อน เพราะว่าคุณจะรู้สึกว่าถ้าเกิดถ้าเกิดคุณพูดออกไปอาจารย์จะให้เอฟกับคุณทันทีถ้าคุณพูดพูดลอยลอยขึ้นมา หรือว่าหรือว่าการที่คุณมีวิธีคิดที่ว่าเวลาใครพูดอะไรมาก่อน คุณต้องคิดมากๆ วิเคราะห์นึกถึงว่าเบื้องหลังคำพูดแบบนั้นหรือเบื้องหลังหรือว่าสิ่งแวดล้อมความเป็นมายังไงนะครับ ซึ่งอันนี้สำคัญกับการทำงานมากๆ
หลายคนจะบอกว่าจะมาทำงานอะไรได้บ้าง จริงๆ ทำอะไรได้หลายอย่างมากๆ นะครับ แล้วก็หลายอย่างเป็นตลาดที่อาจจะไม่เคยคิดด้วยซ้ำเช่นอาจจะเป็นฝ่าย Marketing ไปเป็นเซลล์หรือเป็นคนดูแล Data analysis อะไรสำคัญอีกหลายๆ อย่างในองค์กรในตลาดทุนนิยมทั่วไป ที่ผมเคยพูดมาตลอดก็คือเอกประวัติศาสตร์มีอะไรที่สายงานหรือว่าตลาดหรือว่าในระบบเศรษฐกิจที่เราทำงานและเพื่อเลี้ยงชีพเนี่ยต้องการอยู่แล้ว เป็นสิ่งที่เรียกว่าหัวใจของของของการเรียนประวัติศาสตร์เลยก็ได้ว่า แต่ว่ามันอาจจะไม่เห็นชัดเหมือนกับคุณเรียนวิศวะเรียนบัญชีมา มันจับต้องไม่ได้ แต่ว่ามันเป็นตัวเรามาแล้วหลังจากเราได้รับจากการเรียนครับผม
อรอนงค์ ทิพย์พิมล
ตอนเรียนสมัยประถมมัธยมเนี่ย เป็นผลสำเร็จของกระทรวงศึกษาธิการของไทยมาก อินกับวิชาสังคมศาสตร์มากๆ นะคะ อินกับวีรกรรมของวีรบุรุษมากถึงขนาดจดในสมุดเลยนะคะ ว่าแบบมีกษัตริย์องค์นั้นทำนู้นทำนี้มันช่างน่าประทับใจ เราก็ชอบประวัติศาสตร์เพราะมันเกิดเหตุการณ์พฤษภาปี 35 นะคะ ก็ทำให้เริ่มสนใจเหตุการณ์นั้น ก็เลยทำให้คิดว่าฉันจะต้องเข้าเรียนที่มหาลัยธรรมศาสตร์ แล้วก็เอกประวัติศาสตร์ให้ได้นะคะแล้วก็ตั้งใจเลือกเลยค่ะเป็นอันดับเดียวนะประมาณว่ามาสมัครใหม่ก็ได้ คือตอนนั้นก็ยังเชื่อนะคะว่าแบบมันจะบอกเราได้จริงๆ ว่าอะไรเกิดขึ้นจริงๆ นะคะ ตอนนั้นมันก็เปลี่ยนความคิดหรือไม่คิดหลายอย่าง
คือทุกวันนี้ในช่วงระยะเวลาปี 2 ปีเนี่ยมันถูกใช้ฉวยใช้ได้ทุกกลุ่มนะคะ ทั้งกลุ่มที่ออกไปชุมนุมทั้ งกลุ่มที่ไม่เอาการชุมนุม ทุกคนพูดว่าให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ให้ดีก่อน มันน่าสนใจตรงที่ว่า ในฐานะที่เป็นคนสอนเองก็รู้สึกว่าสอนยากขึ้นนะคะ เข้าใจว่าทุกวันนี้ที่จะเข้าเรียนเนี่ยเขาอ่านอะไรที่มันที่มันเยอะมากเลย มันไม่ใช่แค่เรื่องว่าอาจารย์จะมาสอนง่ายๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น 1 2 3 4 ไม่ได้แล้วนะคะจะ เข้าใจว่าอาจารย์ในมหาลัยส่วนใหญ่เนี่ยก็น่าจะไม่ได้สอนแบบนั้นนะคะ ตัวเองวันอาทิตย์สอนในบางวิชาเราก็จะเหมือนจะต้องมีเส้นเรื่องใช่ไหมคะว่าเหตุการณ์นี้มันคืออะไร เราก็จะพยายามบอกว่ามันมีกี่เวอร์ชั่นนะคะ ไม่มีมุมมองที่ต่างเพื่อการถกเถียงเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าตัวเองจะมาเป็นอาจารย์นะคะแต่ว่าพอดีว่าเชื่อว่าให้มันจะเปลี่ยนแปลงได้เลยนะค่ะ เชื่อว่าถ้าเกิดเราได้ศึกษา ได้คุยนะคะกับคนรุ่นใหม่ๆ เนี่ยมันน่าจะทำให้อนาคตมันดีขึ้นนะคะ ตอนนั้นหมายถึงว่าตอนที่เริ่มเข้าสู่อาชีพนี้ แต่ตอนนี้ก็ก็เปลี่ยนไปแล้วนะคะ ก็ไม่ค่อยเชื่อนะว่าเราจะเปลี่ยนแปลงอะไรภายในรุ่นเรา
นิธิ เอียวศรีวงศ์
ผมไม่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาเท่ากับวิธีการ จึงอยากจะตอบคำถามนี้ว่าประวัติศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งในบางวิชาแล้วกันนะครับที่พยามจะดึงเอาปัจจัยต่างๆ เข้ามาคิดในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์เฉยๆ อะไรก็แล้วแต่ ทำไมถึงเกิดการรัฐประหารในปี 57 ผมคิดว่ามันไม่ง่ายมันมีนายทหารรวมกลุ่มกันและเข้ามายึดอำนาจผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมองปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น เป็นต้นว่ากลุ่มนายทุนที่ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อจะลดอำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
โดยสรุปก็คือว่าเมื่อเป็นเช่นนี้เนี่ยเราจะไม่สามารถบอกได้ว่าปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นเพราะอะไรเพียงเหตุเดียว จำเป็นต้องมองให้กว้าง แล้วก็พยายามสร้างนิยายขึ้นมาอันหนึ่งที่จะอธิบายด้วยปัจจัยอันหลากหลายเหล่านี้ว่าทำไมมันถึงเกิดปรากฏการณ์นั้นขึ้น ชัยพงษ์เองอาจจะบอกว่า เฮ้ยมานุษยวิทยามันก็เป็นอย่างนี้นี่หว่าใช่วิธีคิดแบบประวัติศาสตร์เป็นวิธีคิดที่ที่มันถูกนำไปใช้ในวิชาอื่นๆ ผมอาจจะอ้างเอาเองว่านี้เป็นวิธีคิดทางประวัติศาสตร์ แต่มันไม่ใช่เขาก็คิดกันอย่างนี้แหละแต่มีหลายวิชาที่คิดจำกัดให้ปัจจัยน้อยลงปัจจัยอันไหนก็ปัดๆ มันออกและผมคิดว่าเป็นวิธีคิดที่มนุษย์ทั่วไปทำอยู่ ถ้าคุณถามว่าเรียนประวัติศาสตร์ได้อะไร ผมว่าได้วิธีคิด คุณจะไปทำอะไรก็ได้มันชีวิตคุณ แต่ถ้าคุณคิดแบบเขาเรียกแบบมีวิชาการหน่อย เขาเรียกคิดแบบมีประสิทธิภาพถ้า คุณคิดแบบมีประสิทธิภาพเป็น คือคิดด้วยปัจจัยที่มากกว่าหนึ่งแล้วก็มองเห็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของปัจจัยแต่ละตัวด้วย ทำไมผมเรียนประวัติศาสตร์คำตอบคือมันง่ายดีให้ผมไปเรียนภาษาฝรั่งเศษผมว่ามันยากผมเรียนประวัติศาสตร์มันง่ายดี
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ