จับตา: เปิดไทม์ไลน์ 'โครงการฟื้นความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก' จากเงินกู้ 4.5 หมื่นล้าน

กองบรรณาธิการ TCIJ 14 เม.ย. 2564 | อ่านแล้ว 2973 ครั้ง


เปิดไทม์ไลน์ โครงการใหม่ 'ฟื้นความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก' จากเงินกู้ 4.5 หมื่นล้าน ลงท้องถิ่น/ชุมชน 76 จังหวัด คาด เริ่มคิกออฟ พ.ค.นี้ เน้นทุกกลุ่มเป้าหมาย ก่อนชงบอร์ดกลั่นกรองเงินกู้-ครม.พิจารณาปลายเดือน มิ.ย. 2564 พร้อมจัดสรรเงินให้ท้องถิ่นได้ใช้จ่ายสิ้นปีนี้ เผยวงเงินกู้ ลง 76 จังหวัด เฉพาะ 'ชลบุรี-ภูเก็ต' ได้รับจัดสรรเกิน 1 พันล้าน ส่วน 4 จังหวัด ได้น้อยว่า 400 ล้าน

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ รายงานว่าเมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. 2564 กระทรวงมหาดไทย มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ภายหลังมีการมอบนโยบายและมอบ คู่มือการเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ วงเงิน 45,000 ล้านบาท หรือ "โครงการฟื้นฟูท้องถิ่น" จากโครงการภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

หนังสือฉบับดังกล่าว แจ้งไทม์ไลน์ของโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.-31 พ.ค. 2564 เป็นขั้นตอนตรวจสอบคัดกรองโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงานของรัฐในจังหวัดและ อปท. สำหรับองค์กรภาคประชาสังคม เครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง และผู้สูงอายุ ที่จะต้องเสนอโครงการผ่าน "คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ระดับจังหวัด" ซึ่งมีรัฐมนตรีรับผิดชอบพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเท่านั้น

วันที่ 1-10 มิ.ย. 2564 ขั้นตอนการเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณาจาก กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ (CBO) สำนักงบประมาณ ให้ "คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด" พิจารณากลั่นกรองและเสนอต่อรัฐมนตรีทุกกระทรวงฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่ โดยจังหวัดต้องส่งโครงการให้กระทรวงมหาดไทย ภายในวันที่ 10 มิ.ย.64 ซึ่งร่วมถึงแบบรายงานการประเมินความเสี่ยงการทุจริตฯ ของสานักงาน ป.ป.ท. ด้วย

วันที่ 11-20 มิ.ย. 2564 หน่วยประมวลผลรวม กระทรวงมหาดไทย จะเสนอทุกโครงการขอความเห็นชอบจาก รมว.มหาดไทย และส่งผลการประมวลถึง สภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ ก่อนเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ฯ พิจารณา ระหว่างวันที่ 21-30 มิ.ย. 2564 คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ฯ พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงาน/โครงการก่อนเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติ

วันที่ 1 ก.ค. - 31 ธ.ค. 2564 กระทรวงมหาดไทย แจ้งข้อเสนอแผนงาน/โครงการที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ให้จังหวัดและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)ทราบ เพื่อให้จังหวัดเจ้าของโครงการตรวจสอบข้อเสนอโครงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียด เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโครงการ โดยในวันที่ 31 ธ.ค. 2564 เข้าสู่ขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วเสร็จ ภายในเดือน ธ.ค. 2564 โดยหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติโครงการ จะต้องรายงานการเบิกจ่ายเงินกู้กับจังหวัดทุกเดือน

สำหรับ 76 จังหวัด ที่ได้รับจัดสรรเงินกู้ 45,000 ล้านบาท ตามโครงการฯ ประกอบด้วย เชียงใหม่ 933,047,204 บาท ลำพูน 384,623,014 บาท ลำปาง 608,419,472 บาท แม่ฮ่องสอน 847,106,181 บาท เชียงราย 771,379,218 บาท พะเยา 518,644,167 บาท แพร่ 487,752,655 บาท น่าน 550,480,972 บาท

พิษณุโลก 556,163,692 บาท ตาก 744,435,805 บาท เพชรบูรณ์ 560,905,700 บาท สุโขทัย 532,272,777 บาท อุตรดิตถ์ 524,228,952 บาท นครสวรรค์ 595,691,124 บาท อุทัยธานี 419,649,303 บาท กำแพงเพชร 517,827,317 บาท พิจิตร 405,808,018 บาท

อุดรธานี 686,926,479 บาท เลย 419,010,150 บาท หนองคาย 395,109,750 บาท หนองบัวลำภู 512,676,379 บาท บึงกาฬ 436,380,214 บาท สกลนคร 613,880,236 บาท นครพนม 595,933,667 บาท มุกดาหาร 440,965,149 บาทขอนแก่น 731,104,313 บาท กาฬสินธุ์ 790,477,111 บาท

มหาสารคาม 549,542,189 บาท ร้อยเอ็ด 588,237,991 บาท นครราชสีมา 999,491,144 บาท ชัยภูมิ 553,490,249 บาท บุรีรัมย์ 802,675,451 บาท สุรินทร์ 700,303,126 บาท อุบลราชธานี 710,329,541 บาท ยโสธร 501,136,958 บาท ศรีสะเกษ 758,213,800 บาท อำนาจเจริญ 556,055,695 บาท

พระนครศรีอยุธยา 627,805,993 บาท สระบุรี 478,264,054 บาท ลพบุรี 587,076,035 บาท ชัยนาท 547,281,323 บาท สิงห์บุรี 434,864,933 บาท อ่างทอง 491,374,497 บาท นครปฐม 515,520,304 บาท นนทบุรี 518,335,853 บาท ปทุมธานี 544,535,151 บาท สมุทรปราการ 750,975,299 บาท

ราชบุรี 536,187,175 บาท กาญจนบุรี 683,086,331 บาท สุพรรณบุรี 599,090,912 บาท เพชรบุรี 448,586,536 บาท ประจวบคีรีขันธ์ 483,820,107 บาท สมุทรสงคราม 316,768,800 บาท สมุทรสาคร 530,206,024 บาท

ชลบุรี 1,247,918,572 บาท ฉะเชิงเทรา 540,028,537 บาท ระยอง 854,746,451 บาท ปราจีนบุรี 503,440,467 บาท จันทบุรี 415,969,174 บาท ตราด 438,793,694 บาท นครนายก 396,660,041 บาท สระแก้ว 626,875,158 บาท

สุราษฎร์ธานี 668,595,099 บาท ชุมพร 405,678,465 บาท นครศรีธรรมราช 692,798,413 บาท พัทลุง 586,864,003 บาท สงขลา 732,770,187 บาท ภูเก็ต 1,000,249,488 บาท กระบี่ 556,029,025 บาท ตรัง 509,935,875 บาท

พังงา 440,561,555 บาท ระนอง 497,768,396 บาท สตูล 432,951,626 บาท ยะลา 598,571,319 บาท นราธิวาส 708,613,011 บาท และ ปัตตานี 750,026,951 บาท

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: