International Womens Day 2021: การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางเพศผ่านขบวนการเคลื่อนไหว

ชัญญพัชร์ กีรตินันทิพย์ | 15 มี.ค. 2564 | อ่านแล้ว 3990 ครั้ง


 

วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีคือวันสตรีสากล และในวันที่ 6 มีนาคม 2564 นี้ได้มีการจัดการประชุมก่อนวันสตรีสากล 2021: ลุกขึ้นสร้างความเป็นธรรมทางเพศและทางสังคม หรือ Pre International Women’s Day 2021 : Rise for Gender and Social Justice จัดโดยองค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน ร่วมกับ V Day Thailand, Feminista, และ Thaiconsent ซึ่งเป็นองค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง School of Feminist: Feminist Theory and Practice และหลายองค?กรอีกมากมายที่เป็นเครือข่ายด้วยกัน โดยมีเวทีเสวนาด้วยกันทั้งหมด 4 เวทีตั้งแต่ 9.30 น. - 16.30 น. ดังนี้ เวทีเสวนาที่ 1. ขบวนการเคลื่อนไหวเฟมินิสต์เพื่อพัฒนาความเป็นธรรม​​​​ทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ เวทีเสวนาที่ 2. ขบวนการเคลื่อนไหวLGBTIQNA+ เพื่อความเป็นธรรมทางเพศ​​​​และความเป็นธรรมทางสังคม เวทีเสวนาที่ 3. ขบวนการเคลื่อนไหวชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อความเป็นธรรมทางเพศ​​​และความเป็นธรรมทางสังคม  และสุดท้ายเวทีเสวนาที่ 4. ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชน. ทั้ง 4 เวทีเสวนานี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงถึงปัญหาความเป็นธรรมทางเพศในประเทศไทยที่ยังคงมีอยู่และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงเป้า

ในเวทีเสวนาแรก “ขบวนการเคลื่อนไหวเฟมินิสต์เพื่อพัฒนาความเป็นธรรม​​​​ทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์”  ได้มี ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศและสมาคมเพศวิถีศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนาแรกในช่วงเช้าของวันนี้ ตามด้วยผู้พูดทั้งสี่ท่าน ได้แก่ คุณชมพู่ สุพีชา เบาทิพย์ ตามมาด้วยผู้พูดท่านที่สอง คุณเบสท์ บุษยาภา ศรีสมพงษ์ และผู้พูดท่านที่สาม คุณนานา วิภาพรรณ วงษ์สว่าง และสุดท้าย คุณกัชกร ทวีศรี

 

ผู้พูดคนแรก คุณชมพู่ สุพีชา เบาทิพย์ เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มทำทาง และเพจ คุยกับผู้หญิงทำแท้ง โดยจัดตั้งเพื่อผลักดันสิทธิในการทำแท้งของผู้หญิง  และพูดคุยเพื่อร่วมแก้ไขปัญหากับผู้หญิงที่มีปัญหาในด้านนี้ โดยได้กล่าวถึงต้นตอหลักของปัญหาการทำแท้งคือสังคมไทยยังยอมรับไม่ได้ รวมถึงมีอคติกับการทำแท้งอาจด้วยหลายๆเหตุผลไม่ว่าจะเป็นศาสนาที่ครอบงำว่าการทำแท้งเป็นบาป มองว่าเมื่อท้องแล้วก็ต้องเลี้ยงลูกเพราะถือเป็นแม่คนแล้ว และรากของปัญหาคือการไม่ได้มองในแง่ความเป็นธรรม​​​​ทางเพศ ที่การทำแท้งเป็นสิทธิของผู้หญิง แต่มองในแง่ว่าเป็นการที่เกิดมาเป็นเพศหญิงจะต้องมีหน้าที่ดูแลลูก ทำให้ครอบครัวสมบูรณ์โดยการเป็นแม่บ้านที่ดี โดยที่สังคมมองไม่เห็นว่าได้กระทำกับร่างกายของคนที่ต้องการทำแท้งยังไงบ้าง รวมถึงเป็นการผลักภาระให้เพศหญิงที่ต้องรับผิดชอบตัวอ่อนในครรภ์ โดยแทบจะไม่สนถึงเพศชายเลย เพราะด้วยการเป็นสังคมปิตาธิปไตยโดยอำนาจสูงสุดถูกผูกขาดไว้ที่เพศชาย กฎหมายที่ออกมาจึงเป็นการมองผ่าน male gaze ที่ไม่คำนึงถึงผู้หญิง เพราะฉนั้น กลุ่มทำทางจึงพยายามผลักดันให้การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพเหมือนบริการทางการเเพทย์อื่นๆ เช่น ทำฟัน ฝากคลอด และอื่นๆ เพราะในอดีตมีผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งจำนวนมาก แต่ด้วยระบบและกฎหมายที่กีดกันรวมถึงอคติทางสังคม และได้มีการผลักดันกฎหมายผ่านการยื่นจดหมายร่วมกันกับหลายกลุ่มและหลายหน่วยงาน และช่วง 2-3 ปี มานี้กระแสก็การทำแท้งเสรีก็ได้แรงขึ้น มีการได้เข้าไปคุยกับนักการเมือง และสื่อสารกับสาธารณะ และปีนี้ในโซเชียลและสื่อมาถึงจุดที่ทุกคนออกมาแสดงความเห็นว่ามีการเห็นด้วยเยอะขึ้นกว่าในอดีตมาก กฎหมายในปัจจุบันนี้จึงสามารถทำแท้งได้ถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ด้วยส่วนหนึ่งมาจากสังคมที่ให้ความสนใจเยอะขึ้นและมีแรงกดดันมากขึ้นกว่าเดิมมาก

ผู้พูดที่สองคือคุณเบสท์ บุษยาภา ศรีสมพงษ์ โดยเป็นนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและผู้ก่อตั้งองค์กร SHero ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อยุติปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว คุณเบสท์ได้กล่าวถึงปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยมีการเลือกปฏิบัติ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผู้ถูกกระทำอย่างแท้จริง เพราะในตัวกฎหมายยังมีการเป็นปิตาธิปไตยโดยสูง จึงมีกฎหมายที่คุ้มครองสวัดิภาพครอบครัวมากกว่าเป็นคุ้มครองผู้เสียหาย(ผู้ถูกกระทำ) เมื่อผู้ถูกกระทำต้องการความช่วยเหลือ เช่น ถูกใช้ความรุนแรง เป็นต้น ก็จะถูกทำให้เงียบ เพราะกฎหมายนี้เขียนโดยคณะกรรมการที่ไม่เข้าใจคนถูกกระทำและเป็นผู้ชายเสียส่วนใหญ่ รวมถึงปัญหาเชิงทรรศนคติ และการศึกษาที่ไม่มีการสอนอย่างถูกต้อง  หรือแม้แต่สื่อบันเทิงที่ผลิตซ้ำความรุนแรงและตีตราผู้ถูกกระทำ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคม แต่เมื่อมีช่องทางในโซเชียลมากขึ้น คนก็ออกมาพูดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นถึงกระบวนปัญหาเชิงโครงสร้าง อำนาจกดทับ และปัญหาความรุนแรงไม่สามารถเอาสถิติมาตัดสินไดัมากกว่าข้อเท็จจริงมากขึ้น ยังไม่รวมถึงผู้หญิงและเด็กที่มีการถูกอำนาจกดทับมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะหากยิ่งเป็นคนชายขอบก็จะยิ่งถูกกดทับมากขึ้นไปอีก เช่นชาวกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น กฎหมายที่เขียนออกมาจึงเป็นเชิงสมานฉันท์ มากกว่าช่วยผู้ถูกกระทำและมีการถอยหลังลง ในอนาคตจึงต้องการเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นั่นคือมีกฎหมายที่ช่วยเหลือและเยียวยาผู้ถูกกระทำอย่างแท้จริง

ผู้พูดที่สามคือ คุณนานา วิภาพรรณ วงษ์สว่าง โดนเป็นผู้ก่อตั้งเพจและองค์กร Thaiconsent โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจทางเพศ รวมถึงเปิดเป็นพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความเห็นทางเพศกันอีกด้วย โดยเริ่มจากการที่ในอดีต การพูดคุยเรื่องเพศยังไม่เป็นที่กว้างขวางนัก รวมถึงคนไทยยังไม่คุ้นเคยกับการ  consent จึงได้ก่อตั้งเพจดังกล่าวขึ้นมา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่สังคมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ ด้วยเพราะระบบสังคมที่หล่อหลอมว่าสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่เผยแพร่บทสนทนาหรือฉากเซ็กส์ที่แฟนตาซีมากกว่าการทำให้มีความเป็นจริงมากขึ้น หรือบทเรียนที่ไม่มีการสอนในเรื่องนี้ให้กว้างขวางขึ้น และผู้กระทำบางคนไม่ได้มีได้การเรียนรู้ ไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดมาตั้งแต่ต้น จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศขึ้นมา ดังนั้นคุณนานาได้มีความหวังในการเปลี่ยนทางระบบทางสังคม และวัฒนธรรมรวมถึงทั้งสื่อและการศึกษา โดยใช้สื่อและเทคโนในการแก้ไขปัญหาและมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่คนรุ่นใหม่ เพื่อที่ไม่ให้ผู้ถูกกระทำสามารถพูดได้โดยไม่ถูกตีตราและสามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้มากกว่านี้ เเละเยียวยาให้ตัวผู้ถูกกระทำรู้สึกมีอำตนาจในตัวเองมากขึ้นรวมถึงทำให้การพูดเรื่องเซ็กซ์เป็นเรื่องปกติภายในสังคม และทำให้สังคมไม่ได้มองว่าความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะกันที่ต้องมีฝ่ายแพ้หรือชนะ มากกว่าการคบกันด้วยความเสมอภาค

ผู้พูดสุดท้ายคือ คุณกัชกร ทวีศรี โดยเป็นผู้อำนวยการพัฒนาเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มูลนิธิโกลบอลแคมปัสเซส (Global Campuses Foundation) โดยได้มีการทำงานร่วมกับผู้หญิงพิการ และทำให้เห็นถึงปัญหาที่ถูกกดทับไว้มากมายที่สังคมมองข้าม เช่น การเข้าถึงการศึกษาน้อยกว่าผู้ชายพิการ เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการเสี่ยงต่ออันตรายที่มากกว่า, เสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดได้มากกว่า หรือเมื่อออกมาสู้สังคมก็จะถูกมองว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมเพราะบทบาทในสังคมเลยน้อยกว่าผู้ชายพิการ รวมถึงปัจจัยที่ถูกนำเสนอไม่เสมอภาคกัน โดยเฉพาะผู้หญิงพิการไม่ค่อยกล้าหรือมีความรู้ในสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น ผู้หญิงหูหนวกไม่รู้ว่าการมีประจำเดือนคืออะไรเพราะไม่สามารถสื่อสารกับคนทั่วไปได้, ผู้หญิงที่พิการทางการเครื่องไหว ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศหรือสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เลย สิ่งเหล่านี้จึงสะท้องให้เห็นกระบวนการในเชิงสัมคมที่ไม่มีการเข้าถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง และไม่เข้าใจการเสมอภาคในคนพิการเลย ด้วยเพราะรัฐไม่มีการช่วยเหลืออย่างจริงจัง และด้วยปัญหาที่มีความซับซ้อน ผู้หญิงพิการหลาย ๆ คนจึงเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว รวมไปถึงการทำงานกับคนพิการยังมองเป็นเชิงเวทธนาไม่ได้มองในรูปแบบ Human rights คนพิการยังถูกเพิกเฉยต่อสังคม  ดังนั้น หากภาครัฐมีความรู้ในเรื่องนี้ในระดับที่ลึกขึ้นกว่าเดิมก็จะช่วยเหลือได้มากขึ้น หากไทยมีกฎหมายที่วางแผนมาอย่างดีออกกฎหมายที่สามารถช่วยเหลือได้จริง และเปลี่ยนทัศนคติที่สังคมมีต่อผู้พิการ รวมถึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการในระบบการศึกษา เพื่อให้มองพวกเขาในฐานะมนุษย์อย่างเท่าเทียม

ในการเสวนาหัวข้อแแรกเรื่อง “ขบวนการเคลื่อนไหวเฟมินิสต์เพื่อพัฒนาความเป็นธรรม​​​​ทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์” จากสี่ผู้พูด เราจะเห็นได้ว่าการกดขี่ที่เราเจอในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการกดขี่ทางเพศ, การกดขี่คนชายขอบของสังคม, การกดขี่ทางกฎหมาย ล้วนเป็นผลพวงมาจากอำนาจในระบบปิตาธิปไตย(Patriarchy) ที่ปลูกฝังมาอย่างยาวนานในสังคม ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยมาจากอำนาจเหนือระดับต่าง ๆ จึงจะเห็นได้ว่า อำนาจกดทับในสังคมไทยมีความซับซ้อน(intersectional) หลายระดับเป็นอย่างมาก ดังนั้นการจะขับเคลื่อนให้สังคมมีความเป็นมิตรมากขึ้น เพื่อให้ลดการกดขี่น้อยลง รวมไปลดอำนาจกดทับที่มีมาอย่างยาวนานในประเทศไทย เราจะต้องช่วยกันเปลี่ยนทัศคติที่สังคมมีอยู่ รวมไปถึงอีกหลาย ๆ ปัจจัย เช่น การแสดงออกของสื่อ, การครอบงำของศาสนา หรือการศึกษาที่ไม่มีการสอนหรือพูดถึงเรื่องเพศอย่างถูกต้องและจริงจัง และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยการจะเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ได้ต้องอาศัยอำนาจรัฐที่มีอำนาจสูงสุดในการผลักดันด้านต่าง ๆ เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นธรรมทางเพศ(Gender Justice) และสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Rights) อย่างแท้จริง เราจึงควรช่วยกันตั้งคำถามต่อทุกระบบ เพราะรัฐตอนนี้ให้ความสำคัญกับเรื่อง Human rights น้อยมากดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน ไม่มีแม้แต่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เรื่องเพศจึงถูกกดทับให้เป็นปัญหารองลงมา ทั้งที่ความเป็นจริงการแสวงหาเสรีภาพและความเป็นธรรมทางเพศนั้น สามารถไปพร้อมกันได้ เพื่อที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแม้แต่กลุ่มเดียว และเพื่อให้เป็นประเทศที่มีเสรีภาพและเท่าเทียมกันในทุกเรื่องอย่างแท้จริง.

 

เกี่ยวกับผู้เขียน
ชัญญพัชร์ กีรตินันทิพย์ ผู้ผ่านการอบรม Schoolnof Feminist : Feminist Theory and Pracrtice 2020
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: